Logo-CPF-small-65png

Pig Moment

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7

ในแต่ละวันสุกรในโรงเรือนปิดที่มีระบบทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ผันแปรตามสภาพอากาศทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน การตั้งค่าอุปกรณ์อัตโนมัติและความใส่ใจต่อพฤติกรรมสุกรของผู้ดูแลระบบ (ส่วนใหญ่จะเป็นสัตวบาล) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สุกรในโรงเรือนเปรียบเสมือนปลาที่อาศัยอยู่ในตู้ปลา   ความแข็งแรง ความสบายและการอยู่รอดปลอดภัยขึ้นกับเจ้าของปลา ตัวปลาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ทำได้แค่แสดงอาการ (พฤติกรรม)ให้เจ้าของเห็น สุกรก็เช่นเดียวกันความเอาใจใส่ของผู้ดูแลระบบต่อพฤติกรรมของสุกรจึงเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความสุขสบาย (Pig Comfort) ให้กับสุกรได้   และแน่นอนว่าถ้าสุกรอยู่สุขสบาย  ก็จะให้ผลผลิตที่เป็นไปตามที่เราต้องการ ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ผ่านๆมาว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการการระบายอากาศ อุณหภูมิและความชื้น ส่วนความเร็วลมเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทั้งสามตัวเป็นไปตามที่สุกรต้องการ ในตอนนี้เราจะทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นว่าเราจะบริหารจัดการโรงเรือนอีแวปอย่างไรให้เหมาะกับความต้องการของสุกรให้มากที่สุดซึ่งมีโอกาสที่ผันแปรได้ 4 รูปแบบคือ          กรณีที่ 1. อุณภูมิสูงความชื้นสูง                   กรณีที่ 2. อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ          กรณ๊ที่ 3. อุณภูมิต่ำความชื้นสูง                   กรณีที่ 4. อุณหภูมิต่ำความชื้นต่ำ กรณีที่ 1.  อุณภูมิสูงความชื้นสูง      เกิดขึ้นในฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น มีฝนตกมาเมื่อใหร่ก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นสูงทันทีและอาจจะเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปีด้วยซ้ำ      การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงห้องซาวน่า       จะเห็นได้ว่าแม้ซาวน่าจะมีประโยชน์แต่มีข้อจำกัดมากมายข้อที่สำคัญคือห้ามคนท้องเข้าห้องอบซาวน่า แล้วลองจินตนาการถึงสุกรอุ้มท้องที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นสูงดูว่าจะเป็นเช่นไร  แม่ว่าอาจจะไม่ถึงขนาดห้องอบซาวน่าแต่ต้องไม่ลืมว่าหนึ่งในข้อกำหนดของซาวน่าคือไม่ซาวน่านานเกินไป อบตัว 15-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว แต่สุกรของเราไม่สามารถเดินหนีออกจากโรงเรือนที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูงได้            ถ้าต้องการให้ห้องซาวน่ามีสภาพแวดล้อมที่สุขสบายสำหรับสุกร สิ่งแรกที่ต้องทำคือระบายความชื้นที่มีความร้อนสูงออกเปิดโอกาสให้มีลมจากภายนอกเข้ามาในห้องเพื่อลดอุณหภูมิและเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อถ้าตัวสุกรมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังก็จะทำให้เย็นมากขึ้นและเร็วขึ้น ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นลำดับแรกเพื่อลดความชื้นภายในโรงเรือน  ให้ปิดปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษเมื่อความชื้นถึงขีดวิกฤตตามมาตรฐานของสุกรในแต่ละช่วงอุณหภูมิ (Optimum Humidity) และใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นลำดับที่ 2  (ฟอกเกอร์ใช้แบบที่พ่นน้ำไปที่ตัวสุกรเพื่อให้ตัวสุกรเปียกน้ำโดยไม่เป็นการเพื่มความชื้นในโรงเรือน ไม่พ่นเป็นหมอก)          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure เป็นต้น กรณีที่ 2.  อุณภูมิสูงความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น เมื่อไม่มีฝนก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นต่ำทันที          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงทะเลทราย  ในทะเลทรายถ้ามีร่มเงาที่ดีอย่างน้อยการแผ่รังสีความร้อนก็จะมีผลกับเราน้อยลง เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรถ้ามีความสามารถในการป้องกันการแผ่รังสีได้ดีย่อมทำให้สุกรอยู่สุขสบาย การสร้างโรงเรือนสุกรจึงต้องพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้เป็นผนัง หลังคาและฝ้าให้สามารถลดการแผ่รังสีได้ยิ่งเยอะยิ่งดีถ้าวัสดุนั้นๆไม่มีผลเสียด้านอื่นๆ          เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อและต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายทะเลทราย สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้สิ่งแรกคือตัวสุกรต้องมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังร่วมกับลมที่พัดผ่านทำให้น้ำระเหยดึงความร้อนออกจากตัวสุกรประกอบกับความชื้นต่ำทำให้น้ำระเหยได้ดี การควบคุมอุณหภูมิในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นต่ำจึงทำได้ค่อนข้างง่ายถ้าโรงเรือนมีศักยภาพที่ดี ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ สัตวบาลจึงต้องใช้การระเหยน้ำ (Evaporation) และการพาความร้อน(Convection) ทำงานควบคู่กัน ปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษจะช่วยลดอุณภูมิในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ควรมีความชุ่มน้ำ 100%ของหน้าเยื่อกระดาษ)          ถ้าอุณหภูมิสูงมากจนโรงเรือนกดอุณหภูมิลงเต็มที่แล้วแต่อากาศภายในโรงเรือนยังร้อนเกินความต้องการของสุกร การใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นช่วงๆจะทำให้สุกรมีความสุขสบายตามหลักการอุณภูมิที่สุกรรู้สึกหรือ Effective Environment Temperature          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure มากเกินไปซึ่งจะทำให้ความเร็วลมผ่านเยื่อกระดาษเร็วจนแลกเปลี่ยนอุณภูมิกันไม่ทันและทำให้เกิดปรากฎการณ์อากาศเบาบางภายในโรงเรือน กรณีที่ 3.  อุณภูมิต่ำความชื้นสูง เกิดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ฝนกำลังจะหมดอุณหภูมิเริ่มลด      มีโอกาศเกิดช่วงสั้นๆในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน อาจหยืดยาวถึงเดือนธันวาคม          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นสูงให้จินตนาการถึงบรรยาศบนยอดเขาในช่วงเวลาดังกล่าวตอนเช้าๆ บนยอดเขาตอนเช้าๆท่ามกลางทะเลหมอกแม้ความชื้นจะสูงแต่เนื่องจากอุณหภูมิต่ำเราจะรู้สึกสบาย ถ้ามีลมอ่อนๆผ่านตัวเราเบาๆยิ่งเพิ่มความสุขมากขึ้น เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรขอแค่มีลมผ่านไม่ให้ความชื้นแช่อยู่ในโรงเรือนจนสร้างความอึดอัด สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้ ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นหลักเพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และช่วยระบายความชื้นออกจากโรงเรือน        มีเรื่องที่ต้องระมัดระวังคือระบบอัตโนมัติที่ควบคุมปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษ น้ำหยดและฟอกเกอร์ถ้าทำงานผิดพลาดจะเป็นการเพิ่มความชื้นในโรงเรือนขึ้นมาได้          เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คความชื้นและก๊าซรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น กรณีที่ 4.  อุณภูมิต่ำความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ โดยประมาณ เป็นช่วงเวลาที่เลี้ยงสุกรได้ง่ายแม้มีความผิดพลาดด้านการควบคุมสภาพแวดล้อมบ้างเล็กๆน้อยๆก็แทบไม่มีผลกระทบด้านประสิทธิภาพแต่อย่างใด          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นต่ำให้จินตนาการถึงบรรยาศเย็นๆบนยอดเขา ช่วงเที่ยงวันที่อากาศแห้ง บนยอดเขาในช่วงที่อากาศแห้ง (ความชื้นต่ำ) แม้อุณหภูมิจะต่ำ    เรารู้สึกสบายก็จริงแต่ให้สังเกตว่าอยู่นานๆ เราจะเริ่มแสบจมูกเนื่องจากระบบทางเดินหายใจเราเริ่มแห้ง  สุกรก็เช่นกันถ้าความชื้นต่ำเกินไปจะเริ่มมีอาการไอ สัตบาลจึงต้องพิจารณาเพิ่มความชื้นในโรงเรือนบ้างเพื่อลดภาวะการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความเร็วลมต่ำ สัตวบาลยังคงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และในภาวะที่ความชื้นต่ำมากๆอาจต้องตั้งระบบปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษให้ทำงานช่วงสั้นๆเพื่อเพิ่มความชื้นป้องกันการไอของสุกรจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คก๊าซ     ระบบอัตโนมัติที่สามารถปล่อยน้ำรดแพดช่วงสั้นๆอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน    ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 Read More »

การประเมินโรคระบบทางเดินอาหารในฟาร์มสุกรโดย ผศ.น.สพ.ดร อลงกต บุญสูงเนิน ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์” CR: Elanco

การประเมินโรคระบบทางเดินอาหารในฟาร์มสุกรโดย ผศ.น.สพ.ดร อลงกต บุญสูงเนิน ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์” CR: Elanco Read More »

EP.3 หมูขุนกำไรเยอะ (ตอนจบ) โดยผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์ CR: Elanco

EP.3 หมูขุนกำไรเยอะ (ตอนจบ) โดยผศ.น.สพ.ดร.ปริวรรต พูลเพิ่ม ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์ CR: Elanco Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)