Logo-CPF-small-65png

Search Results for: การป้องกันโรค

ส่งออกไก่ไทยฉลุย 9 แสนตัน ยืนหนึ่งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สากล

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ไทยในฐานะผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่มาโดยตลอด ทั้งการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ตั้งแต่องค์ประกอบของฟาร์ม เช่น อาหาร น้ำ การจัดการฟาร์ม การจัดการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมไก่ให้มีสุขภาพดี ปราศจากยาปฏิชีวนะ ตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวดตลอดห่วงโซ่การผลิต ส่งผลดีต่อเนื้อไก่และเหมาะสมในการนำไปผลิตเป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค นอกจากนี้ ผู้ส่งออกเนื้อไก่ไทยต้องผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มที่ดีจากกรมปศุสัตว์ เนื้อไก่ที่นำไปผลิตอาหารต้องมาจากฟาร์มที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของไก่ ไม่เลี้ยงไก่หนาแน่นเพื่อให้ไก่อยู่สบาย และสัตว์ต้องได้รับการดูแลอย่างดีตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโรงงานแปรรูปไม่ให้มีการทรมานสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น สมาคมฯ ตั้งเป้าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2564 รวม 900,000 ตัน มูลค่า 101,000 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในปี 2563 ไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับที่ 4 ของโลก รองจากบราซิล สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยไทยมีปริมาณส่งออกสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 981,089 ตัน มูลค่า 107,828 ล้านบาท “ไทยคุมเข้มมาตรฐานการผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ในระดับสูง โดยเฉพาะตลาดหลักของไทย คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่มีกฎเกณฑ์ด้านสุขอนามัยสูงมาก (Sanitary and Phytosanitary :SPS) ทั้งมาตรฐานฟาร์มและการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างเท่าเทียม ซึ่งผู้ส่งออกไทยผ่านการรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนดทั้งหมด และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานสากลที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าเสมอ” นายคึกฤทธิ์ กล่าว ผู้ส่งออกไทยยังต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานอย่างต่อเนื่องจากกรมปศุสัตว์ ทั้งมาตรฐานฟาร์มและโรงงาน ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค นายคึกฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจาก GAP และหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลที่ผู้ส่งออกไทยผ่านมาตรฐานแล้ว ไทยยังคำนึงถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบ (Prudent Use of Antibiotics) โดยสัตวแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลทั้งสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยภายในฟาร์ม ควบคู่กับการระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ (Bio-security) เพื่อป้องกันโรคระบาดสัตว์ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคภายใต้หลักการสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ทำให้คนไทยและผู้บริโภคทั่วโลกได้รับประทานเนื้อไก่ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ส่งออกไก่ไทยฉลุย 9 แสนตัน ยืนหนึ่งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สากล Read More »

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่

ศูนย์รวมบริการ สำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบมาที่เดียวครบ สำหรับ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ จบตั้งแต่เริ่มสร้างถึงขาย มาดูกันเลยครับ สำหรับท่านที่มองหา ธุรกิจ เพิ่มเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ หรือว่าต้องการสร้างฟาร์มอยู่แล้วจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ผมอยากแนะนำ ให้มาอ่าน และลองดูบทความนี้ครับ เราจะได้เห็นว่า ถ้าคุณต้องการทำ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่เริ่ม ในมุมของการทำธุรกิจ มันไม่ได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้ มี หน่วยงานที่ช่วย แนะนำ ผู้ที่ต้องการเริ่มเข้ามาในธุรกิจ นี้ หรือว่า ไม่เคยทำมาก่อน แต่มีความสนใจ หรือที่ต้องการจะลงทุน สร้างธุรกิจ ในแบบที่เราไม่เคยทำมาก่อนก็สามารถทำได้ โดยมี CPF Farm Solutions มาเป็นผู้ช่วย และให้คำปรึกษา ในการจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ เรียกว่าครบทุกเรื่องของการสร้าง และจัดการฟาร์ม มีทุกอย่างตั้งแต่ เริ่ม จนถึงหาตลาด และขาย เรียกว่าครบทุกอย่าง สำหรับธุรกิจฟาร์มกันเลยครับ อย่างแรกมารู้จักกันก่อนครับ สำหรับ CPF Farm Solutions จะช่วยอะไรเราได้บ้าง? ต้องบอกเลยครับ ว่า สำหรับ ผู้ที่ทำธุรกิจฟาร์ม หรือไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม เมื่อเราเริ่มทำแล้ว ก็ต้องอยากให้ธุรกิจที่เราดูแล เติบโต และต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้ว จะมี 3 ความต้องการหลักๆ ดังนี้ครับ ต้องการยกระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐาน และมีมาตรฐานในการขาย เพื่อเป็นความเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทางผู้บริโภค ต้องการหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์ม เพราะเทคโนโลยีจะทำให้ธุรกิจเติบโต และเมื่อเติบโตแล้ว ย่อมมีผลกำไรตามมาครับ ต้องการที่จะนำเทคโนโลยี มาช่วย ให้ธุรกิจที่ทำอยู่ดีขึ้นและถ้าหากเป็นฟาร์ม ก็จะเรียกว่าเป็น Smart Farm ได้ครับ จากความต้องการหลักๆ ข้างต้นเจ้าของธุรกิจ ต้องการให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เติบโต ในทุกๆด้าน ไม่ว่า จะเป็น ต้องการให้ฟาร์มมีมาตรฐาน เพื่อเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แลเมื่อมีมาตรฐานแล้ว ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคแล้ว ฟาร์ม ก็จะสามารถขยายตลาดไปได้ในหลายที่กว่าเดิม ได้พบกับลูกค้าใหม่ๆ ได้พบกับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจฟาร์มเติบโต มั่นคง และจากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีโรคระบาด ทั้งคน และสัตว์ ทาง CPF ได้มีการนำเทคโนโลยี ที่หลากหลาย และก้าวหน้าเข้ามาช่วยเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเลี้ยง การดูแล หรือเรื่องอาหารสัตว์ และการให้บริการเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการช่วยเกษตรกร เจ้าของฟาร์ม หรือผู้ที่สนใจธุรกิจฟาร์ม นี่เป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้าง CFP FARM SOLUTIONS ขึ้นมาเพื่อช่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ กับผู้ที่มีธุรกิจ หรือต้องการลงทุนในการสร้าง ฟาร์มขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่เพื่อให้บริการผู้ที่สนใจดังนี้ บริการด้านไฟฟ้าและวิศวกรรม บริการระบบมาตรฐานฟาร์มและผลิตภันฑ์ บริการจัดการฟาร์ม โรค และการลงทุน บริการให้คำปรึกษาและกำจัดสัตว์พาหะ บริการสรรหาบุคลากร และอบรม ทั้งหมดนี้ จะสามารถบริหารฟาร์ม ได้จากระบบ smart farm โดยระบบจะมีการรายงาน และแจ้งเตือนให้กับเจ้าของฟาร์มได้ ง่ายๆ แค่มีอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี จะมาช่วยใน การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ได้อย่างไรบ้าง มาดูกันครับ บริการด้านพันธุ์สัตว์ เรามีบริการพันธุ์สัตว์ออนไลน์ สั่งซื้อ เคลม ออนไลน์ได้เลย บริการด้านวิชาการ แนะนำเทคโนโลยี การบริหาร การทำมาตรฐานฟาร์ม ทั้งนี้ ลูกค้า และคู่ค้า ก็จะสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ง่ายที่สุด ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูล และการใช้งานระบบ ลูกค้า สามารถ เข้าสู่ระบบการจัดการฟาร์มได้ง่ายๆ บริการด้านการตลาด นอกจากเรื่องของพันธุ์สัตว์แล้ว การทำมาตรฐานแล้ว ทาง CPF มีระบบบริการรับซื้อคืนด้วยครับ เรียกว่า แนะนำตั้งแต่เริ่มเลี้ยง สอนวิธีเลี้ยง ทำมาตรฐาน และหาที่ขายให้ด้วยเลย ครบและดี สำหรับธุรกิจจริงๆ สำหรับบริการที่เด่นๆ ของ CPF FARM SOLUTIONS ที่อยากแนะนำมีดังนี้ครับ บริการตรวจเช็คระบบไฟฟ้า และประเมินความเสี่ยงในฟาร์ม สำหรับบริการนี้ ลูกค้าจะได้รับ บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้า ภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตาย จากไฟฟ้าดับ และเพิ่มทักษะสอน ให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลฟาร์ม  ในการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเอง สามารถใช้ อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญ และมีการประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/engineer-service บริการแนะนำจัดทำ ระบบมาตรฐานฟาร์ม และการขอมาตรฐานฟาร์ม สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม เพื่อใช้ใน การยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานฟาร์ม เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหาร มาตรฐานต่างๆที่ฟาร์มได้รับ จะส่งผลต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค ให้มีความเชื่อมั่น กับธุรกิจฟาร์ม และเป็นการขยายตลาด เพิ่มโอกาสในการส่งสินค้า ไปขายที่ห้างค้าส่ง และค้าปลีกต่อไป สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service บริการจัดการฟาร์ม และโรค หรือ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับส่วนนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ กับการบริหารฟาร์มเลยครับ เพราะว่าจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน การให้ความสนใจเรื่องการจัดการโรค ป้องกันและควบคุมโรค จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ฟาร์มอยู่รอดเลยครับ ทั้งนี้ในส่วนนี้ จะให้การบริการ และ ให้คำปรึกษาแบบ ครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและ การจัดการฟาร์ม โดยการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การ เลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ระบบการป้องกันโรค จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และใช้เทคโนโลยี เข้ามาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/manage-farm-service วีดีโอแนะนำ ai farm lab ได้เห็นแบบนี้ แล้ว น่าจะทำให้ใครก็ตามที่ต้องการ ทำธุรกิฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็คง สบายใจ และลองเข้าไปดู เว็บไซต์ หรือรับคำปรึกษาและ บริการได้เลยครับที่ http://www.cpffarmsolutions.com

