Logo-CPF-small-65png

การจัดการฟาร์มสมัยใหม่

วิถีเกษตรแห่งอนาคต เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน

วิถีเกษตรแห่งอนาคต เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน

วิถีเกษตรแห่งอนาคต เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน ในยุคที่โลกเผชิญกับวิกฤตสิ่งแวดล้อม โรคระบาด อาหารขาดแคลน การปรับตัวของราคาพลังงาน (ค่าไฟแพงขึ้น) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ก็มีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบต่อโลกของเรา และทำให้ฟาร์มของเรา เติบโต ได้อย่างยั่งยืน ได้ง่ายๆ ด้วย 4 วิธีนี้ เพื่อนๆ เกษตรกรครับ บทความนี้ จะแนะนำ และนำเสนอแนวทางการเกษตรยั่งยืน ที่จะช่วยให้ฟาร์มของคุณเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน ต่อไป  เป็นอย่างไร มีอะไรบ้างมาดูกันเลย พลังงานสะอาด: ขับเคลื่อนฟาร์มด้วยพลังธรรมชาติ ระบบพลังงานไม่ว่าจะ ไฟฟ้า หรือ น้ำ ที่ใช้ในฟาร์มแล้ว แทนที่เราจะพึ่งพาพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งภายนอก ฟาร์มของเรา ก็สามารถผลิตพลังงานใช้เองได้ โดยใช้พลังงานจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวลจากมูลสัตว์ เพราะว่าทุกฟาร์ม มีพื้นที่ และสามารถผลิตได้อยู่แล้ว การลงทุนในระบบพลังงานหมุนเวียน ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาว และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้อีกด้วย เริ่มจากสิ่งที่มีอยู่ และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนวางแผน พัฒนา ฟาร์มของเรา จะประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย การขนส่งยั่งยืนลดมลพิษ : เดินทางด้วยพลังงานสะอาด ในปัจจุบัน รถไฟฟ้า หรือ รถรรทุกขนาดเล็ก ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า การขนส่งสินค้าและสัตว์ภายในฟาร์ม สามารถเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้า หรือยานพาหนะที่ใช้พลังงานสะอาดอื่นๆ แทนรถที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน ซึ่งช่วยลดมลพิษทางอากาศ และสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดีต่อสุขภาพ และแน่นอนว่า เราสามารถใช้พลังงานไฟฟ้า ที่ผลิตได้ในฟาร์ม มาเป็นตัวขับเคลื่อน น้ำคือชีวิต: บริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ แน่นอนว่า น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า ยิ่งการทำฟาร์ม หรือทำการเกษตรแล้วหล่ะก็ น้ำเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ถ้าฟาร์มของเราสามารถใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการรีไซเคิลน้ำเสียจากฟาร์ม นำกลับมาใช้ใหม่สำหรับการรดน้ำต้นไม้ หรือนำมาใช้เป็นน้ำสำหรับการ ทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังสามารถติดตั้งระบบเก็บน้ำฝน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำประปา เพื่อนำน้ำมาใช้ ในฟาร์มของเราได้อีกด้วย ตรวจสอบย้อนกลับ: สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ผู้บริโภคยุคใหม่ให้ความสำคัญกับที่มาของอาหาร การตรวจสอบย้อนกลับได้ และรู้ที่มาของสินค้า และวัตถุดิบ เป็นเรื่องที่สำคัญมาก นอกจากนี้แล้ว ยังช่วยให้ติดตามที่มาของวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการขนส่ง กระบวนการดังนี้ สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค ว่าอาหารที่พวกเขาทานมาจากแหล่งที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มความน่าเชื่อถือ และทำให้ฟาร์มของเรา มีคุณค่ามากขึ้นด้วย เริ่มต้นได้ง่ายๆ เพียงเท่านี้ ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าเพื่อได้ไฟฟ้าทดแทน เปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าภายในฟาร์ม ติดตั้งระบบรีไซเคิลน้ำ เข้าร่วมระบบตรวจสอบย้อนกลับ การทำ การเกษตรยั่งยืน ไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงเริ่มต้นลงมือทำ อนาคตที่ยั่งยืนก็อยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ข้อดีของฟาร์มยั่งยืน นอกเหนือจากประโยชน์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ฟาร์มยั่งยืนยังมีข้อดีอื่นๆ อีกมากมาย ด้านเศรษฐกิจ: ประหยัดค่าใช้จ่าย: การใช้พลังงานหมุนเวียน การใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอก ช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มรายได้: ผลิตภัณฑ์จากฟาร์มยั่งยืน มักได้รับการรับรองมาตรฐานจากผู้บริโภค น่าเชื่อถือ เป็นที่รู้จัก สร้างโอกาสทางธุรกิจ: ตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ยั่งยืนมีแนวโน้มเติบโตสูง ด้านสิ่งแวดล้อม: ลดมลพิษ: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มลพิษทางน้ำ มลพิษทางอากาศ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ: น้ำ ดิน ป่าไม้ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ: สนับสนุนระบบนิเวศ สร้างความมั่นคงทางอาหาร: ลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนอาหาร ด้านสังคม: ยกระดับคุณภาพชีวิต: สร้างสุขภาพที่ดีให้กับเกษตรกร พนักงาน ผู้บริโภค และชุมชน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม: สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ธุรกิจท้องถิ่น สร้างภาพลักษณ์ที่ดี: ให้กับฟาร์มและธุรกิจของคุณ ดึงดูดนักลงทุน: นักลงทุนให้ความสำคัญกับธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยรวมแล้ว ฟาร์มยั่งยืน นำเสนอโมเดลธุรกิจที่ ยั่งยืน: ตอบสนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่กระทบต่อความต้องการของรุ่นอนาคต ทำกำไร: สร้างผลกำไรอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบต่อสังคม: ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน ฟาร์มยั่งยืน จึงเป็นแนวทางที่ควรค่าแก่การพิจารณา สำหรับเกษตรกรที่ต้องการ พัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน สร้างผลกำไรอย่างมีจริยธรรม เป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม สร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับลูกหลาน การเกษตรยั่งยืน ไม่ใช่แค่แนวทาง แต่เป็นวิถีชีวิต ที่ช่วยให้ฟาร์มของคุณอยู่รอด และเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตสิ่งแวดล้อม ร่วมสร้างอนาคตที่สดใส ให้กับเกษตรกร ผู้บริโภค และโลกของเรา เราเชื่อมั่นว่า ไม่ว่าใครก็ สามารถเริ่มทำเรื่องดีๆ ให้เกิดขึ้นได้ ฟาร์มของคุณก็เช่นกัน มาช่วยกันทำฟาร์มของเราให้ ยั่งยืนกัน ^^ ติดตาม เนื้อหาสาระเกี่ยวกับฟาร์มได้ที่ เฟสบุ๊ค ยูทูป

