Logo-CPF-small-65png

ข่าวสารทั่วไป

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทยบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย “โครงการสี่ประสาน สร้างความยั่งยืนโคนมไทย” มุ่งเป้าพัฒนาฟาร์มต้นน้ำโคนมไทย พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้กับทั้งสหกรณ์โคนม-ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และเกษตรกรโคนม ดันมาตรฐานการจัดการโคนม ได้น้ำนมคุณภาพสูง สร้างผลกำไรสูงสุด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรโคนมสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน​นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทนผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า อ.ส.ค. มีภารกิจที่ต้องการยกระดับความสามารถเกษตรกรโคนมไทยให้ดำรงอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้นการที่มีภาคเอกชนมาร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โดยเฉพาะความร่วมมือจาก ซีพีเอฟ ที่เป็นผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ที่มุ่งพัฒนาอาหารสัตว์บกคุณภาพสูงเพื่อเกษตรกรมาโดยตลอด ขณะที่ อ.ส.ค. เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนม เป็นผู้รับซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมคุณภาพ การผนึกกำลังอย่างเข้มแข็งทำให้มีผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่น่าพอใจ“โครงการนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือที่จะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และอุตสาหกรรมนมไทย โดยที่ผ่านมามี 5 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ที่ได้ร่วมมือกับซีพีเอฟในการพัฒนาตลอดกระบวนการผลิตน้ำนมให้มีมาตรฐาน ส่งผลให้ตัวชี้วัดด้านคุณภาพและประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้น ทั้งค่าองค์ประกอบน้ำนม ผลผลิต ประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนม รวมถึงด้านความสะอาดของน้ำนม และตั้งเป้าว่าต้องมีค่าโซมาติกเซลล์ (ค่า SCC) ไม่เกิน 500,000 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ตามเกณฑ์การรับซื้อน้ำนมดิบตามข้อกำหนดของคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม” นายสุชาติ กล่าวด้าน นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีองค์ความรู้ด้านการเลี้ยงและการจัดการโคนมมานานกว่า 30 ปี โดยมีฟาร์มวิจัยและพัฒนาด้านโคนมของซีพีเอฟทั้ง 4 แห่งทั่วประเทศ ที่มีความพร้อมด้านทรัพยากรคน เครื่องมือ และเทคโนโลยีทันสมัย ที่ช่วยยกระดับมาตรฐานการเลี้ยงโคนม เพื่อแบ่งเบาภาระเกษตรกร ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ด้วยการพัฒนาการจัดการด้านการเลี้ยงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยซีพีเอฟได้เริ่มต้นความร่วมมือพัฒนาศูนย์นมและเกษตรกรโคนมในเครือข่ายของ อ.ส.ค. รวม 5 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ได้แก่ สหกรณ์โคนมกระนวนสามัคคี, สหกรณ์โคนมน้ำพอง จ.ขอนแก่น, สหกรณ์โคนมหนองวัวซอ จ.อุดรธานี, สหกรณ์โคนมแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ และสหกรณ์โคนมไทย-เดนมาร์คลำพญากลาง จ.สระบุรี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นมา“ซีพีเอฟ และ อ.ส.ค. มีเป้าหมายเดียวกันในการยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมนมไทยทั้งห่วงโซ่ จึงเกิดความร่วมมือในครั้งนี้ขึ้น และยังร่วมกันตั้งเป้าหมายในการขยายโครงการฯ ไปอีก 7 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบทั่วประเทศ ภายในปีนี้ คาดว่าจะมีประชากรโคนม มากกว่า 12,000 ตัว มุ่งเป้าสู่ “การเกษตรแบบแม่นยำ” ด้วยการเก็บข้อมูลบันทึกการเลี้ยง สำหรับนำมาวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด และสามารถวัดผลได้ พร้อมส่งต่อองค์ความรู้และมาตรฐานของซีพีเอฟสู่เกษตรกรโคนม มุ่งเน้นให้คนเลี้ยงโคนมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตลอดจนร่วมกันสร้างผลผลิตน้ำนมที่มีคุณภาพ สด สะอาด ปลอดภัย สู่ผู้บริโภค” นายเรวัติกล่าว  

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย Read More »

