Logo-CPF-small-65png

Search Results for: การป้องกันโรค

การป้องกันโรคในฟาร์ม

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและทำได้จริง

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและ ทำได้จริง โรคอุบัติใหม่ เป็นโรคที่เพิ่งปรากฏขึ้น และแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และเศรษฐกิจ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โลกเผชิญกับโรคอุบัติใหม่หลายชนิด เช่น ไวรัส SARS ไวรัส MERS และไวรัส COVID-19 โรคเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบร้ายแรง สร้างความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน ให้กับธุรกิจฟาร์มเป็นอย่างมาก ดังนั้นการที่เราจะป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เราสามารถใช้เทคโนโลยี มาช่วยตรวจจับ และป้องกัน ได้ โดยสามารถ แบ่งออกเป็น 4 อย่างดังนี้ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด Strict Farm Biosecurity หรือ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด เป็นแนวทางปฏิบัติที่เกษตรกรใช้เพื่อป้องกันโรคติดต่อเข้าสู่ฟาร์ม โดยเน้นการควบคุมการเข้าออกของคน สัตว์ ยานพาหนะ และวัสดุต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด หลักการสำคัญของ Strict Farm Biosecurity: การกั้นเขต: แยกฟาร์มออกจากพื้นที่อื่น ๆ ด้วยรั้ว ประตู และป้ายเตือน การควบคุมการเข้าออก: กำหนดจุดเข้าออกฟาร์มเพียงจุดเดียว ตรวจสอบบุคคล สัตว์ ยานพาหนะ และวัสดุต่าง ๆ ก่อนเข้าฟาร์ม เช่น ฆ่าเชื้อรองเท้า ล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า การสุขาภิบาล: ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ และกำจัดขยะในฟาร์มเป็นประจำ เช่น ล้างคอกสัตว์ ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ กำจัดขยะติดเชื้อ การดูแลสัตว์: ตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ ฉีดวัคซีน และใช้ยาป้องกันโรค การฝึกอบรม: ฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ และทักษะในการป้องกันโรค เช่น วิธีการฆ่าเชื้อ วิธีการดูแลสัตว์ วิธีการกำจัดขยะติดเชื้อ ประโยชน์ของ Strict Farm Biosecurity: ลดความเสี่ยงจากโรค: การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคติดต่อเข้าสู่ฟาร์ม ป้องกันความสูญเสีย: การป้องกันโรค ช่วยป้องกันสัตว์ป่วย ตาย ลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิต: สัตว์ที่สุขภาพดี เจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูง รักษาชื่อเสียง: ฟาร์มที่มีการป้องกันโรคที่ดี สร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า รักษาชื่อเสียงของฟาร์ม ชีวภาพเซ็นเซอร์ : ชีวภาพเซ็นเซอร์ (Biosensors) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่ตรวจจับสัญญาณทางชีวภาพของสัตว์ เช่น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ พฤติกรรมการกินอาหาร กิจกรรมประจำวัน สัตว์ที่เชื่อมต่อ (Connected Animals) หมายถึงการติดตั้งชีวภาพเซ็นเซอร์กับสัตว์ ส่งข้อมูลไปยังระบบออนไลน์ เช่น คลาวด์ (Cloud) เกษตรกรสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของสัตว์ผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ การทำงานของ Biosensors and Connected Animals: ติดตั้งชีวภาพเซ็นเซอร์: ชีวภาพเซ็นเซอร์จะถูกติดตั้งกับสัตว์ โดยทั่วไปจะติดตั้งใต้มือหนัง หรือใส่ปลอกคอ เก็บข้อมูล: ชีวภาพเซ็นเซอร์จะเก็บข้อมูลทางชีวภาพของสัตว์ เช่น อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ พฤติกรรมการกินอาหาร กิจกรรมประจำวัน ส่งข้อมูล: ข้อมูลจากชีวภาพเซ็นเซอร์จะถูกส่งผ่านสัญญาณไร้สาย ไปยังระบบออนไลน์ เช่น คลาวด์ (Cloud) วิเคราะห์ข้อมูล: ระบบออนไลน์จะวิเคราะห์ข้อมูล แสดงผลบนแอปพลิเคชัน หรือคอมพิวเตอร์ เกษตรกรสามารถดูข้อมูลสุขภาพของสัตว์ ติดตามการเปลี่ยนแปลง และรับการแจ้งเตือนเมื่อสัตว์มีอาการผิดปกติ ประโยชน์ของ Biosensors and Connected Animals: ติดตามสุขภาพสัตว์แบบเรียลไทม์: เกษตรกรสามารถติดตามข้อมูลสุขภาพของสัตว์ได้ตลอดเวลา ช่วยให้ตรวจจับความผิดปกติได้รวดเร็ว ป้องกันโรค: ระบบแจ้งเตือนเมื่อสัตว์มีอาการผิดปกติ ช่วยให้เกษตรกรสามารถรักษาโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ลดความสูญเสีย เพิ่มผลผลิต: สัตว์ที่สุขภาพดี เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตสูง ลดต้นทุน: การป้องกันโรค ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์ การจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ: ข้อมูลจากชีวภาพเซ็นเซอร์ ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจในการดูแลจัดการฟาร์มได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างการใช้งาน Biosensors and Connected Animals: ติดตามอุณหภูมิร่างกาย: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ป่วยไข้ หรือสัตว์ที่อยู่ในภาวะเครียด ติดตามอัตราการเต้นของหัวใจ: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบหัวใจ หรือระบบทางเดินหายใจ ติดตามพฤติกรรมการกินอาหาร: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่ป่วย