Logo-CPF-small-65png

Search Results for: การป้องกันโรค

ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เดินหน้ามาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1. ขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) พร้อมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระบาด และสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิต 2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ 3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด 5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF 6. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ 7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง   พร้อมทั้งได้นำระบบ Zoning และ Compartment มาใช้ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและประเทศคู่ค้า อีกทั้งปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ เปิดให้ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรเดิมที่เคยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านและศูนย์อาหาร มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป CR : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์

ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม รายการ Farm Talk EP.SPECIAL รับชมย้อนหลังทุก EP. คลิก Play Play Play Play Play Play Previous Next Farm Talk 4 ซีรีส์ สุขภาพสัตว์ โรคในสัตว์ การป้องกันโรค การรักษาโรค CPF Feed Online ซื้ออาหารสัตว์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้แต้ม เทคโนโลยี สำหรับการขายอาหารสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุศัตว์ เทคโนโลนีน่ารู้ ที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจปศุสัตว์ เกร็ดน่ารู้ในการใช้โซเชี่ยลมีเดีย สารพันปัญหาในฟาร์ม การบริหารจัดการฟาร์ม พันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ ตลาดภลิตภัณฑ์ เคล็ดลับจากผู้เชี่ยวชาญ ครบเครื่องเรื่องสัตว์เคี้ยวเอื้อง โค กระบือ แพะ แกะ ช้าง ม้า ดาวน์โหลดฟรี เอกสารประกอบการบรรยายจากแขกรับเชิญ ดาวน์โหลดที่นี่ ดาวน์โหลดที่นี่ สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม Read More »

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัยCPF พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีทันสมัย เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) ติดตามสถานการณ์แบบ Real-Time สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์คุณภาพดีและปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า CPF ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และกุ้ง รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล หรือ หลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สนับสนุนให้สัตว์อยู่ด้วยความสะดวกสบาย ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ได้อย่างอิสระ สัตว์สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ส่งผลให้ไม่มีการใช้สารฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา ควบคู่กับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันโรคในฟาร์ม ตามแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยในปี 2563 ซีพีเอฟ เป็นรายแรกของไทยที่นำระบบ Birdoo Smart Eyes มาใช้ในฟาร์มไก่เนื้อ เป็นระบบสังเกตการณ์ทางไกลแบบอัตโนมัติ ติดตามสวัสดิภาพสัตว์ แบบ Real-Time เพื่อช่วยสังเกตข้อมูลน้ำหนักไก่ การกินน้ำ และอาหาร แสดงผลผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ นำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการนำนวัตกรรมระบบ Smart Farm โดยติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ ในการเก็บข้อมูล ช่วยการประมวลผลข้อมูลในฟาร์มมีแม่นยำ เพื่อการจัดการฟาร์มให้ไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตCPF ยังพัฒนานวัตกรรมด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของสัตว์ในทุกสภาวะ อาทิ ธุรกิจไก่ไข่ นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) ประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (Free Range) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา ผลิตไข่ไก่ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic Livestock) จากกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงให้กับกิจการในมาเลเซียและลาว เพื่อนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรในประเทศ“CPF ตระหนักดีว่าการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี นำไปสู่คุณภาพและปลอดภัยของอาหาร ซึ่งปัจจุบัน สัตว์ในฟาร์มของ CPF 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล เป็นหลักประกันคุณภาพอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร CPF กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้หลัก 3T (No Testicles , No Teeth Clipping and No Tail Docking) เพื่อ ลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการตอนเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ 3Ts-Alliance ซึ่งตั้งโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เพื่อร่วมยุติขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่อลูกสุกร พร้อมกันนี้ CPF ยังเดินหน้าปรับเปลี่ยนสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบคอกขังรวมให้ครบ 100 % สำหรับกิจการในไทย ในปี 2568 และกิจการในต่างประเทศจะบรรลุเป้าหมายในปี 2571CPF ได้พัฒนานวัตกรรมการละลายพฤติกรรมในลูกสุกรหลังหย่านมให้มาอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยใช้สารสกัดสมุนไพรรูปแบบผง และน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นเดียวกันพ่นบนตัวสุกรได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดพฤติกรรมการต่อสู้กันตามธรรมชาติ ตลอดจนiพัฒนารูปแบบการเคลื่อนย้ายสุกรสำหรับการขนส่ง ด้วยระบบทางเดิน Walkway ภายในฟาร์ม และพัฒนาระบบสะพานเลื่อนอัตโนมัติที่ใช้ในการขนส่งสุกร ลดการบาดเจ็บของสุกร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งผลให้ CPF ได้รับการปรับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ Tier 3 จาก Tier 4 จากรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ปี 2020 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) โดยมีคะแนนที่โดดเด่นในด้าน Innovation and Leadership จากการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (เคจฟรี) และเป็นรายแรกของประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงของกรมปศุสัตว์ และหัวข้อ Performance Reporting ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลและมีการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์อย่างเป็นระบบ./    CR: CPF

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย Read More »

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)

      โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever: ASF) เป็นโรคที่สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต แต่โรค ASF จะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่สุกร และปศุสัตว์ต่างๆ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์อาจพาไวรัสติดไปเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้โรคแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว ในอดีต ASF เป็นโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา แต่ในช่วงปี 2561 และ 2562 เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป แล้วโรค ASF มีอาการอย่างไร เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง สัญญาณและอาการของโรค ASF มีไข้สูง (40.5–42°C) เบื่ออาหารกะทันหัน เลือดออกทางผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต่อมน้ำเหลือง ท้องเสีย อาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน) แท้งลูก มีอาการซึม ไอ หายใจลำบาก เสียชีวิตกะทันหัน อัตราการตายสูง อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคอหิวาต์สุกรธรรมดา (Classical swine fever: CSF) แต่โรค ASF เกิดจากไวรัสเฉพาะซึ่งแตกต่างจาก CSF อัตราการตายที่สูงผิดปกติในหมู่สุกรทุกช่วงวัยถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรค ASF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสุกรน่าจะติดไวรัสชนิดใด ก็คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นในฝูงสุกรที่เลี้ยงไว้ โปรดติดต่อสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการกักโรคและรักษาอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งจะช่วยจำกัดขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นในฟาร์มของคุณได้ เคล็ดลับในการป้องกันฟาร์มให้ห่างไกลจากโรค ASF