วิถีเกษตรแห่งอนาคต เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืน Read More »

Health Certificate ไข่ไก่ส่งออก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 ปัจจุบันประเด็นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มีบทบาท มากขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศได้กำหนดให้เป็นกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากอันตราย ที่มาจากอาหาร (Food Hazard) ผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกสินค้า มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า ซึ่งหลายประเทศต้องการเอกสารจากผู้ส่งออก เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้า ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออก ต้องติดต่อหน่วยงานที่ออก ใบรับรอง สุขอนามัย (Health Certifcate) ซึ่งเป็นเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยของสินค้าและใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการผลิตภายใต้มาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิต (Good Manufacturing Practice หรือ GMP ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้ามากขึ้น ทั้งนี้ส่วนของ มาตรฐาน Health Certificate มีการแบ่ง ประเภทออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้ ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ใบรับรองสุขอนามัยแบบทั้งระบบการผลิต (Whole Product System) ใบรับรองสุขอนามัยแบบแต่ละรุ่นการผลิต (Lot by Lot) ใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ทำไมเราต้อง ขอใบรับรอง สุขอนามัย การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ออกนอกราชอาณาจักร สามารถดำเนินการส่งออกได้โดยไม่มี ข้อกำหนด หรือเป็นมาตรการสมัครใจ ไม่เป็นข้อบังคับจากประเทศไทย ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศปลายทาง หรือความต้องการของคู่ค้าเป็นหลัก ที่ต้องการให้ผู้ส่งออกมีมาตรฐานใดบ้างสำหรับการส่งออก ถึงจะเป็นที่ยอมรับสำหรับประเทศ ปลายทาง หรือประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเรา ทั้งนี้ในส่วนของประเภทต่างๆ ที่เจ้าของฟาร์ม ที่ต้องการส่งออก สินค้า ต้องทำมาตรฐาน แตกต่างกันไปตาม แต่ละสินค้า หรือ ต่างกันตาม ความต้องการ และมาตรฐานที่ประเทศปลายทางยอมรับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก สำหรับฟาร์มที่ต้องการปรึกษาเรื่องการทำ ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก หรือเพิ่งเริ่มต้น ขยายตลาดวางแผนการส่งออก สินค้า และผลิตภัณฑ์ ของฟาร์ม สามารถ เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ที่ผมใส่ไว้ให้ครับ สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องคำแนะนำจากผู้เชียวชาญ แนะนำ กรอกฟอร์ม ให้ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ เพราะแต่ละกลุ่มประเทศ มีความต้องการ ที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อกำหนด และข้อมูลส่วนของ มาตรฐานฟาร์มแบบต่างๆ ก็จะต่างกัน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่ม หรือเริ่มแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทาง และเริ่มขยายตลาดของคุณได้ทันที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 Read More »

แนะนำ ปศุสัตว์ OK เจ้าของฟาร์มได้ประโยชน์อย่างไร

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 ปศุสัตว์ OK คือ การรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาขาย ต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน เชือดที่ โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย และขายในสถานที่จำหน่ายที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาขายได้ สำหรับมาตรฐานนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ สถานที่ในการจัดจำหน่าย และขั้นตอนของการ นำผลิตภัณฑ์ มาจำหน่ายครับ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของ เนื้อสัตว์ ที่นำมาจำหน่าย เลี้ยงที่ไหน เชือดที่ไหน และมีกระบวนการอย่างไร สามารถตรวจสอบได้ครับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ปศุสัตว์ OK ประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ เนื้อสัตว์ ที่ได้รับการผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน GAP ปลอดภัยจากสารตกค้าง เนื้อสัตว์ที่ได้ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ ที่ถูกต้องได้รับอนุญาตตามกฏหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สถานที่จัดจำหน่าย สะอาดถูกต้อง ผู้ขายได้ประโยชน์อะไร ถ้าเข้าร่วม โครงการ ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจะเลือกจากสินค้าที่ได้มาตรฐาน และหากมีการรับรองจากกรมปศุสัตว์ แล้ว ลูกค้าหรือผู้บริโภค ก็จะตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะเลือกซื้อสินค้า ที่ต้องการ เพราะสินค้าได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบ ได้ อีกทั้งเป็นการ ยกระดับมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือให้กับสถนที่จำหน่ายด้วย สินค้าอะไรบ้างที่ ให้การรับรอง สำหรับ สินค้าที่ได้รับการรับรอง มีดังนี้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อโค และไข่สด จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดเป็นสินค้า หรือเป็นส่วนของ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ทั้งหมดครับ เพราะจะเน้นในส่วนของ ผู้ประกอบการ หรือ ผู้จำหน่าย ที่ต้องการนำไปจำหน่าย ครับ ขั้นตอนการขอรับรอง สำหรับ ผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคำขอรับการตรวจ ประเมินได้ที่ สำนักงานบศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเข้าตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจ ประเมินก็จะได้รับใบรับรองสถานที่จำหน่าย พร้อมทั้ง ป้ายตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ เจ้าของกิจการที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับ สัญญาลักษณ์ จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็น เพื่อเป็นการ เพิ่มความมั่นใจ ให้ผู้บริโภค สำหรับปีต่อไป กรมปศุสัตว์จะมีการดำเนินการ ตรวจติดตามสถานที่จำหน่ายที่ได้รับการรับรอง โดยมีการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสถานที่จำหน่าย ที่ได้รับตราสัญญลักษณ์ ได้มีการรักษามาตรฐานการรับรองตลอดอายุการรับรอง นอกจากนี้ยังมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารตกค้าง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ และสารเร่งเนื้อแดง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 Read More »

