Logo-CPF-small-65png

ข่าวสารทั่วไป

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน

เฉลิมชัย สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียนคุมเข้มการเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าในเขตเฝ้าระวังโรค     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสร้างวิกฤติในโอกาส โดยสั่งการให้กรมปศุสัตว์ทำงานเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร (African Swine Fever: ASF) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จนทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งผลให้ประเทศไทยคงสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะกระจายไปกว่า 34 ประเทศทั่วโลกแล้วก็ตาม ทำให้การส่งออกสุกรในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 300% คิดเป็นมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าการส่งออกในปี 2564 นี้จะเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นคงสถานะปลอดโรค ASF อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง กรมปศุสัตว์จึงได้ร่างระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พ.ศ.2564 โดยล่าสุดได้ประกาศลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 28 ตุลาคม 2564ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พ.ศ.2564 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเพื่อเข้าโรงฆ่าสัตว์และนำไปเลี้ยง มีเงื่อนไขเพิ่มเติม1.1 กรณีฟาร์มปลายทางเคยพบความเสี่ยงสูงมาก ต้องทำลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องเป็นฟาร์มมาตรฐาน GAP ขึ้นไป มีการใช้ตัวเฝ้าระวังในการทดสอบ (sentinel) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของกำลังการผลิต เลี้ยงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ และก่อนลงเลี้ยงจริงต้องมีการเก็บตัวอย่างพื้นผิวโรงเรือนเลี้ยงสุกร (surface swab) 2 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 1 สัปดาห์​1.2 กรณีฟาร์มต้นทางเคยพบความเสี่ยงสูงมาก ต้องทำลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องเก็บตัวอย่างสุกรที่ฟาร์มปลายทางหลังลงเลี้ยงวันที่ 1 และ 7 ครั้งละ 15 ตัวอย่าง​1.3 เฉพาะกรณีเคลื่อนย้ายข้ามเขต ต้องมีหลักฐานการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ อย่างน้อย 1 หน่วยงาน​1.4 กรณีเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปเลี้ยง ฟาร์มปลายทางต้องได้รับการรับรอง GFM ขึ้นไปเท่านั้น2. การเคลื่อนย้ายซากสุกรหรือหมูป่า ในวันที่เคลื่อนย้ายจริงต้องแนบใบ รน. ของซากชุดที่จะเคลื่อนย้ายไปพร้อมหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายทุกครั้ง สำหรับพื้นที่พิเศษ (พื้นที่ที่มีการออกหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายสุกรจำนวนมาก เช่น นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ขอนแก่น นครราชสีมา เป็นต้น) ต้องแจ้งแผนล่วงหน้า 14 วัน มีใบรับรองโรงฆ่า มีผล surface swab และผลตรวจซาก โดยการเก็บตัวอย่างซากดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกๆ 2 เดือน และการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในโรงฆ่าดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทุกเดือน3. การเคลื่อนย้ายสุกรหรือหมูป่ามีชีวิตผ่านคอกขายกลาง ให้สัตวแพทย์พื้นที่ต้นทางทำหนังสือแจ้งสถานที่ปลายทางถัดจากคอกกลางแก่สัตวแพทย์พื้นที่ที่คอกกลางตั้งอยู่ โดยแนบไปพร้อมหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบกรมปศุสัตว์ฯ ฉบับนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรหมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันส่งผลให้การป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่เป็นการสร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคแก่เกษตรกรมากเกินความจำเป็น รวมทั้งเป็นการช่วยให้การปฏิบัติงานในการคงสถานะปลอดโรค ASF ของประเทศไทยและรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างต่อเนื่อง

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน Read More »