การป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แม้จะอยู่ในประเทศที่ ASF เป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม มาตรการป้องกัน 9 วิธีในการหลีกเลี่ยงโรค ASF มีดังนี้ การใช้มาตรการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเข้มงวด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF ประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF อาจสั่งให้มีการจำกัดหรือห้ามส่งออกสัตว์ได้หากตรวจพบเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ตรวจสอบรายชื่อภูมิภาคที่มีการติดเชื้อก่อนนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ทำการกำจัดเศษอาหารทุกชนิดจากเครื่องบินหรือเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด ฆ่าเชื้อและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร (เช่น นำเศษขยะไปให้สุกรกิน) การเลี้ยงด้วยเศษอาหารเหลือจากบริการจัดเลี้ยงถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเศษอาหารดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ ASF อาจทำให้ฝูงสุกรที่แข็งแรงติดโรคได้ อย่าทิ้งเศษอาหารไว้ให้สุกรป่าสามารถเข้าถึงได้ ควรกำจัดซากสุกรส่วนที่เหลือทิ้งจากสุกรในโรงเชือดและเศษอาหารอย่างเหมาะสม กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ (การขีดวงทำลาย): สัตว์ที่หายจากโรคหรือสัตว์ที่รอดตายจะเป็นพาหะของไวรัสโรคนี้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นๆ และเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดขึ้นใหม่ การกำจัดสุกรตัวที่ติดเชื้อและตัวที่อาจติดเชื้อจึงมีความปลอดภัยมากกว่า การกำจัดสุกรในวงรัศมีรอบๆ อาจเป็นวิธีที่กำจัดโรคที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและหยุดการระบาดได้เร็วที่สุด กวดขันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม: ดูแลให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรียด้วยการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่การฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูทอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่นำผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ยังไม่ผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเข้าสู่ฟาร์ม และทางฟาร์มควรจัดเตรียมรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ การเคลื่อนย้ายสัตว์และมนุษย์ภายใต้การควบคุม: สุกรที่จัดหามาควรมาจากแหล่งผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรอง เนื่องจากยานพาหนะ อุปกรณ์ และคนอาจเป็นวัตถุพาหะนำเชื้อโรค ASF ได้เช่นกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้มาเยือนฟาร์มที่เพิ่งไปประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF ต้องทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณ เนื่องจากสารคัดหลั่งและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เจ็บป่วยหรือตายถือเป็นแหล่งโรค ASF ดังนั้น รถบรรทุกขนซากสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงและไม่ควรให้เข้ามาในฟาร์มโดยเด็ดขาด การสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังโรค: การดำเนินการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการขนย้ายสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู นอกจากนั้นฟาร์มสุกรเองก็ควรมีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดด้วย โดยควรตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว สุกรที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการฝึกอบรมพนักงานถึงวิธีป้องกันโรค ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจดบันทึกส่วนผสมในอาหารสัตว์ทุกวัน การตรวจพบไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ: แจ้งสัตวแพทย์โดยทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เกณฑ์การกักโรคอย่างเข้มงวด: ควรใช้มาตรการการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่เข้ามาและ/หรือเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรค ASF การรักษาโรค ASF ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ จึงต้องใช้มาตรการป้องกันและระวังในการดูแลสุขภาพสัตว์ให้ปลอดภัย เนื่องจากการสัมผัสระหว่างสัตว์ที่เจ็บป่วยกับสัตว์ที่สุขภาพดีอาจทำให้เชื้อ ASF แพร่สู่กันได้ ดังนั้นจึงควรแยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกต่างหากและคัดออกโดยทันทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ASF รู้หรือไม่? ภูมิภาคทวีปอเมริกาเหนือและโอเชียเนียยังคงเป็นภูมิภาคที่ไม่เคยพบว่ามีรายงานการระบาดของโรค ASF เลย โรค ASF ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ติดเชื้อ ASF โรค ASF ระบาดในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่า รวมถึงเห็บอ่อนหลากหลายประเภท สุกรป่าและตัววอร์ธฮ็อกก็สามารถเป็นพาหะนำโรค ASF ได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัตว์เหล่านี้ไม่มาสัมผัสกับสุกรบ้าน เนื้อสัตว์แช่แข็งจากสุกรติดเชื้ออาจมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ไวรัส ASF อาจมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานสูงสุดถึง 15 วัน และในปัสสาวะที่อุณหภูมิ 21°C ได้นาน 5 วันโดยประมาณ การลดการเกิดเชื้อ ASF ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ต้องปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกที่อุณหภูมิ 70°C นาน 30 นาที หากเป็นน้ำเหลืองและของเหลวจากร่างกาย ต้องใช้อุณหภูมิ 60°C นาน 30 นาที การถนอมอาหารหรือรมควันผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไม่ทำให้ไวรัสตาย โรค ASF สามารถแพร่ต่อกันได้ผ่านอาหารสัตว์ (Niederwerder, et al., 2019) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรซื้ออาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารจากผู้ให้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารสัตว์ที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่อันตรายบางชนิดได้ (Dee, et al., 2018) และเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันอีกชั้น ควรกำหนดมาตรการป้องกันและใช้เทคโนโลยีใส่ลงในอาหารสัตว์ เช่น ให้สารเพิ่มความเป็นกรด เพื่อให้อาหารสัตว์มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นที่ทราบกันว่าสารเพิ่มความเป็นกรดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วย “ควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสัตว์ […] จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ดี” (Jacela, et al., 2009) ผลิตภัณฑ์อย่าง Guardicate™* ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยในอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เสริมความแข็งแกร่งของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของคุณได้อีกด้วย จากการวิจัยยาวนานเกือบ 4 ปี Guardicate ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในฐานะสารเพิ่มความเป็นกรด ช่วยให้คุณคลายความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารสัตว์ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมของอาหารสัตว์ให้เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีด้านโภชนาการของ Alltech คุณจึงวางใจได้ในความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต พร้อมส่งเสริมสุขภาพสัตว์ของคุณให้แข็งแรง เมื่อใช้ร่วมกับโซลูชั่นอื่นๆ เช่น Sel-Plex®, Bioplex® และ Actigen® การเสริมแร่ธาตุที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและผลิตภาพในสัตว์ของคุณได้ ซึ่งมีการค้นพบว่าระดับแร่ธาตุที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเชิงบวก โปรแกรมการบริหารจัดการแร่ธาตุของ Alltech (Alltech Mineral Management program) เน้นการให้แร่ธาตุอินทรีย์ เช่น Sel-Plex และ Bioplex ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยม ทางเดินอาหารที่แข็งแรงและไมโครไบโอม (microbiome) ก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวมในสุกรด้วยเช่นกัน ซึ่งในการนี้ Actigen จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการทำงานและพัฒนาการของลำไส้ ทำให้สัตว์มีสุขภาพและสมรรถภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น CR:  Alltech

