Logo-CPF-small-65png

การจัดการฟาร์มสมัยใหม่

cpf ai farmlab

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology

CPF Ai FarmLAB                                                หนึ่งในความปรารถนาดีจาก CPF เพื่อให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรสามารถผ่านวิกฤตและความกังวลเรื่อง ASF (โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์) ที่กำลังประชิดติดชายแดนไทยอยู่ในขณะนี้ จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดของฟาร์มในประเทศไทยพบว่า 67% โรคเข้าฟาร์มเนื่องจากกระบวนการขาย จุดส่งสุกร (Load Out) ที่เล้าขายจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของ ASF สู่พื้นที่เล้าขายและเนื่องจาก ASF เป็นโรคที่ติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเท่านั้น ช่องทางที่โรคผ่านเล้าขายได้จึงเป็นเรื่องของการสัมผัสโดยตรงไม่ว่าจะเป็นพนักงานเล้าขายกับพนักงานที่มากับรถขนส่ง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันหรือแม้กระทั่งใบส่งของที่ส่งให้กัน ฯลฯ เมื่อเชื้อโรคมาถึงเล้าขายด่านต่อไปคือการเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยง นั่นคือจุดรับสุกรสู่เล้าขาย (Load In) ซึ่งมีโอกาสเกิดการสัมผัสกันของพนักงานเล้าขายที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคกับพนักงานส่งสุกรจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรและเมื่อเชื้อโรคเดินทางไปถึงโรงเรือนเลี้ยงได้เมื่อไหร่การระบาดในฟาร์มก็อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราตั้งใจพัฒนาระบบป้องกันโรคเข้าฟาร์ม ด้วยหลักคิดจากทั้งสองเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วคือ ASF ติดต่อผ่านการสัมผัสเท่านั้นและเล้าขายเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของโรคเข้าสู่ฟาร์ม หลักการทำงานของระบบป้องกันโรคนี้ จะมี AI (artificial intelligence) เฝ้าระวังผ่าน CCTV (ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด) เพื่อป้องกันการสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น ณ.จุดรับสุกร (Load In) และ จุดส่งสุกร (Load Out) เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจเปิดโอกาศให้มีการสัมผัสเกิดขึ้น AI จะทำการเตือนทันที โดยผ่าน 2 ช่องทางคือ 1. เสียง จะมีเสียงเตือน ณ.จุดที่เกิดเหตุเพื่อให้ผู้ที่ฝ่าฝืนรู้ตัวและหยุดการกระทำที่มีความเสี่ยงโดยทันที 2. Line Alert (การแจ้งเตือนผ่านระบบไลน์ที่สมาร์ทโฟน) เป็นรูปภาพส่งให้บุคคลที่กำหนดให้เป็นผู้รับรู้ในทันทีที่มีการฝ่าฝืนจุดเฝ้าระวังไม่ว่าบุคคลที่กำหนดไว้จะอยู่ที่ไหนจะรับทราบ ณ.เวลาที่เกิดการฝ่าฝืนขึ้น ผู้บริหารสามารถสั่งการอย่างเร่งด่วนเมื่อเกิดเหตุฝ่าฝืนเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์มเช่นสั่งให้พนักงานที่ฝ่าฝืนออกไปจากพื้นที่ทำงานและไปผ่านกระบวนการจัดการกับบุคคลที่มีความเสี่ยงด้านการป้องกันโรคก่อนเข้าฟาร์มต่อไป นอกจากนั้นข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ที่ Dashboard ในคอมพิวเตอร์สามารถดูได้ง่ายๆ ใช้เวลาในการตีความสั้นๆใช้ในการติดตามการฝ่าฝืนของพนักงานเล้าขาย เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดเวลา และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังเป็นวัน สัปดาห์ เดือนและปีได้อีกด้วย ด้วย ความตั้งใจที่ทีมงานซีพีเอฟได้กรั่นกรองจนตกผลึกและอาศัยความเชี่ยวชาญระดับโลกด้าน AI ของ บริษัท เซอร์ทิส จำกัด ร่วมกันสรรค์สร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมา เราคาดหวังว่าธุรกิจสุกรของประเทศไทยจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกันและพวกเราจะเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ ASF ไม่สามารถระบาดเข้าสู่ระบบการเลี้ยงได้ นำมาซึ่งความมั่นคงในการทำธุรกิจการเลี้ยงสุกรตราบนานเท่านาน เข้าชมรายละเอียดการเปิดตัว CPF AI FarmLAB ได้โดยเข้าสู่เวปด้านล่างครับ https://techsauce.co/news/cpf-ai-farmlab-powered-by-sertis# บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง https://cpffeedsolution.com/asf-protection/   CR: โค้ชวิทธ์