หรือสัตว์ที่เครียด ติดตามกิจกรรมประจำวัน: ช่วยให้เกษตรกรตรวจจับสัตว์ที่ได้รับบาดเจ็บ หรือสัตว์ที่อยู่ในภาวะเครียด การลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์อย่างพร่ำเพรื่อ หรือว่ามากเกิน และการใช้งานโดยไม่รู้จักการจำกัด จะก่อให้เกิดปัญหา ดื้อยาปฏิชีวนะอย่างรุนแรง ส่งผลต่อสุขภาพของทั้งมนุษย์และสัตว์ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ในการป้องกันและรักษาโรคในสัตว์โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ที่ให้ผลระยะยาวที่ดีกว่า และ ลดความเสี่ยงต่อการดื้อยา หรือเกิดเชื้อดื้อยาในฟาร์ม วัคซีน mRNA และ MLV: วัคซีน mRNA ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของสัตว์ให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคเฉพาะชนิด วัคซีน MLV ใช้เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียที่อ่อนแอลงเพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน โพรไบโอติกส์: โพรไบโอติกส์ คือ จุลินทรีย์มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร โพรไบโอติกส์สามารถช่วยป้องกันโรคติดเชื้อในสัตว์ และป้องกันการก่อโรคได้ โครงสร้างโลหะอินทรีย์ (MOFs): MOFs เป็นวัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถดูดซับสารพิษและแบคทีเรียที่ก่อโรค ข้อดี: ลดปัญหาการดื้อยาปฏิชีวนะ ปลอดภัยต่อสัตว์และมนุษย์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การรักษาโรคหรืออาการผิดปกติในสัตว์โดยไม่ต้องผ่าตัด  ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การผ่าตัดมักเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษาโรคหรืออาการผิดปกติ มีวิธีการรักษาอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถช่วยให้สัตว์หายป่วยโดยไม่ต้องใช้การผ่าตัด วิธีการเหล่านี้มีดังนี้: ยา: ยาสามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อ อาการปวด การอักเสบ และอาการผิดปกติอื่นๆ ยามีหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยาฉีด ยาหยอดตา และยาทา อาหารเสริม: อาหารเสริมสามารถช่วยปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของสัตว์ อาหารเสริมบางชนิดสามารถช่วยรักษาโรคหรืออาการผิดปกติบางประเภท ตัวอย่างอาหารเสริม เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กรดไขมันโอเมก้า 3 และโปรไบโอติกส์ กายภาพบำบัด: กายภาพบำบัดสามารถช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อและข้อต่อหลังจากได้รับบาดเจ็บหรือผ่าตัด กายภาพบำบัดยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ การฝังเข็ม: การฝังเข็มเป็นการแพทย์แผนจีนโบราณที่ใช้เข็มขนาดเล็กกระตุ้นจุดฝังเข็มบนร่างกาย การฝังเข็มสามารถช่วยรักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท การฝังเข็มได้รับความนิยมมากขึ้นในสัตวแพทย์ การรักษาด้วยเลเซอร์: การรักษาด้วยเลเซอร์ใช้แสงเลเซอร์เพื่อกระตุ้นการรักษาและลดอาการปวด การรักษาด้วยเลเซอร์สามารถใช้รักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท การรักษาด้วยโอโซน: การรักษาด้วยโอโซนใช้โอโซนเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การรักษาด้วยโอโซนยังสามารถช่วยลดอาการปวดและการอักเสบ การรักษาด้วยสมุนไพร: สมุนไพรบางชนิดสามารถใช้รักษาโรคและอาการผิดปกติหลายประเภท อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้สมุนไพรกับสัตว์ ข้อดีของการรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด: ไม่ต้องดมยาสลบ ฟื้นตัวเร็วขึ้น มีความเสี่ยงน้อยลง มักมีราคาถูกกว่าการผ่าตัด เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับ วิธีการ ลดความเสี่ยงจากโรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ หลักๆ จะมี 4 อย่างด้วยกัน คือ การป้องกันโรคในฟาร์มแบบเข้มงวด การใช้ ชีวภาพเซ็นเซอร์ ติดที่สัตว์ การลดการใช้ยาปฏิชีวนะในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การรักษาโรคหรืออาการผิดปกติในสัตว์โดยไม่ต้องผ่าตัด ถ้าเพื่อนๆ ผู้บริหารฟาร์ม สังเกต จะเห็นว่าเป็นการเรียงลำดับ จาก ตั้งแต่การควบคุมการเข้ามา หรือว่า ป้องกันตั้งแต่ ก่อนเข้าฟาร์มเลย เมื่อเข้าฟาร์มมาแล้ว ก็มีการตรวจสอบจาก เซ็นเซอร์ที่ติดกับสัตว์ การป้องกัน ในเรื่องของอาหาร ที่มีการเพิ่ม ส่วนของจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์กับสัตว์ เพื่อป้องกันการเกิดโรคต่างๆ และเมื่อเกิดโรค แล้ว เราจะ ดูแลสัตว์อย่างไร โดยไม่ต้องมีการผ่าตัด เทคโนโลยี ต่างๆ มีส่วนในการป้องกัน และแจ้งให้กับผู้ดูแล ทราบ เพื่อจะสามารถแก้ไข หากมีปัญหาเกิดขึ้น ได้ทันที หากเพื่อนๆ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มท่านใด สนใจ สามารถ เข้ามาอ่านรายละเอียดในแต่ละส่วนได้เลย สำหรับเรื่องเกี่ยวกับ การป้องกันโรคในฟาร์ม สามารถดูได้ที่นี่ มีความสุขกับฟาร์ม และผลผลิตเติบโตไปด้วยกันนะ ^^ สวัสดีครับ ติดตามเราได้ทาง Facebook ยูทูป

การป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคอุบัติใหม่ในสัตว์และคน โดยใช้มาตรการที่ปลอดภัยและทำได้จริง Read More »