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่            สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จีน ย้ำไม่ต้องกังวล ผู้บริโภคต้องสังเกตสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ก่อนซื้อ วันที่ 14 มกราคม 2564 ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (G4 Eurasian Avian-like H1N1 Viruses) ที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในหมูของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเชื้อนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2552 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่พบเชื้อไวรัส G4 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส G4 ในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานการระบาดจากคนสู่คน จึงยังไม่น่าเป็นกังวลต่อการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่เมื่อพบโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 มักถูกเรียกว่าโรคไข้หวัดหมูนั้น ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหมู แต่เป็นการเรียกติดปากจากการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2009 ซึ่งมีชื่อเรียกในช่วงนั้นว่า โรคไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัด 2009 ต่อมาองค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนชื่อเรียกที่ถูกต้เองเป็น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก แต่ไม่เป็นที่ปรากฏชัดว่า เชื้อนี้เริ่มติดในคนเป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไร แต่เมื่อมีการระบาดแล้วกลับเป็นการแพร่กระจายและติดต่อจากคนสู่คน ไม่ได้พบในหมูทั่วไป จึงไม่ติดต่อโดยการสัมผัสหรือกินเนื้อหมูแต่อย่างใด ขอทำความเข้าใจว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่ไข้หวัดหมู เพราะการสื่อสารเช่นนั้นอาจทำให้คนเข้าใจผิด และเกิดความกังวลในการบริโภคได้ ที่สำคัญเชื้อไวรัส G4 ที่พบในจีนเมื่อ 5 ปีก่อน ก็ไม่เคยพบในไทย และไม่มีการแพร่เชื้อหรือติดต่อแต่อย่างใด ส่วนการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ สังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ทีกรมปศุสัตว์รับรองให้กับร้านจำหน่ายที่มีมาตรฐาน ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันสุขภาพร่างกายได้เป็นอย่างดี ส่วนการป้องกันตนเองจากไข้หวัด ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงรักษาสุขอนามัยด้วยการล้างหรือทำความสะอาดมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย หากจำเป็นจะต้องใกล้ชิดกับสัตว์ควรป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ” ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ กล่าว   Cr. ประชาชาติธุรกิจ

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Read More »

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย มอบให้มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network : LPN) ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อนำไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานต่างด้าวและประชาชนที่ต้องกักตัวในหอพักที่ตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ได้บริโภคอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ร่วมสนับสนุนจังหวัดสมุทรสาครคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว พิธีมอบผลิตภัณฑ์อาหารและไข่ไก่ในวันนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานมูลนิธิ LPN ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหาร 30,800 แพ็ค และไข่ไก่สด 10,000 ฟอง โดยมีนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN เป็นผู้รับมอบจากนายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนายศรกฤษณ์ วัตตศิริ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ นายสมพงค์กล่าวว่า อาหารที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งความช่วยเหลือที่สำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ต้องกักตัวและประชาชนที่อยู่ในบริเวณตลาดกลางกุ้ง มหาชัย รวมทั้งผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการประมาณ 4,000 คน ซึ่งได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการหยุดงานเป็นระยะยาว และไม่สามารถออกจากพื้นที่ควบคุมได้จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย ได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ในช่วงเวลาที่พื้นที่ดังกล่าวถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตามมาตรการของจังหวัดสมุทรสาคร “การร่วมสนับสนุนของซีพีเอฟครั้งนี้ แสดงถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางของสังคมได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม นอกจากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศแล้วยังตอกย้ำการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกครั้งที่เกิดวิกฤต” นายสมพงค์กล่าว นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟตระหนักในการทำหน้าที่พลเมืองดีของสังคม (Good Corporate Citizen) และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยของบริษัทฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดขยายวงกว้างขึ้น ซีพีเอฟถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมในการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวสามารถเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟได้ส่งมอบอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 55,000 แพก เพื่อสนับสนุนการทำงานและเป็นกำลังใจให้แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการทำหน้าที่รักษาและป้องกันการระบาด “ซีพีเอฟใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของการเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ส่งมอบอาหารคุณภาพดีให้แก่คนไทย และพี่น้องแรงงานทุกคนทั้งในยามปกติและทุกสถานการณ์วิกฤต ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราเชื่อว่าความรับผิดชอบต่อสังคมและการร่วมแรงร่วมใจกันของคนไทยจะช่วยให้ประเทศสามารถควบคุมการระบาดของโรคและผ่านวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว” นายประสิทธิ์กล่าว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ซีพีเอฟในฐานะภาคเอกชนรายแรกๆ ที่นำความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มาช่วยสนับสนุนการทำงานภาครัฐในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ผ่านการดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัย COVID-19” ส่งมอบอาหารพร้อมรับประทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ 200 แห่งทั่วประเทศ และขยายต่อส่งมอบอาหารให้แก่ครอบครัวของแพทย์และพยาบาลที่เป็นแนวหน้าเฝ้าระวังการระบาดโควิดอีก 20,000 ครอบครัว รวมทั้งสนับสนุนอาหารให้แก่ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและต้องกักตัวประมาณ 20,000 ราย นอกจากนี้ยังร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 ส่งมอบอาหารให้ประชาชนชุมชนคลองเตย กว่า 8,499 ครอบครัว และร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดรถ CPF Food Truck นำอาหารสำเร็จรูปอุ่นร้อนแจกจ่ายให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ใน 6 เขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และส่งมอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานช่วยเสริมทัพให้ทีมแพทย์-พยาบาลของ 5 โรงพยาบาลในจังหวัดตากที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้าน ซีพีเอฟได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัด ตลอดจนเข้มงวดกับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารในทุกขั้นตอน เพื่อให้พนักงานทุกเชื้อชาติได้ทำงานในสถานที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนในประเทศไทยได้บริโภคอาหารคุณภาพ มีโภชนาการอย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน ที่มา : www.cp-enews.com

