Logo-CPF-small-65png

Search Results for: อาหารสัตว์

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่

   ซีพีเอฟใช้ Chatbot พัฒนาโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เร่งสปีดการสื่อสารกับชุมชนทั่วประเทศ และลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ทั้งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็กวัยเรียนควรกินไข่ทุกวัน แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า กลุ่มวัยเรียนบริโภคไข่ทุกวันเพียงร้อยละ 23.7 เท่านั้น ในฐานะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จึงใช้จุดแข็งมาสร้างประโยชน์ให้สังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ด้วยการทำ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ผ่านมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ทำให้หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญของโครงการ และเข้าร่วมสนับสนุน อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น- กรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok) หรือ JCC โดยโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนเป็นโครงการที่ซีพีเอฟดำเนินการมากว่า 30 ปี และได้รับการสันบสนุนจาก JCC เป็นปีที่ 21 “สมคิด วรรณลุกขี” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้เข้าสนับสนุนด้านการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนด้วยการมอบพันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ และสร้างเล้าไก่ ที่สำคัญมีก่ารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คุณครูและนักเรียน ทั้งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง วิธีการจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรค เพื่อให้ฏรงเรียนสามารถสานต่อด้วยตนเองได้ “แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยนช์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน” ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เราจึงนำเทคโนโลยีมาต่อยอดโครงการนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมาช่วยรักษาระยะห่างทางสัมคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย โดยการทำระบบ Chatbot เพื่อการรายงานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) เช่น จำนวนไก่ อาหารสัตว์ ผลผลิตไข่ไก่ ไก่ปลด รายงานการเลี้ยง ต้นทุนและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่ เป็นต้น ที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ไปทำโครงการไว้ในโรงเรียนทั้งหมด 855 โรงเรียน เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพมากกว่า 150,000 คน โดยมีแผนขยายประมาณ 20-25 โรงเรียนในทุก ๆ ปี ส่วนของ JCC ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนไปแล้ว 132 โรงเรียน ล่าสุดพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่ Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค ข้อมูลในเชิงวิชาการพบว่าโรคระบาด ASF ที่พบได้ทุกประเทศทั่วโลก มักเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือผู้เลี้ยงหมูที่ไม่มีระบบการป้องกันโรคทีดีก่อนเสมอ  ดังได้กล่าวแล้วในบทความที่ 1 ดังนั้นหากมีคำถามว่าในฐานะผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมูของประเทศ พวกเราจะช่วยผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ปลอดภัยได้อย่างไร เพราะเมื่อมีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยติดโรค ความเสี่ยงก็จะเกิดกับผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และในเมื่อเราท่านทราบดีผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเหล่านั้นล้วนขาดความพร้อมทั้งด้าน การเข้าถึงข้อมูล งบประมาณ และองค์ประกอบพื้นฐานด้านการป้องกันโรค จากคำถามที่ท้าทายแบบนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีทางออก เพียงแต่ทางออกนั้นต้องอาศัยผู้เลี้ยงหมูมีความพร้อมมากกว่า หรือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจหมู เขาไปให้ความช่วยเหลือตามแนวทางดังนี้ เริ่มต้นจากต้องผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจฟาร์มหมูต้องร่วมกันไปให้องค์ความรู้กับผู้เลี้ยงหมูรายย่อยให้ทำในสิ่งที่ตัวตัวผู้เลี้ยงหมูรายย่อยเองทำได้เป็นเบื้องต้นด้านการป้องกันโรค ในเรื่องต่อไปนี้ ไม่ใช้เศษอาหารจากครัวเรือนเลี้ยงหมู เพราะเศษอาหารเหล่านี้อาจมีเนื้อหมูที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคหรือหากจำเป็นต้องใช้ต้องต้มให้เดือดอย่างน้อย 30 นาที เมื่อผู้เลี้ยงหมูรายย่อยออกไปทำธุระภายนอกฟาร์ม ก่อนเข้ามาเลี้ยงหมูต้องอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้า ก่อนเสมอ ไม่ให้คนภายนอกเข้าเล้าหมูตนเองโดยเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งพ่อค้าซื้อหมู โดยอาจเจรจาตกลงซื้อขายด้วยแอบปิเคชั่นบนมือถือ ไม่ให้รถรับซื้อหมูและคนซื้อหมูเข้ามาถึงในเล้าโดยอาจใช้วิธีการต้อนหมูให้ห่างจากเล้าเพื่อไปขึ้นรถจับหมูโดยเจ้าของเล้าต้องไม่ไปสัมผัสกับรถที่มาซื้อหมู ไม่ซื้อหมูจากพื้นที่มีความเสี่ยงจากโรคระบาดเข้ามาเลี้ยง อีกทั้งไม่ซื้อเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูจากภายนอกมาบริโภคในฟาร์ม งดการขายมูลหมูจากรถรับซื้อที่ไปรับซื้อมูลจากหลายๆ ฟาร์มในช่วงเวลาการระบาดของโรค ระมัดระวังการไปซื้อหัวอาหาร เช่น รำ และปลายข้าว จากโรงสีที่ทำธุรกิจเลี้ยงหมูในกรณีที่ฟาร์มและโรงสีอยู่ในพื้นที่เดียวกัน เพราะหัวอาหารเหล่านั้นอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ หรืออาจติดเชื้อต่อเนื่องจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยอื่นที่เข้าไปรับซื้อหัวอาหารจากแหล่งเดียวกัน แจ้งปศุสัตว์ทันทีหากมีหมูตายเฉียบพลันหรือป่วยด้วยอาการไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง นอนสุมและท้องเสียเป็นเลือด มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำบริเวณใบหู ท้อง และขาหลัง และห้ามขายหมูป่วยและตายออกออกจากฟาร์มโดยเด็ดขาดหากยังไม่ผ่านการตรวจสอบยืนยันโรค ส่วนผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมู ควรให้ความช่วยเหลือผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในการป้องกันโรคและควบคุมเพื่อลดการแพร่กระจายโรคในพื้นที่ต่างๆ  ได้ดังนี้ ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูทุกรายที่มีหมูแสดงอาการที่ต้องสังสัยว่าติดโรค เช่นมีอาการไข้สูง ไอ แท้ง ขาหลังไม่มีแรง นอนสุมและท้องเสียเป็นเลือด มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำบริเวณใบหู ท้อง และขาหลัง หรือมีหมูตายฉัยบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ และตรวจสอบยืนยันพบว่าหมูติดโรค ต้องไม่ขายหมูออกจากฟาร์มเพื่อไปชำแหละโดยเด็ดขาด เพราะหมูที่ใกล้ชิดกับหมูป่วยอาจติดโรคไปแล้ว การขายหมูออกไปก็เท่ากับการแพร่เชื้อโรคไปตามที่ต่างๆ ผ่านทางเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู ท้ายสุดฟาร์มหมูอื่นๆ ก็ตกอยู่ในความเสี่ยงจากการติดโรค โดยเฉพาะผู้เลี้ยงหมูรายย่อย หากเทียบโรคโควิด-19 การขายหมูที่ต้องสงสัยว่าติดโรคออกไป ก็คล้ายกับการปล่อยคนป่วยด้วยโควิด-19 ที่อาจแสดงอาการไม่รุนแรงแต่แพร่เชื้อได้ออกไปปะปนกับคนในสังคม ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงที่สูงมาก ปศุสัตว์จังหวัดในแต่ละเขตพื้นที่ ควรติดตามให้ให้ผู้เลี้ยงรายย่อยจนทะเบียนการเลี้ยงสัตว์ในระบบ E-Smart Plus ให้ครบถ้วน เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงและการให้ข้อมูลเพื่อการป้องกันและควบคุมโรค อีกทั้งเป็นประโยชน์ในการติดตามการแพร่ระบาดของโรค นอกจากกนี้ต้องจดทะเบียนผู้ขนส่งสุกรทุกรายร่วมด้วย เพราะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการแพร่กระจายโรค และควรให้ข้อมูลการป้องกันและควบคุมโรคกับบุคลากรผู้ขนส่งหมูเหล่านี้ เช่นกัน ปศุสัตว์ในแต่ละเขตพื้นที่จะมีโปรแกรมสุ่มตรวจโรค ในฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูง รวมทั้ง โรงชำแหละหมู จุดจำหน่ายเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์อย่างสม่ำเสมอและควรแจ้งผลการตรวจเพื่อการเฝ้าระวังโรค โดยผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนก็ควรให้ความร่วมมือ เพื่อให้ฟาร์มทั่วไปตระหนักว่าหากมีเชื้อโรคเข้ามาในพื้นที่แล้วต้องระวังให้มากขึ้น หากผู้เลี้ยงรายใดทราบว่าถ้าตนไปสัมผัสกับแหล่งที่ให้ผลบวก ก็ต้องเฝ้าระวังก่อนกลับเข้าฟาร์ม ผู้ขายอาหารให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือโรงงานอาหารสัตว์ควรหามาตรการส่งอาหารให้เกษตรกรในพื้นที่นอกเขตฟาร์ม เพราะการที่ผู้ขนส่งอาหารไปส่งอาหารในหลายๆ ฟาร์ม อาจพลาดขับรถเข้าไปในฟาร์มที่เป็นโรคโดยไม่ทราบ ดังนั้นหากปล่อยให้เขาเหล่านี้ ขับรถเข้ามาในพื้นที่ฟาร์มโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม รถคันนั้นอาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคมาแพร่สู่ฟาร์มได้ ดังนั้นการลงอาหารให้นอกพื้นที่ฟาร์ม ก็จะเป็นการลดการสัมผัสเชื้อโรคอีกช่องทางหนึ่ง ผู้รับซื้อหมูจากผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องนำรถขนส่งไปล้างฆ่าเชื้อตามจุดที่ปศุสัตว์หรือสมาคมผู้เลี้ยงหมูกำหนดไว้ให้ และรับบัตรยืนยันการล้างฆ่าเชื้อก่อนนำรถไปรับซื้อหมูที่ฟาร์มต่อไป เพื่อให้มั่นใจว่ารถขนส่งคันนี้จะไม่เป็นตัวแพร่เชื้อโรคให้ผู้เลี้ยงรายย่อย และผู้เลี้ยงหมูก็ไม่ควรไปสัมผัสรถคันนี้ อาจทำทางเดินหมูเพื่อต้อนหมูให้ห่างออกมาจากเล้า