Logo-CPF-small-65png

Search Results for: อาหารสัตว์

อาหารรักษ์โลก

สนใจรับบริการคำปรึกษา คลิก สนใจรับบริการคำปรึกษา คลิก อาหารรักษ์โลก  คืออะไร? และมีผลดีกับเกษตรกรอย่างไร? อาหารรักษ์โลก  คือนวัตกรรมอาหารที่ใช้หลักการของโภชนศาสตร์แม่นยำ มาผลิตเป็นสูตรอาหารสัตว์ให้ตรงกับความต้องการของสัตว์  โดยที่สัตว์ยังคงได้รับสารอาหารครบถ้วน  เน้นความสมดุลของกรดอมิโนสังเคราะห์ชนิดต่างๆ และสารอาหารอื่น ๆ  ดังนั้น จึงสามารถลดส่วนเกินที่ไม่จำเป็นของสารอาหารส่วนเกิน ช่วยลดต้นทุนการผลิต ลดมลพิษ และยังได้ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ทีเป็นสาเหตุสำคัญของโลกร้อน อาหารรักษ์โลก และนวัตกรรมอาหาร จะช่วยฟาร์ม ได้อย่างไร? ช่วยลดแก๊ส ลดกลิ่น อาหารรักษ์โลก ช่วยลดแก๊ส ลดกลิ่น เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยที่ไม่กระทบกับประสิทธิภาพการผลิต ได้รับสารอาหารครบถ้วน ได้รับสารอาหารครบถ้วน เน้นความสมดุลของกรดอมิโนสังเคราะห์ชนิดต่างๆ ดังนั้น จึงสามารถลดส่วนเกินที่ไม่จำเป็นของสารอาหารส่วนเกิน ลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซต์ ลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซต์ ได้ 4 กิโลกรัม/ตัว/ปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกป่าได้ ประมาณ 1 ตารางเมตร /ตัว/ปี ลดต้นทุนเรื่องอาหาร นวัตกรรมอาหาร จะช่วยลดต้นทุน อาหารแต่ยังทำให้ได้สารอาหารครบ และเติบโตได้เต็มที่ ไม่มีกลิ่น ไม่มีผลกระทบ หมดปัญหากลิ่น ที่มีผลกระทบกับชุมชนและสิ่งแวดล้อม อาหารรักษ์โลกจึงสามารถตอบโจทย์สำคัญของการทำฟาร์มอย่างยั่งยืนได้ ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้งให้สูญเปล่า ด้วยหลักการไม่เหลือ ไม่ขาด ไม่เกินนี้เอง จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์มีความคุ้มค่า ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้งให้สูญเปล่า ไม่เป็นภาระของการกำจัดของเสีย อาหารรักษ์โลก สามารถใช้ได้กับ อาหารสัตว์ใดบ้าง? ด้วยหลักการไม่เหลือ ไม่ขาด ไม่เกินนี้เอง จึงทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสัตว์มีความคุ้มค่า ไม่มีสิ่งใดเหลือทิ้งให้สูญเปล่า ไม่เป็นภาระของการกำจัดของเสีย ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม และโลกของเรา โลกใบเดียวกันที่อุตสาหกรรมปศุสัตว์และมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกัน นวัตกรรมอาหารสัตว์ รักษ์โลก https://www.youtube.com/watch?v=2YTH0ZXRFuM&t=270s เพราะการใช้อาหารรักษ์โลกนี้ ทั้งคนเลี้ยง คนกิน และผู้ผลิต มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อโลกใบนี้ด้วยกัน ด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ให้เหลือทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หากมีของเสีย ต้องหมุนเวียนได้ เพราะโลกนี้ มีใบเดียว เราต้องร่วมกันรักษา เรามีสูตรอาหารที่ แก้ปัญหาได้ตรงจุด นวัตกรรมทางด้านอาหารสัตว์ ของซีพีเอฟ ได้ผสานองค์ความรู้ด้านสัตวแพทย์ สัตวศาสตร์ และไบโอเทคโนโลยี เข้าด้วยกัน ผ่านรูปแบบการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ให้ตอบโจทย์ปัญหา และความต้องการของลูกค้าในทุกๆ ปัญหา จากการสำรวจพบว่าหนึ่งในปัญหาของผู้เลี้ยงไก่ไข่คือประสิทธิภาพของสีไข่ และความหนาของเปลือกไข่ลดลงจากเดิม รวมไปถึงน้ำหนักแม่ไก่ไข่มีน้ำหนักต่ำกว่า 2.1 – 2.2 กิโลกรัม อีกทั้งยังกระดูกเปราะบาง สภาพซากไม่สวย เราได้ทำการพัฒนาสูตรอาหารและทดลองจนได้ประสิทธิภาพที่น่าพอใจ ตอบโจทย์ทุกปัญหาของผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพียงใช้อาหารแม่ไก่ไข่ระยะก่อนปลดนี้ 2 เดือนก่อนปลด ก็จะสามารถรักษามาตรฐานและเพิ่มมูลค่าจากน้ำหนักแม่ไก่ที่เพิ่มขึ้นได้ สนใจรับคำปรึกษา อาหารนวัตกรรม อาหารรักษ์โลก โปรดกรอกฟอร์ม *กรณีผู้สนใจสมัครโครงการ ไม่ได้อยู่ในเขตการรับสมัคร เราขออนุญาตเก็บข้อมูลของท่านไว้ เมื่อโครงการในพื้นที่ดังกล่าวเปิด เราจะติดต่อกลับไปให้เร็วที่สุด* สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

อาหารรักษ์โลก Read More »

