Logo-CPF-small-65png

ข่าวสารทั่วไป

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีการนำผลผลิตจากข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว เช่น ปลายข้าวและรำข้าว มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่องและล่าสุด จากสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ ซีพีเอฟจึงร่วมมือกับคู่ค้าโรงสี ทำการรับซื้อข้าวเปลือก เพื่อช่วยระบายผลผลิตข้าวเปลือกในตลาด และนำข้าวเปลือกที่รับซื้อดังกล่าว มาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติมจากส่วนผสมเดิม เป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ทั้งในด้านการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาไทยและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันยังช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่คู่ค้าในสถานการณ์ปัจจุบัน “ซีพีเอฟ ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาไทย และช่วยให้โรงสีมีสภาพคล่องในสถาการณ์อันยากลำบากนี้ โดยดำเนินการรับซื้อข้าวเปลือกมาตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องนโยบายรัฐแล้วยังตอกย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและองค์กร”นายเรวัติกล่าว ทั้งนี้ ซีพีเอฟเดินหน้าพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด มุ่งมั่นจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ “สีเขียว” ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และอื่นๆ ที่ต้องมาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กับการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) “ข้าว” จึงเป็นวัตถุดิบหลักอีกชนิดหนึ่งของการผลิตอาหารสัตว์ และการจัดซื้อข้าวเปลือกในครั้งนี้ถือเป็นการจัดซื้อ “วัตถุดิบสีเขียว” ซึ่งมีแหล่งปลูกอย่างถูกต้อง ควบคู่ความภูมิใจที่ได้ช่วยพยุงราคาข้าวเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม Read More »

CPF ขับเคลื่อน “สุขภาพหนึ่งเดียว” ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย ใส่ใจคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

CPF นำหลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ยึดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล ส่งเสริมการผลิตอาหารมั่นคงและปลอดภัย เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ CPF เปิดเผยว่า ภายใต้หลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ซีพีเอฟ เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) หรือ หลักอิสระ 5 ประการ มุ่งเน้นให้สัตว์มีสุขภาพดีเป็นหลัก ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ครอบคลุมกิจการทั้งในไทยและกิจการในต่างประเทศ ให้สัตว์ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถแสดงพฤติกรรมของสัตว์ได้ตามธรรมชาติ และเมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการนอกจากนี้ CPF ยังมีนโยบายบริษัทฯ ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial) ครอบคลุมยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผล ซึ่งการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์และใช้เพื่อการรักษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านจุลชีพประเภทที่ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (share-class antimicrobials) และใช้เมื่อจำเป็นอย่างระมัดระวัง โดยจะเลือกใช้ยาสำหรับสัตว์เป็นลำดับแรกและร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่าในการดูแลสัตว์ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของ CPF

CPF ขับเคลื่อน “สุขภาพหนึ่งเดียว” ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย ใส่ใจคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม Read More »

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐสภา – ท่านรองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงภาคบริษัท ผู้บริหารซีพีเอฟ และเบทาโกร เข้าร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ การผลิต และตลาด เพื่อประเมินสถานการณ์หามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค สืบเนื่องจากข่าวหมูแพงในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้ท่านรองนายกและรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยงข้องมาให้ข้อมูล       โดยกรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ให้ข้อมูล จำนวนผลผลิต ความเสียหายจากโรคสุกร ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสุกรขุนปี 2563 กับปี 2564 ต่างกันสิ้นเชิง  โดยปี 2563 ผู้เลี้ยงสุกรให้ความร่วมมือขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่ราคาไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัมนั้น  เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนตามกลไกลตลาด โดยผู้เลี้ยงสุกรมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.67 บาท ส่วนปี 2564 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นราคาเฉลี่ยที่ผู้เลี้ยงสุกรขายได้เฉลี่ย 67-68 บาทต่อกิโลกรัมที่ต้นทุนประมาณ 78-80 บาท ตามการประเมินของคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา Read More »

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30%

สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบุว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนผ่อนปรนมาตรการที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่ายในห่วงโซ่การผลิต ประกอบด้วย การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% และ ภาษีนำเข้า DDGS 9% (Dry distillers Grains with Solubles) ผลผลิตที่เหลือจากการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพดเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ ปรับลดสัดส่วนการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่อการนำเข้าข้าวสาลี จากปัจจุบัน 3:1 เหลือ 1.5 : 1 และนำกลไกตลาดเสรีมาบริหารจัดการอุปสงค์-อุปทานวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้สอดคล้องกับปัจจัยและต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน เพื่อลดภาระการขาดทุนสะสมของเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของไทย ส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ไทยต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เพียง 5 ล้านตัน และนำเข้าส่วนต่าง 3 ล้านตันภายใต้มาตรการของรัฐ คือ กำหนดสัดส่วนนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ข้าวสาลี (วัตถุดิบทดแทนข้าวโพด) ในอัตรา 3:1 ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดในประเทศมีเพียง 60% ของความต้องการต่อปี สัดส่วน 1.5 : 1 จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมให้ภาคปศุสัตว์บริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดส่งออกได้ทั้งไก่สดแช่แข็งและอาหารสัตว์ นอกจากนี้ สัดส่วนดังกล่าวจะช่วยป้องกันการทุจริตจากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ ทั้งนี้ รัฐบาลมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม ความชื้น 14.5% ขณะที่ภาคเอกชนรับซื้อในราคาให้ความร่วมมือกับภาครัฐที่ 8

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30% Read More »

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน

เฉลิมชัย สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียนคุมเข้มการเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าในเขตเฝ้าระวังโรค     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสร้างวิกฤติในโอกาส โดยสั่งการให้กรมปศุสัตว์ทำงานเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร (African Swine Fever: ASF) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จนทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งผลให้ประเทศไทยคงสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะกระจายไปกว่า 34 ประเทศทั่วโลกแล้วก็ตาม ทำให้การส่งออกสุกรในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 300% คิดเป็นมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าการส่งออกในปี 2564 นี้จะเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นคงสถานะปลอดโรค ASF อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง กรมปศุสัตว์จึงได้ร่างระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พ.ศ.2564 โดยล่าสุดได้ประกาศลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 28 ตุลาคม

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน Read More »

จีนกว้านซื้ออาหารสัตว์ ดันต้นทุนวัตถุดิบกระฉูด

   “วัตถุดิบอาหารสัตว์” ราคาแพงข้ามปี หลังจีนแห่เลี้ยงมากขึ้น-พายุถล่มสหรัฐฉุดผลผลิตหด ส.ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เตรียมหันใช้วัตถุดิบในประเทศมากขึ้น หวังลดต้นทุนเลี้ยงสัตว์ “ปลายข้าว-รำ-มัน” ส้มหล่น แหล่งข่าวจากสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเปิดเผยว่า สถานการณ์วัตถุดิบอาหารสัตว์ในไตรมาส 4 เช่น ข้าวโพดเพิ่มขึ้น 30% เฉลี่ยราคา กก.ละ 11-11.50 บาท จากปี 2563 ราคา กก.ละ 9 บาท ส่วนราคาถั่วเหลืองปรับเพิ่มขึ้น 25% เฉลี่ย กก.ละ 20 บาท จากปีที่ผ่านมาเฉลี่ย กก.ละ 15 บาท ส่งผลให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น 10% นับตั้งแต่ไตรมาส 4 และต่อเนื่องไปยังไตรมาส 1 ของปี 2565 โดยปัจจัยที่ทำให้วัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาเพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากผู้นำเข้ารายใหญ่อย่างจีน สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นจากปัญหาโควิด-19 ส่งผลให้จีนมีความต้องการวัตถุดิบอาหารสัตว์มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการนำเข้ามาสต๊อกไว้เพื่อใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 จนถึงกลางปีนี้ ขณะที่ประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบ เช่น สหรัฐ บราซิล อาร์เจนตินา และสหราชอาณาจักร

จีนกว้านซื้ออาหารสัตว์ ดันต้นทุนวัตถุดิบกระฉูด Read More »