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19 Read More »

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่

   ซีพีเอฟใช้ Chatbot พัฒนาโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เร่งสปีดการสื่อสารกับชุมชนทั่วประเทศ และลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ทั้งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็กวัยเรียนควรกินไข่ทุกวัน แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า กลุ่มวัยเรียนบริโภคไข่ทุกวันเพียงร้อยละ 23.7 เท่านั้น ในฐานะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จึงใช้จุดแข็งมาสร้างประโยชน์ให้สังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ด้วยการทำ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ผ่านมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ทำให้หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญของโครงการ และเข้าร่วมสนับสนุน อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น- กรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok) หรือ JCC โดยโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนเป็นโครงการที่ซีพีเอฟดำเนินการมากว่า 30 ปี และได้รับการสันบสนุนจาก JCC เป็นปีที่ 21 “สมคิด วรรณลุกขี” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้เข้าสนับสนุนด้านการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนด้วยการมอบพันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ และสร้างเล้าไก่ ที่สำคัญมีก่ารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คุณครูและนักเรียน ทั้งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง วิธีการจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรค เพื่อให้ฏรงเรียนสามารถสานต่อด้วยตนเองได้ “แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยนช์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน” ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เราจึงนำเทคโนโลยีมาต่อยอดโครงการนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมาช่วยรักษาระยะห่างทางสัมคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย โดยการทำระบบ Chatbot เพื่อการรายงานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) เช่น จำนวนไก่ อาหารสัตว์ ผลผลิตไข่ไก่ ไก่ปลด รายงานการเลี้ยง ต้นทุนและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่ เป็นต้น ที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ไปทำโครงการไว้ในโรงเรียนทั้งหมด 855 โรงเรียน เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพมากกว่า 150,000 คน โดยมีแผนขยายประมาณ 20-25 โรงเรียนในทุก ๆ ปี ส่วนของ JCC ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนไปแล้ว 132 โรงเรียน ล่าสุดพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่ Read More »

ซีพีเอฟ รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสัตว์ GMP+ ตลอด Feed Value Chain

  มาตรฐานรับรองระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ในระดับสากล  GMP+ B1 B2 และ B3 เป็นรายแรกและรายเดียวของไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ รับมาตรฐานรับรองระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ในระดับสากล  GMP+ B1 B2 และ B3 เป็นรายแรกและรายเดียวของไทยที่ได้รับการรับรองระบบ GMP+ ตลอดทั้ง Feed Value Chain สะท้อนภาพลักษณ์ผู้นำการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ปลอดภัย เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ มีบทบาทสำคัญในการเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เพื่อการผลิตเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารอื่นๆ ที่มีคุณภาพ ซีพีเอฟจึงให้ความสำคัญสูงสุดกับการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ที่ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สอดคล้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดของภาครัฐและประเทศคู่ค้า ซีพีเอฟเริ่มจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9001 มาตั้งแต่ปี 2543 และยกระดับระบบมาตรฐานอาหารสัตว์มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก ปักธงชัย ได้นำระบบมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารสำหรับสัตว์ GMP+ (GMP Plus) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมาใช้ จากความโดดเด่นของระบบที่คำนึงถึงปัญหาสุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ และคำนึงถึงข้อกำหนดระหว่างประเทศ โดยซีพีเอฟได้รับความรู้จากโครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมอาหารสัตว์ไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรของบริษัท จนสามารถพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ระบบ GMP+ และเป็นต้นแบบให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของซีพีเอฟและบริษัทอื่นๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยของประเทศไทยสู่สากล “ความมุ่งมั่นในการนำระบบมาตรฐานนี้มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก ปักธงชัย ได้รับรองมาตรฐาน GMP+ B1 เป็นรายแรกของประเทศ ขณะที่โรงงานอาหารสัตว์ท่าเรือ ได้รับรองระบบ GMP+ B2 สำหรับการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ และ GMP+ B3 สำหรับขอบข่ายการขนถ่ายวัตถุดิบ ซีพีเอฟ จึงเป็นรายแรกและรายเดียวของไทย ที่ได้รับรองระบบ GMP+ ตลอดทั้ง Feed Value Chain และระบบนี้ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น” นายเรวัติ กล่าว ด้าน นายสตีฟ เฮนดริก ริทเซม่า (Mr.Steef Hendrik Ritzema) Managing Director บริษัท คอนโทรล ยูเนี่ยน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของซีพีเอฟ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP+ B1 B2 และ B3 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของซีพีเอฟ สอดคล้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของ GMP+ สำหรับการประกันความปลอดภัยของอาหารสัตว์อย่างสมบูรณ์ และชื่นชมความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลักดันการรับรองของซัพพลายเออร์ เพื่อร่วมรักษามาตรฐานความปลอดภัยของอาหารสัตว์ในระดับสูง ด้วยการประกันคุณภาพอาหารสัตว์และบริการที่ถูกกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอและโปร่งใส “หลังจากการระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาหารสัตว์ถือเป็นต้นน้ำที่มีบทบาทอย่างยิ่งในเรื่องนี้ ดังนั้น การรับรองระบบมาตรฐาน GMP+ ของซีพีเอฟในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลิตอาหารสัตว์คุณภาพปลอดภัยในระดับสูงสุด เพื่อสร้างความมั่นใจตลอดห่วงโซ่อุปทาน แสดงถึงความรับผิดชอบและใส่ใจในสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคทั่วโลก” มร.สตีฟ เฮนดริก ริทเซม่า กล่าว./

ซีพีเอฟ รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสัตว์ GMP+ ตลอด Feed Value Chain Read More »

