มาตรการป้องกัน Covid-19 ให้กับฟาร์มลูกค้าทั่วประเทศ
มาตรการป้องกัน Covid-19 ให้กับฟาร์มลูกค้าทั่วประเทศ Read More »
CPF คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 ย้ำ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลอดภัย 100% น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านสัตวแพทย์บริการวิชาการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ในช่วงวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 บริษัทฯ ประกาศใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น ตั้งแต่การสำรวจและคัดกรองคนก่อนเข้าฟาร์ม การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการรักษาสุขอนามัย โดยพนักงานทุกคนที่เข้าฟาร์มต้องผ่านการตรวจอุณหภูมิของร่างกาย จุ่มเท้าฆ่าเชื้อ สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย สร้างความตระหนักด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน หมั่นล้างมือด้วยน้ำ สบู่ แอลกอฮอล์ มาตรการรักษาความสะอาดโดยทำความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสหรือใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งทำความสะอาดจุดสัมผัสต่างๆ รถของฟาร์มทั้งก่อนและหลังการใช้งาน นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดมาตรการดังกล่าวแก่เกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรรายย่อย (คอนแทรคฟาร์ม) ของบริษัทฯ เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันโรคระบาด ซึ่งจะส่งผลดีต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงานในฟาร์มด้วย ปัจจุบัน ฟาร์มสุกรทั้งหมดของซีพีเอฟ เลี้ยงด้วยระบบไบโอซีเคียวริตี้ เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น เลี้ยงในระบบโรงเรือนปิด ตรวจสอบแหล่งวัตถุดิบรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ควบคุมรถขนส่งเข้า-ออก ฟาร์ม (มีระบบฆ่าเชื้อ) กำหนดจุดส่งมอบสินค้าแยกจากฟาร์ม ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ดังกล่าวให้กับเกษตรกรในคอนแทรคฟาร์มของบริษัทฯทั่วประเทศครบทุกรายแล้ว ยืนยันได้ในความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสุกรเพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัย 100 % สู่ผู้บริโภค ในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค ผู้บริโภคควรเลือกซื้อเนื้อสัตว์ด้วยความระมัดระวัง โดยพิจารณาจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการป้องกันโรคที่เข้มงวดในการดูแลฟาร์มปศุสัตว์ด้วยความรับผิดชอบตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และมาตรฐานสากล เพื่อความปลอดภัยของอาหารตลอดห่วงโซ่การผลิต รวมทั้งมีการซ้อมแผนฉุกเฉินป้องกันโรคในฟาร์มอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันสัตว์ให้ปลอดโรค น.สพ.ดำเนิน กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรค จะทำให้ประชาชนตื่นตระหนก แต่ขอให้ผู้รับข้อมูลข่าวสารใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรองข้อมูล ไม่หลงเชื่อข่าวลือในสังคมออนไลน์ที่นำข้อความเท็จมาแชร์ ไม่ส่งต่อข้อมูลเท็จ อาทิ เรื่องหมูไก่เป็นเอดส์ ซึ่งไม่เป็นความจริง เพราะที่ผ่านมา CPF ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดต่อในสัตว์ ทั้งสุกรและสัตว์ปีกอย่างเข้มงวดและต่อเนื่อง ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ในการบริโภคเนื้อหมูและเนื้อไก่ว่ามีความปลอดภัยอย่างแน่นอน ./
CPF คุมเข้มมาตรการป้องกันโควิด-19 ย้ำ‼️ เนื้อหมู เนื้อไก่ ปลอดภัย 100% Read More »
