cpffeed

คู่มือ การเลี้ยงเป็ดไข่

คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ

การเลี้ยงเป็ดไข่ จาก 0 ถึงมืออาชีพ ครบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โรงเรือน อาหาร การดูแล   ปัจจุบัน การเลี้ยงเป็ดไข่  ได้มีการพัฒนาไปมาก  ทั้งในเรื่องของสายพันธุ์   อาหาร   วิธีการเลี้ยง  ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็ดไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตต่ำ   โดยเฉพาะสายพันธุ์  CP Super ซึ่งเป็นเป็ดไข่ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่างที่ปราดเปรียว หากินเก่ง กินอาหารน้อย ไข่ดก โดยให้ไข่สะสมที่ 52 สัปดาห์สูงถึง   280-300   ฟองต่อตัว   และสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วด้านคุณภาพไข่ ให้ไข่น้ำหนักเฉลี่ย   72 กรัม มีเปลือกไข่ที่หนา และฟองไข่แดงที่ใหญ่ คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ได้รวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญของการเลี้ยงเป็ดไข่ในปัจจุบัน     จากในส่วนของมาตรฐานสายพันธุ์เป็ดไข่    พร้อมได้รวบรวมความรู้และเทคนิคการเลี้ยงจากผู้ชำนาญการด้านการเลี้ยงเป็ดไข่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไว้ด้วย     อย่างไรก็ตามคู่มือฉบับนี้เป็นเพียงแนวทางในการจัดการฟาร์ม    ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถดูแลเป็ดไข่   สายพันธุ์  CP Super ให้เป็นไปตามมาตรฐานสายพันธุ์ มีผลผลิตไข่ตรงตามความต้องการของตลาด   และมีผลกำไรต่อผู้เลี้ยง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากคู่มือฉบับนี้สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายขายพันธุ์สัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 128 ถ. เย็นจิต แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120  โทร.     0-2680-4532, 0-2680-4557 สำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ เป็ดไข่ 2000 ตัว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นี่ครับ  >>>  โครงการเป็ดไข่ครบวงจร  <<<  ความสำเร็จเริ่มต้นที่สายพันธุ์ : ลักษณะของเป็ดไข่สายพันธุ์ ซีพี ซุปเปอร์   ลักษณะลูกเป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ อายุ 1 วัน  มีลักษณะสีขนสีเหลือง กากี ปากและเท้าสีส้มอมน้ำตาล น้ำหนักเป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ ลูกเป็ดอายุ 1 วัน มีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม เมื่อน้ำหนักประมาณ 1,450 กรัม ที่อายุ 18 สัปดาห์ ก็ เริ่มให้ไข่ฟองแรก และเมื่อเป็ดให้ผลผลิตครบ 1 ปี น้ำหนักจะเท่ากับ 1,650 กรัม ลักษณะไข่เป็ด ซีพี ซุปเปอร์ ลักษณะของไข่ มีน้ำหนักเฉลี่ย 72 กรัม สีเปลือกไข่สีขาว และสีเขียวอ่อน มีฟองไข่แดงใหญ่ เปลือกหนาและเหนียว เหมาะแก่การนำไปแปรรูป การเตรียมโรงเรือน และ อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงเป็ดไข่ พื้นที่การเลี้ยงระยะลูกเป็ดและเป็ดรุ่น   6 – 8   ตัวต่อ ตรม. พื้นที่การเลี้ยงระยะเป็ดไข่   3 – 4   ตัวต่อ ตรม. พื้นที่ในโรงเรือน แบ่งส่วนพื้นที่การเลี้ยงดังนี้ พื้นที่การกินอาหารและบริเวณพักผ่อน  ประมาณ  50%  ของโรงเรือน พื้นที่ไข่  ประมาณ  20% ของโรงเรือน พื้นที่ลานนอกโรงเรือนมีบ่อน้ำ  หรือ  รางน้ำ  สำหรับให้เป็ดกินน้ำ และเล่นน้ำ ประมาณ 30% ของพื้นที่ ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือน สำหรับเป็ดไข่ สำหรับโรงเรือนใหม่ต้องเก็บกวาด และ  ตรวจเช็คอย่าให้มีสิ่งที่ก่ออันตรายกับตัวเป็ด   เช่น วัสดุมีคม   แต่โรงเรือนที่เคยเลี้ยงเป็ดมาก่อน  ต้องเก็บกวาดสิ่งปฏิกูล   วัสดุรองพื้น   ออกจากโรงเรือนให้มากที่สุด ล้างทำความสะอาดโรงเรือน และ  อุปกรณ์การเลี้ยง  ด้วยน้ำสะอาด    แล้วพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค  ฆ่าแมลง   ทั้งภายใน และ ภายนอกโรงเรือนให้ทั่ว สำหรับลูกเป็ด ให้ใส่วัสดุรองพื้น   ที่แห้ง และ สะอาด เช่น แกลบ  รองพื้นโรงเรือนหนาประมาณ  1 – 2   นิ้ว   พร้อมติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกก ลูกเป็ด   แผงกั้นล้อมบริเวณที่จะเลี้ยงลูกเป็ด    อุปกรณ์ให้น้ำ ให้อาหาร   และ  กั้นผ้าม่านโดยรอบ  เพื่อป้องกันลมโกรก  และ  ฝนสาด สำหรับเป็ดระยะให้ผลผลิต   ควรใส่วัสดุรองพื้น ที่แห้ง และ สะอาด  โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ไข่ พ่นยาฆ่าเชื้อ และ  ยาฆ่าแมลง  อีกครั้ง หากมีการปลดเป็ดฝูงเก่าออกควรมีการพักโรงเรือนอย่างน้อย 21   วัน  ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ การจัดการลูกเป็ดไข่ระยะกกอายุ    1 – 7 วัน  การกกลูกเป็ดต้องคำนึงถึงการจัดการด้านอุณหภูมิ   การขยายพื้นที่การเลี้ยง  และ  การจัดวางอุปกรณ์ให้อาหาร  ให้น้ำ   เพื่อให้ลูกเป็ดมีความเป็นอยู่สบาย  สุขภาพแข็งแรง การนำลูกเป็ดเข้าเลี้ยง ประมาณการลูกเป็ดเข้าเลี้ยง โดยคำนึงถึงพื้นที่การเลี้ยง  6 – 8 ตัวต่อ ตรม. การขออนุญาตลงลูกเป็ด โดยแจ้งการขอเข้ากับปศุสัตว์อำเภอ  ก่อนจะนำลูกเป็ดเข้าเลี้ยงใหม่ การเตรียมความพร้อมในการรับลูกเป็ด จัดเตรียม น้ำสะอาดใส่กระติกน้ำ   ถาดอาหารก่อนลูกเป็ดเข้า  เปิดเครื่องกก  และ  ปรับอุณหภูมิภายในกกอยู่ที่   32๐ C   ก่อนลูกเป็ดเข้า 2 ชั่วโมง การรับลูกเป็ด ตรวจเช็คสุขภาพ  โดยดูจากลักษณะภายนอก  หากพบ  ลูกเป็ดอ่อนแอ  พิการ   ตาบอด   คอบิด  ขาเสีย  ปากเบี้ยว    ให้คัดทิ้ง  และ ตรวจนับจำนวนลูกเป็ด    พร้อมทั้งสุ่มชั่งน้ำหนักลูกเป็ดประมาณ  5-10 % การกกลูกเป็ด ควรมีการตรวจสอบอุณหภูมิ   ความสุขสบายของลูกเป็ด    และควรขยายพื้นที่การกกให้เต็มพื้นที่การเลี้ยงที่อายุลูกเป็ด  7 – 10  วัน การจัดการอาหาร ใช้ถาดเหลือง  7  วันแรก  โดยแบ่งอาหารให้วันละ  3  ครั้ง เบอร์อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกเป็ดได้คือ    541 D-1      ปข 1 YC 6548 YC และ 521 น้ำหนักลูกเป็ดช่วงสัปดาห์แรก 150 กรัม การจัดการน้ำ ในวันแรกที่ลงลูกเป็ดให้ฝึกการกินน้ำ โดยการจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดกินน้ำเป็น หลังจากเป็ดอายุ 4 วัน เริ่มลดจำนวนกระปุกน้ำออก และฝึกให้เป็ดกินน้ำจากนิปเปิ้ล หรืออุปกรณ์ให้น้ำชนิดต่างๆ การจัดการแสงสว่างของลูกเป็ด การจัดการเป็ดรุ่นไข่อายุ 2 – 17 สัปดาห์ การจัดการอาหาร ควรให้อาหารวันละ1 ครั้ง   การเทอาหารต้องรวดเร็ว อุปกรณ์ให้อาหารต้อง เพียงพอ และการกระจายอาหารต้องทั่วถึง โดยปริมาณอาหารพิจารณาตามตาราง ที่อายุ 2 สัปดาห์ ใช้อาหารลูกเป็ด คือ 541 D-1      ปข 1 YC      6548 YC    และ    521 ที่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไปใช้อาหารเป็ดรุ่นไข่คือ    599 D      ดี -5      ส 6 D      6656 D การชั่งน้ำหนัก การหาค่าความสม่ำเสมอ  เป็นค่าบ่งชี้ ให้ทราบได้ว่าน้ำหนักตัวเป็ดรุ่นไข่ ในแต่ละสัปดาห์มีค่าใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือไม่ นอกจากนี้แล้วความสม่ำเสมอของฝูงเป็ดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน หากความสม่ำเสมอในฝูงสูงก็จะส่งผลถึง %ไข่ที่จะสูงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากความสม่ำเสมอต่ำก็จะทำให้ %ไข่ลดลง ซึ่งอาจแก้ไขด้วยการพิจารณาถึงการเพิ่มปริมาณอาหาร ความเร็วในการกระจายอาหาร และอุปกรณ์ในการให้อาหาร ทำไมต้องมีการชั่งหรือตรวจเช็ค การให้อาหาร และชั่งน้ำหนักของเป็ดไข่ ทั้งนี้การเลี้ยงเป็ดไข่ หรือสัตว์ใดๆก็ตามถ้ามีระบบในการตรวจสอบ และการ เช็คการเติบโต จะทำให้ การเลี้ยงมีคุณภาพมากขึ้น และมีผลผลิตดีขึ้น อย่างมาก การจัดการน้ำ ที่ให้น้ำควรเป็นแบบรางน้ำ และมีลูกลอย  เพื่อจะได้มีน้ำให้เป็ดกินได้ ไม่ขาดน้ำ ตลอดเวลาในช่วงเป็ดรุ่น น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต้องมั่นใจว่ามีอย่างเพียงพอ เพราะช่วงนี้มีการให้อาหารอย่างจำกัดวันละ 1 ครั้ง ดังนั้นเป็ดจะกินอาหารอย่างรวดเร็วและกินอาหารเต็มกระเพาะจนถึงหลอดอาหาร หลังจากกินอาหารเสร็จเป็ดจะกินน้ำในเวลาเดียวกัน หากเป็ดขาดน้ำหรืออุปกรณ์การให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้เป็ดเกิดอาการอาหารติดคอ (จุกอาหาร) และเสียหาย การจัดการแสง การฝึกเข้ารังไข่ เมื่อเป็ดอายุได้ 16 สัปดาห์ ควรเริ่มนำรังไข่เข้าเล้า เพื่อฝึกให้เป็ดเข้ารังไข่ โดยในตอนกลางคืน (21:00 – 6:00น.) ควรเปิดไฟให้มีความเข้มแสงประมาณ 5 Lux ในบริเวณรังไข่ และบริเวณรังไข่ควรมีประตู โดยจะเปิดประตูเฉพาะเวลาที่ให้แสงในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวัน เพื่อให้เป็ดรู้เวลาเข้าไข่ และป้องกันไม่ให้ไข่สกปรก การคัดทิ้งเป็ดผิดเพศ โดยปรกติในการคัดเพศเป็ดไข่เพศเมีย จะมี%ความผิดพลาดประมาณ 