Logo-CPF-small-65png

ข่าวสารทั่วไป

ซีพี-ซีพีเอฟ ร้อยเรียงความดีผนึกกำลัง มทบ.37 ส่งมอบวัตถุดิบบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงราย

     27 มิถุนายน 2568 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (ซีพีเอฟ) เดินหน้าสานต่อพันธกิจเพื่อสังคม ร้อยเรียงความดี สู้ส่งมอบวัตถุดิบคุณภาพดีสำหรับการประกอบอาหาร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนชาวจังหวัดเชียงรายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน โดยมี ร้อยเอกธวัช ขันคำ ผู้แทนจากมณฑลทหารบกที่ 37 และนายฐิติพันธ์ เข็มขาว นายกองค์การบริหารส่วนส่วนตำบลแม่เปา ได้ร่วมรับมอบวัตถุดิบซีพี อาทิ ไข่ไก่สด เนื้อไก่ และน้ำดื่ม จากนางศิริลักษณ์ บ่อสร้าง ผู้จัดการฝ่าย ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และนายวรพล ด้วงชมภู เจ้าหน้าที่ขายอาวุโส บริษัท ชี พี เอฟ โกลบอลฟู้ดโซลูชั่นจำกัด มหาชน ผู้แทนจากกลุ่มบริษัทในเครือซีพีเอฟ โดยวัตถุดิบเหล่านี้จะถูกนำไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่อำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีครัวเรือนผู้ประสบภัยกว่า 3,000 ครัวเรือน โดยมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยมณฑลทหารบกที่ 37 กองทัพบก ได้จัดกำลังพลทหารเป็นกำลังสำคัญในการกระจายอาหารและสิ่งของจำเป็นไปยังผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดเชียงราย จากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดเชียงรายเกิดขึ้นจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่องตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนใน 8 หมู่บ้านของตำบลแม่เปา อำเภอพญาเม็งราย ได้แก่ หมู่ 1, 12, 3, 16, 20, 14, 2 และ 6 นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อถนนและพื้นที่การเกษตรเป็นวงกว้าง เครือซีพีและกลุ่มธุรกิจในเครือยังคงให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัด รวมถึงสนับสนุนกองบัญชาการทัพไทยในการปฏิบัติภารกิจบรรเทาความเดือดร้อน จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

ซีพี-ซีพีเอฟ ร้อยเรียงความดีผนึกกำลัง มทบ.37 ส่งมอบวัตถุดิบบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.เชียงราย Read More »