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่

ศูนย์รวมบริการ สำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบมาที่เดียวครบ สำหรับ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ จบตั้งแต่เริ่มสร้างถึงขาย มาดูกันเลยครับ สำหรับท่านที่มองหา ธุรกิจ เพิ่มเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ หรือว่าต้องการสร้างฟาร์มอยู่แล้วจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ผมอยากแนะนำ ให้มาอ่าน และลองดูบทความนี้ครับ เราจะได้เห็นว่า ถ้าคุณต้องการทำ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่เริ่ม ในมุมของการทำธุรกิจ มันไม่ได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้ มี หน่วยงานที่ช่วย แนะนำ ผู้ที่ต้องการเริ่มเข้ามาในธุรกิจ นี้ หรือว่า ไม่เคยทำมาก่อน แต่มีความสนใจ หรือที่ต้องการจะลงทุน สร้างธุรกิจ ในแบบที่เราไม่เคยทำมาก่อนก็สามารถทำได้ โดยมี CPF Farm Solutions มาเป็นผู้ช่วย และให้คำปรึกษา ในการจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ เรียกว่าครบทุกเรื่องของการสร้าง และจัดการฟาร์ม มีทุกอย่างตั้งแต่ เริ่ม จนถึงหาตลาด และขาย เรียกว่าครบทุกอย่าง สำหรับธุรกิจฟาร์มกันเลยครับ อย่างแรกมารู้จักกันก่อนครับ สำหรับ CPF Farm Solutions จะช่วยอะไรเราได้บ้าง? ต้องบอกเลยครับ ว่า สำหรับ ผู้ที่ทำธุรกิจฟาร์ม หรือไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม เมื่อเราเริ่มทำแล้ว ก็ต้องอยากให้ธุรกิจที่เราดูแล เติบโต และต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้ว จะมี 3 ความต้องการหลักๆ ดังนี้ครับ ต้องการยกระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐาน และมีมาตรฐานในการขาย เพื่อเป็นความเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทางผู้บริโภค ต้องการหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์ม เพราะเทคโนโลยีจะทำให้ธุรกิจเติบโต และเมื่อเติบโตแล้ว ย่อมมีผลกำไรตามมาครับ ต้องการที่จะนำเทคโนโลยี มาช่วย ให้ธุรกิจที่ทำอยู่ดีขึ้นและถ้าหากเป็นฟาร์ม ก็จะเรียกว่าเป็น Smart Farm ได้ครับ จากความต้องการหลักๆ ข้างต้นเจ้าของธุรกิจ ต้องการให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เติบโต ในทุกๆด้าน ไม่ว่า จะเป็น ต้องการให้ฟาร์มมีมาตรฐาน เพื่อเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แลเมื่อมีมาตรฐานแล้ว ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคแล้ว ฟาร์ม ก็จะสามารถขยายตลาดไปได้ในหลายที่กว่าเดิม ได้พบกับลูกค้าใหม่ๆ ได้พบกับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจฟาร์มเติบโต มั่นคง และจากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีโรคระบาด ทั้งคน และสัตว์ ทาง CPF ได้มีการนำเทคโนโลยี ที่หลากหลาย และก้าวหน้าเข้ามาช่วยเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเลี้ยง การดูแล หรือเรื่องอาหารสัตว์ และการให้บริการเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการช่วยเกษตรกร เจ้าของฟาร์ม หรือผู้ที่สนใจธุรกิจฟาร์ม นี่เป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้าง CFP FARM SOLUTIONS ขึ้นมาเพื่อช่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ กับผู้ที่มีธุรกิจ หรือต้องการลงทุนในการสร้าง ฟาร์มขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่เพื่อให้บริการผู้ที่สนใจดังนี้ บริการด้านไฟฟ้าและวิศวกรรม บริการระบบมาตรฐานฟาร์มและผลิตภันฑ์ บริการจัดการฟาร์ม โรค และการลงทุน บริการให้คำปรึกษาและกำจัดสัตว์พาหะ บริการสรรหาบุคลากร และอบรม ทั้งหมดนี้ จะสามารถบริหารฟาร์ม ได้จากระบบ smart farm โดยระบบจะมีการรายงาน และแจ้งเตือนให้กับเจ้าของฟาร์มได้ ง่ายๆ แค่มีอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี จะมาช่วยใน การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ได้อย่างไรบ้าง มาดูกันครับ บริการด้านพันธุ์สัตว์ เรามีบริการพันธุ์สัตว์ออนไลน์ สั่งซื้อ เคลม ออนไลน์ได้เลย บริการด้านวิชาการ แนะนำเทคโนโลยี การบริหาร การทำมาตรฐานฟาร์ม ทั้งนี้ ลูกค้า และคู่ค้า ก็จะสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ง่ายที่สุด ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูล และการใช้งานระบบ ลูกค้า สามารถ เข้าสู่ระบบการจัดการฟาร์มได้ง่ายๆ บริการด้านการตลาด นอกจากเรื่องของพันธุ์สัตว์แล้ว การทำมาตรฐานแล้ว ทาง CPF มีระบบบริการรับซื้อคืนด้วยครับ เรียกว่า แนะนำตั้งแต่เริ่มเลี้ยง สอนวิธีเลี้ยง ทำมาตรฐาน และหาที่ขายให้ด้วยเลย ครบและดี สำหรับธุรกิจจริงๆ สำหรับบริการที่เด่นๆ ของ CPF FARM SOLUTIONS ที่อยากแนะนำมีดังนี้ครับ บริการตรวจเช็คระบบไฟฟ้า และประเมินความเสี่ยงในฟาร์ม สำหรับบริการนี้ ลูกค้าจะได้รับ บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้า ภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตาย จากไฟฟ้าดับ และเพิ่มทักษะสอน ให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลฟาร์ม  ในการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเอง สามารถใช้ อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญ และมีการประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/engineer-service บริการแนะนำจัดทำ ระบบมาตรฐานฟาร์ม และการขอมาตรฐานฟาร์ม สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม เพื่อใช้ใน การยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานฟาร์ม เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหาร มาตรฐานต่างๆที่ฟาร์มได้รับ จะส่งผลต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค ให้มีความเชื่อมั่น กับธุรกิจฟาร์ม และเป็นการขยายตลาด เพิ่มโอกาสในการส่งสินค้า ไปขายที่ห้างค้าส่ง และค้าปลีกต่อไป สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service บริการจัดการฟาร์ม และโรค หรือ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับส่วนนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ กับการบริหารฟาร์มเลยครับ เพราะว่าจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน การให้ความสนใจเรื่องการจัดการโรค ป้องกันและควบคุมโรค จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ฟาร์มอยู่รอดเลยครับ ทั้งนี้ในส่วนนี้ จะให้การบริการ และ ให้คำปรึกษาแบบ ครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและ การจัดการฟาร์ม โดยการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การ เลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ระบบการป้องกันโรค จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และใช้เทคโนโลยี เข้ามาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/manage-farm-service วีดีโอแนะนำ ai farm lab ได้เห็นแบบนี้ แล้ว น่าจะทำให้ใครก็ตามที่ต้องการ ทำธุรกิฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็คง สบายใจ และลองเข้าไปดู เว็บไซต์ หรือรับคำปรึกษาและ บริการได้เลยครับที่ http://www.cpffarmsolutions.com