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ Read More »

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมีดูเรื่อง ของ  โรค ASF หรือโรค ไวรัส ในหมู ที่ตอนนี้กำลังเกิดขึ้น ในที่ต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการ ป้องกัน โรค ASF ในฟาร์ม เจ้าของฟาร์มต้องทำอย่างไร หรือ ต้องมี ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อย่างไร สำหรับโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แพร่ทางอากาศ แต่สามารถแพร่ระบาดได้ทางไหนบ้าง นอกจากนี้แล้ว เราจะมี วิธีการป้องกันโรค สำหรับฟาร์มของเราได้อย่างไร และหากติดแล้ว ฟาร์มของเรา ต้องมีมาตรการในการป้องกันอย่างไรบ้าง สำหรับการป้องกัน การแพร่ระบาด ฟาร์มต้องมีอะไรบ้าง? อยากรอดต้องมี ห้องอาบน้ำ ตู้ยูวี เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อบ่อดินล้อรถขนส่ง โกดังอาหาร 2 ส่วน มีการแยกอาหารเก่าใหม่ และมีการติดตั้งแสงยูวีเข้าไป มุ้งกันแมลงวัน เพราะเป็นสัตว์พาหะ สามารถติดมากับแมลงวันได้ เช่นแมลงวันไปบินตอม และนำเชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม ซึ่งรัศมีในการหากินของแมลงวันคือ 1-3 กิโลเมตร และเป็นทางแพร่ที่อันตรายมาก และติดต่อได้ง่าย จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เล้าเปิด แนะนำให้ปิดมุ้งไปเลย ให้ครอบคลุม และหากเป็นเล้าปิด ก็ใช้มุ้งคลุมบริเวณที่อาจจะมีแมลงวันเข้ามาได้ เช่นบริเวรพัดลม ทางเดินไล่สุกร บ่อทิ้งซาก นำบาดาล บ่อพักฆ่าเชื้อ รั้วกั้นสัตว์พาหะ ข้อปฏิบัติด้านการป้องกันโรค เล้าเกษตรกร เจ้าหน้าที่ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า ทุกครั้ง เพราะมีการทดสอบแล้วว่า หากมีเชื้อโรคติดมา ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ และต้องการการฆ่าเชื้อที่ห้องน้ำด้วย เพราะ เชื้อที่ติดตัวมาจะอยู่ที่น้ำและที่ห้องน้ำ เมื่อเราอาบน้ำเปลี่ยนชุด ฆ่าเชื้อของใช้ทุกชิ้น ด้วย UV ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคัน ทุกครั้ง กำจัดหนู และแมลง ห้ามน้ำเนื้อสุกรเข้าฟาร์ม คือ อาจจะเป็นการ นำโรคเข้ามาที่ฟาร์มของเราได้ เช่นอหิวา สุกร หรือโรคอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรห้ามน้ำเนื้อสัตว์กีบคู่เข้ามาด้วย เช่นโค กระบือ แพะ แกะ ก็ห้ามด้วยเหมือนกัน แต่ตอนนี้ โรค ASF ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever ซึ่งอันตรายร้ายแรงมาก ทั้งนี้ จากงาน วิจัยเรื่องโรค ASF หากเก็บในตู้เย็น เชื้อจะอยู่ได้ 7-30 วันเลยทีเดียว และยากต่อการกำจัด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูปแล้วด้วยเพราะความร้อนในการประกอบอาหารอาจจะทำให้เชื้อยังคงอยู่ได้ ในการฆ่าเชื้อ ต้องใช้อุณหภูมิ 70 องศาเป็นเวลา 30 นาที ดังนั้นการนำเนื้อสุกรเข้ามาที่ฟาร์ม ก็เหมือนกับการเอาเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มนั้นเอง ห้ามนำเศษอาหารให้กับสุกร ห้าม ขายซาก ขายมูลระหว่างการเลี้ยง จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เหมือนเป็นระบบพื้นฐานที่ทุกฟาร์มต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของฟาร์ม หรือระบบ bio security ของฟาร์มนั้นเองครับนอกจากนี้ การเข้ามาของเชื้อ ASF ที่เคยมีการตรวจเจอ คือมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยไม่รู้ว่า มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ยกตัวอย่าง นักท่องเที่ยวเอาอาหารแปรรูปมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นของฝาก แต่ เมื่อมีการตรวจพบ และห้ามนำเข้า และเอามาตรวจ จึงได้พบกว่า มีเชื่อ ASF อยู่ด้วย เพราะกระบวนการแปรรูป แทบจะไม่สามารถทำอันตรายเชื่อนี้ได้เลย สิ่งที่ตรวจเจอ เช่น หมูแผ่น หมูกรอบ กุญเชียง และอาหารแปรรูปอื่นๆ โรค ASF มีวัคซีน สำหรับป้องกันหรือไม่ สำหรับโรค ASF ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน ในการป้องกันและรักษา ดังนั้นการป้องกันทางชีวภาพ หรือ Bio Security เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะหากเป็นแล้ว ฟาร์มก็จะสูญเสียอย่างมาก จุดวิกฤต ด้านการป้องกัน เล้าเกษตรกร หรือฟาร์มที่มักจะเกิดเหตุ หรือพลาด ทำให้มีปัญหา ห้องอาบน้ำ มีแต่ ไม่ได้ใช้งาน หรืออาบน้ำให้ถูกต้อง มุ้งกันแมลงวัน มีแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงวันได้ หรือ ปล่อยให้แมลงวันเข้าเล้าได้ ประมาณ แค่ 10 ตัว ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดได้แล้ว บ่อทิ้งซาก ที่มีการย้ายซากสุกรเข้าออก ทำให้รถที่มารับ สุกรกลายเป็นที่แพร่เชื้อ 10 มาตรการป้องกันโรคสำคัญ เมื่อโรคเข้ามาแล้ว ทำอย่างไรให้เหลือ อาบน้ำเปลี่ยนชุด ก่อนเข้าเขตฟาร์ม (ห้องอาบน้ำมี 2 ชั้น) รถในห้ามออก รถนอกห้ามเข้าให้มากที่สุด รถที่มาที่ฟาร์ม ล้าง และฆ่าเชื้อให้ทั่วถึง และจอดไว้ 30 นาที ของที่นำเข้าฟาร์มต้องผ่าน ยูวี หรือมีการพ่นฆ่าเชื้อ ป้องกันกำจัดสัตว์พาหา ติดมุ้งกันแมลง ใช้น้ำบาดาล หรือน้ำภายในฟาร์มเท่านั้น กำจัดซากสุกร และจัดการขยะที่ดี พ่นฆ่าเชื้อ หรือโรยปูนขาวรอบฟาร์ม การขายที่ถูกต้อง และมีการแบ่งโซนชัดเจน ให้ความรู้พนักงานและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรค โดนแล้ว ทำยังไงให้เหลือ (เมื่อตรวจเจอแล้ว) รู้เร็ว มีการเก็บตัวอย่างถูกต้อง ตรวจยืนยันรวดเร็ว จัดการเร็ว ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร วางแผนคัดทิ้ง ทำลาย สุกรที่เป็นโรค หรือมีความเสี่ยงสูง จบเร็ว ควบคุมโรคได้ ไม่แพร่กระจายไปยังฟาร์มอื่น ถ้าเจอเหตุแบบนี้ แนะนำให้ตรวจ สุกรที่มีน้ำหนัก น้อยกว่า 50 กิโลกรัม มีอัตราการตาย มากกว่า 1% ต่อวัน สุกรที่มีน้ำหนัก มากกว่า 50 กิโลกรัม ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เก็บต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ ทันที วิธีการดูที่ภาพได้ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็น ทำยังไง Xray 100% เก็บต้วอย่าง Swab หากเราสามารถตรวจได้ครบ ได้เร็ว ก็จะ ทำการแยกกันต่อไป วีดีโอการแนะนำวิธีการตรวจ สามารถดูได้ที่นี่ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38 ถ้าหากฟาร์ม สามารถทำและแยกได้ตามนี้ และรวดเร็ว ก็จะ ลดความเสียหายลง นอกจากนี้แล้วหลังจากที่ขายแล้ว ต้องมีการทำความสะอาด ฟาร์มอย่างดี และมีการตรวจก่อนจะเปิดฟาร์ม สำหรับขั้นตอนการล้างฟาร์มมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อน ทิ้งไว้ 1 วัน และฉีดล้างด้วยน้ำเปล่า หรือผงซักฟอก และใช้น้ำแรงดันสูง ล้าง ทิ้งทำลายอุปกรณ์ pad ผ้าม่าน ฉีดล้างด้วยน้ำเปล่ารอบที่ 2 ล้าง ด้วยน้ำรอบที่ 2 พ่นยาฆ่าเชื้ออีกรอบ ตรวจสอบความสะอาด ซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงเรือน Biogas  จุดนี้อุณหภูมิสูง เชื้อจะตาย บ่อน้ำเสีย สูบน้ำให้แห้ง ตากบ่อ โรยปูนขาว พักบ่อ 30 วัน สำหรับขั้นตอนนี้จะทำหลังจากที่เราล้างไปแล้ว เมื่อหมูออกไปหมดแล้วดูด้วยสายตา ว่าสะอาดแล้ว  ให้เราทำการ Swap วันที่ 7 , 14 , 21 , 28 หากมีการล้างไม่มีจะมีการ ตรวจเจอเชื้อ หากเจอเชื้อ ให้ทำขั้นตอนการล้างอีกรอบ ภาพขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำสุกรเข้า เมื่อผ่าน ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ในขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการทดลองนำสุกร มาเลี้ยง ประมาณ 10 % ของเดิม ให้นำหมู เข้ามาเลี้ยง ภายใน 10วัน – 21 วัน จะมีการแสดงอาการ และหากมีอาการอีก ก็ต้องทำแบบเดิมซ้ำอีก ทั้งนี้หากเรา ต้องการเลี้ยงเราก็ต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดครับ นอกจากนี้มีอีก เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือเรื่องของอาหาร เพราะนอกจากเรื่องของสัตว์พาหะแล้ว เราดูแลได้ดี และมีการจัดการได้ดีแล้ว เรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการเจอเชื้อในข้าวโพด และส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ข้าวโพด รำ ปลายข้าว ทั้งนี้สาเหตุ อาจจะมาจากการปลูกใกล้ฟาร์ม หรือในกรณีที่ฟาร์มที่เกิดความเสียหาย ไม่มีหมูแล้ว แต่ยังมีอาหารอยู่ ทำให้ต้องขายอาหารที่เหลือ ซึ่งมีการปนเปื้อนออกมา ทำให้ติดกันหมด ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีการจัดการเรื่องอาหารเอง อาจจะต้องตรวจเชื้อด้วย เพราะไม่ว่า จะมีเชื้อในปริมาณน้อยเพียงใด แต่หากมีหมูติด ก็จะเกิดความเสียหายไปด้วยครับ ทั้งนี้อาหารสัตว์ของเรา จะมีการสุ่มตรวจ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร เอกสารประกอบ และวีดีโอแนะนำการ swap สามารถ โหลดได้ที่นี่ครับ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม Read More »