จีนกว้านซื้ออาหารสัตว์ ดันต้นทุนวัตถุดิบกระฉูด

   “วัตถุดิบอาหารสัตว์” ราคาแพงข้ามปี หลังจีนแห่เลี้ยงมากขึ้น-พายุถล่มสหรัฐฉุดผลผลิตหด ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เตรียมหันใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น หวังลดต้นทุนเลี้ยงสัตว์ “ปลายข้าว-รำ-มัน” ส้มหล่น แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเปิดเผยว่า สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ในไตรมาส 4 เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้น 30% เฉลี่ยราคา กก.ละ 11-11.50 บาท จากปี 2563 ราคา กก.ละ 9 บาท ส่วนราคาถั่วเหลืองปรับเพิ่มขึ้น 25% เฉลี่ย กก.ละ 20 บาท จากปีที่ผ่านมาเฉลี่ย กก.ละ 15 บาท ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น 10% นับตั้งแต่ไตรมาส 4 และต่อเนื่องไปยังไตรมาส 1 ของปี 2565 โดยปัจจัยที่ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างจีน สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นจากปัญหาโควิด-19 ส่งผลให้จีนมีความต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเข้ามาสต๊อกไว้เพื่อใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 จนถึงกลางปีนี้ ขณะที่ประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ เช่น สหรัฐ บราซิล อาร์เจนตินา และสหราชอาณาจักร (ยูเค) เริ่มมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบรายใหญ่สำคัญของโลก เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง แม้ว่าจะขยายพื้นที่การเพาะปลูก เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อต้นปี 2564 แต่ผลผลิตไม่ได้เป็นอย่างที่คาดการณ์ไว้เพราะได้รับผลกระทบจากพายุ แม้ราคาจะอ่อนตัวลงบ้างที่ในช่วงที่ผลผลิตออกในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2564 แต่ราคาวัตถุดิบยังคงมีแนวโน้มที่สูง ต้นทุนผู้ผลิตอาหารสัตว์ของไทยยังได้รับผลกระทบอย่างค่าเงินบาทที่อ่อนค่าตอนนี้ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ค่าระวางเรือที่สูงขึ้น ค่าน้ำมัน รวมเป็นต้นทุนค่าขนส่งการนำเข้าวัตถุดิบ ทำให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ของไทยยังคงสูง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาซื้อ-ขายเฉลี่ย กก.ละ 4-5 บาท ช่วงกลางปี 2563 แต่เมื่อจีนเริ่มนำเข้า ราคาปัจจุบันปรับขึ้น เฉลี่ย กก.ละ 6-8 บาท หากคิดค่าจัดการขนส่ง เช่น หากส่งมาที่เวียดนามราคาก็ปรับขึ้นที่ กก.ละ 7 บาท คือ บวกต้นทุนอีก 2 บาท ถั่วเหลืองและกากถั่วเหลืองกก.ละ 12-13 บาท ขณะนี้ขึ้นเป็น กก.ละ 15-18 บาท กากถั่วเหลือง กก.ละ 18-19 บาท ซึ่งเป็นราคารวมค่าขนส่ง การจัดการแล้ว ข้าวสาลีเดิมเฉลี่ย กก.ละ 7-8 บาท ตอนนี้ กก.ละ 11-12 บาท และประเมินว่าจะมีราคานี้จนถึงไตรมาส 1 ปีหน้า ส่งผลให้แนวโน้มผู้ประกอบการอาหารสัตว์จะหันมาใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง และปลายข้าว ทั้งนี้ สัดส่วนความต้องการใช้อาหารสัตว์กว่า 90% อยู่ที่สัตว์บก และจะสูงสุดในช่วงไตรมาส 4 และไตรมาส 1 ซึ่งเป็นช่วงอากาศดีทำให้สัตว์กินอาหารได้มาก ส่วนสัตว์น้ำความต้องการอาหารสัตว์ต่อปีอยู่ที่ 5-6% ซึ่งกินน้อย และช่วงหน้าหนาวก็กินน้อยเนื่องจากอากาศเย็น อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดใกล้หมดแล้ว จำเป็นต้องรอดูว่าจะเริ่มการเพาะปลูกในปีหน้า แต่จากแนวโน้มจะรอการประเมิน “ยังคงสูง” ส่งผลให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์หันมาใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ส่วนปลาป่นปัจจุบันความต้องการใช้ลดลง เนื่องจากผู้นำเข้ามีมาตรฐานให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์ลดการใช้เนื้อสัตว์เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ โดยให้ไปใช้พืชแทน ส่งผลให้การใช้น้อยมาก ส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ ทางผู้ผลิตอาหารสัตว์ต้องคำนึงถึงสารอาหารโปรตีน เนื่องจากวัตถุดิบบางตัวโปรตีนไม่มากพอ โดยวัตถุดิบที่มีโปรตีนมากสุด คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งผลผลิตประเทศไทยมีผลผลิตน้อยไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์อยู่ระหว่างการส่งเสริมปลูกมันสำปะหลังหลังนาเพื่อนำมาทดแทน คาดว่าจะมีการเพาะปลูกที่มากขึ้น แม้โปรตีนมันสำปะหลังจะน้อยเพียง 2% แต่ก็ช่วยลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ เนื่องจากราคายังคงสูงอยู่ เพราะต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ 70% มาจากอาหารสัตว์ หากราคาอาหารสัตว์สูงขึ้น ย่อมมีผลกระทบต่อต้นทุนการเลี้ยงของกลุ่มผู้เลี้ยงได้ ต่อปีอาหารสัตว์ผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 20 ล้านตัน ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

