Logo-CPF-small-65png

ซีพีเอฟ รับรางวัล ASEAN-OSHNET Awards องค์กรต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยของอาเซียน

   บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารสัตว์บก โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม จังหวัด สระบุรี ได้รับคัดเลือกเป็นสถานประกอบการดีเด่นในฐานะตัวแทนประเทศไทยเข้ารับรางวัล ASEAN-OSHNET Best Practice Award ในพิธีมอบรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน โดยมี นาย ตัน ซี เลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ Ministry of Manpower, MOM สิงคโปร์ เป็นประธานมอบรางวัล ณ Marina Bay Sands and Expo & Convention Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี นางวัชรี มากหวาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมพิธีฯ พร้อมด้วย นางสาวสุวดี ทวีสุข ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน นายอัครพงษ์ นวลอ่อน รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้   นางสาวสุวดี ทวีสุข ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน กล่าวว่า รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียนหรือ ASEAN-OSHNET Awards เป็นรางวัลที่ มอบให้กับสถานประกอบกิจการในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีการดำเนินการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่น แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่นอาเซียน (Exellence Awards) และรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Best Practice Awards)    โดยในปีนี้ประเทศไทยมีสถานประกอบกิจการที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลดังกล่าว จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท สยามกลาส อินดัสทรี จำกัดได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่นอาเซียน (ASEAN-OSHNET Excellence Award) และ บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ธารเกษม ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Best practice Award) รางวัลดังกล่าว เป็นรางวัลที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมุ่งส่งเสริมองค์ความรู้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดีให้กับแรงงาน ผ่านการบูรณาการเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งบริษัททั้งสองแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับสถานประกอบกิจการอื่นๆ ในการปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้แรงงานมีความปลอดภัยในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างยั่งยืนต่อไป    นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม จังหวัด สระบุรี ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนสถานประกอบการจากประเทศไทยเข้าร่วมรับรางวัล ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสามารถคว้ารางวัลระดับ Best Practice Award มาได้ ซึ่งทางโรงงานฯ ได้นำนโยบายของ ซีพีเอฟที่ให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (CPF SHE&En Standards) มาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยจะคำนึงถึงการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วย อาทิ  การดูแลเอาใจใส่พนักงานให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อมุ่งเน้นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น      รางวัลนี้เป็นการรับรองถึงความมุ่งมั่นขององค์กรเราในด้านมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของบริษัทในการดูแลความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพนักงาน เราทำงานอย่างหนักเพื่อให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสนับสนุน ซึ่งส่งเสริมความทุ่มเทของพนักงานและส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริษัทของเรายังมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นเลิศ โดยการกระตุ้นและสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรมด้านความปลอดภัย แนวทางนี้ได้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเน้นการทำงานอย่างปลอดภัยและมีความสุข เพื่อให้เพื่อนพนักงานรู้สึกว่าที่ทำงานเสมือนบ้าน โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้เป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยที่เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของบุคลากรในองค์กร และการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนภายนอก เริ่มจากการให้พนักงานเลือกตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งจะมีการประชุมติดตามการดำเนินงานประจำทุกเดือน โดยผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับพนักงาน เพื่อเป็นเวทีสอนงาน รวมถึงสังเกตความต้องการหรือปัญหาของพนักงาน อันนำสู่การแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรเราอย่างยั่งยืน    สำหรับกิจกรรมที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้าน CPF SHE&En Standards ไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ โครงการ Zero Accident case โครงการ Safety Modular KYT โครงการ Major Hazard & SHE ชมรมสุขภาพ เน้นการสร้างบรรยากาศสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ ส่งเสริมให้พนักงานได้ออกกำลังให้มีความสุข สุขภาพดี แข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรม CPF FEED 3i ที่เน้นการมีส่วนร่วมเรียนรู้และคิดค้นนวัตกรรมที่นำไปสู่การลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยมีผลงานได้รับรางวัลมากมาย จนเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมทุกระดับ อาทิ อุปกรณ์ระอาหารอัตโนมัติป้องกันปัญหาด้านการยศาสตร์ และป้องกันการสัมผัสฝุ่นของพนักงาน และ แพล๊คฟอร์มการควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานเพื่อความยั่งยืน เป็นต้น โรงงานอาหารสัตว์ธารเกษมจะเป็นโรงงานต้นแบบเพื่อไปพัฒนาให้กับโรงงานอื่นๆ หวังว่าโรงงานอาหารสัตว์บก CPF จะวางเป้าหมายพัฒนาให้ได้ระดับ Excellent ต่อไป   ซีพีเอฟได้นำองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยจากภายในโรงงงานไปถ่ายทอด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ตลอดจนช่วยปรับปรุงชุมชนภายนอกทั้งโรงเรียน วัด และคู่ค้า ที่ในจุดที่มีความเสี่ยง ภายใต้โครงการ Safety School เพื่อสร้างให้ โรงเรียนเกิดความปลอดภัย ร่วมถึงชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานให้เติบโตสู่ลูกค้าอาหารสัตว์บกให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน 