ไข่ไก่…บทเรียนนอกตำราของเด็กๆ รร.บ้านร้านตัดผม จ.ชุมพร

ไข่ไก่…บทเรียนนอกตำราของเด็กๆ รร.บ้านร้านตัดผม จ.ชุมพร   เช้าๆ ที่โรงเรียนบ้านร้านตัดผม อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ไม่ได้เริ่มต้นแค่ด้วยเสียงสวัสดีคุณครูหรือท่องสูตรคูณ แต่เต็มไปด้วยเสียงเจี๊ยวจ๊าวของเด็กๆ ที่รีบวิ่งไปยังโรงเรือนไก่ไข่…เพราะที่นี่ ไข่ไก่ไม่ใช่แค่ของกินบนจานอาหารกลางวัน แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ที่สอน เป็นบทเรียนนอกตำรา ที่ทำให้รู้จักความรับผิดชอบ การทำงานเป็นทีม และลงมือทำจริงตั้งแต่ยังเด็ก “น้องปันปัน-กิตติพัศ ถิ่นวงค์เกลอ” นักเรียนชั้น ป.6 กับเพื่อนๆ นัดรวมตัวกันที่โรงเรือนไก่ไข่ในทุกๆเช้า ก่อนเวลาเข้าแถวเคารพธงชาติ เพื่อมาให้อาหารแม่ไก่ไข่ที่กำลังรอคอยพวกเขาอยู่  นี่ไม่ใช่แค่กิจกรรมพิเศษ แต่เป็นภารกิจประจำวันของชุมนุม “เลี้ยงไก่ไข่” ที่น้องปันปัน และเพื่อนๆ ป.4-6 ทั้ง 15 คน ช่วยกันดูแลอย่างตั้งใจ ก่อนหน้านี้ โรงเรียนบ้านร้านตัดผมมีเพียงแปลงผักและโรงเพาะเห็ดเล็กๆ ต้องซื้อไข่และเนื้อสัตว์จากตลาดเพื่อ  ทำอาหารกลางวันให้นักเรียนกว่า 550 คน แต่ตั้งแต่ปี 2565 ทุกอย่างเปลี่ยนไป โครงการ “เลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวัน” ของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทและซีพีเอฟ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตโรงเรียน ที่มาพร้อมกับโรงเรือนไก่ใหม่เอี่ยม แม่ไก่สาว 150 ตัว และอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ 1 รุ่น  น้องปันปัน เล่าว่า ไก่พวกนี้กินอาหารแค่วันละมื้อเดียว…แต่มื้อนี้สำคัญมาก ต้องคำนวณปริมาณอาหารเป๊ะๆ ตามจำนวนตัวแม่ไก่ ให้อาหารกระจายทั่วถึงทุกตัว พร้อมกับเช็คระบบน้ำให้ไหลดีไม่ขาดหยด และต้องไม่ลืมเปิดพัดลมระบายอากาศให้ไก่ “ตอนแรกเรากลัวไก่ ไม่กล้าจับเลย” น้องปันปัน สารภาพพร้อมหัวเราะ “แต่พี่ๆ ซีพีเอฟมาสอนละเอียดมากๆ จนตอนนี้จับไม่กลัวแล้วและยังอยากมาดูแลไก่ทุกๆวัน”  ผลจากความตั้งใจของชุมนุมเลี้ยงไก่ไข่ ทำให้ทุกวันโรงเรียนมีไข่สดๆ วันละ 120-130 ฟอง ส่งตรงเข้าโรงครัวสำหรับทำเมนูไข่อร่อยๆ อย่าง “ไข่พะโล้” ที่เป็นของโปรดของเด็กทั้งโรงเรียน ไม่เพียงแค่ได้ไข่กินเอง เด็กๆ ยังช่วยกันจัดการมูลไก่ นำไปตากแห้งเป็นปุ๋ยใช้ในสวนปาล์ม 300 ต้นของโรงเรียน และใช้กับแปลงผักปลอดสารที่ปลูกไว้สำหรับทำอาหารกลางวันอีกด้วย  “น้องแอม – จิรัชญา แก้วกอง” เพื่อนร่วมชั้นของน้องปันปัน บอกว่า “หนูชอบทำบัญชี บันทึกจำนวนไข่ นับเงินรายได้ เพราะไข่ที่เหลือเรานำไปขายให้ผู้ปกครอง ในราคาประหยัดช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ตอนนี้มีเงินเก็บของโครงการถึง 150,000 บาทแล้ว จะได้มีทุนเลี้ยงไก่รุ่นต่อไป “หนูดีใจมากที่ได้มาดูแลแม่ไก่ ทำให้ทุกคนมีไข่ไก่ทานทุกวัน แถมโรงเรียนเรายังเปิดเป็น “ศูนย์เรียนรู้” ให้ผู้ปกครองและชาวบ้านมาเยี่ยมชมได้ พ่อแม่ผมก็เคยมาดู บอกว่าภูมิใจที่ลูกชายช่วยเลี้ยงไก่เก่งแบบนี้” น้องแอม บอกด้วยรอยยิ้ม สิ่งที่เด็กๆ ได้รับไม่ใช่แค่ไข่ไก่หรือเงินทุนเท่านั้น แต่ยังได้ฝึกทำงานเป็นทีม ฝึกคิดเลข จดบันทึก และเรียนรู้ระบบการเลี้ยงสัตว์อย่างมืออาชีพ เหมือนเจ้าของฟาร์มตัวน้อยๆ น้องปันปันและเพื่อนๆ อาจไม่รู้ว่า ตอนนี้มีโรงเรียนทั่วประเทศถึง 988 แห่ง ที่เข้าร่วมโครงการเดียวกัน มีนักเรียนกว่า 223,000 คน ได้ประโยชน์เหมือนกัน และภายในปี 2568 จะเพิ่มเป็น 1,018 โรงเรียนอีกด้วย สำหรับโรงเรียนไหนที่อยากมีฟาร์มไข่สดเหมือนบ้านร้านตัดผม ก็สามารถติดต่อมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท โทร. 063-871-6545 หรือ 092-870-0783  ไข่ไก่ฟองเล็กๆ ที่ออกมาจากฟาร์มของเด็กๆ โรงเรียนบ้านร้านตัดผม ไม่ใช่แค่ “อาหารกลางวัน” แต่ยังเป็นบทเรียนชีวิตที่สอนให้พวกเขารู้จักความรับผิดชอบ การวางแผน และการพึ่งพาตนเองไปพร้อมๆ กัน../  