มาตรฐาน halal ข้อกำหนด และหลักการปฏิบัติ

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา และ แนะนำได้ ตอนที่ 4   ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับ ความนิยม และได้รับความสนใจ อย่างมากจากสังคมไทย และทั่วโลก เพราะไม่ใช่ แค่ชาวมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่รวมถึง ชาวมุสลิม ทั่วโลก ก็ต้องการอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานฮาลาล จำหน่ายแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม ทั้งใน และต่าง ประเทศ ทั้งนี้ผู้ผลิต ก็ต้อง ปฏิบัติและดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดย ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้ มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและ ได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและอนุญาตให้ใช้ (อ้างอิง :  http://halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/th/general/91-halal-content/89-halal-standard-content-th) GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HALAL (ฮาลาล) คืออะไร? “ฮาลาล” Halal เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น อาหารฮาลาล  คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ อาหารฮาลาล (Halal Food) จำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิม ก็สามารถ บริโภคได้เช่นกัน สำหรับ อาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม อย่างเคร่งครัด ปราศจากสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหาร ทั้งนี้ ในการแปลรูป ตั้งแต่การผลิต จะต้องถูกต้องตาม มาตรฐาน Halal  ทั้งนี้ บางส่วนของ มาตรฐานที่กำหนด ก็มีดังนี้ครับ หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้เชือด ต้องนับถือศาสนาอิสลาม สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม สัตว์ที่เชือด ต้องไม่ปะปนสัตว์ ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง และทุกขั้นตอนการเชือด ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์ ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้ ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Halal สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ มาตรฐาน ฮาลาล แห่งชาติ  ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม Halal สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก  

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4 Read More »

มาตรฐาน HACCP ฟาร์ม คืออะไร

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3   สำหรับมาตรฐานที่ 3 ที่เราจะได้รู้จักกัน คือมาตรฐาน HACCP ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มครับ สำหรับมาตรฐานนี้จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ  ความปลอดภัยอาหาร การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในฟาร์มผลิตที่ปลอดภัย GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HACCP อ่านว่า แฮซเซป เป็นตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ ที่ว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์อันตราย และจุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอนการผลิต หรือขั้นตอนการเลี้ยงครับ นอกจากนี้คำเรียกที่เรา อาจจะได้ยิน บ่อยๆ ว่า เอช เอ ซี ซี พี ตามที่เราได้เคยได้ยินครับ ก็เป็นอันเดียวกัน ครับ สามารถเข้าใจได้ ^^ มาตรฐานฟาร์ม HACCP สำหรับฟาร์ม เป็นระบบการจัดการสุขอนามัยที่ใช้ในฟาร์ม ซึ่งผสานรวม หลักการของ “ระบบ HACCP” แต่ว่าวิธีการจัดการสุขอนามัย ที่ปฏิบัติในฟาร์ปศุสัตว์จะแตกต่างกัน กับโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ได้รับ มาตรฐานการรับรอง HACCP เพราะเป็นคนละรูปแบบกัน  สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จึงนำเสนอมาตรฐานสำหรับการสร้างระบบการจัดการ สุขอนามัยที่เหมาะสมและการดำเนินการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการผลิต สัตว์และผลิตภัณฑ์ สัตว์ปลอดภัยด้วยการตระหนักถึงลักษณะเฉพาะ ของฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ มาตรฐานการรับรอง HACCP สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความร่วมมือ และการสื่อสารร่วมกัน เพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการสร้างมาตรฐาน เข้าใจความสอดคล้องกับความสำคัญสูงสุดที่ว่า ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่อง “ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะ อาหาร” ธุรกิจทั้งหมดในห่วงโซ่อาหารจะทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ ปลอดภัยของอาหาร HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์มุ่งเน้นว่าการสื่อสารร่วมกันจะต้องได้รับ การปฏิบัติอย่างจริงจังที่สุด 2. การวางแผน HACCP และการจัดการสุขอนามัยทั่วไป HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จะดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (HA) ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการผลิต รวมถึงวัตฤดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต สิ่งอำนวยความสะดวก และวิธีการทำงาน จากนั้น จะกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (CCP) สำหรับการจัดการแบบเข้มข้น นอกจากนี้ยังจัดการกับอันตรายที่ สามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการสุขอนามัยทั่วไปผ่านสิ่งที่เรียกว่าโครงการจัดการสุขอนามัยทั่วไป 3. กลไกสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง HACCP สำหรับฟาร์มปศสัตว์มุ่งปรับปรุงความปลอดภัยของปศสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภาพโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบความ ถูกต้อง และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4. การนำไปใช้กับฟาร์มทุกแห่ง HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์สามารถใช้ได้กับฟาร์ปศุสัตว์ทุกแห่งไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใดก็ ตาม แม้แต่ฟาร์มขนาดเล็กที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัวก็สามารถสร้างระบบ HACCP ได้ด้วยความ ช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระบบ HACCP ภายนอก สัตวแพทย์ CPF Farm solitions และองค์กรที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HACCP สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม HACCP ว่าสำหรับฟาร์มของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3 Read More »

มาตรฐาo GHP

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 ส่วนของ มารตรฐานที่ 2 ของ ฟาร์ม คือมาตรฐาน GHP สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องการแนวทาง และคำปรึกษา เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษา ดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ GHP  คืออะไร GHP (Good Hygiene Practice) คือหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนด ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิต และควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ทั้งในส่วนของโรงาน ฟาร์ม และ ทุกส่วนที่เกี่ยวจ้อง ที่จะทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร โดยเน้นการป้องกัน และขจัดความเสี่ยง ที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ และเลือกซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานดังกล่าว หลักการของระบบ GHP Codex สำหรับ หลักการจัดการ และการดูแลของ มาตรฐาน GHP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตอาหาร ที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด และปลอดภัย ไม่เป็นพิษ ในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points) ประโยชน์ของระบบ มาตรฐานฟาร์ม GHP  เมื่อเราได้รับ มาตรฐาน ระบบ GHP จะทำให้เราส่งมอบสินค้า ที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานกำหนด เพราะมีการควบคุม และดูแลเรื่องความสะอาด ของโรงงานที่ผลิต ไม่มีการปนเปื้อน และเป็นการลดความผิดผลาด ที่อาจจะเกิดขี้น จากขั้นตอนการผลิด ที่อาจจะมีการส่งผลกระทบต่อ สินค้า และผลิตภันฑ์ได้ เกณฑ์มาตรฐานของ  GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) โดยครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของสถานที่ผลิต วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ สุขอนามัยในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค เรียกว่า ตั้งแต่การผลิด จนถึงการส่งมอบเลยครับ มาตรฐาน GPH ต่างจาก GMP เนื่องจากมีความเข้มงวดน้อยกว่า ในเรื่องของการบริการ การจัดการเอกสาร และรายงานต่างๆ ดังนั้นแล้วโรงงานที่ ได้รับความน่าเชื่อถือกว่า ก็จะทำ มาตรฐาน GMP เพราหากได้มาตรฐาน GMP แล้วการได้มาตรฐาน GPH ก็จะทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร นอกจานี้ การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไปโดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมายแต่อย่างใด สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 Read More »

ให้คำปรึกษามาตรฐานGAPฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม GAP  คืออะไร ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ 3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก  มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน 2. การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์ มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง 3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม Read More »

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร

ความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม (Biosecurity) คืออะไร ถ้าเราเรียกกันง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือแนวทางในการป้องกันโรคที่อาจจะเข้ามา ที่ฟาร์มของเราได้ ซึ่ง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นส่วนสำคัญมากกับฟาร์มสัตว์ เพราะหากมีการเกิดโรคระบาด แล้ว หรืออาจจะส่งผลกระทบร้ายแรง กับฟาร์มของเรา ได้เป็นอย่างมากเลยครับ  นอกจากนี้แล้ว หากเรามีการป้องกันที่ดี ก็จะมีผลกับด้านอื่นอีก เช่นการลดต้นทุนค่ายา วัคซีน วิตามิน อาหารเสริมที่เราให้กับสัตว์ ของเรา และไม่ใช้เรื่องยากเกินไปสำหรับ ฟาร์มที่ต้องการป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากโรคระบาด ในแต่ละครั้ง  ดังนั้นแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ (ควรจะเป็น) ในฐานเจ้าของฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ และบอกผลกระทบ กับ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนนั้นๆ เพื่อที่จะได้ เข้าใจตรงกัน และสามารถทำได้จริงๆ ก่อนหน้านี้ ได้มีการแนะนำ CPF FARM SOLUTION ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม และในเว็บก็จะมีส่วนของ การจัดสัตว์พาหะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และมีผู้เชี่ยวชาญ และระบบ คอยดูแลให้ครับ เจ้าของฟาร์มขนาดกลาง และขนาดย่อย ท่านใด สนใจก็ สามารถคลิกเข้าไปที่ ลิงก์ ด้านล่างได้เลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว (ลิงก์นี้ครับ) 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 การจัดการและการป้องกันโรค บริการจาก CPF Farm Solution ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้ที่ cpffeedsolution.com   “ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity)” ทำอย่างไร และมีความ สำคัญแค่ไหน ? ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือ แนวทางปฏิบัติสำหรับฟาร์ม และทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่ว่าจะเข้า มาจากภายนอกฟาร์ม เข้าสู่ภายในฟาร์ม หรือจากภายในฟาร์ม ที่อาจจะมีการระบาด จากส่วนการผลิตหนึ่งไปอีกส่วนนึง เพราะว่าเวลาเกิดโรคใหม่ขึ้นในฟาร์ม มักจะเกิดจาก การนำเชื้อจากภายนอก ไม่ว่าจะมาจากรถที่รับซื้อ หรือ อาจจะติดมากับสัตว์พาหะ หรือคนภายในฟาร์มที่ออกไปข้างนอกเข้ามาสู่ฟาร์ม ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีระบบป้องกันทางชีวภาพ ที่ไม่ดี หรือละเลย การป้องกันที่ดี ก็จะทำให้เชื้อโรคระบาดจากภายนอก เข้ามาภายในฟาร์ม และพบว่าส่วนใหญ่เวลาเชื้อโรคเข้ามา ก็สามารถเข้ามาได้ทั้ง ส่วนของการขาย หรือส่วนของการผลิต เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ที่ยังพอรักษาได้ แต่หากเป็นโรคอื่น ที่รักษาไม่ได้ หรือไม่มีวัคซีน ถ้าฟาร์ม วางระบบป้องกันทางชีวภาพภายในฟาร์มไม่ดีพอ ก็มีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกหน่วยการผลิตภายในฟาร์ม ทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ฟาร์ม ต้องสำรวจก่อนว่า ฟาร์มของเราเข้มงวดพอแล้วหรือเปล่า สำหรับจุดเสี่ยง ที่แนะนำให้ทำการตรวจสอบมีดังนี้ เล้าขาย สำหรับจุดนี้ เนื่องจากมีรถที่มารับซื้อ สัตว์จากทางฟาร์ม และรถที่มารับซื้อก็ไปหลายๆ ฟาร์ม ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งที่แพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ตัวอย่างเมื่อรถรับซื้อมาที่ฟาร์ม ที่ไม่มีการป้องกัน อาจจะ มีการฉีดน้ำ เพื่อล้าง หรือเพื่อ ลดความร้อน ให้กับสัตว์ ทำให้น้ำชำระล้าง มาที่พื้นที่ส่วนของการซื้อขาย พนักงานฟาร์มก็เดินไป บริเวณนั้น และได้รับเชื้อติดมาที่รองเท้า และเดินเข้าฟาร์มมา ทำให้เชื้อแพร่กระจ่ายในฟาร์มของเรา สำหรับวิธีการที่ดี สำหรับการป้องกันโรค และง่ายในการจัดการคือ มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ เช่นทำรั้ว และเป็นพื้นที่มิดชิด พื้นที่ขายต้องเป็นพื้นปูน มีช่องทางระบายน้ำล้าง มีแสงแดดส่องถึงทั่ว จะได้ง่ายต่อการทำความสะอาด และ ดูแลรักษาง่าย ทางเข้าออกต้องแยกกัน กับรถที่มารับซื้อ ป้องกันการปนเปื้อน กับรถของฟาร์ม และการขนส่งอื่นๆ กรณีที่เดินทางเส้นเดียวกันอาจจะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับรถ ติดต่อกันได้ มีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่รถลูกค้า จะผ่านเข้ามาที่ฟาร์ม หรือส่วนการขาย สำหรับการพ่นยาฆ่าเชื้ออาจจะทำเป็นอุโมงค์ก็ได้ การพ่นยาฆ่าเชื้อ จะต้องพ่นให้ทั่วทั้งคัน ถ้าเป็นไปได้ มีในส่วนของทางเข้า และทางออกจะดีมาก กรณีไม่มีการแยกทางเข้าออก อาจจะมีช่องทางส่งจากภายในฟาร์มไปที่รถ เพื่อป้องกันการสัมผัส ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาที่ฟาร์ม เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากๆ ตอนเลิกงานในแต่ละวัน จะต้องมีการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อ ให้ทั่วบริเวณทุกครั้ง และสำหรับพนักงานของฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องล้างทำความสะอาด และรองเท้า ต้องมีการ จุ่มน้ำยา พนักงาน ในแต่ละส่วนพื้นที่ ต้องอยู่ในส่วนของตัวเอง หากมีการออกนอกพื้นที่ต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และเดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อรองเท้าทุกครั้ง ส่วนของการขาย หากมีการคัดผิด ห้ามนำกลับพื้นที่โดยเด็ดขาด ในส่วนของพื้นที่เล้าขาย ต้องมีการสุ่มตรวจ น้ำยาฆ่าเชื้อ และกำหนดให้เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด ทางเข้า-ออก หน้าฟาร์ม สำหรับทางเข้าออกฟาร์ม ควรจะมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทั้งคน และรถ ทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อ รอบคันจะดีมาก มีการทำบันทึกการเข้า-ออก ทั้งนี้ ถ้าเป็นบุคคลภายนอก หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม เข้ามา ก็ต้องมีรองเท้าบู๊ทให้เปลี่ยน