ซีพีเอฟ รับรางวัล ASEAN-OSHNET Awards องค์กรต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยของอาเซียน Read More »

รักษ์โลก รักสุขภาพ‼️ ’48 ผลิตภัณฑ์ CPF’ คว้าฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นลดโลกร้อน

   บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  นำผลิตภัณฑ์ 48 รายการ รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก . อาทิ หมูชีวา ตรายูฟาร์ม หมูคุโรบูตะ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก ฯลฯ  โดยมี  นายอัมพร อัมพรพุทธิสกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจสุกร และ นายบุญเสริม เจริญวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจอาหารสัตว์บก เป็นตัวแทนรับมอบประกาศนียบัตร จากนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประธานกรรมการ อบก.   ณ ห้องอบรม อบก. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ                 ซีพีเอฟ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทาน  ตั้งแต่อาหารสัตว์ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูป ในการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ  (CPF Low-carbon products)มาตั้งแต่ปี  2551 จนถึงปัจจุบันมีรายการของผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวม 890 รายการ และฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือฉลากลดโลกร้อน  จำนวน 88 รายการ โดยในครั้งนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์สุกรและอาหารสัตว์บก ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมจำนวน  48 รายการ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ 27 รายการ  และผลิตภัณฑ์สุกร 21 รายการ             สำหรับธุรกิจสุกร ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเป็นปีที่   9  และในรอบนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนตั้งแต่ลูกสุกรหย่านม  สุกรขุน หมูซีกชำแหละ และผลิตภัณฑ์เนื้อหมูสด  อาทิ ผลิตภัณฑ์สุกรชีวา  ตรายูฟาร์ม  และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน อีกจำนวน 5 รายการ ส่วนธุรกิจอาหารสัตว์บก มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนรวมกว่า 27 รายการ  ครอบคลุม  7 กลุ่มอาหารสัตว์บก ได้แก่  อาหารสุกรพันธุ์ อาหารสุกรขุน อาหารไก่พันธฺุ์  อาหารไก่เนื้อ  อาหารไก่ไข่ อาหารเป็ดพันธุ์  และอาหารเป็ดเนื้อ             การได้รับรองฉลากคาร์บอน ฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว  (CPF Green Products)เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) และสะท้อนถึงระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม โปร่งใส แม่นยำ สามารถนำมาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน   ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero)ภายในปี 2050  โดยดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่าในทุกกลุ่มธุรกิจ  อาทิ การใช้ระบบ Smart Feed mill AI automation วางแผนการผลิตอาหารสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อาหารสัตว์คาร์บอนต่ำ  การพัฒนาระบบติดตามสุขภาพสัตว์  Smart Soft Farm เพื่อลดการสูญเสีย  และเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยใชัไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากระบบก๊าซชีวภาพ (Biogas system) เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ  พัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน  การจัดการของเสียให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น ./

รักษ์โลก รักสุขภาพ‼️ ’48 ผลิตภัณฑ์ CPF’ คว้าฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นลดโลกร้อน Read More »

CPF-TRUE ร่วมแบ่งปันแนวทางการใช้เทคโนโลยีคว้าโอกาสในยุคดิจิทัล ให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

   เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ อาคารวชิราณุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟและทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้ร่วมนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์และการตลาดออนไลน์ มาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อคว้าโอกาสที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในเศรษฐกิจดิจิทัล ในวิชาเกษตรศาสตร์ทั่วไป ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1   คุณฐปกรณ์ จำนงรัตน์ ผู้บริหารด้านกลยุทธ์และการตลาด ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ ได้เชิญชวนให้คนรุ่นใหม่เริ่มต้นศึกษาและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมพร้อมคว้าโอกาสในโลกยุคดิจิทัล ซีพีเอฟเองได้มีการพัฒนาระบบ CPF Feed Online เพื่อเข้าถึงและตอบสนองเกษตรกรได้ตรงใจยิ่งขึ้น โดยการขายผ่านช่องทางออนไลน์ มีการเติบโตกว่า 10 เท่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา   นอกจากนี้ว่าที่ร้อยตรีปฐมพงศ์ ฟูเกียรติวัฒนา ผู้จัดการด้านการตลาดดิจิทัล ได้นำเสนอกรณีศึกษา การบริหารการตลาดออนไลน์อย่างครบวงจร ซึ่งสามารถสร้างการเข้าถึงผู้ใช้ได้กว่า 18 ล้านครั้งต่อปี และคุณคงพัฒน์ ประสารทอง จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้นำเสนอกรณีศึกษาการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการฟาร์มโคนม ซึ่งมีเกษตรกรที่ใช้งานทุกวัน ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

