Logo-CPF-small-65png

การเลี้ยงไก่ไข่

แนะนำ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป สำหรับบทความนี้ เราจะมาดู เรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ กันครับ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไปที่ต้องการทำมาตรฐานฟาร์ม ก็สมารถ ดูบทความนี้ได้เลยครับ สำหรับ มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ หรือ มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ นี้กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ที่เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 10,000 ตัวขึ้นไป ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่ และไข่ไก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมในการนำไปบริโภคเป็นอาหาร องค์ประกอบของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ องค์ประกอบฟาร์ม 1.1 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตราย ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ หรือมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 1.2 ผังและลักษณะฟาร์ม ฟาร์มมีขนาดพื้นที่เหมาะสมไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการวางผังฟาร์มที่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะและสุขอนามัยสัตว์ และแยกพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน มีบริเวณหรือสถานที่เก็บรวบรวมไข่ไก่ก่อนเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์ม 1.3 โรงเรือน มีการวางผังที่แสดงตำแหน่งอุปกรณ์ซึ่งเอื้อต่อการเลี้ยงไก่ไข่ มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงไก่ไโดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ มีความแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ ระบายอากาศได้ดี ง่ายต่อการบำรุงรักษาทำความสะอาดและฆ่เชื้อ รวมทั้งมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการวางไข่และ การเก็บไข่ การจัดการฟาร์ม 2.1 คู่มือการจัดการฟาร์ม มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงาน ที่สำคัญภายในฟาร์ม ได้แก่ ระบบการเลี้ยง การจัดการอาหารและน้ำ การจัดการ ด้านสุขภาพ และการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก 2.2 การจัดการอาหาร และน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในกรณีที่ผสมอาหารไก่ไข่เอง หรือนำอาหารจากข้อ 2.2.1 มาผสม ห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ไข่ทางกายภาพในเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างไว้เพื่อใช้วิเคราะห์กรณีมีปัญหา มีสถานที่เก็บอาหารไก่ไข่โดยแยกต่างหาก และเก็บอาหารในสภาพ ที่ป้องกันการเสื่อมสภาพและปนเปื้อน มีการจัดการให้ไก่ไข่ทุกตัวได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องสะอาดและมีผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพ 2.3 การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบโรงเรือนต้องสะอาด และบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพดีและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรงเรือน และอุปกรณ์ หลังจากย้ายไก่ไข่ รุ่นเก่าออก และปิดพักโรงเรือนในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการตัดวงจรเชื้อโรค ไม่ให้สะสมในโรงเรือน เว้นแต่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นอย่างอื่นในแต่ละพื้นที่ ภาชนะเก็บไข่ เช่น ถาดไข่ เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะเก็บไข่ ก่อนนำเข้าในบริเวณพื้นที่ เลี้ยงไก่ไข่และก่อนการนำไปใช้งานทุกครั้ง บุคลากร 3.1 มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน 3.2 มีบุคลากรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สัตวบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตร ด้านสัตวบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ และสัตวแพทย์ที่มีใบรับรอง เป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกจำนวนพอเหมาะกับจำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง 3.3 บุคลากรที่ทำหน้าที่เลี้ยงไก่ไช่ข่ต้องมีความรู้ โดยได้รับการฝึกอบรมหรือ การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้จัดการฟาร์มได้ 3.4 มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อ ด้านสุขภาพสัตว์ 4.1 การป้องกันและควบคุมโรค มีหลักฐานหรือเอกสารระบุแหล่งที่มาของไก่ไข่ มีมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะ วัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งสัตว์พาหะนำเชื้อ มีแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรคโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ตรวจติดตามสุขภาพไก่ไข่ประจำวัน และมีการจัดการซากสัตว์ที่เหมาะสม กรณีเกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ 4.2 ด้านการบำบัดโรค การบำบัดรักษาโรคสัตว์ ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สวัสดิภาพสัตว์ ดูแลไก่ไข่ให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่นไก่ระยะไข่และไข่ไก่ 6.1 ไก่รุ่นและไก่ระยะไข่ สุ่มตรวจสขภาพ ุ ขนาดและนาหนักไก่ คัดแยกไก่ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ มีขนาดและน้ำหนัก ไม่ใกล้เคียงกับรุ่น หรือไม่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตออก 6.2 ไข่ไก่ เก็บไข่และคัดแยกไข่ที่ผิดปกติ มีรอยร้าวหรือแตกออก และคัดแยกไข่ ที่สกปรกมีมูลไก่ติด เพื่อแยกทำความสะอาด เก็บรักษาไข่ไก่ไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือที่มีการควบคุม อุณหภูมิ การขนส่งไข่ ใช้พาหนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ดีหรือควบคุมอุณหภูมิได้ สิ่งแวดล้อม 7.1 กำจัดขยะ น้ำเสีย ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของ กลิ่นและเชื้อโรค 7.2 ป้องกันการฟุ้งกระจายของวัสดุรองพื้นหลังการย้ายไก่ไข่ออกจากฟาร์ม การบันทึกข้อมูล 8.1 ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ การควบคุมโรคและผลิตผล 8.2 ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ ไฟล์ PDF เป็นคู่มือการเลี้ยงไก่ ครับ ที่สามารถให้เรา โหลดได้ฟรี ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป Read More »