จีนกว้านซื้ออาหารสัตว์ ดันต้นทุนวัตถุดิบกระฉูด Read More »

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

CPF ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ชูมาตรฐานฟาร์มสุกรระบบไบโอซีเคียวริตี้ในการเลี้ยงสุกรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังยกระดับการป้องกันโควิด-19 ให้พนักงานภายในฟาร์ม โดยวางระบบบับเบิลแอนด์ซีลและฉีดวัคซีนให้ทุกคน ป้องเชื้อโควิดเข้าพื้นที่ฟาร์ม 100% มั่นใจความปลอดภัยทั้งสุกรและคนเลี้ยง ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้หมูซีพีได้อย่างสบายใจ    น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิชาการ สายธุรกิจสุกร CPF เปิดเผยว่า ปัจจุบันฟาร์มสุกรทั้งหมดของ CPF ดำเนินมาตรฐานฟาร์มตามแนวทางของกรมปศุสัตว์ และยกระดับสู่ “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” เข้มข้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงสุกรปลอดโรค อันจะส่งผลให้ได้เนื้อหมูอนามัยที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค“CPF ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยในขั้นตอนของการเลี้ยงสุกร เป็นอีกข้อต่อที่สำคัญของความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดย CPF ได้ยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรเข้าสู่ระบบไบโอซีเคียวริตี้แล้วทั้งหมด แม้จะมีความยุ่งยากในการดำเนินการ แต่สุดท้ายได้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสุกรทุกตัวในฟาร์มมีสุขภาพดีและปลอดโรค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว     มาตรฐานฟาร์มสุกร CPF ในระบบไบโอซีเคียวริตี้ เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วย การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันสัตว์พาหะทั้งหนู นก แมลงต่างๆ โดยวัตถุดิบต่างๆ ที่นำมาใช้ภายในฟาร์มไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรืออื่นๆจะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มา ซึ่งทุกฟาร์มจะรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ทั้งยังต้องควบคุมรถขนส่งเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวด รถทุกคัน-พนักงานทุกคนต้องผ่านระบบฆ่าเชื้อ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนหรือพาหนะนั้นๆ จะไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม รวมถึงการกำหนดจุดส่งมอบสุกรที่แยกจากฟาร์ม ทั้งนี้ไม่เพียงฟาร์มของบริษัทแต่ยังถ่ายทอดมาตรการการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรในคอนแทรคฟาร์มมิ่งของบริษัทฯ ทั่วประเทศครบทุกรายแล้ว ยืนยันได้ในความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสุกรเพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคขณะเดียวกัน ในสถานการณ์โควิด CPF ยังยกระดับการป้องกันโรคขั้นสูงสุดให้แก่พนักงานในฟาร์มทุกคน ตั้งแต่การสำรวจและคัดกรองคนก่อนเข้าฟาร์ม การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการรักษาสุขอนามัย โดยพนักงานทุกคนที่เข้าฟาร์มต้องผ่านการตรวจอุณหภูมิของร่างกาย จุ่มเท้าฆ่าเชื้อ สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย รณรงค์สร้างความตระหนักด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน หมั่นล้างมือด้วยน้ำ สบู่ แอลกอฮอล์ มาตรการรักษาความสะอาดโดยทำความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสหรือใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ของพื้นที่และสิ่งของภายในฟาร์มทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้พนักงานทุกคน    “ลักษณะของฟาร์ม เป็นสถานที่อากาศถ่ายเท และไม่มีพนักงานจำนวนมาก ดังนั้น การจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างจึงทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับระบบไบโอซีเคียวริตี้ในฟาร์มมาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่าสุกรทุกตัวของ CPF มีความแข็งแรง ปลอดโรคและปลอดภัยต่อการบริโภค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว./

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย Read More »

