Logo-CPF-small-65png

Search Results for: อาหารสัตว์

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)

      โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever: ASF) เป็นโรคที่สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต แต่โรค ASF จะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่สุกร และปศุสัตว์ต่างๆ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์อาจพาไวรัสติดไปเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้โรคแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว ในอดีต ASF เป็นโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา แต่ในช่วงปี 2561 และ 2562 เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป แล้วโรค ASF มีอาการอย่างไร เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง สัญญาณและอาการของโรค ASF มีไข้สูง (40.5–42°C) เบื่ออาหารกะทันหัน เลือดออกทางผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต่อมน้ำเหลือง ท้องเสีย อาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน) แท้งลูก มีอาการซึม ไอ หายใจลำบาก เสียชีวิตกะทันหัน อัตราการตายสูง อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคอหิวาต์สุกรธรรมดา (Classical swine fever: CSF) แต่โรค ASF เกิดจากไวรัสเฉพาะซึ่งแตกต่างจาก CSF อัตราการตายที่สูงผิดปกติในหมู่สุกรทุกช่วงวัยถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรค ASF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสุกรน่าจะติดไวรัสชนิดใด ก็คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นในฝูงสุกรที่เลี้ยงไว้ โปรดติดต่อสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการกักโรคและรักษาอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งจะช่วยจำกัดขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นในฟาร์มของคุณได้ เคล็ดลับในการป้องกันฟาร์มให้ห่างไกลจากโรค ASF การป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แม้จะอยู่ในประเทศที่ ASF เป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม มาตรการป้องกัน 9 วิธีในการหลีกเลี่ยงโรค ASF มีดังนี้ การใช้มาตรการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเข้มงวด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF ประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF อาจสั่งให้มีการจำกัดหรือห้ามส่งออกสัตว์ได้หากตรวจพบเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ตรวจสอบรายชื่อภูมิภาคที่มีการติดเชื้อก่อนนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ทำการกำจัดเศษอาหารทุกชนิดจากเครื่องบินหรือเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด ฆ่าเชื้อและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร (เช่น นำเศษขยะไปให้สุกรกิน) การเลี้ยงด้วยเศษอาหารเหลือจากบริการจัดเลี้ยงถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเศษอาหารดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ ASF อาจทำให้ฝูงสุกรที่แข็งแรงติดโรคได้ อย่าทิ้งเศษอาหารไว้ให้สุกรป่าสามารถเข้าถึงได้ ควรกำจัดซากสุกรส่วนที่เหลือทิ้งจากสุกรในโรงเชือดและเศษอาหารอย่างเหมาะสม กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ (การขีดวงทำลาย): สัตว์ที่หายจากโรคหรือสัตว์ที่รอดตายจะเป็นพาหะของไวรัสโรคนี้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นๆ และเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดขึ้นใหม่ การกำจัดสุกรตัวที่ติดเชื้อและตัวที่อาจติดเชื้อจึงมีความปลอดภัยมากกว่า การกำจัดสุกรในวงรัศมีรอบๆ อาจเป็นวิธีที่กำจัดโรคที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและหยุดการระบาดได้เร็วที่สุด กวดขันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม: ดูแลให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรียด้วยการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่การฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูทอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่นำผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ยังไม่ผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเข้าสู่ฟาร์ม และทางฟาร์มควรจัดเตรียมรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ การเคลื่อนย้ายสัตว์และมนุษย์ภายใต้การควบคุม: สุกรที่จัดหามาควรมาจากแหล่งผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรอง เนื่องจากยานพาหนะ อุปกรณ์ และคนอาจเป็นวัตถุพาหะนำเชื้อโรค ASF ได้เช่นกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้มาเยือนฟาร์มที่เพิ่งไปประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF ต้องทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณ เนื่องจากสารคัดหลั่งและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เจ็บป่วยหรือตายถือเป็นแหล่งโรค ASF ดังนั้น รถบรรทุกขนซากสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงและไม่ควรให้เข้ามาในฟาร์มโดยเด็ดขาด การสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังโรค: การดำเนินการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการขนย้ายสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู นอกจากนั้นฟาร์มสุกรเองก็ควรมีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดด้วย โดยควรตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว สุกรที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการฝึกอบรมพนักงานถึงวิธีป้องกันโรค ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจดบันทึกส่วนผสมในอาหารสัตว์ทุกวัน การตรวจพบไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ: แจ้งสัตวแพทย์โดยทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เกณฑ์การกักโรคอย่างเข้มงวด: ควรใช้มาตรการการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่เข้ามาและ/หรือเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรค ASF การรักษาโรค ASF ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ จึงต้องใช้มาตรการป้องกันและระวังในการดูแลสุขภาพสัตว์ให้ปลอดภัย เนื่องจากการสัมผัสระหว่างสัตว์ที่เจ็บป่วยกับสัตว์ที่สุขภาพดีอาจทำให้เชื้อ ASF แพร่สู่กันได้ ดังนั้นจึงควรแยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกต่างหากและคัดออกโดยทันทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ASF รู้หรือไม่? ภูมิภาคทวีปอเมริกาเหนือและโอเชียเนียยังคงเป็นภูมิภาคที่ไม่เคยพบว่ามีรายงานการระบาดของโรค ASF เลย โรค ASF ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ติดเชื้อ ASF โรค ASF ระบาดในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่า รวมถึงเห็บอ่อนหลากหลายประเภท สุกรป่าและตัววอร์ธฮ็อกก็สามารถเป็นพาหะนำโรค ASF ได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัตว์เหล่านี้ไม่มาสัมผัสกับสุกรบ้าน เนื้อสัตว์แช่แข็งจากสุกรติดเชื้ออาจมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ไวรัส ASF อาจมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานสูงสุดถึง 15 วัน และในปัสสาวะที่อุณหภูมิ 21°C ได้นาน 5 วันโดยประมาณ การลดการเกิดเชื้อ ASF ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ต้องปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกที่อุณหภูมิ 70°C นาน 30 นาที หากเป็นน้ำเหลืองและของเหลวจากร่างกาย ต้องใช้อุณหภูมิ 60°C นาน 30 นาที การถนอมอาหารหรือรมควันผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไม่ทำให้ไวรัสตาย โรค ASF สามารถแพร่ต่อกันได้ผ่านอาหารสัตว์ (Niederwerder, et al., 2019) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรซื้ออาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารจากผู้ให้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารสัตว์ที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่อันตรายบางชนิดได้ (Dee, et al., 2018) และเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันอีกชั้น ควรกำหนดมาตรการป้องกันและใช้เทคโนโลยีใส่ลงในอาหารสัตว์ เช่น ให้สารเพิ่มความเป็นกรด เพื่อให้อาหารสัตว์มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นที่ทราบกันว่าสารเพิ่มความเป็นกรดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วย “ควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสัตว์ […] จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ดี” (Jacela, et al., 2009) ผลิตภัณฑ์อย่าง Guardicate™* ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยในอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เสริมความแข็งแกร่งของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของคุณได้อีกด้วย จากการวิจัยยาวนานเกือบ 4 ปี Guardicate ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในฐานะสารเพิ่มความเป็นกรด ช่วยให้คุณคลายความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารสัตว์ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมของอาหารสัตว์ให้เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีด้านโภชนาการของ Alltech คุณจึงวางใจได้ในความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต พร้อมส่งเสริมสุขภาพสัตว์ของคุณให้แข็งแรง เมื่อใช้ร่วมกับโซลูชั่นอื่นๆ เช่น Sel-Plex®, Bioplex® และ Actigen® การเสริมแร่ธาตุที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและผลิตภาพในสัตว์ของคุณได้ ซึ่งมีการค้นพบว่าระดับแร่ธาตุที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเชิงบวก โปรแกรมการบริหารจัดการแร่ธาตุของ Alltech (Alltech Mineral Management program) เน้นการให้แร่ธาตุอินทรีย์ เช่น Sel-Plex และ Bioplex ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยม ทางเดินอาหารที่แข็งแรงและไมโครไบโอม (microbiome) ก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวมในสุกรด้วยเช่นกัน ซึ่งในการนี้ Actigen จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการทำงานและพัฒนาการของลำไส้ ทำให้สัตว์มีสุขภาพและสมรรถภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น CR:  Alltech

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) Read More »

อาหารแม่โคเนื้อ-ซีพีบีฟมิ้ลค์คิ้น

อาหารวัวเนื้อ ซีพี บีฟมิ้ลค์คิ้น

CP Beef Milkin อาหารแม่โคเนื้อระยะอุ้มท้อง เลี้ยงลูกให้นม แม่โคมีบทบาทสำคัญที่สุดต่อพัฒนาการที่ดีของลูก เพราะการพัฒนาและเจริญเติบโตของลูกจะเริ่มสร้างและพัฒนาได้รวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 3 เดือนแรกของการอุ้มท้อง ดังนั้นแม่โคต้องได้รับการดูแลตั้งแต่วันนี้ โดยเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ สารอาหารสำคัญครบถ้วน เพื่อพัฒนาการสำคัญของการตั้งท้อง “CP Beef Milkin” เป็นอาหารสำหรับแม่พันธุ์โคเนื้อโดยตรง ที่รวบรวมคุณค่าสารอาหารที่มีประโชยน์ มีโภชนะทั้งค่าพลังงานและโปรตีนสูง ใช้ได้ทั้งแม่โคสาวซึ่งจะส่งผลให้มีความสมบรูณ์พันธุ์สูง เพื่อเตรียมพร้อมในการเป็นแม่พันธุ์ที่ดี และ ในส่วนของแม่นางจะช่วยเรื่องพัฒนาการที่สมบูรณ์ของการอุ้มท้องของแม่โค รวมไปถึงระยะการให้นม แม่โคไม่โทรม กลับสัดได้ไว ผสมติดง่าย ปัจจัยความสำเร็จกับการจัดการแม่โคเนื้อสู่เป้าหมาย “ลูกโค 1 ตัว ต่อแม่ ต่อปี” “แม่สมบูรณ์ ลูกสมบูรณ์” การจัดการแม่โคเนื้อที่ดี ต้องเริ่มจากความสมบูรณ์พันธุ์ เพื่อส่งต่อไปยังลูกโค แต่หากต้องการมีรอบการผลิตเร็วขึ้น “1 ตัว/แม่/ปี” แม่โคจะต้องแข็งแรง ไม่โทรมหลังคลอด ฉะนั้นต้องดูแลแม่โคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาการของลูกโคด้วยหาคำตอบจากปัญหาผสมติดช้า กลับสัดช้า ลูกโคไม่แข็งแรง โตช้า และหย่านมช้า ได้ “แม่พันธุ์ กับปัจจัยความสำเร็จ” น.สพ.วีริศ วุฒิรณฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด แนะนำผลิตภัณฑ์ CP Beef Milkin สอบถามราคาและจุดขาย CP Beef Milkin ติอต่อ ภาคเหนือ คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคกลาง คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคอีสาน อีสานบน คุณบรีส 081-945-0339 อีสานล่าง คุณเดียว 063-619-1546 ภาคตะวันตก คุณชัดเจน 095-169-3947 ภาคตะวันออก คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคใต้ คุณกฎ 095-956-4189 นวัตกรรมอาหารสัตว์สำหรับแม่โคเนื้อ กรอกข้อมูลเพื่อให้ทีมขายติดต่อกลับ เพิ่มกำไร ฟาร์มไก่ไข่ โค้งสุดท้ายก่อนปลดอาหารไก่ไข่เพิ่มน้ำหนักก่อนปลด ซีพีเอฟ เป็นอาหารไก่ไข่ที่เหมาะสำหรับ ใช้เพิ่มน้ำหนักตัว ในช่วงท้ายของการให้ผลผลิตก่อนปลดไก่ สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ

อาหารวัวเนื้อ ซีพี บีฟมิ้ลค์คิ้น Read More »

TruePoint

สิทธิพิเศษ True Point สำหรับลูกค้า True   ซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ทุก 100 บาท รับ 1 True Point สะสมนำมาแลกได้ง่ายๆ สะดวกหลากหลายช่องทาง สิทธิประโยชน์ดีๆอย่างนี้เฉพาะลูกค้าอาหารสัตว์ซีพีแบบออนไลน์เท่านั้น “สะดวก ประหยัด คุ้มค่า” คลิกดูรายละเอียดด้านล่าง

TruePoint Read More »