ไข่ไก่…บทเรียนนอกตำราของเด็กๆ รร.บ้านร้านตัดผม จ.ชุมพร Read More »

เคล็ดไม่ลับ! ทำไมฟาร์มรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคน

ในยุคที่แรงงานขาดแคลน ค่าแรงเพิ่มขึ้น และคนรุ่นใหม่หันหลังให้กับอาชีพการเกษตร ฟาร์มแบบดั้งเดิมกำลังเผชิญความท้าทายครั้งใหญ่ คำถามสำคัญคือ…ฟาร์มยุคใหม่จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร? คำตอบคือ: ใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำงานแทนแรงงานคน ในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับเหตุผลว่าทำไมฟาร์มยุคใหม่ทั่วโลก—including ฟาร์มสุกร, ฟาร์มไก่ไข่, และฟาร์มไก่เนื้อ—หันมาใช้ระบบอัจฉริยะและเครื่องมืออัตโนมัติเพื่อบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม แรงงานขาดแคลน ปัญหาที่แก้ได้ด้วยเทคโนโลยี ปัจจุบันเกษตรกรจำนวนมากประสบปัญหาแรงงานขาดแคลน โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะในการดูแลสัตว์ เทคโนโลยีจึงเข้ามาช่วยทดแทน ไม่ว่าจะเป็น: ระบบให้อาหารและน้ำอัตโนมัติ เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เซนเซอร์ตรวจสุขภาพสัตว์ ระบบเหล่านี้ช่วยลดความจำเป็นในการใช้แรงงานคนซ้ำ ๆ และลดข้อผิดพลาดจากมนุษย์ ทำงานแม่นยำกว่า แรงงานไม่เคยหลับ เทคโนโลยีไม่เคยเหนื่อย เครื่องจักรและระบบอัตโนมัติสามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีลาป่วย ไม่มีเหนื่อยล้า ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของฟาร์มเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหารตรงเวลา การควบคุมสภาพแวดล้อม หรือการตรวจจับพฤติกรรมสัตว์ที่ผิดปกติ ข้อมูลคืออาวุธของฟาร์มยุคใหม่ ด้วยระบบ IoT และคลาวด์ แพลตฟอร์ม Smart Farm สามารถรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์ เช่น: อัตราการกินอาหาร การเจริญเติบโตของสัตว์ การใช้พลังงานและน้ำในฟาร์ม ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์ เพิ่มกำไร ลดต้นทุน และวางแผนการขายได้แม่นยำยิ่งขึ้น ลดต้นทุนระยะยาว คืนทุนเร็ว แม้การลงทุนในเทคโนโลยีอาจดูสูงในช่วงเริ่มต้น แต่สามารถคืนทุนได้ภายใน 1-2 ปี จากการลดต้นทุนค่าแรง ค่าการสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพในการเลี้ยงสัตว์ ฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีสามารถเลี้ยงสัตว์ได้มากขึ้นในพื้นที่เดิม ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และเพิ่มผลผลิตต่อรอบ สร้างภาพลักษณ์ที่ดี และดึงดูดนักลงทุน ฟาร์มที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีแนวโน้มได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ซื้อ นักลงทุน และคู่ค้าทางธุรกิจมากกว่า ด้วยความโปร่งใสของข้อมูลและคุณภาพการจัดการ ฟาร์มแบบ Smart Farm ยังสามารถเชื่อมต่อกับระบบมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) ได้ง่ายขึ้น เสริมพลังคน ทำงานร่วมกับเทคโนโลยี ฟาร์มรุ่นใหม่ไม่ได้หมายถึงการลดจำนวนแรงงานทั้งหมด แต่หมายถึงการให้คนทำงานที่มีคุณค่ามากขึ้น เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผนธุรกิจ การดูแลสุขภาพสัตว์เชิงลึก แทนที่จะต้องใช้เวลาให้อาหารหรือทำความสะอาดโรงเรือนแบบเดิม ๆ หากคุณคือเจ้าของฟาร์มที่กำลังมองหาทางออกจากปัญหาขาดแคลนแรงงาน หรือต้องการยกระดับฟาร์มให้ทันสมัยและทำกำไรได้มากขึ้น การใช้เทคโนโลยีไม่ใช่ตัวเลือกอีกต่อไป แต่คือ “หัวใจของการอยู่รอดและเติบโต” ในยุคนี้ เริ่มต้นทีละขั้น ด้วยเครื่องมือที่เหมาะสมกับขนาดฟาร์มของคุณ แล้วคุณจะพบว่า… เทคโนโลยีไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป    