แล้วให้คนมารับซื้อจับหมูไปแบบเจ้าของเล้าไม่สัมผัสกับคนมารับซื้อหมูและรถขนส่งหมู และทุกครั้งที่ผู้เลี้ยงหมูคิดว่าตัวเองมีความเสี่ยง ให้อาบน้ำ และเปลี่ยนเสื้อผ้าและรองเท้าก่อนเข้าเล้าไปเลี้ยงหมูในเล้าเสมอ ซึ่งปกติดขั้นตอนนี้จะปฏิบัติกันอย่างจริงจังในฟาร์มขนาดใหญ่ แม้กระทั้งการสร้างเล้าขายกลาง เพื่อป้องกันรถขนส่งจากภายนอกที่มีความเสี่ยงเข้าไปถึงฟาร์ม และที่สำคัญคนที่ทำงานในฟาร์มก็ไม่มีโอกาสมาสัมผัสรถที่มีความเสี่ยงจากภายนอก โดยจะนำรถที่สะอาดผ่านการพ่นยาฆ่าเชื้อขนส่งหมูมาที่เล้าขายกลาง และส่งหมูในจุดที่แยกกับที่รถภายนอกที่มารับซื้อหมู ผู้ขายพันธุ์สัตว์ให้กับผู้เลี้ยงรายย่อยต้องมั่นใจว่าฟาร์มตนเองปลอดจากโรค โดยการสุ่มตรวจสุขภาพหมูในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ ช่วงใดที่พบว่าฟาร์มตนเองมีหมูตายผิดปกติ ก็ควรหยุดการขายหมูพันธุ์ชั่วคราวและตรวจสอบให้มั่นใจว่าปลอดจากโรค เพระต้องระลึกเสมอว่าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจะไม่มีเล้ารับสุกรทดแทนที่ฟาร์มใหญ่ๆ มักจะมีกันที่เรียกกว่าเล้ากักโรค เพื่อใช้ตรวจสอบก่อนว่าหมูที่รับมาปลอดโรคก่อนนำเข้าไปรวมฝูง ส่วนผู้เลี้ยงหมูรายย่อยมักไม่มีเล้ากักโรค ดังนั้การทดแทนหมูทุกครั้งก็จะมีความเสี่ยงที่อาจรับโรคใหม่ ๆ เข้าฝูง ดังนั้นผู้ขายหมูพันธุ์ให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยจึงต้องให้ความช่วยเหลือในส่วนนี้ ผู้ให้บริการรถขนส่งหมูไปยังต่างพื้นที่ หรือขนส่งหมูเพื่อการส่งออก หลังการขนส่งควรนำรถไปล้างฆ่าเชื้อตามจุดบริการของปศุสัตว์ในแต่ละพื้นที่ หรือที่ทางสมาคมผู้เลี้ยงหมูหรือฟาร์มหมูจัดไว้ให้ โดยควรมีใบรับรองการล้างฆ่าเชื้อรถขนส่งก่อนไปรับหมูเที่ยวต่อไป ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจว่ารถขนส่งคันนี้จะไม่เป็นตัวพาเชื้อโรคไปตามฟาร์มต่างๆ ฟาร์มหรือผู้ประกอบการที่ต้องส่งหมูทุกชนิดออกไปในทุกเขตพื้นที่ควรทำตามมาตรการการตรวจสอบของกรมปศุสัตว์อย่างเคร่งครัด และในกรณีที่ฟาร์มต้นทางมีหมูตายผิดสังเกตในช่วง 15 วันก่อนส่งก็ควรระงับการส่งออกหมูชั่วคราวเพื่อการตรวจสอบว่าฟาร์มปลอดจากโรค ควบคู่กับฟาร์มปลายทางก็ควรต้องมีเล้ากักโรคและตรวจสอบอีกครั้ง ผู้ประกอบการโรงชำแหละ ต้องจัดจุดล้างและพ้นยาฆ่าเชื้อไว้บริการสำหรับรถขนส่งหมูทุกคันที่ขนส่งหมูเข้ามาและออกจากโรงชำแหละ เพราะจุดนี้จะมีหมูจากหลายแหล่งมารวมกัน ถ้ามีหมูแหล่งใดป่วย เชื้อโรคอาจปนเปื้อนไปกับรถขนส่งที่จะไปรับหมูเที่ยวต่อไป และแพร่เชื้อสู่ฟาร์มหมูได้ ดังนั้นหลังการลงหมูทุกครั้ง รถที่จะออกจากโรงชำแหละจะต้องผ่านการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อเพื่อให้มั่นใจว่ารถคันนี้จะปลอดเชื้อโรคก่อนขนส่งสุกรเที่ยวต่อไป ผู้ประกอบการฟาร์มหมูที่มีเล้าหมูมากกว่า 2 ขึ้นไป มีข้อแนะนำว่าไม่ควรรับซื้อหมูจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงโรค นอกจากนั้น หลังรับหมูขุนเข้าเลี้ยงภายใน 15 วันแรก ควรแยกคนเลี้ยงและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งหมด เปรียบเสมือนเป็นการกักโรคเช่นเดียวกับกรณีสงสัยว่าคนในครอบครัวติดโควิด-19 ที่ต้องอยู่แยกห้องกัน โดยกรณี ASF ควรกักโรคแบบแยกเป็นระยะอย่างน้อย 15 วันตามระยะฝักโรค ซึ่งหากในช่วงเวลานี้มีหมูแสดงอาการตายเฉียบพลัน ซึ่งมักเป็นอาการเริ่มต้นของโรค จะต้องตรวจสอบยืนยันโรคเสมอ เพราะว่าหากพบโรคได้เร็วและยังใช้มาตรการกักโรคอยู่ หมูกลุ่มอื่นๆ ในฟาร์มอาจยังไม่ติดเชื้อ ซึ่งในทางวิชาการก็มีวิธีการตรวจสอบยืนยันการปลอดโรคได้เช่นกัน กรมปศุสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงหมูและผู้ประกอบการเลี้ยงหมู ควรทำแผนฉุกเฉินร่วมกันกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรคไปในวงกว้างในผู้เลี้ยงรายย่อย เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านอัตรากำลังคน กำลังทรัพย์ และกำลังใจ เพื่อสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค จากมาตรการที่กล่าวมา หากได้นำไปปฏิบัติหรือดัดแปลงไปใช้ให้ตรงบริบทกับหน้างาน คงพอจะช่วยป้องกันและควบคุมโรค ได้ในระดับหนึ่ง อย่างที่ได้เรียนในบทความก่อนขอให้ผู้เกี่ยวข้องทุกท่านตระหนักแต่อย่าถึงขนาดตระหนกจนทำให้ธุรกิจหมูในภาพรวมเดินต่อไปไม่ได้  ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าด้วยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจะทำให้ “ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยต้องอยู่ได้ ผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายใหญ่ต้องอยู่รอด” น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพี่เอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน)   อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 2 : แนวทางป้องกันและควบคุมโรค Read More »