CPF-TRUE ร่วมแบ่งปันแนวทางการใช้เทคโนโลยีคว้าโอกาสในยุคดิจิทัล ให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Read More »

ส่งต่อพลังบวก สร้างวัฒนธรรมชื่นชม! CPF ร่วมใจส่งต่อพลังดีๆ ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

   ส่งต่อพลังบวก สร้างวัฒนธรรมชื่นชม! CPF ร่วมใจส่งต่อพลังดีๆ ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ    CPF นำโดย คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก CPF คุณณฤกษ์ มางเขียว กรรมการผู้จัดการ บจ.ซีพีเอฟ ฟู้ดส์ แอนด์ เบฟเวอร์เรจ และคณะทำงาน ร่วมเปิดโครงการยกระดับความผูกพันองค์กร ครอบคลุมด้านค่าตอบแทน การยกย่องชมเชย การสร้างสมดุลชีวิตและงานตอกย้ำความสำเร็จตลอด 1 ปี กับโครงการเด่น อย่าง Smart meeting และชมรมฯ ในโรงงาน   ไฮไลท์คือการสร้างวัฒนธรรมการชื่นชม ผ่าน Thank you Card กว่า 3,000 ใบ CPF Connect กับ Thumb up กว่า 25,000 ครั้งจากพนักงานทุกระดับเดินหน้าขยายผลสู่ระดับองค์กรในอนาคต 

ส่งต่อพลังบวก สร้างวัฒนธรรมชื่นชม! CPF ร่วมใจส่งต่อพลังดีๆ ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ Read More »

Farmtalk EP.87 เปิดมุมมองให้กว้างปรับตัวให้ทัน ในสภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้เลี้ยงไก่ไข่

Farmtalk EP.87 เปิดมุมมองให้กว้างปรับตัวให้ทัน ในสภาวะต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้เลี้ยงไก่ไข่ Read More »

กากถั่วเหลืองปลอดรุกป่า “ล็อตแรก” จากบราซิล ถึงไทยแล้ว

  บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท บังกี้ จำกัด (BUNGE) คู่ค้ารายใหญ่ระดับโลก ส่งมอบ “กากถั่วเหลืองปลอดรุกพื้นที่ป่า” จากบราซิลถึงไทย “ล็อตแรก” จำนวน 185,000 ตัน ผ่านการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบย้อนกลับของทั้งสองบริษัท และเพิ่มความโปร่งใสด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ตอกย้ำความมุ่งมั่นของทั้งสองบริษัทในการจัดหาวัตถุดิบหลักทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบ มาจากแหล่งที่ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า ร่วมปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ   บริษัท บังกี้ จำกัด (NYSE: BG) (“บังกี้”) และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) หรือ บีเคพี ผู้จัดหาวัตถุดิบหลักอาหารสัตว์ให้แก่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ โชว์ความสำเร็จของความร่วมมือในการจัดหาถั่วเหลือง และวัตถุดิบจากถั่วเหลืองอย่างรับผิดชอบ ผ่านการเชื่อมต่อแพลตฟอร์มระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแปลงปลูกของเกษตรกรในบราซิล โดยดำเนินการทดสอบการเชื่อมต่อระหว่างการส่งมอบกากถั่วเหลืองจากบราซิลจำนวน 185,000 ตัน ซึ่งเดินทางถึงประเทศไทยในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน 2567 นี้ นับเป็นถั่วเหลือง “ตู้แรก” จากบราซิล ที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแปลงปลูกของเกษตรกรเป็นพื้นที่ที่ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน นอกจากนี้ บังกี้ยังเตรียมส่งมอบถั่วเหลืองปลอดการบุกรุกป่าอีกกว่า 180,000 ตันภายในเดือนกรกฎาคมนี้    นายไพศาล เครือวงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรุงเทพโปรดิ๊วส กล่าวว่า ความร่วมมือกับ บังกี้ รวมทั้งขยายผลไปถึงซัพพลายเออร์ และเกษตรกรทั่วโลก ผ่านการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบย้อนกลับของสองบริษัทด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ช่วยให้กรุงเทพโปรดิ๊วสสามารถติดตามถั่วเหลืองตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตได้โดยอัตโนมัติ ตั้งแต่ การระบุแปลงเพาะปลูก การแปรรูป และการขนส่งจนถึงโรงงานอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของกรุงเทพโปรดิ๊วสในการจัดหาถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายของซีีพีเอฟด้านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืนและแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติตามความมุ่งมั่นว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและการต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าตลอดห่วงโซ่อุปทาน   ทั้งนี้ แพลตฟอร์มการตรวจสอบย้อนกลับถั่วเหลืองยังช่วยให้กรุงเทพโปรดิ๊วสสามารถเข้าถึงข้อมูลการผลิตถั่วเหลือง เช่น ปริมาณก๊าซเรือนกระจกจากห่วงโซ่อุปทานถั่วเหลือง รวมถึงการยืนยันข้อมูลของแปลงปลูกที่ประยุกต์ใช้ระบบเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) เป็นต้น สำหรับการขับเคลื่อนสู่ Net-Zero ต่อไป   “การส่งกากถั่วเหลืองปลอดรุกพื้นที่ล็อตแรก ที่ตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทางแหล่งเพาะปลูกในบราซิลจนถึงปลายทางที่ประเทศไทย นับเป็นก้าวสำคัญกรุงเทพโปรดิ๊วส สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการจัดการห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ยืนยันว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์มาจากห่วงโซ่ที่ปลอดการตัดไม้ทำลายป่าได้ 100% ภายในปี 2025” นายไพศาล กล่าวเสริม   การส่งมอบกากถั่วเหลืองที่ปลอดจากการบุกรุกป่า เป็นผลจากการความร่วมมือระหว่างบังกี้ และกรุงเทพโปรดิ๊วสในด้านเทคนิค การค้า และการเชื่อมต่อระบบตรวจสอบย้อนกลับกับเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อสร้างห่วงโซ่อุปทานถั่วเหลืองที่รับผิดชอบ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 ที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวครอบคลุม การจัดหาเมล็ดพืชน้ำมัน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเมล็ดพืชน้ำมันที่บังกี้จัดหาในบราซิล สำหรับใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ซีพีเอฟในประเทศไทย และกิจการในต่างประเทศ   ด้าน นายโรสซาโน ดิ อันเจลิส จูเนียร รองประธานฝ่ายธุรกิจการเกษตรเขตอเมริกาใต้ ของ บังกี้ กล่าวว่า ความร่วมมือของบังกี้กับซีพีเอฟ ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเพิ่มความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานถั่วเหลือง ซึ่งบังกี้ได้กำหนดและพัฒนาการจัดหาถั่วเหลืองที่ตรวจสอบย้อนกลับได้มาตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อจัดหาผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนให้กับตลาดที่ต้องการสินค้าที่มาจากการจัดหาอย่างรับผิดชอบ   ระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาถั่วเหลืองของบังกี้ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกในทวีปอเมริกาใต้กว่า 16,000 แปลง หรือประมาณ 20 ล้านเฮกตาร์ ใช้เทคโนโลยีดาวเทียมในการระบุและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและการปลูกถั่วเหลืองในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ บังกี้ กำหนดเป้าหมายสามารถตรวจสอบย้อนกลับถั่วเหลืองที่จัดหาในทางตรงและทางอ้อมในบราซิลปลอดการตัดไม้ทำลายป่าได้ภายในปี 2025 ปัจจุบัน ร้อยละ 97 ของปริมาณถั่วเหลืองที่จัดหาจากพื้นที่เสี่ยงของบังกี้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าปราศจากการตัดไม้ทำลายป่า และการเปลี่ยนแปลงในการใช้ที่ดินอย่างโปร่งใส  