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐสภา – ท่านรองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงภาคบริษัท ผู้บริหารซีพีเอฟ และเบทาโกร เข้าร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ การผลิต และตลาด เพื่อประเมินสถานการณ์หามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค สืบเนื่องจากข่าวหมูแพงในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้ท่านรองนายกและรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยงข้องมาให้ข้อมูล       โดยกรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ให้ข้อมูล จำนวนผลผลิต ความเสียหายจากโรคสุกร ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสุกรขุนปี 2563 กับปี 2564 ต่างกันสิ้นเชิง  โดยปี 2563 ผู้เลี้ยงสุกรให้ความร่วมมือขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่ราคาไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัมนั้น  เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนตามกลไกลตลาด โดยผู้เลี้ยงสุกรมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.67 บาท ส่วนปี 2564 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นราคาเฉลี่ยที่ผู้เลี้ยงสุกรขายได้เฉลี่ย 67-68 บาทต่อกิโลกรัมที่ต้นทุนประมาณ 78-80 บาท ตามการประเมินของคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 โดยมีราคาตกต่ำสุดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ที่มีราคาต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม ตามข้อมูลจากตัวแทนผู้เลี้ยง  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจึงจำเป็นต้องขอขยับราคาขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน เพื่อลดความสูญเสียให้เกษตรกร วันพระล่าสุดที่ 4 พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 80-82 บาท ผู้เลี้ยงต้องปรับราคาจำหน่ายขึ้น เพื่อลดภาระขาดทุน ที่ผู้เลี้ยงมีต้นทุนผลิตสุกรที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักประกอบด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาสูงถึง 10-11 บาทต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลืองสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ราคา 19.80 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสต็อกผู้ผลิตในต่างประเทศลดลง  โดยมีค่าบริหารความเสี่ยงด้านโรคระบาดในสุกรที่เพิ่มขึ้น 300-400 บาทต่อตัว รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าวคิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้ต้นทุนการผลิตทั้งปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.40 บาท  ซึ่งราคาสุกรหน้าฟาร์มที่สะท้อนต้นทุนไม่ควรต่ำกว่า 90 บาทต่อกิโลกรัม ตามการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อสาธารณะของนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา กรณีข้อกังวลของกระทรวงพาณิชย์ ด้านราคาจำหน่ายปลีกสุกรเนื้อแดง ที่จะกระทบค่าครองชีพผู้บริโภคนั้น ได้ข้อสรุป คือ ให้กรมการค้าภายใน ประสานขอความร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ประกอบด้วย Makro Lotus Big C ตรึงราคาเนื้อแดง (ที่ราคาเท่าไรให้ไปหารือ) เป็นเวลา 1 เดือน โดยตรวจสอบราคาปลีกห้างฯ วันนี้ประมาณ 120 บาทต่อกิโลกรัมทั้ง 3 ห้าง และเตรียมสินค้าเนื้อสุกรร่วมโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา ลดต้นทุนการเลี้ยง และระบาย Stock ข้าวเปลือก ให้กรมการค้าภายใน เป็นตัวกลาง เชิญสมาคมโรงสีข้าว สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์(อคส.) เพื่อเจรจาต่อรองราคาที่เหมาะสม ใช้วัตถุดิบข้าวกะเทาะเปลือก เป็นวัตถุดิบทดแทน (คาดว่าภายในวันศุกร์นี้ 12 พฤศจิกายน 2564) ให้กรมปศุสัตว์ประสานฝ่ายเลขาท่านจุรินทร์ เพื่อเชิญประชุม คณะกรรมการอำนวยการ AFS แห่งชาติ เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อติดตามประเมินผลกระทบ และแผนฟื้นฟู ปี 2565 ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา Read More »