เคล็ดไม่ลับ! ทำไมฟาร์มรุ่นใหม่ใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคน Read More »

ซีพีเอฟ รับรองมาตรฐาน มอก.9999 ขับเคลื่อนธุรกิจอาหารสัตว์บกเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการองค์กรให้เติบโตควบคู่กับความยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการพัฒนาศักยภาพบุคลากรอย่างสมดุล ส่งผลให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้าน นายจงรักษ์ โรจน์พลาเสถียร ผู้อำนวยการสถาบันรับรองไอเอสโอ (สรอ.) มอบประกาศนียบัตรรับรองมาตรฐาน มอก.9999 ให้แก่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ ภายในงาน “น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง สู่มาตรฐานแห่งความยั่งยืน มอก.9999” จัดขึ้น ณ อาคารทรู ดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพฯ นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า บริษัทได้นำหลักคิด “3 ห่วง 2 เงื่อนไข” ซึ่งเป็นหัวใจของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดย “3 ห่วง” คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน ส่วน “2 เงื่อนไข” คือ ความรู้ และคุณธรร โดยธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟนำหลักคิดนี้ไปใช้จริงในโรงงานผลิตทั้ง 12 แห่งทั่วประเทศ ครอบคลุมตั้งแต่การวางแผน การผลิต การพัฒนาคน เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับหลัก “3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน” ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย หนึ่งในตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเชื่อมโยงปรัชญาดังกล่าวกับชีวิตพนักงาน คือโครงการ “ปลดหนี้สร้างสุขและส่งเสริมการออม” ที่สะท้อนอย่างชัดเจนถึงหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยโครงการฯนี้ช่วยพนักงานที่มีภาระหนี้ดอกเบี้ยสูงให้เข้าถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ควบคู่ไปกับการให้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถลดภาระหนี้ มีสภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น เกิดความสุขในชีวิต ต่อเนื่องไปถึงความสุขในการทำงาน รวมถึงสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว ซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กรในภาพรวม นอกจากนี้ ทุกกลุ่มธุรกิจของซีพีเอฟ ดำเนินงานตามระบบบริหาร “ซีพีสู่ความเป็นเลิศ” (CP Excellence: CPEX) ซึ่งเป็นระบบบริหารที่เครือเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาขึ้นจากเกณฑ์การประเมินคุณภาพระดับชาติ เพื่อบูรณาการแนวทางการบริหารจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ เชื่อมโยงกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้บุคลากรมีความเข้าใจและดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน ช่วยให้ธุรกิจมีศักยภาพในการแข่งขันระดับสากลและเติบโตอย่างยั่งยืน “ซีพีเอฟเชื่อมั่นว่า การนำมาตรฐาน มอก.9999 มาใช้ จะช่วยให้ธุรกิจของเราดำเนินงานอย่างเหมาะสม ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป มีเหตุผลในการตัดสินใจ และจะใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นหลักในการบริหารจัดการ เพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคง” นายเรวัติกล่าวเพิ่มเติม

ซีพีเอฟ รับรองมาตรฐาน มอก.9999 ขับเคลื่อนธุรกิจอาหารสัตว์บกเติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง Read More »

กรมปศุสัตว์บุกตรวจห้องเย็น พบซากหมูไร้ที่มา กว่า 500 กก.

   อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสารวัตรและกักกัน จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พบสินค้าบางส่วนไม่สามารถแสดงเอกสารแหล่งที่มาหรือใบเคลื่อนย้ายได้ เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายัดสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 15 วัน หากภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของสินค้าไม่สามารถนำเอกสารแสดงแหล่งที่มา หรือใบเคลื่อนย้ายมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ จะดำเนินการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558    นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว​ว่า ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสารวัตรและกักกัน จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งห้องเย็นดังกล่าวมีความจุห้องละ 300 ตันรวมทั้งหมด 4 ห้อง โดยปัจจุบันใช้งานอยู่เพียง 2 ห้อง ภายในมีสินค้าปศุสัตว์และอาหารแปรรูปเก็บรักษาไว้ ประกอบด้วย ซากสุกร (ชิ้นส่วน เครื่องใน คากิ) จำนวน 108,267 กิโลกรัม สินค้าประมง (ปลาทู ปูม้า) จำนวน 50,000 กิโลกรัม และสินค้าแปรรูป (ไก่ปรุงสุก) จำนวน 5,000 กิโลกรัม      จากการตรวจสอบพบว่า ส่วนใหญ่มีเอกสารใบอนุญาตค้าซากสัตว์และใบอนุญาตเคลื่อนย้ายถูกต้อง แต่พบสินค้าบางส่วน ได้แก่ ตับสุกรแช่แข็ง จำนวน 250 กิโลกรัม และสามชั้นสุกรแช่แข็ง จำนวน 262 กิโลกรัม ไม่สามารถแสดงเอกสารแหล่งที่มาหรือใบเคลื่อนย้ายได้ เพื่อควบคุมความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายัดสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 15 วัน โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเย็นเดิม หากภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของสินค้าไม่สามารถนำเอกสารแสดงแหล่งที่มา หรือใบเคลื่อนย้ายมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ จะดำเนินการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เนื่องจากจังหวัดนครปฐมอยู่ในพื้นที่ประกาศเฝ้าระวังโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย มีโทษตามมาตรา 65 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งระบุโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ     อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ รวมทั้งนายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หากพบการกระทำผิด กรมปศุสัตว์จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด หากประชาชนพบเห็นการกระทำผิดโปรดแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยสามารถแจ้งได้ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างทันท่วงที./  

กรมปศุสัตว์บุกตรวจห้องเย็น พบซากหมูไร้ที่มา กว่า 500 กก. Read More »

การใช้เทคโนโลยีในฟาร์มเลี้ยงสุกร: ก้าวสู่อนาคตการเกษตรที่ยั่งยืน

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการเกษตรก่าลังเผชิญกับความท้าทายจากการเติบโตของประชากรโลกและความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในวิธีการที่ช่วยตอบสนองความต้องการนี้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิต แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตของสัตว์ด้วย ระบบเซ็นเซอร์และ IoT (Internet of Things) เทคโนโลยี IoT มีบทบาทสำคัญในฟาร์มเลี้ยงสุกร โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์ในโรงเรือนเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ระดับก๊าซแอมโมเนีย และเสียงของสุกร ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกส่งไปยังอุปกรณ์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสุกร ระบบให้อาหารอัตโนมัติ ระบบให้อาหารอัตโนมัติช่วยลดแรงงานคนและเพิ่มความแม่นยำในการให้อาหารสุกร โดยเครื่องให้อาหารจะคำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสมตามน้ำหนักและอายุของสุกรในแต่ละกลุ่ม ทำให้สุกรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและลดการสูญเสียอาหารที่ไม่จำเป็น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Analytics) การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในฟาร์มเลี้ยงสุกรสามารถช่วยผู้เลี้ยงตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคาดการณ์โรคระบาด การวางแผนการผลิต และการปรับปรุงพันธุ์สุกร ข้อมูลเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มผลกำไรให้กับฟาร์ม การใช้หุ่นยนต์ในการทำความสะอาด หุ่นยนต์ทำความสะอาดในโรงเรือนสุกรสามารถช่วยลดภาระงานของผู้เลี้ยงและรักษาความสะอาดในฟาร์มได้อย่างสม่ำเสมอ สุขภาพของสุกรจึงดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ระบบตรวจสุขภาพสุกรด้วย AI ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฟาร์มเลี้ยงสุกรสามารถใช้กล้องและซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและสุขภาพของสุกร เช่น การตรวจจับอาการเจ็บป่วย การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือการลดน้ำหนัก เพื่อให้การรักษาและดูแลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มสุกร ลดต้นทุนและแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การป้องกันโรคภายในฟาร์มสุกร: กุญแจสู่การเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดภัยและยั่งยืน ฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งผลิตเนื้อสัตว์ที่สำคัญและจำเป็นต้องมีการจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรคต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสุกรและผลผลิต รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน ดังนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ฟาร์มสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การจัดการด้านสุขอนามัย การรักษาความสะอาดในฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การทำความสะอาดโรงเรือน สุกร และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค นอกจากนี้ การกำจัดมูลสัตว์อย่างเหมาะสมและการจัดการน้ำเสียก็ช่วยลดแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ การควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะ การจำกัดการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มช่วยลดโอกาสในการนำเชื้อโรคเข้ามา การใช้เสื้อผ้าและรองเท้าป้องกัน รวมถึงการติดตั้งจุดล้างมือและรองเท้าก่อนเข้าสู่โรงเรือน เป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฉีดวัคซีนและการจัดการทางการแพทย์ การฉีดวัคซีนเป็นมาตรการสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุกร การวางแผนการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุของสุกรและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและลดการแพร่กระจาย การควบคุมศัตรูพาหะ แมลงวัน หนู และศัตรูพาหะอื่นๆ เป็นตัวกลางในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม การติดตั้งมุ้งลวด การใช้กับดัก และการทำความสะอาดพื้นที่รอบฟาร์มอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยลดจำนวนศัตรูพาหะได้ การใช้อาหารและน้ำที่ปลอดภัย อาหารและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของสุกร การเลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพและการจัดการน้ำดื่มให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ การใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าระวัง การใช้เทคโนโลยี เช่น กล้องวงจรปิด ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสุขภาพ และการเก็บข้อมูลสุขภาพสุกรในระบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถติดตามและตรวจสอบสุขภาพของสุกรได้แบบเรียลไทม์ และจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ข้อดีของการป้องกันโรคในฟาร์มสุกร ลดความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค เพิ่มผลผลิตและลดการสูญเสีย ลดต้นทุนในการรักษาโรค สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค  