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยาคุณสกุลยศ สามเสน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และคุณจิระ คงเขียว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นำชาว CPF จิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบน้ำดื่มซีพี 360 ขวด และพัดลมตั้งโต๊ะ 10 เครื่อง จาก CPF ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อโควิดระดับตำบล โดยมี คุณบำรุง ม่วงวิจิตร นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง และสมาชิกเทศบาลตำบลท่าหลวงฯ รับมอบ./

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา Read More »

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบเงินบริจาค 1.1 ล้านบาท จาก CPF เพื่อสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19 (และโรคระบาดต่างๆ)” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์โควิด โดยเงินดังกล่าว เป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมวิ่งการกุศลในวิถีใหม่ “CP Run For Good Deeds VIRTUAL RUN 2021 วิ่งร้อยเรียงความดี” มีชมรม CPF Running Club และนักวิ่ง เข้าร่วมกิจกรรม 2,623 คน โดยมี คุณเรวัติ หทัยสัตย์พงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร พร้อมด้วย คุณบุญเสริม เจริญวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF ในฐานะรองประธานชมรมฯ ร่วมมอบ ณ มูลนิธิชัยพัฒนากิจกรรม “CP Run For Good Deeds VIRTUAL RUN 2021 วิ่งร้อยเรียงความดี” ภายใต้แคมเปญ “ซีพีร้อยเรียงความดี” จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเครือซีพีครบรอบ 100 ปี ในรูปแบบ Virtual Run หรือวิ่งเสมือนจริง ซึ่งนักวิ่งสามารถเลือกได้ว่าจะวิ่งที่ไหน เวลาใด ที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและต้านภัยโควิด ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.-29 ส.ค.64 ทั้งนี้ ผู้สมัครยังได้ร่วมทำความดี โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดมอบให้กับกองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19./

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻 Read More »

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัยCPF พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีทันสมัย เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) ติดตามสถานการณ์แบบ Real-Time สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์คุณภาพดีและปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า CPF ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และกุ้ง รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล หรือ หลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สนับสนุนให้สัตว์อยู่ด้วยความสะดวกสบาย ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ได้อย่างอิสระ สัตว์สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ส่งผลให้ไม่มีการใช้สารฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา ควบคู่กับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันโรคในฟาร์ม ตามแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยในปี 2563 ซีพีเอฟ เป็นรายแรกของไทยที่นำระบบ Birdoo Smart Eyes มาใช้ในฟาร์มไก่เนื้อ เป็นระบบสังเกตการณ์ทางไกลแบบอัตโนมัติ ติดตามสวัสดิภาพสัตว์ แบบ Real-Time เพื่อช่วยสังเกตข้อมูลน้ำหนักไก่ การกินน้ำ และอาหาร แสดงผลผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ นำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการนำนวัตกรรมระบบ Smart Farm โดยติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ ในการเก็บข้อมูล ช่วยการประมวลผลข้อมูลในฟาร์มมีแม่นยำ เพื่อการจัดการฟาร์มให้ไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตCPF ยังพัฒนานวัตกรรมด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของสัตว์ในทุกสภาวะ อาทิ ธุรกิจไก่ไข่ นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) ประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (Free Range) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา ผลิตไข่ไก่ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic Livestock) จากกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงให้กับกิจการในมาเลเซียและลาว เพื่อนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรในประเทศ“CPF ตระหนักดีว่าการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี นำไปสู่คุณภาพและปลอดภัยของอาหาร ซึ่งปัจจุบัน สัตว์ในฟาร์มของ CPF 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล เป็นหลักประกันคุณภาพอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร CPF กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้หลัก 3T (No Testicles , No Teeth Clipping and No Tail Docking) เพื่อ ลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการตอนเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ 3Ts-Alliance ซึ่งตั้งโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เพื่อร่วมยุติขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่อลูกสุกร พร้อมกันนี้ CPF ยังเดินหน้าปรับเปลี่ยนสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบคอกขังรวมให้ครบ 100 % สำหรับกิจการในไทย ในปี 2568 และกิจการในต่างประเทศจะบรรลุเป้าหมายในปี 2571CPF ได้พัฒนานวัตกรรมการละลายพฤติกรรมในลูกสุกรหลังหย่านมให้มาอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยใช้สารสกัดสมุนไพรรูปแบบผง และน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นเดียวกันพ่นบนตัวสุกรได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดพฤติกรรมการต่อสู้กันตามธรรมชาติ ตลอดจนiพัฒนารูปแบบการเคลื่อนย้ายสุกรสำหรับการขนส่ง ด้วยระบบทางเดิน Walkway ภายในฟาร์ม และพัฒนาระบบสะพานเลื่อนอัตโนมัติที่ใช้ในการขนส่งสุกร ลดการบาดเจ็บของสุกร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งผลให้ CPF ได้รับการปรับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ Tier 3 จาก Tier 4 จากรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ปี 2020 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) โดยมีคะแนนที่โดดเด่นในด้าน Innovation and Leadership จากการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (เคจฟรี) และเป็นรายแรกของประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงของกรมปศุสัตว์ และหัวข้อ Performance Reporting ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลและมีการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์อย่างเป็นระบบ./    CR: CPF