แนะนำ ระบบ iot smart farm เพื่อการป้องกันโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค จากบทความก่อนหน้านี้ ที่ได้แนะนำเรื่องระบบการป้องกันโรค ของฟาร์มไปแล้ว ท่านที่สนใจ สามารถดูเพิ่มเติมได้ตาม ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ  และสำหรับบทความนี้ ผมจะแนะนำ เทคโนโลยีในการป้องกัน โรคระบาด ที่ผสมผสานกันของ ระบบ iot smart farm ที่นำมาใช้กับฟาร์ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ได้ ก็สามารถ เข้าถึงการป้องกันโรคเชิงรุกได้ จากทุกที่ เพราะนอกจาก การเกิดโรคระบาดในสัตว์ แล้ว ก็ยังมี โรคระบาด ของคนด้วย คือ โควิด19 ที่ทำให้หลายๆฟาร์ม ไม่เปิดรับคนนอก หรือว่าไม่มีการตรวจเยี่ยมฟาร์ม เพราะกังวลเรื่องโรคติดต่อ ของคน เพิ่มเข้ามาครับ ไม่ต้องกังวล สำหรับเรื่องนี้ เพราะมีการเตรียมรับมือ ไว้เรียบร้อย ทำให้ทุกฟาร์ม ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้าถึง การป้องกัน ได้อย่างทั่วถึง และปลอดภัย ทั้งฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 แก้ปัญหาทั้งโรคระบาด และการเข้าถึงคำแนะนำจากทีม สัตวแพทย์ ได้ทุกที่ วิธีนี้ เป็นการปิดช่องว่าง ของการบริการ ที่เจ้าของฟาร์มจะได้รับจาก ระบบ ในช่วงที่มีโรคระบาด ทั้งในคน และในสัตว์ ได้อย่างดี ระบบนี้ ทำให้ผู้ชำนาญการ ทีมสัตวแพทย์ และทีมสนับสนุนอื่นๆ สามารถไปตรวจฟาร์มได้ จากบุคลากรของฟาร์มเอง ไม่เสี่ยงเรื่องการแพร่กระจายของโรคระบาด ทั้งนี้ สัตวแพทย์ จะสามารถตรวจฟาร์ม เพื่อลดความเสี่ยงด้านโรคระบาด ตามเช็คลิสต์มาตรการป้องกัน และแนะนำได้อย่างถูกต้องเหมือนเข้าไปตรวจฟาร์มเอง ด้วย กล้องที่อยู่กับเจ้าหน้าที่ฟาร์มที่เดินสำรวจ และสามารถสือสารกันได้ตลอดเวลา นอกจากภาพที่เห็นในการตรวจฟาร์ม แล้ว ฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ ไอฟาร์ม ควบคู่กับ iot smart farm จะทำให้สัตวแพย์ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ของฟาร์ม ผ่านระบบ ได้อีกทาง ทำให้วิเคราะห์ และสามารถแนะนำวิธีการ แก้ปัญหา ได้อย่างแม่นยำขึ้นอีกด้วย วิธีการนี้ จะทำให้ เข้าถึงฟาร์มได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องมีการกักโรค เพราะคนที่เข้าไปเดิน ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ ของฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ ที่เข้าไปตรวจ พื้นที่ หลักๆ  3 พื้นที่ด้วยกันดังนี้ พื้นที่หน้าฟาร์ม ส่วนการติดต่อ ของผู้ที่มาติดต่อกับฟาร์ม ส่วนของสำนักงาน พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ พื้นทีเล้าขาย ที่ต้องมีการติดต่อบุคคลภายนอก สำหรับระบบนี้ จะแน้นการตรวจเพื่อการป้องกันโรค ควบคู่กับระบ IA ที่มีการแจ้งเตือนต่างๆ เพื่อเน้นการป้องกันโรคเป็นหลัก และนอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยี ในการจัดการฟาร์มที่ใช้งานอยู่ ของผู้ที่สนใจเข้าร่วม หรือเข้าร่วมอยู่แล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงคลังความรู้ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อการพัฒนาฟาร์มของเราได้อีกด้วย ป้องกัน แนะนำ และพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยระบบ ฟาร์มที่ ใช้งานระบบ ไอ ฟาร์ม จะได้เข้าถึงความรู้ ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับ คำแนะนำเพื่อการพัฒนาฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความได้เปรียบในทางธุรกิจ และทำให้สามารถ แข่งขันในตลาดได้อย่างดีอีกด้วย จากระบบที่ ช่วยเหลือการป้องกันโรค มาสู่ระบบ ที่ทำให้เจ้าของฟาร์ม ผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคต่างๆ เพื่อการบริหารฟาร์ม พัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยง จากทุกที่ ได้ตลอดเวลา  ระบบนี้จะทำให้ฟาร์มของเรา มีแนวทางใหม่ๆ และข้อมูลในการป้องกัน และพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ทั้งนี้ หากข้อมูลเป็นข้อมูลเฉพาะของฟาร์มนั้นๆ ก็จะมีแต่เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม นั้นๆ เข้ามารับคำปรึกษา และคำแนะนำจาก ผู้เชียวชาญ เพื่อป้องกันข้อมูลของฟาร์มไม่ออกไปสู่ภายนอกแน่นอนครับ ประโยชน์ ของ ไอ ฟาร์ม ที่มีดี มากกว่าการป้องกันโรค คือสั่งอาหารได้ อย่าเพิ่งขำครับ อ่านไม่ผิด แต่อาหารที่สั่งเป็นอาหารสัตว์ครับ นอกจากการป้องกันโรคแล้ว ยังมีส่วนเสริมที่สำคัญ ที่ช่วยให้เจ้าของฟาร์ม สะดวกสบายเรื่องการสั่งอาหาร หมดปัญหาการสั่งผิด และได้รับอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ ที่เลี้ยงในแต่ละช่วงวัยอีกด้วย  เพราะปกติ ฟาร์ม จะมีการจดบันทึก การให้อาหารและทำการสั่งเมื่อ ใกล้ครบกำหนด เพื่อให้เพียงพอ และเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ หรืออายุสัตว์ ในแต่ละช่วงวัย จากเดิมที่มีการโทร หรือการไลน์ สั่งอาหาร ระบบก็จะมีการอำนวยความสะดวก ด้วยการให้สามารถสั่งออนไลน์ได้ ระบบนี้จะช่วยให้การสั่งอาหาร มีความถูกต้องมากขึ้น และเมื่อมีการใช้งาน และพัฒนาที่มากขึ้น การสั่งอาหาร ออนไลน์ ก็จะแจ้งเตือน ว่า  ณ เวลานี้ ช่วงอายุนี้ อาหารใดที่เหมาะสม และทำให้การเลี้ยงมีประสิทธิภาพมากที่สุดกับเรา เพื่อทำการสั่งต่อไป เรียกว่า การใช้งานระบบ นอกจากง่าย แล้วยังช่วยให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ต้องการปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย แนะนำที่นี่ cpffarmsolutions.com ครบทุกเรื่องการจัดการฟาร์ม ขนาดกลาง- ฟาร์ม ขนาดใหญ่ สำหรับเจ้าของฟาร์มที่ต้องการ คำแนะนำ ต้องการคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งบริการครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้การป้องกันโรค ประสบความสำเร็จ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ไม่เพียงพอ เรามี คนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ และถ้าคุณ ต้องการสร้างธุรกิจฟาร์มมีที่ดิน และเงินทุนในการดำเนินการ แต่ไม่มีผู้แนะนำให้คำปรึกษา หรือต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ต้องการพัฒนามาตรฐานฟาร์ม เพื่อส่งออก หรือส่งขายต่อในห้าง โมเดิร์นเทรด ต้องการพันธุ์สัตว์ หรือเข้าถึงบุคลากรที่ต้องการ CPF Farm Solutions เป็นเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อ ช่วยให้ธุรกิจของคุณ สำเร็จและเป็นจริงได้ ในตอนหน้าเราจะมาดูกันครับ ว่า CPF Farm Solutions สามารถให้คำปรึกษาเรื่องฟาร์ม แบบใดกับเราได้ แล้วพบกันครับ