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ Read More »

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมีดูเรื่อง ของ  โรค ASF หรือโรค ไวรัส ในหมู ที่ตอนนี้กำลังเกิดขึ้น ในที่ต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการ ป้องกัน โรค ASF ในฟาร์ม เจ้าของฟาร์มต้องทำอย่างไร หรือ ต้องมี ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อย่างไร สำหรับโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แพร่ทางอากาศ แต่สามารถแพร่ระบาดได้ทางไหนบ้าง นอกจากนี้แล้ว เราจะมี วิธีการป้องกันโรค สำหรับฟาร์มของเราได้อย่างไร และหากติดแล้ว ฟาร์มของเรา ต้องมีมาตรการในการป้องกันอย่างไรบ้าง สำหรับการป้องกัน การแพร่ระบาด ฟาร์มต้องมีอะไรบ้าง? อยากรอดต้องมี ห้องอาบน้ำ ตู้ยูวี เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อบ่อดินล้อรถขนส่ง โกดังอาหาร 2 ส่วน มีการแยกอาหารเก่าใหม่ และมีการติดตั้งแสงยูวีเข้าไป มุ้งกันแมลงวัน เพราะเป็นสัตว์พาหะ สามารถติดมากับแมลงวันได้ เช่นแมลงวันไปบินตอม และนำเชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม ซึ่งรัศมีในการหากินของแมลงวันคือ 1-3 กิโลเมตร และเป็นทางแพร่ที่อันตรายมาก และติดต่อได้ง่าย จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เล้าเปิด แนะนำให้ปิดมุ้งไปเลย ให้ครอบคลุม และหากเป็นเล้าปิด ก็ใช้มุ้งคลุมบริเวณที่อาจจะมีแมลงวันเข้ามาได้ เช่นบริเวรพัดลม ทางเดินไล่สุกร บ่อทิ้งซาก นำบาดาล บ่อพักฆ่าเชื้อ รั้วกั้นสัตว์พาหะ ข้อปฏิบัติด้านการป้องกันโรค เล้าเกษตรกร เจ้าหน้าที่ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า ทุกครั้ง เพราะมีการทดสอบแล้วว่า หากมีเชื้อโรคติดมา ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ และต้องการการฆ่าเชื้อที่ห้องน้ำด้วย เพราะ เชื้อที่ติดตัวมาจะอยู่ที่น้ำและที่ห้องน้ำ เมื่อเราอาบน้ำเปลี่ยนชุด ฆ่าเชื้อของใช้ทุกชิ้น ด้วย UV ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคัน ทุกครั้ง กำจัดหนู และแมลง ห้ามน้ำเนื้อสุกรเข้าฟาร์ม คือ อาจจะเป็นการ นำโรคเข้ามาที่ฟาร์มของเราได้ เช่นอหิวา สุกร หรือโรคอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรห้ามน้ำเนื้อสัตว์กีบคู่เข้ามาด้วย เช่นโค กระบือ แพะ แกะ ก็ห้ามด้วยเหมือนกัน แต่ตอนนี้ โรค ASF ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever ซึ่งอันตรายร้ายแรงมาก ทั้งนี้ จากงาน วิจัยเรื่องโรค ASF หากเก็บในตู้เย็น เชื้อจะอยู่ได้ 7-30 วันเลยทีเดียว และยากต่อการกำจัด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูปแล้วด้วยเพราะความร้อนในการประกอบอาหารอาจจะทำให้เชื้อยังคงอยู่ได้ ในการฆ่าเชื้อ ต้องใช้อุณหภูมิ 70 องศาเป็นเวลา 30 นาที ดังนั้นการนำเนื้อสุกรเข้ามาที่ฟาร์ม ก็เหมือนกับการเอาเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มนั้นเอง ห้ามนำเศษอาหารให้กับสุกร ห้าม ขายซาก ขายมูลระหว่างการเลี้ยง จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เหมือนเป็นระบบพื้นฐานที่ทุกฟาร์มต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของฟาร์ม หรือระบบ bio security ของฟาร์มนั้นเองครับนอกจากนี้ การเข้ามาของเชื้อ ASF ที่เคยมีการตรวจเจอ คือมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยไม่รู้ว่า มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ยกตัวอย่าง นักท่องเที่ยวเอาอาหารแปรรูปมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นของฝาก แต่ เมื่อมีการตรวจพบ และห้ามนำเข้า และเอามาตรวจ จึงได้พบกว่า มีเชื่อ ASF อยู่ด้วย เพราะกระบวนการแปรรูป แทบจะไม่สามารถทำอันตรายเชื่อนี้ได้เลย สิ่งที่ตรวจเจอ เช่น หมูแผ่น หมูกรอบ กุญเชียง และอาหารแปรรูปอื่นๆ โรค ASF มีวัคซีน สำหรับป้องกันหรือไม่ สำหรับโรค ASF ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน ในการป้องกันและรักษา ดังนั้นการป้องกันทางชีวภาพ หรือ Bio Security เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะหากเป็นแล้ว ฟาร์มก็จะสูญเสียอย่างมาก จุดวิกฤต ด้านการป้องกัน เล้าเกษตรกร หรือฟาร์มที่มักจะเกิดเหตุ หรือพลาด ทำให้มีปัญหา ห้องอาบน้ำ มีแต่ ไม่ได้ใช้งาน หรืออาบน้ำให้ถูกต้อง มุ้งกันแมลงวัน มีแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงวันได้ หรือ ปล่อยให้แมลงวันเข้าเล้าได้ ประมาณ แค่ 10 ตัว ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดได้แล้ว บ่อทิ้งซาก ที่มีการย้ายซากสุกรเข้าออก ทำให้รถที่มารับ สุกรกลายเป็นที่แพร่เชื้อ 10 มาตรการป้องกันโรคสำคัญ เมื่อโรคเข้ามาแล้ว ทำอย่างไรให้เหลือ อาบน้ำเปลี่ยนชุด ก่อนเข้าเขตฟาร์ม (ห้องอาบน้ำมี 2 ชั้น) รถในห้ามออก รถนอกห้ามเข้าให้มากที่สุด รถที่มาที่ฟาร์ม ล้าง และฆ่าเชื้อให้ทั่วถึง และจอดไว้ 30 นาที ของที่นำเข้าฟาร์มต้องผ่าน ยูวี หรือมีการพ่นฆ่าเชื้อ ป้องกันกำจัดสัตว์พาหา ติดมุ้งกันแมลง ใช้น้ำบาดาล หรือน้ำภายในฟาร์มเท่านั้น กำจัดซากสุกร และจัดการขยะที่ดี พ่นฆ่าเชื้อ หรือโรยปูนขาวรอบฟาร์ม การขายที่ถูกต้อง และมีการแบ่งโซนชัดเจน ให้ความรู้พนักงานและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรค โดนแล้ว ทำยังไงให้เหลือ (เมื่อตรวจเจอแล้ว) รู้เร็ว มีการเก็บตัวอย่างถูกต้อง ตรวจยืนยันรวดเร็ว จัดการเร็ว ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร วางแผนคัดทิ้ง ทำลาย สุกรที่เป็นโรค หรือมีความเสี่ยงสูง จบเร็ว ควบคุมโรคได้ ไม่แพร่กระจายไปยังฟาร์มอื่น ถ้าเจอเหตุแบบนี้ แนะนำให้ตรวจ สุกรที่มีน้ำหนัก น้อยกว่า 50 กิโลกรัม มีอัตราการตาย มากกว่า 1% ต่อวัน สุกรที่มีน้ำหนัก มากกว่า 50 กิโลกรัม ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เก็บต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ ทันที วิธีการดูที่ภาพได้ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็น ทำยังไง Xray 100% เก็บต้วอย่าง Swab หากเราสามารถตรวจได้ครบ ได้เร็ว ก็จะ ทำการแยกกันต่อไป วีดีโอการแนะนำวิธีการตรวจ สามารถดูได้ที่นี่ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38 ถ้าหากฟาร์ม สามารถทำและแยกได้ตามนี้ และรวดเร็ว ก็จะ ลดความเสียหายลง นอกจากนี้แล้วหลังจากที่ขายแล้ว ต้องมีการทำความสะอาด ฟาร์มอย่างดี และมีการตรวจก่อนจะเปิดฟาร์ม สำหรับขั้นตอนการล้างฟาร์มมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อน ทิ้งไว้ 1 วัน และฉีดล้างด้วยน้ำเปล่า หรือผงซักฟอก และใช้น้ำแรงดันสูง ล้าง ทิ้งทำลายอุปกรณ์ pad ผ้าม่าน ฉีดล้างด้วยน้ำเปล่ารอบที่ 2 ล้าง ด้วยน้ำรอบที่ 2 พ่นยาฆ่าเชื้ออีกรอบ ตรวจสอบความสะอาด ซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงเรือน Biogas  จุดนี้อุณหภูมิสูง เชื้อจะตาย บ่อน้ำเสีย สูบน้ำให้แห้ง ตากบ่อ โรยปูนขาว พักบ่อ 30 วัน สำหรับขั้นตอนนี้จะทำหลังจากที่เราล้างไปแล้ว เมื่อหมูออกไปหมดแล้วดูด้วยสายตา ว่าสะอาดแล้ว  ให้เราทำการ Swap วันที่ 7 , 14 , 21 , 28 หากมีการล้างไม่มีจะมีการ ตรวจเจอเชื้อ หากเจอเชื้อ ให้ทำขั้นตอนการล้างอีกรอบ ภาพขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำสุกรเข้า เมื่อผ่าน ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ในขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการทดลองนำสุกร มาเลี้ยง ประมาณ 10 % ของเดิม ให้นำหมู เข้ามาเลี้ยง ภายใน 10วัน – 21 วัน จะมีการแสดงอาการ และหากมีอาการอีก ก็ต้องทำแบบเดิมซ้ำอีก ทั้งนี้หากเรา ต้องการเลี้ยงเราก็ต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดครับ นอกจากนี้มีอีก เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือเรื่องของอาหาร เพราะนอกจากเรื่องของสัตว์พาหะแล้ว เราดูแลได้ดี และมีการจัดการได้ดีแล้ว เรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการเจอเชื้อในข้าวโพด และส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ข้าวโพด รำ ปลายข้าว ทั้งนี้สาเหตุ อาจจะมาจากการปลูกใกล้ฟาร์ม หรือในกรณีที่ฟาร์มที่เกิดความเสียหาย ไม่มีหมูแล้ว แต่ยังมีอาหารอยู่ ทำให้ต้องขายอาหารที่เหลือ ซึ่งมีการปนเปื้อนออกมา ทำให้ติดกันหมด ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีการจัดการเรื่องอาหารเอง อาจจะต้องตรวจเชื้อด้วย เพราะไม่ว่า จะมีเชื้อในปริมาณน้อยเพียงใด แต่หากมีหมูติด ก็จะเกิดความเสียหายไปด้วยครับ ทั้งนี้อาหารสัตว์ของเรา จะมีการสุ่มตรวจ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร เอกสารประกอบ และวีดีโอแนะนำการ swap สามารถ โหลดได้ที่นี่ครับ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม Read More »

ขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม อย่างไร?

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์มอย่างไร? สำหรับท่านเจ้าของกิจการที่ต้องการ เริ่มทำธุรกิจฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ ได้มีมาตรฐาน และสามารถขยายตลาด เติบโตในธุรกิจได้ ต้องมีการ ขอรับรองมาตรฐานการเสี้ยงสัตว์ให้ถูกต้องครับ ขั้นตอนดังนี้ครับ ทั้งนี้สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนของมาตรฐานฟาร์มได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม ขั้นตอน การขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ ยื่นคำขอ (มฐฟ.1) ที่สนง.ปศุสัตว์อำเภอ เอกสาร โหลดได้ที่นี่ มฐฟ.1 สำนักงาน ปศุสัตว์อำเภอ สามารถตรวจสอบได้ที่นี่ครับ  แนะนำว่าให้เลือกในพื้นที่ หรือสอบถามก่อนเพื่อความสำดวกและง่ายในการไปติดต่อ เพื่อการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มของเราครับ ปศุสัตว์อำเภอตรวจพื้นฐาน 5 ประการ ส่งให้สนง.ปศุสัตว์จังหวัด  สนง.ปศุสัตว์จังหวัดรวบรวมเอกสารจัดทำแผนนัดหมายตรวจรับรอง คณะผู้ตรวจ ประกอบด้วย จนท.จากสนง.ปศุสัตว์จังหวัดและเจ้าหน้าที่จากสนง.ปศุสัตว์อำเภอ ร่วมกันตรวจรับรอง กรณีไม่ผ่านการรับรอง ผู้ประกอบการต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามคำแนะนำของคณะกรรมการผู้ตรวจฯ กรณีผ่านการรับรอง สนง.ปศุสัตว์จังหวัดจะออกใบรับรองให้ลงนามโดยปศุสัตว์จังหวัด ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มมีอายุ 3 ปี เอกสารหลักฐานประกอบคำขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม แบบคำรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (แบบ มฐฟ. 1) เอกสาร โหลดได้ที่นี่ มฐฟ.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ 1 ฉบับ (เจ้าของฟาร์ม) สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ แผนที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รูปถ่ายแสดงสภาพภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง เช่น รั้ว โรงพ่นยาฆ่าเชื้อโรค บ่อน้ำ สถานที่เก็บอาหารสัตว์ คอกสัตว์ ที่พักอาศัยและระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ในกรณีขอต่ออายุมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การรับรองต้องแนบใบรับรองมาตรฐานฉบับเดิมที่หมดอายุ คำแนะนำในการขอมาตรฐานฟาร์ม สำหรับเจ้าของฟาร์ม ที่ต้องขอมาตรฐานฟาร์ม จำเป็นต้องได้รับการรับรอง ก็เนื่องจาก เหตุผลหลาย เพื่อฟาร์มของเราเอง เช่น เมือฟาร์มเราได้มาตรฐานแล้ว การประกอบธุรกิจก็จะ สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะ การสร้างฟาร์ม ต้องสร้างปัญหา กับชุมชนรอบข้าง เรื่องมลภาวะ ต่างๆ ถ้าฟาร์มป้องกันปัญหานี้ได้แล้ว ก็จะไม่มีการร้องเรียน หรือ ต่อต้านจากชุมชนครับ การที่เจ้าหน้าที่ไปตรวจ เพื่อให้คำแนะนำ หลายๆ ด้าน และเจ้าของฟาร์ม ปฏิบัติตาม ก็จะทำให้ฟาร์ม ปลอดภัย เรื่องความปลอดภัยของฟาร์ม จำเป็นกับ ฟาร์มทุกส่วน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สัตว์ และชุมชน ไม่ควรละเลย สำหรับเรื่องความปลอดภัยของฟาร์ม ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าควบคุมเรื่องความปลอดภัยได้แล้ว การที่จะลดการใช้ยา และค่าใช้จ่ายเรื่องยา หรือวัคซีนก็จะลดไปด้วยทำให้ มีกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การได้มาตรฐานฟาร์ม หรือสำคัญที่สุดคือ ทำตามมาตรฐานฟาร์ม จะทำให้ฟาร์มปลอดภัย และ ดำเนินกิจการไปได้อย่างไม่มีปัญหา จุดประสงค์ของมาตรฐานฟาร์ม ป้องกันความเสียหายจากการนำเชื้อโรคภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม ป้องกันเชื้อโรคจากภายในฟาร์มแพร่กระจายสู่ภายนอก สร้างเสริมภูมิคุ้มโรค และสุขภาพที่ดีให้แก่สัตว์ภายในฟาร์ม ให้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ได้อย่างยั่งยืน ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่รอบข้าง จนถูกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบังคับให้เลิกกิจการ หรือถูกร้องเรียนและขับไล่ ฝึกนิสัยผู้ประกอบการให้รู้จักรับผิดชอบทั้งต่อการเลี้ยงสัตว์ สังคม สิ่งแวดล้อม และฝึกวินัยให้รู้จักดูแลสัตว์อย่างสม่ำเสมอ จดบันทึกเป็นประจำ ดูแลอุปกรณ์ทุกชิ้นให้สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีจิตใจเมตตาต่อสัตว์ สิ่งที่จำเป็นใน การขอมาตรฐานฟาร์ม และการทำธุรกิจฟาร์ม ให้เติบโต สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฟาร์ม ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (อภ.2) ขอได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ขอใบอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาษีโรงเรือนหรือที่ดิน เอกสารตรวจสุขภาพประจำปี(เฉพาะผู้ประกอบการ) บุคคลอื่นใช้ ใบรับรองแพทย์ ใบผลการตรวจน้ำที่ใช้สำหรับให้สัตว์ดื่ม หากไม่ผ่านเกณฑ์ ให้แนบวิธีแก้ไข การยื่นขอใบรับรอง ขอแบบ มฐฟ.1 จากปศุสัตว์อำเภอ  หรือดาวน์โหลดได้ที่ www.dld.go.th/pvlo_sgk กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง แนบเอกสารที่กำหนดไว้ใน มฐฟ.1 นัดปศุสัตว์อำเภอตรวจฟาร์มเบื้องต้น