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน กลับมาเจอกันอีกครั้งกับรวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 ตอนนี้ถือว่าเป็นตอนพิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยบทความที่ผ่านมาจะกล่าวถึงการป้องกันและควบคุมโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่บทความนี้จะเล่าประสบการณ์ของฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศหนึ่ง ขนาด 164 แม่ และ 300 แม่ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เป็นปกติมาถึง 60 วันและมากกว่า 1 ปีตามลำดับ ในขณะที่ฟาร์มรอบข้างในรัศมีไม่เกิน 170 ถึง 650 เมตร หมูทั้งหมดถูกทำลายไปมากกว่า 3,000 ตัว ตามมาตรการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด  ซึ่งฟาร์มทั้งสองแห่งนี้ใช้ระบบการเลี้ยงแบบโรงเรือนปิดหรือที่เรียกว่าโรงเรือนอีแว๊ป และนั้นดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในคนในปัจจุบันเพราะเปรียบเสมือนมีโควิด 19 เกิดขึ้นที่ปากซอยหน้าบ้านเลยที่เดียว เรามาติดตามกันดูนะว่าเกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นรอดพ้นภัยร้ายครั้งนี้มาได้อย่างไร เริ่มต้นจากทีมสัตวแพทย์​และผู้ดูแลโครงการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู​ แจ้งสถานการณ์​ความเสี่ยงให้เกษตรกรทราบ เพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ปฏิบัติ​ตามข้อแนะนำการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด​ และมีทีมงานตรวจติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด​ โดยไม่เข้าไปในเขตฟาร์ม​ของเกษตรกร ความร่วมมือแรกที่ขอจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูคือ การให้คนงานในฟาร์มพักในที่พักของฟาร์มเท่านั้นยกเว้นกรณีจำเป็นต้องออกไปภายนอกก็จะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันการนำเชื้อโรคกลับเข้ามาในฟาร์ม โดยพนักงานเลี้ยงหมูทุกคนก่อนเข้าปฏิบัติงานในเล้าหมู ต้องถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใช้ภายนอกฟาร์มออก แล้วอาบน้ำและเปลี่ยนชุดก่อนเสมอ และใช้รองเท้าบู้ทเฉพาะที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้นโดยก่อนเข้าฟาร์มต้องจุ่มรองเท้าบู้ทในน้ำย่าเชื้อ 2 ครั้ง ที่หน้าห้องอาบน้ำและครั้งที่ 2 ที่ประตูเล้าก่อนเข้าเล้าหมู เกษตรกรเจ้าของฟาร์มจะเป็นผู้ออกไปภายนอกเพื่อซื้อของกินของใช้มาให้พนักงานในฟาร์มและอนุญาตให้ซื้อของเฉพาะของจากร้านค้าที่สะอาด ถูกหลักอนามัย เท่านั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคจากพื้นที่เสี่ยง และห้ามซื้อเนื้อสัตว์กีบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เข้ามาประกอบอาหารในฟาร์ม รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกี่ยวข้องด้วย และเพื่อป้องกันคนภายนอกเข้ามาในเขตฟาร์ม ทางฟาร์มจะต้องปิดล๊อคประตูรั้วฟาร์มอยู่ตลอดเวลา  และทำการแบ่งเขตพื้นที่เลี้ยงหมูและที่พักอาศัยของคนงานออกจากกันให้ชัดเจน โดยทำแนวเขตด้วยรั้วสำรอง โดยใช้ห้องอาบน้ำก่อนเข้าเล้าหมูเป็นแนวเขตแบ่งพื้นที่ภายนอกและภายในฟาร์มที่เป็นเขตเลี้ยงหมู การส่งอาหารถุงมาใช้ที่ฟาร์มจะกำหนดให้มาส่งเพียงเดือนละครั้ง โดยกำหนดจุดโกดังวางอาหารให้ไว้ให้อย่างชัดเจน โดยก่อนรถขนส่งอาหารถุงมาถึง พนักงานในเล้าหมูจะต้องมาขนอาหารชุดเดิมเข้าไปไว้ในเล้าหมูก่อนอาหารชุดใหม่จะมาลงที่โกดัง เพื่อป้องกันการสัมผัสกันของพนักงานในเล้าหมูกับพนักงานขนส่งอาหาร และเมื่ออาหารชุดใหม่ถูกส่งมาถึงจะต้องวางพักไว้ 24 ชั่วโมงก่อนอนุญาตให้พนักงานเล้าหมูมานำไปใช้เลี้ยงหมู และจะกำหนดเส้นทางการขนส่งสำหรับรถทุกคันที่จำเป็นจะเข้ามาที่ฟาร์ม เช่น รถอาหารสัตว์ รถรับลูกหมูหย่านม จะต้องไม่ผ่านพื้นที่หรือเส้นทางที่เสี่ยงต่อโรค เช่น เส้นทางที่มีเล้าหมูที่เป็นโรคหรือเป็นเส้นทางที่เป็นจุดฝังทำลายหมูติดเชื้อ เป็นต้น และเมื่อรถทุกชนิดมาถึงที่ฟาร์มก็จะถูกพ่นยาฆ่าเชื้อที่ประตูฟาร์มก่อนเข้าไปในเขตฟาร์มเสมอ และรถที่ไม่จำเป็นจะกำหนดให้จอดด้านนอกประตู ไม่อนุญาตให้ขับเข้าไปจอดในเขตฟาร์ม และการหย่านมลูกหมูจากเล้านี้จะทำเพียงเดือนละครั้ง เพราะทำระบบการผสมแบบเป็นชุด หรือที่เรียกว่าระบบ Batch มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยลูกหมูจะถูกหย่านมเพื่อลงเลี้ยงในพื้นที่ที่เป็นเขตเดียวกัน และจะมีโปรแกรมตรวจสอบภาวะปลอดโรคที่ฟาร์มปลายทางช่วง 7 และ 45 วันหลังรับเข้า โดยสุ่มเก็บเลือดหมูและน้ำลาย หรือการสวอปพื้นคอก โดยระหว่างที่รอเก็บตัวอย่างส่งตรวจตามโปรแกรม คนงานจะต้องคอยตรวจสอบสุขภาพสุกรตลอดเวลา หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไม่กินอาหาร นอนซึม ให้แจ้งหัวหน้าผู้ที่รับผิดชอบดูแลทันที เพื่อเก็บตัวอย่างประเมินสภาวะการติดเชื้อโดยเร็ว และในช่วงที่พื้นที่นั้นยังมีข่าวการระบาดของโรคอยู่ในช่วง 30 วันแรก ก็จะหยุดผสมพันธุ์แม่หมู เมื่อผ่านช่วงที่มีความเสี่ยงและปรับปรุงระบบป้องกันโรคของฟาร์มจนมีความพร้อมที่สุดแล้ว ถึงจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์ตามปกติ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้ฟาร์มเกษตรกรหยุดการขายแม่หมูคัดทิ้ง และหยุดการทดแทนหมูพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เข้าฟาร์ม จนกว่าจะไม่มีรายงานการเกิดโรคในพื้นที่เป็นเวลา 60 วัน นอกจากนี้ยังต้องลดการสัมผัสกับบุคคลภายนอกโดยหยุดขายมูลสุกรออกจากฟาร์ม ในส่วนของการป้องกันสัตว์พาหะก็เป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะแมลงวันที่มีรายงานยืนยันชัดเจนว่าสามารถแพร่เชื้อโรค ASF ได้ จากการที่ได้สุ่มจับแมลงวันในพื้นที่เสี่ยงโรคมาตรวจ ดังนั้นเพื่อควบคุมแมลงวัน เกษตรกรจึงต้องปิดโรคเรือนให้มิดชิด และมีมุ้งเขียวป้องกันเพิ่มเติมส่วนที่เป็นเยื่อกระดาษหน้าเล้าหมู และประตูทางเข้า นอกจากนั้นยังต้องวางกาวดักจับแมลงวันรอบ ๆ เล้าหมูเพื่อป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปในโรงเรือน นอกจากนี้ทางฟาร์มยังได้ป้องกันสัตว์พาหะอื่นๆ ร่วมด้วย โดยการวางยาพิษเบื่อหนู และกาวดักหนู รอบ ๆ เล้าหมู และปรับปรุงรั้วฟาร์มให้สามารถป้องกัน หมา และแมวได้ ในประเด็นเรื่องน้ำ เป็นความโชคดีที่ทางฟาร์มใช้น้ำบาดาลสำหรับการเลี้ยงหมูอยู่แล้วจึงลดความเสี่ยงการติดเชื้อผ่านทางน้ำ สำหรับฟาร์มที่ยังใช้น้ำผิวดินอยู่ควรเตรียมมาตรการหากโรคเข้ามาใกล้พื้นที่ ควรงดใช้น้ำผิวดินเพื่อการเลี้ยงหมูโดยเด็ดขาด และที่สำคัญทางฟาร์มได้จัดทำบ่อทิ้งซากไว้ในฟาร์มอยู่แล้ว โดยจะไม่นำหมูตายออกออกนอกพื้นที่ฟาร์มหมูโดยเด็ดขาด นอกจากนั้นเพื่อติดตามการปฏิบัติว่าเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้หรือไม่ ทางผู้ดูแลโครงการได้ติดตั้ง CCTV ไว้ 3 จุด บริเวณหน้าฟาร์ม ด้านหน้าห้องอาบน้ำ และภายในเล้าหมู เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังด้านการป้องกันโรคตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อความสะดวกในการติดตามสุขภาพหมูภายในโรงเรือนโดยสัตวแพทย์และสัตวบาล โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือนเพื่อป้องกันโรคการนำเชื้อโรคเข้าไปในฟาร์มหมู และป้องกันไม่ให้โรคปนเปื้อนไปกับผู้ปฏิบัติงานไปยังฟาร์มหมูอื่น ๆ ในส่วนการประเมินติดตามซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ทีมสัตวแพทย์ที่ดูแลได้กำหนดมาตรการให้ใหม่ทันทีเป็นกรณีพิเศษ เริ่มจากโปรแกรมตรวจหาโรค โดยหากพบหมูในเล้ามีอาหารผิดปกติ จะเก็บตัวอย่างเลือดหรือน้ำลายหมูเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบโรคทันที โดยสัตวแพทย์หรือสัตวบาลที่รับผิดชอบ จากจากนี้ยังมีโปรแกรมตรวจประเมินติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการเก็บตัวอย่างง่ายๆที่ทำได้โดยเกษตรกรหรือคนเลี้ยงประจำเล้า โดยการสวอปน้ำลายโดยใช้ผ้าก๊อซป้ายน้ำลายแม่สุกร​ 5 ตัว และป้ายพื้นเล้าคลอด 5 คอก​ ทุกสัปดาห์​ในช่วงเดือนที่แรกที่มีข่าวโรคระบาดรอบ ๆ ฟาร์ม และหลังจากนั้น​ เดือนที่สอง จะเก็บตัวอย่างแบบเดิมทุก 2 สัปดาห์ และในเดือนต่อมาจะเก็บตัวอย่างติดตามทุกเดือน หากไม่พบอาการผิดปกติสัตวแพทย์หรือสัตวบาลไม่ควรเข้าไปเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง เพราะอาจจะนำโรคเข้าฟาร์มหรือนำโรคจากฟาร์มที่เสี่ยงสูงแพร่ไปยังจุดอื่นได้ และก่อนหย่านมลูกสุกรก็จะเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจสอบ โดยเก็บตัวอย่างเลือดแม่สุกรเล้าคลอดจำนวน 15 ตัวอย่าง และสวอบเล้าคลอด 3 ตัวอย่าง โดยที่ผ่านมาทุกตัวอย่างให้ผลลบต่อการตรวจ และหมูในฟาร์มก็ยังมีสุขภาพที่ดีและปลอดจากโรค จนถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน จากสถานการณ์ที่กล่าวมานี้ เป็นมาตรการการป้องกันโรคที่ได้ปฏิบัติจริง ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก แต่ฟาร์มหมูที่ปฏิบัติอย่างจริงจังก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติโรคร้ายแรงนี้มาได้ และฟาร์มที่กล่าวมานี้ก็เป็นเกษตรกรผู้เลียงหมู ถ้าสังเกตมาตรการที่กำหนดให้จะเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงโดยทั่วไปทราบดีอยู่แล้ว ไม่ได้มีมาตรการอะไรแปลกใหม่เลย จุดสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติอย่างจริงจังตามมาตรการเท่านั้นเอง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงหมูแบบเล้าเปิด มาตรการข้างต้นอาจจะปฏิบัติไม่ได้ครบทุกข้อ โดยเฉพาะเรื่องสัตว์พาหะ แต่ก็ไม่แน่ว่า หากปฏิบัติข้ออื่น ๆ ให้ได้เต็มที่ ก็อาจจะรอดจากการติดโรคได้เหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็อาจจะยืดระยะเวลาให้ได้นานเพียงพอที่จะขายหมูที่ยังปกติออกให้หมดก่อนที่โรคจะมาถึง ดังมาตรการที่ได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่ 3  ที่ผ่านมา ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นตัวอย่างหรือแนวทางหนึ่งที่อาจจะนำไปปรับปรุงเพิ่มเติม ตามหน้างานของแต่ละฟาร์มได้ หวังว่าผู้เลี้ยงหมูทุกท่านคงพอได้แนวทางเพื่อนำไปป้องกันฟาร์มของท่านให้รอดพ้นจากภัยร้ายในครั้งนี้   น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพีเอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน) อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ   Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี จากบทความแรกจนมาถึงบทความตอนที่ 3 ผู้เขียนหวังว่าผู้ประกอบการฟาร์มหมู ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ คงพอได้แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ASF พอสมควร และหวังว่าท่านยังคงรอดพ้นจากภัย ASF อยู่ได้  สำหรับบทความตอนนี้เป็นการคาดการณ์ความเป็นไปของโรค ASF ในภายภาคหน้าซึ่งแม้ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็อยากให้ทุกท่านเตรียมใจและเตรียมการณ์ไว้ก่อนเพราะความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีที่ว่านั้นก็คือถ้าประเทศไทยไม่สามารถหยุดยั้งโรค ASF เอาไว้ได้ และโรคมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ณ เวลานั้น เราจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างตามหลักวิชาการ  เพื่อลดความเสียหายจากโรคให้น้อยที่สุด ทั้งในด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค การลดการสูญเสียจากการตายของหมูที่ป่วยเป็นโรค  การป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูให้ฟาร์มหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูอีกครั้งได้อย่างปลอดภัย ในทางทฤษฏีการควบคุมโรค  ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยอาศัยหลักการ รู้เร็ว จัดการเร็ว โรคจะจบเร็ว โดยการรู้เร็วหมายถึงการตรวจพบโรคให้ได้เร็วที่สุดตั้งแต่มีโรคระบาดในพื้นที่  จัดการเร็วหมายถึงการทำลายหมูป่วยเป็นโรค และการสืบสวนโรคหาหมูที่มีความเสี่ยงว่าจะสัมผัสโรคแล้วทำลายด้วยการฝังหรือเผา  เพื่อไม่ปล่อยให้หมูหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่มีความเสี่ยงหลุดรอดการตรวจสอบออกไปแพร่เชื้อโรคต่อได้ ซึ่งหากทำครบ 2 ประเด็นหลักที่กล่าวมา โรคก็จะจบได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค และข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการระบาดของโรค ASF ในประเทศต่างๆ เพื่อสรุปเป็นทางเลือกสำหรับการควบคุมโรค ASF ของประเทศไทย ในกรณีที่โรคแพร่ระบาดมากขึ้นทั้งในส่วนผู้เลี้ยงหมูรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ ซึ่งทางเลือกที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้ สามารถใช้ควบคุมโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรค อหิวาต์สุกร และ พี อาร์ อาร์ เอส  สำเร็จมาแล้ว เพียงครั้งนี้ต้องเอามาปรับใช้ให้สอดคล้องตามลักษณะของโรค โมเดลที่ 1 การทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มที่เกิดโรคและฟาร์มรอบๆ ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือ Stamping Out โมเดลนี้ในทางทฤษฏีถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาดรุนแรงรวมทั้งโรค ASF การควบคุมการระบาดของโรคในช่วงแรกของทุกประเทศที่การระบาดของโรคยังไม่มากมักใช้โมเดลนี้ในการควบคุมโรค วิธีการคือเมื่อตรวจพบหมูเป็นโรคในฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งจะขีดวงเป็นรัศมีเพื่อทำลายหมูในพื้นที่รอบจุดเกิดโรค โดยจะทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มที่พบโรคด้วยวิธีการฝังหรือเผาแบบ Total depopulation เพื่อตัดวงจรการแพร่โรค รวมถึงการทำลายหมูในรัศมี 1 , 3 และ 5 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ทั้งนี้ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ รวมถึงการห้ามจำหน่ายหมูมีชีวิตในเขตพื้นที่ระบาดเข้าโรงชำแหละด้วย โดยความสำเร็จของโมเดลนี้มักจะไปเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินชดเชย การทำลายหมูที่ป่วยเป็นโรค และหมูที่มีความเสี่ยงจะติดโรคให้กับผู้เลี้ยงหมูด้วยเสมอ หากจ่ายเงินชดเชยต่ำกว่ามูลค่าหมูจริงของหมูมากๆ ผู้เลี้ยงหมูก็มักแอบลักลอบขายหมูป่วยหรือหมูที่ต้องสงสัยว่าป่วยออกไปก่อนที่ผู้มีอำนาจจะเข้าไปตรวจสอบและยืนยันการติดโรค เลยทำให้ในหลายประเทศไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคด้วยวิธีนี้  อีกทั้งการสืนสวนโรคในฟาร์มหมูเพื่อหาความเชื่อมโยงและความเสี่ยง ก็มักไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอ และมักไม่ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้โรคลุกลามไปในวงกว้าง โมเดลที่ 2  ตัดไฟแต่ต้นลม  โมเดลนี้อาศัยหลักคิดที่เรียกว่า “ป้องกันไว้ก่อน” โดยอาศัยประสบการณ์เดิมว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นแล้ววางแผนป้องกันไว้ก่อน เช่นเดียวกับกรณีพอทราบว่าไฟเริ่มไหม้พื้นที่ป่า เราก็ทำแนวกันไฟ เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามต่อไปใด้ ไฟป่าก็จะดับไปเองในที่สุดเพราะไม่มีตัวต่อเชื้อไฟ กรณีโรค ASF ก็เช่นเดียวกัน ทุกท่านคงทราบดีแล้วกว่าโรคนี้มักจะระบาดในฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือกลุ่มฟาร์มที่ไม่มีระบบป้องกันโรคที่ดีพอก่อนเสมอ ดังนั้นหากเรามีข้อมูลด้านการระบาดอย่างเพียงพอจนสามารถประมาณการได้ว่าพื้นที่ใดโรค กำลังระบาดมาถึง เราจะไม่ปล่อยให้ผู้เลี้ยงหมูเหล่านั้นต้องเผชิญกับโรคเพียงลำพังและหมูในฟาร์มเป็นโรคตายทั้งหมด แล้วรอรับเงินชดเชยจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนอื่นๆ  เพื่อขอเข้าทำลายหมู ด้วยโมเดลตัดไฟแต่ต้นลม สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมูรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และผู้ประกอบการในธุรกิจหมูทั้งหมด สามารถร่วมมือกันทำได้ โดยการใช้เงินกองทุนชดเชยโรคระบาดหรือเงินจากการระดมทุนเฉพาะกาล รับซื้อหมูของผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในพื้นที่รัศมี 10-20 กิโลเมตรจากจุดที่พบว่ามีการระบาดของโรค และต้องเป็นฟาร์มที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับจุดเกิดโรค โดยมีเงื่อนไขรับซื้อหมูในราคาตลาดเฉพาะหมูที่ผ่านการตรวจยืนยันว่าปลอดจากโรค ASF แล้วเท่านั้น และส่งเข้าโรงชำแหละที่กำหนดให้เพื่อตรวจติดตามสถานะปลอดโรค ส่วนกรณีหมูแม่พันธุ์และหมูที่ยังขายขุนไม่ได้ จะพิจารณาชดเชยเป็นรายได้ที่เหมาะสมให้กับผู้เลี้ยง โดยเกษตรกรที่ยินดีเข้าร่วมโครงการตัดไฟแต่ต้นลมจะได้รับเงินจากการขายหมูตามราคาตลาดและเงินชดเชยจากหมูที่ไม่สามารถขายเข้าโรงชำแหละได้      และหลังจากในพื้นที่นั้นภาวะโรคระบาดสงบลงแล้วหรือไม่มีโรคเกิดขึ้นภายใน 60 วัน ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก็สามารถนำหมูชุดใหม่เข้าเลี้ยงได้ ตามการประเมินของเจ้าหน้าที่ปศุตว์ในแต่ละพื้นที่ เพราะฟาร์มของเขาเหล่านั้นยังไม่เคยมีโรคระบาด ASF มาก่อน ซึ่งโมเดลนี้จะต่างจากโมเดลแรกที่จะต้องให้ผู้เลี้ยงหมูหยุดการเลี้ยงหมูเป็นเวลานานกว่า เพราะในฟาร์มเคยมีโรคเกิดขึ้นแล้ว โดยโมเดลนี้ ภาครัฐหรือกองทุนที่สนับสนุนการป้องกันโรคจะได้ประโยชน์จาการที่ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อชดเชยการทำลายหมูที่ป่วยและตายโดยไม่มีรายได้กลับคืนมา ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูรายอื่นๆ ก็จะไม่มีความเสี่ยงจากโรคในพื้นที่ตนเอง และที่สำคัญผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก็ยังพอมีรายได้จากการขายหมูเพื่อทำทุนเลี้ยงหมูต่อเมื่อภาวะโรคในพื้นที่นั้นสงบลง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การระบาดของโรคก็มีแนวโน้มจะช้าลง เนื่องจากไม่มีหมูกลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคมารับเชื้อและแพร่เชื้อต่อไป ผู้เขียนเชื่อมันว่าหากมีการสรุปแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน โมเดลตัดไฟแต่ต้นลม จะเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่จะช่วยลดความสูญเสียในการดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงหมูลงได้มาก  แต่จะต้องได้รับความร่วมจากทุกภาคส่วน และต้องอาศัยพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ASF อย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตามโมเดลนี้อาจมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดว่า เป็นความพยายามของผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายใหญ่ที่จะมุ่งการทำลายผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ดั้งนั้นก่อนดำเนินการควรชี้แจงและทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์คือการช่วยเหลือผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก่อนที่โรคระบาดจะแพร่มาถึง โมเดลที่ 3 การทำลายหมูบางส่วนเพื่อป้องกันไม่ให้หมูที่เหลือในฟาร์มติดเชื้อหรือ Partial Depopulation โมเดลนี้ น่าจะเป็นทางเลือกเฉพาะฟาร์มหมูรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ที่มีความพร้อมสูงมากด้านระบบการป้องกันและควบคุมโรค และเข้าใจการระบาดของโรคเป็นอย่างดี และต้องมีความพร้อมด้านการตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการ และที่สำคัญควรได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่นั้นๆ โดยในระหว่างประเมินความสำเร็จของโครงการ ผู้เลี้ยงหมูจะสามารถส่งหมูขุนเข้าโรงชำแหละของตนเองเท่านั้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ และจะต้องแสดงผลการตรวจว่าหมูในเล้านั้นปลอดจากการติดเชื้อภายใน 15 วันก่อนการเคลื่อนย้ายหมูเข้าโรงชำแหละ และต้องตรวจสอบการติดโรคอีกครั้งที่โรงชำแหละ หรือกรณีที่ต้องการย้ายหมูออกจากฟาร์มจะทำได้เฉพาะเล้าที่ผ่านการตรวจสอบว่าภายในรอบ 15 วันก่อนการเคลื่อนย้ายไม่พบการติดเชื้อ และต้องย้ายไปเลี้ยงต่อในพื้นที่ที่ไม่มีเล้าหมูอื่นๆ ในรัศมี 5 กิโลเมตร หลังจากลงเลี้ยงต้องตรวจสอบการติดเชื้อต่ออีกอย่างน้อย 30-45 วัน ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโมเดลนี้ คือการทราบให้เร็วที่สุดว่าหมูในฟาร์มติดโรค และในฟาร์มมีการบริหารจัดการฟาร์มที่เอื้อต่อความสำเร็จในการควบคุมการแพร่กระจายโรค เช่น  มีเล้ากักโรคสำหรับรับสุกรทดแทน พนักงานพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำการป้องกันโรค มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ในแต่ละเล้าต้องแยกพนักงานเลี้ยงกันอย่างชัดเจน ไม่ใช้อุปกรณ์การฉีดวัคซีนร่วมกันในแต่ละเล้า  ระบบการให้น้ำและอาหารเป็นแบบรายตัว คอกเลี้ยงหมูขนาดไม่ใหญ่เกินไป มีการป้องกันสัตว์พาหะอย่างจริงจัง และมีมุ้งป้องกันแมลงวัน เป็นต้น โดยหลักการทำ Partial Depopulation ก็คือทำลายสุกรบางส่วนในฟาร์ม ทั้งนี้อาจเป็นรายตัว รายคอก รายเล้า หรือหลายๆ เล้า ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาที่ตรวจพบหมูป่วย และความเชื่อมโยงของหมูที่ป่วยกับหมูกลุ่มอื่น ๆ ในฟาร์ม  หากพบโรคได้เร็วและโรคยังไม่แพร่กระจายไปมากในฟาร์ม ความสำเร็จก็ยังพอมี แต่หากโรคแพร่กระจายไปมาก แนะนำให้ใช้โมเดลแรกคือการทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มจะได้ผลดีกว่า การตัดสินในว่าจะดำเนินการใช้โมเดล Partial Depopulation หรือไม่นั้น ต้องอาศัยข้อมูลด้านระบาดของโรค การตรวจสอบยืนยันการติดเชื้อโรคในฟาร์มด้วยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการสืบสวนหาความเชื่อมโยงของการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ซึ่งต้องประเมินโดยผู้ที่เชี่ยวชาญและที่สำคัญอย่างยิ่งคือการตรวจติดตามสถานะฝูงหรือ Monitoring program ต้องพร้อมสามารถตรวจติดตามการแพร่กระจายโรคได้อย่างทันท่วงที และหลังจากสรุปว่าจะใช้โมเดล Partial Depopulation ควรประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในฟาร์ม มีการเขียนข้อกำหนดในการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในฟาร์มทุกอย่างชัดเจน รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานแบบรายวัน รายสัปดาห์ และการประเมินความสำเร็จของการใช้โมเดลนี้ จากที่กล่าวมานั้นเป็นแนวทางในการควบคุมโรค ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดใน 3 โมเดล หากดำเนินการตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ด้วยหลักการ PDCA ตั้งแต่ Plan หรือมีการวางแผนที่ดี Do คือการปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด Check คือการตรวจสอบอยู่เสมอว่าจะมีอะไรที่อาจผิดพลาดไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ และสุดท้าย Act คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกรณีที่พบความผิดพลาดเกิดขึ้นในการดำเนินงาน ผู้เขียนหวังว่าแนวทางที่นำเสนอมาคงพอใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการเลี้ยงหมู และผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจฟาร์มหมูที่จะใช้เพื่อการควบคุมโรค ASF   เพื่อช่วยลดความสูญเสียจากโรคระบาด และทำให้ธุรกิจเลี้ยงหมูยังคงดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน และท้ายสุดผู้บริโภคในประเทศจะได้มีเนื้อหมูบริโภคอย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสม น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพีเอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน) อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ   Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี Read More »

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่

   ซีพีเอฟใช้ Chatbot พัฒนาโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เร่งสปีดการสื่อสารกับชุมชนทั่วประเทศ และลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ทั้งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็กวัยเรียนควรกินไข่ทุกวัน แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า กลุ่มวัยเรียนบริโภคไข่ทุกวันเพียงร้อยละ 23.7 เท่านั้น ในฐานะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จึงใช้จุดแข็งมาสร้างประโยชน์ให้สังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ด้วยการทำ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ผ่านมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ทำให้หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญของโครงการ และเข้าร่วมสนับสนุน อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น- กรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok) หรือ JCC โดยโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนเป็นโครงการที่ซีพีเอฟดำเนินการมากว่า 30 ปี และได้รับการสันบสนุนจาก JCC เป็นปีที่ 21 “สมคิด วรรณลุกขี” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้เข้าสนับสนุนด้านการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนด้วยการมอบพันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ และสร้างเล้าไก่ ที่สำคัญมีก่ารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คุณครูและนักเรียน ทั้งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง วิธีการจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรค เพื่อให้ฏรงเรียนสามารถสานต่อด้วยตนเองได้ “แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยนช์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน” ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เราจึงนำเทคโนโลยีมาต่อยอดโครงการนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมาช่วยรักษาระยะห่างทางสัมคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย โดยการทำระบบ Chatbot เพื่อการรายงานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) เช่น จำนวนไก่ อาหารสัตว์ ผลผลิตไข่ไก่ ไก่ปลด รายงานการเลี้ยง ต้นทุนและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่ เป็นต้น ที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ไปทำโครงการไว้ในโรงเรียนทั้งหมด 855 โรงเรียน เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพมากกว่า 150,000 คน โดยมีแผนขยายประมาณ 20-25 โรงเรียนในทุก ๆ ปี ส่วนของ JCC ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนไปแล้ว 132 โรงเรียน ล่าสุดพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่ Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค ข้อมูลในเชิงวิชาการพบว่าโรคระบาด ASF ที่พบได้ทุกประเทศทั่วโลก มักเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือผู้เลี้ยงหมูที่ไม่มีระบบการป้องกันโรคทีดีก่อนเสมอ  ดังได้กล่าวแล้วในบทความที่ 1 ดังนั้นหากมีคำถามว่าในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมูของประเทศ พวกเราจะช่วยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ปลอดภัยได้อย่างไร เพราะเมื่อมีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยติดโรค ความเสี่ยงก็จะเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในเมื่อเราท่านทราบดีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเหล่านั้นล้วนขาดความพร้อมทั้งด้าน การเข้าถึงข้อมูล งบประมาณ และองค์ประกอบพื้นฐานด้านการป้องกันโรค จากคำถามที่ท้าทายแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางออก เพียงแต่ทางออกนั้นต้องอาศัยผู้เลี้ยงหมูมีความพร้อมมากกว่า หรือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจหมู เขาไปให้ความช่วยเหลือตามแนวทางดังนี้ เริ่มต้นจากต้องผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มหมูต้องร่วมกันไปให้องค์ความรู้กับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ทำในสิ่งที่ตัวตัวผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเองทำได้เป็นเบื้องต้นด้านการป้องกันโรค ในเรื่องต่อไปนี้ ไม่ใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเลี้ยงหมู