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน           ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงแม่ไก่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่จะแม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง เช่น เปลือกบางลง สีซีดลง เป็นต้น 3.มูลไก่จะมีลักษณะเหลวขึ้น เนื่องจากแม่ไก่ต้องกินน้ำเพิ่มขึ้น โดยปกติถ้าแม่ไก่อยู่ในเล้าที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 18-25C สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ แต่ถ้าอากาศภายในเล้าร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารอาจเพิ่มขึ้นเป็น >2.6 เท่าของอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่แม่ไก่รู้สึก ณ เวลานั้นๆ 4.ตัวตายต่อวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการเลี้ยง ซึ่งการตายของแม่ไก่ที่มีสาเหตุจากอากาศร้อน จะพบว่าแม่ไก่มักจะตายเยอะในช่วงเวลาบ่าย ช่วงที่อากาศร้อนจัด และพบว่าแม่ไก่ที่ตัวอ้วนๆ จะตายมากกว่าตัวที่มีน้ำหนักตัวได้ตามมาตรฐาน หรือตัวที่ผอม และเมื่อผ่าซากดูจะพบวิการตับแตก เนื้อหน้าอกขาวซีด อุณหภูมิในช่องท้องค่อนข้างสูง แนวทางการจัดการเลี้ยงแม่ไก่ในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน 1.ด้านโรงเรือน    1.1 ลดการแผ่ความร้อนจากหลังคาโรงเรือนมาสู่ตัวไก่ โดยการติดสปิงเกอร์บนหลังคาโรงเรือน การเปิดสปริงเกอร์ ควรเปิดก่อนที่อากาศภายนอกจะร้อนเพื่อลดการสะสมของความร้อนที่หลังคา เช่นเปิดสปริงเกอร์ตั้งแต่ เวลา 9:30 – 16:00 น. เป็นต้น หรือการทำหลังคาชั้นที่ 2 ด้วยหญ้าคา, ใบจาก ต่อจากหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้อง    1.2 ติดตั้งพัดลมภายในเล้า เพื่อระบายอากาศร้อนออกจากตัวไก่และโรงเรือน    1.3 การติดตั้งระบบพ่นหมอกภายในโรงเรือนร่วมกับพัดลมระบายอากาศ    1.4 ติดตั้งผ้าม่านป้องกันแสงแดดส่องเข้าภายในเล้า หรือใช้การปลูกต้นไม้รอบๆโรงเรือน เช่น ต้นกล้วย แต่ทั้งนี้ผ้าม่านจะต้องไม่ไปปิดกันทิศทางลมธรรมชาติที่จะเข้าเล้า 2. ด้านน้ำและอาหาร    2.1 จัดเตรียมน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 20-25C ให้แม่ไก่ได้กินตลอดช่วงที่อากาศร้อน หรือเติมน้ำแข็งลงในถังพักน้ำเพื่อปรับลดอุณหภูมิของน้ำก่อนให้ไก่กิน    2.2 อย่าให้ถังพักน้ำหรือท่อน้ำที่ให้ไก่กินถูกแสงแดดส่อง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ภายในสูงขึ้น ทำให้ไก่กินน้ำลดลง    2.3 ผสมไวตามิน เช่น ไวติมิน C, A, E และ Bรวม หรือไวตามิน+กรดอะมิโน ในน้ำที่ให้ไก่กิน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ไวตามิน C คือ ช่วงเวลาก่อนที่อากาศจะเริ่มร้อน อาจจะเป็นช่วง 9:00 – 10:00 โมง (ขึ้นอยู่ในแต่พื้นที่) นอกจากนั้นการเสริมสารอิเล็คโตไลน์ในน้ำก็สามารถช่วยลดภาวะ Heat Stress ในแม่ไก่ลงได้    2.4 หลังจากให้น้ำที่ผสมไวตามินเลร็จเรียบร้อย ต้องคอยหมั่นทำความสะอาดรางน้ำหรือท่อนิปเปิล เพื่อป้องกันการสะสมของเมือกภายในรางน้ำหรือท่อน้ำกิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาไก่ท้องเสียตามมาได้    2.5 ให้อาหารมื้อเช้าให้เร็วขึ้น อาจจะเป็นช่วงเวลา 5:00 – 6:00 โมง เป็นต้น ส่วนมื้อบ่ายก็ให้ในช่วงที่อากาศเริ่มเย็น เช่น เวลา 17:00 – 18:00 น. ร่วมกับการเปิดไฟช่วงเวลา 23:00 – 01:00 น.ให้ไก่ตื่นขึ้นมากินอาหารเพิ่มจากโปรแกรมแสงปกติ    2.6 ควรงดการกระตุ้นการกินอาหารหรือเดินเกลี่ยอาหารในรางในช่วงที่อากาศร้อน เช่น ช่วงเวลา 12:00 – 14:00 น. เพราะจะทำให้แม่ไก่เกิดการเคลื่อนไหว เกิดการสร้างความร้อนขึ้นมาได้    2.7 เลือกใช้อาหารที่มีความสมดุลของโปรตีนและพลังงานให้เหมาะสมต่อความต้องการของแม่ไก่ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในการขับสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย   CR :  ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ คุณสมเจต ทองนวล  

