Logo-CPF-small-65png

Search Results for: อาหารสัตว์

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2565 ที่ สวนนงนุช พัทยา   ภายใต้หัวข้อ การผลิตสัตว์ก้าวผ่านยุคสมัยแห่งการพลิกผัน Animal production beyond the era of disruptionโดยในงานซีพีเอฟนำเทคโนโลยี cpf smart farm solution เทคโนโลยีการเลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ อัจฉริยะ ที่ได้ผสมผสานความหลากหลายของเทคโนโลยีที่เป็นอัตโนมัติ ทันสมัย มาปรับใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อมของโรงเรือน การบันทึกข้อมูลการเลี้ยง การแสดงผลประสิทธิภาพ รวมทั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติ และนวัตกรรมอาหารรักษ์โลก เพื่อก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดธุรกิจฟาร์ม มานำเสนอในงานนี้ด้วยเช่นกัน ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่www.cpffarmsolutions.comwww.cpffeedsolution.com

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 Read More »

CPF ธุรกิจอาหารสัตว์บก “ปั้นทายาทสานต่อธุรกิจ CPF Next Gen Now” รุ่นที่ 1

CPF ธุรกิจอาหารสัตว์บก “ปั้นทายาทสานต่อธุรกิจ CPF Next Gen Now” รุ่นที่ 1      คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร CPF ธุรกิจอาหารสัตว์บก เป็นประธานเปิดโครงการ “ปั้นทายาทสานต่อธุรกิจ CPF Next Gen Now” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องรวมระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2565 โดยผนึกกำลังวิทยากรและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ถ่ายทอดองค์ความรู้ เตรียมความพร้อม และพัฒนาทายาททางธุรกิจในการสืบทอดกิจการสู่การบริหารงานอย่างมืออาชีพ ตลอดจนเสริมความแข็งแกร่งคู่ค้าให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ณ โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพฯ สุขุมวิทนอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากทายาทธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในการบริหารกิจการ ร่วมแชร์ประสบการณ์พร้อมแง่คิดดีๆ ในหัวข้อ “Family Business Succession” ได้แก่  คุณสุพงษ์ ลักษณ์ธนากุล บจ.เชียงใหม่ธนากุล”ล้มแล้วต้องลุกให้เร็วที่สุด กลับไปหาจุดที่ผิดพลาด ไม่เสียใจกับสิ่งที่ผิดพลาด แต่ต้องแก้ไขให้เร็วที่สุด และต้องไม่กลับไปผิดพลาดซ้ำที่เดิมอีก” คุณสุพรหมวัชร์ ธนาเกียรติภิญโญ บจ.สุขพรหมมาศ”ข้อดีจากการเป็นพันธมิตรกับ CPF คือได้เห็นรูปแบบและวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีม จึงได้นำไปปรับใช้ในองค์กรตนเอง” น.สพ.วรวุฒิ ศิริปุณย์ บจ.ฟาร์มหมอต้น”ตั้งแต่จำความได้ ก็เห็นทีมงาน CPF ที่ฟาร์มกับคุณพ่อคุณแม่มาโดยตลอด ตอนนี้รุ่นเราได้ขยายธุรกิจ จึงเลือก CPF เป็นที่ปรึกษา เพราะมีความเชี่ยวชาญและองค์ความรู้ครบถ้วน ดูแลเราตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ จนมาถึงรุ่นลูก” คุณกษาณ ปิยชาติสกุล บจ.ปิยะฟาร์ม”เราซึมซับการทำงานของคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เด็ก ได้ซึมซับวิธีการทำงานของท่านโดยสัญชาตญาณ โดยต้องทำงานให้ดีที่สุด ทุ่มเทในงาน ไม่มีความสำเร็จใดได้มาโดยง่าย” ทั้งนี้ CPF ธุรกิจอาหารสัตว์บก พร้อมเคียงคู่ดูแลทุกก้าวการเติบโตของพันธมิตรต่อไปอย่างยั่งยืน  

CPF ธุรกิจอาหารสัตว์บก “ปั้นทายาทสานต่อธุรกิจ CPF Next Gen Now” รุ่นที่ 1 Read More »