เพื่อขอใบผ่านเกณฑ์พื้นฐาน 5 ประการ และให้ปศุสัตว์อำเภอนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เกณฑ์การตรวจ ประตู  จะต้องปิดและคล้องกุญแจ  ติดข้อความ”ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” จะต้องแข็งแรง สูง 1.5 เมตรอย่างน้อยมีตาข่ายขึงกั้นสูง 1.2 เมตร เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะเข้าไปภายนอกในฟาร์ม จะต้องไม่ใช้ทางเข้าร่วมกับฟาร์มอื่น หรือ ผ่านทางเข้าของฟาร์มอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสัตว์พาหะ  รั้วสูง 1.5 เมตร มีตาข่ายสูง 1.2 เมตร เพื่อกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะมุดหรือกระโดดเข้าไปภายในฟาร์ม ตัดต้นไม้ริมรั้ว และที่พันรั้วออกให้หมด หากเป็นไปได้ รอบกำแพงฟาร์มต้องมีการทำความสะอาด และโล่ง ป้องกันงู หรือสัตว์อื่นเข้ามาในฟาร์ม ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคล  ห้องอาบน้ำจะต้องมีห้องสำหรับถอดเสื้อผ้าเก็บ(จัดให้มีไม้แขวนเสื้อหรือช่องเก็บเสื้อผ้า)  ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค(มีเสปรย์พ่นทั้งด้านข้างและด้านบน) ห้องอาบน้ำ(จัดให้มีฝักบัว สบู่ แชมพู) ผู้ที่มาส่งอาหาร จับลูกไก่ จะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคในห้องนี้ด้วย ไม่มีข้อยกเว้น เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกได้ โรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะ  จะต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ล้อรถทุกคันที่เข้าไปในฟาร์ม ไม่มีข้อยกเว้น หรือดีกว่าต้องมีการแยกทางเข้าออกสำหรับรถจากภายนอก ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า  จัดให้มีผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้าที่ใช้ในฟาร์ม นอกห้องจัดให้มีร้องเท้าใส่ในฟาร์ม อาจจะแยกสีกันให้ชัดเจน เสปรย์พ่นยานพาหนะที่เข้า-ออกฟาร์ม อาจจะทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อได้ ห้องเก็บอาหารจะต้องมีช่องให้อากาศถ่ายเท มีแสลตสูง 10 ซม. เพียงพอสำหรับวางอาหาร ไม่ควรมีมดในโรงเก็บอาหาร จะต้องมีตาข่ายกันนก หนู เข้ามาข้างใน ไม่ควรนำอุปกรณ์มาเก็บ  อุปกรณ์อื่นจะต้องนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ ประตูจะต้องปิดและคล้องกุญแจ จะต้องแยกที่อยู่อาศัยและฟาร์มออกจากกัน ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าในฟาร์ม ทุกกรณี หากมีหลายโรงเรือน ควรห่างกัน 25 เมตร เพื่อป้องกันโรคระบาดในแต่ละโรงเรือน รั้วต้องไม่ใช้ร่วมกับฟาร์มอื่นที่เลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวกัน โรงเรือน จะต้องเปิดไฟ ตามสวัสดิภาพสัตว์  ห้ามปิดเมื่อสัตว์ใกล้เวลาขาย และห้ามเปิดขณะไม่มีแดด ให้เปิดเฉพาะช่วงลูกไก่เข้าเลี้ยงใหม่เท่านั้น  จะต้องมีตาข่ายกันนกเข้าไปในโรงเรือน จัดให้มีรองเท้า บ่อจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บ่อจุ่มน้ำ ถังหิ้วซาก กรณีปลูกต้นไม้รอบโรงเรือน จะต้องตัดกิ่งไม้ที่ยื่นล้ำเข้าไปที่หลังคาโรงเรือน มีบ่อทิ้งซากหรือเตาเผาซากท้ายฟาร์ม ห่างจากโรงเรือนมากกว่า 5 เมตร ห้ามอยู่นอกรั้วฟาร์ม บริเวณฟาร์ม ต้องเก็บไม้ เหล็ก ตัดต้นไม้ หญ้า ให้ดูสะอาด ไม่รก จัดให้มีถังขยะฝาปิด 2 ใบ เพื่อทิ้งขยะอันตราย เช่น ยา เข็มฉีดยา  และถังสำหรับทิ้งขยะทั่วไป เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องใช้งานได้และทดสอบการใช้งานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีสัญญาณเตือนเมื่อไฟดับ จัดให้มีแผนกำจัดสัตว์พาหะเช่น หนู และบันทึกผล กำจัดขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน  กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะต้องไม่มีขยะสุมภายในฟาร์ม กรณีฟาร์มสุกร  ท่อน้ำเสียข้างฟาร์มจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง มูลสุกรจะต้องไหลได้สะดวกไม่สะสม การกำจัดมูลสุกรในฟาร์ม  ควรจะตักมูลออกก่อนแล้วจึงฉีดน้ำ เพื่อลดจำนวนน้ำเข้าในระบบบำบัด และลดค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการฉีดน้ำเกินความจำเป็น ยาที่ใช้ในฟาร์ม  ต้องมีทะเบียนยา ไม่มีข้อยกเว้น ไม่ควรมีกิจกรรมอื่นภายในฟาร์ม เช่น กรีดยาง ประมง ไม่ควรมีทางเข้าออกฟาร์ม มากกว่า 1 ทาง ไม่ควรมีการประกอบอาหารภายในฟาร์ม ควรประกอบอาหารให้เสร็จจากภายนอกแล้วนำเข้าไปรับประทานในฟาร์ม การจัดทำข้อมูล จัดทำคู่มือการเลี้ยงสัตว์ให้ครบทุกหัวข้อ ตามความเป็นจริงที่ฟาร์มทำอยู่ บันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม หาได้จาก website สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ให้ตรงกับความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน บุคลากรที่เกี่ยวข้องลงนามให้ครบ ยาที่ไม่มีการนำมาใช้ ไม่ควรมีในบันทึกการใช้ยา  วิตามินละลายน้ำ ยาฆ่าเชื้อ ยาใส่แผล ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา บันทึกบุคลากร จะต้องมีให้ครบทุกคน อ้างอิงจาก : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแนวทาง การขอมาตรฐานฟาร์ม ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม อย่างไร? Read More »