อาหารลูกโคเนื้อ

อาหารวัวเนื้อ ซีพี บีฟแลค

CP Beef Lac อาหารลูกโคเนื้อสำหรับลูกโคแรกเกิด อาหารที่คุณเลือก เสริมโภชนาการให้กับลูกโคเนื้อ เพราะอาหารที่ลูกโคได้กินคือส่วนสำคัญของการพัฒนาการทั้งด้านสุขภาพ และระบบภูมิคุ้มกัน “ อาหารรูปแบบเกรนมิกซ์ ” ถูกคิดค้นและพัฒนามาสำหรับลูกโคโดยเฉพาะ คุณค่าทางอาหารครบถ้วน อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และโปรตีนสูง ซึ่งเป็นสารอาหารต่อลูกโค แรกเกิดจนถึง อายุ 3 เดือนต้องการ เพื่อการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เราคัดสรรวัตถุดิบที่อุดมคุณค่า ด้วยส่วนประกอบจากธัญพืชธรรมชาติ และเสริมด้วยพรีไบโอติค ลดปัญหาท้องเสีย เพื่อลูกโคโดยเฉพาะ ปัจจัยความสำเร็จกับการจัดการแม่โคเนื้อสู่เป้าหมาย “ลูกโค 1 ตัว ต่อแม่ ต่อปี” “แม่สมบูรณ์ ลูกสมบูรณ์” การจัดการแม่โคเนื้อที่ดี ต้องเริ่มจากความสมบูรณ์พันธุ์ เพื่อส่งต่อไปยังลูกโค แต่หากต้องการมีรอบการผลิตเร็วขึ้น “1 ตัว/แม่/ปี” แม่โคจะต้องแข็งแรง ไม่โทรมหลังคลอด ฉะนั้นต้องดูแลแม่โคอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพัฒนาการของลูกโคด้วยหาคำตอบจากปัญหาผสมติดช้า กลับสัดช้า ลูกโคไม่แข็งแรง โตช้า และหย่านมช้า ได้ “แม่พันธุ์ กับปัจจัยความสำเร็จ” น.สพ.วีริศ วุฒิรณฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด แนะนำผลิตภัณฑ์ CP Beef Lac สอบถามราคาและจุดขาย CP Beef Lac ติอต่อ ภาคเหนือ คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคกลาง คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคอีสาน อีสานบน คุณบรีส 081-945-0339 อีสานล่าง คุณเดียว 063-619-1546 ภาคตะวันตก คุณชัดเจน 095-169-3947 ภาคตะวันออก คุณอุเทน 081-945-0339 ภาคใต้ คุณกฎ 095-956-4189 นวัตกรรมอาหารสัตว์สำหรับลูกโคเนื้อแรกเกิด กรอกข้อมูลเพื่อให้ทีมขายติดต่อกลับ สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ

อาหารวัวเนื้อ ซีพี บีฟแลค Read More »

farm-talk-คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม9 ข้อแนะนำเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF ในร้านขายอาหารสัตว์

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม ตอน ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้

farm-talk-คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม ตอนนี้ชวนคุยเรื่องสำคัญ ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้ กับ9 ข้อแนะนำเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF ในร้านขายอาหารสัตว์ 1.อาหารสัตว์ รับจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน มีระบป้องกันโรคที่ดี มีการตรวจสอบเชื้อ ASFสม่ำเสมอ 2. รถรับอาหารจากโรงงานมายังร้าน 3. พื้นที่/สถานที่จัดเก็บอาหาร 4. หน้าร้าน 5. พนักงาน 6. รถลูกค้าและรถขนส่งอาหารไปที่ฟาร์ม 7. คนขับรถและคนลงอาหาร 8. การกำจัดสัตว์พาหะ 9. กระบวนการตรวจสอบ ลดความเสี่ยงโรคASF โดยเลือกใช้อาหารสุกรที่มีความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ มีความสำคัญมาก ช่วยป้องกันการปนเปื้อนโรคเข้าฟาร์ม ถือเป็นหัวใจของการป้องกันที่เจ้าของฟาร์มต้องตระหนักในประเด็นนี้  CPFผลิตและจำหน่ายอาหารสุกรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่จะต้องไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF และสอบย้อนกลับได้ รวมไปถึงการตรวจสอบเชื้อ ASF ในวัตถุดิบรับเข้า รวมไปถึงอาหารสัตว์สำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็วและแม่นยำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และฟาร์มเลี้ยงสุกรในเครือฯ โดยยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญไปถึงภาชนะที่บรรจุวัตถุดิบ ต้องใช้ภาชนะบรรจุที่ใหม่เท่านั้น ทั้งนี้เราในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย เราขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกท่าน African Swine Fever (ASF) หรือโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเคนย่า ทวีปแอฟริกาเมื่อปีพ.ศ.2464 (ค.ศ.1921) และมีการระบาดไปยังทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โรคนี้เป็นโรคไวรัสที่ระบาดในสุกร หากเกิดการระบาดจะทำให้สุกรตายสูงที่สุด 100% ยังไม่มีวัคซีนและการรักษา เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คน (เน้นย้ำ) เชื้อสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือซากได้นาน ประเทศที่มีการระบาดจะมีผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ โรคนี้สามารถติดต่อในสุกรได้ทุกกลุ่ม และทุกช่วงอายุ อาการที่ปรากฏชัดคือตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออก หรือรอยช้ำโดยเฉพาะหลังใบหู ท้อง และขาหลัง รวมถึงอาการทางระบบอื่นๆ ด้วย เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และการแท้งในสุกรแม่พันธุ์ เป็นต้น #ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้,#อาหารสัตว์ซีพีเอฟปลอดภัย, #Farmtalk, #9ข้อแนะนำเฝ้าระวังและป้องกันโรคASFในร้านขายอาหารสัตว์, #ลดความเสี่ยงโรคASF,#อาหารสุกรที่มีความปลอดภัย,#แหล่งที่มาวัตถุดิบ,#โรคASF,#ผู้ผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย,#ตรวจสอบย้อนกลับได้ รับชมและอัพเดทรายการfarm-talk-คุยเฟื่องเรื่องฟาร์มก่อนใครอย่าลืมกดติดตามช่อง Youtube : https://n9.cl/y0pgf ติดตามข่าวสาร โครงการอื่นๆกับเราได้ที่นี่ Website https://www.cpffeed.com/ Website : https://cpffeedsolution.com Facebook : https://www.facebook.com/cpffeed/ Line OA : https://bit.ly/36hMa47 Youtube https://n9.cl/y0pgf E-commerce : https://www.cpffeedonline.com 🛑 ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้ กับ9 ข้อแนะนำเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF ในร้านขายอาหารสัตว์ 1.อาหารสัตว์ รับจากโรงงานผลิตที่ได้มาตรฐาน มีระบป้องกันโรคที่ดี มีการตรวจสอบเชื้อ ASFสม่ำเสมอ 2. รถรับอาหารจากโรงงานมายังร้าน 3. พื้นที่/สถานที่จัดเก็บอาหาร 4. หน้าร้าน 5. พนักงาน 6. รถลูกค้าและรถขนส่งอาหารไปที่ฟาร์ม 7. คนขับรถและคนลงอาหาร 8. การกำจัดสัตว์พาหะ 9. กระบวนการตรวจสอบ 🛑ลดความเสี่ยงโรคASF โดยเลือกใช้อาหารสุกรที่มีความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ มีความสำคัญมาก ช่วยป้องกันการปนเปื้อนโรคเข้าฟาร์ม ถือเป็นหัวใจของการป้องกันที่เจ้าของฟาร์มต้องตระหนักในประเด็นนี้ ✅CPFผลิตและจำหน่ายอาหารสุกรโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่จะต้องไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF และสอบย้อนกลับได้ รวมไปถึงการตรวจสอบเชื้อ ASF ในวัตถุดิบรับเข้า รวมไปถึงอาหารสัตว์สำเร็จรูป ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวดเร็วและแม่นยำ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า และฟาร์มเลี้ยงสุกรในเครือฯ โดยยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญไปถึงภาชนะที่บรรจุวัตถุดิบ ต้องใช้ภาชนะบรรจุที่ใหม่เท่านั้น ทั้งนี้เราในฐานะที่เป็นผู้ผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย เราขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งต่อความมั่นใจให้กับลูกค้าทุกท่าน African Swine Fever (ASF) หรือโรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกที่ประเทศเคนย่า ทวีปแอฟริกาเมื่อปีพ.ศ.2464 (ค.ศ.1921) และมีการระบาดไปยังทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย โรคนี้เป็นโรคไวรัสที่ระบาดในสุกร หากเกิดการระบาดจะทำให้สุกรตายสูงที่สุด 100% ยังไม่มีวัคซีนและการรักษา เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คน (เน้นย้ำ) เชื้อสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อม หรือซากได้นาน ประเทศที่มีการระบาดจะมีผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจของประเทศ โรคนี้สามารถติดต่อในสุกรได้ทุกกลุ่ม และทุกช่วงอายุ อาการที่ปรากฏชัดคือตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออก หรือรอยช้ำโดยเฉพาะหลังใบหู ท้อง และขาหลัง รวมถึงอาการทางระบบอื่นๆ ด้วย เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร และการแท้งในสุกรแม่พันธุ์ เป็นต้น #ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้​,#อาหารสัตว์ซีพีเอฟปลอดภัย, ​#Farmtalk​, #9ข้อแนะนำเฝ้าระวังและป้องกันโรคASFในร้านขายอาหารสัตว์​, #ลดความเสี่ยงโรคASF​,#อาหารสุกรที่มีความปลอดภัย​,#แหล่งที่มาวัตถุดิบ​,#โรคASF​,#ผู้ผลิตอาหารสัตว์ปลอดภัย​,#ตรวจสอบย้อนกลับได้​ ✅อัพเดทก่อนใครอย่าลืมกดติดตามช่อง Youtube : https://n9.cl/y0pgf​ 📌 ติดตามข่าวสาร โครงการอื่นๆกับเราได้ที่นี่ Website https://www.cpffeed.com/​ Website : https://cpffeedsolution.com​ Facebook : https://www.facebook.com/cpffeed/​ Line OA : https://bit.ly/36hMa47 ​Youtube https://n9.cl/y0pgf​ E-commerce : https://www.cpffeedonline.com