เปิดความจริง!! วงในคนเลี้ยงหมู

กระแสของราคาหมูแพงจากโรคระบาดสัตว์ที่หลายฝ่ายมองว่า เกิดจากการปิดข่าวของภาครัฐซึ่งเพิกเฉยและไม่ยอมรับว่ามันคือ ASF หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จนทำให้บานปลายกระทบปริมาณซัพพลายหมูในประเทศ ส่งผลให้เกิดภาวะหมูไม่พอต่อความต้องการและมีราคาสูงขึ้นตามหลักอุปสงค์อุปทาน ความเสียหายดังกล่าว ทำให้ไทยต้องสูญเสียเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไปแล้วกว่า 50% แม้แต่ฟาร์มรายใหญ่ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เพียงแต่ด้วยระบบป้องกันโรคที่เคร่งครัดเข้มงวด จึงทำให้ยังสามารถรักษาปริมาณหมูของฟาร์มไว้ได้ ต้องเรียกว่าคนในแวดวงหมูเจ็บตัวกันทุกคน อันที่จริงทุกคนในแวดวงผู้เลี้ยง ต่างก็ตระหนักและกังวลถึงโรคดังกล่าวตั้งแต่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน มีการศึกษาหาความรู้และแนวทางป้องกัน ผมได้เห็นคนในวงการนี้ช่วยกันคนละไม้ละมือ ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ สมาคม เจ้าของธุรกิจ ฯลฯ ต่างร่วมแบ่งปันแนวทางและมาตรการต่างๆ กันอย่างเต็มที่ รายใหญ่หน่อยก็ลงแรงเยอะหน่อย รายกลาง รายเล็กก็ลดหลั่นกันลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่ใหญ่ของวงการที่เดินสายยี่สิบจังหวัดทั่วภาคอีสาน ให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่เกษตรกรโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นเกษตรกรลูกเล้าของบริษัทอื่นหรือไม่ ที่สำคัญ ผมยังได้เห็นการเสียสละลงขันกันนับร้อยล้าน จากพี่ใหญ่ พี่รอง และฟาร์มแทบทุกฟาร์มในวงการ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมอาชีพที่เจอโรคระบาดก่อนใคร โดยไม่รอเงินเยียวยาจากภาครัฐ มีแม้กระทั่งเฮียเจ้าของฟาร์มหมูในต่างจังหวัดที่ข้ามแดนไปเยียวยาเกษตรกรในประเทศ สปป.ลาว และกัมพูชา เพื่อตัดตอนไม่ให้โรคระบาดข้ามแดนมาบ้านเรา ผมจึงไม่สบายใจนักที่คนนอกวงการมองว่ารัฐปิดข่าวเพราะห่วงการส่งออกหมูซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดมหันต์ และจะทำให้เกิดการเสียกำลังใจกัน ทั้งๆที่การประกาศข่าวหรือปิดข่าวไม่ใช่เรื่องของภาคเอกชนแต่เป็นเรื่องของภาครัฐ 100% ในช่วงเวลาปกติ สินค้าเนื้อหมูเป็นสินค้าที่บริโภคกันในประเทศถึง 99% เนื่องจากไทยยังมีโรคปากเท้าเปื่อยในสุกรทำให้ส่งออกหมูดิบไม่ได้ จะส่งออกได้บ้างก็ต้องทำเป็นอาหารปรุงสุกซึ่งก็แค่ 1% ส่วนในช่วงเวลาที่หมูในประเทศมีราคาตกต่ำและหมูเพื่อนบ้านแพงมาก ก็จะมีโบรคเกอร์มาซื้อหมูมีชีวิตของไทยข้ามไปชายแดน ซึ่งก็เกิดขึ้นแค่ช่วงที่เพื่อนบ้านเจอ ASF และไม่ได้กระทบปริมาณหมูที่กินกันในบ้านเรา ดังนั้น การเข้าใจผิดว่ารัฐปิดข่าวเพื่อเอื้อส่งออกจึงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมาก ส่วนที่สื่อบางสื่อระบุว่าในปีที่แล้วมีการส่งออกหมูไปเมียนมาเพิ่มขึ้นกว่า 300% คิดเป็นมูลค่า 60 ล้านบาทนั้น เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าหมูที่ซื้อขายกันในประเทศ ไม่มีนัยยะที่จะต้องให้ความสำคัญเลย มาตรการรัฐที่ออกมาอ้างว่าห้ามส่งออกจึงเป็นมาตรการที่แทบไม่มีผลอะไร แต่สิ่งที่ควรทำคือการส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายกลาง กลับมาผลิตหมูป้อนคนไทยให้เร็วที่สุด มาตรการสินเชื่อของ ธกส. ที่ออกมา รัฐได้พิจารณาอัตราดอกเบี้ยแล้วหรือไม่ สามารถสนับสนุนให้เขาสร้างฟาร์มไร้ดอกได้หรือเปล่า ทั้งยังการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีก มีแนวทางและงบประมาณอย่างไร ทุ่มทุนวิจัยและส่งเสริมอย่างจริงจังขนาดไหน การจำกัดเฉพาะศูนย์วิจัยของรัฐคงไม่พอแต่ต้องเปิดกว้างที่สุด เพราะยังไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่คิดค้นวัคซีนตัวนี้สำเร็จ โปรดอย่าให้เป็นเพียงวาทกรรมเพื่อบรรจุลงในมาตรการเท่านั้น อาชีพใครๆก็รัก ธุรกิจใครๆก็ต้องการรักษา ประเทศใครๆก็ต้องการเห็นความเจริญก้าวหน้า เมื่อบ้านเกิดไฟไหม้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือดับไฟ ไม่ใช่การหาแพะหรือคนผิด ซึ่งสามารถรอให้ไฟดับแล้วค่อยไปสอบสวนสืบสวนกันต่อได้ ดังนั้น ในฐานะคนแวดวงนี้ จึงอยากขอให้ทุกคนหันมาร่วมกันฟื้นฟู ดีกว่าด่าทอกันซึ่งไม่เกิดประโยชน์ และที่สำคัญ ภาครัฐต้องหาวิธีดับไฟอย่างจริงใจและลงรายละเอียดอย่างระมัดระวัง ที่สำคัญ หวังว่ารัฐจะไม่แก้ปัญหาลวกๆ ด้วยการนำเข้าหมูต่างชาติ ย้อนแย้งกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรกลับสู่อาชีพ เพราะจะทำให้ไม่มีเกษตรกรกล้าลงหมูเข้าเลี้ยงอีกเนื่องจากรู้ดีว่าหมูไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับหมูต่างชาติได้ อีกประการหนึ่งที่สัตวแพทย์ประสานเสียงเตือนคือความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารตกค้างและเชื้อโรคอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำให้การแก้ปัญหาเรื่องโรคไม่รู้จบ การนำเข้าหมูจะกลายเป็นไฟลูกใหม่ที่พร้อมไหม้บ้านเราเองอีกครั้งในอนาคต ไทยมีจุดเด่นเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก มีผู้คนและภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิตที่ยาวมาก วิกฤตโรคระบาดหมูครั้งนี้ทำให้เกษตรกรหายไปจำนวนมากแล้ว รัฐต้องเร่งฟื้นฟูพวกเขาให้กลับมา ไม่ใช่ฆ่าตัดตอนคนเลี้ยงหมูที่ยังเหลืออยู่ ให้มันจะกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต จนเกษตรกรพืชไร่และทุกภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิต รวมถึงผู้บริโภคต้องได้รับผลกระทบกันไปทั้งหมด CR: สยามรัฐ