0.5-1% (การขายลูกเป็ดไข่มีลูกเป็ดแถม 2%) เราสามารถเริ่มคัดเป็ดผิดเพศได้ที่อายุ 5-7 สัปดาห์ แต่จะเริ่มชัดเจนที่อายุประมาณ 10 สัปดาห์ โดยพิจารณาจาก ขนาดตัวที่ใหญ่ หัวใหญ่ บริเวณหัวเป็นสีน้ำตาลหรือเขียวเข้ม ขนบริเวณหน้าอกสีน้ำตาลเข้ม ปากสีเหลืองเข้ม ขนที่ก้นงอน และเสียงร้องแหบ ซึ่งผลเสียของการไม่คัดเป็ดผิดเพศทิ้งคือ ไข่เป็ดสดจะมีเชื้อ ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน รวมทั้งไม่เหมาะที่นำไปแปรรูปอีกด้วย การจัดการเป็ดระยะไข่อายุ 18 สัปดาห์ ถึง ปลด การจัดการอาหาร และ น้ำ ควรให้อาหารวันละ   1 – 2  ครั้ง  ซึ่งปริมาณการให้อาหารจะขึ้นกับ % การให้ ให้ผลผลิต โดยพิจารณาตามตาราง หมายเหตุ เบอร์อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดระยะไข่คือ    599 D      ดี -5      ส 6 D      6656 D การที่ไม่ให้เป็ดกินอาหารเต็มที่ในช่วงแรกของการให้ไข่เนื่องจาก เป็นการป้องกันการเกิดไข่แฝด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เป็ดก้นทะลัก  แต่อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนเปิด สภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการกินอาหารได้ของเป็ด ดังนั้นในแต่ละวันปริมาณอาหารที่เป็ดกินได้อาจไม่เท่ากัน จึงควรให้อาหารแต่พอดี ในหนึ่งวันต้องมีช่วงที่อาหารหมดรางอาหาร ห้ามมีอาหารเหลือข้ามวันเพราะทำให้อาหารเน่าเสีย ส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นเป็ดไม่กินอาหาร หรือถ้าหากกินอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเป็ดได้ การจัดการรังไข่ และเก็บไข่ ตอนกลางคืน (21:00 – 6:00น.) ควรเปิดไฟให้มีความเข้มแสงประมาณ 5 Lux ในบริเวณรังไข่ และบริเวณรังไข่ควรมีประตู โดยจะเปิดประตูเฉพาะเวลาที่ให้แสงในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวัน เพื่อให้เป็ดรู้เวลาเข้าไข่ นอกจากนี้ภายในรังไข่ต้องมีวัสดุรองพื้น ได้แก่ แกลบ หรือฟาง ที่แห้ง สะอาด ปราศจากความชื้น เพื่อป้องกันไข่สกปรก ควรเก็บไข่วันละ 2 ครั้ง (เช้า 6.00 น และ 10.00 น )    โดยเก็บไข่ที่อยู่นอกพื้นที่รังไข่ก่อน    ถ้าพบว่ามีเป็ดอยู่ในพื้นที่รังไข่ ควรต้อนเป็ดออกมาก่อน และต้องมั่นใจได้ว่าไม่มีไข่ตกค้างอยู่ในรังไข่ รวมทั้งในเวลากลางวันไม่ควรให้เป็ดเข้าไปในพื้นที่รังไข่ มิฉะนั้นจะเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการกกไข่ ซี่งส่งผลให้ผลผลิตไข่ลดลง จากการทดลองเก็บไข่เป็ดสดในสภาวะต่างๆพบว่า ที่อุณหภูมิห้องสามารถรักษาความสดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เพียง 10 วัน ที่อุณหภูมิห้องเย็นได้ 25 วัน และที่อุณหภูมิตู้เย็นได้มากกว่า 30 วันแต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บไข่เป็ดสดตามที่ USDA แนะนำ คือ 16 องศาเซลเซียส การจัดการไข่เป็ดสด การคัดไข่ แบ่งเบอร์ไข่ได้ดังตาราง ซึ่งไข่ต้องแห้งสะอาด หากไข่สกปรก หรือเปียกน้ำ ไม่ควรเก็บไว้เป็นเวลานาน หรือนำไปแปรรูปเป็นไข่เค็ม เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเน่าเสียได้สูง การรับเป็ดสาวเข้าเลี้ยง ควรเลือกชื้อเป็ดสาวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรรับเป็ดสาวก่อนที่จะให้ไข่ เพื่อป้องกันปัญหาไข่แตกในช่องท้องระหว่างขนย้าย   และ เป็ดสาวควรมีอายุเดียวกันทั้งฝูง เป็ดสาวควรมีน้ำหนักเฉลี่ยตามมาตรฐานสายพันธุ์ เมื่อเป็ดสาวมาถึงฟาร์ม ควรให้เป็ดได้กินน้ำก่อนให้อาหารประมาณ  1 – 2  ชั่วโมง ควรคัดเป็ดที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์   เป็ดเพศผู้   ออกจากฝูง ควรถ่ายพยาธิ  และ  ทำวัคซีน    ตามโปรแกรมที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ การปลดเป็ด การปลดเป็ด  คือ  การนำฝูงเป็ดเก่าออกจากฟาร์ม    เพื่อเตรียมโรงเรือนสำหรับรับเป็ดสาวฝูงใหม่เข้าเลี้ยง    การปลดเป็ดควรคำนึงจาก อายุครบปลด ความคุ้มทุนของการเลี้ยง สภาวะตลาด เมื่อถึงวันจับเป็ดทางฟาร์มมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ อดอาหารก่อนจับเป็ด 3 – 4   ชั่วโมง สุ่มน้ำหนักเป็ดเพื่อหาน้ำหนักเฉลี่ยของฝูง ประมาณ 1 – 2 % ต้อนเป็ดด้วยความระมัดระวัง ตรวจนับจำนวนเป็ดที่ขายให้ครบจำนวน ท่านสามารถ ดาวโหลด เอกสาร คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ฉบับเต็มได้ที่ นี่เลยครับ คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่

คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ Read More »

การ เลี้ยงหมู

5 เรื่องต้องรู้ก่อน เลี้ยงหมู คู่มือการเลี้ยง อาหาร โรงเรือน และการป้องกันโรค

เลี้ยงหมู มีวิธีการอย่างไร โพสนี้ครบ และ แจกคู่มือการเลี้ยงด้วยครับ สวัสดีครับ ปัจจุบัน การ เลี้ยงหมู หรือ สุกร ในประเทศไทยมีการพัฒนาด้านพันธุ์สัตว์และการจัดการสุขาภิบาล ทัดเทียมต่างประเทศเลยครับ สำหรับ การเลี้ยง ในประเทศแม้จะมีฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อย ที่ทำการเลี้ยงหมู ขนาดเล็กไม่มาก รายละ 1 ถึง 20 ตัวตามหมู่บ้าน อยู่เป็นจำนวนมาก เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา การเลี้ยงของตนเอง ให้มีประสิทธิภาพ และจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยัง สามารถทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือพัฒนาฟาร์มที่เลี้ยงอยู่ให้เติมโตได้ด้วยครับ ปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้การเลี้ยงสุกร ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย ส่วนต่างๆดังนี้ พันธุ์หมูที่นำมาเลี้ยงเป็นหมูพันธุ์ดี อาหารดีเหมาะสมกับหมูแต่ละช่วงวัย การจัดการโรงเรียนที่ดีและมีประสิทธิภาพ มีการเลี้ยงดูที่ดีหรือมีคำแนะนำและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี มีการป้องกันโรคให้กับหมูและแนะนำในการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น *** ซึ่งในบทความนี้ จะเป็นเนื้อหา ย่อยๆ ออกมาจาก ส่วนของคู่มือการเลี้ยง ครับ สามารถ โหลด ได้จากหน้า นี้เลยครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้แล้ว ถ้าเพื่อนๆเกษตรกร มีความสนใจในการเลี้ยงสัตว์ ชนิดอื่นๆ ก็สามารถ เข้าดูได้ที่ ลิงค์ ข้างต้นเลยครับ ในการเลี้ยงหมู ลำดับแรกไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อย หรือว่าเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ควรมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์หมูที่เราจะนำมาเลี้ยงก่อน หากไม่รู้เราสามารถสอบถามได้จากผู้ขายพันธ์สัตว์ที่ได้มาตรฐานครับ จะได้รับคำแนะนำที่ ดีและมีประโยชน์มากๆ กับเรา ซึ่งสามารถ นำไปต่อยอด และพัฒนาฟาร์มของเราได้อย่างยั่งยืนครับ โดยสามารถ สั่งจองพันธ์สัตว์ และสอบถามได้ที่นี่ครับ >>> สั่งจองพันธุ์สัตว์ และสอบถาม <<< พันธุ์หมูในประเทศไทย เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีด้วยระบบการผลิตสุกรที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาพันธุ์สุกรของ CP เป็นพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและมีผลผลิตสูง ตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้เลี้ยงและผู้บริโภค มีทั้งหมูพ่อพันธุ์และหมูแม่พันธุ์ อาหารหมูที่เหมาะสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย ทั้งนี้สำหรับเกษตรกรบางท่านอาจจะยังใช้อาหารหมูที่มีการผสมเองบางครั้งหมูที่เราเลี้ยงอาจจะได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงและมีปริมาณการติดโรคมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีและความทันสมัยในสมัยนี้แล้วอาหารสำเร็จสำหรับหมูก็มีการแบ่งออกเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย ซึ่ง ง่าย และเป็นผลดีกับเกษตรกรด้วครับ ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหาร เลี้ยงหมูสำหรับเกษตรกร แบบที่ 1 เป็นการผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม ต้องรู้จักเลือกชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีวัตถุดิบตัวหลักๆได้แก่กากถั่วเหลืองปลาป่นปลายข้าวข้าวโพดรำละเอียดและวิตามินแร่ธาตุในรูปของวิตามินรวมแล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรในแต่ละขนาดโดยเครื่องผสมอาหารหรือผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวกโดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อยๆก่อนแล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่วิธีนี้จะประหยัดสามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มากซึ่งในเอกสารประกอบที่ผมจะให้ดาวน์โหลดด้านล่างก็มีสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรนมจนถึงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วยครับ แบบที่ 2 อาหารชนิดเม็ดสำเร็จรูป สำหรับอาหารหมูเล็กสุกรอ่อนสุกรเล็กสุกรรุ่นหมูขุนหมูพันธุ์ข้อดีคือสะดวกในการใช้และวิธีการจัดหาเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละขนาดมีจัดจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไปข้อเสียคืออาจจะมีราคาสูงกว่าประเภทแรกและหากผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยอะไรก็อาจจะทำให้เปลืองค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการให้อาหารได้ครับ ทั้งนี้ราคาในปัจจุบันสำหรับอาหารสำเร็จรูปก็ลดลงมากแล้วและเหมาะสมกับการใช้งานเลี้ยงหมูโดยทั่วไปด้วยครับเพื่อนๆสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่บทความนี้ก็ได้ครับ อาหารหมูเล็ก แบบที่ 3 การใช้หัวอาหารสำเร็จ ส่วนใหญ่ จะมีโปรตีนประมาณ 32 ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ และผสมวิตามินและแร่ธาตุอยู่ด้วย แล้วใช้ผสมปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วนน้ำหนักที่ระบุ จำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาด ให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วยว่าเหมาะกับช่วงวัยหรือเปล่า โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมู โรงเรือนที่ดี จะสะดวกในการจัดการฟาร์มหมู จะอยู่ภายในคอกอย่างสบายใจ และขั้นตอนการสร้างโรงเรือนของสุกร มีหลายแบบด้วยกันแต่ในส่วนของการก่อสร้างโรงเรือน มีข้อกำหนดที่แนะนำดังนี้คือ สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนหมูควรเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมมีการระบายน้ำได้ดีห่างไกลชุมชนตลาดและผู้เลี้ยงหมูรายอื่น การสร้างโรงเรือนตามแนวตะวันออกตะวันตกและระยะห่างของโรงเรียนแต่ละโรงเรือนประมาณ 20 ถึง 25 เมตรเพื่อแยกโรงเรือนออกจากการเป็นสัดเป็นส่วน โรงเรือนจะต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีสามารถป้องกันแดดและฝนได้อาจเป็นโรงเรียนเปิดก็ได้แต่โรงเรือนแบบปิดจะมีข้อดีคือสามารถปรับอุณหภูมิและการระบายอากาศให้เหมาะสมกับหมูในแต่ละช่วงอายุได้ง่ายนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันสัตว์ชนิดอื่นเช่นยุงและแมลงเข้าไปภายในโรงเรือนได้ดีกว่าโรงเรือนแบบเปิด ทั้งนี้สามารถ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นโรงเรือนแบบปิด ที่ลิงค์นี้ครับ >>> โค้ชวิทธิ์ โรงเรือนอีแวป <<< การสุขาภิบาลการป้องกันโรคและการป้องกันโรคติดต่อในหมู การสุขาภิบาลหมายถึงการจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบายปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆการทำความสะอาดคอกให้สะอาดการให้อาหารที่ดีและการจัดการที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตหมูหรือการเลี้ยงหมูของเรา การทำความสะอาดคอกหมูควรทำความสะอาดคอกหมูทุกวันโดยการกวาดแห้งด้วยไม้กวาดเอามูลสุกรออกและล้างคอกด้วยน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อนละครั้งนอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บข้อมูลสุกรเพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากสุกรไปรบกวนเพื่อนบ้าน ในกรณีที่มีการจัดการที่ดีอาจนำอุปกรณ์ตรงนี้ไปใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อนำมาใช้ในฟาร์มต่อไปได้  คู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ แจกฟรี cpffeedsolution.com ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมในปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการจัดการ ด้านพันธุ์สัตว์ ด้านอาหาร และการจัดการฟาร์มที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เกษตรกรผู้สนใจเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้ เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น คู่มือการเลี้ยงสัตว์ จากที่อื่น  คู่มือการเลี้ยงสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ >> สามารถดาวโหลดได้ที่นี่ครับ <<<

5 เรื่องต้องรู้ก่อน เลี้ยงหมู คู่มือการเลี้ยง อาหาร โรงเรือน และการป้องกันโรค Read More »