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย Read More »

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้ ภาครัฐร่วมเอกชนป้องกันโรคในหมูได้อยู่หมัดวอนหยุดปล่อยข่าวหวังทุบราคาแล้วฟันกำไรงามนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ล่าสุดได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1.​เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว2.​ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด3.​ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน4.​กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด5.​สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF6.​สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ7.​บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรงซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ทำให้ราคาสุกรเดิมที่เคยตกต่ำ ราคาหน้าฟาร์ม 60 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ขยับกลับขึ้นมาที่ราคา 75-76 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป  

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา Read More »

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ส่งอาหารช้างล็อตใหญ่ สู่ปางช้างทั่วประเทศ ในโครงการ “คนไทยรักช้าง” ร่วมสู้โควิด

คุณสมจินต์ ชมเชย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ CPF พร้อมด้วยผู้บริหารของโรงงานผลิตอาหารสัตว์บก หนองแค จ.สระบุรี ร่วมส่งมอบอาหารช้างเอราวัณ ซึ่งผลิตโดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ผ่านคุณธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพื่อนำไปกระจายต่อให้ปางช้างทั่วประเทศ ร่วมบรรเทาปัญหาของปางช้าง ควาญช้าง ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดรายได้ ทำให้ช้างเลี้ยงขาดแคลนอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งการส่งมอบอาหารช้างในครั้งนี้ เป็นครั้งที่สอง 20 ตัน หรือ 660 กระสอบ จากจำนวนที่ส่งมอบทั้งหมด 3 ครั้ง รวม 60 ตัน หรือ 60,000 กิโลกรัม (1,980 กระสอบ) สำหรับอาหารช้าง 20 ตัน ที่ส่งมอบไปแล้วในรอบแรกเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา กระจายสู่ปางช้างต่างๆ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง รวมทั้งส่งมอบให้ รพ.ช้าง ของกรมปศุสัตว์ และ รพ.ช้าง ของโครงการคชอาณาจักร จ.สุรินทร์ ช่วยบรรเทาปัญหาช้างขาดแคลนอาหารได้มาก ส่วนอาหารช้างที่ส่งมอบในครั้งนี้ คณะทำงานของสมาคมฯ จะนำไปกระจายให้ปางช้างในพื้นที่ จ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ตรัง รวมถึงเกาะสมุย และเกาะลันตาใน จ.กระบี่ เพื่อช่วยเหลือช้างที่ติดบนเกาะ กำหนดส่งมอบอาหารช้างครั้งที่สาม ในวันที่ 29 พ.ค. 2564 เพื่อช่วยเหลือช้างในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือต่อไปนายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย กล่าวขอบคุณความช่วยเหลือจากเครือ CP-CPF และบริษัทในเครือ ที่ช่วยเหลือปางช้าง ควาญช้าง หลังประสบปัญหาขาดรายได้จากสถานการณ์โควิด จนส่งผลกระทบให้ปางช้างหลายแห่งทั่วประเทศขาดแคลนอาหารที่ใช้เลี้ยงช้าง การที่ CPF สนับสนุนอาหารเสริมสำหรับช้าง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างมาก ที่สำคัญเป็นช่วงเวลาที่ช้างจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมเพื่อดูแลสุขภาพและชีวิตให้อยู่รอด เพราะที่ผ่านมา ปางช้างและควาญช้างขาดรายได้ แต่ยังมีภาระต้องเลี้ยงช้าง การเลี้ยงจึงเป็นแบบประคองให้รอดเป็นวันๆ อาหารช้างส่วนใหญ่เป็นหญ้าหรือขั้วสับปะรดที่ต้นทุนไม่สูงมาก โดยที่ช้างไม่ได้รับอาหารที่มีวิตามิน เช่น กล้วย อ้อย ฟักทอง เพราะต้นทุนสูงกว่า ส่งผลต่อสุขภาพช้าง ทั้งช้างแก่ ช้างแม่ลูกอ่อนที่เกิดภาวะน้ำนมไม่สมบูรณ์ และช้างแรกคลอด บางเชือกป่วยและล้ม การได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าโภชนาการอาหารสัตว์ ทั้งโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ จึงเป็นเรื่องน่าดีใจ ที่ทางเครือ CP-CPF เข้ามาช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ยากลำบากของช้างและคนเลี้ยงโครงการ “คนไทยรักช้าง” เป็นการผนึกกำลังของเครือ CP-CPF ซีพี ออลล์ และทรู ร่วมกับสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารและสุขภาพของช้างเลี้ยงและควาญช้างทั่วประเทศ โดยสมาคมฯ และพันธมิตร นอกจาก CPF จะมอบอาหารช้าง กลุ่มทรู ยังสนับสนุนเทคโนโลยีอัจฉริยะทรู 5G ในระบบสื่อสารของรถพยาบาลช้าง พร้อมเปิดช่องทางรับบริจาคจากประชาชนร่วมแบ่งปันน้ำใจให้ช้าง ผ่านระบบทรูมูฟ เอช แอปทรูยู ทรูไอดี และทรูมันนี่ วอลเล็ท รวมทั้งช่องทางของซีพี ออลล์ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้CPF และบริษัทในเครือซีพี มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของการส่งความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของควาญช้าง ปางช้าง และช้างทั่วประเทศ ข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน./