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน

   แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่ก็มีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง AFS และ PRRS ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการติดเชื้อในสุกรเท่านั้น พาไปทำความรู้จักกับ 2 โรคของสุกรกันว่าแตกต่างกันอย่างไร? แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่กลับมีข่าวเท็จเกี่ยวกับโรคระบาดในสุกรเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์หลายครั้ง อาทิ ข่าวสุกรป่วยเป็นเอดส์ ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือโรคเอดส์ไม่ใช่โรคของสุกร และไม่มีโรคนี้ในตำราทั้งไทยและเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าข่าวเท็จที่เกิดขึ้นนี้มุ่งหวังเพื่อทำให้สูญเสียเสถียรภาพราคาสุกร เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งตระหนก เป็นผลให้พ่อค้าคนกลางอ้างภาวะตลาด และกดราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกร แต่นำไปขายต่อในราคาเนื้อสุกรที่ปรับสูงขึ้น โดยอ้างว่าสุกรตายมากเนื่องจากโรคระบาด ทำให้พ่อค้าได้กำไรแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุน  หรือแม้แต่กรณีโรคพีอาร์อาร์เอส ซึ่งพบล่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาใน 2 อำเภอ จ.สระแก้ว นำมาสู่การทำลายสุกรโดยการฝังกลบแล้ว 600 ตัว หลังจากพบการระบาดของโรค และโรคเอเอสเอฟที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนก และเกรงว่าจะติดต่อสู่คนได้จากการบริโภคเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ จึงขอยืนยันซ้ำอีกครั้งว่าโรคทั้งสองของสุกรนี้ไม่ติดต่อสู่คน และขออธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ โรค PRRS (พีอาร์อาร์เอส หรือเพิร์ส) เป็นโรคติดต่อในสุกรเท่านั้น เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจของสุกร โรคนี้พบราวปี 2523 จนกระทั่งปี 2534 ได้มีการบัญญัติชื่อโรคนี้ว่า Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS โรคนี้พบได้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สำหรับการป้องกันนั้นปัจจุบันมีวัคซีนจำหน่าย ทั้งนี้โรคนี้ไม่เคยมีรายงานการติดต่อสู่คน จึงไม่ต้องกังวลต่อการบริโภค ข่าวเท็จที่ส่งต่อกันมานั้นจะเชื่อมโยงโรค PRRS กับโรคเอดส์ โดยอ้างว่าสุกรเป็นเอดส์ห้ามบริโภค ทั้งสองโรคนี้เหมือนกันที่ไวรัสก่อโรคเป็นชนิด RNA สำหรับความแตกต่างระหว่างโรค PRRS กับโรคเอดส์มีหลายประการ  สิ่งแรกคือ ไวรัสก่อโรคเป็นคนละชนิดกัน อาการของโรคก็แตกต่างกัน แม้ว่าไวรัสทั้งสองนี้จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน แต่โรค PRRS จะมีอาการหลัก 2 ระบบคือระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ กล่าวคือแม่สุกรจะพบปัญหาระบบสืบพันธุ์เป็นหลัก ขณะที่สุกรขุนจะมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ต่างจากโรคเอดส์ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบต่างๆ ไม่เน้นระบบใดระบบหนึ่ง ดังนั้น โรค PRRS จึงไม่ใช่โรคเอดส์ในสุกร และไม่ติดต่อก่อโรคในคน ส่วนโรค ASF (เอเอสเอฟ) เป็นโรคจากเชื้อไวรัสเก่าแก่โรคหนึ่งของสุกร พบครั้งแรกปี 2452 ที่ประเทศเคนยา มีชื่อเต็มว่า African Swine Fever เนื่องจากชื่อโรคภาษาอังกฤษตรงกับโรคสุกรโรคหนึ่งคือ “Swine Fever” หรือ “Classical Swine Fever” (CSF) โดยโรคนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า hog cholera ซึ่งคำว่า cholera แปลว่า “อหิวาตกโรค” ดังนั้น จึงบัญญัติชื่อโรค ASF ภาษาไทยว่า “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”  โรคนี้ยังไม่มียาและวัคซีน เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่การเลี้ยงสุกรอย่างมาก หลายประเทศที่มีโรคนี้ระบาด ทำให้สุกรตายอย่างใบไม้ร่วง และยากที่จะกำจัด ด้วยชื่อโรคทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าโรคนี้จะติดต่อสู่คนได้ และก่อให้เกิดโรคอหิวาตกโรค เนื่องจากชื่อโรคมีคำว่า “อหิวาต์” ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงในคน เป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้ จึงทำให้ผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวเท็จ  ทั้งนี้ โรคอหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ขณะที่โรค ASF เกิดจากเชื้อไวรัสและมีมานานกว่าร้อยปี แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโรคนี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่โรคอหิวาตกโรค และไม่ติดต่อก่อโรคในคน โรค ASF มีการระบาดในประเทศจีนเมื่อปี 2561 ทำให้โรคนี้มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว มีมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โรคนี้ระบาดเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเมียนมา ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังคงป้องกันโรคนี้ได้ และยังไม่มีการระบาด ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ (นำโดยกรมปศุสัตว์) หน่วยงานเอกชน (ฟาร์มสุกร) มหาวิทยาลัย และสัตวแพทย์สุกร ความที่โรคนี้ยังไม่สามารถพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโรคได้ ไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัส ดังนั้น แนวทางเดียวคือการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ประเทศไทยสามารถดำรงสถานภาพการเป็นประเทศปลอดโรค ASF ได้ จึงส่งผลดีต่อธุรกิจการเลี้ยงสุกรและเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการส่งออกสุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ลดภาระของรัฐบาลในภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เป็นอย่างดี