และเดินผ่าน หรือ จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์มเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกฟาร์ม และเมื่อมีการระบาด ทางฟาร์มต้องงดการเข้าออก หรือให้มีการเข้าออกน้อยที่สุด จะปลอดภัยกับทางฟาร์ม ยิ่งหากเป็นโรคระบาดที่ยังไม่มีการรักษาได้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องสัตวพาหะ ด้วยครับ เช่น นก หนู เพราะ สามารถ นำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ส่วนของการเลี้ยงสุกร โรงเลี้ยง หรือผ่ายผลิต ก่อนที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะเข้าไป ต้องมีการเปลี่ยนชุดที่ใส่มาจากภานนอกก่อน และอาบน้ำ ก่อนเข้าไปยังส่วนงานของตัวเอง รักษาความสะอาด เดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างมือ ทั้งนี้ส่วนของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ ต้องมีการเปลี่ยนทุกวัน หรือวันเว้นวันได้ ส่วนของรองเท้า ใช้งานในโรงเลี้ยง กับข้างนอก ต้องเป็นคนละคู่กัน หรือเปลี่ยนให้สีต่างกันเป็นต้น เพื่อง่ายต่อการสังเกตุ และเป็นการป้องกัน เชื้อโรคจากภายนอกเข้ามาใน ส่วนต่างได้ นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็ห้ามเข้ามาในส่วนที่เราต้องรักษาความสะอาด เพราะอาจจะทำให้ติดโรคได้ หรือเป็นตัวแพ่มาสู่ สัตว์ของเราได้ ทางฟาร์มต้องมีการกำจัดสัตว์พาหะ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะนกที่อาจจะเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ เพราะบินไปหลายที่ โรงเรือนต้องมีตาข่ายคลุม เพื่อป้องกัน อุปกรณ์ ที่ใช้งานต่างๆ ต้องมีการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด อันนี้เป็นแค่ส่วนนึง สำหรับการป้องกันโรคระบาด ที่ผู้จัดการฟาร์มต้องให้ความสำคัญ และบอกถึงผลกระทบ หากไม่ทำตาม ผลกระทบของฟาร์มจะมีอะไร และเจ้าหน้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างไร หากเกิดเหตุขึ้นจริงๆ ปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งเมื่อเกิดเหตุ คือ พฤติกรรมที่เคยชิน ไม่ทำตาม อาจจะส่งผลให้ฟาร์มเสียหายจากโรคระบาดได้ หากเป็นโรคที่รักษาได้ ก็ยังดี แต่หากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือไม่มีวัคซีนป้องกัน อาจจะทำให้ฟาร์มเสียหาย จนต้องปิดตัว และพนักงาน ตกงาน เพราะการติดโรคระบาดได้ครับ แต่ถ้าหากฟาร์มของเรา มีการป้องกันที่ดี แล้ว ก็จะช่วยประหยัด ในเรื่องของค่ายา ค่าวัคซีน ไปได้อีก มากกว่าฟาร์มที่เป็นโรค และไม่จบ เพราะการใช้ยา วัคซีน ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามที่ ตลาดต้องการ ครับ มาตรการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สำหรับฟาร์มสัตว์ปีก มีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ ฟาร์มสัตว์ปีก ต้องห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก และตลาด อย่างน้อย 5 กิโล ห่างฟาร์มอื่น 3 กิโล ห่างเขตชุมชน มีรั้ว หรือแนวดิน ถนนสาธารณะ ควรห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 400 เมตร และมีรั่วกั้น รอบรั่วของโรงเลี้ยง ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันสัตว์พาหะ เพื่อป้องกันนก และสัตว์พาหะอื่นๆ เข้าโรงเลี้ยง เป้นการป้องกันโรคได้อย่างดี การเข้าออกฟาร์มต้องมีการ พ่นยาฆ่าเชื้อหรือ อาบน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งคน และรถที่เข้าออก รักษาความสะอาดรอบโรงเรือน 3 เมตรเพื่อป้องกันหนู หรือแหล่งสะสมของเสียปฏิกูลต่างๆ โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และควรเป็นแบบโรงเรือนระบบปิด แต่หากเป็นโรงเรือนระบบเปิด ต้องมีตาข่ายป้องกันนกหรือสัตว์พาหนะของโรคไม่ให้เข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีกที่เลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีการควบคุมอุณหภูมิ , ความชื้น , แก๊ส , แสงสว่าง และการระบายอากาศที่ดี ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกที่กรมปศุสัตว์กำหนด สามารถดูฟาร์มระบบปิดได้ที่ 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 ไม่นำอุปกรณ์เครื่องใช้ใดๆ จากฟาร์มหรือจากแหล่งที่เลี้ยงสัตว์อื่นมาเข้าภายในฟาร์ม ถ้าต้องการนำมาใช้ ต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อน และแน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคแล้ว เมื่อสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ หรือ สงสัยว่าป่วยตายด้วยโรคไข้หวัดนก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์โดยด่วน และฆ่าเชื้อโรคโดยรอบโรงเรือน และภายในฟาร์มทันที พร้อมห้ามมิให้บุคคล , ยานพาหนะ เข้าในฟาร์มโดยเด็ดขาด สำหรับฟาร์มสัตวปีก การปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเคร่งครัด ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สำหรับฟาร์มทุกขนาด และแนะนำให้ เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพราะการได้มาตรฐานฟาร์ม นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ที่ไม่ควรละเลย เพราะถือเป็นการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสัตว์ปีก และไข่สัตว์ปีก สำหรับผู้บริโภคก็ควรเลือกซื้อวัตถุดิบไม่ว่าเนื้อ , เครื่องใน , หรือไข่ ที่จะนำมาประกอบอาหารบริโภคนั้น ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และรับรองความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้แล้ว หากฟาร์มที่มีการเลี้ยงสุนัข ที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านหรือฟาร์ม ก็จะต้องกักขังหรือล่ามโซ่ไว้ หรือควบคุมบริเวณ ไม้ให้ออกไปหากินอาหารนอกฟาร์ม เพราะอาจจะไปกินซากสัตว์ปีกตายด้วยโรคระบาดสัตว์ แล้วเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคได้ และห้ามมิให้สุนัขเข้าไปในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด ส่วนผู้เลี้ยงทุกครั้งที่จะเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า และจุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าโรงเรือน ตามข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกอย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็ปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก และยังเป็นการปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ(Biosecurity) อีกด้วย การจัดการมาตรฐานฟาร์ม การป้องกันโรค และการกำจัดสัตวพาหะ สามารถดูรายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ cpffarmsolutions.com

