Search Results for: อีแวป

แจกฟรี เทคนิค การประโยชน์โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้เต็มประสิทธิภาพ

ฟรี! เทคนิค การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ เชื่อว่าพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรที่มีโรงเรือนระบบอีแวป มีการควบคุมความเร็วพัดลมด้วยระบบอินเวอร์เตอร์กันเป็นส่วนใหญ่  คำถามคือ เราใช้งานอย่างจริงจังเต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง? โดยสามารถใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ กรอก อีเมล เพื่อดาวโหลด เอกสารฟรี ได้เลยครับ

แจกฟรี เทคนิค การประโยชน์โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้เต็มประสิทธิภาพ Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7

ในแต่ละวันสุกรในโรงเรือนปิดที่มีระบบทำความเย็นด้วยการระเหยน้ำต้องอยู่กับสภาพแวดล้อมที่ผันแปรตามสภาพอากาศทั้งภายนอกและภายในโรงเรือน การตั้งค่าอุปกรณ์อัตโนมัติและความใส่ใจต่อพฤติกรรมสุกรของผู้ดูแลระบบ (ส่วนใหญ่จะเป็นสัตวบาล) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง สุกรในโรงเรือนเปรียบเสมือนปลาที่อาศัยอยู่ในตู้ปลา   ความแข็งแรง ความสบายและการอยู่รอดปลอดภัยขึ้นกับเจ้าของปลา ตัวปลาไม่สามารถเรียกร้องอะไรได้ ทำได้แค่แสดงอาการ (พฤติกรรม)ให้เจ้าของเห็น สุกรก็เช่นเดียวกันความเอาใจใส่ของผู้ดูแลระบบต่อพฤติกรรมของสุกรจึงเป็นปัจจัยที่สามารถสร้างความสุขสบาย (Pig Comfort) ให้กับสุกรได้   และแน่นอนว่าถ้าสุกรอยู่สุขสบาย  ก็จะให้ผลผลิตที่เป็นไปตามที่เราต้องการ ดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ผ่านๆมาว่าปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการการระบายอากาศ อุณหภูมิและความชื้น ส่วนความเร็วลมเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ทั้งสามตัวเป็นไปตามที่สุกรต้องการ ในตอนนี้เราจะทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมด้านอุณหภูมิและความชื้นว่าเราจะบริหารจัดการโรงเรือนอีแวปอย่างไรให้เหมาะกับความต้องการของสุกรให้มากที่สุดซึ่งมีโอกาสที่ผันแปรได้ 4 รูปแบบคือ          กรณีที่ 1. อุณภูมิสูงความชื้นสูง                   กรณีที่ 2. อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ          กรณ๊ที่ 3. อุณภูมิต่ำความชื้นสูง                   กรณีที่ 4. อุณหภูมิต่ำความชื้นต่ำ กรณีที่ 1.  อุณภูมิสูงความชื้นสูง      เกิดขึ้นในฤดูฝนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น มีฝนตกมาเมื่อใหร่ก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นสูงทันทีและอาจจะเป็นช่วงเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละปีด้วยซ้ำ      การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงห้องซาวน่า       จะเห็นได้ว่าแม้ซาวน่าจะมีประโยชน์แต่มีข้อจำกัดมากมายข้อที่สำคัญคือห้ามคนท้องเข้าห้องอบซาวน่า แล้วลองจินตนาการถึงสุกรอุ้มท้องที่อยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นสูงดูว่าจะเป็นเช่นไร  แม่ว่าอาจจะไม่ถึงขนาดห้องอบซาวน่าแต่ต้องไม่ลืมว่าหนึ่งในข้อกำหนดของซาวน่าคือไม่ซาวน่านานเกินไป อบตัว 15-20 นาทีก็เพียงพอแล้ว แต่สุกรของเราไม่สามารถเดินหนีออกจากโรงเรือนที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูงได้            ถ้าต้องการให้ห้องซาวน่ามีสภาพแวดล้อมที่สุขสบายสำหรับสุกร สิ่งแรกที่ต้องทำคือระบายความชื้นที่มีความร้อนสูงออกเปิดโอกาสให้มีลมจากภายนอกเข้ามาในห้องเพื่อลดอุณหภูมิและเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อถ้าตัวสุกรมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังก็จะทำให้เย็นมากขึ้นและเร็วขึ้น ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นลำดับแรกเพื่อลดความชื้นภายในโรงเรือน  ให้ปิดปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษเมื่อความชื้นถึงขีดวิกฤตตามมาตรฐานของสุกรในแต่ละช่วงอุณหภูมิ (Optimum Humidity) และใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นลำดับที่ 2  (ฟอกเกอร์ใช้แบบที่พ่นน้ำไปที่ตัวสุกรเพื่อให้ตัวสุกรเปียกน้ำโดยไม่เป็นการเพื่มความชื้นในโรงเรือน ไม่พ่นเป็นหมอก)          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure เป็นต้น กรณีที่ 2.  อุณภูมิสูงความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในฤดูร้อนเป็นส่วนใหญ่เพราะประเทศไทยอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้นมีหนาวช่วงสั้นๆเท่านั้น เมื่อไม่มีฝนก็มีโอกาสเกิดอุณภูมิสูงความชื้นต่ำทันที          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิสูงความชื้นสูงให้จินตนาการถึงทะเลทราย  ในทะเลทรายถ้ามีร่มเงาที่ดีอย่างน้อยการแผ่รังสีความร้อนก็จะมีผลกับเราน้อยลง เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรถ้ามีความสามารถในการป้องกันการแผ่รังสีได้ดีย่อมทำให้สุกรอยู่สุขสบาย การสร้างโรงเรือนสุกรจึงต้องพิจารณาวัสดุที่นำมาใช้เป็นผนัง หลังคาและฝ้าให้สามารถลดการแผ่รังสีได้ยิ่งเยอะยิ่งดีถ้าวัสดุนั้นๆไม่มีผลเสียด้านอื่นๆ          เนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อและต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่คล้ายทะเลทราย สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้สิ่งแรกคือตัวสุกรต้องมีน้ำเย็นๆบริเวณผิวหนังร่วมกับลมที่พัดผ่านทำให้น้ำระเหยดึงความร้อนออกจากตัวสุกรประกอบกับความชื้นต่ำทำให้น้ำระเหยได้ดี การควบคุมอุณหภูมิในสภาพอุณหภูมิสูงความชื้นต่ำจึงทำได้ค่อนข้างง่ายถ้าโรงเรือนมีศักยภาพที่ดี ในภาวะที่อุณหภูมิสูงความชื้นต่ำ สัตวบาลจึงต้องใช้การระเหยน้ำ (Evaporation) และการพาความร้อน(Convection) ทำงานควบคู่กัน ปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษจะช่วยลดอุณภูมิในโรงเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ควรมีความชุ่มน้ำ 100%ของหน้าเยื่อกระดาษ)          ถ้าอุณหภูมิสูงมากจนโรงเรือนกดอุณหภูมิลงเต็มที่แล้วแต่อากาศภายในโรงเรือนยังร้อนเกินความต้องการของสุกร การใช้น้ำหยดหรือฟอกเกอร์ช่วยให้ตัวสุกรเปียกเป็นช่วงๆจะทำให้สุกรมีความสุขสบายตามหลักการอุณภูมิที่สุกรรู้สึกหรือ Effective Environment Temperature          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนว่ามีความพร้อมแค่ไหนเช่นความสามารถในการทำความเร็วลม อุณภูมิของน้ำที่ใช้กับตัวสุกร โรงเรือนสามารถป้องกันการแผ่รังสีความร้อนได้หรือไม่ รูรั่วของผนังโรงเรือนโดยเฉพาะที่ฝ้ามีมากน้อยแค่ไหนและพื้นที่เยื่อกระดาษเหมาะสมกับความเร็วลมที่ใช้ไม่ทำให้เกิด Negative Pressure มากเกินไปซึ่งจะทำให้ความเร็วลมผ่านเยื่อกระดาษเร็วจนแลกเปลี่ยนอุณภูมิกันไม่ทันและทำให้เกิดปรากฎการณ์อากาศเบาบางภายในโรงเรือน กรณีที่ 3.  อุณภูมิต่ำความชื้นสูง เกิดขึ้นในช่วงปลายฝนต้นหนาว ฝนกำลังจะหมดอุณหภูมิเริ่มลด      มีโอกาศเกิดช่วงสั้นๆในเดือน ตุลาคม-พฤศจิกายน อาจหยืดยาวถึงเดือนธันวาคม          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นสูงให้จินตนาการถึงบรรยาศบนยอดเขาในช่วงเวลาดังกล่าวตอนเช้าๆ บนยอดเขาตอนเช้าๆท่ามกลางทะเลหมอกแม้ความชื้นจะสูงแต่เนื่องจากอุณหภูมิต่ำเราจะรู้สึกสบาย ถ้ามีลมอ่อนๆผ่านตัวเราเบาๆยิ่งเพิ่มความสุขมากขึ้น เช่นเดียวกับโรงเรือนสุกรขอแค่มีลมผ่านไม่ให้ความชื้นแช่อยู่ในโรงเรือนจนสร้างความอึดอัด สุกรจะอยู่อย่างสุขสบายได้ ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความชื้นสูง สัตวบาลจึงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เป็นหลักเพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และช่วยระบายความชื้นออกจากโรงเรือน        มีเรื่องที่ต้องระมัดระวังคือระบบอัตโนมัติที่ควบคุมปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษ น้ำหยดและฟอกเกอร์ถ้าทำงานผิดพลาดจะเป็นการเพิ่มความชื้นในโรงเรือนขึ้นมาได้          เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คความชื้นและก๊าซรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น กรณีที่ 4.  อุณภูมิต่ำความชื้นต่ำ เกิดขึ้นในช่วงเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ โดยประมาณ เป็นช่วงเวลาที่เลี้ยงสุกรได้ง่ายแม้มีความผิดพลาดด้านการควบคุมสภาพแวดล้อมบ้างเล็กๆน้อยๆก็แทบไม่มีผลกระทบด้านประสิทธิภาพแต่อย่างใด          การที่สัตวบาลจะเข้าใจความรู้สึกของสุกรในสภาพอุณภูมิต่ำความชื้นต่ำให้จินตนาการถึงบรรยาศเย็นๆบนยอดเขา ช่วงเที่ยงวันที่อากาศแห้ง บนยอดเขาในช่วงที่อากาศแห้ง (ความชื้นต่ำ) แม้อุณหภูมิจะต่ำ    เรารู้สึกสบายก็จริงแต่ให้สังเกตว่าอยู่นานๆ เราจะเริ่มแสบจมูกเนื่องจากระบบทางเดินหายใจเราเริ่มแห้ง  สุกรก็เช่นกันถ้าความชื้นต่ำเกินไปจะเริ่มมีอาการไอ สัตบาลจึงต้องพิจารณาเพิ่มความชื้นในโรงเรือนบ้างเพื่อลดภาวะการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากเรามีลูกสุกรอยู่ในบางโรงเรือนไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนคลอดหรือโรงเรือนสุกรรุ่น-ขุนระยะอนุบาล สัตวบาลจึงต้องนำความรู้ด้านการนำความร้อน(Conduction) และการแผ่รังสี (Radiation) มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้ลูกสุกร          ในภาวะที่อุณหภูมิต่ำความเร็วลมต่ำ สัตวบาลยังคงต้องใช้การพาความร้อน(Convection) เพื่อทำให้ภายในโรงเรือนมีความต้องการการระบายอากาศที่เพียงพอ ไม่มีการสะสมก๊าซไม่พึงประสงค์และในภาวะที่ความชื้นต่ำมากๆอาจต้องตั้งระบบปั้มน้ำรดเยื่อกระดาษให้ทำงานช่วงสั้นๆเพื่อเพิ่มความชื้นป้องกันการไอของสุกรจากการระคายเคืองของระบบทางเดินหายใจ          ความสำเร็จอยู่ที่ศักยภาพของโรงเรือนด้านความพร้อมในการทำความเร็วลมเพื่อการโช๊คก๊าซ     ระบบอัตโนมัติที่สามารถปล่อยน้ำรดแพดช่วงสั้นๆอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งการเพิ่มความอบอุ่นที่ต้องคำนึงถึงตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็น พื้นรองนอน    ไฟกกและการป้องกันลูกสุกรไม่ให้โดนลมโกรก (Wind Chill) เป็นต้น