แนะนำ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป สำหรับบทความนี้ เราจะมาดู เรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ กันครับ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไปที่ต้องการทำมาตรฐานฟาร์ม ก็สมารถ ดูบทความนี้ได้เลยครับ สำหรับ มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ หรือ มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ นี้กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ที่เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 10,000 ตัวขึ้นไป ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่ และไข่ไก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมในการนำไปบริโภคเป็นอาหาร องค์ประกอบของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ องค์ประกอบฟาร์ม 1.1 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตราย ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ หรือมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 1.2 ผังและลักษณะฟาร์ม ฟาร์มมีขนาดพื้นที่เหมาะสมไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการวางผังฟาร์มที่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะและสุขอนามัยสัตว์ และแยกพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน มีบริเวณหรือสถานที่เก็บรวบรวมไข่ไก่ก่อนเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์ม 1.3 โรงเรือน มีการวางผังที่แสดงตำแหน่งอุปกรณ์ซึ่งเอื้อต่อการเลี้ยงไก่ไข่ มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงไก่ไโดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ มีความแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ ระบายอากาศได้ดี ง่ายต่อการบำรุงรักษาทำความสะอาดและฆ่เชื้อ รวมทั้งมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการวางไข่และ การเก็บไข่ การจัดการฟาร์ม 2.1 คู่มือการจัดการฟาร์ม มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงาน ที่สำคัญภายในฟาร์ม ได้แก่ ระบบการเลี้ยง การจัดการอาหารและน้ำ การจัดการ ด้านสุขภาพ และการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก 2.2 การจัดการอาหาร และน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในกรณีที่ผสมอาหารไก่ไข่เอง หรือนำอาหารจากข้อ 2.2.1 มาผสม ห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ไข่ทางกายภาพในเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างไว้เพื่อใช้วิเคราะห์กรณีมีปัญหา มีสถานที่เก็บอาหารไก่ไข่โดยแยกต่างหาก และเก็บอาหารในสภาพ ที่ป้องกันการเสื่อมสภาพและปนเปื้อน มีการจัดการให้ไก่ไข่ทุกตัวได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องสะอาดและมีผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพ 2.3 การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบโรงเรือนต้องสะอาด และบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพดีและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรงเรือน และอุปกรณ์ หลังจากย้ายไก่ไข่ รุ่นเก่าออก และปิดพักโรงเรือนในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการตัดวงจรเชื้อโรค ไม่ให้สะสมในโรงเรือน เว้นแต่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นอย่างอื่นในแต่ละพื้นที่ ภาชนะเก็บไข่ เช่น ถาดไข่ เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะเก็บไข่ ก่อนนำเข้าในบริเวณพื้นที่ เลี้ยงไก่ไข่และก่อนการนำไปใช้งานทุกครั้ง บุคลากร 3.1 มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน 3.2 มีบุคลากรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สัตวบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตร ด้านสัตวบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ และสัตวแพทย์ที่มีใบรับรอง เป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกจำนวนพอเหมาะกับจำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง 3.3 บุคลากรที่ทำหน้าที่เลี้ยงไก่ไช่ข่ต้องมีความรู้ โดยได้รับการฝึกอบรมหรือ การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้จัดการฟาร์มได้ 3.4 มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อ ด้านสุขภาพสัตว์ 4.1 การป้องกันและควบคุมโรค มีหลักฐานหรือเอกสารระบุแหล่งที่มาของไก่ไข่ มีมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะ วัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งสัตว์พาหะนำเชื้อ มีแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรคโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ตรวจติดตามสุขภาพไก่ไข่ประจำวัน และมีการจัดการซากสัตว์ที่เหมาะสม กรณีเกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ 4.2 ด้านการบำบัดโรค การบำบัดรักษาโรคสัตว์ ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สวัสดิภาพสัตว์ ดูแลไก่ไข่ให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่นไก่ระยะไข่และไข่ไก่ 6.1 ไก่รุ่นและไก่ระยะไข่ สุ่มตรวจสขภาพ ุ ขนาดและนาหนักไก่ คัดแยกไก่ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ มีขนาดและน้ำหนัก ไม่ใกล้เคียงกับรุ่น หรือไม่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตออก 6.2 ไข่ไก่ เก็บไข่และคัดแยกไข่ที่ผิดปกติ มีรอยร้าวหรือแตกออก และคัดแยกไข่ ที่สกปรกมีมูลไก่ติด เพื่อแยกทำความสะอาด เก็บรักษาไข่ไก่ไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือที่มีการควบคุม อุณหภูมิ การขนส่งไข่ ใช้พาหนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ดีหรือควบคุมอุณหภูมิได้ สิ่งแวดล้อม 7.1 กำจัดขยะ น้ำเสีย ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของ กลิ่นและเชื้อโรค 7.2 ป้องกันการฟุ้งกระจายของวัสดุรองพื้นหลังการย้ายไก่ไข่ออกจากฟาร์ม การบันทึกข้อมูล 8.1 ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ การควบคุมโรคและผลิตผล 8.2 ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ ไฟล์ PDF เป็นคู่มือการเลี้ยงไก่ ครับ ที่สามารถให้เรา โหลดได้ฟรี ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป Read More »