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน Read More »

ซีพีเอฟ”รุกธุรกิจสีเขียว เพิ่มสัดส่วนรายได้แตะ 30%

ซีพีเอฟ คาด ตลาดผลิตภัณฑ์สีเขียวมีแนวโน้มขยายตัวสูง เน้นลดใช้พลังงานและทรัพยากร พัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียวต่อเนื่อง เพื่อตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค ตั้งเป้าเพิ่มรายได้สีเขียว (Green Revenue) เป็น 30% ในปี 2563      นายเรวัต หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว หรือ ผลิตภัณฑ์ยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และฉลากลดโลกร้อน จะเป็นส่วนสำคัญในการบรรลุการเพิ่มสัดส่วนรายได้สีเขียวเป็น 30% ของรายได้รวมซีพีเอฟในปีนี้ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของซีพีเอฟมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียวเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้เป็นสินค้าที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคทั่วโลก สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์สีเขียวของบริษัทฯ เป็นสินค้าที่ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ฉลากลดโลกร้อน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และฉลากวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามาตรฐาน ISO 14046 จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยซีพีเอฟมีสินค้าที่ได้รับการรับรองทั้ง 3 ประเภท จำนวน 770 รายการ สำหรับปี 2563 อบก.ได้รับรองผลิตภัณฑ์อาหารไก่เนื้อของ ซีพีเอฟ 6 รายการ ได้รับฉลากลดโลกร้อน สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 77,500 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าในปี 2562 หรือเท่ากับการปลูกต้นไม้ 1.28 ล้านต้น ซึ่งอาหารสัตว์ของซีพีเอฟ นอกจากจะให้ความสำคัญกับคุณค่าทางโภชนาการของสัตว์แล้ว ยังคำนึงถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ซอสพริกและซอสมะเขือเทศ 8 รายการ ได้รับการรับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ นอกจากนี้ อบก.ได้มอบประกาศนียบัตรคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรให้ซีพีเอฟ ซึ่งซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้มีการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานขององค์กรทั้งการผลิตและการบริการขององค์กร ตลอดจนกิจกรรมลดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เช่น คาร์บอนนิวทรัลส่วนบุคคล (Carbon Neutral Man) บุคลากรของซีพีเอฟและเครือเจริญโภคภัณฑ์ 36 คน การชดเชยคาร์บอนในงาน Carbon Neutral Event คือ “CPF Run for Charity at Fort Adisorn 2020” การชดเชยการปล่อยคาร์บอนส่วนบุคคลไป 108 ton Co2 eq. ในปี 2563 รวมทั้งมีหน่วยงานที่ผ่านการรับรองในโครงการ Low Emission Support Scheme (LESS) ทั้งหมด 60 หน่วยงาน โดยมีการปลูกต้นไม้รวม 16,910 ต้น กักเก็บคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ได้ 6,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เทียบเท่า ช่วยบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนสู่การเป็น “องค์กรคาร์บอนต่ำ”    นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยืน ซีพีเอฟ กล่าวว่า นอกจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ซีพีเอฟยังคงเดินหน้านโยบายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง เช่น จากการใช้พลังงานหมุนเวียน การลดการสูญเสียอาหารและขยะ อาหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำตลอดกระบวนการผลิต ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ไม่จำเป็นตลอดห่วงโซ่คุณค่า รวมทั้งสนับสนุนการนำทรัพยากรทุกส่วนไปใช้ให้เกิดประโยชน์โดยไม่เหลือทิ้ง ทั้งนี้ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2562 แล้ว 15% เทียบกับปีฐานปี 2558 ซึ่งเร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิมในปี 2563 และเดินหน้าสู่เป้าหมาย 25% ในปี 2568 ซีพีเอฟ ยังคงดำเนินธุรกิจตามทิศทางและเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ปี 2573 สู่การเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกด้านความยั่งยืน คือ การมุ่งสู่การเป็นองค์กร Zero Waste ลดขยะและของเสียให้เป็นศูนย์ และการมุ่งสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral “การจัดกิจกรรมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดปัญหาภาวะโลกร้อนอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการการรณรงค์ให้สังคมตระหนักถึงความรับผิดชอบในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในชีวิตประจำวันและการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด” นายวุฒิชัย กล่าว