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 7 Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องการรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร หรืออีกนัยหนึ่งคือการถ่ายเทความร้อนในโรงเรือนปิด ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับว่าสุกรไม่มีต่อมเหงื่อดังนั้นจะใช้ความรู้สึกของผู้เลี้ยง (คน-มนุษย์ซึ่งมีต่อมเหงื่อ) เป็นตัวตัดสินว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมิได้ ความร้อนสามารถถ่ายเทได้ด้วย 4 ปัจจัยคือ การนำความร้อน (Conduction) การระเหย (Evaporation) การแผ่รังสี (Radiation) การพาความร้อน (Convection) การนำความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 13%) การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่ร้อนกว่า ทำให้ความร้อนจากพื้นคอกถ่ายเทไปยังผิวหนังจึงทำให้รู้สึกร้อน  การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจากผิวหนังถ่ายเทไปยังพื้นคอกจึงทำให้รู้สึกเย็น  ปัจจัยที่ทำให้การนำความร้อนเกิดขึ้นได้สูง/ต่ำคือ ระดับอุณหภูมิของพื้นผิว การระเหย (มีผลต่อร่างกายสุกร 17%) การระเหยของน้ำที่อยู่บริเวณผิวหนัง เมื่อน้ำระเหยก็จะดึงดูดเอาความร้อนบริเวณผิวหนังออกไปด้วย จึงทำให้รู้สึกเย็น การระเหยจะเกิดขึ้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลมและความชื้นในบรรยากาศ การแผ่รังสี (มีผลต่อร่างกายสุกร 30%) ถ้าภายนอกโรงเรือนอากาศร้อน/หนาวมาก สุกรจะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน/หนาวโดยที่สุกรไม่ได้สัมผัสกับอากาศโดยตรง การรับ/สูญเสียความร้อนจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผนังคอก การพาความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 40%)    การเคลื่อนของกระแสลมที่พัดมากระทบกับผิวหนัง และดึงดูดความร้อนบริเวณผิวหนังออกไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเย็นคือ อุณหภูมิของอากาศและความเร็วของกระแสลม โรงเรือนสุกรรูปแบบปิดที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (Tunnel Ventilation) โดยนำหลักการระเหยของน้ำ (Evaporation) มาใช้ในการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าโรงเรือน เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยวัตถุประสงค์ที่ใช้ระบบนี้เพื่อให้สุกรอยู่สบาย (Pig Comfort)  ลดความเครียดให้น้อยที่สุด ผู้ใช้โรงเรือนต้องเข้าใจว่าปัจจัยที่มีผลการแลกเปลี่ยนความร้อนในตัวสุกรสูงสุดคือการพาความร้อน (40%) แต่การพาความร้อนจะให้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการระเหยน้ำ (17%) เข้ามาช่วยเพราะสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ การบริหารโรงเรือนอีแวปจึงต้องพิจารณาถึง ความชื้นและความเร็วลมเพื่อให้สามารถทำให้อุณภูมิที่สุกรรู้สึกเป็นไปตามที่สุกรต้องการและต้องไม่ลืมเรื่องค่าความสบายของสุกร (Optimal Humidity – ดูเพิ่มเติมในบทที่ 4) การแผ่รังสี (30%)   ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในขั้นตอนการสร้างโรงเรือนหรือการดัดแปลงโรงเรือนให้สุกรสามารถให้ผลผลิตสูงสุด โดยการคัดเลือกอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เหมาะสมเช่น ผนัง วัศดุมุงหลังคา ฝ้าเพดาน หน้าต่างและทิศทางโรงเรือนฯลฯ                    ให้มีผลต่อการแผ่รังสีความร้อนให้น้อยที่สุดเช่น แผ่นฉนวนไอโซวอลล์ (ISO-Wall Sandwich panel), Metal sheet          การลดการแผ่รังสีอีกทางหนึ่งก็คือทำอย่างไรให้พื้นที่ทุกส่วนของโรงเรือนโดนแดดให้น้อยที่สุดหรือไม่โดนเลยยิ่งดี การนำความร้อน (13%) พิจารณาในแง่หาพื้นรองนอนเพื่อความอบอุ่นสำหรับสุกรที่อายุน้อยซึ่งต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิห้อง (>32 องศาเซลซัยส) บทต่อไปเราจะมาทำความเข้าใจกับการใช้ปัจจัยทั้ง 4 ตัวในการทำให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน     การคำนวนหาค่า % Wind Speed และการเฝ้าระวังเพื่อให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน วันละ 24 ชั่วโมง ปีละ 365 วัน CR:  โค้ชวิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 Read More »

จัดการโรงเรือนอีแวป

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5)

จัดการโรงเรือนอีแวป ในตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องความต้องการอากาศในสุกรกัน    การเลี้ยงสุกรเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์จึงมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอดีตเราใช้พื้นที่เลี้ยง 1 ตร.ม.ต่อน้ำหนักสุกร 80 กิโลกรัม  ในปัจจุบันมีแนวคิดที่จะเลี้ยงให้ได้ปริมาณสุกรต่อพื้นที่ให้มากขึ้น เช่น 0.80 – 1.00 ตร.ม/ตัว (น้ำหนัก 100-105 ก.ก.)  เนื่องจากที่ดินมีราคาสูงขึ้นการทำประชาคมมีความซับซ้อนมากขึ้นค่าก่อสร้างโรงเรือนและอุปกรณ์ก็มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ   แต่ผู้เลี้ยงต้องตระหนักว่าสุกรเป็นสิ่งมีชีวิตต้องการอากาศหายใจเช่นเดียวกับมนุษย์ ออกซิเจน (Oxygen) คือก๊าซที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์รวมถึงมนุษย์เราด้วย เพราะถ้าร่างกายขาด ออกซิเจนเพียงไม่กี่นาทีก็เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ อากาศที่สิ่งมีชีวิตหายใจจะมีอ๊อกซิเจนประมาณ 21% นั่นหมายความว่าในโรงเรือนอีแวปทุกพื้นที่ต้องมีปริมาณอากาศที่เพียงพอตามมาตรฐานของสุกร   เราเรียกว่า “ ความต้องการ การระบายอากาศ ” ซึ่งสุกรแต่ละระยะมีความต้องการไม่เท่ากันตามตารางด้านล่าง ถ้าปริมาณอากาศไม่เพียงพอต่อสุกรในโรงเรือน สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ สุกรไม่กระตือรือร้น ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอน กินอาหารลดลง การเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ลดภูมิคุ้มกัน และต้องไม่ลืมว่าถ้าปริมาณก๊าซตัวใดตัวหนึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นย่อมทำให้สัดส่วนของอ๊อกซิเจนลดลง อย่างแน่นอน น้องๆสัตวบาลฟาร์มสุกร ที่ต้องการจะบริหารโรงเรือนอีแวปให้ได้ประโยชน์สูงสุด ย่อมต้องไม่ลืมว่ายังมีอีกหนึ่งองค์ความรู้ที่ต้องเข้าใจเนื่องจากสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ เช่นมนุษย์จึงใช้ความรู้สึกของมนุษย์เป็นตัวกำหนดไม่ได้ นั่นคือ “การรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร“ CR : โค้ชวิทธ์

จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 5) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป4

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4)

การจัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป มาต่อกันเลยครับ    นอกจากอุณหภูมิแล้วยังมีอีก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกร (pig Comfort) นั่นคือ ความชื้น ความเร็วลมและความต้องการอากาศ ในช่วงความชื้นต่ำเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ลอกหลุด สุกรจะจามมากขึ้น โอกาสติดเชื้อมากขึ้น จากฝุ่น (endotoxin) กดภูมิคุ้มกัน     สำหรับประเทศไทยช่วงความชื้นต่ำมีโอกาสเกิดน้อยมากส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวช่วงสั้นๆสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายโดยการเปิดน้ำแพดให้ชุ่มด้านบนของแพดช่วงสั้นๆประมาณ 1 ฟุตเพื่อเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ในช่วงความชื้นสูงเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ การระเหยที่ผิวหนังเกิดได้น้อย ทำให้ไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลงได้ (สุกรไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์การทำให้ร่างกายเย็นลงต้องอาศัยการระเหยน้ำจากผิวหนัง) จึงมีปัญหามากถ้าเกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูง โอกาสติดเชื้อมากขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง กดภูมิคุ้มกันเนื่องจากสุกรมีความเครียดสูง       ถ้าจะทำความเข้าใจถึงความเครียดของสุกรในขณะที่ความชื้นสูงและอุณหภูมิสูงให้เราลองอาบน้ำในห้องน้ำที่มีแค่ช่องระบายลมเล็กๆ ในวันที่มีฝนตกและอากาศร้อน เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้ยืนนิ่งๆ อยู่ในห้องน้ำซักครึ่งชั่วโมง ความรู้สึกอึดอัดนั้นคือความรู้สึกของสุกร ที่สำคัญสุกรไม่สามารถเดินหนีออกมาจากห้องน้ำได้ ต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรือน      เราสามารถดูว่าความชื้นและอุณหภูมิร่วมกัน จะสร้างความเครียดให้สุกรหรือไม่ โดยนำค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์รวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าเกิน 170 ถือว่าสุกรอยู่ไม่สบาย ดังนั้นเราต้องบริหารค่าความสบายของสุกรให้ไม่เกิน 170 นั่นเอง การตอบสนองของสุกรต่อความเร็วลม ในช่วงความเร็วลมต่ำกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ไอหรือจามถ้าโรงเรือนมีแก๊สมาก ลดภูมิคุ้มกัน     ในบ้านเรามีอุณหภูมิที่สูงกว่าความต้องการของสุกรเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ลูกสุกรอายุ 3-4 สัปดาห์ยังต้องการอุณหภูมิที่ 32-34 องศาเซลเซียส นั่นแปลว่าถ้าอุณหภูมิทั่วๆ ไปสูงกว่า 34 องศาเซลเซียส สุกรก็จะรู้สึกร้อน ความเร็วลมจึงเป็นปัจจัยหลักที่สามารถนำมาช่วยให้สุกรรู้สึกสบายได้      ที่อายุสุกร 19 สัปดาห์ขึ้นไป อุณหภูมิที่สุกรต้องการไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส  ถ้าโรงเรือนอีแวปของเรามีคุณภาพสูงสามารถกดอุณหภูมิลงได้ 10 องศา แปลว่าอุณหภูมิภายนอกโรงเรือนสูงได้ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ซึ่งทุกวันนี้อุณหภูมิภายนอกอาจสูงกว่า 40 องศาด้วยซ้ำ นอกจากนั้นท่านแน่ใจหรือไม่ว่าคุณภาพโรงเรือนสามารถกดได้ถึง  10 องศาจริง จากประสบการณ์พบว่าฟาร์มที่ไม่มีการติดตามเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างจริงจังมีโอกาสสูงมากที่โรงเรือนอยู่ในสภาพที่กดอุณภูมิได้แค่ 4-7 องศาเท่านั้น และหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรือนไม่สามารถกดอุณหภูมิได้ถึง 10 องศาเซลเซียสก็คือความเร็วลมไม่พอนั่นเอง    อีกปัจจัยที่ต้องระวังถ้าความเร็วลมต่ำ คือเรื่องแก๊สที่เป็นอันตรายต่อคนและสุกร     เราต้องรู้ว่าโรงเรือนของเรามีค่า Air Exchange ไม่เกิน 1 นาทีที่ความเร็วลมเท่าไหร่ เราจะได้วางแผนเรื่องการโช้คแก๊สออกจากโรงเรือนได้ ในช่วงความเร็วลมสูงกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ถ้าอุณหภูมิต่ำ สุกรจะนอนสุม ลดภูมิคุ้มกัน    ถ้าอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียสผู้เลี้ยงต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับสุกรที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ เนื่องจากมีโอกาสที่สุกรจะเกิดความเครียดเนื่องจากโดนลมโกรก (Wind Chill) ความหมายคือแม้อุณหภูมิห้องจะสูงกว่า   ความต้องการของสุกรแต่ความเร็วลมที่สูงเกินไปจะทำให้สุกรรู้สึกหนาวนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลหลักที่การเลี้ยงสุกรช่วงอนุบาลต้องมีความพร้อมด้านพื้นรองนอน ไฟกกและพื้นที่นอนที่สามารถป้องกันลมโกรกได้ อีกปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการอากาศ ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันการจัดการฟาร์มในตอนต่อไปครับ CR: โค้ช วิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ ก่อนที่เราจะสังเกตถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต เบื้องต้นเราควรเข้าใจถึงวิธีการประเมินความสบายของสุกร (Pig Comfort) โดยมีสิ่งที่เราต้องสังเกตดังนี้ การนอน การหายใจ การกินอาหาร ความกระตือรือร้น การนอน ท่านอนที่ที่บอกถึงความสบายของสุกรคือการนอนเต็ม พื้นที่ของลำตัวด้านข้าง เหยียดขาออกไปตรงๆเท่าที่พื้นที่ จะเอื้ออำนวย  ทุกส่วนแนบกับพื้นแบบสบายสบาย ถ้าเป็นคอกขังรวมจะนอนแบบลำตัวแนบชิด อาจมีการก่ายขากันบ้างถ้าอยู่ในพื้นที่แคบ การหายใจ สุกรที่อยู่สบายสบายจะมีอัตราการหายใจไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที วิธีนับคือหายใจเข้าจนสุดแล้วหายใจออกจนสุด นับ 1 ถ้าสุกรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที ถือว่ามีการหอบ ถ้าอากาศร้อนมากๆอัตราการหายใจ/นาที่ จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับความร้อนของอากาศ การกินอาหาร สุกรที่อยู่สบายสบาย จะกินอาหารได้มาก จึงเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นถึงสุขภาพสุกร กล่าวคือในเวลาที่สุกรกินอาหารเราควรเดินดูว่าสุกรกินอาหารได้หรือไม่ ตัวที่ไม่กินอาหารมีโอกาสเป็นสุกรป่วย อย่างไรก็ตามถ้าสุกรอยู่ไม่สบายหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะกินอาหารลดลงทำให้ได้สารอาหารไม่ครบตามที่ควรจะได้     ความกระตือรือร้น สุกรเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมีความสนใจต่อทุกๆสิ่งรอบๆตัวโดยเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปในโรงเรือนถือเป็นสิ่งใหม่ สุกรจะเข้ามาดูและทักทายเรา นอกจากนั้นหลังสุกรนอนจนเต็มอิ่ม พฤติกรรมวิ่งเล่นอยอกล้อถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปในโรงเรือนแล้วสุกรไม่สนใจเราหรือเอาแต่นอน นั่นเป็นข้อสังเกตว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสุกร เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสุกรที่มีความสุขอยู่สบายไม่เครียดมีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปเป็นการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าสุกรจะมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤตเพื่อความอยู่รอดและมีการใช้อาหารที่กินเข้าไปพื่อต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นผลให้ผลผลิตและประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงทุกๆท่านต้องทำความเข้าใจ อีกเรื่องสำคัญของการจัดการในโรงเรือน ในช่วง Lower Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ รวมกลุ่มชิดกัน/ชิดผนัง สัมผัสกับพื้นน้อยลง อุณหภูมิร่างกาย 39องศา กินอาหารเพิ่มมากขึ้น หนาวสั่น ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Upper Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ กระจายตัวออก สัมผัสพื้นมากยิ่งขึ้น หอบ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น การกินอาหารลดลง คอกเลอะเทอะ เล่น และแช่น้ำ หายใจ >40ครั้งต่อนาที ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Optimal Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ การสัมผัสกับตัวอื่นปกติ นอกเป็นกลุ่ม นอนกระจายตัว มีการสัมผัสพื้นเต็มที่ นอนในท่าที่ขาเหยียดยาวออก อุณหภูมิร่างการ 38.8-39.2องศา การกินอาหารปกติ พฤติกรรมปกติสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว หายใจ 20-30 ครั้งต่อนาที สุกรตัวที่นอนแยกกลุ่มจะมีลำดับความสำคัญสูง สุกรที่นอนอยู่ริมกลุ่มจะมีลำดับ(order)ที่ต่ำ สภาพแวดล้อมมิได้มีเฉพาะอุณหภูมิ ตอนที่ 4 เราจะพูดถึงเครื่องมือที่ช่วยให้สุกรอยู่แบบสบายสบายไม่เครียดอีก 3 ตัวครับ CR: โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3 Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการ-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ EET-Effective Environment Temperature คืออะไร? อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงสุกรไม่ใช่อุณหภูมิโรงเรือนนะครับ แต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร เรามาทำความเข้าใจง่ายๆ ได้ดังนี้ครับ สุกรนอนอยู่ที่คอกในโรงเรือนอีแวปอุณหภูมิห้อง 24 องศาเซลเซียส กลุ่มสภาพแวดล้อม พื้นรองนอน ความเร็วลม ไฟกก ความรู้สึกของสุกรต่ออุณหภูมิ 1 (กลุ่มควบคุม) พื้นไม้ 0 ไม่มี 24 องศา 2 พื้นปูน 0 ไม่มี ต่ำกว่า 24 องศา/กลุ่ม 1 3 พื้นไม้ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 4 พื้นไม้ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 3 5 พื้นไม้ 0 มี สูงกว่ากลุ่ม 1 6 พื้นปูนเปียกน้ำ 0 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 7 พื้นปูนเปียกน้ำ 1 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 6 8 พื้นปูนเปียกน้ำ 2 ไม่มี ต่ำกว่ากลุ่ม 1 และ กลุ่ม 7                  จะเห็นได้ว่าความรู้สึกต่ออุณหภูมิของสุกรไม่ใช่ 24 องศาเซลเซียสตามอุณหภูมิห้องเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์หรือสิ่งที่อยู่รอบๆ เป็นตัวกำหนด ดังตารางต่อไปนี้    ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเรื่องสภาพแวดล้อมต้องเข้าใจเรื่องของอุณหภูมิในโรงเรือนโดยอ้างอิงสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวสุกรด้วย และคาดคะเนถึงอุณหภูมิที่สุกรรู้สึกอยู่ตลอดเวลาด้วยนะครับ    การทำงานในสถานที่จริงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะคุมอุณหภูมิให้ตรงตามความต้องการของสุกรตามมาตรฐานที่กำหนด ดังนั้นจึงต้องเข้าใจถึงระดับความเสี่ยงต่ออุณหภูมิแต่ละระยะการเลี้ยงดังต่อไปนี้ Lower Critical Temperature คืออุณหภูมิต่ำสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย ส่วน Upper Critical Temperature คืออุณหภูมิสูงสุดที่สุกรแต่ละระยะอยู่ได้โดยไม่มีผลต่อสภาพร่างกาย เรียกอุณหภูมิที่มีผลต่อสภาพร่างกายทั้งที่ต่ำเกินไปและสูงเกินไปว่าอุณหภูมิวิกฤตสำหรับสุกร                    ผู้เลี้ยงจึงต้องมีความเข้าใจต่อพฤติกรรมของสุกรที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤต และสามารถใช้เครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ในฟาร์มปรับเข้าสู่อุณหภูมิที่สุกรต้องการให้ได้ สุกรก็จะให้ผลผลิตและประสิทธิภาพสูงสุด แล้วพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤตเราสามารถสังเกตได้อย่างไร ติดตามต่อได้ในตอนต่อไปครับ CR : โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่2 Read More »

จัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ได้อย่างไร? ปัจจุบันเทคโนโลยีการประหยัดไฟฟ้าด้วยระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) กำลังได้รับความนิยมเพราะช่วยให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ทั้งเครื่องปรับอากาศ พัดลม ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ กินไฟน้อยลงกว่าปกติถึง 35-55% เพราะระบบอินเวอร์เตอร์นี้เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ที่ใช้ในการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า เพื่อเปลี่ยนความเร็วรอบของมอเตอร์ให้เหมาะสมกับการทำงาน ทำให้กินไฟน้อยลง จึงช่วยประหยัดไฟฟ้าได้นั่นเอง วันนี้ไม่เพียงเครื่องใช้ไฟฟ้าเท่านั้นที่ใช้อินเวอร์เตอร์ เพื่อการประหยัดค่าไฟ แต่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ ก็ติดตั้งระบบนี้เพื่อให้รถยนต์สองระบบที่ใช้ไฟฟ้าร่วมด้วยประหยัดไฟมากขึ้น และในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรเองก็ได้นำเอาเทคโนโลยีนี้ไปช่วยลดการใช้ไฟฟ้าภายในฟาร์มกันอย่างแพร่หลาย เชื่อว่าพี่น้องผู้เลี้ยงสุกรที่มีโรงเรือนระบบอีแวป มีการควบคุมความเร็วพัดลมด้วยระบบอินเวอร์เตอร์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่จะดีกว่ามั้ย? หากสามารถใช้งานอย่างจริงจังและเต็มประสิทธิภาพ ถ้าเราเป็นเจ้าของฟาร์มและเป็นผู้ใช้ระบบอินเวอร์เตอร์ด้วยตัวเอง แต่ยังใช้ได้ไม่ถูกต้องตามศักยภาพของระบบ ใช้บทความนี้เป็นแนวทางได้เลยครับ ถ้าเป็นนักลงทุนมีการจ้างสัตวบาลมาควบคุมก็สามารถใช้บทความนี้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของน้องๆสัตบาลว่าอยู่ในระดับไหนและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพตามที่ผู้ลงทุนได้ลงทุนอุปกรณ์ไว้แล้ว ทำไมต้องสนใจ จัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ให้ถูกต้อง  1. ประหยัดเงินค่าไฟฟ้าแต่ต้องให้มีจำนวนพัดลมมากกว่าค่ามาตรฐาน จำนวนกี่ตัวขึ้นกับขนาดโรงเรือนเนื่องจากการทำงานของระบบไม่มีการกระชากของไฟฟ้าจากการปิดเปิดพัดลมและปรับความเร็วลมโดยอาศัยการปรับความเร็วในการหมุนพัดลมแทน(เหมือนแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์ที่ประหยัดค่าไฟฟ้ามากกว่าระบบมาตรฐานทั่วๆไป) 2. ความเร็วของพัดลมมีการปรับตามความต้องการของสุกรในแต่ละอายุตามค่ามาตรฐานด้านล่าง 3. ความชื้นรวมกับอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์ต้องไม่เกิน 170 ดังตารางด้านล่าง 4. ความสามารถในการทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงเป็นการผสมผสานระหว่างระบบอินเวอร์เตอร์และการติดตามงานด้านสภาพแวดล้อมของผู้ใช้ระบบ แค่ระบบอย่างเดียวไม่สามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อสุกรในแต่ละระยะการเลี้ยงได้เนื่องจากตัวระบบเองต้องการการตรวจสอบจากผู้ใช้ระบบ หัวใจสำคัญคือ ต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับระยะการเลี้ยง สิ่งสำคัญในฟาร์มสุกรขุน ถ้าเราสามารถทำให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการเลี้ยงสุกรนั่นหมายถึงปริมาณอาหารที่สุกรกินนำไปใช้เพื่อการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ (FCR) ได้ประสิทธิภาพสูงสุดไม่ต้องนำไปใช้เพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับสุกร (อากาศหนาวสำหรับสุกร-Lower Critical) และไม่ต้องนำไปใช้ในการหอบเพื่อระบายความร้อนออกจากร่างกาย (อากาศร้อนสำหรับสุกร-Upper Critical) นั่นหมายถึงเราจะได้การเจริญเติบโต (ADG) ตามมาตรฐานหรืออาจมากกว่าอีกด้วย สำหรับฟาร์มสุกรพันธุ์ นอกจากผลกระทบจากสภาพแวดล้อมเช่นเดียวกับสุกรขุนแล้ว การที่เราสามารถปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับความต้องการอย่างแท้จริงทั้งในระยะท้องว่าง-อุ้มท้องและเลี้ยงลูกแล้ว ยังทำให้สุกรกินอาหารได้ปริมาณตามความต้องการ สร้างสุขภาพที่ดี ร่างกายแข็งแรง ให้ผลผลิตที่ดีทั้งด้านจำนวนรอบต่อปี ปริมาณของลูกสุกรและปริมาณน้ำนมที่มากเพียงพอต่อความต้องการของลูกสุกรซึ่งปัจจุบันลูกดกขึ้นมากกว่าในอดีต และต้องไม่ลืมว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมมิใช่อุณหภูมิโรงเรือนแต่เป็นอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) แล้ว EET คืออะไร >> โปรติดตามได้ตอนที่2  CR : โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่2 การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่1 Read More »