Health Certificate ไข่ไก่ส่งออก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 ปัจจุบันประเด็นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มีบทบาท มากขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศได้กำหนดให้เป็นกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากอันตราย ที่มาจากอาหาร (Food Hazard) ผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกสินค้า มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า ซึ่งหลายประเทศต้องการเอกสารจากผู้ส่งออก เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้า ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออก ต้องติดต่อหน่วยงานที่ออก ใบรับรอง สุขอนามัย (Health Certifcate) ซึ่งเป็นเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยของสินค้าและใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการผลิตภายใต้มาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิต (Good Manufacturing Practice หรือ GMP ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้ามากขึ้น ทั้งนี้ส่วนของ มาตรฐาน Health Certificate มีการแบ่ง ประเภทออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้ ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ใบรับรองสุขอนามัยแบบทั้งระบบการผลิต (Whole Product System) ใบรับรองสุขอนามัยแบบแต่ละรุ่นการผลิต (Lot by Lot) ใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ทำไมเราต้อง ขอใบรับรอง สุขอนามัย การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ออกนอกราชอาณาจักร สามารถดำเนินการส่งออกได้โดยไม่มี ข้อกำหนด หรือเป็นมาตรการสมัครใจ ไม่เป็นข้อบังคับจากประเทศไทย ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศปลายทาง หรือความต้องการของคู่ค้าเป็นหลัก ที่ต้องการให้ผู้ส่งออกมีมาตรฐานใดบ้างสำหรับการส่งออก ถึงจะเป็นที่ยอมรับสำหรับประเทศ ปลายทาง หรือประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเรา ทั้งนี้ในส่วนของประเภทต่างๆ ที่เจ้าของฟาร์ม ที่ต้องการส่งออก สินค้า ต้องทำมาตรฐาน แตกต่างกันไปตาม แต่ละสินค้า หรือ ต่างกันตาม ความต้องการ และมาตรฐานที่ประเทศปลายทางยอมรับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก สำหรับฟาร์มที่ต้องการปรึกษาเรื่องการทำ ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก หรือเพิ่งเริ่มต้น ขยายตลาดวางแผนการส่งออก สินค้า และผลิตภัณฑ์ ของฟาร์ม สามารถ เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ที่ผมใส่ไว้ให้ครับ สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องคำแนะนำจากผู้เชียวชาญ แนะนำ กรอกฟอร์ม ให้ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ เพราะแต่ละกลุ่มประเทศ มีความต้องการ ที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อกำหนด และข้อมูลส่วนของ มาตรฐานฟาร์มแบบต่างๆ ก็จะต่างกัน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่ม หรือเริ่มแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทาง และเริ่มขยายตลาดของคุณได้ทันที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 Read More »