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ส่งอาหารช้างล็อตใหญ่ สู่ปางช้างทั่วประเทศ ในโครงการ “คนไทยรักช้าง” ร่วมสู้โควิด Read More »

พร้อมรับมือฤดูร้อน: วีธีจัดการภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร

    มีความท้าทายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากมายที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน ความร้อนในฤดูร้อนก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ส่งผลต่อสุขภาพของสุกรและกระทบต่อการทำกําไรของเกษตรกร ความเครียดจากความสามารถส่งผลร้ายแรงต่อประสิทธิภาพของสุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุกรขุนและแม่พันธุ์ ความร้อนและความแปรปรวนของอุณหภูมิในฤดูร้อนมักจะทำให้สัตว์เครียด ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของสัตว์ลดลง ทำให้สัตว์มีปัญหาสุขภาพ และในที่สุดก็จะก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสําหรับเกษตรกร ทําไมสุกรจึงไวต่อความเครียดจากความร้อน? สุกรไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เนื่องจากพวกมันไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบายความร้อนในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นสุกรยังมีปอดขนาดเล็กหากเทียบกับขนาดร่างกาย มันจึงระบายความร้อนส่วนเกินภายในร่างกายออกมาได้ยาก “แม้ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน สุกรก็ยังผลิตความร้อนในร่างกายเพิ่มจากการรับประทานอาหารและเคลื่อนไหวร่างกาย” รัสเซล กิลเลียน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสำหรับสุกรของออลเทค สหรัฐอเมริกา กล่าว “เนื่องจากสุกรแทบไม่มีต่อมเหงื่อ จึงไม่สามารถระบายความร้อนด้วยเหงื่อได้ สุกรจึงต้องใช้การหายใจเพื่อระบายความร้อน อัตราการหายใจของสุกรจะเริ่มถี่ขึ้นที่อุณหภูมิประมาณ 21 องศาเซลเซียส และหากในอากาศมีความชื้นสูง สุกรจะยิ่งหาทางบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ยากขึ้น” ความผันผวนอย่างต่อเนื่องของอุณหภูมิในช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนก็อาจเพิ่มความเครียดให้กับสุกรที่มีความเครียดจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอยู่แล้วและทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก อาการของภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร หนึ่งในผลจากภาวะเครียดจากความร้อน คืออัตราบริโภคอาหารที่ลดลง เมื่อสุกรกินอาหารได้น้อย พวกมันก็จะแปลงอาหารเป็นกล้ามเนื้อได้น้อย จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ลดลง และนั่นหมายถึงระยะเวลาการเลี้ยงที่นานขึ้นกว่าจะจำหน่ายสุกรได้ นอกจากนี้ยังทำให้สุกรมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสุกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรักษาหรือแก้ปัญหาสุขภาพนั้น อาการอื่น ๆ ได้แก่: อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ) สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น 6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร: พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น) จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ) สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น 6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร: พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น) จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล เมื่อสุกรอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนกว่าที่ร่างกายของพวกมันรู้สึกสบาย