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องการรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร หรืออีกนัยหนึ่งคือการถ่ายเทความร้อนในโรงเรือนปิด ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับว่าสุกรไม่มีต่อมเหงื่อดังนั้นจะใช้ความรู้สึกของผู้เลี้ยง (คน-มนุษย์ซึ่งมีต่อมเหงื่อ) เป็นตัวตัดสินว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมิได้ ความร้อนสามารถถ่ายเทได้ด้วย 4 ปัจจัยคือ การนำความร้อน (Conduction) การระเหย (Evaporation) การแผ่รังสี (Radiation) การพาความร้อน (Convection) การนำความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 13%) การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่ร้อนกว่า ทำให้ความร้อนจากพื้นคอกถ่ายเทไปยังผิวหนังจึงทำให้รู้สึกร้อน  การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจากผิวหนังถ่ายเทไปยังพื้นคอกจึงทำให้รู้สึกเย็น  ปัจจัยที่ทำให้การนำความร้อนเกิดขึ้นได้สูง/ต่ำคือ ระดับอุณหภูมิของพื้นผิว การระเหย (มีผลต่อร่างกายสุกร 17%) การระเหยของน้ำที่อยู่บริเวณผิวหนัง เมื่อน้ำระเหยก็จะดึงดูดเอาความร้อนบริเวณผิวหนังออกไปด้วย จึงทำให้รู้สึกเย็น การระเหยจะเกิดขึ้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลมและความชื้นในบรรยากาศ การแผ่รังสี (มีผลต่อร่างกายสุกร 30%) ถ้าภายนอกโรงเรือนอากาศร้อน/หนาวมาก สุกรจะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน/หนาวโดยที่สุกรไม่ได้สัมผัสกับอากาศโดยตรง การรับ/สูญเสียความร้อนจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผนังคอก การพาความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 40%)    การเคลื่อนของกระแสลมที่พัดมากระทบกับผิวหนัง และดึงดูดความร้อนบริเวณผิวหนังออกไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเย็นคือ อุณหภูมิของอากาศและความเร็วของกระแสลม โรงเรือนสุกรรูปแบบปิดที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (Tunnel Ventilation) โดยนำหลักการระเหยของน้ำ (Evaporation) มาใช้ในการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าโรงเรือน เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยวัตถุประสงค์ที่ใช้ระบบนี้เพื่อให้สุกรอยู่สบาย (Pig Comfort)  ลดความเครียดให้น้อยที่สุด ผู้ใช้โรงเรือนต้องเข้าใจว่าปัจจัยที่มีผลการแลกเปลี่ยนความร้อนในตัวสุกรสูงสุดคือการพาความร้อน (40%) แต่การพาความร้อนจะให้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการระเหยน้ำ (17%) เข้ามาช่วยเพราะสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ การบริหารโรงเรือนอีแวปจึงต้องพิจารณาถึง ความชื้นและความเร็วลมเพื่อให้สามารถทำให้อุณภูมิที่สุกรรู้สึกเป็นไปตามที่สุกรต้องการและต้องไม่ลืมเรื่องค่าความสบายของสุกร (Optimal Humidity – ดูเพิ่มเติมในบทที่ 4) การแผ่รังสี (30%)   ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในขั้นตอนการสร้างโรงเรือนหรือการดัดแปลงโรงเรือนให้สุกรสามารถให้ผลผลิตสูงสุด โดยการคัดเลือกอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เหมาะสมเช่น ผนัง วัศดุมุงหลังคา ฝ้าเพดาน หน้าต่างและทิศทางโรงเรือนฯลฯ                    ให้มีผลต่อการแผ่รังสีความร้อนให้น้อยที่สุดเช่น แผ่นฉนวนไอโซวอลล์ (ISO-Wall Sandwich panel), Metal sheet          การลดการแผ่รังสีอีกทางหนึ่งก็คือทำอย่างไรให้พื้นที่ทุกส่วนของโรงเรือนโดนแดดให้น้อยที่สุดหรือไม่โดนเลยยิ่งดี การนำความร้อน (13%) พิจารณาในแง่หาพื้นรองนอนเพื่อความอบอุ่นสำหรับสุกรที่อายุน้อยซึ่งต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิห้อง (>32 องศาเซลซัยส) บทต่อไปเราจะมาทำความเข้าใจกับการใช้ปัจจัยทั้ง 4 ตัวในการทำให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน     การคำนวนหาค่า % Wind Speed และการเฝ้าระวังเพื่อให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน วันละ 24 ชั่วโมง ปีละ 365 วัน CR:  โค้ชวิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 Read More »

