Logo-CPF-small-65png
ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร

ความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม (Biosecurity) คืออะไร

ถ้าเราเรียกกันง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือแนวทางในการป้องกันโรคที่อาจจะเข้ามา ที่ฟาร์มของเราได้ ซึ่ง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นส่วนสำคัญมากกับฟาร์มสัตว์ เพราะหากมีการเกิดโรคระบาด แล้ว หรืออาจจะส่งผลกระทบร้ายแรง กับฟาร์มของเรา ได้เป็นอย่างมากเลยครับ  นอกจากนี้แล้ว หากเรามีการป้องกันที่ดี ก็จะมีผลกับด้านอื่นอีก เช่นการลดต้นทุนค่ายา วัคซีน วิตามิน อาหารเสริมที่เราให้กับสัตว์ ของเรา และไม่ใช้เรื่องยากเกินไปสำหรับ ฟาร์มที่ต้องการป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากโรคระบาด ในแต่ละครั้ง  ดังนั้นแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ (ควรจะเป็น) ในฐานเจ้าของฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ และบอกผลกระทบ กับ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนนั้นๆ เพื่อที่จะได้ เข้าใจตรงกัน และสามารถทำได้จริงๆ

ก่อนหน้านี้ ได้มีการแนะนำ CPF FARM SOLUTION ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม และในเว็บก็จะมีส่วนของ การจัดสัตว์พาหะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และมีผู้เชี่ยวชาญ และระบบ คอยดูแลให้ครับ เจ้าของฟาร์มขนาดกลาง และขนาดย่อย ท่านใด สนใจก็ สามารถคลิกเข้าไปที่ ลิงก์ ด้านล่างได้เลยครับ

เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม

📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว (ลิงก์นี้ครับ)
📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564
📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้
📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

การจัดการและการป้องกันโรค บริการจาก CPF Farm Solution

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพฟาร์มสัตว์

ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย

  • ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท
  • การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ
  • การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า

ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้ที่ cpffeedsolution.com

 

“ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity)” ทำอย่างไร และมีความ สำคัญแค่ไหน ?

ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือ แนวทางปฏิบัติสำหรับฟาร์ม และทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่ว่าจะเข้า มาจากภายนอกฟาร์ม เข้าสู่ภายในฟาร์ม หรือจากภายในฟาร์ม ที่อาจจะมีการระบาด จากส่วนการผลิตหนึ่งไปอีกส่วนนึง เพราะว่าเวลาเกิดโรคใหม่ขึ้นในฟาร์ม มักจะเกิดจาก การนำเชื้อจากภายนอก ไม่ว่าจะมาจากรถที่รับซื้อ หรือ อาจจะติดมากับสัตว์พาหะ หรือคนภายในฟาร์มที่ออกไปข้างนอกเข้ามาสู่ฟาร์ม ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีระบบป้องกันทางชีวภาพ ที่ไม่ดี หรือละเลย การป้องกันที่ดี ก็จะทำให้เชื้อโรคระบาดจากภายนอก เข้ามาภายในฟาร์ม และพบว่าส่วนใหญ่เวลาเชื้อโรคเข้ามา ก็สามารถเข้ามาได้ทั้ง ส่วนของการขาย หรือส่วนของการผลิต เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ที่ยังพอรักษาได้ แต่หากเป็นโรคอื่น ที่รักษาไม่ได้ หรือไม่มีวัคซีน ถ้าฟาร์ม วางระบบป้องกันทางชีวภาพภายในฟาร์มไม่ดีพอ ก็มีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกหน่วยการผลิตภายในฟาร์ม ทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ฟาร์ม ต้องสำรวจก่อนว่า ฟาร์มของเราเข้มงวดพอแล้วหรือเปล่า

ระบบการจัดการฟาร์ม

สำหรับจุดเสี่ยง ที่แนะนำให้ทำการตรวจสอบมีดังนี้

เล้าขาย

สำหรับจุดนี้ เนื่องจากมีรถที่มารับซื้อ สัตว์จากทางฟาร์ม และรถที่มารับซื้อก็ไปหลายๆ ฟาร์ม ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งที่แพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ตัวอย่างเมื่อรถรับซื้อมาที่ฟาร์ม ที่ไม่มีการป้องกัน อาจจะ มีการฉีดน้ำ เพื่อล้าง หรือเพื่อ ลดความร้อน ให้กับสัตว์ ทำให้น้ำชำระล้าง มาที่พื้นที่ส่วนของการซื้อขาย พนักงานฟาร์มก็เดินไป บริเวณนั้น และได้รับเชื้อติดมาที่รองเท้า และเดินเข้าฟาร์มมา ทำให้เชื้อแพร่กระจ่ายในฟาร์มของเรา