ก เอ๋ย ก ไก่ ปลอดภัย ไร้ยา คุณเคยผ่านตากับข้อมูลเหล่านี้ไหม ผู้หญิงไม่ควรกินปีกไก่ เพราะเวลาฉีดฮอร์โมนเร่งโตมักจะฉีดที่บริเวณคอหรือปีกไก่ ทำให้มีสารตกค้าง เสี่ยงต่อการเป็นซีสต์ในมดลูก หรือไม่ควรกินเนื้อไก่มากเกินไป เพราะในการเลี้ยงไก่มีการใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมาก ทำให้เกิดพิษตกค้างในตับและไตของมนุษย์ แถมยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในมนุษย์ด้วย ข้อมูลที่ส่งต่อกันมาเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ เมื่ออ่านบทความนี้จบ คุณจะพบคำตอบเอง ไก่ไทย มาตรฐานส่งออก รู้ไหมเอ่ย…ประเทศไทยส่งออกเนื้อไก่สูงเป็นอันดับ 4 ของโลก ข้อมูลเมื่อ พ.ศ. 2558 ประเทศไทยส่งออกไก่สด ไก่แช่เย็น ไก่แช่แข็ง ไก่แปรรูปรวมๆ แล้วมากถึง 6 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 78,000 ล้านบาท ซึ่งประเทศคู่ค้าสำคัญก็คือ ญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป ซึ่งประเทศเหล่านี้มีข้อกำหนดและมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหารสูงมาก อย่างอียูนั้นมีกฎหมายห้ามใช้ยาปฏิชีวนะและสารเร่งการเจริญเติบโตในไก่เนื้อเพื่อการบริโภคอย่างเด็ดขาดมาร่วม 10 ปี ประเทศไทยจึงต้องมีกฎหมาย กฎระเบียบต่างๆ อย่างเข้มงวดเพื่อรองรับ ทั้งมาตรฐานฟาร์ม มาตรฐานโรงงาน ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบรับรอง เพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของประเทศคู่ค้า เป็นกฎเหล็กทางกฎหมายที่ไม่มีผู้ประกอบการไก่เนื้อเจ้าใดกล้าละเมิดแน่นอน เพราะมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับ หากพบสารต้องห้าม สามารถรู้ได้เลยว่ามาจากประเทศไหน ฟาร์มไหน นั่นอาจหมายถึงการถูกตีกลับ ไปถึงขั้นห้ามนำเข้าไก่เนื้อจากเมืองไทยทั้งหมด ถ้าเป็นแบบนั้นก็งานเข้ากันทั้งประเทศเลยล่ะทีนี้ หน่วยงานหลักของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ก็คือ กรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ ผอ. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ เคยให้สัมภาษณ์กับรายการชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทยว่า “ในฐานะที่ผมเป็นสัตวแพทย์และดูแลด้านกระบวนผลิต ผู้บริโภคสบายใจได้ เนื้อไก่ในประเทศไทยไม่มีการใช้สารเร่งแน่นอน การผลิตทุกวันนี้เป็นการผลิตที่เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ การพัฒนาอาหารสัตว์เพื่อให้ไก่เจริญเติบโตได้ดีและไทยเป็นประเทศส่งออกไปขายทั่วโลก ถ้าทำไม่ถูกต้องตามมาตรฐานหรือมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย เราก็จะไม่สามารถส่งออกได้ เรื่องที่แชร์กันว่า ไก่ไทยใช้ฮอร์โมนเร่งโตไม่จริงแน่นอน เพราะผิดกฎหมาย” นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว หากคิดจะฉีดสารเร่งโตกันจริงๆ ตามข้อมูลที่แชร์ต่อกันมาต้องฉีดเป็นรายตัวและฉีดอย่างต่อเนื่อง ลองคิดดูว่าถ้าฟาร์มหนึ่งมีไก่สามสี่หมื่นตัวจะทำอย่างไร ต้นทุนการเลี้ยงจะสูงเกินไป ไม่คุ้มค่าที่จะทำ ในส่วนประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีคำสั่งกระทรวงฯ ที่ 417/2529 มาตั้งแต่พ.