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม ตอน ASFหรืออหิวาต์แอฟริกาในสุกรป้องกันได้ Read More »

ไขรหัส CPF บุกตลาดหมูจีน ฝ่าวงล้อม “อหิวาต์แอฟริกัน”

    ปี 2563 จะเรียกว่าเป็นปีทองสุกร (หมู) ของไทยก็ว่าได้ ด้วยยอดการส่งออกที่เติบโตหลัก 100% ไม่ใช่ตัวเลขที่จะพบเห็นได้ง่าย ๆ เพราะเป็นจังหวะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ส่วนไทยก็ต้องเผชิญกับโรค PRRS แต่นั่นกลับทำให้ “เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร” รุกหนักในธุรกิจหมู ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเข้าซื้อธุรกิจหมูในจีนระหว่าง Chia Tai Investment (CTI) และ Chia Tai Animal Husbandry Investment (Beijing) ทำให้ฐานผลิตสุกรซีพีเอฟจะขยับใหญ่ขึ้น เป็นอันดับ 4 ในตลาดจีน “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF Q : เล่าถึงการลงทุนหมูที่จีน จีนเป็นตลาดใหญ่มาก ผู้เล่นรายใหญ่ไม่มีเลย รายที่ใหญ่สุดในจีนมีมาร์เก็ตแชร์แค่ 4% ผลิตได้ 20 ล้านตัวต่อปี ผมว่าเอา 5 รายใหญ่รวมกัน มาร์เก็ตแชร์ยังไม่ถึง 10% รายย่อยเยอะมาก 80% ขณะที่การบริโภคปีละ 500 ล้านตัว พอเราเข้าไปลงทุนวันนี้เราอยู่อันดับ 4 หรือ 5 เราเร่งสปีดเต็มที่ต้องไปสร้างฟาร์ม เพราะส่งไปไม่ได้ต้องเริ่มจากว่าไปหาที่ดิน เจรจา สร้างแต่ละวง ๆ มันไม่เร็ว แต่เชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีที่มีน่าจะทำได้ Q : ที่ไปลงทุนทำหมูครบวงจรที่จีนศูนย์กลางการระบาดต้องไปวางระบบอะไรบ้าง ทำทั้งหมดเหมือนกันเลย ที่นั่นเลี้ยงไม่เยอะมาก จีนที่เชื้อแพร่ระบาดแรงมากเพราะเป็นหมูหลังบ้าน ประเทศไทยสมัยก่อน แต่จีนแอดวานซ์เรื่องเทคโนโลยี Q : เดิมซีพีเอฟทำอาหารสัตว์ในจีน ครับ เป็นต้นทางเลย เป็นบริษัทเก่าของเรา ถ้าเผื่อเทียบเราอาจไม่ได้เปรียบคนจีนเท่าไร แต่ว่าเวลาที่เราไปดีลกับราชการเรามีชื่อเสียงที่ดีมากในเชิงคุณภาพ เช่น จะไปขยายพื้นที่ ทางจีนให้การยอมรับ แต่บอกว่าทำให้ดี และจะทำให้เร็วได้อย่างไร “การรวบรวมธุรกิจหมูในจีน ให้อยู่ภายใต้ชื่อชื่อหนึ่งเป็นเรื่องกฎหมาย เรื่องสตรักเจอร์ เพราะผมเข้าใจว่าในอดีตกฎหมายอาจจะให้แต่ละคนจดกันเอง เมื่อระบบกฎหมายเขาเปลี่ยนไป เราก็รวบรวมมาอยู่ภายใต้ชื่อหนึ่ง ก็ซื้อแอคเซสมาทั้งหมด มีพื้นฐานอยู่แล้ว เราไม่ได้เนรมิต แต่วันนี้เราต้องไปเนรมิตเพิ่ม” Q : เป้าหมายสู่เบอร์ 1 ในจีน ปีนี้ต้องไปให้ได้ 6-7 ล้านแม่หมูขุน ตั้งเป้าว่าภายใน 3-4 ปีจะได้ 20 ล้านตัว ตลาดจีนเป็นตลาดที่เราจะมุ่งไป เพราะว่าในจีนมีแต่รายย่อย ถึงอย่างไรรายย่อยก็ต้องลดลง แต่ปัญหาคือรายใหญ่ 5 บริษัทในจีน ใครจะขยายได้เร็วกว่ากัน ถ้าตลาดจีนทั้งตลาดมีความต้องการ 500 ล้านตัว วันนี้เราแค่ 7 ล้านตัว เบอร์ 1 ก็ 20 ล้านตัว ตลาดมหาศาลแต่ด้วยเทคโนโลยีเราเร็วก็จริง แต่สปีดการเรียนรู้ของจีนก็เร็วมาก และสไตล์ทุนจีนก็เป็นสไตล์เถ้าแก่ พอเป็นปุ๊บลงทุนเลยแต่ก็ต้องไปเจรจาไปหาที่ดิน และทุกคนเร่งสปีดหมด มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะสปีดได้ไวกว่ากัน ซึ่งการขยายฟาร์มในจีนก็จะคล้าย ๆ เหมือนไทย Q : การผลิตในจีนจะครบวงจร เมื่อมีอาหารสัตว์ ฟาร์ม และผลิตขายจะมีทั้งขายสด และแปรรูปด้วย เรามีโรงงานแปรรูปด้วย ขึ้นอยู่กับลูกค้า ซึ่งทั้งหมดที่ผลิตได้จะขายในเมืองจีน ไม่ส่งออก เพราะขายในเมืองจีนแทบไม่พออยู่แล้ว หมูในเมืองจีนขาดเยอะ เพราะโรค ASF นั้นทำให้ราคาหมูในเมืองจีนแพงกว่าไทยมหาศาล เมืองไทย กก. 150 บาท