การใช้เทคโนโลยีในฟาร์มเลี้ยงสุกร: ก้าวสู่อนาคตการเกษตรที่ยั่งยืน Read More »

ซีพีเอฟ ธุรกิจอาหารัสตว์บก รับมอบฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก 523 รายการ จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก อบก.

  ซีพีเอฟ ธุรกิจอาหารัสตว์บก รับมอบฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก 523 รายการ จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก อบก. 22 มีนาคม 2567 – องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) มอบฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ให้กับผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก จากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เป็นการรับรองผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บกของบริษัท 522 รายการ และผลิตภัณฑ์ข้าวโพด 1 รายการ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัทในการลดผลกระทบจากดำเนินธุรกิจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นายฤทธิชัย ภูมิอมร ผู้อำนวยการอาวุโส กล่าวว่า ซีพีเอฟ ธุรกิจอาหารสัตว์ เราส่งเสริมการใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งไม่ตัดไม้ทำลายป่า ลดการใช้พลาสติกจากบรรจุภัณฑ์ มีการปรับเปลี่ยนรถยกจากน้ำมันเป็นไฟฟ้า นำดิจิตอล AI มาพัฒนากระบวนการเป็นโรงงานผลิตอาหารสัตว์อัจฉริยะ Smart Feedmil! ใช้พลังงานหมุนเวียนตลอดห่วงโซ่การผลิต ติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ใน โรงงานผลิตอาหารสัตว์ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเป็นผู้นำโดยเป็นโรงงานอาหารสัตว์ได้รับรอง Carbon Neutral Organization นวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์โลก นอกจากนี้ทุกโรงงานเรายังเป็นโรงงาน Green Industry ตอกย้ำความมุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ Net-zero ในปี 2050 การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ CPF Green Revenue และดำเนินกิจกรรมโครงการ Feed Sustainability in action ซึ่งตอกย้ำว่ารายได้ของบริษัทมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) เช่น ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงสนับสนุนการประเมินความยั่งยืนทางธุรกิจของดัชนีความยั่งยืนระดับโลก เช่น DJSI, MSCI และ FTSE การทำฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ช่วยให้บริษัททราบถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ของแต่ละผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักร นำไปสู่การวิจัย ให้เกิดการใช้วัตถุดิบ พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อร่วมรณรงค์ในการลดภาวะโลกร้อน” รับชมคลิป >> https://www.youtube.com/watch?v=Gog_l6gEcFs