ศ. 2529 (นับนิ้วมาถึงปัจจุบันก็ 31 ปีแล้ว) ประกาศห้ามใช้ยาเฮ็กโซเอสตรอล (Hexoestrol) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับตอนสัตว์ปีกและเป็นฮอร์โมนสำหรับรักษาสัตว์ ซึ่งยาที่ห้ามก็คือ สารเร่งการเจริญเติบโตนั่นเอง จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อุตสาหกรรมไก่เนื้อจะใช้ฮอร์โมนเร่งการเติบโต เพราะผิดกฎหมายชัวร์ๆ และยานี้ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย ถ้าอยากใช้ก็ต้องลักลอบนำเข้า ไก่ปลอดยา คนปลอดภัย สำหรับเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะ ในปัจจุบัน มีกำหนดระเบียบการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์(Animal Welfare) คุ้มครองอยู่คือ ใช้เพื่อรักษาสัตว์ป่วย และใช้อย่างมีเหตุผลเท่านั้น โดยจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลควบคุมของสัตวแพทย์ และต้องมีระยะหยุดใช้ยาจนไก่ปลอดภัยจากสารตกค้างจึงจะถูกส่งเข้ากระบวนการแปรรูปต่อไป แถมก่อนส่งออกจะต้องผ่านการตรวจสอบและรับรองว่าปลอดภัยจากเชื้อดื้อยาจากกรมปศุสัตว์ เพราะประเทศไทยและประเทศคู่ค้าอย่างสหภาพยุโรป (อียู) ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง มีข้อตกลงร่วมกันในเรื่องระบบการป้องกันการใช้ยาปฏิชีวนะและการตรวจสอบสารตกค้างในอาหาร แต่ถ้าจะทำให้ไก่ปลอดยาปฏิชีวนะตลอดกระบวนการเลี้ยงเลยล่ะ จะทำได้ไหม ทำได้สิเพราะหัวใจหลักของการไม่ใช้ยาปฏิชีวนะต้องย้อนกลับมาที่พื้นฐานที่สุด ก็คือ “ทำอย่างไรให้สัตว์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย” (ไม่ต่างจากคน ไม่ป่วยก็ไม่ต้องกินยา) หลักการเลี้ยงไก่ให้ปลอดยาปฏิชีวนะนั้น ต้องมีการควบคุมตลอดกระบวนการผลิต เริ่มกันตั้งแต่ต้นทางที่เกษตรกรคัดแยกลูกไก่จากฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ มีอายุไข่ที่เหมาะสม มีการฆ่าเชื้อไข่ฟัก การจัดการโรงฟักที่ดี จนถึงการบริหารจัดการไก่ภายในโรงเรือนก็เป็นปัจจัยสำคัญ คือต้องมีระบบป้องกันโรค (Biosecurity) ที่เข้มงวด ต้องล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรงเรือนก่อนนำไก่เข้าเล้า ตรวจสอบเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับแกลบหรือวัสดุที่ใช้รองพื้นเล้า ระหว่างการเลี้ยงก็ต้องดูแลให้อุณหภูมิในโรงเรือนมีความเหมาะสมและทั่วถึงไก่ทุกตัว มีการเก็บอาหารสัตว์ในที่มิดชิด ป้องกันสัตว์และสิ่งปนเปื้อน รวมถึงมีระบบการตรวจสอบที่เข้มงวดอย่างสม่ำเสมอ “หัวใจสำคัญของการเลี้ยงไก่ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ เริ่มจากเกษตรกรจะต้องเพิ่มการดูแลไก่ในโรงเรือนอย่างใกล้ชิดมากขึ้น โดยไม่ละเลยข้อปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการปนเปื้อนทุกอย่างอย่างเข้มงวด” นายสัตวแพทย์นรินทร์ ร่มลำดวน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักเทคนิคและวิชาการสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เล่าถึง “โครงการนำร่องเลี้ยงไก่ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ” ซึ่งซีพีเอฟดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2557 ปัจจุบันโครงการนี้ประสบผลสำเร็จน่าพอใจ จึงนำความรู้ชุดนี้มาเผยแพร่สู่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพเกษตรกร รายย่อย (Contract Farming) ให้นำหลักการเลี้ยงไก่ปลอดยาปฏิชีวนะไปใช้ได้ทุกฟาร์ม โดยมีเป้าหมายให้ฟาร์มทุกแห่งทั่วประเทศปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะได้ภายในพ.ศ. 2561 ถ้าสามารถป้องกันอย่างเข้มงวดไม่ให้ไก่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และไก่สามารถดำรงสุขภาพอย่างแข็งแรงได้ตั้งแต่ฟักเป็นตัว กระทั่งเข้าสู่โรงงานแปรรูป จนถูกเสิร์ฟบนโต๊ะอาหาร “บริษัทฯ จะนำความสำเร็จของโครงการนี้ เป็นแนวทางปฏิบัติกับธุรกิจเลี้ยงไก่เนื้อในทุกประเทศที่บริษัทไปลงทุน เพื่อยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมไก่เนื้อให้สูงขึ้น และเป็นที่ยอมรับและมั่นใจของผู้บริโภคทั่วโลก” นายสัตวแพทย์นรินทร์ย้ำจุดหมายปลายทาง ซึ่งหมายความว่าไอเดียของคนไทย