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

CPF ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ชูมาตรฐานฟาร์มสุกรระบบไบโอซีเคียวริตี้ในการเลี้ยงสุกรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังยกระดับการป้องกันโควิด-19 ให้พนักงานภายในฟาร์ม โดยวางระบบบับเบิลแอนด์ซีลและฉีดวัคซีนให้ทุกคน ป้องเชื้อโควิดเข้าพื้นที่ฟาร์ม 100% มั่นใจความปลอดภัยทั้งสุกรและคนเลี้ยง ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้หมูซีพีได้อย่างสบายใจ    น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิชาการ สายธุรกิจสุกร CPF เปิดเผยว่า ปัจจุบันฟาร์มสุกรทั้งหมดของ CPF ดำเนินมาตรฐานฟาร์มตามแนวทางของกรมปศุสัตว์ และยกระดับสู่ “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” เข้มข้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงสุกรปลอดโรค อันจะส่งผลให้ได้เนื้อหมูอนามัยที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค“CPF ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยในขั้นตอนของการเลี้ยงสุกร เป็นอีกข้อต่อที่สำคัญของความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดย CPF ได้ยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรเข้าสู่ระบบไบโอซีเคียวริตี้แล้วทั้งหมด แม้จะมีความยุ่งยากในการดำเนินการ แต่สุดท้ายได้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสุกรทุกตัวในฟาร์มมีสุขภาพดีและปลอดโรค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว     มาตรฐานฟาร์มสุกร CPF ในระบบไบโอซีเคียวริตี้ เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วย การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันสัตว์พาหะทั้งหนู นก แมลงต่างๆ โดยวัตถุดิบต่างๆ ที่นำมาใช้ภายในฟาร์มไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรืออื่นๆจะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มา ซึ่งทุกฟาร์มจะรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ทั้งยังต้องควบคุมรถขนส่งเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวด รถทุกคัน-พนักงานทุกคนต้องผ่านระบบฆ่าเชื้อ

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย Read More »

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยาคุณสกุลยศ สามเสน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และคุณจิระ คงเขียว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นำชาว CPF จิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบน้ำดื่มซีพี 360 ขวด และพัดลมตั้งโต๊ะ 10 เครื่อง จาก CPF ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อโควิดระดับตำบล โดยมี คุณบำรุง ม่วงวิจิตร นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง และสมาชิกเทศบาลตำบลท่าหลวงฯ รับมอบ./

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา Read More »

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบเงินบริจาค 1.1 ล้านบาท จาก CPF เพื่อสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19 (และโรคระบาดต่างๆ)” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์โควิด โดยเงินดังกล่าว เป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมวิ่งการกุศลในวิถีใหม่ “CP Run For Good Deeds VIRTUAL RUN 2021 วิ่งร้อยเรียงความดี” มีชมรม CPF Running Club และนักวิ่ง เข้าร่วมกิจกรรม 2,623 คน โดยมี คุณเรวัติ หทัยสัตย์พงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร พร้อมด้วย คุณบุญเสริม เจริญวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF ในฐานะรองประธานชมรมฯ ร่วมมอบ ณ มูลนิธิชัยพัฒนากิจกรรม “CP Run For

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻 Read More »

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัยCPF พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีทันสมัย เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) ติดตามสถานการณ์แบบ Real-Time สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์คุณภาพดีและปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า CPF ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และกุ้ง รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล หรือ หลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สนับสนุนให้สัตว์อยู่ด้วยความสะดวกสบาย ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ได้อย่างอิสระ สัตว์สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ส่งผลให้ไม่มีการใช้สารฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา ควบคู่กับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันโรคในฟาร์ม ตามแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยในปี 2563 ซีพีเอฟ เป็นรายแรกของไทยที่นำระบบ Birdoo Smart Eyes มาใช้ในฟาร์มไก่เนื้อ เป็นระบบสังเกตการณ์ทางไกลแบบอัตโนมัติ ติดตามสวัสดิภาพสัตว์ แบบ Real-Time เพื่อช่วยสังเกตข้อมูลน้ำหนักไก่ การกินน้ำ และอาหาร

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)