แนะนำระบบ smart farm

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564

ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) และ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ อัพเดท  2564 ทำไม เกษตรกร หรือ เจ้าของผู้ดูแลฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้อง รู้เรื่องการจัดการฟาร์มแบบใหม่ และระบบ smart ฟาร์ม ระบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มของเรา ดีขึ้น ผลผลิตมากขึ้น เจ้าของฟาร์ม เจ้าหน้าที่ และพนักงาน มีความสุขในการทำงานขึ้น ได้อย่างไร ? เรามาดูกันครับ รับรองไม่ยุ่งยาก และเข้าถึงได้ ง่ายๆเลย ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) หรือฟาร์มอัฉริยะ ระบบนี้ เป็นระบบที่ คอยช่วยเหลือ และคอยดูแลฟาร์มของเรา ให้มีประสิทธิภาพในการผลิด และใช้ต้นทุนในการดูแลที่น้อยลง ทำให้ฟาร์มของเรา ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และกำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเฝ้าระวัง คอยดูแล เรื่องการจัดการความเสี่ยงเรื่องโรคได้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลฟาร์มของเรา หรือรับการแจ้งเตือนทางมือถือ ในเรื่องต่างๆ ได้ ทำให้ผู้บริหารฟาร์ม ตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงาน ได้ดีขึ้น แล้ว ระบบ Smart Farm มีอะไรบ้าง? ส่วนพื้นฐานการดูแลฟาร์ม ระบบจะดูแล ในทุกส่วน เช่น การเกิด การกินอาหาร น้ำ การตาย และเน้น ประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเป็นหลัก โดยจากเดิมที่เราต้องกรอกข้อมูลไว้ในกระดาษบ้าง ใน โปรแกรม excel บ้าง และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ระบบนี้ จะเป็นตัวช่วยจัดการได้เป็นอย่างดี ว่า สัตว์ที่เราเลี้ยง ได้รับอาหาร เหมาะสมกับการเติบโตไหม และอาหารที่เลือกใช้ เหมาะสมกับการเลี้ยสัตว์ของเราหรือเปล่า สูตรไหน ที่เราควรจะใช้ ในวัยไหนของสัตว์ที่เราเลี้ยง เพื่อดูอัตราการแลกเนื้อกับอาหารที่เราลงทุนไป ทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะทำการปรับอาหาร หรือต้องทำอย่างไรต่อไป นอกจากนี้แล้ว ในกรณีที่หากมีความผิดปกติ จากมาตรฐานที่เราได้ตั้งไว้ ที่อาจจะทำให้ สัตว์ของเรา อาจจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ ก็จะ มีการแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์มทราบทันที เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ต่อไป สำหรับความช่วยเหลือ ก็จะมาทั้งจาก ทีมงานที่ดูแล และส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการแก้ไขปัญหาของฟาร์มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างทันท่วงที ตัวอย่างการแจ้งเตือน หนึ่งในการ แจ้งเตือน เมื่อมีความผิดปกติ ในการกินอาหาร ที่เจ้าของ และผู้ดูแลจะได้รับ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เราสามารถมาดูย้อนหลัง และวางแผน หรือขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นในอนาคตได้ ระบบนี้จะช่วยในการคำนวน และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้องเข้าไปแก้ไขก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น สมาร์ทฟาร์ม iot ระบบที่จะช่วยให้เจ้าของฟาร์ม รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม แบบทันที ระบบนี้ จะเข้ามาช่วยลดหน้าที่ ของพนักงาน และสัตวบาล ในการเข้ามากรอกข้อมูล เรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลมในโรงเรือน ในส่วนนี้ จะมีตัวเซ็นเซอร์ เข้าไปติดตั้ง และให้เจ้าของฟาร์ม สามารถดูข้อมูลได้ตลอดเวลา และยังช่วยประมวลผล ว่า สิ่งแวดลอมแบบใด ที่เหมาะกับสัตว์ หรือ ไม่เหมาะสม และเอามาเพื่อวิเคราะห์ ประสิทธิภาพในการเลี้ยง ได้ต่อไป จึงเป็นความสำคัญที่ทำให้ คุณภาพการเลี้ยง ดีขึ้น ส่งผลไปถึงผลผลิตได้ดีขึ้นด้วย ระบบ Smart Farm Solution บอกอะไรเราบ้าง? ระบบจะทำการแจ้งเตือน สถานะการทำงาน และสภาพแวดล้อมในโรงเรือน แจ้งเตือนความผิดปกติในการทำงาน ในระบบต่างๆ เช่น พัดลมไม่ติด อุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นหรือระดับน้ำต่างๆ ที่เป็นตัวแปรสำคัญของโรงเรือน แสดงค่าการวิเคราะห์ ผลการทำงาน เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม สามารถบริหารงานผ่านระบบมือถือ ระบบ Smart Farm มีส่วนช่วยอย่างมากให้ สภาพแวดล้อมในฟาร์ม พอเหมาะพอดี กับการเป็นอยู่ของสัตว์ เมื่อสัตว์ มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว การกินอาหาร และการเติบโตก็ดีไปด้วย ข้อดี ของ ระบบ Smart Farm อีกอย่าง คือ เมื่อระบบเรียนรู้แล้ว ว่า สภาพแวดล้อมใดที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต สัตว์ กินอาหารได้ เติบโตดี เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ต้องการ ระบบก็จะ พัฒนา และปรับทุกอย่างแนะนำ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สัตว์ต้องการ เพื่อให้เป็นระบบออโต้มากขึ้น ตัวอย่างหน้าจอของระบบ สมาร์ทฟาร์ม สามารถดูข้อมูลที่เกียวข้องกับ การจัดการระบบ อีแวป และการจัดการโรงเรือน ได้ที่นี่ แนะนำครับ มีเอกสารให้โหลด ครบ https://cpffeedsolution.com จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ก็จะสามารถ ใช้ประโนชน์ จากข้อมูลที่เก็บมา ได้เติมประสิทธิภาพ ดังนี้ คาดการณ์ ประสิทธิภาพการเลี้ยง ผลผลิตโดยประมาณการณ์ เปรียบเทียบประเภทอาหาร ที่เหมาะสมกับการเลี้ยง ระบบสมาร์ทฟาร์ม iot กับการป้องกันโรค เป็นระบบที่ไว้ป้องกันโรค จากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม ใช้ในการป้องกันการสัมผัส ระหว่างลูกค้าที่มารับสัตว์ และฟาร์ม ซึ่งอาจจะมีการสัมผัสกับพนักงานในฟาร์ม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคได้ ระบบจะมีการตรวจจับ บุคคลในฟาร์ม และบุคคลภายนอกฟาร์ม เพื่อคำนวนความเสี่ยง และการสัมผัสโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยระบบป้องกันโรค จะมีการจับภาพ และแจ้งเตือนเข้าไปในไลน์ให้กับผู้เกี่ยวข้อง และสามารถดูย้อนหลังได้ ดูสรุปได้ เพราะหากการป้องกันโรคไม่ดี จะทำให้ฟาร์มเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อมีการแจ้งเตือนหรือส่งภาพแล้ว อาจ เนื่องมาจากการเข้าพื้นที่เฝ้าระวัง ก็จะมีการเตือน เพื่อเป็นการป้องกัน ในขั้นแรก และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้อง ดำเนินการขั้นตอนความปลอดภัยต่อไป ในการแจ้งเตือนของระบบก็จะมีการแจ้งเตือน ตั้งแต่ ถ้ามีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการป้องกันเชิงรุก ก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้นกับฟาร์ม ทั้งนี้ พนักงานที่มีโอกาส จะสัมผัส หรือสัมผัสไปแล้วจะต้องถูกดำเนินการตาม มาตรการการป้องกันโรคต่อไป เช่นมีการกักตัว และเมื่อได้เวลาตามที่กำหนดแล้ว จึงจะสามารถกลับมาทำงานได้ตมามปกติ มาตรการในการป้องกันโรค แบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับฟาร์มได้ เป็นอย่างดี เพราะจุดที่มีการซื้อขาย รถที่มารับซื้อ อาจจะมาจากฟาร์มที่มีการติดเชื้อ ตลาด หรือแหล่งอื่นๆ และทำให้เชื้อเข้าสู่ฟาร์มได้ ดังนั้นการป้องกันด้วยระบบ ก็จะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับเจ้าของฟาร์ม หรือผู้จัดการฟาร์ม ทำไม ? การป้องกันโรค จึงเป็นส่วนสำคัญ ในการจัดการฟาร์ม สำหรับการป้องกันโรค ที่จะเข้าสู่ฟาร์มนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากยกตัวอย่างเช่น โรค AFS หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนในการดูแลรักษา และก่อความเสียหายให้อย่างมากใน ฟาร์ม ดังนั้น การป้องกัน ด้วยระบบ เป็นเรื่องที่จำเป็น ที่ฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ดังที่ว่า ถ้าสัตว์ในฟาร์มไม่ถึงมาตรฐาน ยังสามารถขายได้ แต่หากเป็นโรคแล้ว ไม่สามารถทำอะไรได้เลย การป้องกันโรคจึงเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดการฟาร์ม แนะนำ CPF FARM SOLUTION ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์มครบวงจร สำหรับท่านเจ้าของฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบ การจัดการฟาร์ม สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ ซีพีเอฟ ฟาร์มโซลูชั่น บริการทั้งหมด นอกจากระบบ Smart Farm แล้ว ยังให้บริการอื่นๆดังนี้ ระบบด้านไฟฟ้า และวิศวกรรมโรงงาน ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค จำกัดศัตว์พาหะ อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการสรรหาบุคคล และการอบรม คัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 Read More »