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน Read More »

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อน

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงไก่ไข่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่จะแม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง เช่น เปลือกบางลง สีซีดลง เป็นต้น 3.มูลไก่จะมีลักษณะเหลวขึ้น เนื่องจากแม่ไก่ต้องกินน้ำเพิ่มขึ้น โดยปกติถ้าแม่ไก่อยู่ในเล้าที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 18-25C สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ แต่ถ้าอากาศภายในเล้าร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารอาจเพิ่มขึ้นเป็น >2.6 เท่าของอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่แม่ไก่รู้สึก ณ เวลานั้นๆ 4.ตัวตายต่อวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการเลี้ยง ซึ่งการตายของแม่ไก่ที่มีสาเหตุจากอากาศร้อน จะพบว่าแม่ไก่มักจะตายเยอะในช่วงเวลาบ่าย ช่วงที่อากาศร้อนจัด และพบว่าแม่ไก่ที่ตัวอ้วนๆ จะตายมากกว่าตัวที่มีน้ำหนักตัวได้ตามมาตรฐาน หรือตัวที่ผอม และเมื่อผ่าซากดูจะพบวิการตับแตก เนื้อหน้าอกขาวซีด อุณหภูมิในช่องท้องค่อนข้างสูง แนะนำ 2แนวทางการจัดการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน 1.ด้านโรงเรือน 1.1 ลดการแผ่ความร้อนจากหลังคาโรงเรือนมาสู่ตัวไก่ โดยการติดสปิงเกอร์บนหลังคาโรงเรือน การเปิดสปริงเกอร์ ควรเปิดก่อนที่อากาศภายนอกจะร้อนเพื่อลดการสะสมของความร้อนที่หลังคา เช่นเปิดสปริงเกอร์ตั้งแต่ เวลา 9:30 – 16:00 น. เป็นต้น หรือการทำหลังคาชั้นที่ 2 ด้วยหญ้าคา, ใบจาก ต่อจากหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้อง 1.2 ติดตั้งพัดลมภายในเล้า เพื่อระบายอากาศร้อนออกจากตัวไก่และโรงเรือน 1.3 การติดตั้งระบบพ่นหมอกภายในโรงเรือนร่วมกับพัดลมระบายอากาศ 1.4 ติดตั้งผ้าม่านป้องกันแสงแดดส่องเข้าภายในเล้า หรือใช้การปลูกต้นไม้รอบๆโรงเรือน เช่น ต้นกล้วย แต่ทั้งนี้ผ้าม่านจะต้องไม่ไปปิดกันทิศทางลมธรรมชาติที่จะเข้าเล้า 2. ด้านน้ำและอาหาร 2.1 จัดเตรียมน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 20-25C ให้แม่ไก่ได้กินตลอดช่วงที่อากาศร้อน หรือเติมน้ำแข็งลงในถังพักน้ำเพื่อปรับลดอุณหภูมิของน้ำก่อนให้ไก่กิน 2.2 อย่าให้ถังพักน้ำหรือท่อน้ำที่ให้ไก่กินถูกแสงแดดส่อง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ภายในสูงขึ้น ทำให้ไก่กินน้ำลดลง 2.3 ผสมไวตามิน เช่น