หมูจีนราคาเกือบ 300 บาท 100% “จะเรียกว่าบุกหนักเรื่องหมูไหม คือเผอิญว่าโชคดี เอาจริง ๆ หลักคิดเริ่มต้นมันถูก และตอนนี้โรงงานหมูเข้ายากมาก เพราะว่าไทยยิ่งมีโรคเพิร์สยิ่งเป็นห่วง ห้ามยาก อหิวาต์หมูก็อีกเรื่องหนึ่ง เป็น 2 เรื่อง การป้องกันการแพร่ระบาดต้องมีการพัฒนาระบบการเลี้ยง สร้างความปลอดภัยและมาตรฐานสูง” Q : ซีพีเอฟป้องกัน ASF อย่างไร หมูที่อยู่ในรถ 1 คัน อยู่ในฟาร์มห้ามออกไปข้างนอก จะมีจุดรับถ่ายของ รถที่ขนหมูมาข้างนอก ก็ห้ามเข้าไปข้างใน ต้องเพิ่มรถ เพราะรถจะให้ใช้เฉพาะพื้นที่นี้เท่านั้น ขับออกจากพื้นที่นี้ ไปตรงนี้ใช้รถแค่ตรงนี้เท่านั้น ไปแต่ละจุดวางแผนกระจาย ค่าล้างรถขึ้นค่าน้ำยา 100% ล้างรถเช็กคนทุกคันที่เข้าออกทุกที่ ค่าน้ำยาขยับเกิน 100% ไม่รวมถึงมุ้ง ที่เราปิดมุ้งทั้งหมดในอาคารจากเดิมไม่มีมุ้ง ที่มากางมุ้งเพราะเรามารู้จากฐานผลิตที่รัสเซียว่า ยุงคือตัวที่ทำให้เกิด ASF จากยุงไปกัดหมูป่า แล้วก็มากัดหมูในเมืองที่รัสเซีย เราก็เลยทำมุ้งมา 2 ปีกว่าแล้ว และตอนนี้มุ้งไม่พอ จะต้องติดกล้องที่ซูมได้ให้ครอบคลุม 5,000 จุด ไม่ให้คนเข้าไป ให้ดูจากมือถือเอาว่าหมูป่วยหรือไม่ ถ้าไม่ป่วยก็อย่าเอาคนเข้าไปนี่เป็นระบบเทคโนโลยี ซึ่งถ้ารวมระบบ biosecurity จะยิ่งกว่านี้ เพราะเป็นระบบพื้นฐาน นอกจากนี้ แยกโซนพื้นที่ วิธีการทำคือคุณใส่เสื้อคนละสี ถ้าใครอยู่โซนนี้ ทำหน้าที่ตรงจุดนี้ ให้ใส่เสื้อสีนี้ ห้ามข้ามโซน คุมการระบาดได้ง่าย ถ้าสมมุติว่ามีเชื้อ จะทำให้เราก็รู้ได้เร็วว่ามาจากโซนไหน ระบบเหมือนโควิดเลยถ้าไปโรงเชือดรวม ทุกฟาร์มรวมกันติดต่อกันได้ เราต้องทำความสะอาดทั้งหมด ส่วนเพิร์สโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นทุกคนรู้วิธีป้องกัน เผอิญธุรกิจหมูในไทยต่างจากจีน เพราะเป็นธุรกิจที่มีรายใหญ่และรายกลางเยอะ รายย่อยไม่เยอะ รายกลางก็หลายร้อยล้านเป็นมูลค่าหลายร้อยล้าน นอกจากนี้ เรามีผู้เลี้ยงที่เป็นลูกค้าของเรา ซื้ออาหารของเราแล้วไปเลี้ยงเอง พวกรายกลาง เราก็บอกเขาป้องกันให้ความรู้หมดทุกคน แต่นี้ประมาณ 15% ของตลาดที่อาจจะซื้อลูกหมูของเราไป แล้วไปเลี้ยงเอง แล้วไปขายข้างนอก ก็โดนไม่เยอะ เพราะก็แบ่งความรู้ให้ มีสัตวแพทย์ที่ดูแลฟาร์มเราไปช่วยเขา Q : ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่ม เพิ่มแต่มันคุ้มกับการลงทุน เพราะสามารถลดเวลาของสัตวแพทย์ ซึ่งจะไปเข้าฟาร์มเฉพาะที่มีปัญหา Q : อนาคตสู่คอมพาร์ตเมนต์ ตอนนี้ทุกคนไม่ใช่เฉพาะเราก็ขยายหมด ปรับปรุงการเลี้ยง ทุกคนพยายามวิ่งไปสู่คอมพาร์ตเมนต์ แต่วิธีการจัดฟาร์มของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันเท่าไร ฉะนั้น เวลาเราทำฟาร์มหมู เราก็เช่าด้วย เช่าส่วนหนึ่ง ทำเองส่วนหนึ่ง เช่า คือ จ้างเลี้ยงส่วนหนึ่ง เช่าที่เช่าทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ระบบการดูแลเหมือนโควิดเลย เพียงแต่เชื้ออาจจะแรงกว่าโควิด Q : อนาคตโครงสร้างธุรกิจหมู-หมูแผงลอย หมูห้องแถว ฟาร์มย่อย ๆ หรือโรงชำแหละที่ไม่ได้มาตรฐาน สมมุติกินไก่และหมู 1 กก.เท่ากัน ขายหมูได้เกือบสองร้อยบาท ขายไก่ได้แค่ห้าสิบบาท ถ้ากำไรเท่ากัน หมูก็เยอะกว่า ฉะนั้น คนจึงหันมาทำหมู ซีพีเอฟทำดีที่สุด ในเชิงคุณภาพ “เราไม่ห่วงเรื่องการแข่งขันรายย่อย-รายใหญ่ เราก็เน้นของคุณภาพไปเรื่อย ๆ ผมเชื่อว่าอย่างไรก็ตาม ในอนาคตธุรกิจหมูรายย่อยไม่หายไป เกษตรกรในฟาร์มไม่ได้กระจอก เขาเป็นเจ้าของพื้นที่”

ไขรหัส CPF บุกตลาดหมูจีน ฝ่าวงล้อม “อหิวาต์แอฟริกัน” Read More »