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ

CPF เดินหน้าผลักดันเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนเทรคฟาร์ม สู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm สนับสนุนการนำเทคโนโลยีทันสมัย และระบบออนไลน์ มาใช้ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรคคุณสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร CPF เปิดเผยว่า CPF มุ่งมั่นยกระดับระบบการบริหารฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มให้นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ด้วยระบบ Smart Farm สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผนึกกำลังกับ TRUE ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) 3 จุดในฟาร์มของเกษตรกร ได้แก่ ประตูทางเข้าออกฟาร์ม หน้าห้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์มและในโรงเรือน เพื่อช่วยป้องกันโรคและตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเบื้องต้นได้    ปัจจุบัน ได้ติดตั้ง CCTV ในฟาร์มเกษตรกรแล้ว 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2564 นี้ ส่วนระบบออโต้ฟีด (Auto Feeding Systems) ติดตั้งในฟาร์มสุกรขุนของเกษตรกร 100% ทั่วประเทศแล้ว ช่วยลดแรงงานและไม่จำเป็นต้องใช้คนเข้าไปให้อาหารในโรงเรือน เพื่อให้คนเข้าสัมผัสตัวสัตว์น้อยที่สุด ลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆ สู่สุกรตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และยังเริ่มใช้ระบบ Sound talk ซึ่งเป็นอุปกรณ์ IOT ที่ติดตั้งในโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน เพื่อตรวจวัดเสียงไอ ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามสุขภาพสุกร เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรค” คุณสมพร กล่าวนอกจากนี้ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มทั้ง 100% ใช้แชทบอท (Chatbots) ผ่านแอปพลิเคชัน LINE Official เพื่อพูดคุยและปรึกษากับทีมงานของบริษัทได้ตลอดเวลา รวมถึงใช้บันทึกข้อมูลด้านบัญชีและการผลิต อาทิ จำนวนสุกร การใช้อาหาร สต๊อกวัคซีน เข้าระบบเป็นประจำทุกวัน เพื่อเชื่อมข้อมูลกับระบบ Pig Pro ที่ใช้บริหารจัดการกระบวนการผลิต ทำให้สามารถติดตามการผลิตได้ตลอดเวลา และได้ร่วมกับ CPF IT Center ในการพัฒนาแพลตฟอร์มของ CPF เรียกว่า “สมาร์ท พิก” (Smart Pig) จะเริ่มใช้ประมาณไตรมาส 4/2564 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ และสนับสนุนเกษตรกรในด้านการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต วางแผนการผลิตและการจัดการให้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรแต่ละราย    สำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกรทั้ง 98 แห่งของ CPF ใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ระบบการให้อาหารออโต้ฟีด การควบคุมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนอีแวปด้วยระบบอัตโนมัติ ในการสั่งเปิดปิดน้ำหล่อเลี้ยงแผงความเย็น พัดลม และไฟฟ้า การให้อาหาร โดยขณะนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมด้วยการนำระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ มาใช้สั่งการระบบควบคุมดังกล่าว ซึ่งจะทำงานร่วมกับกล้อง CCTV ที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือน และใช้ระบบ Sound talk เพื่อลดความเสี่ยงจากคนที่อาจนำโรคเข้าสู่สุกร ในด้านของสัตวแพทย์ ผู้จัดการฟาร์มและสัตวบาล สามารถติดตามความเป็นอยู่ของสัตว์ ผ่านการมอนิเตอร์ภาพรวมภายในโรงเรือนและการทำงานของอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา (Real Time) หากสภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถปรับแก้ไขได้ทันท่วงที ด้วยการสั่งงานผ่านกล้องและแอปพลิเคชันมือถือ ช่วยให้สื่อสารกับบุคลากรที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว./ CR: cpf

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)