รู้สู้...โรค ASF

รู้สู้โรค ASF BY: โค้ชวิทธ์

โรค ASF คืออะไร ASF ย่อมาจาก African swine fever หรือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกรซึ่งมีหมูป่าเป็น แหล่งรังโรคและมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่า เป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาด ของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค ในขณะที่ เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงและสามารถปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อสุกรและซาลามีได้สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นสามารถแพร่โรคได้ตลอดชีวิต และยิ่งกว่านั้น โรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงมาก โดยทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีอัตราป่วยและตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ แนะนำ CPF AI Farmlab ซีพีเอฟ จับมือ เซอร์ทิส พัฒนาเทคโนโลยีบริหารและจัดการฟาร์ม “CPF AI FarmLab” ระบบดูแลฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อป้องกันการสัมผัสเชื้อโรคเข้าฟาร์ม ระบบคอยเฝ้าระวังตรวจจับพฤติกรรมที่สุ่มเสี่ยงสัมผัสโรค ในจุดต่างๆที่มีการติดต่อกับบุคคลภายนอก เช่น จุดขายหมู เล้าสุกรคัดทิ้ง ต่างๆ ซึ่งเป็นการเฝ้าระวังแทนคนได้7วัน 24 ชั่วโมง บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และบริษัท เซอร์ทิส จำกัด จับมือร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีบริหารและจัดการฟาร์ม “CPF AI FarmLab Powered by Sertis” ครั้งแรกในประเทศไทยด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence : AI) ที่สามารถคิด วิเคราะห์ ประมวลผล และตัดสินใจเองได้ ผ่านการจดจำและการศึกษาข้อมูลจำนวนมาก มาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อพลิกโฉมสู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมสร้างมาตรฐานให้กับกิจการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ของไทย มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล

รู้สู้โรค ASF BY: โค้ชวิทธ์ Read More »

เสริมธุรกิจให้ทันสมัยกับการตลาดออนไลน์ ตอน: สร้างโฆษณาเฟสบุ๊คให้ได้ผลกับ 5 เคล็ดลับง่ายๆ CR: OBOBERON

เสริมธุรกิจให้ทันสมัยกับการตลาดออนไลน์ ตอน: สร้างโฆษณาเฟสบุ๊คให้ได้ผลกับ 5 เคล็ดลับง่ายๆ CR: OBOBERON Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการ-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ EET-Effective Environment Temperature คืออะไร? อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงสุกรไม่ใช่อุณหภูมิโรงเรือนนะครับ แต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ สุกรนอนอยู่ที่คอกในโรงเรือนอีแวปอุณหภูมิห้อง 24 องศาเซลเซียส กลุ่มสภาพแวดล้อม พื้นรองนอน ความเร็วลม ไฟกก ความรู้สึกของสุกรต่ออุณหภูมิ 1 (กลุ่มควบคุม) พื้นไม้ 0 ไม่มี 24 องศา 2 พื้นปูน 0 ไม่มี ต่ำกว่า 24 องศา/กลุ่ม 1 3 พื้นไม้ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 4 พื้นไม้ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 3 5 พื้นไม้ 0 มี สูงกว่ากลุ่ม 1 6 พื้นปูนเปียกน้ำ 0 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 7 พื้นปูนเปียกน้ำ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 6 8 พื้นปูนเปียกน้ำ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 7                  จะเห็นได้ว่าความรู้สึกต่ออุณหภูมิของสุกรไม่ใช่ 24 องศาเซลเซียสตามอุณหภูมิห้องเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์หรือสิ่งที่อยู่รอบๆ เป็นตัวกำหนด ดังตารางต่อไปนี้    ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมต้องเข้าใจเรื่องของอุณหภูมิในโรงเรือนโดยอ้างอิงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวสุกรด้วย และคาดคะเนถึงอุณหภูมิที่สุกรรู้สึกอยู่ตลอดเวลาด้วยนะครับ    การทำงานในสถานที่จริงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะคุมอุณหภูมิให้ตรงตามความต้องการของสุกรตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องเข้าใจถึงระดับความเสี่ยงต่ออุณหภูมิแต่ละระยะการเลี้ยงดังต่อไปนี้ Lower Critical Temperature คืออุณหภูมิต่ำสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย ส่วน Upper Critical Temperature คืออุณหภูมิสูงสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย เรียกอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพร่างกายทั้งที่ต่ำเกินไปและสูงเกินไปว่าอุณหภูมิวิกฤตสำหรับสุกร                    ผู้เลี้ยงจึงต้องมีความเข้าใจต่อพฤติกรรมของสุกรที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤต และสามารถใช้เครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ในฟาร์มปรับเข้าสู่อุณหภูมิที่สุกรต้องการให้ได้ สุกรก็จะให้ผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด แล้วพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤตเราสามารถสังเกตได้อย่างไร ติดตามต่อได้ในตอนต่อไปครับ CR : โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2 Read More »

อาหารไก่ และ อาหารไก่พื้นเมือง สำหรับไก่ อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป

อาหารไก่ และ อาหารไก่พื้นเมือง อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป โตไวแข็งแรง สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมาดูกันเรื่องของ ไก่พื้นเมืองกันครับ ว่าคืออะไร มีแบบไหนบ้าง วิธีการเลื้ยง และประเภทต่างๆ รวมไปถึง อาหารไก่และการดูแลไก่พื้นเมือง ว่ามีวิธีการดูแลอย่างไร สำหรับเพื่อนๆ เกษตรกร ที่สนใจ ท่านใดที่ต้องการทำเป็นอาชีพ ก็มีแนะนำกันด้วยครับ สำหรับผู้ที่เริ่มเลี้ยงไก่ อาจจะมีข้อสงสัยว่า ไก่พื้นเมือง คือไก่อะไร ? ไก่พื้นเมื่อง หรือ ที่เราเรียกกันทั่วไป ทั้งไก้แจ้ ไก่บ้าน ไก่ชน หรือว่าไก่สวยงาม ไก่แฟนซี ต่างๆนั้นเองครับ ก็จะมีความแต่งกันในเรื่องของพันธุ์สัตว์ และการดูแล ในที่นี่ขอเรียกรวมๆว่า ไก่พื้นเมืองนะครับ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจ กันง่ายขึ้น พันธุ์ไก่พื้นเมือง สำหรับ ไก่พื้นเมือง ในชนบทหมู่บ้านต่างๆ มีหลากหลายพันธุ์เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่เบตง และ ไก่ชน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว ไก่พื้นเมือง ในหมู่บ้านจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนซะมากกว่า สังเกตได้จากแม่ไก่ จะมีขนสีดำหน้าดำ แข้งดำ มีหงอน แต่บางที ก็จะมีสีเทาหรือสีทอง สาเหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมือง พันธุ์ไก่ชนเพราะว่า มีรูปร่างใหญ่เจริญเติบโตได้ดี แม่พันธุ์ก็ให้ไข่ดกและมีการเลี้ยงดูที่ง่ายเจริญเติบโตไว หรือบางทีเราก็ให้กินข้าวที่เหลือ หรือพวกหัวอาหารที่เราทำมาเอง ทั้งนี้ถ้าเป็นการเลี้ยงเพื่อเป็นเพื่อนหรือไม่ต้องการที่จะขาย การให้อาหารทั่วไปก็สามารถทำได้ แต่ไก่อาจจะมีสุขภาพที่ไม่ดี เพราะได้สารอาหารที่ไม่ครบถ้วนได้ การเลี้ยงไก่ หรือ ไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นอาชีพ หรือเพื่อขาย สร้างรายได้ สำหรับท่านที่ต้องการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง เป็นรายได้ หรือเพื่อการค้า วันนี้ผมมีคำแนะนำในการเลี้ยง ไก่พื้นเมือง เรื่องของอาหาร และการดูแลมาฝากกันครับ เลี้ยงไก่บ้าน หรือ ไก่พื้นเมือง กี่เดือนขายได้ สำหรับ ท่านที่เลี้ยงไก่เป็นอาชีพ หรือทำเป็นอาชีพเสริม เมื่อไก่ มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัมต่อตัว หรือเลี้ยงมาประมาณ 4 เดือน สำหรับเกษตรกร บางท่าน สามารถจำกัดเวลาการเลี้ยงได้ และกำหนดเป็นรุ่นที่ต้องการขายได้โดยแบ่งช่วงเวลาการเลี้ยง เช่นถ้าต้องขายรุ่นนี้ที่เลี้ยงมา 1 รุ่นเมื่ออายุ  4 เดือน ก็สามารถทำได้เช่นกัน การดูแลเรื่องสุขภาพ และการให้วัคซีนลูกไก่ การเลี้ยงไก่พื้นบ้าน หรือไก่ประเภทอื่นๆ ต้องมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล สำหรับไก่พื้นบ้าน ต้องมีการให้วัคซีน เมื่อลูกไก่อายุครบ 8 สัปดาห์ แต่สำหรับเกษตรกร ที่เลี้ยงในพื้นที่กว้าง เช่นไร่นาหรือปลูกสวนผลไม้ มีแปลงหญ้าก็สามารถเลี้ยงแบบปล่อยให้หากินเองธรรมชาติได้ แล้วเสริมอาหารผสมในเวลาใกล้เย็น งดให้อาหารเช้าเพื่อบังคับให้ไก่ไปหากินเอง ทั้งนี้การเลี้ยงไก่ เพื่อการค้า หากมีการจัดการที่ดี ก็จะสามารถเพิ่มผลพลิตได้ และลดการตายของไก่ อีกทั้งมีคุณภาพมากขึ้นด้วย อาหารสำหรับ ไก่พื้นเมือง ไก่ชนิดอื่นแบบ ทำเอง โดยที่ไป ส่วนประกอบอาหารลูกไก่พื้นเมืองตั้งแต่อายุ 0-6 สัปดาห์ ทั่วไปถ้าเกษตรกรไม่ได้ใช้อาหารสำเร็จรูป อาจจะมีการเตรียมหรือหาวัตถุดิบ ในท้องถิ่นในการทำอาหารได้  ส่วนประกอบในอาหารของลูกไก่ แนะนำให้มี ส่วนประกอบดังนี้  ข้าวโพด รำละเอียด กากถั่วเหลือง ใบกระถินป่น ปลาป่น เปลือกหอย ไดแคลเซียม เกลือ สมุนไพร พวกข้าวโพด ข้าวฟ่าง และปลายข้าว ก็สามารถใช้แทนกันได้ ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ก่อนใช้แช่น้ำเดือดนาน 15 ถึง 20 นาที ตากแดดและบดผสมอาหาร สมุนไพร มาจากฟ้าทะลายโจร ขมิ้น ไพลเป็นส่วนใหญ่ ตากแดดและบดผสมอาหารแล้วแต่ตาม ความเหมาะสมของลูกไก่ในระยะนั้นๆ ทั้งนี้ จากส่วนประกอบและขั้นตอนในการเตรียมอาหาร อาจจะเป็นความยุ่งยากในการเตรียม อาหารไก่ ที่เลี้ยง อีกทางเลือกที่เหมาะสมคือการใช้ อาหารสำเร็จ เทียบราคากับ ความสะดวกในการให้อาหาร แล้ว เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ และเหมาะสมมาก เพราะ อาหารสำเร็จได้ออกแบบ และมีส่วนผสม ตรงกับความต้องการอาหารของไก่ ณ ช่วงวัย นั้นๆ อาหารสำเร็จรูป สำหรับ อาหารไก่ และ อาหารไก่พื้นเมือง อายุ 3 สัปดาห์ถึงขาย     คือ อาหาร สำเร็จรูปสำหรับ ไก่พื้นเมือง อายุ 3 สัปดาห์ ถึงขาย สามารถใช้เลี้ยงไก่สวยงาม เช่น ไก่แจ้ หรือไก่แฟนซีต่าง ๆ ออกแบบให้เป็น อาหารสำหรับไก่พื้นเมือง ที่มีความสะดวกในการจัดการ ด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน ที่สร้างความพร้อม ทั้งด้านร่างกาย และด้านสุขภาพ เอราวัณ ซี 5 อุดมไปด้วยสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วน ตรงตามโภชนะที่ไก่ต้องการ ช่วยปรับโครงสร้างร่างกาย และพัฒนากล้ามเนื้อ รองรับต่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ ข้อควรระวัง ต้องรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่การเลี้ยง ให้พื้นแห้ง สะอาด ตลอดอายุการเลี้ยง เพื่อลดปัญหาโรคบิดในไก่ วิธีการให้ อาหาร สำหรับ ไก่ พื้นเมือง เอราวัณ ซี5 สามารถเริ่มให้อาหารเอราวัณ ซี 5 กับไก่พื้นเมือง ได้ตั้งแต่ 3 สัปดาห์ จนถึงขาย เบ็ดเสร็จ สะดวกใช้ด้วยอาหารสูตรเดียว โดยสามารถให้ไก่กินได้เต็มที่ตามความต้องการ ควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน เพื่อกระตุ้นการกินได้ของไก่ และเพื่อให้อาหารมีความสดใหม่เสมอ ควรมีน้ำสะอาดที่พอเพียง และตลอดเวลา กินดี คัดสรรวัตถุดิบดีมีคุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตจากโรงงานที่มีมาตรฐานสากล มั่นใจ และจริงจัง เพื่อให้อาหารมีความสะอาด ปลอดภัย เอราวัณ ซี 5 มีกายภาพของเนื้ออาหารเป็นเกล็ดเม็ดบี้ ผสมชิ้นข้าวโพดบดหยาบ ขนาดชิ้นที่เหมาะสมต่อการกินได้ของไก่ ทำให้มีความน่ากิน กลิ่นหอม ช่วยให้ไก่กินอร่อย ย่อยง่าย ได้โภชนะเต็มคำ มั่นใจได้ในคุณภาพที่สม่ำเสมอ โตไว อาหารเอราวัณ ซี 5 อุดมด้วยสารอาหาร วิตามิน เกลือแร่ครบถ้วน ตรงตามโภชนะที่ไก่ต้องการ ช่วยปรับโครงสร้างร่างกาย และพัฒนากล้ามเนื้อ รองรับต่อการเจริญเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ แข็งแรง อาหารเอราวัณ ซี 5 กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน ลดปัญหาสุขภาพ ช่วยให้ไก่เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความแข็งแรง ทำให้การจัดการการเลี้ยงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามเพิ่มเติม เกี่ยวกับ อาหารไก่พื้นเมือง เอราวัณ ซี5 | CPFFEED Solution  