ไวติมิน C, A, E และ Bรวม หรือไวตามิน+กรดอะมิโน ในน้ำที่ให้ไก่กิน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ไวตามิน C คือ ช่วงเวลาก่อนที่อากาศจะเริ่มร้อน อาจจะเป็นช่วง 9:00 – 10:00 โมง (ขึ้นอยู่ในแต่พื้นที่) นอกจากนั้นการเสริมสารอิเล็คโตไลน์ในน้ำก็สามารถช่วยลดภาวะ Heat Stress ในแม่ไก่ลงได้ 2.4 หลังจากให้น้ำที่ผสมไวตามินเลร็จเรียบร้อย ต้องคอยหมั่นทำความสะอาดรางน้ำหรือท่อนิปเปิล เพื่อป้องกันการสะสมของเมือกภายในรางน้ำหรือท่อน้ำกิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาไก่ท้องเสียตามมาได้ 2.5 ให้อาหารมื้อเช้าให้เร็วขึ้น อาจจะเป็นช่วงเวลา 5:00 – 6:00 โมง เป็นต้น ส่วนมื้อบ่ายก็ให้ในช่วงที่อากาศเริ่มเย็น เช่น เวลา 17:00 – 18:00 น. ร่วมกับการเปิดไฟช่วงเวลา 23:00 – 01:00 น.ให้ไก่ตื่นขึ้นมากินอาหารเพิ่มจากโปรแกรมแสงปกติ 2.6 ควรงดการกระตุ้นการกินอาหารหรือเดินเกลี่ยอาหารในรางในช่วงที่อากาศร้อน เช่น ช่วงเวลา 12:00 – 14:00 น. เพราะจะทำให้แม่ไก่เกิดการเคลื่อนไหว เกิดการสร้างความร้อนขึ้นมาได้ 2.7 เลือกใช้อาหารที่มีความสมดุลของโปรตีนและพลังงานให้เหมาะสมต่อความต้องการของแม่ไก่ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในการขับสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย CR :  ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ คุณสมเจต

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert Read More »

ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000 ตัว ต้องใช้งบเท่าไหร่

  การเลี้ยงไก่ไข่และลงทุนการเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000ตัว ต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกท่านแล้ว มาติดตามกันได้เลย การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นเรียนรู้ หรือการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เพื่อต้องการศึกษา เรียนรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์และทำความเข้าใจในการเลี้ยงไก่ไข่ เมื่อเกิดความชำนาญและเข้าใจถี่ถ้วนแล้วจะขยับขยายเพิ่มเติมจนเป็นฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็สามารถทำได้ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับงบประมาณการลงทุนของแต่ละคน CR: คุณ สมศักดิ์ แก้วสะอาด ผู้ชำนาญการไก่ไข่

ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000 ตัว ต้องใช้งบเท่าไหร่ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)