เปิดความจริง!! วงในคนเลี้ยงหมู Read More »

การตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม สวัสดีครับ สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของฟาร์ม ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ฟาร์มขนาดกลาง หรือ ฟาร์มขนาดใหญ่ เรียกว่าถ้าใครทำธุรกิจฟาร์มอยู่แล้ว เข้ามาอ่าน เรื่องนี้ได้เลยครับ ^^ บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับ การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์มของเรากันครับ เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องสนใจ ก่อนหน้านี้ ได้แนะนำเรื่องของการ จัดการ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้กับฟาร์มไปแล้ว สมามารถอ่านย้อนหลังได้นะครับ  สำหรับบบความนี้ จะเป็นเรื่องที่คล้ายกัน แต่ ก็ต้องได้รับการดูแลครับ จากช่วงที่ผ่านมา เรื่องการระบาดของโรค โควิด ท่านได้ ที่เป็น เกษตรกร และอยู่ในการติดต่อ หรือการได้รับคำแนะนำ จาก ซีพีเอฟ อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่ามีมาตรการ เดินหน้า ซีล ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ดูแลสุขภาพพนักงานลดความเสี่ยง ป้องกันโรคโควิด-19 และโรคสำคัญในสัตว์ มุ่งดูแลเกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม และลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับ CPF FARM Solution เพื่อพัฒนาส่วนง่านต่างๆ ของฟาร์ม เรื่องมาตรฐาน การกำจัดสัตว์พาหะ หรือด้านอื่นๆ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารแก่ผู้บริโภค และเจ้าของกิจการ ในช่วงที่ผ่านมา ฟาร์มต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับคำแนะนำ ให้บุคลากรทำงานที่ฟาร์มพักอาศัยอยู่ภายในฟาร์ม งดการออกนอกพื้นที่ เพื่อการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาตรการที่ดำเนินการอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว ได้ถูกยกระดับการป้องกันสูงสุดทั้งโรคในสุกรและบุคลากร โดยเฉพาะระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Biosecurity) ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการป้องกันโรคต่างๆ ที่ซีพีเอฟปฏิบัติมาโดยตลอด ช่วยให้การป้องกันโรคมีประสิทธิภาพสูง ควบคู่กับการอบรมและให้ความรู้แก่พนักงาน และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนแทรคฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเทคนิค วิธีการ และมาตรการป้องกันโรคในสุกร และโควิด-19 แก่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มกับบริษัทมาโดยตลอด ทั้งการแบ่งปันองค์ความรู้ในกลุ่มเกษตรกร การเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์ม และการอบรมผ่านออนไลน์ ทำให้เกษตรกรมีพื้นฐานความรู้และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ในฟาร์มของตนเอง ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ทำให้เดินหน้าอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรให้คำแนะนำ ให้บุคลากรพักอาศัยอยู่ภายในบริเวณฟาร์ม โดยยังคงได้รับการดูแลความเป็นอยู่และอาหารการกินที่เหมาะสม ตลอดจนใช้กล้องวงจรปิดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆเข้าไปสู่ฝูงสัตว์ โดยคนไม่จำเป็นต้องเข้าไปในโรงเรือน เพราะสามารถมอนิเตอร์ผ่านกล้องได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นการสร้างความปลอดภัยในอาหาร และเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภค และเจ้าของฟาร์มอีกด้วย สำหรับหลักการดังกล่าว ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ ทั้งส่วนของ การป้องกันและการควบคุมโรคระบาด ที่เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ ทั้งบุคลากร และสัตว์ ได้รับความเสียหายหรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจจะต้องปิดกิจการ ถ้าไม่มีการป้องกันโรคระบาดที่ดีพอ ถือเป็น ความปลอดภัยในส่วนของ บุคลากร และสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีอีกส่วนที่สำคัญคือ ส่วนของอาคาร โรงเรือน และระบบไฟฟ้าต่างๆ ฟาร์มควรมี การตรวจไฟฟ้า และอบรมการระงับอัคคีภัย การป้องกันอัคคีภัย ของฟาร์มควรมีการตรวจ ระบบไฟฟ้า โดยผู้เชียวชาญ เนื่องจากอุปกรณ์ และความเชียวชาญ ในการทำงาน จำทำให้แนะนำได้ว่า สิ่งใดที่ ฟาร์มควรได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม ทาง CPF Farm Solutions มีบริการ เพิ่มเติม บริการด้านวิศวกรรม ระบบไฟฟ้า ระบบลำเลียง และการบำรุงรักษา เพื่อให้สัตว์เลี้ยงปลอดภัยจากอันตราย ไม่เกิดอัคคีภัย ไม่เกิดความสูญเสีย อบรมให้เจ้าหน้าที่ มีทักษะใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัย และ มีทักษะด้านระบบไฟฟ้าและการป้องกัน ทำไมต้องตรวจ ระบบไฟฟ้า จากผู้ชำนาญการ หรือใช้บริการกับ CPF Farm Solution เป็นผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งบริการครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม สนใจการบริการ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 0855598988 สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตายจากไฟฟ้าดับ เพิ่มทักษะ ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเองสามารถใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น ลดการเกิดอัคคีภัย ได้ 99% ใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในฟาร์ม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดความสูญเสียมหาศาล ปลอดภัย อุ่นใจ เชื่อถือได้กับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม Read More »

ให้คำปรึกษามาตรฐานGAPฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม GAP  คืออะไร ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ 3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก  มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน 2. การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์ มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง 3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม Read More »