CPF feed point

CPF FEED POINT FU

ธุรกิจอาหารสัตว์บกดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 60 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 ภายใต้วิสัยทัศน์ “บริการแบบครบวงจร เพื่อสร้างความสำเร็จธุรกิจฟาร์ม” ด้วยพันธุ์สัตว์และอาหารสัตว์คุณภาพดี บริการวิชาการ และเทคโนโลยีจัดการฟาร์ม รวมถึงบริการตลาดรับซื้อผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างความสำเร็จในธุรกิจฟาร์มสุกร สัตว์ปีก ไก่ไข่ เป็ดไข่ ไก่พื้นเมือง และธุรกิจโค ตลอดจนธุรกิจร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ในวันนี้ ธุรกิจอาหารสัตว์บก มีความมุ่งมั่นที่จะส่งมอบคุณค่าทั้งในแง่คุณประโยชน์และสิทธิประโยชน์ต่างๆถึงมือลูกค้าเกษตรกรทุกคน ผ่านเครือข่ายร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศ เราจึงตั้งใจทำระบบสะสมแต้ม CPF Feed Point นี้ขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่า ลูกค้าที่ซื้ออาหารสัตว์ของเราทุกถุงได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่า โดยสามารถสะสมคะแนนได้จากการสั่งซื้ออาหารสัตว์ผ่านทางออนไลน์ และคะแนนที่ได้นี้ ยังนำไปใช้แลกของรางวัลได้มากมายและนี่คือส่วนหนึ่งของความตั้งใจของเรา ธุรกิจอาหารสัตว์บก ที่จะดูแลลูกค้าทุกคนอย่างดีที่สุด สั่งซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ เสียงจากลูกค้าของเรา ” มองว่าเป็นโอกาสในการขาย เพราะโลกปัจจุบันถูก Disturb ทางเทคโนโลยีแล้ว ” คุณสุธี ลักษณ์ธนากุล ร้านเชียงใหม่ธนากุล จ.เชียงใหม่ ” ลูกค้าที่ซื้ออาหารสัตว์ของร้านจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่า โดยสามารถสะสมคะแนนได้จากการสั่งซื้ออาหารสัตว์ผ่านทางออนไลน์ ” คุณปองธรรม เสรีวิชยสวัสดิ์ ร้านแต้ซ่งกวง จ.เชียงราย

CPF FEED POINT FU Read More »

CPF FEED POINT

Previous slide Next slide วิธีการสะสมแต้ม สอบถามข้อมูลผ่านไลน์ สอบถามข้อมูลผ่านข้อความ เสียงจากลูกค้าของเรา ” มองว่าเป็นโอกาสในการขาย เพราะโลกปัจจุบันถูก Disrupt ทางเทคโนโลยีแล้ว ” คุณสุธี ลักษณ์ธนากุล ร้านเชียงใหม่ธนากุล จ.เชียงใหม่ ” ลูกค้าที่ซื้ออาหารสัตว์ของร้านจะได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่า โดยสามารถสะสมคะแนนได้จากการสั่งซื้ออาหารสัตว์ผ่านทางออนไลน์ ” คุณปองธรรม เสรีวิชยสวัสดิ์ ร้านแต้ซ่งกวง จ.เชียงราย

CPF FEED POINT Read More »

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทยบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย “โครงการสี่ประสาน สร้างความยั่งยืนโคนมไทย” มุ่งเป้าพัฒนาฟาร์มต้นน้ำโคนมไทย พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้กับทั้งสหกรณ์โคนม-ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และเกษตรกรโคนม ดันมาตรฐานการจัดการโคนม ได้น้ำนมคุณภาพสูง สร้างผลกำไรสูงสุด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรโคนมสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน​นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทนผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า อ.ส.ค. มีภารกิจที่ต้องการยกระดับความสามารถเกษตรกรโคนมไทยให้ดำรงอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้นการที่มีภาคเอกชนมาร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โดยเฉพาะความร่วมมือจาก ซีพีเอฟ ที่เป็นผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ที่มุ่งพัฒนาอาหารสัตว์บกคุณภาพสูงเพื่อเกษตรกรมาโดยตลอด ขณะที่ อ.ส.ค. เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนม เป็นผู้รับซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมคุณภาพ การผนึกกำลังอย่างเข้มแข็งทำให้มีผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่น่าพอใจ“โครงการนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือที่จะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และอุตสาหกรรมนมไทย โดยที่ผ่านมามี 5 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ที่ได้ร่วมมือกับซีพีเอฟในการพัฒนาตลอดกระบวนการผลิตน้ำนมให้มีมาตรฐาน ส่งผลให้ตัวชี้วัดด้านคุณภาพและประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้น ทั้งค่าองค์ประกอบน้ำนม ผลผลิต ประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนม รวมถึงด้านความสะอาดของน้ำนม และตั้งเป้าว่าต้องมีค่าโซมาติกเซลล์ (ค่า SCC) ไม่เกิน 500,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามเกณฑ์การรับซื้อน้ำนมดิบตามข้อกำหนดของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม” นายสุชาติ กล่าวด้าน นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงและการจัดการโคนมมานานกว่า 30 ปี โดยมีฟาร์มวิจัยและพัฒนาด้านโคนมของซีพีเอฟทั้ง 4 แห่งทั่วประเทศ ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรคน เครื่องมือ และเทคโนโลยีทันสมัย ที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงโคนม เพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาการจัดการด้านการเลี้ยงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยซีพีเอฟได้เริ่มต้นความร่วมมือพัฒนาศูนย์นมและเกษตรกรโคนมในเครือข่ายของ อ.ส.ค. รวม 5 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ได้แก่ สหกรณ์โคนมกระนวนสามัคคี, สหกรณ์โคนมน้ำพอง จ.ขอนแก่น, สหกรณ์โคนมหนองวัวซอ จ.อุดรธานี, สหกรณ์โคนมแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ และสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คลำพญากลาง จ.สระบุรี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา“ซีพีเอฟ และ อ.ส.ค. มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนมไทยทั้งห่วงโซ่ จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น และยังร่วมกันตั้งเป้าหมายในการขยายโครงการฯ ไปอีก 7 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบทั่วประเทศ ภายในปีนี้ คาดว่าจะมีประชากรโคนม มากกว่า 12,000 ตัว มุ่งเป้าสู่ “การเกษตรแบบแม่นยำ” ด้วยการเก็บข้อมูลบันทึกการเลี้ยง สำหรับนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และสามารถวัดผลได้ พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และมาตรฐานของซีพีเอฟสู่เกษตรกรโคนม มุ่งเน้นให้คนเลี้ยงโคนมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนร่วมกันสร้างผลผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย สู่ผู้บริโภค” นายเรวัติกล่าว  