อาหารไก่ และ อาหารไก่พื้นเมือง สำหรับไก่ อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป Read More »

อาหารหมูเล็ก-อาหารหมู ไฮโกร

อาหารหมูเล็ก และอาหารหมู แบบไหน ที่เหมาะกับหมู น้ำหนัก 5 – 25 กิโลกรัม

อาหารหมูเล็ก อาหารหมูแบบไหน ที่เราควรเลือกให้ลูกหมู อาหารหมูเล็ก หรืออาหารสำหรับหมู ที่เพิ่งหย่านม สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู หรือว่าเพิ่งจะ ได้เลี้ยงหมู นะครับ เรามี คำแนะนำดีๆเรื่อง อาหารหมู และอาหารที่เหมาะกับหมู ขนาด 5 – 25 กิโลกรัมมาฝากครับ สามารถใช้ได้กับหมูขุน ด้วยนะครับ เลี้ยงหมู ยังไง ให้ได้น้ำหนักดี และสุขภาพดีด้วย อาหารหมู หลังหย่านมจนถึงน้ำหนัก 5 กิโลกรัมจากที่เป็นอาหารสุดพิเศษครบถ้วน และการให้ อาหารสุกรอนุบาลเพื่อสร้างความพร้อมทางด้านสุขภาพ และด้านร่างกายสามารถเติบโตในระยะต่อไปได้ เต็มศักยภาพให้ อาหารหมู ที่หมูชอบอร่อยย่อยง่าย จะทำให้ หมูขุน โตไว สุขภาพดี และไม่มีโรค อาหารหมูเล็ก ของเราควรเลือกบริษัท ที่มีการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ สะอาด กระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานระดับสากลเพื่อ แล้วเราจะดูได้อย่างไร เกษตรกรบางท่านมีสูตรหัวอาหาร หรือมีการใช้อาหารที่ไม่เหมาะ กับลูกหมู ทำให้ น้ำหนักน้อย และไม่ค่อยเท่ากันทั้งเล้า ในการเลือก อาหารหมูเล็ก ง่ายที่สุดคือ อาหารสำเร็จ เพราะมีกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานกว่าทำให้ลูกหมู มีกระบวนย่อยอาหาร ที่ดี และ ไม่เสี่ยงต่อการติดโรค อาหารสำเร็จรูป ที่แนะนำ มีความสะอาดทั้งยังมีการใช้วัตถุดิบที่ให้กลิ่นหอม เพิ่มใช้สารให้ความหวาน ซึ่งปกติ ถ้าเราใช้สูตรอาหารของเราเอง ก็อาจจะไม่สามารถ เพิ่มสารอาหารที่ต้องการ และจำเป็นการการเติบโตได้ เท่ากับอาหาร สำเร็จ ที่ได้มีการออกแบบและปรุงมาเพื่อลูกหมู หรือเหมาะสมกับ หมูแต่ละช่วงน้ำหนัก นอกจากนี้อาหารหมูเล็ก ก็ยังเพิ่มความน่ากินด้วยระบบสเปรย์ความหวาน ทำให้มีกลิ่นหอมอร่อย ลูกสุกรกินอาหารได้ดีขึ้น ๆ เมื่อลูกหมูกินอาหารได้เยอะขึ้น อาหารสำเร็จ ก็มีการเพิ่มส่วนของ จุลินทรีย์ ที่ช่วยการย่อย ทำให้ย่อยง่าย ได้สารอาหารที่ครบถ้วย และเหมาะกับหมูแต่ละวัย และสามารถใช้ประโยชน์ ของอาหารสำเร็จรูป ได้อย่างเต็มที่ ช่วยสนับสนุนระบบย่อยอาหารของลูกสุกรให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น นอกจากนี้ อาหารหมูเล็ก สำเร็จรูปยังมีการปรับให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เหมาะสมกับช่วงระยะสุกรอนุบาลเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างให้ได้น้ำหนักของลูกสุกรอนุบาล อาหารหมู ไฮโกร ได้เสริมโปรไบโอติกและส่วนสร้างเสริมต่างๆเพื่อลดปัญหาสุขภาพ ของลูกหมู ทำให้ ลูกหมู แข็งแรงขึ้นและการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งระบบทางเดินอาหารและระบบทางเดินหายใจ ส่งผลให้อัตราการลดจำนวนลูกสุกรทรุดโทรม และอัตราการคัดทิ้งของลูกสุกรได้ สำหรับแนวทางการให้ อาหารหมู ตามช่วงอายุ สามารถดูได้จากตารางนี้ครับ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่ ลิงค์นี้ อาหารหมู ไฮโกร 550 pro ครับ ประโยชน์ของ พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก ในอาหารสำหรับลูกหมู ปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงหมูในประเทศไทย จะมีการหย่านมลูกหมูที่อายุประมาน 3-4 สัปดาห์ ซึ่งหลังจากหย่านมไปแล้ว ลูกหมูจะได้รับผลกระทบ ทั้งจากการเปลี่ยนรูปแบบของอาหาร, โภชนาการ และจุลินทรีย์ในลำไส้ รวมไปถึงความเครียดและสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงต่างๆ ที่เราจัดให้ ซึ่งถือว่าเป็นระยะวิกฤต ของลูกหมู ที่เพิ่งเกิดมา และส่งผลกระทบต่อการเลี้ยง การเจริญเติบโต รวมทั้งน้ำหนักของลูกหมูด้วย โดยที่ผ่านมาได้มีการใช้ยาปฏิชีวนะเข้ามา ควบคุมทั้งเรื่องสุขภาพ และจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อลดผลกระทบนั้น อย่างไรก็ตาม ได้มีงานศึกษาต่างๆ ที่รายงานถึงเรื่องเชื้อดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ รวมไปถึงข้อกฎหมายต่างๆ จากภาครัฐที่ขอความร่วมมือให้ลดการใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ ดังนั้นการเลือกใช้ Prebiotic และ Probiotic อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่าง อาจเป็นทางเลือกที่มีศักยภาพในการส่งเสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงลูกหมู ของเราเป็นอย่างมาก ไฮโกร 550 PRO นวัตกรรมใหม่สำหรับอาหารสุกรอนุบาล 📌 อาหารสุกรอนุบาลใหม่จากซีพีเอฟ #ไฮโกร550โปร 🐖📌 กินอร่อย ย่อยง่าย โตไว ได้สุขภาพ 😊👍🏻.🐖🐖🐖 ช่วยให้น้องหมูกินดี กินเก่ง ขนไม่หยาบ สุขภาพสมบูรณ์ น้ำหนักได้ตามเป้า ประหยัดวันเลี้ยงในช่วงขุนได้ .🐖🐖🐖 เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่ซีพีเอฟคิดค้นเพื่อให้อาหารมาช่วยให้การเลี้ยงการจัดการสุกรอนุบาลง่ายขึ้น.