บริษัทไทย จะกลายเป็นต้นแบบการเรียนรู้ให้กับประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งบรรทัดสุดท้ายของความสำเร็จนี้ ก็เพื่อส่งต่อสุขภาพที่ดีผ่านอาหารที่ปลอดภัย (Food Safety) ให้กับผู้บริโภคคนไทยและคนทั่วโลกนั่นเอง กะเพราไก่ ไก่ย่าง ไก่ทอด ลาบไก่ ยำไก่ ไก่เทอริยากิ ฯลฯ แค่คิดก็หิวแล้ว เมื่อมาถึงบรรทัดนี้ข้อควรระวังของการบริโภคไก่ คงไม่ใช่เรื่องสารเร่งโตหรือสารปฏิชีวนะตกค้าง แต่น่าจะเป็นเรื่องการกินอาหารให้สมดุล กินหลากหลาย ครบทุกหมู่ กินผักบ้าง และอย่ากินมากเกินไป เดี๋ยวอ้วน นะเออ
ซีพีเอฟ มุ่งพัฒนาสวัสดิภาพสัตว์ ปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์สุกรสู่มาตรฐานโลก เมื่อ : 2019-03-12 บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์สุกรอุ้มท้อง ให้สอดคล้องตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ระดับโลก โดยตั้งเป้า 100% ของฟาร์มสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบการเลี้ยงแบบคอกขังรวมภายในปี 2568 สำหรับกิจการในประเทศไทย และปี 2571 สำหรับกิจการในต่างประเทศ น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ซีพีเอฟ กล่าวว่า การปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์เป็นไปตามนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของซีพีเอฟ ซึ่งได้ประกาศใช้กับกิจการของบริษัททั่วโลก เมื่อเดือนเมษายน ปี 2561 เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ปราศจากความเครียด เคลื่อนไหวได้อย่างอิสระและแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ตามหลักอิสรภาพสัตว์ 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ซึ่งในปัจุบันบริษัทมีการปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์สุกรอุ้มท้องในประเทศเพิ่มขึ้นจาก 24% ในปี 2560 เป็น 32% เมื่อปีที่แล้ว น.สพ.ดำเนิน เสริมว่าการปรับปรุงฟาร์มแม่พันธุ์ตามหลักสวัสดิภาพในครั้งนี้ นอกจากจะทำให้สัตว์มีความเป็นอยู่ที่ดี ตามหลักมนุษยธรรมแล้ว ยังสามารถช่วยลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ได้อีกด้วย ซีพีเอฟ เป็นองค์กรที่ทำฟาร์มปศุสัตว์และผลิตอาหารด้วยความรับผิดชอบ การประกาศนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ ควบคู่ไปกับวิสัยทัศน์ระดับโลกด้านการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ จะช่วยให้บริษัทสามารถผลิตอาหารปลอดภัย ตามหลักมนุษยธรรม และมีคุณภาพดีสำหรับทุกๆคน” น.สพ.ดำเนิน กล่าวย้ำ น.สพ.ดำเนิน กล่าวว่า นอกจากการปรับปรุงฟาร์มสุกรแม่พันธุ์แล้ว บริษัทฯ ได้ดำเนินการหลายด้านเพื่อบริหารสิ่งแวดล้อมในฟาร์มระบบปิดให้ใกล้เคียงธรรมชาติตามมาตรฐานสากล ลดความเครียดของสัตว์ทำให้สัตว์แข็งแรงไม่ป่วย อย่างไรก็ตามเมื่อสัตว์ป่วย ยังจำเป็นต้องให้การรักษาตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งสัตว์ที่ป่วยจะถูกแยกออกมาทำการรักษาในที่ที่จัดไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์ในฟาร์มมีสุขภาพดี “ฟาร์มเลี้ยงสุกรทั้งหมดของบริษัทได้รับการปรับปรุงให้เป็นโรงเรือนระบบปิดควบคุมอุณหภูมิด้วยการระเหยของน้ำ (EVAP) ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคแล้ว ยังทำให้สัตว์อยู่สุขสบาย ลดความเครียด” น.สพ.