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF)

มาตราการป้องกันและควบคุมโรค อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือและมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกัน ( ASF ) สำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลแนวทางการป้องกันโรค ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลที่นี่ * ที่มาทีมสัตวแพทย์บริการวิชาการ สายธุรกิจสุกรซีพีเอฟ

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) Read More »

อาหารไก่ไข่ เซฟฟีด

อาหารไก่ไข่ เซฟฟีด คุ้มค่าจริง ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม

อาหารไก่ไข่เซฟฟีด 7219 และ 7209 อาหารไก่ไข่ ระยะไข่ ชนิดเม็ด และชนิดผง โปรตีน 18% เซฟฟีด ประหยัดจริง ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม! ผลิตภัณฑ์อาหารไก่ไข่ ซีพีเอฟ ผ่านกระบวนการคัดสรรวัตถุดิบมาเป็นอย่างดี ปรับค่าโภชนะต่างๆให้มีสารอาหารครบถ้วน เหมาะสมสำหรับแม่ไก่ ระยะไข่ อายุมากกว่า 20 สัปดาห์ ถึงปลด มีทั้งแบบชนิดผง (เซฟฟีด 7219) และ ชนิดเม็ด (เซฟฟีด 7209) ให้สามารถผลิตไข่ออกมาได้สม่ำเสมอ ได้ไข่ที่มีสีเปลือกสวย เปลือกหนาในราคาที่จับต้องได้ ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ จึงมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย หาซื้อได้ผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่าน เสียงบอกต่อจากผู้ใช้จริง  5/5 อาหารไก่ไข่เซฟฟีด ทำให้ไก่ไข่ดีขึ้น ทำให้ไข่แดงดี แล้วไข่ที่ได้ก็ไข่ใหญ่ดี รู้สึกว่าไก่ดูสดชื่นดีนะ มันกระปรี้กะเปร่าดี คุณทองใบ ฮ้อยิ่ง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตารางการให้อาหารไก่ไข่ เอราวัณ เฮน 8 และ เฮน 9 อาหารไก่ไข่ ที่มีโภชนะเหมาะสมสำหรับระยะไข่ ที่นิยมใช้กันทั่วประเทศ สนใจผลิตภัณฑ์อาหารไก่ไข่เซฟฟีด สามารถกรอกข้อมูล เพื่อให้ฝ่ายบริการลูกค้าติดต่อกลับ *กรณีผู้สนใจสมัครโครงการ ไม่ได้อยู่ในเขตการรับสมัคร เราขออนุญาตเก็บข้อมูลของท่านไว้ เมื่อโครงการในพื้นที่ดังกล่าวเปิด เราจะติดต่อกลับไปให้เร็วที่สุด* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ

อาหารไก่ไข่ เซฟฟีด คุ้มค่าจริง ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม Read More »

อาหารไก่ไข่ เอราวัณ

อาหารไก่ไข่ เอราวัณ คุ้มค่าจริง ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม

เอราวัณ เฮน 8 และ เฮน 9 อาหารสำหรับแม่ไก่ ระยะไข่ ชนิดเม็ด และชนิดผง ผลิตภัณฑ์อาหารไก่ไข่ ซีพีเอฟ ผ่านกระบวนการคัดสรรวัตถุดิบมาเป็นอย่างดี ปรับค่าโภชนะต่างๆให้มีสารอาหารครบถ้วน เหมาะสมสำหรับแม่ไก่ ระยะไข่ อายุมากกว่า 20 สัปดาห์ ถึงปลด มีทั้งแบบชนิดผง (เอราวัณ เฮน 8) และ ชนิดเม็ด (เอราวัณ เฮน 9) ให้สามารถผลิตไข่ออกมาได้สม่ำเสมอ ได้ไข่ที่มีสีเปลือกสวย เปลือกหนาในราคาที่จับต้องได้ ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกของซีพีเอฟ จึงมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัย หาซื้อได้ผ่านร้านตัวแทนจำหน่ายใกล้บ้านท่าน อาหารแม่ไก่ระยะไข่ เอราวัณ เฮน 8 และ เฮน 9ให้ไข่ดี มีคุณภาพ เปอร์เซ็นต์ไข่ดี ไข่ดก ไข่นาน สีเปลือกเข้มสวย สม่ำเสมอ ไข่แดงนูนสีเข้ม ไข่ขาวข้นและหนา ตรงตามความต้องการของตลาด มูลไก่แห้ง ตั้งเป็นก้อน เสียงบอกต่อจากผู้ใช้จริง ตารางการให้อาหารไก่ไข่ เอราวัณ เฮน8 เฮน9 รู้สึกว่าสีในไข่ดี ไข่แดงดีกว่า เปลือกไข่หนาดี สีดี สีสวย คุณระเบียบ สะสม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อาหารไก่ไข่ ที่มีโภชนะเหมาะสมสำหรับระยะไข่ ที่นิยมใช้กันทั่วประเทศ สนใจผลิตภัณฑ์ สามารถกรอกข้อมูล เพื่อให้ฝ่ายบริการลูกค้าติดต่อกลับ *กรณีผู้สนใจสมัครโครงการ ไม่ได้อยู่ในเขตการรับสมัคร เราขออนุญาตเก็บข้อมูลของท่านไว้ เมื่อโครงการในพื้นที่ดังกล่าวเปิด เราจะติดต่อกลับไปให้เร็วที่สุด* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ

อาหารไก่ไข่ เอราวัณ คุ้มค่าจริง ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม Read More »

CPF ชูผลิตภัณฑ์รักษ์โลก บรรลุรายได้ 30% ปี 2563 เดินหน้าสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ “ธุรกิจสีเขียว”

CPF ชูผลิตภัณฑ์รักษ์โลก บรรลุรายได้ 30% ปี 2563 เดินหน้าสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ “ธุรกิจสีเขียว” 🌏💚 CPF ใส่ใจเพิ่มผลิตภัณฑ์รักษ์โลก สนับสนุนเป้าหมายรายได้สีเขียวบรรลุ 30% ภายในปี 2563 ร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งรายได้สีเขียวเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ได้การรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อน ตามมาตรฐาน ISO 14067 จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. และฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามมาตรฐาน ISO 14046 จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ กว่า 770 รายการ ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก ผลิตภัณฑ์ไก่สด ผลิตภัณฑ์อกไก่นุ่น และกลุ่มผลิตภัณฑ์เป็ดสดและเป็นปรุงสุกแช่แข็ง ผ่านการรับรองเรียบร้อยแล้ว สำหรับปี 2563 อบก. ได้มอบฉลากลดโลกร้อนให้กับผลิตภัณฑ์อาหารไก่เนื้อของ CPF 6 รายการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 77,500 ตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2562 หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ 1,280,000 ต้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ซอสพริกและซอสมะเขือเทศ 8 รายการ./ อ่านต่อ>> https://www.cpfworldwide.com/th/media-center/corporate-1456

CPF ชูผลิตภัณฑ์รักษ์โลก บรรลุรายได้ 30% ปี 2563 เดินหน้าสร้างสมดุลสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่ “ธุรกิจสีเขียว” Read More »

ซีพีเอฟ”รุกธุรกิจสีเขียว เพิ่มสัดส่วนรายได้แตะ 30%

ซีพีเอฟ คาด ตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียวมีแนวโน้มขยายตัวสูง เน้นลดใช้พลังงานและทรัพยากร พัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ตั้งเป้าเพิ่มรายได้สีเขียว (Green Revenue) เป็น 30% ในปี 2563      นายเรวัต หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว หรือ ผลิตภัณฑ์ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และฉลากลดโลกร้อน จะเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุการเพิ่มสัดส่วนรายได้สีเขียวเป็น 30% ของรายได้รวมซีพีเอฟในปีนี้ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของซีพีเอฟมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียวเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียวของบริษัทฯ เป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามาตรฐาน ISO 14046 จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยซีพีเอฟมีสินค้าที่ได้รับการรับรองทั้ง 3 ประเภท จำนวน 770 รายการ สำหรับปี 2563 อบก.ได้รับรองผลิตภัณฑ์อาหารไก่เนื้อของ ซีพีเอฟ 6 รายการ ได้รับฉลากลดโลกร้อน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 77,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2562 หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ 1.28 ล้านต้น ซึ่งอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ นอกจากจะให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของสัตว์แล้ว ยังคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ซอสพริกและซอสมะเขือเทศ 8 รายการ ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นอกจากนี้ อบก.ได้มอบประกาศนียบัตรคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรให้ซีพีเอฟ ซึ่งซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้มีการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร ตลอดจนกิจกรรมลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เช่น คาร์บอนนิวทรัลส่วนบุคคล (Carbon Neutral Man) บุคลากรของซีพีเอฟและเครือเจริญโภคภัณฑ์ 36 คน การชดเชยคาร์บอนในงาน Carbon Neutral Event คือ “CPF Run for Charity at Fort Adisorn 2020” การชดเชยการปล่อยคาร์บอนส่วนบุคคลไป 108 ton Co2 eq. ในปี 2563 รวมทั้งมีหน่วยงานที่ผ่านการรับรองในโครงการ Low Emission Support Scheme (LESS) ทั้งหมด 60 หน่วยงาน โดยมีการปลูกต้นไม้รวม 16,910 ต้น กักเก็บคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้ 6,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เทียบเท่า ช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนสู่การเป็น “องค์กรคาร์บอนต่ำ”    นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า นอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ซีพีเอฟยังคงเดินหน้านโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เช่น จากการใช้พลังงานหมุนเวียน การลดการสูญเสียอาหารและขยะ อาหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็นตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมทั้งสนับสนุนการนำทรัพยากรทุกส่วนไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยไม่เหลือทิ้ง ทั้งนี้ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2562 แล้ว 15% เทียบกับปีฐานปี 2558 ซึ่งเร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิมในปี 2563 และเดินหน้าสู่เป้าหมาย 25% ในปี 2568 ซีพีเอฟ ยังคงดำเนินธุรกิจตามทิศทางและเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ปี 2573 สู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกด้านความยั่งยืน คือ การมุ่งสู่การเป็นองค์กร Zero Waste ลดขยะและของเสียให้เป็นศูนย์ และการมุ่งสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral “การจัดกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในชีวิตประจำวันและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายวุฒิชัย กล่าว