จัดการโรงเรือนอีแวป

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5)

จัดการโรงเรือนอีแวป ในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องความต้องการอากาศในสุกรกัน    การเลี้ยงสุกรเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์จึงมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอดีตเราใช้พื้นที่เลี้ยง 1 ตร.ม.ต่อน้ำหนักสุกร 80 กิโลกรัม  ในปัจจุบันมีแนวคิดที่จะเลี้ยงให้ได้ปริมาณสุกรต่อพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น 0.80 – 1.00 ตร.ม/ตัว (น้ำหนัก 100-105 ก.ก.)  เนื่องจากที่ดินมีราคาสูงขึ้นการทำประชาคมมีความซับซ้อนมากขึ้นค่าก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ   แต่ผู้เลี้ยงต้องตระหนักว่าสุกรเป็นสิ่งมีชีวิตต้องการอากาศหายใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ออกซิเจน (Oxygen) คือก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์รวมถึงมนุษย์เราด้วย เพราะถ้าร่างกายขาด ออกซิเจนเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อากาศที่สิ่งมีชีวิตหายใจจะมีอ๊อกซิเจนประมาณ 21% นั่นหมายความว่าในโรงเรือนอีแวปทุกพื้นที่ต้องมีปริมาณอากาศที่เพียงพอตามมาตรฐานของสุกร   เราเรียกว่า “ ความต้องการ การระบายอากาศ ” ซึ่งสุกรแต่ละระยะมีความต้องการไม่เท่ากันตามตารางด้านล่าง ถ้าปริมาณอากาศไม่เพียงพอต่อสุกรในโรงเรือน สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ สุกรไม่กระตือรือร้น ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน กินอาหารลดลง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ลดภูมิคุ้มกัน และต้องไม่ลืมว่าถ้าปริมาณก๊าซตัวใดตัวหนึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่อมทำให้สัดส่วนของอ๊อกซิเจนลดลง อย่างแน่นอน น้องๆสัตวบาลฟาร์มสุกร ที่ต้องการจะบริหารโรงเรือนอีแวปให้ได้ประโยชน์สูงสุด ย่อมต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่ต้องเข้าใจเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ เช่นมนุษย์จึงใช้ความรู้สึกของมนุษย์เป็นตัวกำหนดไม่ได้ นั่นคือ “การรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร“ CR : โค้ชวิทธ์

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป4

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4)

การจัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป มาต่อกันเลยครับ    นอกจากอุณหภูมิแล้วยังมีอีก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกร (pig Comfort) นั่นคือ ความชื้น ความเร็วลมและความต้องการอากาศ ในช่วงความชื้นต่ำเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ลอกหลุด สุกรจะจามมากขึ้น โอกาสติดเชื้อมากขึ้น จากฝุ่น (endotoxin) กดภูมิคุ้มกัน     สำหรับประเทศไทยช่วงความชื้นต่ำมีโอกาสเกิดน้อยมากส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวช่วงสั้นๆสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายโดยการเปิดน้ำแพดให้ชุ่มด้านบนของแพดช่วงสั้นๆประมาณ 1 ฟุตเพื่อเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ในช่วงความชื้นสูงเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ การระเหยที่ผิวหนังเกิดได้น้อย ทำให้ไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลงได้ (สุกรไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์การทำให้ร่างกายเย็นลงต้องอาศัยการระเหยน้ำจากผิวหนัง) จึงมีปัญหามากถ้าเกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูง โอกาสติดเชื้อมากขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง กดภูมิคุ้มกันเนื่องจากสุกรมีความเครียดสูง       ถ้าจะทำความเข้าใจถึงความเครียดของสุกรในขณะที่ความชื้นสูงและอุณหภูมิสูงให้เราลองอาบน้ำในห้องน้ำที่มีแค่ช่องระบายลมเล็กๆ ในวันที่มีฝนตกและอากาศร้อน เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้ยืนนิ่งๆ อยู่ในห้องน้ำซักครึ่งชั่วโมง ความรู้สึกอึดอัดนั้นคือความรู้สึกของสุกร ที่สำคัญสุกรไม่สามารถเดินหนีออกมาจากห้องน้ำได้ ต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรือน      เราสามารถดูว่าความชื้นและอุณหภูมิร่วมกัน จะสร้างความเครียดให้สุกรหรือไม่ โดยนำค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์รวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าเกิน 170 ถือว่าสุกรอยู่ไม่สบาย ดังนั้นเราต้องบริหารค่าความสบายของสุกรให้ไม่เกิน 170 นั่นเอง การตอบสนองของสุกรต่อความเร็วลม ในช่วงความเร็วลมต่ำกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ไอหรือจามถ้าโรงเรือนมีแก๊สมาก ลดภูมิคุ้มกัน     ในบ้านเรามีอุณหภูมิที่สูงกว่าความต้องการของสุกรเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ลูกสุกรอายุ 3-4 สัปดาห์ยังต้องการอุณหภูมิที่ 32-34 องศาเซลเซียส นั่นแปลว่าถ้าอุณหภูมิทั่วๆ ไปสูงกว่า 34 องศาเซลเซียส สุกรก็จะรู้สึกร้อน ความเร็วลมจึงเป็นปัจจัยหลักที่สามารถนำมาช่วยให้สุกรรู้สึกสบายได้      ที่อายุสุกร 19 สัปดาห์ขึ้นไป อุณหภูมิที่สุกรต้องการไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส  ถ้าโรงเรือนอีแวปของเรามีคุณภาพสูงสามารถกดอุณหภูมิลงได้ 10 องศา แปลว่าอุณหภูมิภายนอกโรงเรือนสูงได้ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ซึ่งทุกวันนี้อุณหภูมิภายนอกอาจสูงกว่า 40 องศาด้วยซ้ำ นอกจากนั้นท่านแน่ใจหรือไม่ว่าคุณภาพโรงเรือนสามารถกดได้ถึง  10 องศาจริง จากประสบการณ์พบว่าฟาร์มที่ไม่มีการติดตามเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างจริงจังมีโอกาสสูงมากที่โรงเรือนอยู่ในสภาพที่กดอุณภูมิได้แค่ 4-7 องศาเท่านั้น และหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรือนไม่สามารถกดอุณหภูมิได้ถึง 10 องศาเซลเซียสก็คือความเร็วลมไม่พอนั่นเอง    อีกปัจจัยที่ต้องระวังถ้าความเร็วลมต่ำ คือเรื่องแก๊สที่เป็นอันตรายต่อคนและสุกร     เราต้องรู้ว่าโรงเรือนของเรามีค่า Air Exchange ไม่เกิน 1 นาทีที่ความเร็วลมเท่าไหร่ เราจะได้วางแผนเรื่องการโช้คแก๊สออกจากโรงเรือนได้ ในช่วงความเร็วลมสูงกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ถ้าอุณหภูมิต่ำ สุกรจะนอนสุม ลดภูมิคุ้มกัน    ถ้าอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียสผู้เลี้ยงต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับสุกรที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ เนื่องจากมีโอกาสที่สุกรจะเกิดความเครียดเนื่องจากโดนลมโกรก (Wind Chill) ความหมายคือแม้อุณหภูมิห้องจะสูงกว่า   