Logo-CPF-small-65png

5 เรื่องต้องรู้ก่อน เลี้ยงหมู คู่มือการเลี้ยง อาหาร โรงเรือน และการป้องกันโรค

เลี้ยงหมู มีวิธีการอย่างไร โพสนี้ครบ และ แจกคู่มือการเลี้ยงด้วยครับ

การ เลี้ยงหมู
สวัสดีครับ ปัจจุบัน การ เลี้ยงหมู หรือ สุกร ในประเทศไทยมีการพัฒนาด้านพันธุ์สัตว์และการจัดการสุขาภิบาล ทัดเทียมต่างประเทศเลยครับ สำหรับ การเลี้ยง ในประเทศแม้จะมีฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ๆ แต่ก็ยังมีเกษตรกรรายย่อย ที่ทำการเลี้ยงหมู ขนาดเล็กไม่มาก รายละ 1 ถึง 20 ตัวตามหมู่บ้าน อยู่เป็นจำนวนมาก เกษตรกรรายย่อยดังกล่าว จำเป็นจะต้องได้รับความรู้ด้านการเลี้ยงสุกรอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำไปพัฒนา การเลี้ยงของตนเอง ให้มีประสิทธิภาพ และจะทำให้รายได้เพิ่มขึ้น ทั้งยัง สามารถทำให้ครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น หรือพัฒนาฟาร์มที่เลี้ยงอยู่ให้เติมโตได้ด้วยครับ

ปัจจัยที่สำคัญ ที่ทำให้การเลี้ยงสุกร ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย ส่วนต่างๆดังนี้

  • พันธุ์หมูที่นำมาเลี้ยงเป็นหมูพันธุ์ดี
  • อาหารดีเหมาะสมกับหมูแต่ละช่วงวัย
  • การจัดการโรงเรียนที่ดีและมีประสิทธิภาพ
  • มีการเลี้ยงดูที่ดีหรือมีคำแนะนำและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี
  • มีการป้องกันโรคให้กับหมูและแนะนำในการป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้น

*** ซึ่งในบทความนี้ จะเป็นเนื้อหา ย่อยๆ ออกมาจาก ส่วนของคู่มือการเลี้ยง ครับ สามารถ โหลด ได้จากหน้า นี้เลยครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้แล้ว ถ้าเพื่อนๆเกษตรกร มีความสนใจในการเลี้ยงสัตว์ ชนิดอื่นๆ ก็สามารถ เข้าดูได้ที่ ลิงค์ ข้างต้นเลยครับ

ในการเลี้ยงหมู ลำดับแรกไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรรายย่อย หรือว่าเป็นเกษตรกรรายใหญ่ ควรมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์หมูที่เราจะนำมาเลี้ยงก่อน หากไม่รู้เราสามารถสอบถามได้จากผู้ขายพันธ์สัตว์ที่ได้มาตรฐานครับ จะได้รับคำแนะนำที่ ดีและมีประโยชน์มากๆ กับเรา ซึ่งสามารถ นำไปต่อยอด และพัฒนาฟาร์มของเราได้อย่างยั่งยืนครับ โดยสามารถ สั่งจองพันธ์สัตว์ และสอบถามได้ที่นี่ครับ >>> สั่งจองพันธุ์สัตว์ และสอบถาม <<<

พันธุ์หมูในประเทศไทย

การเลี้ยงหมู-พันธุ์หมู

เป็นระยะเวลากว่า 30 ปีด้วยระบบการผลิตสุกรที่มีการพัฒนาสายพันธุ์มาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาพันธุ์สุกรของ CP เป็นพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพและมีผลผลิตสูง ตอบสนองตรงกับความต้องการของผู้เลี้ยงและผู้บริโภค มีทั้งหมูพ่อพันธุ์และหมูแม่พันธุ์

อาหารหมูที่เหมาะสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย

ทั้งนี้สำหรับเกษตรกรบางท่านอาจจะยังใช้อาหารหมูที่มีการผสมเองบางครั้งหมูที่เราเลี้ยงอาจจะได้รับสารอาหารที่ไม่ครบถ้วนทำให้สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรงและมีปริมาณการติดโรคมากขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยีและความทันสมัยในสมัยนี้แล้วอาหารสำเร็จสำหรับหมูก็มีการแบ่งออกเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละช่วงวัย ซึ่ง ง่าย และเป็นผลดีกับเกษตรกรด้วครับ

ข้อแนะนำในการเลือกใช้อาหาร เลี้ยงหมูสำหรับเกษตรกร

แบบที่ 1 เป็นการผสมอาหารใช้เองในฟาร์ม

ต้องรู้จักเลือกชนิดวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดีวัตถุดิบตัวหลักๆได้แก่กากถั่วเหลืองปลาป่นปลายข้าวข้าวโพดรำละเอียดและวิตามินแร่ธาตุในรูปของวิตามินรวมแล้วนำวัตถุดิบมาผสมตามสูตรและความต้องการของสุกรในแต่ละขนาดโดยเครื่องผสมอาหารหรือผสมด้วยมือก็แล้วแต่สะดวกโดยอาศัยหลักผสมจากส่วนย่อยที่มีปริมาณน้อยๆก่อนแล้วจึงผสมเข้ากับส่วนใหญ่วิธีนี้จะประหยัดสามารถเลือกใช้อาหารราคาถูกและหาได้ง่ายในท้องถิ่นเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้มากซึ่งในเอกสารประกอบที่ผมจะให้ดาวน์โหลดด้านล่างก็มีสูตรอาหารสำหรับเลี้ยงสุกรนมจนถึงสุกรพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ด้วยครับ