ซีพีเอฟ”รุกธุรกิจสีเขียว เพิ่มสัดส่วนรายได้แตะ 30% Read More »

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อน

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงไก่ไข่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่จะแม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง เช่น เปลือกบางลง สีซีดลง เป็นต้น 3.มูลไก่จะมีลักษณะเหลวขึ้น เนื่องจากแม่ไก่ต้องกินน้ำเพิ่มขึ้น โดยปกติถ้าแม่ไก่อยู่ในเล้าที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 18-25C สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ แต่ถ้าอากาศภายในเล้าร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารอาจเพิ่มขึ้นเป็น >2.6 เท่าของอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่แม่ไก่รู้สึก ณ เวลานั้นๆ 4.ตัวตายต่อวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการเลี้ยง ซึ่งการตายของแม่ไก่ที่มีสาเหตุจากอากาศร้อน จะพบว่าแม่ไก่มักจะตายเยอะในช่วงเวลาบ่าย ช่วงที่อากาศร้อนจัด และพบว่าแม่ไก่ที่ตัวอ้วนๆ จะตายมากกว่าตัวที่มีน้ำหนักตัวได้ตามมาตรฐาน หรือตัวที่ผอม และเมื่อผ่าซากดูจะพบวิการตับแตก เนื้อหน้าอกขาวซีด อุณหภูมิในช่องท้องค่อนข้างสูง แนะนำ 2แนวทางการจัดการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน 1.ด้านโรงเรือน 1.1 ลดการแผ่ความร้อนจากหลังคาโรงเรือนมาสู่ตัวไก่ โดยการติดสปิงเกอร์บนหลังคาโรงเรือน การเปิดสปริงเกอร์ ควรเปิดก่อนที่อากาศภายนอกจะร้อนเพื่อลดการสะสมของความร้อนที่หลังคา เช่นเปิดสปริงเกอร์ตั้งแต่ เวลา 9:30 – 16:00 น. เป็นต้น หรือการทำหลังคาชั้นที่ 2 ด้วยหญ้าคา, ใบจาก ต่อจากหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้อง 1.2 ติดตั้งพัดลมภายในเล้า เพื่อระบายอากาศร้อนออกจากตัวไก่และโรงเรือน 1.3 การติดตั้งระบบพ่นหมอกภายในโรงเรือนร่วมกับพัดลมระบายอากาศ 1.4 ติดตั้งผ้าม่านป้องกันแสงแดดส่องเข้าภายในเล้า หรือใช้การปลูกต้นไม้รอบๆโรงเรือน เช่น ต้นกล้วย แต่ทั้งนี้ผ้าม่านจะต้องไม่ไปปิดกันทิศทางลมธรรมชาติที่จะเข้าเล้า 2. ด้านน้ำและอาหาร 2.1 จัดเตรียมน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 20-25C ให้แม่ไก่ได้กินตลอดช่วงที่อากาศร้อน หรือเติมน้ำแข็งลงในถังพักน้ำเพื่อปรับลดอุณหภูมิของน้ำก่อนให้ไก่กิน 2.2 อย่าให้ถังพักน้ำหรือท่อน้ำที่ให้ไก่กินถูกแสงแดดส่อง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ภายในสูงขึ้น ทำให้ไก่กินน้ำลดลง 2.3 ผสมไวตามิน เช่น ไวติมิน C, A, E และ Bรวม หรือไวตามิน+กรดอะมิโน ในน้ำที่ให้ไก่กิน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ไวตามิน C คือ ช่วงเวลาก่อนที่อากาศจะเริ่มร้อน อาจจะเป็นช่วง 9:00 – 10:00 โมง (ขึ้นอยู่ในแต่พื้นที่) นอกจากนั้นการเสริมสารอิเล็คโตไลน์ในน้ำก็สามารถช่วยลดภาวะ Heat Stress ในแม่ไก่ลงได้ 2.4 หลังจากให้น้ำที่ผสมไวตามินเลร็จเรียบร้อย ต้องคอยหมั่นทำความสะอาดรางน้ำหรือท่อนิปเปิล เพื่อป้องกันการสะสมของเมือกภายในรางน้ำหรือท่อน้ำกิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาไก่ท้องเสียตามมาได้ 2.5 ให้อาหารมื้อเช้าให้เร็วขึ้น อาจจะเป็นช่วงเวลา 5:00 – 6:00 โมง เป็นต้น ส่วนมื้อบ่ายก็ให้ในช่วงที่อากาศเริ่มเย็น เช่น เวลา 17:00 – 18:00 น. ร่วมกับการเปิดไฟช่วงเวลา 23:00 – 01:00 น.ให้ไก่ตื่นขึ้นมากินอาหารเพิ่มจากโปรแกรมแสงปกติ 2.6 ควรงดการกระตุ้นการกินอาหารหรือเดินเกลี่ยอาหารในรางในช่วงที่อากาศร้อน เช่น ช่วงเวลา 12:00 – 14:00 น. เพราะจะทำให้แม่ไก่เกิดการเคลื่อนไหว เกิดการสร้างความร้อนขึ้นมาได้ 2.7 เลือกใช้อาหารที่มีความสมดุลของโปรตีนและพลังงานให้เหมาะสมต่อความต้องการของแม่ไก่ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในการขับสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย CR :  ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ คุณสมเจต