การบริโภคอาหารจะลดต่ำลงเช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพัดลม หัวฉีดน้ำ และอุปกรณ์ระบายความร้อนอื่น ๆ ในโรงเลี้ยงทำงานได้ปกติและได้รับการบํารุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจะไม่สูงมาก แต่สุกรอาจมีภาวะเครียดแฝงอยู่ ผู้ผลิตจึงควรจัดให้โรงเลี้ยงมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้สุกรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด อุณหภูมิที่เหมาะสม อาจต้องดูทั้งปัจจัยแรงลมและดัชนีความร้อน ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส อาจเป็นอุณหภูมิที่ดีที่สุดสําหรับสุกรหนัก 57 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ประกอบกับความเร็วของลมสูง (เช่น 30 เมตรต่อนาที) อาจจะเย็นเกินไปสำหรับสุกร ในภาวะอากาศเย็นสุกรจะใช้พลังงานเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายแทนที่จะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นว่าความเร็วลมส่งผลต่ออุณหภูมิอย่างไร แผนภูมิที่ 1: ผลของความเร็วลมต่ออุณหภูมิ ผู้ผลิตยังต้องคำนึงว่าสุกรรุ่นจะผลิตความร้อนเพิ่มขึ้นจากปกติ ดั้งนั้นจึงควรมีการจัดการอุณหภูมิภายในโรงเลี้ยงให้เหมาะสม สําหรับน้ำหนักของสุกรที่เพิ่มขึ้นทุก 27-36 กิโลกรัม จะสร้างความร้อนเพิ่ม 200 บีทียู ทุกชั่วโมง ดังนั้นจะต้องมีการปรับอัตราการระบายความร้อน ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) สําหรับความร้อนที่เพิ่มขึ้น แผนภูมิที่ 2: อัตราการระบายอากาศที่แนะนํา, CFM ต่อสุกรหนึ่งตัว ผลกระทบจากความชื้นในอากาศ ความชื้นเป็นตัวบ่งชี้ที่สําคัญสำหรับการระบายอากาศที่เหมาะสม ในช่วงเดือนที่อากาศร้อนเมื่ออุณหภูมิภายนอกเกินจุดที่กําหนด แม้ว่าจะเพิ่มอัตราการระบายอากาศ ก็จะไม่ช่วยลดความชื้นในโรงเลี้ยง เพราะอากาศอุ่นสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าอากาศเย็น สุกรจะเกิดความเครียดจากความร้อนได้ง่ายมากขึ้น เมื่ออากาศมีความชื้นสูงแม้ว่าอุณหภูมิจะต่ำ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังทั้งความชื้นและอุณหภูมิในโรงเลี้ยง แนะนำให้โรงเลี้ยงมีความชื้นสัมพัทธ์ 65% หรือน้อยกว่า เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในระดับนี้จะลดการเกิดการควบแน่นและทำให้พื้นโรงเรือนชื้นแฉะ การสร้างสูตรอาหารเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดของสุกร มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า การผสมกันของกรดอินทรีย์, อิเล็กโทรไลต์, เอนไซม์และโปรไบโอติก เช่นที่มีในผลิตภัณฑ์ Acid-Pak 4-Way® สามารถช่วยบรรเทาภาวะเครียดของสุกรในวัยเด็กได้ กรดอินทรีย์ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโปรไบโอติกในลําไส้ และเอนไซม์ช่วยเพิ่มการบริโภคและการย่อยอาหาร อิเล็กโทรไลต์ช่วยให้สัตว์ไม่เกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน การตระหนักถึงภาวะความเครียดจากอากาศร้อนและการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีผลสําคัญต่อผลผลิตและมูลค่าโดยรวมของสุกรเมื่อจำหน่ายออกสู่ตลาด การวางแผนรับมือกับภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรของท่านอย่างมีประสิทธิภาพยังสามารถช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับจำนวนวันเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากสุกรเจ็บป่วย เพราะเมื่อสุกรเกิดความเครียดพวกมันจะเจ็บป่วยหรือติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สําคัญที่จะผสมเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติลงในอาหารของสุกร CR : Alltech

พร้อมรับมือฤดูร้อน: วีธีจัดการภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)