สำหรับวิธีการที่ดี สำหรับการป้องกันโรค และง่ายในการจัดการคือ

  • มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ เช่นทำรั้ว และเป็นพื้นที่มิดชิด พื้นที่ขายต้องเป็นพื้นปูน มีช่องทางระบายน้ำล้าง มีแสงแดดส่องถึงทั่ว จะได้ง่ายต่อการทำความสะอาด และ ดูแลรักษาง่าย
  • ทางเข้าออกต้องแยกกัน กับรถที่มารับซื้อ ป้องกันการปนเปื้อน กับรถของฟาร์ม และการขนส่งอื่นๆ กรณีที่เดินทางเส้นเดียวกันอาจจะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับรถ ติดต่อกันได้
  • มีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่รถลูกค้า จะผ่านเข้ามาที่ฟาร์ม หรือส่วนการขาย สำหรับการพ่นยาฆ่าเชื้ออาจจะทำเป็นอุโมงค์ก็ได้ การพ่นยาฆ่าเชื้อ จะต้องพ่นให้ทั่วทั้งคัน ถ้าเป็นไปได้ มีในส่วนของทางเข้า และทางออกจะดีมาก
  • กรณีไม่มีการแยกทางเข้าออก อาจจะมีช่องทางส่งจากภายในฟาร์มไปที่รถ เพื่อป้องกันการสัมผัส
  • ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาที่ฟาร์ม เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากๆ
  • ตอนเลิกงานในแต่ละวัน จะต้องมีการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อ ให้ทั่วบริเวณทุกครั้ง และสำหรับพนักงานของฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องล้างทำความสะอาด และรองเท้า ต้องมีการ จุ่มน้ำยา
  • พนักงาน ในแต่ละส่วนพื้นที่ ต้องอยู่ในส่วนของตัวเอง หากมีการออกนอกพื้นที่ต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และเดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อรองเท้าทุกครั้ง
  • ส่วนของการขาย หากมีการคัดผิด ห้ามนำกลับพื้นที่โดยเด็ดขาด
  • ในส่วนของพื้นที่เล้าขาย ต้องมีการสุ่มตรวจ น้ำยาฆ่าเชื้อ และกำหนดให้เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด

ทางเข้า-ออก หน้าฟาร์ม

สำหรับทางเข้าออกฟาร์ม ควรจะมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทั้งคน และรถ ทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อ รอบคันจะดีมาก มีการทำบันทึกการเข้า-ออก ทั้งนี้ ถ้าเป็นบุคคลภายนอก หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม เข้ามา ก็ต้องมีรองเท้าบู๊ทให้เปลี่ยน และเดินผ่าน หรือ จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์มเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกฟาร์ม และเมื่อมีการระบาด ทางฟาร์มต้องงดการเข้าออก หรือให้มีการเข้าออกน้อยที่สุด จะปลอดภัยกับทางฟาร์ม ยิ่งหากเป็นโรคระบาดที่ยังไม่มีการรักษาได้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องสัตวพาหะ ด้วยครับ เช่น นก หนู เพราะ สามารถ นำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มได้

ส่วนของการเลี้ยงสุกร โรงเลี้ยง หรือผ่ายผลิต

ก่อนที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะเข้าไป ต้องมีการเปลี่ยนชุดที่ใส่มาจากภานนอกก่อน และอาบน้ำ ก่อนเข้าไปยังส่วนงานของตัวเอง รักษาความสะอาด เดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างมือ ทั้งนี้ส่วนของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ ต้องมีการเปลี่ยนทุกวัน หรือวันเว้นวันได้ ส่วนของรองเท้า ใช้งานในโรงเลี้ยง กับข้างนอก ต้องเป็นคนละคู่กัน หรือเปลี่ยนให้สีต่างกันเป็นต้น เพื่อง่ายต่อการสังเกตุ และเป็นการป้องกัน เชื้อโรคจากภายนอกเข้ามาใน ส่วนต่างได้

นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็ห้ามเข้ามาในส่วนที่เราต้องรักษาความสะอาด เพราะอาจจะทำให้ติดโรคได้ หรือเป็นตัวแพ่มาสู่ สัตว์ของเราได้ ทางฟาร์มต้องมีการกำจัดสัตว์พาหะ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะนกที่อาจจะเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ เพราะบินไปหลายที่ โรงเรือนต้องมีตาข่ายคลุม เพื่อป้องกัน อุปกรณ์ ที่ใช้งานต่างๆ ต้องมีการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด

อันนี้เป็นแค่ส่วนนึง สำหรับการป้องกันโรคระบาด ที่ผู้จัดการฟาร์มต้องให้ความสำคัญ และบอกถึงผลกระทบ หากไม่ทำตาม ผลกระทบของฟาร์มจะมีอะไร และเจ้าหน้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างไร หากเกิดเหตุขึ้นจริงๆ

ปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งเมื่อเกิดเหตุ คือ พฤติกรรมที่เคยชิน ไม่ทำตาม อาจจะส่งผลให้ฟาร์มเสียหายจากโรคระบาดได้ หากเป็นโรคที่รักษาได้ ก็ยังดี แต่หากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือไม่มีวัคซีนป้องกัน อาจจะทำให้ฟาร์มเสียหาย จนต้องปิดตัว และพนักงาน ตกงาน เพราะการติดโรคระบาดได้ครับ

แต่ถ้าหากฟาร์มของเรา มีการป้องกันที่ดี แล้ว ก็จะช่วยประหยัด ในเรื่องของค่ายา ค่าวัคซีน ไปได้อีก มากกว่าฟาร์มที่เป็นโรค และไม่จบ เพราะการใช้ยา วัคซีน ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามที่ ตลาดต้องการ ครับ

ระบบการจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค

มาตรการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สำหรับฟาร์มสัตว์ปีก มีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ อันได้แก่

  • ฟาร์มสัตว์ปีก ต้องห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก และตลาด อย่างน้อย 5 กิโล ห่างฟาร์มอื่น 3 กิโล ห่างเขตชุมชน มีรั้ว หรือแนวดิน
  • ถนนสาธารณะ ควรห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 400 เมตร และมีรั่วกั้น
  • รอบรั่วของโรงเลี้ยง ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันสัตว์พาหะ เพื่อป้องกันนก และสัตว์พาหะอื่นๆ เข้าโรงเลี้ยง เป้นการป้องกันโรคได้อย่างดี
  • การเข้าออกฟาร์มต้องมีการ พ่นยาฆ่าเชื้อหรือ อาบน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งคน และรถที่เข้าออก
  • รักษาความสะอาดรอบโรงเรือน 3 เมตรเพื่อป้องกันหนู หรือแหล่งสะสมของเสียปฏิกูลต่างๆ
  • โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และควรเป็นแบบโรงเรือนระบบปิด แต่หากเป็นโรงเรือนระบบเปิด ต้องมีตาข่ายป้องกันนกหรือสัตว์พาหนะของโรคไม่ให้เข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
  • สัตว์ปีกที่เลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีการควบคุมอุณหภูมิ , ความชื้น , แก๊ส , แสงสว่าง และการระบายอากาศที่ดี ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกที่กรมปศุสัตว์กำหนด สามารถดูฟาร์มระบบปิดได้ที่ 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564
  • ไม่นำอุปกรณ์เครื่องใช้ใดๆ จากฟาร์มหรือจากแหล่งที่เลี้ยงสัตว์อื่นมาเข้าภายในฟาร์ม ถ้าต้องการนำมาใช้ ต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อน และแน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคแล้ว
  • เมื่อสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ หรือ สงสัยว่าป่วยตายด้วยโรคไข้หวัดนก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์โดยด่วน และฆ่าเชื้อโรคโดยรอบโรงเรือน และภายในฟาร์มทันที พร้อมห้ามมิให้บุคคล , ยานพาหนะ เข้าในฟาร์มโดยเด็ดขาด

สำหรับฟาร์มสัตวปีก การปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเคร่งครัด ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สำหรับฟาร์มทุกขนาด และแนะนำให้ เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพราะการได้มาตรฐานฟาร์ม นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ที่ไม่ควรละเลย เพราะถือเป็นการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสัตว์ปีก และไข่สัตว์ปีก

สำหรับผู้บริโภคก็ควรเลือกซื้อวัตถุดิบไม่ว่าเนื้อ , เครื่องใน , หรือไข่ ที่จะนำมาประกอบอาหารบริโภคนั้น ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และรับรองความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้แล้ว หากฟาร์มที่มีการเลี้ยงสุนัข ที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านหรือฟาร์ม ก็จะต้องกักขังหรือล่ามโซ่ไว้ หรือควบคุมบริเวณ ไม้ให้ออกไปหากินอาหารนอกฟาร์ม เพราะอาจจะไปกินซากสัตว์ปีกตายด้วยโรคระบาดสัตว์ แล้วเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคได้ และห้ามมิให้สุนัขเข้าไปในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด ส่วนผู้เลี้ยงทุกครั้งที่จะเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า และจุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าโรงเรือน ตามข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกอย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็ปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก และยังเป็นการปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ(Biosecurity) อีกด้วย

การจัดการมาตรฐานฟาร์ม การป้องกันโรค และการกำจัดสัตวพาหะ สามารถดูรายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ cpffarmsolutions.com

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)