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน กลับมาเจอกันอีกครั้งกับรวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 ตอนนี้ถือว่าเป็นตอนพิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยบทความที่ผ่านมาจะกล่าวถึงการป้องกันและควบคุมโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่บทความนี้จะเล่าประสบการณ์ของฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศหนึ่ง ขนาด 164 แม่ และ 300 แม่ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เป็นปกติมาถึง 60 วันและมากกว่า 1 ปีตามลำดับ ในขณะที่ฟาร์มรอบข้างในรัศมีไม่เกิน 170 ถึง 650 เมตร หมูทั้งหมดถูกทำลายไปมากกว่า 3,000 ตัว ตามมาตรการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด  ซึ่งฟาร์มทั้งสองแห่งนี้ใช้ระบบการเลี้ยงแบบโรงเรือนปิดหรือที่เรียกว่าโรงเรือนอีแว๊ป และนั้นดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในคนในปัจจุบันเพราะเปรียบเสมือนมีโควิด 19 เกิดขึ้นที่ปากซอยหน้าบ้านเลยที่เดียว เรามาติดตามกันดูนะว่าเกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นรอดพ้นภัยร้ายครั้งนี้มาได้อย่างไร เริ่มต้นจากทีมสัตวแพทย์​และผู้ดูแลโครงการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู​ แจ้งสถานการณ์​ความเสี่ยงให้เกษตรกรทราบ เพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ปฏิบัติ​ตามข้อแนะนำการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด​ และมีทีมงานตรวจติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด​ โดยไม่เข้าไปในเขตฟาร์ม​ของเกษตรกร ความร่วมมือแรกที่ขอจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูคือ การให้คนงานในฟาร์มพักในที่พักของฟาร์มเท่านั้นยกเว้นกรณีจำเป็นต้องออกไปภายนอกก็จะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันการนำเชื้อโรคกลับเข้ามาในฟาร์ม โดยพนักงานเลี้ยงหมูทุกคนก่อนเข้าปฏิบัติงานในเล้าหมู ต้องถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใช้ภายนอกฟาร์มออก แล้วอาบน้ำและเปลี่ยนชุดก่อนเสมอ และใช้รองเท้าบู้ทเฉพาะที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้นโดยก่อนเข้าฟาร์มต้องจุ่มรองเท้าบู้ทในน้ำย่าเชื้อ 2 ครั้ง ที่หน้าห้องอาบน้ำและครั้งที่ 2 ที่ประตูเล้าก่อนเข้าเล้าหมู เกษตรกรเจ้าของฟาร์มจะเป็นผู้ออกไปภายนอกเพื่อซื้อของกินของใช้มาให้พนักงานในฟาร์มและอนุญาตให้ซื้อของเฉพาะของจากร้านค้าที่สะอาด ถูกหลักอนามัย เท่านั้น เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคจากพื้นที่เสี่ยง และห้ามซื้อเนื้อสัตว์กีบ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เข้ามาประกอบอาหารในฟาร์ม รวมถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปที่เกี่ยวข้องด้วย และเพื่อป้องกันคนภายนอกเข้ามาในเขตฟาร์ม ทางฟาร์มจะต้องปิดล๊อคประตูรั้วฟาร์มอยู่ตลอดเวลา  และทำการแบ่งเขตพื้นที่เลี้ยงหมูและที่พักอาศัยของคนงานออกจากกันให้ชัดเจน โดยทำแนวเขตด้วยรั้วสำรอง โดยใช้ห้องอาบน้ำก่อนเข้าเล้าหมูเป็นแนวเขตแบ่งพื้นที่ภายนอกและภายในฟาร์มที่เป็นเขตเลี้ยงหมู การส่งอาหารถุงมาใช้ที่ฟาร์มจะกำหนดให้มาส่งเพียงเดือนละครั้ง โดยกำหนดจุดโกดังวางอาหารให้ไว้ให้อย่างชัดเจน โดยก่อนรถขนส่งอาหารถุงมาถึง พนักงานในเล้าหมูจะต้องมาขนอาหารชุดเดิมเข้าไปไว้ในเล้าหมูก่อนอาหารชุดใหม่จะมาลงที่โกดัง เพื่อป้องกันการสัมผัสกันของพนักงานในเล้าหมูกับพนักงานขนส่งอาหาร และเมื่ออาหารชุดใหม่ถูกส่งมาถึงจะต้องวางพักไว้ 24 ชั่วโมงก่อนอนุญาตให้พนักงานเล้าหมูมานำไปใช้เลี้ยงหมู และจะกำหนดเส้นทางการขนส่งสำหรับรถทุกคันที่จำเป็นจะเข้ามาที่ฟาร์ม เช่น รถอาหารสัตว์ รถรับลูกหมูหย่านม จะต้องไม่ผ่านพื้นที่หรือเส้นทางที่เสี่ยงต่อโรค เช่น เส้นทางที่มีเล้าหมูที่เป็นโรคหรือเป็นเส้นทางที่เป็นจุดฝังทำลายหมูติดเชื้อ เป็นต้น และเมื่อรถทุกชนิดมาถึงที่ฟาร์มก็จะถูกพ่นยาฆ่าเชื้อที่ประตูฟาร์มก่อนเข้าไปในเขตฟาร์มเสมอ และรถที่ไม่จำเป็นจะกำหนดให้จอดด้านนอกประตู ไม่อนุญาตให้ขับเข้าไปจอดในเขตฟาร์ม และการหย่านมลูกหมูจากเล้านี้จะทำเพียงเดือนละครั้ง เพราะทำระบบการผสมแบบเป็นชุด หรือที่เรียกว่าระบบ Batch มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยลูกหมูจะถูกหย่านมเพื่อลงเลี้ยงในพื้นที่ที่เป็นเขตเดียวกัน และจะมีโปรแกรมตรวจสอบภาวะปลอดโรคที่ฟาร์มปลายทางช่วง 7 และ 45 วันหลังรับเข้า โดยสุ่มเก็บเลือดหมูและน้ำลาย หรือการสวอปพื้นคอก โดยระหว่างที่รอเก็บตัวอย่างส่งตรวจตามโปรแกรม คนงานจะต้องคอยตรวจสอบสุขภาพสุกรตลอดเวลา หากพบอาการผิดปกติ เช่น ไม่กินอาหาร นอนซึม ให้แจ้งหัวหน้าผู้ที่รับผิดชอบดูแลทันที เพื่อเก็บตัวอย่างประเมินสภาวะการติดเชื้อโดยเร็ว และในช่วงที่พื้นที่นั้นยังมีข่าวการระบาดของโรคอยู่ในช่วง 30 วันแรก ก็จะหยุดผสมพันธุ์แม่หมู เมื่อผ่านช่วงที่มีความเสี่ยงและปรับปรุงระบบป้องกันโรคของฟาร์มจนมีความพร้อมที่สุดแล้ว