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2565 ที่ สวนนงนุช พัทยา

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2565 ที่ สวนนงนุช พัทยา ภายใต้หัวข้อ การผลิตสัตว์ก้าวผ่านยุคสมัยแห่งการพลิกผัน Animal production beyond the era of disruption โดยในงานซีพีเอฟนำเทคโนโลยี cpf smart farm solution เทคโนโลยีการเลี้ยงสุกร-ไก่ไข่ อัจฉริยะ ที่ได้ผสมผสานความหลากหลายของเทคโนโลยีที่เป็นอัตโนมัติ ทันสมัย มาปรับใช้ในการควบคุมสภาพแวดล้อมของโรงเรือน การบันทึกข้อมูลการเลี้ยง การแสดงผลประสิทธิภาพ รวมทั้งการแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติ และนวัตกรรมอาหารรักษ์โลก เพื่อก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดธุรกิจฟาร์ม มานำเสนอในงานนี้ด้วยเช่นกัน ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cpffarmsolutions.com https://cpffeedsolution.com

ซีพีเอฟ โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ร่วมสนับสนุนงานสัมมนาสัตว์ศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2565 ที่ สวนนงนุช พัทยา Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l ep.65 อาหารรักษ์โลก นวัตกรรมอาหารสัตว์เพื่อก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดของธุรกิจฟาร์ม l

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l ep.65 อาหารรักษ์โลก นวัตกรรมอาหารสัตว์เพื่อก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดของธุรกิจฟาร์ม l Read More »

วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งต่อเนื่อง แนะรัฐเร่งแก้ไขก่อนเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเผยตัวเลขราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเตือนรัฐ เพื่อเตรียมการแก้ไข แต่ไม่คืบ หวั่นกระทบหนักส่งผลขาดแคลนอาหารสัตว์ เหตุสมาชิกหลายรายแบกรับต้นทุนไม่ไหวทยอยลดกำลังการผลิตลง  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวถึง สถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งกำลังพุ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่อาหารสัตว์และสินค้าหลายรายการถูกตรึงราคา ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ วันนี้อยู่ที่ 11 บาท/กิโลกรัม และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะสูงไปจนถึงเดือนเมษายน 2565 ซึ่งจะมีผลผลิตข้าวโพดหลังนาออกสู่ตลาด หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ราคาข้าวโพดจะสูงถึง 12 บาทในเร็วๆนี้ ในขณะที่ข้าวสาลีก็มีราคาทะยานพุ่งสูงถึง 12 บาท/กิโลกรัม จาก 8.91 บาท/กิโลกรัม เป็นผลจากการเกิดสงครามในรัสเซีย กากถั่วเหลืองนำเข้าราคาขยับตัวสูงแตะ 20 บาท/กิโลกรัม จาก 16.51 บาท/กิโลกรัม ส่วนกากถั่วเหลืองที่ซื้อจากโรงสกัดน้ำมันในประเทศอยู่ที่ 21 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้วัตถุดิบตัวอื่นไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง ข้าวสาลี แป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ DDGS หรือ น้ำมันปาลม์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ก็พร้อมใจกันปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก แม้แต่ถ่านหินซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตอาหารสัตว์ก็ปรับราคาสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 1.สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้   2. นโยบายภาครัฐที่ต้องการดูแลราคาพืชอาหารสัตว์ในประเทศ โดยมีการใช้มาตรการที่บิดเบือนกลไกตลาด อาทิ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลีโดยจะต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 3 ส่วนก่อนนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน การจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมาตรการด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งมาตรการเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นแล้ว เพราะมาตรการประกันรายได้เกษตรกรช่วยดูแลเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว “สมาคมฯได้นำเสนอข้อมูลแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ให้กระทรวงพาณิชย์รับทราบแล้ว พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขที่กระทรวงทำได้ เช่น การยกเลิกมาตรการในหลายด้าน อาทิ ขอให้พิจารณายกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2%, มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3 : 1 ส่วน และเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO, AFTA ยกเลิกโควต้าภาษีและค่าธรรมเนียมให้สามารถนำเข้ามาได้ในปริมาณขาดแคลน ในปี 2565 เป็นการชั่วคราว แต่ไม่มีความคืบหน้าใด” นายพรศิลป์กล่าว ทั้งนี้ เมื่อปี 2552  ราคากากถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงวัตถุดิบตัวอื่นๆ ไม่สูงเท่าวันนี้ แต่รัฐบาลในขณะนั้นได้พิจารณาปรับลดอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% ซึ่งช่วยบรรเทาต้นทุนได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้น ในวันที่ราคาวัตถุดิบสูงมากเช่นขณะนี้  สมาคมฯ จึงขอวอนรัฐพิจารณามาตรการดังกล่าวโดยเร่งด่วน เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ เพราะมีสมาชิกหลายรายทนแบกรับต้นทุนต่อไม่ไหว และบางรายมีการปรับลดกำลังการผลิตลงแล้วเพื่อลดภาวะขายขาดทุน สถานการณ์นี้ตอกย้ำว่า ไม่มีใครอยู่รอดได้หากถูกตรึงราคาขายปลายทาง แต่ปล่อยให้ราคาวัตถุดิบต้นทางขึ้นโดยไม่มีการกำกับดูแล และหากไม่มีทางออกในเร็ววันนี้ ไทยอาจจะพบกับวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์ก็เป็นได้ ที่มา : มติชน

วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งต่อเนื่อง แนะรัฐเร่งแก้ไขก่อนเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์ Read More »

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีการนำผลผลิตจากข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว เช่น ปลายข้าวและรำข้าว มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่องและล่าสุด จากสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ ซีพีเอฟจึงร่วมมือกับคู่ค้าโรงสี ทำการรับซื้อข้าวเปลือก เพื่อช่วยระบายผลผลิตข้าวเปลือกในตลาด และนำข้าวเปลือกที่รับซื้อดังกล่าว มาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติมจากส่วนผสมเดิม เป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ทั้งในด้านการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาไทยและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันยังช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่คู่ค้าในสถานการณ์ปัจจุบัน “ซีพีเอฟ ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาไทย และช่วยให้โรงสีมีสภาพคล่องในสถาการณ์อันยากลำบากนี้ โดยดำเนินการรับซื้อข้าวเปลือกมาตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องนโยบายรัฐแล้วยังตอกย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและองค์กร”นายเรวัติกล่าว ทั้งนี้ ซีพีเอฟเดินหน้าพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด มุ่งมั่นจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ “สีเขียว” ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และอื่นๆ ที่ต้องมาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กับการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) “ข้าว” จึงเป็นวัตถุดิบหลักอีกชนิดหนึ่งของการผลิตอาหารสัตว์ และการจัดซื้อข้าวเปลือกในครั้งนี้ถือเป็นการจัดซื้อ “วัตถุดิบสีเขียว” ซึ่งมีแหล่งปลูกอย่างถูกต้อง ควบคู่ความภูมิใจที่ได้ช่วยพยุงราคาข้าวเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม Read More »