เพราะเศษอาหารเหล่านี้อาจมีเนื้อหมูที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคหรือหากจำเป็นต้องใช้ต้องต้มให้เดือดอย่างน้อย 30 นาที เมื่อผู้เลี้ยงหมูรายย่อยออกไปทำธุระภายนอกฟาร์ม ก่อนเข้ามาเลี้ยงหมูต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า ก่อนเสมอ ไม่ให้คนภายนอกเข้าเล้าหมูตนเองโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าซื้อหมู โดยอาจเจรจาตกลงซื้อขายด้วยแอบปิเคชั่นบนมือถือ ไม่ให้รถรับซื้อหมูและคนซื้อหมูเข้ามาถึงในเล้าโดยอาจใช้วิธีการต้อนหมูให้ห่างจากเล้าเพื่อไปขึ้นรถจับหมูโดยเจ้าของเล้าต้องไม่ไปสัมผัสกับรถที่มาซื้อหมู ไม่ซื้อหมูจากพื้นที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาดเข้ามาเลี้ยง อีกทั้งไม่ซื้อเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูจากภายนอกมาบริโภคในฟาร์ม งดการขายมูลหมูจากรถรับซื้อที่ไปรับซื้อมูลจากหลายๆ ฟาร์มในช่วงเวลาการระบาดของโรค ระมัดระวังการไปซื้อหัวอาหาร เช่น รำ และปลายข้าว จากโรงสีที่ทำธุรกิจเลี้ยงหมูในกรณีที่ฟาร์มและโรงสีอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพราะหัวอาหารเหล่านั้นอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ หรืออาจติดเชื้อต่อเนื่องจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นที่เข้าไปรับซื้อหัวอาหารจากแหล่งเดียวกัน แจ้งปศุสัตว์ทันทีหากมีหมูตายเฉียบพลันหรือป่วยด้วยอาการไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง นอนสุมและท้องเสียเป็นเลือด มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำบริเวณใบหู ท้อง และขาหลัง และห้ามขายหมูป่วยและตายออกออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาดหากยังไม่ผ่านการตรวจสอบยืนยันโรค ส่วนผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมู ควรให้ความช่วยเหลือผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในการป้องกันโรคและควบคุมเพื่อลดการแพร่กระจายโรคในพื้นที่ต่างๆ  ได้ดังนี้ ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูทุกรายที่มีหมูแสดงอาการที่ต้องสังสัยว่าติดโรค เช่นมีอาการไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง นอนสุมและท้องเสียเป็นเลือด มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำบริเวณใบหู ท้อง และขาหลัง หรือมีหมูตายฉัยบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ และตรวจสอบยืนยันพบว่าหมูติดโรค ต้องไม่ขายหมูออกจากฟาร์มเพื่อไปชำแหละโดยเด็ดขาด เพราะหมูที่ใกล้ชิดกับหมูป่วยอาจติดโรคไปแล้ว การขายหมูออกไปก็เท่ากับการแพร่เชื้อโรคไปตามที่ต่างๆ ผ่านทางเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู ท้ายสุดฟาร์มหมูอื่นๆ ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงจากการติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมูรายย่อย หากเทียบโรคโควิด-19 การขายหมูที่ต้องสงสัยว่าติดโรคออกไป ก็คล้ายกับการปล่อยคนป่วยด้วยโควิด-19 ที่อาจแสดงอาการไม่รุนแรงแต่แพร่เชื้อได้ออกไปปะปนกับคนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก ปศุสัตว์จังหวัดในแต่ละเขตพื้นที่ ควรติดตามให้ให้ผู้เลี้ยงรายย่อยจนทะเบียนการเลี้ยงสัตว์ในระบบ E-Smart Plus ให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและการให้ข้อมูลเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค อีกทั้งเป็นประโยชน์ในการติดตามการแพร่ระบาดของโรค นอกจากกนี้ต้องจดทะเบียนผู้ขนส่งสุกรทุกรายร่วมด้วย เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแพร่กระจายโรค และควรให้ข้อมูลการป้องกันและควบคุมโรคกับบุคลากรผู้ขนส่งหมูเหล่านี้ เช่นกัน ปศุสัตว์ในแต่ละเขตพื้นที่จะมีโปรแกรมสุ่มตรวจโรค ในฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้ง โรงชำแหละหมู จุดจำหน่ายเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์อย่างสม่ำเสมอและควรแจ้งผลการตรวจเพื่อการเฝ้าระวังโรค โดยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนก็ควรให้ความร่วมมือ เพื่อให้ฟาร์มทั่วไปตระหนักว่าหากมีเชื้อโรคเข้ามาในพื้นที่แล้วต้องระวังให้มากขึ้น หากผู้เลี้ยงรายใดทราบว่าถ้าตนไปสัมผัสกับแหล่งที่ให้ผลบวก ก็ต้องเฝ้าระวังก่อนกลับเข้าฟาร์ม ผู้ขายอาหารให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือโรงงานอาหารสัตว์ควรหามาตรการส่งอาหารให้เกษตรกรในพื้นที่นอกเขตฟาร์ม เพราะการที่ผู้ขนส่งอาหารไปส่งอาหารในหลายๆ ฟาร์ม อาจพลาดขับรถเข้าไปในฟาร์มที่เป็นโรคโดยไม่ทราบ ดังนั้นหากปล่อยให้เขาเหล่านี้ ขับรถเข้ามาในพื้นที่ฟาร์มโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม รถคันนั้นอาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาแพร่สู่ฟาร์มได้ ดังนั้นการลงอาหารให้นอกพื้นที่ฟาร์ม ก็จะเป็นการลดการสัมผัสเชื้อโรคอีกช่องทางหนึ่ง ผู้รับซื้อหมูจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องนำรถขนส่งไปล้างฆ่าเชื้อตามจุดที่ปศุสัตว์หรือสมาคมผู้เลี้ยงหมูกำหนดไว้ให้ และรับบัตรยืนยันการล้างฆ่าเชื้อก่อนนำรถไปรับซื้อหมูที่ฟาร์มต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่ารถขนส่งคันนี้จะไม่เป็นตัวแพร่เชื้อโรคให้ผู้เลี้ยงรายย่อย และผู้เลี้ยงหมูก็ไม่ควรไปสัมผัสรถคันนี้ อาจทำทางเดินหมูเพื่อต้อนหมูให้ห่างออกมาจากเล้า แล้วให้คนมารับซื้อจับหมูไปแบบเจ้าของเล้าไม่สัมผัสกับคนมารับซื้อหมูและรถขนส่งหมู และทุกครั้งที่ผู้เลี้ยงหมูคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง ให้อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนเข้าเล้าไปเลี้ยงหมูในเล้าเสมอ ซึ่งปกติดขั้นตอนนี้จะปฏิบัติกันอย่างจริงจังในฟาร์มขนาดใหญ่ แม้กระทั้งการสร้างเล้าขายกลาง เพื่อป้องกันรถขนส่งจากภายนอกที่มีความเสี่ยงเข้าไปถึงฟาร์ม และที่สำคัญคนที่ทำงานในฟาร์มก็ไม่มีโอกาสมาสัมผัสรถที่มีความเสี่ยงจากภายนอก โดยจะนำรถที่สะอาดผ่านการพ่นยาฆ่าเชื้อขนส่งหมูมาที่เล้าขายกลาง และส่งหมูในจุดที่แยกกับที่รถภายนอกที่มารับซื้อหมู ผู้ขายพันธุ์สัตว์ให้กับผู้เลี้ยงรายย่อยต้องมั่นใจว่าฟาร์มตนเองปลอดจากโรค โดยการสุ่มตรวจสุขภาพหมูในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ ช่วงใดที่พบว่าฟาร์มตนเองมีหมูตายผิดปกติ ก็ควรหยุดการขายหมูพันธุ์ชั่วคราวและตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลอดจากโรค เพระต้องระลึกเสมอว่าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจะไม่มีเล้ารับสุกรทดแทนที่ฟาร์มใหญ่ๆ มักจะมีกันที่เรียกกว่าเล้ากักโรค เพื่อใช้ตรวจสอบก่อนว่าหมูที่รับมาปลอดโรคก่อนนำเข้าไปรวมฝูง ส่วนผู้เลี้ยงหมูรายย่อยมักไม่มีเล้ากักโรค ดังนั้การทดแทนหมูทุกครั้งก็จะมีความเสี่ยงที่อาจรับโรคใหม่ ๆ เข้าฝูง ดังนั้นผู้ขายหมูพันธุ์ให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจึงต้องให้ความช่วยเหลือในส่วนนี้ ผู้ให้บริการรถขนส่งหมูไปยังต่างพื้นที่ หรือขนส่งหมูเพื่อการส่งออก หลังการขนส่งควรนำรถไปล้างฆ่าเชื้อตามจุดบริการของปศุสัตว์ในแต่ละพื้นที่ หรือที่ทางสมาคมผู้เลี้ยงหมูหรือฟาร์มหมูจัดไว้ให้ โดยควรมีใบรับรองการล้างฆ่าเชื้อรถขนส่งก่อนไปรับหมูเที่ยวต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่ารถขนส่งคันนี้จะไม่เป็นตัวพาเชื้อโรคไปตามฟาร์มต่างๆ ฟาร์มหรือผู้ประกอบการที่ต้องส่งหมูทุกชนิดออกไปในทุกเขตพื้นที่ควรทำตามมาตรการการตรวจสอบของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ฟาร์มต้นทางมีหมูตายผิดสังเกตในช่วง 15 วันก่อนส่งก็ควรระงับการส่งออกหมูชั่วคราวเพื่อการตรวจสอบว่าฟาร์มปลอดจากโรค ควบคู่กับฟาร์มปลายทางก็ควรต้องมีเล้ากักโรคและตรวจสอบอีกครั้ง ผู้ประกอบการโรงชำแหละ ต้องจัดจุดล้างและพ้นยาฆ่าเชื้อไว้บริการสำหรับรถขนส่งหมูทุกคันที่ขนส่งหมูเข้ามาและออกจากโรงชำแหละ เพราะจุดนี้จะมีหมูจากหลายแหล่งมารวมกัน ถ้ามีหมูแหล่งใดป่วย เชื้อโรคอาจปนเปื้อนไปกับรถขนส่งที่จะไปรับหมูเที่ยวต่อไป และแพร่เชื้อสู่ฟาร์มหมูได้ ดังนั้นหลังการลงหมูทุกครั้ง รถที่จะออกจากโรงชำแหละจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อเพื่อให้มั่นใจว่ารถคันนี้จะปลอดเชื้อโรคก่อนขนส่งสุกรเที่ยวต่อไป ผู้ประกอบการฟาร์มหมูที่มีเล้าหมูมากกว่า 2 ขึ้นไป มีข้อแนะนำว่าไม่ควรรับซื้อหมูจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโรค นอกจากนั้น หลังรับหมูขุนเข้าเลี้ยงภายใน 15 วันแรก ควรแยกคนเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด เปรียบเสมือนเป็นการกักโรคเช่นเดียวกับกรณีสงสัยว่าคนในครอบครัวติดโควิด-19 ที่ต้องอยู่แยกห้องกัน โดยกรณี ASF ควรกักโรคแบบแยกเป็นระยะอย่างน้อย 15 วันตามระยะฝักโรค ซึ่งหากในช่วงเวลานี้มีหมูแสดงอาการตายเฉียบพลัน ซึ่งมักเป็นอาการเริ่มต้นของโรค จะต้องตรวจสอบยืนยันโรคเสมอ เพราะว่าหากพบโรคได้เร็วและยังใช้มาตรการกักโรคอยู่ หมูกลุ่มอื่นๆ ในฟาร์มอาจยังไม่ติดเชื้อ ซึ่งในทางวิชาการก็มีวิธีการตรวจสอบยืนยันการปลอดโรคได้เช่นกัน กรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงหมูและผู้ประกอบการเลี้ยงหมู ควรทำแผนฉุกเฉินร่วมกันกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้างในผู้เลี้ยงรายย่อย เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านอัตรากำลังคน กำลังทรัพย์ และกำลังใจ เพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค จากมาตรการที่กล่าวมา หากได้นำไปปฏิบัติหรือดัดแปลงไปใช้ให้ตรงบริบทกับหน้างาน คงพอจะช่วยป้องกันและควบคุมโรค ได้ในระดับหนึ่ง อย่างที่ได้เรียนในบทความก่อนขอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านตระหนักแต่อย่าถึงขนาดตระหนกจนทำให้ธุรกิจหมูในภาพรวมเดินต่อไปไม่ได้  ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะทำให้ “ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องอยู่ได้ ผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายใหญ่ต้องอยู่รอด” น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพี่เอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน)   อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค   ยังคงเป็นประเด็นร้อนในทุกประเทศของเอเชีย เกี่ยวกับโรค ASF บทความนี้จะไม่ขอกล่าวถึงการป้องกันโรคเพราะเชื่อมั่นว่ากลุ่มฟาร์มขนาดกลางและใหญ่ส่วนมากก็ดำเนินการได้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันฟาร์มของตนเองจากโรคนี้ได้ ด้วยการใช้หลักการการป้องกันโรคทั่วไปของฟาร์ม จึงทำให้ฟาร์มมักรอดพ้นจากโรค ส่วนฟาร์มที่มักติดโรค ก่อนเสมอในแต่ละเขตพื้นที่ มักเป็นฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ที่แทบจะกล่าวได้ว่าเป็นฟาร์มที่ไม่มีระบบป้องกันโรคที่ดีและเพียงพอที่จะป้องกันโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าจะมีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหลายรายที่อยากจะปรับปรุงพัฒนาระบบป้องกันโรคให้ได้เหมือนฟาร์มขนาดใหญ่ แต่ก็ขาดเงินลงทุน ทำให้ขาดความพร้อมด้านโครงสร้างฟาร์มที่จะช่วยในการป้องกันโรค อย่างเช่น การก่อสร้างรั้วให้ได้มาตรฐานที่สามารถป้องกันสัตว์พาหะ หรือการทำโรงเรือนให้เป็นระบบปิดปรับอากาศหรือที่เรียกว่าอีแว็ป หรือมีมุ้งป้องกันแมลงวันที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากฟาร์มหมูที่ป่วย หรือการสร้างเล้าขายหมูที่แยกออกมาจากฟาร์ม เพื่อป้องกันไม่ให้คนภายนอกเข้าไปรับซื้อหมูถึงหน้าเล้าและสัมผัสกับตัวหมูในฟาร์มโดยตรง หรือการไม่มีเงินที่จะขุดเจาะน้ำบาดาลเพื่อให้หมูบริโภค เลยต้องใช้น้ำผิวเดินที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคจากการที่มีผู้นำเอาหมูป่วยตายมาทิ้งลงแหล่งน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ จากปัญหาด้านงบลงทุนของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย จึงมักพบความเสี่ยงต่อการนำโรคเข้าฟาร์มคือ แหล่งวัตถุดิบของอาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรและแหล่งรับการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์เร่ผสม กรณีความเสี่ยงจากวัตถุดิบอาหาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเพื่อลดต้นทุนในการเลี้ยง หรือการใช้แหล่งอาหารที่มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อ เช่น ต้องไปซื้อหัวอาหารจากโรงสีที่ทำฟาร์มเลี้ยงหมูอยู่ที่เดียวกัน หรือไปซื้ออาหารจากร้านขายอาหารที่ทำธุรกิจชำแหละหมูร่วมด้วย เป็นต้น ส่วนกรณีความเสี่ยงจากแหล่งพ่อพันธุ์ที่นำมาใช้ผสมพันธุ์ในฟาร์ม เกิดจากผู้เลี้ยงรายย่อยไม่มีเงินทุนพอที่จะเลี้ยงพ่อพันธุ์ไว้ใช้เองในฟาร์ม เลยต้องรับบริการผสมพันธุ์จากพ่อพันธุ์รถเร่ที่รับผสมพันธุ์ร่วมกกันจากหลายฟาร์ม เป็นต้น ซึ่งการปฏิบัติเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงหลักของการติดโรคในสุกรของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ที่มิอาจหลีกเลี่ยงได้ และที่สำคัญการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารโรคระบาดของผู้เลี้ยงหมูรายย่อย อาจเข้าถึงได้น้อยกว่าผู้เลี้ยงรายกลางและใหญ่ ทำให้ไม่มีการเฝ้าระวังโรคจากฟาร์มข้างเคียงได้รวดเร็วพอ กว่าจะรู้ว่ามีหมูป่วยในพื้นที่ก็ปรากฏว่า โรคได้แพร่เข้าสู่ฟาร์มแล้ว ดังจากข่าวที่เราพบในต่างประเทศ เมื่อพบการเกิดโรคขึ้นจุดหนึ่ง พอตรวจประเมินฟาร์มที่อยู่ข้างเคียงก็มักจะพบหมูติดเชื้อไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจพบว่า ฟาร์มที่รับซื้อหมูไปเลี้ยงเกิดโรคขึ้นมา เมื่อตรวจสอบที่ฟาร์มต้นทางก็ปรากฏว่า มีการติดเชื้อไปแล้วแต่ยังไม่แสดงอาการ ดังนั้น การตรวจประเมินเพื่อเฝ้าระวังโรคทั้งฟาร์มต้นทางและปลายทางจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการซื้อขายและเคลื่อนย้ายหมูในเขตพื้นที่เสี่ยง โรค ASF จะแพร่จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งได้จะต้องมีพาหะพาไป เชื้อโรคมักแพร่ไปกับตัวหมูจากการขนส่งหมูมีชีวิตที่สุขภาพยังปกติจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคโดยไม่ได้ตรวจสอบอย่างถูกต้อง  หรือเชื้อโรคแพร่ไปกับเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูในตลาดที่เกิดจากการขายหมูที่ติดเชื้อโรคแล้วขายเข้าโรงชำแหละ หรือ เชื้อโรคติดมากับรถรับซื้อหมูที่อาจผ่านการขนส่งหมูป่วยโดยที่ไม่ทราบ หรือเชื้อโรคติดมากับคนที่เดินทางมาจากพื้นที่โรคระบาด เป็นต้น จากรายงานการเกิดโรคในหลายประเทศพบว่าในพื้นที่มักพบโรคระบาดเกิดขึ้นก่อน คือในผู้เลี้ยงหมูรายย่อย โดยความผิดพลาดที่พบคือการไม่ทราบว่าหมูเป็นโรคอะไรทำให้การทำลายหมูป่วยที่ติดโรคช้า เชื้อโรคจึงแพร่เชื้อไปในสิ่งแวดล้อม หรือการลักลอบเทขายหมูที่มีความเสี่ยงติดโรคโดยไม่รอการตรวจสอบยืนยัน การกระทำนี้จะยิ่งทำให้เชื้อโรคแพร่ไปกับตัวหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู ที่สามารถแพร่ไปได้ไกลจนกว่าจะมีใครมาสัมผัสกับเชื้อโรคแล้วนำกลับเข้าฟาร์ม หรือฟาร์มบางรายอาจฝังทำลายหมูป่วยแบบไม่ถูกต้อง บ่อที่ฝังหมูอาจระเบิดจากแก๊สที่เกิดขึ้นจากกระบวนการหมักตามธรรมชาติ หรือมีน้ำหลืองหมูเยิ้มออกมาจากปากหลุมที่ปิดไม่สนิทหรือไม่หนาเพียงพอ ซึ่งเป็นสิ่งล่อให้แมลงวันมาสัมผัส ฟักไข่ เกิดลูกหลานแมลงวันที่สามารถแพร่เชื้อโรคต่อไปได้ในฟาร์มบริเวณใกล้เคียง หรือการทิ้งซากหมูป่วยตายลงแหล่งน้ำ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคแพร่ไปได้ไกลตามที่น้ำไหลไปถึงได้เช่นกัน ดังนั้นการป้องกันและควบคุมโรคที่ดี ควรเป็นความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ ผู้ประกอบการฟาร์มหมูทั้งรายกลางและรายใหญ่ และฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย และควรดำเนินการเป็นพื้นที่เช่น จังหวัด หรือเขตปศุสัตว์ เพราะถ้าทุกคนเข้าใจการแพร่โรค และเข้าใจการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างถูกต้อง การแพร่กระจายของโรคก็จะลดลงและสามารถควบคุมโรคได้ในที่สุด แต่หากมีเพียงฟาร์มหมูรายใดรายหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือ ความเสี่ยงจากการแพร่โรคในพื้นที่นั้นย่อมมีมากขึ้นเช่นกัน และหากไม่สามารถหยุดยั้งโรคได้ การแพร่ระบาดโรคในวงกว้างก็อาจเกิดขึ้น ผลเสียก็ตกไปที่ผู้เลี้ยงหมูทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยหลักการควบคุมโรค ASF นั้นอาศัยหลักการที่ว่า “รู้เร็ว จัดการเร็ว จบเร็ว”  ซึ่งฟังดูแล้วคล้ายจะง่าย แต่ในทางปฏิบัติถ้าไม่เข้าใจลักษณะของโรคอย่างลึกซึ้ง อาจนำไปสู่ความผิดพลาดในการควบคุมโรค อย่างเช่น คำว่า “รู้เร็ว” หรือ Early Detection ถือว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งของการควบคุมโรคเลยก็ว่าได้ โดยทางทฤษฏี คือการที่ทราบได้อย่างรวดเร็วว่าหมูในฟาร์มตัวแรกติดโรคแล้ว ถึงตรงนี้ก็จะต้องย้อนคิดด้วยว่าโรคนี้มีระยะฟักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 5-15 วัน  ดังนั้นการตรวจพบหมูป่วยตัวแรก ก็แสดงว่าการติดเชื้อของฟาร์มนี้อาจเกิดขึ้นมาในช่วง 15 วันก่อนหน้านั้นแล้ว และโดยปกติหมูที่เริ่มป่วยมักมีอาการไม่ชัดเจน หากเราไม่เชื่อมั่นในผลการตรวจหรือใช้เวลาตรวจสอบยืนยันนาน ก็จะส่งผลเสียเพราะโรคในฟาร์มอาจลุกลามจนยากจะแก้ไข ดังนั้นการตรวจสอบว่าหมูในฟาร์มป่วยให้ได้เร็วที่สุดจึงมีความจำเป็น และปกติการตรวจหมูที่สุขภาพดี มักจะไม่พบการติดเชื้อซึ่งเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นเพื่อให้ทราบการติดเชื้อได้เร็ว ฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงการระบาด อาจต้องสุ่มตรวจหมูทุกตัวที่ตายเฉียบพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ  เพราะวิธีการนี้ได้รับการยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญว่าจะสามารถตรวจพบโรคได้เร็วกว่าการตรวจหมูที่สุขภาพดี และนอกเหนือจากการตรวจสอบโรคใด้เร็วแล้ว ประเด็นสำคัญต่อมาคือ “การสืบสวนโรค” หรือการสืบค้นหาหมูกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อเพราะมีความเชื่อมโยงกับหมูที่ป่วยเป็นโรค กรณีนี้จะใกล้เคียงกันกับโรคโควิด – 19 ในคน