ซีพีเอฟ”รุกธุรกิจสีเขียว เพิ่มสัดส่วนรายได้แตะ 30% Read More »

ซีพีเอฟ เปิดตัว “ไก่รุ่นรักษ์โลก” นวัตกรรมอาหารสัตว์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์

   บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดตัวนวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์โลกสำหรับไก่ไข่รุ่น ด้วยการปรับสูตรอาหารสัตว์ให้มีโภชนาการที่เหมาะสมกับสัตว์ร่วมกับการใช้เอนไซม์ในอาหารสัตว์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารและระบบการย่อยอาหารของสัตว์ดีขึ้น ทำให้การปล่อยของเสียโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ลดลง ช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ    ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาสูตรอาหารสัตว์บกให้กับ ซีพีเอฟ กล่าวว่า นวัตกรรมอาหารไก่รุ่นรักษ์โลก เป็นการพัฒนาสูตรอาหารสัตว์โดยการใช้สมดุลกรดอะมิโนที่เหมาะสมและการคัดเลือกเอนไซม์ที่ใช้ในอาหาร (enzyme) อย่างเหมาะสมกับสัตว์ในแต่ละช่วงวัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการย่อยอาหารที่สัตว์กินเข้าไป ส่งผลดีต่อสุขภาพของสัตว์ ขณะเดียวกันจะช่วยลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดและโปรตีน ที่ใส่มากเกินความต้องการของสัตว์และกำจัดออกมาเป็นของเสียหรือมูลสัตว์    เป้าหมายของการวิจัยนวัตกรรมอาหารสัตว์ คือ การสรรหาและคิดค้นวัตถุดิบเพื่อนำไปผลิตและพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ที่ตรงกับความต้องการอาหารของสัตว์ในแต่ละช่วงวัย ช่วยให้สัตว์ย่อยอาหารได้ดี ส่งผลต่อการเติบโตของสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง โดยเหลือของเสียน้อยที่สุดหรือของเสียเป็นศูนย์ (zero waste) ขณะเดียวกันช่วยลดต้นทุนของบริษัทฯ” ดร.ไพรัตน์ กล่าวและเสริมว่า สูตรอาหารไก่ไข่รุ่นรักษ์โลกนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนอาหารสัตว์กับกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียบร้อยแล้ว    ดร.ไพรัตน์ กล่าวต่อไปว่า อาหารไก่ไข่รักษ์โลกดังกล่าวจะช่วยลดไนโตรเจนได้ 12-13% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ประมาณ 103 ตันต่อปี ช่วยในการลดกลิ่น ซึ่งจะใช้ในโครงการคอมเพล็กซ์ไก่ไข่ ทีมีการเลี้ยงไก่ไข่จำนวน 6.5 ล้านตัว ซึ่งเป็นการผลิตไข่ไก่แบบครบวงจรและช่วยเพิ่มการป้องกันโรคจากภายนอกตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) โดยนำฟาร์มเลี้ยงไก่รุ่น ไก่ไข่ โรงคัดไข่ และโรงงานแปรรูปไข่มาไว้ในพื้นที่เดียวกันภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดต้นทุนการผลิตของบริษัท ขณะเดียวกันจะช่วยเพิ่มปริมาณก๊าซเรือนกระจกสะสมที่สามารถลดได้จากการดำเนินโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Carbon Credit)    ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ใช้นวัตกรรมอาหารสุกรรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถช่วยปริมาณไนโตรเจนในมูลสุกรได้ถึง 20-30% ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ 23,700 ตัน ในปี 2561 สำหรับกิจการในประเทศไทย บริษัทฯได้ขยายผลไปยังธุรกิจผลิตอาหารสุกรในอีก 7 ประเทศ ได้แก่ ลาว กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ จีน ไต้หวัน และรัสเซีย สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 41,000 ตันคาร์บอนไดอ๊อกไซด์    ดร.ไพรัตน์ กล่าวว่า ทีมวิจัยกำลังศึกษาเพื่อต่อยอดอาหารสุกรรักษ์โลกจากการช่วยลดกลิ่นไปสู่ช่วยลดการใช้น้ำ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยในการบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม./    

ซีพีเอฟ เปิดตัว “ไก่รุ่นรักษ์โลก” นวัตกรรมอาหารสัตว์ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)