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค Read More »

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้ ภาครัฐร่วมเอกชนป้องกันโรคในหมูได้อยู่หมัดวอนหยุดปล่อยข่าวหวังทุบราคาแล้วฟันกำไรงามนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ล่าสุดได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1.​เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว2.​ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด3.​ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน4.​กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด5.​สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF6.​สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ7.​บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรงซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ทำให้ราคาสุกรเดิมที่เคยตกต่ำ ราคาหน้าฟาร์ม 60 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ขยับกลับขึ้นมาที่ราคา 75-76 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป  

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา Read More »

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF)

มาตราการป้องกันและควบคุมโรค อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือและมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกัน ( ASF ) สำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลแนวทางการป้องกันโรค ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลที่นี่ * ที่มาทีมสัตวแพทย์บริการวิชาการ สายธุรกิจสุกรซีพีเอฟ

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) Read More »

การ เลี้ยงหมู

5 เรื่องต้องรู้ก่อน เลี้ยงหมู คู่มือการเลี้ยง อาหาร โรงเรือน และการป้องกันโรค

เลี้ยงหมู มีวิธีการอย่างไร โพสนี้ครบ และ แจกคู่มือการเลี้ยงด้วยครับ สวัสดีครับ ปัจจุบัน การ เลี้ยงหมู หรือ สุกร ในประเทศไทยมีการพัฒนาด้านพันธุ์สัตว์และการจัดการสุขาภิบาล ทัดเทียมต่างประเทศเลยครับ สำหรับ การเลี้ยง ในประเทศแม้จะมีฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อย ที่ทำการเลี้ยงหมู ขนาดเล็กไม่มาก รายละ 1 ถึง 20 ตัวตามหมู่บ้าน อยู่เป็นจำนวนมาก เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา การเลี้ยงของตนเอง ให้มีประสิทธิภาพ และจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยัง สามารถทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือพัฒนาฟาร์มที่เลี้ยงอยู่ให้เติมโตได้ด้วยครับ ปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้การเลี้ยงสุกร ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย ส่วนต่างๆดังนี้ พันธุ์หมูที่นำมาเลี้ยงเป็นหมูพันธุ์ดี อาหารดีเหมาะสมกับหมูแต่ละช่วงวัย การจัดการโรงเรียนที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีการเลี้ยงดูที่ดีหรือมีคำแนะนำและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี มีการป้องกันโรคให้กับหมูและแนะนำในการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น *** ซึ่งในบทความนี้ จะเป็นเนื้อหา ย่อยๆ ออกมาจาก ส่วนของคู่มือการเลี้ยง ครับ สามารถ โหลด ได้จากหน้า นี้เลยครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้แล้ว ถ้าเพื่อนๆเกษตรกร มีความสนใจในการเลี้ยงสัตว์ ชนิดอื่นๆ ก็สามารถ เข้าดูได้ที่ ลิงค์ ข้างต้นเลยครับ ในการเลี้ยงหมู ลำดับแรกไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อย หรือว่าเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ควรมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์หมูที่เราจะนำมาเลี้ยงก่อน หากไม่รู้เราสามารถสอบถามได้จากผู้ขายพันธ์สัตว์ที่ได้มาตรฐานครับ จะได้รับคำแนะนำที่ ดีและมีประโยชน์มากๆ กับเรา ซึ่งสามารถ นำไปต่อยอด และพัฒนาฟาร์มของเราได้อย่างยั่งยืนครับ โดยสามารถ สั่งจองพันธ์สัตว์ และสอบถามได้ที่นี่ครับ >>> สั่งจองพันธุ์สัตว์ และสอบถาม <<< พันธุ์หมูในประเทศไทย เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีด้วยระบบการผลิตสุกรที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาพันธุ์สุกรของ CP เป็นพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและมีผลผลิตสูง ตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้เลี้ยงและผู้บริโภค มีทั้งหมูพ่อพันธุ์และหมูแม่พันธุ์ อาหารหมูที่เหมาะสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย ทั้งนี้สำหรับเกษตรกรบางท่านอาจจะยังใช้อาหารหมูที่มีการผสมเองบางครั้งหมูที่เราเลี้ยงอาจจะได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงและมีปริมาณการติดโรคมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีและความทันสมัยในสมัยนี้แล้วอาหารสำเร็จสำหรับหมูก็มีการแบ่งออกเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย ซึ่ง ง่าย และเป็นผลดีกับเกษตรกรด้วครับ ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหาร เลี้ยงหมูสำหรับเกษตรกร แบบที่ 1 เป็นการผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีวัตถุดิบตัวหลักๆได้แก่กากถั่วเหลืองปลาป่นปลายข้าวข้าวโพดรำละเอียดและวิตามินแร่ธาตุในรูปของวิตามินรวมแล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรในแต่ละขนาดโดยเครื่องผสมอาหารหรือผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวกโดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อยๆก่อนแล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่วิธีนี้จะประหยัดสามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มากซึ่งในเอกสารประกอบที่ผมจะให้ดาวน์โหลดด้านล่างก็มีสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรนมจนถึงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วยครับ แบบที่ 2 อาหารชนิดเม็ดสำเร็จรูป สำหรับอาหารหมูเล็กสุกรอ่อนสุกรเล็กสุกรรุ่นหมูขุนหมูพันธุ์ข้อดีคือสะดวกในการใช้และวิธีการจัดหาเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละขนาดมีจัดจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไปข้อเสียคืออาจจะมีราคาสูงกว่าประเภทแรกและหากผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยอะไรก็อาจจะทำให้เปลืองค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการให้อาหารได้ครับ ทั้งนี้ราคาในปัจจุบันสำหรับอาหารสำเร็จรูปก็ลดลงมากแล้วและเหมาะสมกับการใช้งานเลี้ยงหมูโดยทั่วไปด้วยครับเพื่อนๆสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่บทความนี้ก็ได้ครับ อาหารหมูเล็ก แบบที่ 3 การใช้หัวอาหารสำเร็จ ส่วนใหญ่ จะมีโปรตีนประมาณ 32 ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ และผสมวิตามินและแร่ธาตุอยู่ด้วย แล้วใช้ผสมปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วนน้ำหนักที่ระบุ จำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาด ให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วยว่าเหมาะกับช่วงวัยหรือเปล่า โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมู โรงเรือนที่ดี จะสะดวกในการจัดการฟาร์มหมู จะอยู่ภายในคอกอย่างสบายใจ และขั้นตอนการสร้างโรงเรือนของสุกร มีหลายแบบด้วยกันแต่ในส่วนของการก่อสร้างโรงเรือน มีข้อกำหนดที่แนะนำดังนี้คือ สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนหมูควรเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมมีการระบายน้ำได้ดีห่างไกลชุมชนตลาดและผู้เลี้ยงหมูรายอื่น การสร้างโรงเรือนตามแนวตะวันออกตะวันตกและระยะห่างของโรงเรียนแต่ละโรงเรือนประมาณ 20 ถึง 25 เมตรเพื่อแยกโรงเรือนออกจากการเป็นสัดเป็นส่วน โรงเรือนจะต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีสามารถป้องกันแดดและฝนได้อาจเป็นโรงเรียนเปิดก็ได้แต่โรงเรือนแบบปิดจะมีข้อดีคือสามารถปรับอุณหภูมิและการระบายอากาศให้เหมาะสมกับหมูในแต่ละช่วงอายุได้ง่ายนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันสัตว์ชนิดอื่นเช่นยุงและแมลงเข้าไปภายในโรงเรือนได้ดีกว่าโรงเรือนแบบเปิด ทั้งนี้สามารถ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นโรงเรือนแบบปิด ที่ลิงค์นี้ครับ >>> โค้ชวิทธิ์ โรงเรือนอีแวป <<< การสุขาภิบาลการป้องกันโรคและการป้องกันโรคติดต่อในหมู การสุขาภิบาลหมายถึงการจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบายปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆการทำความสะอาดคอกให้สะอาดการให้อาหารที่ดีและการจัดการที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตหมูหรือการเลี้ยงหมูของเรา การทำความสะอาดคอกหมูควรทำความสะอาดคอกหมูทุกวันโดยการกวาดแห้งด้วยไม้กวาดเอามูลสุกรออกและล้างคอกด้วยน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อนละครั้งนอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บข้อมูลสุกรเพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากสุกรไปรบกวนเพื่อนบ้าน ในกรณีที่มีการจัดการที่ดีอาจนำอุปกรณ์ตรงนี้ไปใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อนำมาใช้ในฟาร์มต่อไปได้  คู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ แจกฟรี cpffeedsolution.com ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมในปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการจัดการ ด้านพันธุ์สัตว์ ด้านอาหาร และการจัดการฟาร์มที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เกษตรกรผู้สนใจเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้ เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น คู่มือการเลี้ยงสัตว์ จากที่อื่น  คู่มือการเลี้ยงสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ >> สามารถดาวโหลดได้ที่นี่ครับ <<<