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert Read More »

อาหารสุกร เซฟฟีด สูตรเร่งโต คุ้มค่า คุ้มราคา

อาหารสุกรเซฟฟีด ประหยัดจริง คุ้มค่า คุ้มราคา โตไว ขายเร็ว เซฟฟีด อาหารหมูคุณภาพ คุ้มค่า คุ้มราคาจากซีพีเอฟ  โปรแกรมอาหารสูตร “เน้นโต” ลดระยะเวลาการเลี้ยง 10 วัน   สำหรับลูกสุกรหย่านม-สุกรขุน ถึง ขาย ในภาวะสุกรขาขึ้น จะทำยังไงให้สุกรขุนขายได้เร็ว  ที่นี่มีคำตอบ! https://www.youtube.com/watch?v=VZWA8fufX8o&t=9s มีระดับสารอาหารสมดุลของพลังงานและโปรตีน เหมาะสมกับหมูแต่ละระยะ  มีความน่ากินสูง กลิ่นหอม  ทำให้หมูกินอาหารได้มากวัตถุดิบย่อยง่าย หมูสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  มีการเจริญเติบโตสูง และปรับโครงสร้างให้ตัวใหญ่โครงใหญ่  มีส่วนประกอบของแร่ธาตุอินทรีย์ที่ย่อยและดูดซึมนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  เนื้อแดงเยอะ มันน้อย น้ำหนักดี ตัวหนา มีระดับสารอาหารสมดุลของพลังงานและโปรตีน  ระดับพลังงานไม่สูงจนเกินไป จนเหลือสะสมเป็นไขมัน ซึ่งเป็นช่วงที่หมูเริ่มมีการสะสมไขมันมากขึ้น  ระดับโปรตีนเหมาะสมในการสร้างเนื้อแดง ทำให้เนื้อหมูสีสวยไม่ซีด ไม่แฉะ วันนี้ที่ร้านตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ซีพีเอฟ ทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ สนใจผลิตภัณฑ์ติดต่อทีมขายหรือแจ้งเราได้ที่นี่ หลังจากได้รับข้อมูลแล้วเจ้าหน้าที่จะรีบติดต่อกลับตามหมายเลขโทรศัพท์ที่ให้ไว้​. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อาหารสุกร เซฟฟีด สูตรเร่งโต คุ้มค่า คุ้มราคา Read More »