ความต้องการของสุกรแต่ความเร็วลมที่สูงเกินไปจะทำให้สุกรรู้สึกหนาวนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลหลักที่การเลี้ยงสุกรช่วงอนุบาลต้องมีความพร้อมด้านพื้นรองนอน ไฟกกและพื้นที่นอนที่สามารถป้องกันลมโกรกได้ อีกปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการอากาศ ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันการจัดการฟาร์มในตอนต่อไปครับ CR: โค้ช วิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ ก่อนที่เราจะสังเกตถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต เบื้องต้นเราควรเข้าใจถึงวิธีการประเมินความสบายของสุกร (Pig Comfort) โดยมีสิ่งที่เราต้องสังเกตดังนี้ การนอน การหายใจ การกินอาหาร ความกระตือรือร้น การนอน ท่านอนที่ที่บอกถึงความสบายของสุกรคือการนอนเต็ม พื้นที่ของลำตัวด้านข้าง เหยียดขาออกไปตรงๆเท่าที่พื้นที่ จะเอื้ออำนวย  ทุกส่วนแนบกับพื้นแบบสบายสบาย ถ้าเป็นคอกขังรวมจะนอนแบบลำตัวแนบชิด อาจมีการก่ายขากันบ้างถ้าอยู่ในพื้นที่แคบ การหายใจ สุกรที่อยู่สบายสบายจะมีอัตราการหายใจไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที วิธีนับคือหายใจเข้าจนสุดแล้วหายใจออกจนสุด นับ 1 ถ้าสุกรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที ถือว่ามีการหอบ ถ้าอากาศร้อนมากๆอัตราการหายใจ/นาที่ จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับความร้อนของอากาศ การกินอาหาร สุกรที่อยู่สบายสบาย จะกินอาหารได้มาก จึงเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นถึงสุขภาพสุกร กล่าวคือในเวลาที่สุกรกินอาหารเราควรเดินดูว่าสุกรกินอาหารได้หรือไม่ ตัวที่ไม่กินอาหารมีโอกาสเป็นสุกรป่วย อย่างไรก็ตามถ้าสุกรอยู่ไม่สบายหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะกินอาหารลดลงทำให้ได้สารอาหารไม่ครบตามที่ควรจะได้     ความกระตือรือร้น สุกรเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมีความสนใจต่อทุกๆสิ่งรอบๆตัวโดยเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปในโรงเรือนถือเป็นสิ่งใหม่ สุกรจะเข้ามาดูและทักทายเรา นอกจากนั้นหลังสุกรนอนจนเต็มอิ่ม พฤติกรรมวิ่งเล่นอยอกล้อถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปในโรงเรือนแล้วสุกรไม่สนใจเราหรือเอาแต่นอน นั่นเป็นข้อสังเกตว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสุกร เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสุกรที่มีความสุขอยู่สบายไม่เครียดมีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปเป็นการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าสุกรจะมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤตเพื่อความอยู่รอดและมีการใช้อาหารที่กินเข้าไปพื่อต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นผลให้ผลผลิตและประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงทุกๆท่านต้องทำความเข้าใจ อีกเรื่องสำคัญของการจัดการในโรงเรือน ในช่วง Lower Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ รวมกลุ่มชิดกัน/ชิดผนัง สัมผัสกับพื้นน้อยลง อุณหภูมิร่างกาย 39องศา กินอาหารเพิ่มมากขึ้น หนาวสั่น ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Upper Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ กระจายตัวออก สัมผัสพื้นมากยิ่งขึ้น หอบ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น การกินอาหารลดลง คอกเลอะเทอะ เล่น และแช่น้ำ หายใจ >40ครั้งต่อนาที ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Optimal Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ การสัมผัสกับตัวอื่นปกติ นอกเป็นกลุ่ม นอนกระจายตัว มีการสัมผัสพื้นเต็มที่ นอนในท่าที่ขาเหยียดยาวออก อุณหภูมิร่างการ 38.8-39.2องศา การกินอาหารปกติ พฤติกรรมปกติสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว หายใจ 20-30 ครั้งต่อนาที สุกรตัวที่นอนแยกกลุ่มจะมีลำดับความสำคัญสูง สุกรที่นอนอยู่ริมกลุ่มจะมีลำดับ(order)ที่ต่ำ สภาพแวดล้อมมิได้มีเฉพาะอุณหภูมิ ตอนที่ 4 เราจะพูดถึงเครื่องมือที่ช่วยให้สุกรอยู่แบบสบายสบายไม่เครียดอีก 3 ตัวครับ CR: โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3 Read More »