กากถั่วเหลืองปลอดรุกป่า “ล็อตแรก” จากบราซิล ถึงไทยแล้ว Read More »

การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์

การพลิกโฉมการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และปลอดภัย

การพลิกโฉม การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อจัดการฟาร์ม ให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 อย่างนี้ Precision Farming : คือการบริหารจัดการงาน ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้วยและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) IoT หุ่นยนต์ เพื่อดูแลสัตว์อย่างแม่นยำ หลักการสำคัญของ Precision Farming  คือ : การเก็บข้อมูลของสัตว์: เกษตรกรใช้เซ็นเซอร์ กล้องวงจรปิด และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ ความชื้นในดิน สุขภาพสัตว์ อัตราการเติบโต ทั้งนี้การเก็บข้อมูล ก็จะมีทั้งในส่วนของ สัตว์ และโรงเรือน เพื่อการปรับสภาวะ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยง เช่น การปรับปรุงโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ เพื่อให้มีสภาพอากาศ ที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ความชื้น การให้อาหาร การให้น้ำ ให้พอเพียง การทำงานของพัดลมระบายอากาศ การควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราสามารถใช้ Iot หรือระบบที่ช่วยการเลี้ยงได้แบบอัตโนมัติ แต่ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ส่วนของ ตัววัดต่างๆ เพื่อส่งข้อมูลเข้าไป ทำให้ ระบบ AI ประมวลผล เพื่อ ปิด เปิด หรือปรับ สภาวะต่างๆ ให้เหมาะสมต่อไป เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม ทำหน้าที่ ที่สำคัญอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูล: เกษตรกรใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ทั้งนี้ เมื่อเรามีข้อมูลที่ จะนำมาวิเคราะห์ แล้ว ระบบ จะ ทำการคำนวณ และแนะนำ หรือ แสดง ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ต่อไป การตัดสินใจอย่างแม่นยำ: ข้อมูลที่วิเคราะห์ ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เช่น การให้น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ ในปริมาณที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของสัตว์แต่ละตัว ทั้งนี้การดูแลฟาร์มเมื่อก่อน ถ้าไม่มี ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจ อาจจะต้องใช้เวลานานในการ ตัดสินใจปรับเปลี่ยน หรืออาจจะสายเกินไปในการแก้ไข ดังนั้นการใช้งานระบบ จะเป็นตัวช่วยอย่างดีใน การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตรวจสอบ จัดการ และควบคุมการดำเนินงานฟาร์มของคุณโดยไม่ต้องอยู่ในฟาร์มจริง ช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนจากมนุษย์ เพื่อนๆ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มหลายๆ ท่าน หลังจากที่ผ่าน ช่วงของการมีโรคระบาดมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ระบบที่ ทำให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก น้อย ที่สุด หรือไม่มีเลย เป็นทางเลือกที่ดี และปลอดภัย มาก หากให้มีการปนเปื้อนจากคนน้อยที่สุด นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของการควบคุมดูแล หรือว่าการมอนิเตอร์ การทำงาน และการแจ้งเตื่อนต่างๆ ถ้าผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้รับการแจ้งเตือนทันท่วงที่ ก็จะ เข้ามา แก้ไข ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้ ลดความศูนย์เสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าใช้งาน ระบบ Iot หรือมีระบบ ในการจัดการที่สามารถ ดูแล หรือตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ต จะช่วยเป็นอย่างมากให้ สามารถ ควบคุม หรือ ทำงานระยะไกลได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และป้องกันปัญหาได้อย่างดี การรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์จากสัตว์ วิเคราะห์ คาดการณ์ และแนะนำการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบัน ข้อมูล และการตัดสินใจ เป็นส่วนสำคัญมากๆ ในการวางแนวทาง หรือกำหนดแนวทางในการทำงาน หรือ แนวทางของฟาร์ม ดังนั้น หากเรามีข้อมูล ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย การกำหนดแนวทาง ในการบริหารฟาร์ม จะทำได้ง่าย และทำได้จากทุกที่ การเชื่อมต่อความเร็วสูง ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูล ระบบเทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อ และส่งข้อมูลดังนั้น ระบบ การเชื่อมต่อเป็นระบบที่สำคัญ มากๆ หากต้องการให้ ทุกระบบ เชื่อมต่อเข้าหากัน จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า ถ้าเรา ต้องการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า เราจำเป็นที่จะต้อง มีระบบพื้นฐาน ตามข้างต้นเพื่อการทำงาน และการบริหารจัดการฟาร์มที่ครอบคลุม และสามารถ จัดการฟาร์มของเรา ได้จาก ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต ข้อดี: เพิ่มผลผลิต: เกษตรกรสามารถดูแลสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพดี เติบโตเร็ว ให้ผลผลิตมากขึ้น ลดต้นทุน: เกษตรกรสามารถประหยัดน้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ และพลังงาน ลดความสูญเสีย: การป้องกันโรคที่ดี ช่วยลดความสูญเสียจากสัตว์ป่วย ตาย เพิ่มคุณภาพสินค้า: สัตว์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ลดแรงงานคน: เทคโนโลยีช่วยลดงานที่ต้องใช้แรงงานคน เกษตรกรมีเวลาดูแลงานอื่น ๆ มากขึ้น เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: ข้อมูลที่รวบรวมจาก Precision Farming ช่วยให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ตลาด วางแผนการผลิต หาช่องทางจำหน่ายสินค้า เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในการเริ่มต้น เพื่อสร้างระบบอาจจะพบปัญหาดังนี้ เรื่องของต้นทุน : เทคโนโลยีที่ใช้ใน การจัดการฟาร์ม อาจจะมี ราคาค่อนข้างสูง หรือสามารถเข้าถึงได้ฟรี เกษตรกร เจ้าของ และผู้บริหารฟาร์ม อาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษา เพื่อเลือก ประเภทให้เหมาะสมกับฟาร์ม และขนาดฟาร์ม ความซับซ้อน: การใช้งานเทคโนโลยีบางอย่างอาจมีความซับซ้อน เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้งาน แนะนำว่า ถ้าต้องการใช้งาน ให้เลือกผู้ที่สามารถแนะนำ และแก้ปัญหาได้ หรือ ให้ทาง ผู้บริหารฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาระบบ เพราะถ้ามีปัญหา จะได้สามารถแก้ปัญหา เบื้องต้นได้ สรุป:เทคโนโลยี ใหม่ๆ ระบบ IoT และระบบ AI มีประโยชน์มากมายสำหรับเกษตรกร ผู้บริหาร และเจ้าของฟาร์ม แต่เกษตรกรจำเป็นต้อง พิจารณาข้อดี และข้อเสียอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจนำไปใช้กับฟาร์ม อาจจะลองใช้งานระบบการบันทึกข้อมูลฟรี ที่มีให้ใช้งานก่อน และเมื่อเห็นว่ามีประโยชน์ จึงทำการปรับเปลี่ยน หรือว่าเพิ่มอุปกรณ์ ต่างๆที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเข้าไป เพื่อพัฒนาระบบ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือหากจำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ควรเลือกระบบที่ น่าเชื่อถือ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่ายการทำระบบฟาร์ม  เรื่องเกี่ยวกับการจัดการฟาร์ม : สามารถดูได้ที่ หมวดหมู่ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เพิ่มเติมได้เลยครับ ติดตามสาระดีๆ เรื่องฟาร์ม เพิ่มเติมได้ที่ Facebook | Youtube

การพลิกโฉมการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และปลอดภัย Read More »

การป้องกันโรคในฟาร์ม

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและทำได้จริง

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและ ทำได้จริง โรคอุบัติใหม่ เป็นโรคที่เพิ่งปรากฏขึ้น และแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และเศรษฐกิจ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญกับโรคอุบัติใหม่หลายชนิด เช่น ไวรัส SARS ไวรัส MERS และไวรัส COVID-19 โรคเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบร้ายแรง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ให้กับธุรกิจฟาร์มเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่เราจะป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เราสามารถใช้เทคโนโลยี มาช่วยตรวจจับ และป้องกัน ได้ โดยสามารถ แบ่งออกเป็น 4 อย่างดังนี้ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด Strict Farm Biosecurity หรือ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด เป็นแนวทางปฏิบัติที่เกษตรกรใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อเข้าสู่ฟาร์ม โดยเน้นการควบคุมการเข้าออกของคน สัตว์ ยานพาหนะ และวัสดุต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด หลักการสำคัญของ Strict Farm Biosecurity: การกั้นเขต: แยกฟาร์มออกจากพื้นที่อื่น ๆ ด้วยรั้ว ประตู และป้ายเตือน การควบคุมการเข้าออก: กำหนดจุดเข้าออกฟาร์มเพียงจุดเดียว ตรวจสอบบุคคล สัตว์ ยานพาหนะ และวัสดุต่าง ๆ ก่อนเข้าฟาร์ม เช่น ฆ่าเชื้อรองเท้า ล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า การสุขาภิบาล: ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และกำจัดขยะในฟาร์มเป็นประจำ เช่น ล้างคอกสัตว์ ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ กำจัดขยะติดเชื้อ การดูแลสัตว์: ตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ ฉีดวัคซีน และใช้ยาป้องกันโรค การฝึกอบรม: ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ และทักษะในการป้องกันโรค เช่น วิธีการฆ่าเชื้อ วิธีการดูแลสัตว์ วิธีการกำจัดขยะติดเชื้อ ประโยชน์ของ Strict Farm Biosecurity: ลดความเสี่ยงจากโรค: การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อเข้าสู่ฟาร์ม ป้องกันความสูญเสีย: การป้องกันโรค ช่วยป้องกันสัตว์ป่วย ตาย ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิต: สัตว์ที่สุขภาพดี เจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูง รักษาชื่อเสียง: ฟาร์มที่มีการป้องกันโรคที่ดี สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า รักษาชื่อเสียงของฟาร์ม ชีวภาพเซ็นเซอร์ : ชีวภาพเซ็นเซอร์ (Biosensors) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณทางชีวภาพของสัตว์ เช่น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ พฤติกรรมการกินอาหาร กิจกรรมประจำวัน สัตว์ที่เชื่อมต่อ (Connected Animals) หมายถึงการติดตั้งชีวภาพเซ็นเซอร์กับสัตว์ ส่งข้อมูลไปยังระบบออนไลน์ เช่น คลาวด์ (Cloud) เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของสัตว์ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของ Biosensors and Connected Animals: ติดตั้งชีวภาพเซ็นเซอร์: ชีวภาพเซ็นเซอร์จะถูกติดตั้งกับสัตว์ โดยทั่วไปจะติดตั้งใต้มือหนัง หรือใส่ปลอกคอ เก็บข้อมูล: ชีวภาพเซ็นเซอร์จะเก็บข้อมูลทางชีวภาพของสัตว์ เช่น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ พฤติกรรมการกินอาหาร กิจกรรมประจำวัน ส่งข้อมูล: ข้อมูลจากชีวภาพเซ็นเซอร์จะถูกส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังระบบออนไลน์ เช่น คลาวด์ (Cloud) วิเคราะห์ข้อมูล: ระบบออนไลน์จะวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผลบนแอปพลิเคชัน หรือคอมพิวเตอร์ เกษตรกรสามารถดูข้อมูลสุขภาพของสัตว์ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และรับการแจ้งเตือนเมื่อสัตว์มีอาการผิดปกติ ประโยชน์ของ Biosensors and Connected Animals: ติดตามสุขภาพสัตว์แบบเรียลไทม์: เกษตรกรสามารถติดตามข้อมูลสุขภาพของสัตว์ได้ตลอดเวลา ช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติได้รวดเร็ว ป้องกันโรค: ระบบแจ้งเตือนเมื่อสัตว์มีอาการผิดปกติ ช่วยให้เกษตรกรสามารถรักษาโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ลดความสูญเสีย เพิ่มผลผลิต: สัตว์ที่สุขภาพดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ลดต้นทุน: การป้องกันโรค ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์ การจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ: ข้อมูลจากชีวภาพเซ็นเซอร์ ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจในการดูแลจัดการฟาร์มได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการใช้งาน Biosensors and Connected Animals: ติดตามอุณหภูมิร่างกาย: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ป่วยไข้ หรือสัตว์ที่อยู่ในภาวะเครียด ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ หรือระบบทางเดินหายใจ ติดตามพฤติกรรมการกินอาหาร: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่ป่วย หรือสัตว์ที่เครียด ติดตามกิจกรรมประจำวัน: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือสัตว์ที่อยู่ในภาวะเครียด การลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างพร่ำเพรื่อ หรือว่ามากเกิน และการใช้งานโดยไม่รู้จักการจำกัด จะก่อให้เกิดปัญหา ดื้อยาปฏิชีวนะอย่างรุนแรง ส่งผลต่อสุขภาพของทั้งมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการป้องกันและรักษาโรคในสัตว์โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ที่ให้ผลระยะยาวที่ดีกว่า และ ลดความเสี่ยงต่อการดื้อยา หรือเกิดเชื้อดื้อยาในฟาร์ม วัคซีน mRNA และ MLV: วัคซีน mRNA ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด วัคซีน MLV ใช้เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อ่อนแอลงเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โพรไบโอติกส์: โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร โพรไบโอติกส์สามารถช่วยป้องกันโรคติดเชื้อในสัตว์ และป้องกันการก่อโรคได้ โครงสร้างโลหะอินทรีย์ (MOFs): MOFs เป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดซับสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อโรค ข้อดี: ลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ปลอดภัยต่อสัตว์และมนุษย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การรักษาโรคหรืออาการผิดปกติในสัตว์โดยไม่ต้องผ่าตัด  ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การผ่าตัดมักเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาโรคหรืออาการผิดปกติ มีวิธีการรักษาอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถช่วยให้สัตว์หายป่วยโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด วิธีการเหล่านี้มีดังนี้: ยา: ยาสามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อ อาการปวด การอักเสบ และอาการผิดปกติอื่นๆ ยามีหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยาฉีด ยาหยอดตา และยาทา อาหารเสริม: อาหารเสริมสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของสัตว์ อาหารเสริมบางชนิดสามารถช่วยรักษาโรคหรืออาการผิดปกติบางประเภท ตัวอย่างอาหารเสริม เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรไบโอติกส์ กายภาพบำบัด: กายภาพบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัด กายภาพบำบัดยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ การฝังเข็ม: การฝังเข็มเป็นการแพทย์แผนจีนโบราณที่ใช้เข็มขนาดเล็กกระตุ้นจุดฝังเข็มบนร่างกาย การฝังเข็มสามารถช่วยรักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท การฝังเข็มได้รับความนิยมมากขึ้นในสัตวแพทย์ การรักษาด้วยเลเซอร์: การรักษาด้วยเลเซอร์ใช้แสงเลเซอร์เพื่อกระตุ้นการรักษาและลดอาการปวด การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถใช้รักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท การรักษาด้วยโอโซน: การรักษาด้วยโอโซนใช้โอโซนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การรักษาด้วยโอโซนยังสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ การรักษาด้วยสมุนไพร: สมุนไพรบางชนิดสามารถใช้รักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรกับสัตว์ ข้อดีของการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด: ไม่ต้องดมยาสลบ ฟื้นตัวเร็วขึ้น มีความเสี่ยงน้อยลง มักมีราคาถูกกว่าการผ่าตัด เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ วิธีการ ลดความเสี่ยงจากโรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ หลักๆ จะมี 4 อย่างด้วยกัน คือ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด การใช้ ชีวภาพเซ็นเซอร์ ติดที่สัตว์ การลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การรักษาโรคหรืออาการผิดปกติในสัตว์โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้าเพื่อนๆ ผู้บริหารฟาร์ม สังเกต จะเห็นว่าเป็นการเรียงลำดับ จาก ตั้งแต่การควบคุมการเข้ามา หรือว่า ป้องกันตั้งแต่ ก่อนเข้าฟาร์มเลย เมื่อเข้าฟาร์มมาแล้ว ก็มีการตรวจสอบจาก เซ็นเซอร์ที่ติดกับสัตว์ การป้องกัน ในเรื่องของอาหาร ที่มีการเพิ่ม ส่วนของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์กับสัตว์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ และเมื่อเกิดโรค แล้ว เราจะ ดูแลสัตว์อย่างไร โดยไม่ต้องมีการผ่าตัด เทคโนโลยี ต่างๆ มีส่วนในการป้องกัน และแจ้งให้กับผู้ดูแล ทราบ เพื่อจะสามารถแก้ไข หากมีปัญหาเกิดขึ้น ได้ทันที หากเพื่อนๆ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มท่านใด สนใจ สามารถ เข้ามาอ่านรายละเอียดในแต่ละส่วนได้เลย สำหรับเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันโรคในฟาร์ม สามารถดูได้ที่นี่ มีความสุขกับฟาร์ม และผลผลิตเติบโตไปด้วยกันนะ ^^ สวัสดีครับ ติดตามเราได้ทาง Facebook ยูทูป