ถึงจะเริ่มกลับมาผสมพันธุ์ตามปกติ นอกจากนี้ ยังได้กำหนดให้ฟาร์มเกษตรกรหยุดการขายแม่หมูคัดทิ้ง และหยุดการทดแทนหมูพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์เข้าฟาร์ม จนกว่าจะไม่มีรายงานการเกิดโรคในพื้นที่เป็นเวลา 60 วัน นอกจากนี้ยังต้องลดการสัมผัสกับบุคคลภายนอกโดยหยุดขายมูลสุกรออกจากฟาร์ม ในส่วนของการป้องกันสัตว์พาหะก็เป็นประเด็นสำคัญ โดยเฉพาะแมลงวันที่มีรายงานยืนยันชัดเจนว่าสามารถแพร่เชื้อโรค ASF ได้ จากการที่ได้สุ่มจับแมลงวันในพื้นที่เสี่ยงโรคมาตรวจ ดังนั้นเพื่อควบคุมแมลงวัน เกษตรกรจึงต้องปิดโรคเรือนให้มิดชิด และมีมุ้งเขียวป้องกันเพิ่มเติมส่วนที่เป็นเยื่อกระดาษหน้าเล้าหมู และประตูทางเข้า นอกจากนั้นยังต้องวางกาวดักจับแมลงวันรอบ ๆ เล้าหมูเพื่อป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปในโรงเรือน นอกจากนี้ทางฟาร์มยังได้ป้องกันสัตว์พาหะอื่นๆ ร่วมด้วย โดยการวางยาพิษเบื่อหนู และกาวดักหนู รอบ ๆ เล้าหมู และปรับปรุงรั้วฟาร์มให้สามารถป้องกัน หมา และแมวได้ ในประเด็นเรื่องน้ำ เป็นความโชคดีที่ทางฟาร์มใช้น้ำบาดาลสำหรับการเลี้ยงหมูอยู่แล้วจึงลดความเสี่ยงการติดเชื้อผ่านทางน้ำ สำหรับฟาร์มที่ยังใช้น้ำผิวดินอยู่ควรเตรียมมาตรการหากโรคเข้ามาใกล้พื้นที่ ควรงดใช้น้ำผิวดินเพื่อการเลี้ยงหมูโดยเด็ดขาด และที่สำคัญทางฟาร์มได้จัดทำบ่อทิ้งซากไว้ในฟาร์มอยู่แล้ว โดยจะไม่นำหมูตายออกออกนอกพื้นที่ฟาร์มหมูโดยเด็ดขาด นอกจากนั้นเพื่อติดตามการปฏิบัติว่าเป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้หรือไม่ ทางผู้ดูแลโครงการได้ติดตั้ง CCTV ไว้ 3 จุด บริเวณหน้าฟาร์ม ด้านหน้าห้องอาบน้ำ และภายในเล้าหมู เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวังด้านการป้องกันโรคตลอด 24 ชั่วโมง และเพื่อความสะดวกในการติดตามสุขภาพหมูภายในโรงเรือนโดยสัตวแพทย์และสัตวบาล โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือนเพื่อป้องกันโรคการนำเชื้อโรคเข้าไปในฟาร์มหมู และป้องกันไม่ให้โรคปนเปื้อนไปกับผู้ปฏิบัติงานไปยังฟาร์มหมูอื่น ๆ ในส่วนการประเมินติดตามซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ทีมสัตวแพทย์ที่ดูแลได้กำหนดมาตรการให้ใหม่ทันทีเป็นกรณีพิเศษ เริ่มจากโปรแกรมตรวจหาโรค โดยหากพบหมูในเล้ามีอาหารผิดปกติ จะเก็บตัวอย่างเลือดหรือน้ำลายหมูเหล่านั้นเพื่อตรวจสอบโรคทันที โดยสัตวแพทย์หรือสัตวบาลที่รับผิดชอบ จากจากนี้ยังมีโปรแกรมตรวจประเมินติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการเก็บตัวอย่างง่ายๆที่ทำได้โดยเกษตรกรหรือคนเลี้ยงประจำเล้า โดยการสวอปน้ำลายโดยใช้ผ้าก๊อซป้ายน้ำลายแม่สุกร​ 5 ตัว และป้ายพื้นเล้าคลอด 5 คอก​ ทุกสัปดาห์​ในช่วงเดือนที่แรกที่มีข่าวโรคระบาดรอบ ๆ ฟาร์ม และหลังจากนั้น​ เดือนที่สอง จะเก็บตัวอย่างแบบเดิมทุก 2 สัปดาห์ และในเดือนต่อมาจะเก็บตัวอย่างติดตามทุกเดือน หากไม่พบอาการผิดปกติสัตวแพทย์หรือสัตวบาลไม่ควรเข้าไปเก็บตัวอย่างด้วยตัวเอง เพราะอาจจะนำโรคเข้าฟาร์มหรือนำโรคจากฟาร์มที่เสี่ยงสูงแพร่ไปยังจุดอื่นได้ และก่อนหย่านมลูกสุกรก็จะเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจสอบ โดยเก็บตัวอย่างเลือดแม่สุกรเล้าคลอดจำนวน 15 ตัวอย่าง และสวอบเล้าคลอด 3 ตัวอย่าง โดยที่ผ่านมาทุกตัวอย่างให้ผลลบต่อการตรวจ และหมูในฟาร์มก็ยังมีสุขภาพที่ดีและปลอดจากโรค จนถึงปัจจุบันเป็นเวลามากกว่า 2 เดือน จากสถานการณ์ที่กล่าวมานี้ เป็นมาตรการการป้องกันโรคที่ได้ปฏิบัติจริง ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงมาก แต่ฟาร์มหมูที่ปฏิบัติอย่างจริงจังก็สามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติโรคร้ายแรงนี้มาได้ และฟาร์มที่กล่าวมานี้ก็เป็นเกษตรกรผู้เลียงหมู ถ้าสังเกตมาตรการที่กำหนดให้จะเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงโดยทั่วไปทราบดีอยู่แล้ว ไม่ได้มีมาตรการอะไรแปลกใหม่เลย จุดสำคัญอยู่ที่การปฏิบัติอย่างจริงจังตามมาตรการเท่านั้นเอง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงหมูแบบเล้าเปิด มาตรการข้างต้นอาจจะปฏิบัติไม่ได้ครบทุกข้อ โดยเฉพาะเรื่องสัตว์พาหะ แต่ก็ไม่แน่ว่า หากปฏิบัติข้ออื่น ๆ ให้ได้เต็มที่ ก็อาจจะรอดจากการติดโรคได้เหมือนกัน หรืออย่างน้อยก็อาจจะยืดระยะเวลาให้ได้นานเพียงพอที่จะขายหมูที่ยังปกติออกให้หมดก่อนที่โรคจะมาถึง ดังมาตรการที่ได้กล่าวไว้เมื่อตอนที่ 3  ที่ผ่านมา ทั้งหมดที่กล่าวมาถือเป็นตัวอย่างหรือแนวทางหนึ่งที่อาจจะนำไปปรับปรุงเพิ่มเติม ตามหน้างานของแต่ละฟาร์มได้ หวังว่าผู้เลี้ยงหมูทุกท่านคงพอได้แนวทางเพื่อนำไปป้องกันฟาร์มของท่านให้รอดพ้นจากภัยร้ายในครั้งนี้   น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพีเอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน) อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ   Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)