ซีพีเอฟ ธุรกิจอาหารัสตว์บก รับมอบฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก 523 รายการ จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก อบก. Read More »

เปิดตัว “อาหารควาย” บุกตลาดควายไทยพัฒนาสู่สากล

“บิทคับ เวนเจอร์ส – เจ้าทุย – ซีพีเอฟ” จับมือเปิดตัวอาหารควายสูตรใหม่ พาควายไทยพัฒนาไปสู่ระดับสากล   เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2567 บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด ร่วมกับบริษัท เจ้าทุย จำกัด และบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ซีพีเอฟอาหารสัตว์บก) เปิดตัว “อาหารควาย อาหารข้นคุณภาพดี” อาหารสูตรใหม่สำหรับควายไทย เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูควายไทยคุณภาพดีด้วยอาหารที่มีคุณภาพและสารอาหารครบครัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าและยกระดับวงการควายไทยให้ทัดเทียมสากล พร้อมยังช่วยให้เกษตรกรชาวไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น โดยมีสมาคมอนุรักษ์พัฒนาควายไทย เกษตรกรผู้เลี้ยงควายไทย และผู้ที่สนใจ อาทิ คุณน้ำ-รพีภัทร เอกพันธ์กุล เข้าร่วม ณ นินลนีย์ฟาร์ม เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา     นางสาวเนาวรัตน์ ธรรมสวยดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิทคับ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่า “บิทคับ เวนเจอร์ส ตัดสินใจร่วมลงทุนในบริษัท เจ้าทุย จำกัด เพราะเล็งเห็นถึงโอกาสในธุรกิจควายไทยที่มีความต้องการทั้งในตลาดควายสวยงามและตลาดควายพันธุ์เนื้อ รวมไปถึงความต้องการของตลาดต่างประเทศอีกด้วย เราจึงต้องการยกระดับวงการควายไทยให้มีมาตรฐานและศักยภาพสู่ระดับสากลได้ โดยการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาใช้ในการเก็บข้อมูลประวัติพันธุ์ควายในรูปแบบ NFT Pedigree เพื่อทำให้การซื้อขายในวงการควายไทยมีการรับรองข้อมูลด้วยเทคโนโลยีที่เชื่อถือได้และไม่สามารถปลอมแปลงได้ ซึ่งนับเป็นการเพิ่มมูลค่าด้วยเทคโนโลยี แต่ในวันนี้ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ ซีพีเอฟอาหารสัตว์บก เข้ามาช่วยสนับสนุนในด้านของอาหารควายที่มีคุณภาพและเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าของควายไทยมากยิ่งขึ้น เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมกันคือการยกระดับควายไทยและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย”   นายธนบัตร ใคร่นุ่นสิงห์ ผู้ก่อตั้ง บริษัท เจ้าทุย จำกัด กล่าวว่า “เจ้าทุยเป็นการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่ที่ต้องการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพิ่มประสิทธิภาพให้กับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงควายไทย เพื่อเป็นการต่อยอดให้ควายไทยสามารถเป็นสัตว์เศรษฐกิจได้ นำไปสู่การสร้างงานสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากขึ้น ผ่านการเก็บพันธุ์ประวัติด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชนและการเก็บประวัติการรับวัคซีนของควาย โดยเฉพาะในกลุ่มของควายเนื้อที่จำเป็นจะต้องมีการเลี้ยงดูให้ได้ตามมาตรฐาน ซึ่งการเข้ามาของซีพีเอฟอาหารสัตว์บก ยิ่งช่วยเติมเต็มการพัฒนาควายไทยให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนาสูตรอาหารควายไทยที่เหมาะสำหรับควายพ่อพันธุ์ (สูตร CP Buff M) และควายแม่พันธุ์ (สูตร CP Buff F) โดยเฉพาะ สิ่งนี้จึงเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะพาวงการควายไทยให้ไปสู่ระดับโลกได้จริง”  

เปิดตัว “อาหารควาย” บุกตลาดควายไทยพัฒนาสู่สากล Read More »