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร

ความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม (Biosecurity) คืออะไร ถ้าเราเรียกกันง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือแนวทางในการป้องกันโรคที่อาจจะเข้ามา ที่ฟาร์มของเราได้ ซึ่ง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นส่วนสำคัญมากกับฟาร์มสัตว์ เพราะหากมีการเกิดโรคระบาด แล้ว หรืออาจจะส่งผลกระทบร้ายแรง กับฟาร์มของเรา ได้เป็นอย่างมากเลยครับ  นอกจากนี้แล้ว หากเรามีการป้องกันที่ดี ก็จะมีผลกับด้านอื่นอีก เช่นการลดต้นทุนค่ายา วัคซีน วิตามิน อาหารเสริมที่เราให้กับสัตว์ ของเรา และไม่ใช้เรื่องยากเกินไปสำหรับ ฟาร์มที่ต้องการป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากโรคระบาด ในแต่ละครั้ง  ดังนั้นแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ (ควรจะเป็น) ในฐานเจ้าของฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ และบอกผลกระทบ กับ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนนั้นๆ เพื่อที่จะได้ เข้าใจตรงกัน และสามารถทำได้จริงๆ ก่อนหน้านี้ ได้มีการแนะนำ CPF FARM SOLUTION ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม และในเว็บก็จะมีส่วนของ การจัดสัตว์พาหะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และมีผู้เชี่ยวชาญ และระบบ คอยดูแลให้ครับ เจ้าของฟาร์มขนาดกลาง และขนาดย่อย ท่านใด สนใจก็ สามารถคลิกเข้าไปที่ ลิงก์ ด้านล่างได้เลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว (ลิงก์นี้ครับ) 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 การจัดการและการป้องกันโรค บริการจาก CPF Farm Solution ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้ที่ cpffeedsolution.com   “ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity)” ทำอย่างไร และมีความ สำคัญแค่ไหน ? ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือ แนวทางปฏิบัติสำหรับฟาร์ม และทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่ว่าจะเข้า มาจากภายนอกฟาร์ม เข้าสู่ภายในฟาร์ม หรือจากภายในฟาร์ม ที่อาจจะมีการระบาด จากส่วนการผลิตหนึ่งไปอีกส่วนนึง เพราะว่าเวลาเกิดโรคใหม่ขึ้นในฟาร์ม มักจะเกิดจาก การนำเชื้อจากภายนอก ไม่ว่าจะมาจากรถที่รับซื้อ หรือ อาจจะติดมากับสัตว์พาหะ หรือคนภายในฟาร์มที่ออกไปข้างนอกเข้ามาสู่ฟาร์ม ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีระบบป้องกันทางชีวภาพ ที่ไม่ดี หรือละเลย การป้องกันที่ดี ก็จะทำให้เชื้อโรคระบาดจากภายนอก เข้ามาภายในฟาร์ม และพบว่าส่วนใหญ่เวลาเชื้อโรคเข้ามา ก็สามารถเข้ามาได้ทั้ง ส่วนของการขาย หรือส่วนของการผลิต เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ที่ยังพอรักษาได้ แต่หากเป็นโรคอื่น ที่รักษาไม่ได้ หรือไม่มีวัคซีน ถ้าฟาร์ม วางระบบป้องกันทางชีวภาพภายในฟาร์มไม่ดีพอ ก็มีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกหน่วยการผลิตภายในฟาร์ม ทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ฟาร์ม ต้องสำรวจก่อนว่า ฟาร์มของเราเข้มงวดพอแล้วหรือเปล่า สำหรับจุดเสี่ยง ที่แนะนำให้ทำการตรวจสอบมีดังนี้ เล้าขาย สำหรับจุดนี้ เนื่องจากมีรถที่มารับซื้อ สัตว์จากทางฟาร์ม และรถที่มารับซื้อก็ไปหลายๆ ฟาร์ม ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งที่แพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ตัวอย่างเมื่อรถรับซื้อมาที่ฟาร์ม ที่ไม่มีการป้องกัน อาจจะ มีการฉีดน้ำ เพื่อล้าง หรือเพื่อ ลดความร้อน ให้กับสัตว์ ทำให้น้ำชำระล้าง มาที่พื้นที่ส่วนของการซื้อขาย พนักงานฟาร์มก็เดินไป บริเวณนั้น และได้รับเชื้อติดมาที่รองเท้า และเดินเข้าฟาร์มมา ทำให้เชื้อแพร่กระจ่ายในฟาร์มของเรา สำหรับวิธีการที่ดี สำหรับการป้องกันโรค และง่ายในการจัดการคือ มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ เช่นทำรั้ว และเป็นพื้นที่มิดชิด พื้นที่ขายต้องเป็นพื้นปูน มีช่องทางระบายน้ำล้าง มีแสงแดดส่องถึงทั่ว จะได้ง่ายต่อการทำความสะอาด และ ดูแลรักษาง่าย ทางเข้าออกต้องแยกกัน กับรถที่มารับซื้อ ป้องกันการปนเปื้อน กับรถของฟาร์ม และการขนส่งอื่นๆ กรณีที่เดินทางเส้นเดียวกันอาจจะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับรถ ติดต่อกันได้ มีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่รถลูกค้า จะผ่านเข้ามาที่ฟาร์ม หรือส่วนการขาย สำหรับการพ่นยาฆ่าเชื้ออาจจะทำเป็นอุโมงค์ก็ได้ การพ่นยาฆ่าเชื้อ จะต้องพ่นให้ทั่วทั้งคัน ถ้าเป็นไปได้ มีในส่วนของทางเข้า และทางออกจะดีมาก กรณีไม่มีการแยกทางเข้าออก อาจจะมีช่องทางส่งจากภายในฟาร์มไปที่รถ เพื่อป้องกันการสัมผัส ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาที่ฟาร์ม เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากๆ ตอนเลิกงานในแต่ละวัน จะต้องมีการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อ ให้ทั่วบริเวณทุกครั้ง และสำหรับพนักงานของฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องล้างทำความสะอาด และรองเท้า ต้องมีการ จุ่มน้ำยา พนักงาน ในแต่ละส่วนพื้นที่ ต้องอยู่ในส่วนของตัวเอง หากมีการออกนอกพื้นที่ต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และเดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อรองเท้าทุกครั้ง ส่วนของการขาย หากมีการคัดผิด ห้ามนำกลับพื้นที่โดยเด็ดขาด ในส่วนของพื้นที่เล้าขาย ต้องมีการสุ่มตรวจ น้ำยาฆ่าเชื้อ และกำหนดให้เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด ทางเข้า-ออก หน้าฟาร์ม สำหรับทางเข้าออกฟาร์ม ควรจะมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทั้งคน และรถ ทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อ รอบคันจะดีมาก มีการทำบันทึกการเข้า-ออก ทั้งนี้ ถ้าเป็นบุคคลภายนอก หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม เข้ามา ก็ต้องมีรองเท้าบู๊ทให้เปลี่ยน และเดินผ่าน หรือ จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์มเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกฟาร์ม และเมื่อมีการระบาด ทางฟาร์มต้องงดการเข้าออก หรือให้มีการเข้าออกน้อยที่สุด