Logo-CPF-small-65png

พร้อมรับมือฤดูร้อน: วีธีจัดการภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร

    มีความท้าทายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากมายที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน ความร้อนในฤดูร้อนก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ส่งผลต่อสุขภาพของสุกรและกระทบต่อการทำกําไรของเกษตรกร ความเครียดจากความสามารถส่งผลร้ายแรงต่อประสิทธิภาพของสุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุกรขุนและแม่พันธุ์ ความร้อนและความแปรปรวนของอุณหภูมิในฤดูร้อนมักจะทำให้สัตว์เครียด ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของสัตว์ลดลง ทำให้สัตว์มีปัญหาสุขภาพ และในที่สุดก็จะก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสําหรับเกษตรกร

ทําไมสุกรจึงไวต่อความเครียดจากความร้อน?

สุกรไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เนื่องจากพวกมันไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบายความร้อนในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นสุกรยังมีปอดขนาดเล็กหากเทียบกับขนาดร่างกาย มันจึงระบายความร้อนส่วนเกินภายในร่างกายออกมาได้ยาก

“แม้ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน สุกรก็ยังผลิตความร้อนในร่างกายเพิ่มจากการรับประทานอาหารและเคลื่อนไหวร่างกาย” รัสเซล กิลเลียน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสำหรับสุกรของออลเทค สหรัฐอเมริกา กล่าว “เนื่องจากสุกรแทบไม่มีต่อมเหงื่อ จึงไม่สามารถระบายความร้อนด้วยเหงื่อได้ สุกรจึงต้องใช้การหายใจเพื่อระบายความร้อน อัตราการหายใจของสุกรจะเริ่มถี่ขึ้นที่อุณหภูมิประมาณ 21 องศาเซลเซียส และหากในอากาศมีความชื้นสูง สุกรจะยิ่งหาทางบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ยากขึ้น”

ความผันผวนอย่างต่อเนื่องของอุณหภูมิในช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนก็อาจเพิ่มความเครียดให้กับสุกรที่มีความเครียดจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอยู่แล้วและทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก

อาการของภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร

หนึ่งในผลจากภาวะเครียดจากความร้อน คืออัตราบริโภคอาหารที่ลดลง เมื่อสุกรกินอาหารได้น้อย พวกมันก็จะแปลงอาหารเป็นกล้ามเนื้อได้น้อย จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ลดลง และนั่นหมายถึงระยะเวลาการเลี้ยงที่นานขึ้นกว่าจะจำหน่ายสุกรได้ นอกจากนี้ยังทำให้สุกรมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสุกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรักษาหรือแก้ปัญหาสุขภาพนั้น

อาการอื่น ๆ ได้แก่:

  • อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ)
  • สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น
  • สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง
  • นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น

6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร

แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร:

  1. พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ
  3. ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น)
  4. จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง
  5. ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด
  6. ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด

ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล

  • อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ)
  • สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น
  • สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง
  • นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น

6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร

แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร:

  1. พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ
  3. ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น)
  4. จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง
  5. ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด
  6. ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด

ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล

เมื่อสุกรอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนกว่าที่ร่างกายของพวกมันรู้สึกสบาย การบริโภคอาหารจะลดต่ำลงเช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพัดลม หัวฉีดน้ำ และอุปกรณ์ระบายความร้อนอื่น ๆ ในโรงเลี้ยงทำงานได้ปกติและได้รับการบํารุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ

แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจะไม่สูงมาก แต่สุกรอาจมีภาวะเครียดแฝงอยู่ ผู้ผลิตจึงควรจัดให้โรงเลี้ยงมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้สุกรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด

อุณหภูมิที่เหมาะสม อาจต้องดูทั้งปัจจัยแรงลมและดัชนีความร้อน ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส อาจเป็นอุณหภูมิที่ดีที่สุดสําหรับสุกรหนัก 57 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ประกอบกับความเร็วของลมสูง (เช่น 30 เมตรต่อนาที) อาจจะเย็นเกินไปสำหรับสุกร ในภาวะอากาศเย็นสุกรจะใช้พลังงานเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายแทนที่จะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นว่าความเร็วลมส่งผลต่ออุณหภูมิอย่างไร

แผนภูมิที่ 1: ผลของความเร็วลมต่ออุณหภูมิ

ผู้ผลิตยังต้องคำนึงว่าสุกรรุ่นจะผลิตความร้อนเพิ่มขึ้นจากปกติ ดั้งนั้นจึงควรมีการจัดการอุณหภูมิภายในโรงเลี้ยงให้เหมาะสม สําหรับน้ำหนักของสุกรที่เพิ่มขึ้นทุก 27-36 กิโลกรัม จะสร้างความร้อนเพิ่ม 200 บีทียู ทุกชั่วโมง ดังนั้นจะต้องมีการปรับอัตราการระบายความร้อน ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) สําหรับความร้อนที่เพิ่มขึ้น

แผนภูมิที่ 2: อัตราการระบายอากาศที่แนะนํา, CFM ต่อสุกรหนึ่งตัว

ผลกระทบจากความชื้นในอากาศ

ความชื้นเป็นตัวบ่งชี้ที่สําคัญสำหรับการระบายอากาศที่เหมาะสม ในช่วงเดือนที่อากาศร้อนเมื่ออุณหภูมิภายนอกเกินจุดที่กําหนด แม้ว่าจะเพิ่มอัตราการระบายอากาศ ก็จะไม่ช่วยลดความชื้นในโรงเลี้ยง เพราะอากาศอุ่นสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าอากาศเย็น สุกรจะเกิดความเครียดจากความร้อนได้ง่ายมากขึ้น เมื่ออากาศมีความชื้นสูงแม้ว่าอุณหภูมิจะต่ำ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังทั้งความชื้นและอุณหภูมิในโรงเลี้ยง แนะนำให้โรงเลี้ยงมีความชื้นสัมพัทธ์ 65% หรือน้อยกว่า เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในระดับนี้จะลดการเกิดการควบแน่นและทำให้พื้นโรงเรือนชื้นแฉะ

การสร้างสูตรอาหารเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดของสุกร

มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า การผสมกันของกรดอินทรีย์, อิเล็กโทรไลต์, เอนไซม์และโปรไบโอติก เช่นที่มีในผลิตภัณฑ์ Acid-Pak 4-Way® สามารถช่วยบรรเทาภาวะเครียดของสุกรในวัยเด็กได้ กรดอินทรีย์ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโปรไบโอติกในลําไส้ และเอนไซม์ช่วยเพิ่มการบริโภคและการย่อยอาหาร อิเล็กโทรไลต์ช่วยให้สัตว์ไม่เกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน

การตระหนักถึงภาวะความเครียดจากอากาศร้อนและการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีผลสําคัญต่อผลผลิตและมูลค่าโดยรวมของสุกรเมื่อจำหน่ายออกสู่ตลาด การวางแผนรับมือกับภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรของท่านอย่างมีประสิทธิภาพยังสามารถช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับจำนวนวันเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากสุกรเจ็บป่วย เพราะเมื่อสุกรเกิดความเครียดพวกมันจะเจ็บป่วยหรือติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สําคัญที่จะผสมเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติลงในอาหารของสุกร

CR : Alltech

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)