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและทำได้จริง Read More »

ขาดแคลนวัตถุดิบ

4 วิธีการลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และ อาหารสัตว์ทดแทน

การลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และ อาหารสัตว์ทดแทน การลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหาร และ วัตถุดิบ หรือการหาอาหารทดแทน ใช้สำหรับฟาร์ม เพื่อป้องกันการขาดอาหาร และความผันผวนของราคาอาหาร ด้วยส่วนผสมทางเลือกที่ราคาไม่แพง อาหารถือเป็นส่วนประกอบสำคัญ ของการเลี้ยงสัตว์ และเป็นปัจจัยต้นๆ ที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับการดูแลฟาร์ม นอกจากนี้แล้ว เจ้าของฟาร์ม และ ผู้ดูแล หรือเพื่อนๆ เกษตรกร ควรที่จะศึกษา หรือ มองหา ทางเลือกอื่นๆ ที่สามารถ เป็นอาหารสัตว์ได้ มีอะไรบ้าง มาดูกันเลย 4 อย่างที่สามารถ ลดความเสี่ยงจากการขาดอาหาร และวัตถุดิบ ทางเลือกอาหารทดแทน เปลี่ยนจากวัตถุดิบดั้งเดิมที่จำกัด เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี ไปจนถึงทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำ เช่น แมลง สาหร่าย โปรตีนที่เติบโตในห้องทดลอง หรืออาหารสัตว์ ทางเลือกอื่นๆ การใช้โปรไบโอติก พรีไบโอติก เพิ่มสารเติมแต่งบนอาหารสัตว์ปัจจุบันเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพและสวัสดิภาพของสัตว์โดย การใช้ประโยชน์จากจุลินทรีย์ที่เหมาะสม จัดหาอาหารที่ เหมาะสมกับช่วงอายุ และเวลา วัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น สัตว์อายุน้อย สัตว์ป่วย ลูกสัตว์ ฯลฯ เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่ แหมาะสม และตรงกับความต้องการ ของสัตว์วัยนั้นๆ ใช้หลักของโภชนาการแม่นยำ เพราะว่าสัตว์เปลี่ยนแปลงและต้องการโภชนาการที่แตกต่างกันภายใต้เงื่อนไขในขณะนั้น ฟาร์มบางแห่งใช้การวิเคราะห์เวลาและปรับแต่งสูตรอาหารให้สอดคล้องกับ วัย และสภาพ ของสัตว์ และลดการศูนย์เสียจากการขับถ่าย “การลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหารและวัตถุดิบ และความผันผวนของราคาด้วยส่วนผสมทางเลือกที่ราคาไม่แพง” ข้อดี ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ลดความผันผวนของราคาอาหารสัตว์ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปรับปรุงสุขภาพและสวัสดิภาพสัตว์ ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มความยั่งยืนของธุรกิจ ความท้าทายที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงแรก เทคโนโลยีบางอย่างยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา ราคาของเทคโนโลยีบางอย่างยังค่อนข้างสูงจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพและความปลอดภัย เกษตรกรและผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์จำเป็นต้องมีความรู้และทักษะใหม่ แนวทางปฏิบัติ ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกอาหารสัตว์ที่หลากหลาย พิจารณาความต้องการเฉพาะของสัตว์ ฟาร์ม และงบประมาณ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการสัตว์ เริ่มต้นใช้งานทางเลือกอาหารสัตว์ทีละน้อย เพื่อการปรับเปลี่ยนตรวจสอบผลลัพธ์และปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น ทางเลือกอาหารสัตว์เหล่านี้ เป็นแนวทางใหม่ในการลดความเสี่ยง จากการขาดแคลนวัตถุดิบ และความผันผวนของราคา ช่วยให้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์สามารถควบคุมต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม ทางเลือกเหล่านี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม  เพื่อผลักดันให้เทคโนโลยีเหล่านี้ สามารถเข้าถึงเกษตรกรและผู้ประกอบการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในวงกว้างมากขึ้น  เพื่อนๆเกษตรกร เจ้าของฟาร์ม และผู้ดูแล สามารถดูเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ ได้ที่นี่ ติดตามสาระและการจัดการฟาร์ม ได้ที่  เฟสบุ๊ค ยูทูป

4 วิธีการลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบ และ อาหารสัตว์ทดแทน Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)