แนะนำ ปศุสัตว์ OK เจ้าของฟาร์มได้ประโยชน์อย่างไร

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 ปศุสัตว์ OK คือ การรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาขาย ต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน เชือดที่ โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย และขายในสถานที่จำหน่ายที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาขายได้ สำหรับมาตรฐานนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ สถานที่ในการจัดจำหน่าย และขั้นตอนของการ นำผลิตภัณฑ์ มาจำหน่ายครับ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของ เนื้อสัตว์ ที่นำมาจำหน่าย เลี้ยงที่ไหน เชือดที่ไหน และมีกระบวนการอย่างไร สามารถตรวจสอบได้ครับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ปศุสัตว์ OK ประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ เนื้อสัตว์ ที่ได้รับการผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน GAP ปลอดภัยจากสารตกค้าง เนื้อสัตว์ที่ได้ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ ที่ถูกต้องได้รับอนุญาตตามกฏหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สถานที่จัดจำหน่าย สะอาดถูกต้อง ผู้ขายได้ประโยชน์อะไร ถ้าเข้าร่วม โครงการ ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจะเลือกจากสินค้าที่ได้มาตรฐาน และหากมีการรับรองจากกรมปศุสัตว์ แล้ว ลูกค้าหรือผู้บริโภค ก็จะตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะเลือกซื้อสินค้า ที่ต้องการ เพราะสินค้าได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบ ได้ อีกทั้งเป็นการ ยกระดับมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือให้กับสถนที่จำหน่ายด้วย สินค้าอะไรบ้างที่ ให้การรับรอง สำหรับ สินค้าที่ได้รับการรับรอง มีดังนี้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อโค และไข่สด จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดเป็นสินค้า หรือเป็นส่วนของ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ทั้งหมดครับ เพราะจะเน้นในส่วนของ ผู้ประกอบการ หรือ ผู้จำหน่าย ที่ต้องการนำไปจำหน่าย ครับ ขั้นตอนการขอรับรอง สำหรับ ผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคำขอรับการตรวจ ประเมินได้ที่ สำนักงานบศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเข้าตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจ ประเมินก็จะได้รับใบรับรองสถานที่จำหน่าย พร้อมทั้ง ป้ายตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ เจ้าของกิจการที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับ สัญญาลักษณ์ จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็น เพื่อเป็นการ เพิ่มความมั่นใจ ให้ผู้บริโภค สำหรับปีต่อไป กรมปศุสัตว์จะมีการดำเนินการ ตรวจติดตามสถานที่จำหน่ายที่ได้รับการรับรอง โดยมีการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสถานที่จำหน่าย ที่ได้รับตราสัญญลักษณ์ ได้มีการรักษามาตรฐานการรับรองตลอดอายุการรับรอง นอกจากนี้ยังมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารตกค้าง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ และสารเร่งเนื้อแดง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 Read More »

มาตรฐาน halal ข้อกำหนด และหลักการปฏิบัติ

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา และ แนะนำได้ ตอนที่ 4   ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับ ความนิยม และได้รับความสนใจ อย่างมากจากสังคมไทย และทั่วโลก เพราะไม่ใช่ แค่ชาวมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่รวมถึง ชาวมุสลิม ทั่วโลก ก็ต้องการอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานฮาลาล จำหน่ายแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม ทั้งใน และต่าง ประเทศ ทั้งนี้ผู้ผลิต ก็ต้อง ปฏิบัติและดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดย ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้ มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและ ได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและอนุญาตให้ใช้ (อ้างอิง :  http://halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/th/general/91-halal-content/89-halal-standard-content-th) GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HALAL (ฮาลาล) คืออะไร? “ฮาลาล” Halal เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น อาหารฮาลาล  คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ อาหารฮาลาล (Halal Food) จำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิม ก็สามารถ บริโภคได้เช่นกัน สำหรับ อาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม อย่างเคร่งครัด ปราศจากสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหาร ทั้งนี้ ในการแปลรูป ตั้งแต่การผลิต จะต้องถูกต้องตาม มาตรฐาน Halal  ทั้งนี้ บางส่วนของ มาตรฐานที่กำหนด ก็มีดังนี้ครับ หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้เชือด ต้องนับถือศาสนาอิสลาม สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม สัตว์ที่เชือด ต้องไม่ปะปนสัตว์ ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง และทุกขั้นตอนการเชือด ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์ ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้ ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Halal สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ มาตรฐาน ฮาลาล แห่งชาติ  ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม Halal สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก  

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4 Read More »

มาตรฐาo GHP

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 ส่วนของ มารตรฐานที่ 2 ของ ฟาร์ม คือมาตรฐาน GHP สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องการแนวทาง และคำปรึกษา เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษา ดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ GHP  คืออะไร GHP (Good Hygiene Practice) คือหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนด ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิต และควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ทั้งในส่วนของโรงาน ฟาร์ม และ ทุกส่วนที่เกี่ยวจ้อง ที่จะทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร โดยเน้นการป้องกัน และขจัดความเสี่ยง ที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ และเลือกซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานดังกล่าว หลักการของระบบ GHP Codex สำหรับ หลักการจัดการ และการดูแลของ มาตรฐาน GHP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตอาหาร ที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด และปลอดภัย ไม่เป็นพิษ ในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points) ประโยชน์ของระบบ มาตรฐานฟาร์ม GHP  เมื่อเราได้รับ มาตรฐาน ระบบ GHP จะทำให้เราส่งมอบสินค้า ที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานกำหนด เพราะมีการควบคุม และดูแลเรื่องความสะอาด ของโรงงานที่ผลิต ไม่มีการปนเปื้อน และเป็นการลดความผิดผลาด ที่อาจจะเกิดขี้น จากขั้นตอนการผลิด ที่อาจจะมีการส่งผลกระทบต่อ สินค้า และผลิตภันฑ์ได้ เกณฑ์มาตรฐานของ  GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) โดยครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของสถานที่ผลิต วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ สุขอนามัยในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค เรียกว่า ตั้งแต่การผลิด จนถึงการส่งมอบเลยครับ มาตรฐาน GPH ต่างจาก GMP เนื่องจากมีความเข้มงวดน้อยกว่า ในเรื่องของการบริการ การจัดการเอกสาร และรายงานต่างๆ ดังนั้นแล้วโรงงานที่ ได้รับความน่าเชื่อถือกว่า ก็จะทำ มาตรฐาน GMP เพราหากได้มาตรฐาน GMP แล้วการได้มาตรฐาน GPH ก็จะทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร นอกจานี้ การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไปโดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมายแต่อย่างใด สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 Read More »

ให้คำปรึกษามาตรฐานGAPฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม GAP  คืออะไร ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ 3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก  มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน 2. การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์ มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง 3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)