จะปลอดภัยกับทางฟาร์ม ยิ่งหากเป็นโรคระบาดที่ยังไม่มีการรักษาได้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องสัตวพาหะ ด้วยครับ เช่น นก หนู เพราะ สามารถ นำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ส่วนของการเลี้ยงสุกร โรงเลี้ยง หรือผ่ายผลิต ก่อนที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะเข้าไป ต้องมีการเปลี่ยนชุดที่ใส่มาจากภานนอกก่อน และอาบน้ำ ก่อนเข้าไปยังส่วนงานของตัวเอง รักษาความสะอาด เดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างมือ ทั้งนี้ส่วนของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ ต้องมีการเปลี่ยนทุกวัน หรือวันเว้นวันได้ ส่วนของรองเท้า ใช้งานในโรงเลี้ยง กับข้างนอก ต้องเป็นคนละคู่กัน หรือเปลี่ยนให้สีต่างกันเป็นต้น เพื่อง่ายต่อการสังเกตุ และเป็นการป้องกัน เชื้อโรคจากภายนอกเข้ามาใน ส่วนต่างได้ นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็ห้ามเข้ามาในส่วนที่เราต้องรักษาความสะอาด เพราะอาจจะทำให้ติดโรคได้ หรือเป็นตัวแพ่มาสู่ สัตว์ของเราได้ ทางฟาร์มต้องมีการกำจัดสัตว์พาหะ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะนกที่อาจจะเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ เพราะบินไปหลายที่ โรงเรือนต้องมีตาข่ายคลุม เพื่อป้องกัน อุปกรณ์ ที่ใช้งานต่างๆ ต้องมีการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด อันนี้เป็นแค่ส่วนนึง สำหรับการป้องกันโรคระบาด ที่ผู้จัดการฟาร์มต้องให้ความสำคัญ และบอกถึงผลกระทบ หากไม่ทำตาม ผลกระทบของฟาร์มจะมีอะไร และเจ้าหน้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างไร หากเกิดเหตุขึ้นจริงๆ ปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งเมื่อเกิดเหตุ คือ พฤติกรรมที่เคยชิน ไม่ทำตาม อาจจะส่งผลให้ฟาร์มเสียหายจากโรคระบาดได้ หากเป็นโรคที่รักษาได้ ก็ยังดี แต่หากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือไม่มีวัคซีนป้องกัน อาจจะทำให้ฟาร์มเสียหาย จนต้องปิดตัว และพนักงาน ตกงาน เพราะการติดโรคระบาดได้ครับ แต่ถ้าหากฟาร์มของเรา มีการป้องกันที่ดี แล้ว ก็จะช่วยประหยัด ในเรื่องของค่ายา ค่าวัคซีน ไปได้อีก มากกว่าฟาร์มที่เป็นโรค และไม่จบ เพราะการใช้ยา วัคซีน ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามที่ ตลาดต้องการ ครับ มาตรการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สำหรับฟาร์มสัตว์ปีก มีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ ฟาร์มสัตว์ปีก ต้องห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก และตลาด อย่างน้อย 5 กิโล ห่างฟาร์มอื่น 3 กิโล ห่างเขตชุมชน มีรั้ว หรือแนวดิน ถนนสาธารณะ ควรห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 400 เมตร และมีรั่วกั้น รอบรั่วของโรงเลี้ยง ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันสัตว์พาหะ เพื่อป้องกันนก และสัตว์พาหะอื่นๆ เข้าโรงเลี้ยง เป้นการป้องกันโรคได้อย่างดี การเข้าออกฟาร์มต้องมีการ พ่นยาฆ่าเชื้อหรือ อาบน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งคน และรถที่เข้าออก รักษาความสะอาดรอบโรงเรือน 3 เมตรเพื่อป้องกันหนู หรือแหล่งสะสมของเสียปฏิกูลต่างๆ โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และควรเป็นแบบโรงเรือนระบบปิด แต่หากเป็นโรงเรือนระบบเปิด ต้องมีตาข่ายป้องกันนกหรือสัตว์พาหนะของโรคไม่ให้เข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีกที่เลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีการควบคุมอุณหภูมิ , ความชื้น , แก๊ส , แสงสว่าง และการระบายอากาศที่ดี ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกที่กรมปศุสัตว์กำหนด สามารถดูฟาร์มระบบปิดได้ที่ 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 ไม่นำอุปกรณ์เครื่องใช้ใดๆ จากฟาร์มหรือจากแหล่งที่เลี้ยงสัตว์อื่นมาเข้าภายในฟาร์ม ถ้าต้องการนำมาใช้ ต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อน และแน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคแล้ว เมื่อสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ หรือ สงสัยว่าป่วยตายด้วยโรคไข้หวัดนก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์โดยด่วน และฆ่าเชื้อโรคโดยรอบโรงเรือน และภายในฟาร์มทันที พร้อมห้ามมิให้บุคคล , ยานพาหนะ เข้าในฟาร์มโดยเด็ดขาด สำหรับฟาร์มสัตวปีก การปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเคร่งครัด ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สำหรับฟาร์มทุกขนาด และแนะนำให้ เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพราะการได้มาตรฐานฟาร์ม นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ที่ไม่ควรละเลย เพราะถือเป็นการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสัตว์ปีก และไข่สัตว์ปีก สำหรับผู้บริโภคก็ควรเลือกซื้อวัตถุดิบไม่ว่าเนื้อ , เครื่องใน , หรือไข่ ที่จะนำมาประกอบอาหารบริโภคนั้น ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และรับรองความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้แล้ว หากฟาร์มที่มีการเลี้ยงสุนัข ที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านหรือฟาร์ม ก็จะต้องกักขังหรือล่ามโซ่ไว้ หรือควบคุมบริเวณ ไม้ให้ออกไปหากินอาหารนอกฟาร์ม เพราะอาจจะไปกินซากสัตว์ปีกตายด้วยโรคระบาดสัตว์ แล้วเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคได้ และห้ามมิให้สุนัขเข้าไปในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด ส่วนผู้เลี้ยงทุกครั้งที่จะเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า และจุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าโรงเรือน ตามข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกอย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็ปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก และยังเป็นการปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ(Biosecurity) อีกด้วย การจัดการมาตรฐานฟาร์ม การป้องกันโรค และการกำจัดสัตวพาหะ สามารถดูรายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ cpffarmsolutions.com