คือการสืบหาผู้สัมผัสเชื้อและมีความเสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ซึ่งจะต้องสืบหากลุ่มเสี่ยงให้ครบถ้วน เพื่อการตรวจสอบและแก้ไข ก่อนที่กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้จะแพร่เชื้อต่อไป สำหรับหมูที่มีความเสี่ยงจะติดเชื้อ ก็คือหมูที่มีโอกาสสัมผัสกับหมูที่ป่วยทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น คนเลี้ยงเดียวกัน  ใช้อุปกรณ์ฉีดยาและวัคซีนร่วมกัน ใช้น้ำเชื้อจากแหล่งเดียวกัน ขนส่งด้วยรถขนเส่งเดียวกัน มีบุคคลจากภายนอกเข้ามาในโรงเรือนเป็นคนเดียวกัน เป็นต้น โดยหมูกลุ่มที่มีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อโรคเหล่านี้ จะต้องถูกตรวจสอบการติดเชื้อภายในระยะเวลามากกว่า 15 วัน นับจากวันที่คาดว่าหมูกลุ่มนี้ไปสัมผัสเชื้อโรค ด้วยความเสี่ยงที่กล่าวมาจะเห็นว่าการเคลื่อนย้ายหมูออกจากพื้นที่ระบาดของโรคโดยไม่รอการตรวจสอบตามระยะเวลาที่ถูกต้อง จะเป็นความเสี่ยงสำคัญยิ่งยวดของการแพร่กระจายโรค ซึ่งกรณีนี้สามารถเทียบเคียงได้กับโรคโควิด-19 คือผู้มีความเสี่ยงต่อการติดโรคต้องถูกกักโรคอย่างน้อย 14 วัน ตามระยะเวลาฟักโรค ดังนั้นสำหรับโรค ASF หมูกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะติดโรคนี้ควรกักไว้ในพื้นที่ที่แยกจากหมูกลุ่มอื่นๆ หรือที่เรียกว่าเล้ากักโรค และต้องตรวจสอบยืนยันโรคอีกครั้งเมื่อผ่านพ้นระยะกักโรคคือมากกว่า 15 วันขึ้นไป  และถ้าจะให้มั่นใจก็ควรรอตรวจสอบจนถึง 30 วัน หรือประมาณ 2 รอบของระยะฟักตัวของโรค จากมูลเหตุของปัญหาทั้งหมดดังที่กล่าวมา เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ให้ดีจะเห็นว่า การระบาดของโรคขึ้นกับความพร้อมด้านการป้องกันโรคเป็นหลัก โดยฟาร์มในประเทศไทย มีทั้งฟาร์มขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพในการป้องกันโรคได้ดีอยู่แล้วส่วนหนึ่ง กับฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ที่ไม่มีความพร้อมในการป้องกันโรคกระจายอยู่ทั่วไป ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงจากโรคดังกล่าวในแต่ละพื้นที่ คงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้มีศักยภาพในการป้องกันโรค ให้ช่วยเหลือฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ในพื้นที่ของตัวเองด้วย เพราะหากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในเขตพื้นที่ตนเองป่วยเป็นโรคในปริมาณมากๆ ฟาร์มหมูรายกลางและรายใหญ่ก็จะมีความเสี่ยงที่อาจจะติดโรคนี้ไปด้วย  เพราะโรคนี้จะแตกต่างจากโรคหมูชนิดอื่น ที่ทุกคนไม่อาจปปฏิเสธได้ คือ “เป็นแล้วตาย รักษาไม่หาย ไม่มีวัคซีนป้องกัน” ดังนั้น การป้องกันโรคและควบคุมโรคจึงไม่ใช่แค่กิจกรรมในระดับฟาร์มเท่านั้น การป้องกันและควบคุมโรคระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับประเทศ ต้องทำให้ครบรอบด้านทั้งหมด ถึงจะสามารถรับมือโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะขอให้ข้อมูลรายละเอียดอีกครั้งในบทความตอนต่อไป   ก่อนจบในตอนแรกนี้ขอฝากถึงผู้เลี้ยงหมูทุกท่านอีกครั้งว่า โรค ASF เป็นโรคที่น่ากลัวก็จริงแต่ก็ยังมีแนวทางที่จะป้องกันและควบคุมโรคได้ เป็นโรคที่ควรให้ความตระหนักมิใช่ตระหนกจนกลัวไปเสียทุกสิ่ง เชื้อโรคจะแพร่ไปได้ก็ต่อเมื่อมีพาหะพาไปเท่านั้น และเมื่อมีโรคเกิดขึ้น ณ ฟาร์มหนึ่งๆ แล้วนั้น หมูกลุ่มอื่นที่มีความเสี่ยงก็คือ หมูที่มีโอกาศสัมผัสกับหมูป่วยโดยตรงหรือโดยอ้อม โดยหมูที่มีความเสี่ยงสูงคือหมูที่สัมผัสใกล้ชิดกับหมูป่วยโดยตรง เช่นอยู่ในคอกหรือเล้าเดียวกัน ส่วนหมูที่อยู่อยู่ต่างเล้าความเสี่ยงก็จะลดลง หากไม่มีอะไรเชื่อมโยงถึงกัน เช่นไม่ใช้อุปกรณ์ฉีดวัคซีนร่วมกัน คนเลี้ยงร่วมกัน หรือมีสัตว์พาหะแพร่เชื้อเช่นแมลงวัน หนู เป็นต้น ส่วนฟาร์มที่อยู่ห่างออกไป และไม่มีอะไรที่เชื่อมโยงถึงกันเลย ความเสี่ยงก็จะน้อยลงไปตามลำดับความเชื่อมโยงที่มี ดังนั้นการเกิดโรคในฟาร์มแห่งหนึ่ง ในอำเภอหรือจังหวัดหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าหมูทุกตัวในจังหวัดนั้นมีความเสี่ยง เพราะหมูที่มีความเสี่ยงสูงอาจเป็นหมูอีกจังหวัดหนึ่งก็อาจเป็นได้หากสืบสวนแล้วพบว่ารับหมูทดแทนจากฟาร์มที่ป่วยนี้ไป ดังนั้นขอให้ทุกท่านมุ่งมั่นในมาตรการป้องกันโรคของตนต่อไป และตรวจสอบทุกครั้งหากสังสัยว่าฟาร์มตนเองอาจมีความเชื่อมโยงกับแหล่งหมูป่วย แล้วพบกันใหม่ในบทความตอนต่อไป ว่าควรต้องทำอย่างไรให้ “ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องอยู่ได้ ผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายใหญ่ต้องอยู่รอด” CR. น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพี่เอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน)   อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 1 : มูลเหตุของปัญหาและหลักการควบคุมโรค Read More »

cpf ai farmlab

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology

CPF Ai FarmLAB                                                หนึ่งในความปรารถนาดีจาก CPF เพื่อให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรสามารถผ่านวิกฤตและความกังวลเรื่อง ASF (โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์) ที่กำลังประชิดติดชายแดนไทยอยู่ในขณะนี้ จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดของฟาร์มในประเทศไทยพบว่า 67% โรคเข้าฟาร์มเนื่องจากกระบวนการขาย จุดส่งสุกร (Load Out) ที่เล้าขายจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของ ASF สู่พื้นที่เล้าขายและเนื่องจาก ASF เป็นโรคที่ติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเท่านั้น ช่องทางที่โรคผ่านเล้าขายได้จึงเป็นเรื่องของการสัมผัสโดยตรงไม่ว่าจะเป็นพนักงานเล้าขายกับพนักงานที่มากับรถขนส่ง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันหรือแม้กระทั่งใบส่งของที่ส่งให้กัน ฯลฯ เมื่อเชื้อโรคมาถึงเล้าขายด่านต่อไปคือการเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยง นั่นคือจุดรับสุกรสู่เล้าขาย (Load In) ซึ่งมีโอกาสเกิดการสัมผัสกันของพนักงานเล้าขายที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคกับพนักงานส่งสุกรจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรและเมื่อเชื้อโรคเดินทางไปถึงโรงเรือนเลี้ยงได้เมื่อไหร่การระบาดในฟาร์มก็อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราตั้งใจพัฒนาระบบป้องกันโรคเข้าฟาร์ม ด้วยหลักคิดจากทั้งสองเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วคือ ASF ติดต่อผ่านการสัมผัสเท่านั้นและเล้าขายเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของโรคเข้าสู่ฟาร์ม หลักการทำงานของระบบป้องกันโรคนี้ จะมี AI (artificial intelligence) เฝ้าระวังผ่าน CCTV (ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด) เพื่อป้องกันการสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น ณ.จุดรับสุกร (Load In) และ จุดส่งสุกร (Load Out) เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจเปิดโอกาศให้มีการสัมผัสเกิดขึ้น AI จะทำการเตือนทันที โดยผ่าน 2 ช่องทางคือ 1. เสียง จะมีเสียงเตือน ณ.จุดที่เกิดเหตุเพื่อให้ผู้ที่ฝ่าฝืนรู้ตัวและหยุดการกระทำที่มีความเสี่ยงโดยทันที 2. Line Alert (การแจ้งเตือนผ่านระบบไลน์ที่สมาร์ทโฟน) เป็นรูปภาพส่งให้บุคคลที่กำหนดให้เป็นผู้รับรู้ในทันทีที่มีการฝ่าฝืนจุดเฝ้าระวังไม่ว่าบุคคลที่กำหนดไว้จะอยู่ที่ไหนจะรับทราบ ณ.เวลาที่เกิดการฝ่าฝืนขึ้น ผู้บริหารสามารถสั่งการอย่างเร่งด่วนเมื่อเกิดเหตุฝ่าฝืนเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์มเช่นสั่งให้พนักงานที่ฝ่าฝืนออกไปจากพื้นที่ทำงานและไปผ่านกระบวนการจัดการกับบุคคลที่มีความเสี่ยงด้านการป้องกันโรคก่อนเข้าฟาร์มต่อไป นอกจากนั้นข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ที่ Dashboard ในคอมพิวเตอร์สามารถดูได้ง่ายๆ ใช้เวลาในการตีความสั้นๆใช้ในการติดตามการฝ่าฝืนของพนักงานเล้าขาย เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดเวลา และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังเป็นวัน สัปดาห์ เดือนและปีได้อีกด้วย ด้วย ความตั้งใจที่ทีมงานซีพีเอฟได้กรั่นกรองจนตกผลึกและอาศัยความเชี่ยวชาญระดับโลกด้าน AI ของ บริษัท เซอร์ทิส จำกัด ร่วมกันสรรค์สร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมา เราคาดหวังว่าธุรกิจสุกรของประเทศไทยจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกันและพวกเราจะเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ ASF ไม่สามารถระบาดเข้าสู่ระบบการเลี้ยงได้ นำมาซึ่งความมั่นคงในการทำธุรกิจการเลี้ยงสุกรตราบนานเท่านาน เข้าชมรายละเอียดการเปิดตัว CPF AI FarmLAB ได้โดยเข้าสู่เวปด้านล่างครับ https://techsauce.co/news/cpf-ai-farmlab-powered-by-sertis# บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง https://cpffeedsolution.com/asf-protection/   CR: โค้ชวิทธ์

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)