5 เรื่องต้องรู้ก่อน เลี้ยงหมู คู่มือการเลี้ยง อาหาร โรงเรือน และการป้องกันโรค Read More »

การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์

การพลิกโฉมการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และปลอดภัย

การพลิกโฉม การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อจัดการฟาร์ม ให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 อย่างนี้ Precision Farming : คือการบริหารจัดการงาน ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้วยและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) IoT หุ่นยนต์ เพื่อดูแลสัตว์อย่างแม่นยำ หลักการสำคัญของ Precision Farming  คือ : การเก็บข้อมูลของสัตว์: เกษตรกรใช้เซ็นเซอร์ กล้องวงจรปิด และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ ความชื้นในดิน สุขภาพสัตว์ อัตราการเติบโต ทั้งนี้การเก็บข้อมูล ก็จะมีทั้งในส่วนของ สัตว์ และโรงเรือน เพื่อการปรับสภาวะ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยง เช่น การปรับปรุงโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ เพื่อให้มีสภาพอากาศ ที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ความชื้น การให้อาหาร การให้น้ำ ให้พอเพียง การทำงานของพัดลมระบายอากาศ การควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือน สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราสามารถใช้ Iot หรือระบบที่ช่วยการเลี้ยงได้แบบอัตโนมัติ แต่ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ส่วนของ ตัววัดต่างๆ เพื่อส่งข้อมูลเข้าไป ทำให้ ระบบ AI ประมวลผล เพื่อ ปิด เปิด หรือปรับ สภาวะต่างๆ ให้เหมาะสมต่อไป เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม ทำหน้าที่ ที่สำคัญอื่นๆ การวิเคราะห์ข้อมูล: เกษตรกรใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ทั้งนี้ เมื่อเรามีข้อมูลที่ จะนำมาวิเคราะห์ แล้ว ระบบ จะ ทำการคำนวณ และแนะนำ หรือ แสดง ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ต่อไป การตัดสินใจอย่างแม่นยำ: ข้อมูลที่วิเคราะห์ ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เช่น การให้น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ ในปริมาณที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของสัตว์แต่ละตัว ทั้งนี้การดูแลฟาร์มเมื่อก่อน ถ้าไม่มี ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจ อาจจะต้องใช้เวลานานในการ ตัดสินใจปรับเปลี่ยน หรืออาจจะสายเกินไปในการแก้ไข ดังนั้นการใช้งานระบบ จะเป็นตัวช่วยอย่างดีใน การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตรวจสอบ จัดการ และควบคุมการดำเนินงานฟาร์มของคุณโดยไม่ต้องอยู่ในฟาร์มจริง ช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนจากมนุษย์ เพื่อนๆ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มหลายๆ ท่าน หลังจากที่ผ่าน ช่วงของการมีโรคระบาดมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ระบบที่ ทำให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก น้อย ที่สุด หรือไม่มีเลย เป็นทางเลือกที่ดี และปลอดภัย มาก หากให้มีการปนเปื้อนจากคนน้อยที่สุด นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของการควบคุมดูแล หรือว่าการมอนิเตอร์ การทำงาน และการแจ้งเตื่อนต่างๆ ถ้าผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้รับการแจ้งเตือนทันท่วงที่ ก็จะ เข้ามา แก้ไข ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้ ลดความศูนย์เสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้แล้ว ถ้าใช้งาน ระบบ Iot หรือมีระบบ ในการจัดการที่สามารถ ดูแล หรือตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ต จะช่วยเป็นอย่างมากให้ สามารถ ควบคุม หรือ ทำงานระยะไกลได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และป้องกันปัญหาได้อย่างดี การรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์จากสัตว์ วิเคราะห์ คาดการณ์ และแนะนำการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ในปัจจุบัน ข้อมูล และการตัดสินใจ เป็นส่วนสำคัญมากๆ ในการวางแนวทาง หรือกำหนดแนวทางในการทำงาน หรือ แนวทางของฟาร์ม ดังนั้น หากเรามีข้อมูล ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย การกำหนดแนวทาง ในการบริหารฟาร์ม จะทำได้ง่าย และทำได้จากทุกที่ การเชื่อมต่อความเร็วสูง ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูล ระบบเทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อ และส่งข้อมูลดังนั้น ระบบ การเชื่อมต่อเป็นระบบที่สำคัญ มากๆ หากต้องการให้ ทุกระบบ เชื่อมต่อเข้าหากัน จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า ถ้าเรา ต้องการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า เราจำเป็นที่จะต้อง มีระบบพื้นฐาน ตามข้างต้นเพื่อการทำงาน และการบริหารจัดการฟาร์มที่ครอบคลุม และสามารถ จัดการฟาร์มของเรา ได้จาก ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต ข้อดี: เพิ่มผลผลิต: เกษตรกรสามารถดูแลสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพดี เติบโตเร็ว ให้ผลผลิตมากขึ้น ลดต้นทุน: เกษตรกรสามารถประหยัดน้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ และพลังงาน ลดความสูญเสีย: การป้องกันโรคที่ดี ช่วยลดความสูญเสียจากสัตว์ป่วย ตาย เพิ่มคุณภาพสินค้า: สัตว์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ลดแรงงานคน: เทคโนโลยีช่วยลดงานที่ต้องใช้แรงงานคน เกษตรกรมีเวลาดูแลงานอื่น ๆ มากขึ้น เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: ข้อมูลที่รวบรวมจาก Precision Farming ช่วยให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ตลาด วางแผนการผลิต หาช่องทางจำหน่ายสินค้า เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ในการเริ่มต้น เพื่อสร้างระบบอาจจะพบปัญหาดังนี้ เรื่องของต้นทุน : เทคโนโลยีที่ใช้ใน การจัดการฟาร์ม อาจจะมี ราคาค่อนข้างสูง หรือสามารถเข้าถึงได้ฟรี เกษตรกร เจ้าของ และผู้บริหารฟาร์ม อาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษา เพื่อเลือก ประเภทให้เหมาะสมกับฟาร์ม และขนาดฟาร์ม ความซับซ้อน: การใช้งานเทคโนโลยีบางอย่างอาจมีความซับซ้อน เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้งาน แนะนำว่า ถ้าต้องการใช้งาน ให้เลือกผู้ที่สามารถแนะนำ และแก้ปัญหาได้ หรือ ให้ทาง ผู้บริหารฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาระบบ เพราะถ้ามีปัญหา จะได้สามารถแก้ปัญหา เบื้องต้นได้ สรุป:เทคโนโลยี ใหม่ๆ ระบบ IoT และระบบ AI มีประโยชน์มากมายสำหรับเกษตรกร ผู้บริหาร และเจ้าของฟาร์ม แต่เกษตรกรจำเป็นต้อง พิจารณาข้อดี และข้อเสียอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจนำไปใช้กับฟาร์ม อาจจะลองใช้งานระบบการบันทึกข้อมูลฟรี ที่มีให้ใช้งานก่อน และเมื่อเห็นว่ามีประโยชน์ จึงทำการปรับเปลี่ยน หรือว่าเพิ่มอุปกรณ์ ต่างๆที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเข้าไป เพื่อพัฒนาระบบ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือหากจำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ควรเลือกระบบที่ น่าเชื่อถือ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่ายการทำระบบฟาร์ม  เรื่องเกี่ยวกับการจัดการฟาร์ม : สามารถดูได้ที่ หมวดหมู่ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เพิ่มเติมได้เลยครับ ติดตามสาระดีๆ เรื่องฟาร์ม เพิ่มเติมได้ที่ Facebook | Youtube

การพลิกโฉมการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า และปลอดภัย Read More »