รู้สู้...โรค ASF

รู้สู้โรค ASF BY: โค้ชวิทธ์

โรค ASF คืออะไร ASF ย่อมาจาก African swine fever หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกรซึ่งมีหมูป่าเป็น แหล่งรังโรคและมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่า เป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาด ของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในขณะที่ เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงและสามารถปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อสุกรและซาลามีได้สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นสามารถแพร่โรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้น โรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงมาก โดยทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีอัตราป่วยและตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แนะนำ CPF AI Farmlab ซีพีเอฟ จับมือ เซอร์ทิส พัฒนาเทคโนโลยีบริหารและจัดการฟาร์ม “CPF AI FarmLab” ระบบดูแลฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคเข้าฟาร์ม ระบบคอยเฝ้าระวังตรวจจับพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงสัมผัสโรค ในจุดต่างๆที่มีการติดต่อกับบุคคลภายนอก เช่น จุดขายหมู เล้าสุกรคัดทิ้ง ต่างๆ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังแทนคนได้7วัน 24 ชั่วโมง บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซอร์ทิส จำกัด จับมือร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีบริหารและจัดการฟาร์ม “CPF AI FarmLab Powered by Sertis” ครั้งแรกในประเทศไทยด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence : AI) ที่สามารถคิด วิเคราะห์ ประมวลผล และตัดสินใจเองได้ ผ่านการจดจำและการศึกษาข้อมูลจำนวนมาก มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมสร้างมาตรฐานให้กับกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของไทย มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล

รู้สู้โรค ASF BY: โค้ชวิทธ์ Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการ-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ EET-Effective Environment Temperature คืออะไร? อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงสุกรไม่ใช่อุณหภูมิโรงเรือนนะครับ แต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ สุกรนอนอยู่ที่คอกในโรงเรือนอีแวปอุณหภูมิห้อง 24 องศาเซลเซียส กลุ่มสภาพแวดล้อม พื้นรองนอน ความเร็วลม ไฟกก ความรู้สึกของสุกรต่ออุณหภูมิ 1 (กลุ่มควบคุม) พื้นไม้ 0 ไม่มี 24 องศา 2 พื้นปูน 0 ไม่มี ต่ำกว่า 24 องศา/กลุ่ม 1 3 พื้นไม้ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 4 พื้นไม้ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 3 5 พื้นไม้ 0 มี สูงกว่ากลุ่ม 1 6 พื้นปูนเปียกน้ำ 0 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 7 พื้นปูนเปียกน้ำ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 6 8 พื้นปูนเปียกน้ำ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 7                  จะเห็นได้ว่าความรู้สึกต่ออุณหภูมิของสุกรไม่ใช่ 24 องศาเซลเซียสตามอุณหภูมิห้องเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์หรือสิ่งที่อยู่รอบๆ เป็นตัวกำหนด ดังตารางต่อไปนี้    ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมต้องเข้าใจเรื่องของอุณหภูมิในโรงเรือนโดยอ้างอิงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวสุกรด้วย และคาดคะเนถึงอุณหภูมิที่สุกรรู้สึกอยู่ตลอดเวลาด้วยนะครับ    การทำงานในสถานที่จริงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะคุมอุณหภูมิให้ตรงตามความต้องการของสุกรตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องเข้าใจถึงระดับความเสี่ยงต่ออุณหภูมิแต่ละระยะการเลี้ยงดังต่อไปนี้ Lower Critical Temperature คืออุณหภูมิต่ำสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย ส่วน Upper Critical Temperature คืออุณหภูมิสูงสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย เรียกอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพร่างกายทั้งที่ต่ำเกินไปและสูงเกินไปว่าอุณหภูมิวิกฤตสำหรับสุกร                    ผู้เลี้ยงจึงต้องมีความเข้าใจต่อพฤติกรรมของสุกรที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤต และสามารถใช้เครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ในฟาร์มปรับเข้าสู่อุณหภูมิที่สุกรต้องการให้ได้ สุกรก็จะให้ผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด แล้วพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤตเราสามารถสังเกตได้อย่างไร ติดตามต่อได้ในตอนต่อไปครับ CR : โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2 Read More »

จัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ได้อย่างไร? ปัจจุบันเทคโนโลยีการประหยัดไฟฟ้าด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) กำลังได้รับความนิยมเพราะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ทั้งเครื่องปรับอากาศ พัดลม ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ กินไฟน้อยลงกว่าปกติถึง 35-55% เพราะระบบอินเวอร์เตอร์นี้เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนความเร็วรอบของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับการทำงาน ทำให้กินไฟน้อยลง จึงช่วยประหยัดไฟฟ้าได้นั่นเอง วันนี้ไม่เพียงเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้นที่ใช้อินเวอร์เตอร์ เพื่อการประหยัดค่าไฟ แต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็ติดตั้งระบบนี้เพื่อให้รถยนต์สองระบบที่ใช้ไฟฟ้าร่วมด้วยประหยัดไฟมากขึ้น และในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเองก็ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในฟาร์มกันอย่างแพร่หลาย เชื่อว่าพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรที่มีโรงเรือนระบบอีแวป มีการควบคุมความเร็วพัดลมด้วยระบบอินเวอร์เตอร์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่จะดีกว่ามั้ย? หากสามารถใช้งานอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ ถ้าเราเป็นเจ้าของฟาร์มและเป็นผู้ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ด้วยตัวเอง แต่ยังใช้ได้ไม่ถูกต้องตามศักยภาพของระบบ ใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ ถ้าเป็นนักลงทุนมีการจ้างสัตวบาลมาควบคุมก็สามารถใช้บทความนี้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของน้องๆสัตบาลว่าอยู่ในระดับไหนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนอุปกรณ์ไว้แล้ว ทำไมต้องสนใจ จัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้ถูกต้อง  1. ประหยัดเงินค่าไฟฟ้าแต่ต้องให้มีจำนวนพัดลมมากกว่าค่ามาตรฐาน จำนวนกี่ตัวขึ้นกับขนาดโรงเรือนเนื่องจากการทำงานของระบบไม่มีการกระชากของไฟฟ้าจากการปิดเปิดพัดลมและปรับความเร็วลมโดยอาศัยการปรับความเร็วในการหมุนพัดลมแทน(เหมือนแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ที่ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบมาตรฐานทั่วๆไป) 2. ความเร็วของพัดลมมีการปรับตามความต้องการของสุกรในแต่ละอายุตามค่ามาตรฐานด้านล่าง 3. ความชื้นรวมกับอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์ต้องไม่เกิน 170 ดังตารางด้านล่าง 4. ความสามารถในการทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงเป็นการผสมผสานระหว่างระบบอินเวอร์เตอร์และการติดตามงานด้านสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ระบบ แค่ระบบอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงได้เนื่องจากตัวระบบเองต้องการการตรวจสอบจากผู้ใช้ระบบ หัวใจสำคัญคือ ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะการเลี้ยง สิ่งสำคัญในฟาร์มสุกรขุน ถ้าเราสามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรนั่นหมายถึงปริมาณอาหารที่สุกรกินนำไปใช้เพื่อการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ได้ประสิทธิภาพสูงสุดไม่ต้องนำไปใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับสุกร (อากาศหนาวสำหรับสุกร-Lower Critical) และไม่ต้องนำไปใช้ในการหอบเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย (อากาศร้อนสำหรับสุกร-Upper Critical) นั่นหมายถึงเราจะได้การเจริญเติบโต (ADG) ตามมาตรฐานหรืออาจมากกว่าอีกด้วย สำหรับฟาร์มสุกรพันธุ์ นอกจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับสุกรขุนแล้ว การที่เราสามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับความต้องการอย่างแท้จริงทั้งในระยะท้องว่าง-อุ้มท้องและเลี้ยงลูกแล้ว ยังทำให้สุกรกินอาหารได้ปริมาณตามความต้องการ สร้างสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง ให้ผลผลิตที่ดีทั้งด้านจำนวนรอบต่อปี ปริมาณของลูกสุกรและปริมาณน้ำนมที่มากเพียงพอต่อความต้องการของลูกสุกรซึ่งปัจจุบันลูกดกขึ้นมากกว่าในอดีต และต้องไม่ลืมว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมมิใช่อุณหภูมิโรงเรือนแต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร >> โปรติดตามได้ตอนที่2  CR : โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่2 การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)