ℹ️ สนใจติดต่อได้ที่ ✅ Line: @cpffeed 👨🏻‍💻 Facebook: CPF FEED✅ หรือ https://cpffeedsolution.com/cp550pro/ โพสต์โดย CPF Feed เมื่อ วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ 2020 พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก คืออะไร พรีไบโอติก หมายถึง ส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ที่มีผลต่อการกระตุ้นการเจริญเติบโตและการทำงานของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารของสัตว์อย่างจำกัด เช่น ตัวใดตัวหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเฉพาะแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในทางเดินอาหารของสัตว์ ซึ่งมีงานศึกษาได้รายงานถึงการใช้ prebiotic มีแนวโน้มเพิ่มประโยชน์ทางชีวภาพในลำไส้และส่งเสริมการทำงานของยาปฏิชีวนะ ทำให้มีหลายๆงานศึกษารายงานถึงผลต่อการเจริญเติบโตที่ดีขึ้นในลูกหมู โดยทั่วไป prebiotic มักจะเป็นสารในกลุ่ม oligosaccharide ซึ่งมีคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ ไม่มีการย่อยและดูดซึมในร่างกายสัตว์,เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้เฉพาะบางชนิดและส่งเสริมจุลินทรีย์ที่ก่อผลดีในลำไส้สัตว์ Probiotic หมายถึง จุลินทรีย์ในอาหารสัตว์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของสัตว์ ซึ่งเมื่อร่างกายสัตว์ได้รับในระดับที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างความสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้ โดยทั่วไป probiotic มักจะเป็นแบคทีเรียในกลุ่ม lactic acid, แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus และยีสต์ในกลุ่ม Saccharomyces โดยคุณสมบัติของ probiotic ต่างๆ ได้แก่ มีความคงทนในอาหารสัตว์, สามารถเพิ่มจำนวนได้ในทางเดินอาหารและสามารถป้องกันหรือสร้างสารมายับยั้งและป้องกันจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายสัตว์ได้ ประโยชน์ของ พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก ต่อลูกหมู ปรับระบบจุลินทรีย์ในทางเดินอาหารของลูกหมูให้เหมาะสม ป้องกันเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหารลูกหมู รวมไปถึงปัญหาท้องเสียที่เกิดจากแบคทีเรีย เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อโรคที่ผนังลำไส้ของลูกหมู ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในลูกหมู ปรับปรุงการย่อยอาหารให้ดีขึ้นและส่งผลให้เพิ่มการเจริญเติบโตลูกหมูได้ เป็นส่วนส่งเสริมการใช้สารอาหารบางชนิดให้ดียิ่งขึ้น อาหารสัตว์สำเร็จสำหรับสุกรนม สุกรอ่อน ที่ผลิตจากบริษัทที่มีมาตรฐาน ได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่างๆและคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ มีการใช้ Prebiotic และ Probiotic อย่างเหมาะสม จะส่งผลให้การเลี้ยงลูกสุกรในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพ ลูกสุกรโตไว สุขภาพดีและได้รับผลตอบแทนจากการเลี้ยงสุกรที่ดีต่อไป นอกจากนี้แล้ว เรามาดูส่วนของผู้ใช้งานจริง กันดีกว่าว่า เป็นอย่างไรครับ “เมื่อลูกหมูกินอาหารได้ดีขึ้น การเจริญเติบโตจึงดีขึ้นตามเช่นกัน” อาหรที่ ลูกหมูกินอร่อย มีโภชนะครบถ้วน เราคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานระดับสากล ใช้วัตถุดิบที่มีกลิ่นหอม ด้วยระบบ Liqiud Spray และเพิ่มรสชาติให้น่ากิน เหมาะสมสำหรับลูกสุกร ลูกหมูโตไว​ ไฮโกร 550 PRO เราปรับโภชนะอาหารให้มีความเข้มข้นมากขึ้น เหมาะสมกับช่วงสุกรอนุบาล  เสริมวิตามินและแร่ธาตุ  ทำให้ได้น้ำหนักของลูกสุกรตามเป้า อาหารที่ ลูกหมูกิน ย่อยง่าย ไฮโกร 550 PRO อุดมไปด้วยสารอาหารที่ผ่านการทำให้สุก ทำให้ย่อยได้ดีขึ้น ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ มีส่วนผสมของกรดอินทรีย์ เพื่อช่วยสนับสนุนในระบบย่อยอาหารของลูกสุกร ให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้น อาหารที่ทำให้ลูกหมูของเรา ได้สุขภาพที่ดี มีพรีไบโอติก โปรไบโอติก และสารเสริมต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาสุขภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ลูกสุกรแข็งแรง เพื่อการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งระบบทางเดินเดินอาหาร และระบบทางเดินหายใจ สอบถามเรื่อง อาหารหมู แต่ละช่วงวัย คลิกสอบถามเราได้เลย 

อาหารหมูเล็ก และอาหารหมู แบบไหน ที่เหมาะกับหมู น้ำหนัก 5 – 25 กิโลกรัม Read More »

ลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่

4 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่2000 ตัว

4 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนตัดสินใจลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่ ในแวดวงการเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพ สิ่งที่เป็นปัจจัยที่ ต้องคิดและศึกษาให้ถ่องแท้ ก่อนควักเงินลงทุน เสมอคือ… โรงเรือน อุปกรณ์ พันธุ์เป็ดไข่ อาหารเป็ดไข่ จากนั้นนำมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเตรียมทั้งหมด นั่งดูหลายๆรอบ จนกว่ามั่นใจ เพราะเวลาทำไปแล้ว มันจะต้องอยู่กับเราไปอีกนาน พร้อมแล้วไปลุยกันเลยครับ CR: ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงเป็ดไข่ คุณ ธวัชชัย ไตรเนตร ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่ :  โครงการเป็ดไข่ครบวงจร ผ่านร้านตัวแทนจำหน่าย อาหารสัตว์บกซีพีเอฟ

4 เรื่องที่ต้องรู้ ก่อนลงทุนเลี้ยงเป็ดไข่2000 ตัว Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)