อบรมสัมมนา หัวข้อ Updated on swine breeds & farm management ,swine nutrition,vaccines and farm biosecurity

วันที่ 15 มีนาคม 2567 นำโดยหน่วยงานพัฒนาศักยภาพลูกค้า จัดอบรมสัมมนา หัวข้อ Updated on swine breeds & farm management ,swine nutrition,vaccines and farm biosecurity    นำโดยคุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ธุรกิจอาหารสัตว์บก กล่าวเปิดงานสัมมนา และนำทัพพนักงานขาย CPF ติดอาวุธเพิ่มความรู้การเลี้ยงสุกรเพื่อยกระดับทักษะและ การเลี้ยงสุกรให้มีประสิทธิภาพสูงและ ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกการเลี้ยงสุกรได้ทันท่วงที เพื่อส่งต่อความรู้และเทคโนโลยีการเลี้ยงสุกรพร้อมทั้งทีเด็ดใหม่ๆ ให้กับพันธมิตรอาหารสัตว์ซีพีเอฟ      โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร มาอัพเดตเรื่องสายพันธุ์สุกร โดย คุณ ธนินทร์ ชุ่มคำ คุณ ภุชงฐ์ อัครมธุรากุล และ ดร ถิรนันท์ ศรีกัญชัย พร้อมทั้งสถานการณ์โรค โปรแกรมวัคซีน การป้องกันโรค โดย น.สพ.อภิสิทธิ์ กิจถาวรรัตน์ ร่วมถึง Feeding Program สำหรับฟาร์มสุกร โดย ดร.วันพืช ปานเสน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงสุกรมายาวนานทั้งในและต่างประเทศ     อีกทั้งระหว่างสัปดาห์มีการเข้าร่วมงาน ‘VICTAM Asia 2024’ ณ ไบเทค บางนา เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อต่อยอดให้กับลูกค้า cpf feed ต่อไป

อบรมสัมมนา หัวข้อ Updated on swine breeds & farm management ,swine nutrition,vaccines and farm biosecurity Read More »

CPF เดินหน้าใช้ “โปรไบโอติก” เสริมสุขภาพไก่แข็งแรง ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สอดคล้องหลักสวัสดิภาพสัตว์

CPF เลี้ยงไก่ด้วยจุลินทรีย์ “โปรไบโอติก” นวัตกรรมสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ช่วยสร้างสมดุลลำไส้ ส่งผลให้ไก่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย และไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ลดปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) มุ่งส่งต่ออาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ CPF เปิดเผยว่า กระบวนการเลี้ยงสัตว์ของ CPF ดำเนินการตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา โดยให้ความสำคัญกับหลัก 5 หัวใจการเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีและแข็งแรง พัฒนาอาหารสัตว์ที่เหมาะสมกับช่วงวัยของสัตว์แต่ละชนิด เลี้ยงในโรงเรือนที่ดี มีระบบการจัดการฟาร์มมาตรฐาน ภายใต้ระบบการป้องกันโรคที่เข้มงวด โดยนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ อาทิ ระบบการให้อาหารอัตโนมัติ การควบคุมอุณหภูมิและแสงสว่างในโรงเรือนที่เหมาะสม เพื่อให้สัตว์อยู่สบาย ลดโอกาสป่วย ทำให้ผู้บริโภคได้ทานอาหารคุณภาพปลอดภัยอย่างแท้จริง  นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคิดค้นนวัตกรรมการเลี้ยงไก่ด้วยจุลินทรีย์ดี “โปรไบโอติก” ตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภค ภายใต้แนวคิดการผลิตอาหารปลอดภัย โดยให้ความสำคัญและมุ่งมั่นลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ จึงนำนวัตกรรมโปรไบโอติกมาใช้ในอาหารสัตว์ เพื่อทำให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันจากภายใน ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ไม่ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ รวมทั้งไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยงดู ทำให้เนื้อไก่ CPF ปลอดสาร ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค“บริษัทฯ คัดเลือกจุลินทรีย์โปรไบโอติกสายพันธุ์ที่ดีที่สุดและเหมาะสมกับสายพันธุ์สัตว์ โดยคัดโปรไบโอติกจาก 125,000 สายพันธุ์ จนได้โปรไบโอติกที่แข็งแรงที่สุดเพียง 9 สายพันธุ์ มาผสมในอาหารสัตว์ หลักการทำงานของโปรไบโอติกจะเข้าไปช่วยผลิตเอ็นไซม์ย่อยอาหารในลำไส้ของสัตว์ และปรับเปลี่ยนโครงสร้างจุลินทรีย์ให้มีจุลินทรีย์ที่ดีในทางเดินอาหาร เกิดสมดุลในร่างกาย ทำให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่ต้องใช้ยา ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงการลดปัญหาเชื้อดื้อยาลงด้วย” ดร.ไพรัตน์ กล่าวCPF พัฒนาสินค้าสดกลุ่ม หมู ไก่ และไข่ ภายใต้แบรนด์ “CP Selection” เป็นอีกหนึ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่บริษัทฯ นำนวัตกรรมโปรไบโอติกมาใช้ในอาหารสัตว์ เพื่อยกระดับความปลอดภัยให้สินค้า ด้วยหลักการ Natural Prevention เป็นการเสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์แข็งแรงตามธรรมชาติ โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน NSF และ Probiotics Fed ว่าไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ และไม่ใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตตลอดการเลี้ยงดู ตอกย้ำความเชื่อมั่นในความสด สะอาด ปลอดภัย ได้มาตรฐานระดับโลก./ CR : CPF

CPF เดินหน้าใช้ “โปรไบโอติก” เสริมสุขภาพไก่แข็งแรง ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ สอดคล้องหลักสวัสดิภาพสัตว์ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)