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร Read More »

การจัดการฟาร์มสมัยใหม่

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว สวัสดีครับ บทความนี้ ผม จะแนะนำวิธีการ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ท่านใด ที่ต้องการเริ่มธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเคยมีประสบการ์ณในการทำธุรกิจนี้มาแล้ว หรือว่าต้องการที่จะมองหา ธุรกิจอื่น เสริมเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ และกระจายความเสี่ยง จากธุรกิจเดิม ก็สามารถเข้ามาทำ และรับคำปรึกษาจากทีมงานได้ครับ ปัญหาหลักของการ จัดการฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้บริหารฟาร์ม เจ้าของกิจการ หรือใครที่เคยทำ ก็จะมีปัญหา ในการจัดการฟาร์มอยู่ หลักๆ 5 อย่างดังนี้ ไม่ต้องกังลวไปครับ ท่านที่ได้อ่านบทความนี้ รับรองได้คำตอบ และจะแนวทางปัญหา และการแก้ไข สำหรับฟาร์มของเรา ไม่ว่าสนใจ ลงทุน สร้างใหม่ ต่อเติมขยาย หรือว่ามีฟาร์มอยู่แล้ว แต่เจอปัญหาเหมือนกัน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ การจัดการและการป้องกันโรค ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ การป้องกันสัตว์พาหะ บุคลากรไม่เพียงพอ จากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่เริ่มสนใจธุรกิจฟาร์ม หรือว่าท่านที่อยู่ในธุรกิจฟาร์ม มานานแล้ว ก็จะได้พบเจอกับปัญหา 1 ใน 6 อย่างตามที่กล่าวมาครับ แล้วเราในฐานะเจ้าของหรือว่าผู้บริหารฟาร์ม จะทำอย่างไร ให้ ฟาร์มของเรา เติบโต และสร้างฐานตลาด มีลูกค้า หรือ ที่ในการส่งสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฟาร์มเติบโต และเป็นที่ต้องการ หรือยอมรับของ ผู้บริโภค และจากปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะพบบ่อย หรือเป็นจุดที่จะเปลี่ยน รูปแบบการดำเนินงาน ของฟาร์มเรา ให้ดีขึ้น หรือแย่ลง เรื่องหลักๆ เหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และได้รับการแก้ปัญหา โดยมืออาชีพจริงๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการแนะนำ ให้คำปรึกษา และเชียวชาญ ในแต่ละด้าน มาช่วยให้คำแนะนำ และทำให้ธุรกิจของเราเติบโต แนะนำ CPF FARM SOLUTION เว็บ ศูนย์รวม บริการเรื่องฟาร์ม ไว้ครบ เรียกว่ามาที่เดียว ครบ จบทุกปัญหา พร้อมแล้วมาดู บริการแต่ละอย่างที่เรา สามารถ รับบริการได้กันเลย   เว็บที่สร้างมาเพื่อ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เข้าถึงทุกบริการ สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ได้จากเว็บเดียว  มีคำแนะนำ เรื่องเงินทุน การป้องกันการจัดการโรค ราคาพันธ์ุสัตว์ การทำมาตรฐาน เพื่อ ขยายตลาดทั่งในต่างประเทศ และในประเทศ สำหรับ ผู้เริ่มต้น หรือมีฟาร์มอยู่แล้ว สำหรับฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็เข้ามาใช้งาน และรับคำปรึกษาได้เลย สั่งซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ บริการเพื่อความสะดวกสำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เชื่อมโยงทุกคำสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ รวดเร็ว ถูกต้อง ได้ตลอด 24 ชม   งานบริการลูกค้าอาหารสัตว์ที่เป็นเลิศ เพื่อ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบครบวงจร จบทุกปัญหาที่ farm solutions เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในฟาร์ม และลดความสูญเสีย ยกระดับมาตรฐานฟาร์มลูกค้า สร้างการเติบโตไปด้วยกัน   การจัดการและการป้องกันโรค การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ การจัดการโรค  และการป้องกันโรคระบาด เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่ผู้ดูแลฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากมีการติดโรคแล้ว กรณีที่ร้ายแรง จะส่งผลทำให้เสียหายทั้งฟาร์มได้ ดังนั้นเรื่องการป้องกันโรคระบาด จึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับฟาร์ม ทางตรงรองจาก เรื่องเงินทุนเลยครับ ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม cpf farm solution ให้คำปรึกษา และแนะนำเรื่องวิศกรรม จากผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งทำให้มีบริการที่ครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้ฟาร์ม ปลอดภัย ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม มีบริการอบรม แนะนำให้กับเจ้าหน้าที่ในฟาร์ม บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตายจากไฟฟ้าดับ เพิ่มทักษะ ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเองสามารถใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น บริการนี้จะทำให้ พนักงานในฟาร์มมีทักษะในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ในฟาร์มได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัย รวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในฟาร์ม ลดการเกิดอัคคีภัย ได้ 99% ใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในฟาร์ม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดความสูญเสียมหาศาลปลอดภัย อุ่นใจ เชื่อถือได้กับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในฟาร์ม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ฟาร์มที่มีมาตรฐาน จะทำให้สามารถขยายตลาด ไปยังตลาดทั้งใน และต่างประเทศได้ ส่วนของของ cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL สำหรับฟาร์มที่ต้องการทำคุณภาพ หรือมาตรฐานฟาร์ม เพื่อต้องการส่งออก หรือ เพิ่มช่องทางการขาย ให้กับฟาร์ม ทางฟาร์มโซลูชั่นมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบมาตรฐาน มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทีมงานทุกคนผ่านการอบรมมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหารระดับเชี่ยวชาญ จากประเทศอังกฤษ ได้รับรองระบบมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งทั้งในและต่างประเทศเป็นตัวแทน ของผู้ประกอบการไทยในการตรวจให้ การรับรองในระดับประเทศ เรียกว่ามาที่เดียครบ ทำให้ธุรกิจเติบโต และก้าวหน้า โดยมีผู้มีประสบการณ์ ให้คำปรึกษาด้วยครับ การป้องกันสัตว์พาหะ การป้องกันสัตว์พาหะ จะส่วนประกอบที่สำคัญมาก ในการดูแลฟาร์ และการป้องกันโรค cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม ทีมงานทุกคนผ่านการอบรม จากหน่วยงานราชการ ถูกกฎหมาย วิธีการ & อุปกรณ์ การทำงานทันสมัย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการจัดการ สัตว์พาหะครบวงจร รู้ทันเร็ว ป้องกันไว กำจัดสัตว์พาหะอย่างถูกวิธี ทำให้การป้องกันโรค ได้ดีขึ้น ปลอดภัยกับฟาร์ม ฟาร์มที่ใช้บริการนี้ จะลดอัตราการตายของสัตว์ในฟาร์ม ลดปัญหาชุมชนร้องเรียนจากสัตว์พาหะ ยกมาตรฐานของฟาร์มเข้าสู่ระบบคุณภาพ สามารถทำเองได้ และ มีทักษะการใช้อุปกรณ์จัดการสัตว์พาหะ ถูกต้อง ปลอดภัย บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดเจ้าหน้าที่ ต้องการบุคคลากรเพิ่ม บริการสรรหาบุคลากรและอบรม บริหารจัดการฟาร์ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ สรรหาบุคลากรได้รวดเร็ว และลูกค้าไม่ต้องเสีย งบประมาณในการประกาศรับสมัครงาน พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรฟาร์มเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้าง ผลสำเร็จต่อลูกค้าอย่างยั่งยืน เรามีฐานข้อมูลรายชื่อคนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฎิบัติงาน ในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นอย่างไรบ้างครับ เว็บที่แนะนำ CFP FARM SOLUTION จะเป็นผู้ช่วยที่มาที่เดียวครบเรื่องการบริหารจัดการฟาร์มเลยครับ ผมหวังว่า ท่านทีต้องการผู้เชียวชาญ หรือต้องการที่ปรึกษาในการบริหารจัดการฟาร์ม เว็บนี้จะตอบโจทย์ และเป็นผู้ช่วยคุณได้เป็นอย่างดีเลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7