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐสภา – ท่านรองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงภาคบริษัท ผู้บริหารซีพีเอฟ และเบทาโกร เข้าร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ การผลิต และตลาด เพื่อประเมินสถานการณ์หามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค สืบเนื่องจากข่าวหมูแพงในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้ท่านรองนายกและรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยงข้องมาให้ข้อมูล       โดยกรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ให้ข้อมูล จำนวนผลผลิต ความเสียหายจากโรคสุกร ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสุกรขุนปี 2563 กับปี 2564 ต่างกันสิ้นเชิง  โดยปี 2563 ผู้เลี้ยงสุกรให้ความร่วมมือขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่ราคาไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัมนั้น  เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนตามกลไกลตลาด โดยผู้เลี้ยงสุกรมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.67 บาท ส่วนปี 2564 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นราคาเฉลี่ยที่ผู้เลี้ยงสุกรขายได้เฉลี่ย 67-68 บาทต่อกิโลกรัมที่ต้นทุนประมาณ 78-80 บาท ตามการประเมินของคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 โดยมีราคาตกต่ำสุดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ที่มีราคาต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม ตามข้อมูลจากตัวแทนผู้เลี้ยง  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจึงจำเป็นต้องขอขยับราคาขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน เพื่อลดความสูญเสียให้เกษตรกร วันพระล่าสุดที่ 4 พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 80-82 บาท ผู้เลี้ยงต้องปรับราคาจำหน่ายขึ้น เพื่อลดภาระขาดทุน ที่ผู้เลี้ยงมีต้นทุนผลิตสุกรที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักประกอบด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาสูงถึง 10-11 บาทต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลืองสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ราคา 19.80 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสต็อกผู้ผลิตในต่างประเทศลดลง  โดยมีค่าบริหารความเสี่ยงด้านโรคระบาดในสุกรที่เพิ่มขึ้น 300-400 บาทต่อตัว รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าวคิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้ต้นทุนการผลิตทั้งปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.40 บาท  ซึ่งราคาสุกรหน้าฟาร์มที่สะท้อนต้นทุนไม่ควรต่ำกว่า 90 บาทต่อกิโลกรัม ตามการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อสาธารณะของนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา กรณีข้อกังวลของกระทรวงพาณิชย์ ด้านราคาจำหน่ายปลีกสุกรเนื้อแดง ที่จะกระทบค่าครองชีพผู้บริโภคนั้น ได้ข้อสรุป คือ ให้กรมการค้าภายใน ประสานขอความร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ประกอบด้วย Makro Lotus Big C ตรึงราคาเนื้อแดง (ที่ราคาเท่าไรให้ไปหารือ) เป็นเวลา 1 เดือน โดยตรวจสอบราคาปลีกห้างฯ วันนี้ประมาณ 120 บาทต่อกิโลกรัมทั้ง 3 ห้าง และเตรียมสินค้าเนื้อสุกรร่วมโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา ลดต้นทุนการเลี้ยง และระบาย Stock ข้าวเปลือก ให้กรมการค้าภายใน เป็นตัวกลาง เชิญสมาคมโรงสีข้าว สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์(อคส.) เพื่อเจรจาต่อรองราคาที่เหมาะสม ใช้วัตถุดิบข้าวกะเทาะเปลือก เป็นวัตถุดิบทดแทน (คาดว่าภายในวันศุกร์นี้ 12 พฤศจิกายน 2564) ให้กรมปศุสัตว์ประสานฝ่ายเลขาท่านจุรินทร์ เพื่อเชิญประชุม คณะกรรมการอำนวยการ AFS แห่งชาติ เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อติดตามประเมินผลกระทบ และแผนฟื้นฟู ปี 2565 ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา Read More »

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30%

สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบุว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนผ่อนปรนมาตรการที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่ายในห่วงโซ่การผลิต ประกอบด้วย การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% และ ภาษีนำเข้า DDGS 9% (Dry distillers Grains with Solubles) ผลผลิตที่เหลือจากการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพดเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ ปรับลดสัดส่วนการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่อการนำเข้าข้าวสาลี จากปัจจุบัน 3:1 เหลือ 1.5 : 1 และนำกลไกตลาดเสรีมาบริหารจัดการอุปสงค์-อุปทานวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้สอดคล้องกับปัจจัยและต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน เพื่อลดภาระการขาดทุนสะสมของเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของไทย ส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ไทยต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เพียง 5 ล้านตัน และนำเข้าส่วนต่าง 3 ล้านตันภายใต้มาตรการของรัฐ คือ กำหนดสัดส่วนนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ข้าวสาลี (วัตถุดิบทดแทนข้าวโพด) ในอัตรา 3:1 ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดในประเทศมีเพียง 60% ของความต้องการต่อปี สัดส่วน 1.5 : 1 จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมให้ภาคปศุสัตว์บริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดส่งออกได้ทั้งไก่สดแช่แข็งและอาหารสัตว์ นอกจากนี้ สัดส่วนดังกล่าวจะช่วยป้องกันการทุจริตจากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ ทั้งนี้ รัฐบาลมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม ความชื้น 14.5% ขณะที่ภาคเอกชนรับซื้อในราคาให้ความร่วมมือกับภาครัฐที่ 8 บาท/กิโลกรัม (เกษตรกรได้รับการชดเชยส่วนต่างราคาจากรัฐบาล) และยังต้องซื้อข้าวโพดตามราคาตลาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเพดานราคากำหนด  ขณะที่กากถั่วเหลืองมีการนำเข้าปีละ 2.5 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีเพียง 50,000 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้ทั้งเมล็ดและกากถั่วเหลืองอยู่ที่ 5 ล้านตัน ต่อปี เปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจอื่นภายใต้โครงการประกันรายได้ของรัฐ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีมาตรการโปรงใสไม่ซับซ้อนเหมือนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อราคาปรับสูงจนเกษตรกรมีรายได้เพียงพอ กลไกการตลาดจะทำงานโดยอัตโนมัติ การนำเข้าเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสามารถทำได้โดยเสรี นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการและเครื่องมือทางการตลาดในการปกป้องผู้บริโภคจากการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนการผลิตได้ เช่น โครงการธงฟ้า ที่สามารถตรึงราคาสินค้าเพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนได้ สมาชิกสมาพันธ์ฯ ใช้อาหารสัตว์รวมกันประมาณ 90% ของการผลิตของประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากภาระต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 20-30% ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จนถึงปัจจุบันราคาวัตถุดิบสูงสุดในรอบ 13 ปี ราคากากถั่วเหลืองปรับขึ้นจากกิโลกรัมละ 13 บาท เป็นกิโลกรัมละ 18-19 บาท ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขยับสูงสุดในเดือนกันยายน 2564 ที่ 11.50 บาท/กก. จากราคาเฉลี่ย 8-9.50 บาท/กก. รวมถึงอาหารเสริม วิตามิน เกลือแร่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 20-30% กระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ปรับตัวขึ้นในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ อาหารสัตว์เป็นต้นทุนการผลิต 60-70% ของการเลี้ยงสัตว์ และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นวัตถุดิบหลักในสูตรอาหารสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นดังกล่าวทั้งหมด รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคระบาดสัตว์  ขณะที่สถานการณ์วิกฤตโควิด 19 ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์ไม่สามารถขายและส่งออกผลผลิตได้ตามปกติ การรักษาสถานะของไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก รัฐบาลจำเป็นต้องดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิตให้เกิดความเป็นธรรมโดยใช้กลไกการตลาดเสรีเป็นเครื่องในการสร้างสมดุลการค้าและการผลิต และนำมาตรการปกป้องผลประโยชน์ประเทศมาใช้อย่างสมเหตุสมผลโดยพิจารณาปัจจัยแวดล้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้านทุกมิติ  เพื่อการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืน สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการรวมตัวกันของ 13 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30% Read More »

ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด

   สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ร้องรัฐช่วยเหลือเกษตรกรหลังแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นมากกว่า 20% หวั่นกระทบห่วงโซ่การผลิตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่ 1 แสนล้าน นายพรชัย เอี่ยมสงวนจิตต์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ เผยว่า  ช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ประสบปัญหาขาดทุนจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 มากอยู่แล้ว ยังต้องมาประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองสูงขึ้นอีก 20-30%  ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์สูงขึ้นตาม เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60-70% ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่ไก่พันธุ์เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อเพื่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศ ที่มีมูลค่าส่งออกปี 2564  คาดว่าสูงกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ที่แบกรับภาระการขาดทุนจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากยังปล่อยให้ปัจจัยการผลิตสูงต่อเนื่องแบบนี้ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและอุตสาหกรรมไก่เนื้อแน่นอน ขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรภาคการเลี้ยงสัตว์เป็นการด่วน เพื่อให้ห่วงโซ่การผลิตเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลักในอาหารสำหรับไก่ทุกประเภท ราคาในปัจจุบันปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) จากเดิมที่ราคาประมาณ 9 บาทต่อ กก. ขณะที่กากถั่วเหลืองปรับจาก 13 บาทต่อ กก.  เป็น 20 บาทต่อ กก.อย่างไรก็ตาม นโยบายประกันรายได้ของรัฐบาลให้กับพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด กากถั่วเหลือง มันสำปะหลัง โดยเฉพาะข้าวโพดมีการประกันรายได้ให้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัมและชดเชยส่วนต่างกับราคาตลาดให้กับเกษตรกร แต่ไม่มีการกำหนดเพดานราคา ส่งผลให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นมาก และสุดท้ายก็ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ต้องเป็นผู้แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งห่วงโซ่การผลิต ดังนี้สมาคมฯ ขอให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะความชัดเจนเรื่องการกำหนดเพดานราคาวัตถุดิบเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือใช้กลไลการตลาดเสรีเพื่อสร้างสมดุลด้านราคา เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีเพียงพอต่อความต้องการและเดินหน้าต่อเนื่องได้ ไม่ถูกตัดตอนจนหยุดชะงักจากปัญหาราคาวัตถุดิบ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)