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร Read More »

การจัดการฟาร์มสมัยใหม่

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว สวัสดีครับ บทความนี้ ผม จะแนะนำวิธีการ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ท่านใด ที่ต้องการเริ่มธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเคยมีประสบการ์ณในการทำธุรกิจนี้มาแล้ว หรือว่าต้องการที่จะมองหา ธุรกิจอื่น เสริมเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ และกระจายความเสี่ยง จากธุรกิจเดิม ก็สามารถเข้ามาทำ และรับคำปรึกษาจากทีมงานได้ครับ ปัญหาหลักของการ จัดการฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้บริหารฟาร์ม เจ้าของกิจการ หรือใครที่เคยทำ ก็จะมีปัญหา ในการจัดการฟาร์มอยู่ หลักๆ 5 อย่างดังนี้ ไม่ต้องกังลวไปครับ ท่านที่ได้อ่านบทความนี้ รับรองได้คำตอบ และจะแนวทางปัญหา และการแก้ไข สำหรับฟาร์มของเรา ไม่ว่าสนใจ ลงทุน สร้างใหม่ ต่อเติมขยาย หรือว่ามีฟาร์มอยู่แล้ว แต่เจอปัญหาเหมือนกัน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ การจัดการและการป้องกันโรค ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ การป้องกันสัตว์พาหะ บุคลากรไม่เพียงพอ จากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่เริ่มสนใจธุรกิจฟาร์ม หรือว่าท่านที่อยู่ในธุรกิจฟาร์ม มานานแล้ว ก็จะได้พบเจอกับปัญหา 1 ใน 6 อย่างตามที่กล่าวมาครับ แล้วเราในฐานะเจ้าของหรือว่าผู้บริหารฟาร์ม จะทำอย่างไร ให้ ฟาร์มของเรา เติบโต และสร้างฐานตลาด มีลูกค้า หรือ ที่ในการส่งสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฟาร์มเติบโต และเป็นที่ต้องการ หรือยอมรับของ ผู้บริโภค และจากปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะพบบ่อย หรือเป็นจุดที่จะเปลี่ยน รูปแบบการดำเนินงาน ของฟาร์มเรา ให้ดีขึ้น หรือแย่ลง เรื่องหลักๆ เหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และได้รับการแก้ปัญหา โดยมืออาชีพจริงๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการแนะนำ ให้คำปรึกษา และเชียวชาญ ในแต่ละด้าน มาช่วยให้คำแนะนำ และทำให้ธุรกิจของเราเติบโต แนะนำ CPF FARM SOLUTION เว็บ ศูนย์รวม บริการเรื่องฟาร์ม ไว้ครบ เรียกว่ามาที่เดียว ครบ จบทุกปัญหา พร้อมแล้วมาดู บริการแต่ละอย่างที่เรา สามารถ รับบริการได้กันเลย   เว็บที่สร้างมาเพื่อ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เข้าถึงทุกบริการ สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ได้จากเว็บเดียว  มีคำแนะนำ เรื่องเงินทุน การป้องกันการจัดการโรค ราคาพันธ์ุสัตว์ การทำมาตรฐาน เพื่อ ขยายตลาดทั่งในต่างประเทศ และในประเทศ สำหรับ ผู้เริ่มต้น หรือมีฟาร์มอยู่แล้ว สำหรับฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็เข้ามาใช้งาน และรับคำปรึกษาได้เลย สั่งซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ บริการเพื่อความสะดวกสำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เชื่อมโยงทุกคำสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ รวดเร็ว ถูกต้อง ได้ตลอด 24 ชม   งานบริการลูกค้าอาหารสัตว์ที่เป็นเลิศ เพื่อ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบครบวงจร จบทุกปัญหาที่ farm solutions เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในฟาร์ม และลดความสูญเสีย ยกระดับมาตรฐานฟาร์มลูกค้า สร้างการเติบโตไปด้วยกัน   การจัดการและการป้องกันโรค การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ การจัดการโรค  และการป้องกันโรคระบาด เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่ผู้ดูแลฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากมีการติดโรคแล้ว กรณีที่ร้ายแรง จะส่งผลทำให้เสียหายทั้งฟาร์มได้ ดังนั้นเรื่องการป้องกันโรคระบาด จึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับฟาร์ม ทางตรงรองจาก เรื่องเงินทุนเลยครับ ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม cpf farm solution ให้คำปรึกษา และแนะนำเรื่องวิศกรรม จากผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งทำให้มีบริการที่ครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้ฟาร์ม ปลอดภัย ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม มีบริการอบรม แนะนำให้กับเจ้าหน้าที่ในฟาร์ม บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตายจากไฟฟ้าดับ เพิ่มทักษะ ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเองสามารถใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น บริการนี้จะทำให้ พนักงานในฟาร์มมีทักษะในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ในฟาร์มได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัย รวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในฟาร์ม ลดการเกิดอัคคีภัย ได้ 99% ใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในฟาร์ม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดความสูญเสียมหาศาลปลอดภัย อุ่นใจ เชื่อถือได้กับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในฟาร์ม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ฟาร์มที่มีมาตรฐาน จะทำให้สามารถขยายตลาด ไปยังตลาดทั้งใน และต่างประเทศได้ ส่วนของของ cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL สำหรับฟาร์มที่ต้องการทำคุณภาพ หรือมาตรฐานฟาร์ม เพื่อต้องการส่งออก หรือ เพิ่มช่องทางการขาย ให้กับฟาร์ม ทางฟาร์มโซลูชั่นมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบมาตรฐาน มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทีมงานทุกคนผ่านการอบรมมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหารระดับเชี่ยวชาญ จากประเทศอังกฤษ ได้รับรองระบบมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งทั้งในและต่างประเทศเป็นตัวแทน ของผู้ประกอบการไทยในการตรวจให้ การรับรองในระดับประเทศ เรียกว่ามาที่เดียครบ ทำให้ธุรกิจเติบโต และก้าวหน้า โดยมีผู้มีประสบการณ์ ให้คำปรึกษาด้วยครับ การป้องกันสัตว์พาหะ การป้องกันสัตว์พาหะ จะส่วนประกอบที่สำคัญมาก ในการดูแลฟาร์ และการป้องกันโรค cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม ทีมงานทุกคนผ่านการอบรม จากหน่วยงานราชการ ถูกกฎหมาย วิธีการ & อุปกรณ์ การทำงานทันสมัย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการจัดการ สัตว์พาหะครบวงจร รู้ทันเร็ว ป้องกันไว กำจัดสัตว์พาหะอย่างถูกวิธี ทำให้การป้องกันโรค ได้ดีขึ้น ปลอดภัยกับฟาร์ม ฟาร์มที่ใช้บริการนี้ จะลดอัตราการตายของสัตว์ในฟาร์ม ลดปัญหาชุมชนร้องเรียนจากสัตว์พาหะ ยกมาตรฐานของฟาร์มเข้าสู่ระบบคุณภาพ สามารถทำเองได้ และ มีทักษะการใช้อุปกรณ์จัดการสัตว์พาหะ ถูกต้อง ปลอดภัย บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดเจ้าหน้าที่ ต้องการบุคคลากรเพิ่ม บริการสรรหาบุคลากรและอบรม บริหารจัดการฟาร์ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ สรรหาบุคลากรได้รวดเร็ว และลูกค้าไม่ต้องเสีย งบประมาณในการประกาศรับสมัครงาน พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรฟาร์มเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้าง ผลสำเร็จต่อลูกค้าอย่างยั่งยืน เรามีฐานข้อมูลรายชื่อคนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฎิบัติงาน ในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นอย่างไรบ้างครับ เว็บที่แนะนำ CFP FARM SOLUTION จะเป็นผู้ช่วยที่มาที่เดียวครบเรื่องการบริหารจัดการฟาร์มเลยครับ ผมหวังว่า ท่านทีต้องการผู้เชียวชาญ หรือต้องการที่ปรึกษาในการบริหารจัดการฟาร์ม เว็บนี้จะตอบโจทย์ และเป็นผู้ช่วยคุณได้เป็นอย่างดีเลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว Read More »