“ซีพีเอฟ”ขอบคุณรัฐแก้ปัญหานำเข้ากากถั่วทันการณ์พร้อมลดราคาอาหารสัตว์

“ซีพีเอฟ”ขอบคุณรัฐบาลแก้ปัญหานำเข้ากากถั่วทันการณ์ และคงภาษีนำเข้าที่ 2% ไม่เปลี่ยนแปลง เผยพร้อมลดราคาอาหารสัตว์ช่วยเกษตรกร     นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ขอขอบคุณรัฐบาลท่านนายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่เข้าใจปัญหาของอุตสาหกรรมอาหารสัตว์เป็นอย่างดี ที่อนุมัติการนำเข้ากากถั่วเหลืองได้ทันเวลา และคงภาษีนำเข้าที่ 2% ไม่เปลี่ยนแปลง ส่งผลดีต่อการผลิตภาคปศุสัตว์ของไทยให้เดินหน้าได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก ขณะที่ซีพีเอฟมีนโยบายมุ่งมั่นสนับสนุนและพัฒนาเกษตรกรไทย ให้มีอาชีพอย่างยั่งยืน ซึ่งที่ผ่านมาบริษัทฯ ช่วยแบ่งเบาภาระต้นทุนอาหารสัตว์ทุกชนิด ด้วยการให้ส่วนลดราคาผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์แก่เกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 รวม 30 บาทต่อถุง และในปี 2567 นี้ได้เพิ่มเติมส่วนลดพิเศษให้เกษตรกรไก่เนื้ออีก 3-4 บาท/ถุง      ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ของซีพีเอฟ ได้รับการยอมรับในด้านคุณภาพจากเกษตรกรทั่วประเทศไทย และทั่วโลก มีนักวิจัยพัฒนาที่คิดค้นนวัตกรรมอาหารสัตว์ ออกแบบสูตรอาหารอันสอดคล้องกับชนิดสัตว์ สายพันธุ์ และอายุแต่ละช่วงวัยของสัตว์      โดยมีมาตรฐานรับรองระบบคุณภาพและความปลอดภัยอาหารสัตว์ในระดับสากล GMP+ เป็นรายแรกและรายเดียวของไทยที่ได้รับการรับรอง ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์ (Feed Value Chain) ส่งผลให้ซีพีเอฟเป็นผู้นำการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลกมาโดยตลอด    นอกจากนี้ การจัดหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์คุณภาพสูง ภายใต้นโยบายการจัดหาอย่างยั่งยืน โดยวัตถุดิบทุกชนิดต้องตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาได้และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น นโยบายไม่รับซื้อผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่าและพื้นที่ที่มาจากการเผา ซึ่งขณะนี้บริษัทสามารถดำเนินการได้แล้ว 100% ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

“ซีพีเอฟ”ขอบคุณรัฐแก้ปัญหานำเข้ากากถั่วทันการณ์พร้อมลดราคาอาหารสัตว์ Read More »

วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล หรือ World Day for Safety and Health at Work 2023

เนื่องในโอกาสวันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล หรือ World Day for Safety and Health at Work 2023 ในปีนี้ จะจัดขึ้นในวันที่ 28 เมษายน 2566 ซึ่งกองความปลอดภัยแรงงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จะจัดกิจกรรมขึ้น มีกรอบแนวคิดคือ “สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ถือเป็นหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงาน” (A safe and healthy working environment is a fundamental principle and right at work) ที่ประชุมแรงงานระหว่างประเทศ (International labour Conference; ILC) เมื่อเดือนมิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบให้รวมอนุสัญญาความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ฉบับที่ 155 และกรอบการส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ฉบับที่ 187 ไว้ในกรอบหลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์การ ธุรกิจอาหารสัตว์บก หน่วยงานระบบมาตรฐานและความยั่งยืนองค์กร ด้าน SHE&En โดยคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน จัดสื่อสารความมุ่งมั่นผู้บริหาร นำทีมโดยคุณเรวัติ  หทัยสัตยพงศ์ ผู้บริหารสูงสุด สายธุรกิจอาหารสัตว์บก ได้ให้ความมุ่งมั่น ( นอกจากค่านิยมองค์กร 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืน “เราต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของตนเอง และเพื่อนร่วมงาน แล้วบริษัทจะปลอดภัย น่าอยู่น่าทำงาน” ) และผู้บริหารครอบคลุมโรงงานในเขตประเทศไทยทั้ง 12 โรงงาน เพื่อแสดงความมุ่งมั่น และให้ความสำคัญการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน      

วันความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสากล หรือ World Day for Safety and Health at Work 2023 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)