ดำเนิน อธิบาย นโยบายสวัสดิภาพสัตว์ของ ซีพีเอฟ ยังครอบคลุมสัตว์ปีก โดยทำการศึกษาเพื่อพัฒนาฟาร์มไก่ไข่บริษัทในประเทศไทย ไปสู่ระบบการเลี้ยงแบบปล่อยในโรงเรือน (cage free) ตลอดจน ฟาร์มไก่เนื้อทุกประเทศจะมีเจ้าหน้าที่สวัสดิภาพสัตว์ปีก (Poultry Welfare Officer) ในปี 2563 ส่วนฟาร์มไก่เนื้อในประเทศไทยทั้งหมดเป็นระบบการเลี้บงตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ ตั้งแต่ปี 2543 ในปีที่ผ่านมา ซีพีเอฟ เป็นบริษัทผู้ผลิตอาหารไทยเพียงหนึ่งเดียว จาก 150 บริษัทชั้นนำทั่วโลกที่ได้ร่วมการประเมิน รายงานมาตรฐานด้านการดำเนินธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ หรือ The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report ซึ่งเป็นรายงานด้านสวัสดิภาพสัตว์ในอุตสาหกรรมอาหารที่ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภค และนักลงทุนทั่วโลก โดยบริษัทได้ถูกจัดอันดับให้อยู่ในระดับที่ 4 มีการปฏิบัติตามนโยบายสวัสดิภาพสัตว์ (Tier 4 Making progress on implementation)
12 ขั้นตอน เลี้ยงไก่เนื้อมาตรฐานบริษัท ไก่เนื้อในปัจจุบันมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีอัตราการเปลี่ยนอาหาร (Feed conversion ratio : FCR) ดีขึ้นตามลำดับ ดังนั้นขั้นตอนการเลี้ยงและการบริหารจัดการฟาร์มไก่เนื้อให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ ตามมาตรฐานฟาร์มของบริษัทใหญ่ที่เลี้ยงแบบเข้าออกพร้อมกันทั้งหมด (All in – all out) มีอะไรบ้าง พอจะสรุปให้เข้าใจได้ดังนี้ โดยเริ่มจากการเข้าสู่การพักโรงเรือน (Down time) หรือที่เราเรียกกันว่า “พักเล้า” อย่างน้อย 7-14 วัน หรืออาจใช้ระยะเวลามากกว่านั้น ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทที่เป็นคอนแทรคฟาร์มด้วย สำหรับวิธีการนี้ส่งผลดีกับผู้บริโภคเป็นอย่างมาก แต่สำหรับผู้เลี้ยงหรือผู้ดูแลฟาร์มอาจต้องเหนื่อยมากหน่อย…แต่คุ้ม 1. จัดการนำวัสดุรองพื้นเก่า (มูลไก่ที่ผสมแกลบ) ออกจากโรงเรือน 2. ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคภายในและภายนอกโรงเรือน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ให้สะอาด เช่น อุปกรณ์ให้น้ำ ให้อาหาร ผ้าม่าน ฯลฯ พร้อมเก็บตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์หาเชื้อโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาด 3. จัดการนำวัสดุรองพื้น (แกลบ) ที่สะอาดเข้าโรงเรือน โดยปูวัสดุรองพื้นให้มีความหนาประมาณ 3-4 นิ้ว (8-10 เซนติเมตร) ขั้นตอนนี้ต้องมีการตรวจวิเคราะห์ความสะอาดของแกลบทุกครั้ง 4. เกลี่ยแกลบให้เต็มพื้นที่โรงเรือน และเตรียมอุปกรณ์การเลี้ยงให้พร้อม รวมถึงการทำใบขออนุญาตลงไก่ที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ด้วย 5. เลี้ยงไก่ตามโปรแกรมพร้อมติดตามผล 24 ชม. จนครบระยะเวลาการเลี้ยงหรือตามน้ำหนักที่บริษัทกำหนด ซึ่งจะมีน้ำหนักตั้งแต่ 1.3-2.8 กิโลกรัม หรือเลี้ยง 28-60 วัน 6. ก่อนจับไก่ออกจากโรงเรือนต้องเก็บตัวอย่างไปตรวจ เพื่อหาเชื้อไข้หวัดนก (สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่) รอผลแลปประมาณ 7-10 วัน ก่อนจับ เพื่อนำไปประกอบกับใบอนุญาตเคลื่อนย้าย 7. มีการตรวจงานฟาร์ม (ออดิท) ตามมาตรฐานของบริษัทใหญ่ คิดเป็นคะแนน 10% 8. เก็บตัวอย่างมูลไก่ตรวจหาเชื้อซัลโมเนลลาก่อน เพื่อจัดคิวเข้าโรงเชือด 9. สุ่มชั่งน้ำหนักหาค่าเฉลี่ยของตัวไก่ก่อนเข้าเชือด เพื่อการประมาณรถบรรทุกไก่ใหญ่ มีค่าวิเคราะห์ความแม่นยำ คิดเป็นคะแนน 20% 10. ทำใบเคลื่อนย้ายสัตว์ ร.1 และรอใบอนุญาต ร.4 จากสำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ 11. จับไก่ออกจากโรงเรือนแล้ว รอผลน้ำหนักหน้าโรงงาน สรุปการ์ดหน้าเล้า โดยค่า pi (ประสิทธิภาพการเลี้ยง) มีน้ำหนักการนำไปจัดเกรดฟาร์ม อีก 35% และบวกกับคะแนนการตกราวอีก 25% อีก 10% คือ คะแนน bio 2 = การสุ่มตรวจฟาร์มแบบไม่มีการนัดหมายล่วงหน้า 12. รอสรุปบัญชี ภายใน 14 วันหลังจับไก่