ในแต่ละวันสุกรในโรงเรือนปิดที่มีระบบทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ผันแปรตามสภาพอากาศทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน การตั้งค่าอุปกรณ์อัตโนมัติและความใส่ใจต่อพฤติกรรมสุกรของผู้ดูแลระบบ (ส่วนใหญ่จะเป็นสัตวบาล) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สุกรในโรงเรือนเปรียบเสมือนปลาที่อาศัยอยู่ในตู้ปลา   ความแข็งแรง ความสบายและการอยู่รอดปลอดภัยขึ้นกับเจ้าของปลา ตัวปลาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ทำได้แค่แสดงอาการ (พฤติกรรม)ให้เจ้าของเห็น สุกรก็เช่นเดียวกันความเอาใจใส่ของผู้ดูแลระบบต่อพฤติกรรมของสุกรจึงเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความสุขสบาย (Pig Comfort) ให้กับสุกรได้   และแน่นอนว่าถ้าสุกรอยู่สุขสบาย  ก็จะให้ผลผลิตที่เป็นไปตามที่เราต้องการ ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ผ่านๆมาว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการการระบายอากาศ อุณหภูมิและความชื้น ส่วนความเร็วลมเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทั้งสามตัวเป็นไปตามที่สุกรต้องการ ในตอนนี้เราจะทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นว่าเราจะบริหารจัดการโรงเรือนอีแวปอย่างไรให้เหมาะกับความต้องการของสุกรให้มากที่สุดซึ่งมีโอกาสที่ผันแปรได้ 4 รูปแบบคือ          กรณีที่ 1. อุณภูมิสูงความชื้นสูง                   กรณีที่ 2. อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ          กรณ๊ที่ 3. อุณภูมิต่ำความชื้นสูง                   กรณีที่ 4. อุณหภูมิต่ำความชื้นต่ำ กรณีที่ 1.  อุณภูมิสูงความชื้นสูง      เกิดขึ้นในฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น มีฝนตกมาเมื่อใหร่ก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นสูงทันทีและอาจจะเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปีด้วยซ้ำ      การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงห้องซาวน่า       จะเห็นได้ว่าแม้ซาวน่าจะมีประโยชน์แต่มีข้อจำกัดมากมายข้อที่สำคัญคือห้ามคนท้องเข้าห้องอบซาวน่า แล้วลองจินตนาการถึงสุกรอุ้มท้องที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นสูงดูว่าจะเป็นเช่นไร  แม่ว่าอาจจะไม่ถึงขนาดห้องอบซาวน่าแต่ต้องไม่ลืมว่าหนึ่งในข้อกำหนดของซาวน่าคือไม่ซาวน่านานเกินไป อบตัว 15-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว แต่สุกรของเราไม่สามารถเดินหนีออกจากโรงเรือนที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูงได้            ถ้าต้องการให้ห้องซาวน่ามีสภาพแวดล้อมที่สุขสบายสำหรับสุกร สิ่งแรกที่ต้องทำคือระบายความชื้นที่มีความร้อนสูงออกเปิดโอกาสให้มีลมจากภายนอกเข้ามาในห้องเพื่อลดอุณหภูมิและเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อถ้าตัวสุกรมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังก็จะทำให้เย็นมากขึ้นและเร็วขึ้น ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นลำดับแรกเพื่อลดความชื้นภายในโรงเรือน  ให้ปิดปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษเมื่อความชื้นถึงขีดวิกฤตตามมาตรฐานของสุกรในแต่ละช่วงอุณหภูมิ (Optimum Humidity) และใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นลำดับที่ 2  (ฟอกเกอร์ใช้แบบที่พ่นน้ำไปที่ตัวสุกรเพื่อให้ตัวสุกรเปียกน้ำโดยไม่เป็นการเพื่มความชื้นในโรงเรือน ไม่พ่นเป็นหมอก)          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure เป็นต้น กรณีที่ 2.  อุณภูมิสูงความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น เมื่อไม่มีฝนก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นต่ำทันที          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงทะเลทราย  ในทะเลทรายถ้ามีร่มเงาที่ดีอย่างน้อยการแผ่รังสีความร้อนก็จะมีผลกับเราน้อยลง เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรถ้ามีความสามารถในการป้องกันการแผ่รังสีได้ดีย่อมทำให้สุกรอยู่สุขสบาย การสร้างโรงเรือนสุกรจึงต้องพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้เป็นผนัง หลังคาและฝ้าให้สามารถลดการแผ่รังสีได้ยิ่งเยอะยิ่งดีถ้าวัสดุนั้นๆไม่มีผลเสียด้านอื่นๆ          เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อและต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายทะเลทราย สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้สิ่งแรกคือตัวสุกรต้องมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังร่วมกับลมที่พัดผ่านทำให้น้ำระเหยดึงความร้อนออกจากตัวสุกรประกอบกับความชื้นต่ำทำให้น้ำระเหยได้ดี การควบคุมอุณหภูมิในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นต่ำจึงทำได้ค่อนข้างง่ายถ้าโรงเรือนมีศักยภาพที่ดี ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ สัตวบาลจึงต้องใช้การระเหยน้ำ (Evaporation) และการพาความร้อน(Convection) ทำงานควบคู่กัน ปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษจะช่วยลดอุณภูมิในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ควรมีความชุ่มน้ำ 100%ของหน้าเยื่อกระดาษ)          ถ้าอุณหภูมิสูงมากจนโรงเรือนกดอุณหภูมิลงเต็มที่แล้วแต่อากาศภายในโรงเรือนยังร้อนเกินความต้องการของสุกร การใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นช่วงๆจะทำให้สุกรมีความสุขสบายตามหลักการอุณภูมิที่สุกรรู้สึกหรือ Effective Environment Temperature          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure มากเกินไปซึ่งจะทำให้ความเร็วลมผ่านเยื่อกระดาษเร็วจนแลกเปลี่ยนอุณภูมิกันไม่ทันและทำให้เกิดปรากฎการณ์อากาศเบาบางภายในโรงเรือน กรณีที่ 3.  อุณภูมิต่ำความชื้นสูง เกิดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ฝนกำลังจะหมดอุณหภูมิเริ่มลด      มีโอกาศเกิดช่วงสั้นๆในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน อาจหยืดยาวถึงเดือนธันวาคม          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นสูงให้จินตนาการถึงบรรยาศบนยอดเขาในช่วงเวลาดังกล่าวตอนเช้าๆ บนยอดเขาตอนเช้าๆท่ามกลางทะเลหมอกแม้ความชื้นจะสูงแต่เนื่องจากอุณหภูมิต่ำเราจะรู้สึกสบาย ถ้ามีลมอ่อนๆผ่านตัวเราเบาๆยิ่งเพิ่มความสุขมากขึ้น เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรขอแค่มีลมผ่านไม่ให้ความชื้นแช่อยู่ในโรงเรือนจนสร้างความอึดอัด สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้ ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นหลักเพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และช่วยระบายความชื้นออกจากโรงเรือน        มีเรื่องที่ต้องระมัดระวังคือระบบอัตโนมัติที่ควบคุมปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษ น้ำหยดและฟอกเกอร์ถ้าทำงานผิดพลาดจะเป็นการเพิ่มความชื้นในโรงเรือนขึ้นมาได้          เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คความชื้นและก๊าซรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น กรณีที่ 4.  อุณภูมิต่ำความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ โดยประมาณ เป็นช่วงเวลาที่เลี้ยงสุกรได้ง่ายแม้มีความผิดพลาดด้านการควบคุมสภาพแวดล้อมบ้างเล็กๆน้อยๆก็แทบไม่มีผลกระทบด้านประสิทธิภาพแต่อย่างใด          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นต่ำให้จินตนาการถึงบรรยาศเย็นๆบนยอดเขา ช่วงเที่ยงวันที่อากาศแห้ง บนยอดเขาในช่วงที่อากาศแห้ง (ความชื้นต่ำ) แม้อุณหภูมิจะต่ำ    เรารู้สึกสบายก็จริงแต่ให้สังเกตว่าอยู่นานๆ เราจะเริ่มแสบจมูกเนื่องจากระบบทางเดินหายใจเราเริ่มแห้ง  สุกรก็เช่นกันถ้าความชื้นต่ำเกินไปจะเริ่มมีอาการไอ สัตบาลจึงต้องพิจารณาเพิ่มความชื้นในโรงเรือนบ้างเพื่อลดภาวะการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความเร็วลมต่ำ สัตวบาลยังคงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และในภาวะที่ความชื้นต่ำมากๆอาจต้องตั้งระบบปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษให้ทำงานช่วงสั้นๆเพื่อเพิ่มความชื้นป้องกันการไอของสุกรจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คก๊าซ     ระบบอัตโนมัติที่สามารถปล่อยน้ำรดแพดช่วงสั้นๆอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน    ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)