true digital cow ear tag

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย

CPF ผนึกกำลัง ทรู และ AllFlex เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ ตรวจสัดแม่นยำ เช็คระยะสัด ยกระดับการจัดการฟาร์มโคครั้งแรกในไทย   คุณพูนศักดิ์ ทองพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารกิจการอาหารโค ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ พร้อมด้วย คุณเอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชัน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป และ มร.เยรุน แวน เดอ เวน กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ AllFlex (ออลเฟล็กซ์) ผู้นำนวัตกรรมด้านปศุสัตว์ระดับโลก ด้าน Cow Monitoring ร่วมแถลงข่าว เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ครั้งแรกในไทย นำนวัตกรรมชั้นนำของโลก แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ มาช่วยแจ้งเตือน และ คำนวณช่วงเวลาการเป็นสัดของโค เพื่อความแม่นยำในการผสมพันธุ์ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพ ยกระดับมาตรฐานการปศุสัตว์และกระบวนการผลิตของไทย และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายฟาร์ม ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ทดลองใช้ระบบนี้ดังกล่าว ที่ฟาร์มวังม่วง ซึ่งเป็นฟาร์มในเครือซีพีและศูนย์เรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้าอาหารโคของบริษัทฯ ชมคลิป https://www.facebook.com/cattlefeedcpfth/videos/2459066121074446/ เสียงตอบรับจากผู้ใช้จริง  คุณ วราภรณ์ เกนขุนทด  เจ้าของ วราภรณ์ฟาร์ม อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี   >>>ชมคลิป True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัด ทรูดิจิตอลคาวออกแบบมาเพื่อเกษตรกรโคนมและโคเนื้อในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงดูและยกระดับภาคอุตสาหกรรมโคของเรานั้นเองให้ก้าวไปสู่ยุค 4.0 โดยหลักๆจะเป็นการนำเซ็นเซอร์นำอุปกรณ์ไปติดที่หูวัวเพื่อที่จะจับพฤติกรรมของวัว หลักการทั่วไปคือติดเซ็นเซอร์เพื่อให้เซ็นเซอร์จับพฤติกรรม การเคลื่อนไหว การเดิน กากนอน การกิน จำนวนรอบการเคี้ยวเอื้องต่อวัน แล้วนำทั้งหมดนี้มาประมวลผลเพื่อแจ้งเตือนเกษตรกร ถามว่าทำไมจะต้องดูสิ่งเหล่านี้ เกษตรกรโคนมสิ่งที่จะได้เป็นรายได้ก็คือ น้ำนม และลูกวัวที่ถูก เราจึงต้องการให้ได้สิ่งที่ดีมากที่สุดซึ่งการจะทำสิ่งนี้ได้จะต้องแปลว่าเข้าต้องผสมพันธุ์วัวให้ได้ดีที่สุดและจะต้องดูแลวัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรงแต่การจะทำสิ่งนี้ได้เป็นสิ่งที่ยากมากเพราะว่าโดยธรรมชาติของวัวรอบการผสมพันธุ์จะค่อนข้างสั้น ถ้าพลาดไปหมายความว่าก็จะสูญเสียรายได้และค่าใช้จ่ายนอกจากนั้นถ้าเรามีวัวที่เยอะขึ้นมันก็จะดูยากขึ้น บางครั้งวัวมีอาการป่วยก็จะไม่ค่อยแสดงอาการและจะดูยากขึ้น ทำให้เกษตรกรในฟาร์มต้องใช้เวลาอยู่ในฟาร์มเยอะจนไม่มีเวลาออกไปไหน เทคโนโลยีนี้จึงเข้ามาช่วยได้ เจ้าตัวทรูดิจิตอลคาว จะเป้นตัวนำเซ็นเซอร์เข้ามาจับพฤติกรรมของวัวแล้วเอาทั้งหมดมาประมวลผลแล้วแจ้งเกษตรกรได้ว่าเมื่อไหร่ที่วัวของเค้าเป็นสัดอยู่ เมื่อไหร่ที่วัวป่วย สามารถเข้าไปดูได้โดยผ่านแอพพิเคชั่น ซึ่งสามารถดูผ่านเว็ปไซต์ก็ได้หรือระบบมือถือก็ได้เรียกว่าง่ายสำหรับทุกๆคน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หมด ซึ่งถ้านำตัว ทรูดิจิตอลคาว มาใช้แล้ว เกษตรกรจะเห็นผลผลิตที่ดีขึ้นโดยทั่วไปน้ำนมดีขึ้นแน่นอน วัวป่วยน้อยลงและลดการสูญเสีย ขายน้ำนมได้มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรสามารถมีเวลาออกไปผักผ่อนหรือไปไหนต่อไหนได้มากขึ้นเพราะสามารถดูแลฟาร์มจากที่ไหนก็ได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราภูมิใจนำเสนอเพื่อนำมาช่วยยกระดับเกษตรกรในภาคการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อของประเทศไทย รูปแบบในการทำงาน ต้องมีกล่องรับสัญญาณ ตัวรับข้อมูลจาก ทรูดิจิตอลคาวส่งไปยังคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รัศมีที่รับข้อมูลประมาณ 500 เมตร และจะต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ที่ได้รับ ลดวันท้องว่าง เพิ่มรายได้จากการรีดนมที่ผสมติดเร็วขึ้น ตรวจสัดแม่นยำ ได้น้ำนมส่วนเพิ่มจากการไม่ต้องรอรีดจนแห้ง สามารถนำลูกวัวไปจำหน่าย ลดผลกระทบจากการป่วย ลดความเสียหายจากผลผลิตที่ลดลง ลดการเสียหายจากการที่วัวล้ม ลดภาระในการเฝ้าระวัง ไม่ต้องคอยเฝ้าดูที่หน้าฟาร์มตลอดเวลาสามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบ ทรู ดิจทัล คาว (True Digital Cow Ear Tag) สามารถเข้ามาช่วยแก้ปํญหาต่างๆได้ เพราะสามารถ วัดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การกิน และการเคี้ยวเอื้องของวัว (ทั้งวัวนมและวัวเนื้อ) เพื่อนำมาวิเคราะห์และช่วยในการบริหารจัดการ แจ้งเตือนเมื่อวัวมีอาการเป็นสัดและถึงรอบของการผสมพันธุ์ แจ้งเตือนระยะเวลาที่เหมาะสมของการผสมพันธุ์ แจ้งเตือนเมื่อวัวมีอาการป่วย มีระบบการบันทึกติดตามประสิทธิภาพการผสมพันธุ์วัว ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงดูวัวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ โปรโมชั่นพร้อมแพ็คเกจ สนใจสามารถติต่อสอบถามได้ที่  : https://cpffeedsolution.com/true-digital-cow/

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)