แบบที่ 2 อาหารชนิดเม็ดสำเร็จรูป

สำหรับอาหารหมูเล็กสุกรอ่อนสุกรเล็กสุกรรุ่นหมูขุนหมูพันธุ์ข้อดีคือสะดวกในการใช้และวิธีการจัดหาเป็นอาหารสำหรับหมูแต่ละขนาดมีจัดจำหน่ายตามท้องตลาดโดยทั่วไปข้อเสียคืออาจจะมีราคาสูงกว่าประเภทแรกและหากผู้ใช้ไม่ทราบชัดเจนว่าอาหารเม็ดสำเร็จรูปประกอบด้วยอะไรก็อาจจะทำให้เปลืองค่าใช้จ่ายในการใช้งานและการให้อาหารได้ครับ ทั้งนี้ราคาในปัจจุบันสำหรับอาหารสำเร็จรูปก็ลดลงมากแล้วและเหมาะสมกับการใช้งานเลี้ยงหมูโดยทั่วไปด้วยครับเพื่อนๆสามารถเข้าไปดูรายละเอียดที่บทความนี้ก็ได้ครับ อาหารหมูเล็ก

แบบที่ 3 การใช้หัวอาหารสำเร็จ

ส่วนใหญ่ จะมีโปรตีนประมาณ 32 ถึง 36 เปอร์เซ็นต์ และผสมวิตามินและแร่ธาตุอยู่ด้วย แล้วใช้ผสมปลายข้าว ข้าวโพด รำละเอียด ตามอัตราส่วนน้ำหนักที่ระบุ จำนวนวัตถุดิบข้างถุงอาหาร การใช้ในสุกรแต่ละขนาด ให้คำนึงถึงเปอร์เซ็นต์โปรตีนในอาหารผสมด้วยว่าเหมาะกับช่วงวัยหรือเปล่า

โรงเรือนสำหรับเลี้ยงหมู

โรงเรือนที่ดี จะสะดวกในการจัดการฟาร์มหมู จะอยู่ภายในคอกอย่างสบายใจ และขั้นตอนการสร้างโรงเรือนของสุกร มีหลายแบบด้วยกันแต่ในส่วนของการก่อสร้างโรงเรือน มีข้อกำหนดที่แนะนำดังนี้คือ

  • สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนหมูควรเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วมมีการระบายน้ำได้ดีห่างไกลชุมชนตลาดและผู้เลี้ยงหมูรายอื่น
  • การสร้างโรงเรือนตามแนวตะวันออกตะวันตกและระยะห่างของโรงเรียนแต่ละโรงเรือนประมาณ 20 ถึง 25 เมตรเพื่อแยกโรงเรือนออกจากการเป็นสัดเป็นส่วน
  • โรงเรือนจะต้องมีระบบระบายอากาศที่ดีสามารถป้องกันแดดและฝนได้อาจเป็นโรงเรียนเปิดก็ได้แต่โรงเรือนแบบปิดจะมีข้อดีคือสามารถปรับอุณหภูมิและการระบายอากาศให้เหมาะสมกับหมูในแต่ละช่วงอายุได้ง่ายนอกจากนี้ยังสามารถป้องกันสัตว์ชนิดอื่นเช่นยุงและแมลงเข้าไปภายในโรงเรือนได้ดีกว่าโรงเรือนแบบเปิด

ทั้งนี้สามารถ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นโรงเรือนแบบปิด ที่ลิงค์นี้ครับ >>> โค้ชวิทธิ์ โรงเรือนอีแวป <<<

การสุขาภิบาลการป้องกันโรคและการป้องกันโรคติดต่อในหมู

การสุขาภิบาลหมายถึงการจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบายปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆการทำความสะอาดคอกให้สะอาดการให้อาหารที่ดีและการจัดการที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตหมูหรือการเลี้ยงหมูของเรา

การทำความสะอาดคอกหมูควรทำความสะอาดคอกหมูทุกวันโดยการกวาดแห้งด้วยไม้กวาดเอามูลสุกรออกและล้างคอกด้วยน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเรื้อนละครั้งนอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บข้อมูลสุกรเพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากสุกรไปรบกวนเพื่อนบ้าน ในกรณีที่มีการจัดการที่ดีอาจนำอุปกรณ์ตรงนี้ไปใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพเพื่อนำมาใช้ในฟาร์มต่อไปได้ 

คู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ แจกฟรี cpffeedsolution.com
ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจที่นิยมในปัจจุบัน เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการจัดการ ด้านพันธุ์สัตว์ ด้านอาหาร และการจัดการฟาร์มที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ให้เกษตรกรผู้สนใจเริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเหล่านี้ให้ดียิ่งขึ้น ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้ เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น

คู่มือการเลี้ยงสัตว์ จากที่อื่น  คู่มือการเลี้ยงสัตว์และการดูแลสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์

>> สามารถดาวโหลดได้ที่นี่ครับ <<<

คู่มือการเลี้ยงศัตว์

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)