แนะนำระบบ smart farm

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564

ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) และ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ อัพเดท  2564 ทำไม เกษตรกร หรือ เจ้าของผู้ดูแลฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้อง รู้เรื่องการจัดการฟาร์มแบบใหม่ และระบบ smart ฟาร์ม ระบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มของเรา ดีขึ้น ผลผลิตมากขึ้น เจ้าของฟาร์ม เจ้าหน้าที่ และพนักงาน มีความสุขในการทำงานขึ้น ได้อย่างไร ? เรามาดูกันครับ รับรองไม่ยุ่งยาก และเข้าถึงได้ ง่ายๆเลย ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) หรือฟาร์มอัฉริยะ ระบบนี้ เป็นระบบที่ คอยช่วยเหลือ และคอยดูแลฟาร์มของเรา ให้มีประสิทธิภาพในการผลิด และใช้ต้นทุนในการดูแลที่น้อยลง ทำให้ฟาร์มของเรา ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และกำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเฝ้าระวัง คอยดูแล เรื่องการจัดการความเสี่ยงเรื่องโรคได้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลฟาร์มของเรา หรือรับการแจ้งเตือนทางมือถือ ในเรื่องต่างๆ ได้ ทำให้ผู้บริหารฟาร์ม ตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงาน ได้ดีขึ้น แล้ว ระบบ Smart Farm มีอะไรบ้าง? ส่วนพื้นฐานการดูแลฟาร์ม ระบบจะดูแล ในทุกส่วน เช่น การเกิด การกินอาหาร น้ำ การตาย และเน้น ประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเป็นหลัก โดยจากเดิมที่เราต้องกรอกข้อมูลไว้ในกระดาษบ้าง ใน โปรแกรม excel บ้าง และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ระบบนี้ จะเป็นตัวช่วยจัดการได้เป็นอย่างดี ว่า สัตว์ที่เราเลี้ยง ได้รับอาหาร เหมาะสมกับการเติบโตไหม และอาหารที่เลือกใช้ เหมาะสมกับการเลี้ยสัตว์ของเราหรือเปล่า สูตรไหน ที่เราควรจะใช้ ในวัยไหนของสัตว์ที่เราเลี้ยง เพื่อดูอัตราการแลกเนื้อกับอาหารที่เราลงทุนไป ทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะทำการปรับอาหาร หรือต้องทำอย่างไรต่อไป นอกจากนี้แล้ว ในกรณีที่หากมีความผิดปกติ จากมาตรฐานที่เราได้ตั้งไว้ ที่อาจจะทำให้ สัตว์ของเรา อาจจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ ก็จะ มีการแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์มทราบทันที เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ต่อไป สำหรับความช่วยเหลือ ก็จะมาทั้งจาก ทีมงานที่ดูแล และส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการแก้ไขปัญหาของฟาร์มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างทันท่วงที ตัวอย่างการแจ้งเตือน หนึ่งในการ แจ้งเตือน เมื่อมีความผิดปกติ ในการกินอาหาร ที่เจ้าของ และผู้ดูแลจะได้รับ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เราสามารถมาดูย้อนหลัง และวางแผน หรือขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นในอนาคตได้ ระบบนี้จะช่วยในการคำนวน และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้องเข้าไปแก้ไขก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น สมาร์ทฟาร์ม iot ระบบที่จะช่วยให้เจ้าของฟาร์ม รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม แบบทันที ระบบนี้ จะเข้ามาช่วยลดหน้าที่ ของพนักงาน และสัตวบาล ในการเข้ามากรอกข้อมูล เรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลมในโรงเรือน ในส่วนนี้ จะมีตัวเซ็นเซอร์ เข้าไปติดตั้ง และให้เจ้าของฟาร์ม สามารถดูข้อมูลได้ตลอดเวลา และยังช่วยประมวลผล ว่า สิ่งแวดลอมแบบใด ที่เหมาะกับสัตว์ หรือ ไม่เหมาะสม และเอามาเพื่อวิเคราะห์ ประสิทธิภาพในการเลี้ยง ได้ต่อไป จึงเป็นความสำคัญที่ทำให้ คุณภาพการเลี้ยง ดีขึ้น ส่งผลไปถึงผลผลิตได้ดีขึ้นด้วย ระบบ Smart Farm Solution บอกอะไรเราบ้าง? ระบบจะทำการแจ้งเตือน สถานะการทำงาน และสภาพแวดล้อมในโรงเรือน แจ้งเตือนความผิดปกติในการทำงาน ในระบบต่างๆ เช่น พัดลมไม่ติด อุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นหรือระดับน้ำต่างๆ ที่เป็นตัวแปรสำคัญของโรงเรือน แสดงค่าการวิเคราะห์ ผลการทำงาน เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม สามารถบริหารงานผ่านระบบมือถือ ระบบ Smart Farm มีส่วนช่วยอย่างมากให้ สภาพแวดล้อมในฟาร์ม พอเหมาะพอดี กับการเป็นอยู่ของสัตว์ เมื่อสัตว์ มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว การกินอาหาร และการเติบโตก็ดีไปด้วย ข้อดี ของ ระบบ Smart Farm อีกอย่าง คือ เมื่อระบบเรียนรู้แล้ว ว่า สภาพแวดล้อมใดที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต สัตว์ กินอาหารได้ เติบโตดี เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ต้องการ ระบบก็จะ พัฒนา และปรับทุกอย่างแนะนำ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สัตว์ต้องการ เพื่อให้เป็นระบบออโต้มากขึ้น ตัวอย่างหน้าจอของระบบ สมาร์ทฟาร์ม สามารถดูข้อมูลที่เกียวข้องกับ การจัดการระบบ อีแวป และการจัดการโรงเรือน ได้ที่นี่ แนะนำครับ มีเอกสารให้โหลด ครบ https://cpffeedsolution.com จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ก็จะสามารถ ใช้ประโนชน์ จากข้อมูลที่เก็บมา ได้เติมประสิทธิภาพ ดังนี้ คาดการณ์ ประสิทธิภาพการเลี้ยง ผลผลิตโดยประมาณการณ์ เปรียบเทียบประเภทอาหาร ที่เหมาะสมกับการเลี้ยง ระบบสมาร์ทฟาร์ม iot กับการป้องกันโรค เป็นระบบที่ไว้ป้องกันโรค จากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม ใช้ในการป้องกันการสัมผัส ระหว่างลูกค้าที่มารับสัตว์ และฟาร์ม ซึ่งอาจจะมีการสัมผัสกับพนักงานในฟาร์ม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคได้ ระบบจะมีการตรวจจับ บุคคลในฟาร์ม และบุคคลภายนอกฟาร์ม เพื่อคำนวนความเสี่ยง และการสัมผัสโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยระบบป้องกันโรค จะมีการจับภาพ และแจ้งเตือนเข้าไปในไลน์ให้กับผู้เกี่ยวข้อง และสามารถดูย้อนหลังได้ ดูสรุปได้ เพราะหากการป้องกันโรคไม่ดี จะทำให้ฟาร์มเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อมีการแจ้งเตือนหรือส่งภาพแล้ว อาจ เนื่องมาจากการเข้าพื้นที่เฝ้าระวัง ก็จะมีการเตือน เพื่อเป็นการป้องกัน ในขั้นแรก และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้อง ดำเนินการขั้นตอนความปลอดภัยต่อไป ในการแจ้งเตือนของระบบก็จะมีการแจ้งเตือน ตั้งแต่ ถ้ามีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการป้องกันเชิงรุก ก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้นกับฟาร์ม ทั้งนี้ พนักงานที่มีโอกาส จะสัมผัส หรือสัมผัสไปแล้วจะต้องถูกดำเนินการตาม มาตรการการป้องกันโรคต่อไป เช่นมีการกักตัว และเมื่อได้เวลาตามที่กำหนดแล้ว จึงจะสามารถกลับมาทำงานได้ตมามปกติ มาตรการในการป้องกันโรค แบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับฟาร์มได้ เป็นอย่างดี เพราะจุดที่มีการซื้อขาย รถที่มารับซื้อ อาจจะมาจากฟาร์มที่มีการติดเชื้อ ตลาด หรือแหล่งอื่นๆ และทำให้เชื้อเข้าสู่ฟาร์มได้ ดังนั้นการป้องกันด้วยระบบ ก็จะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับเจ้าของฟาร์ม หรือผู้จัดการฟาร์ม ทำไม ? การป้องกันโรค จึงเป็นส่วนสำคัญ ในการจัดการฟาร์ม สำหรับการป้องกันโรค ที่จะเข้าสู่ฟาร์มนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากยกตัวอย่างเช่น โรค AFS หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนในการดูแลรักษา และก่อความเสียหายให้อย่างมากใน ฟาร์ม ดังนั้น การป้องกัน ด้วยระบบ เป็นเรื่องที่จำเป็น ที่ฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ดังที่ว่า ถ้าสัตว์ในฟาร์มไม่ถึงมาตรฐาน ยังสามารถขายได้ แต่หากเป็นโรคแล้ว ไม่สามารถทำอะไรได้เลย การป้องกันโรคจึงเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดการฟาร์ม แนะนำ CPF FARM SOLUTION ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์มครบวงจร สำหรับท่านเจ้าของฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบ การจัดการฟาร์ม สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ ซีพีเอฟ ฟาร์มโซลูชั่น บริการทั้งหมด นอกจากระบบ Smart Farm แล้ว ยังให้บริการอื่นๆดังนี้ ระบบด้านไฟฟ้า และวิศวกรรมโรงงาน ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค จำกัดศัตว์พาหะ อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการสรรหาบุคคล และการอบรม คัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 Read More »

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

CPF ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ชูมาตรฐานฟาร์มสุกรระบบไบโอซีเคียวริตี้ในการเลี้ยงสุกรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังยกระดับการป้องกันโควิด-19 ให้พนักงานภายในฟาร์ม โดยวางระบบบับเบิลแอนด์ซีลและฉีดวัคซีนให้ทุกคน ป้องเชื้อโควิดเข้าพื้นที่ฟาร์ม 100% มั่นใจความปลอดภัยทั้งสุกรและคนเลี้ยง ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้หมูซีพีได้อย่างสบายใจ    น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิชาการ สายธุรกิจสุกร CPF เปิดเผยว่า ปัจจุบันฟาร์มสุกรทั้งหมดของ CPF ดำเนินมาตรฐานฟาร์มตามแนวทางของกรมปศุสัตว์ และยกระดับสู่ “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” เข้มข้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงสุกรปลอดโรค อันจะส่งผลให้ได้เนื้อหมูอนามัยที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค“CPF ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยในขั้นตอนของการเลี้ยงสุกร เป็นอีกข้อต่อที่สำคัญของความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดย CPF ได้ยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรเข้าสู่ระบบไบโอซีเคียวริตี้แล้วทั้งหมด แม้จะมีความยุ่งยากในการดำเนินการ แต่สุดท้ายได้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสุกรทุกตัวในฟาร์มมีสุขภาพดีและปลอดโรค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว     มาตรฐานฟาร์มสุกร CPF ในระบบไบโอซีเคียวริตี้ เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วย การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันสัตว์พาหะทั้งหนู นก แมลงต่างๆ โดยวัตถุดิบต่างๆ ที่นำมาใช้ภายในฟาร์มไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรืออื่นๆจะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มา ซึ่งทุกฟาร์มจะรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ทั้งยังต้องควบคุมรถขนส่งเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวด รถทุกคัน-พนักงานทุกคนต้องผ่านระบบฆ่าเชื้อ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนหรือพาหนะนั้นๆ จะไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม รวมถึงการกำหนดจุดส่งมอบสุกรที่แยกจากฟาร์ม ทั้งนี้ไม่เพียงฟาร์มของบริษัทแต่ยังถ่ายทอดมาตรการการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรในคอนแทรคฟาร์มมิ่งของบริษัทฯ ทั่วประเทศครบทุกรายแล้ว ยืนยันได้ในความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสุกรเพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคขณะเดียวกัน ในสถานการณ์โควิด CPF ยังยกระดับการป้องกันโรคขั้นสูงสุดให้แก่พนักงานในฟาร์มทุกคน ตั้งแต่การสำรวจและคัดกรองคนก่อนเข้าฟาร์ม การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการรักษาสุขอนามัย โดยพนักงานทุกคนที่เข้าฟาร์มต้องผ่านการตรวจอุณหภูมิของร่างกาย จุ่มเท้าฆ่าเชื้อ สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย รณรงค์สร้างความตระหนักด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน หมั่นล้างมือด้วยน้ำ สบู่ แอลกอฮอล์ มาตรการรักษาความสะอาดโดยทำความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสหรือใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ของพื้นที่และสิ่งของภายในฟาร์มทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้พนักงานทุกคน    “ลักษณะของฟาร์ม เป็นสถานที่อากาศถ่ายเท และไม่มีพนักงานจำนวนมาก ดังนั้น การจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างจึงทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับระบบไบโอซีเคียวริตี้ในฟาร์มมาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่าสุกรทุกตัวของ CPF มีความแข็งแรง ปลอดโรคและปลอดภัยต่อการบริโภค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว./

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)