ข่าวสารทั่วไป

พื้นที่ไหนฝนตกหนัก? พยากรณ์ฝนรายวันทุกๆ 24 ชั่วโมง 4-13 ต.ค.65

     พยากรณ์ฝนรายวัน ทุกๆ 24 ชม. ระหว่าง 4-13 ต.ค. 65 ภาคเหนือและภาคอีสาน จะเริ่มเบาลงบ้าง แต่ภาคกลาง กทม.และปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังมีฝนตกต่อเนื่อง มีฝนตกหนัก กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานข้อมูลพยากรณ์ฝนรายวัน (ทุกๆ 24 ชั่วโมง) ระหว่าง 4-13 ต.ค. 65 อัพเดท 2022100312 จาก ECMWF : วันที่ 4-9  ต.ค. 65 ฝนทางตอนบนของภาคเหนือและภาคอีสาน จะเริ่มเบาลงบ้าง แต่ภาคกลาง (กทม.และปริมณฑล) ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังมีฝนตกต่อเนื่อง มีฝนตกหนัก เนื่องมาจากมวลอากาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมทางตอนบน ทำให้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคอีสานสานตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก พยากรณ์อากาศวันนี้และ 7 วันข้างหน้า ทั่วไทยฝนตกหนัก กทม.วันนี้มีฝน 80% สภาพอากาศวันนี้ อุตุฯประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยระดับสีแดง 4 จังหวัด ฝนตกหนักมาก! บางนาท่วมหนักหลังฝนถล่มนานต่อเนื่องหลาย ชม. ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย และมีลมตะวันออก ลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมภาคอีสานเสริมอีกแรง จึงยังต้องระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง วันที่ 10 -13 ต.ค.65 จะมีฝนเพิ่มขึ้นในระยะแรก(10 ต.ค.65) หลังจากนั้นฝนจะเริ่มลดลงชัดเจน ทิศทางลมเริ่มเปลี่ยนแปลงทิศทาง เนื่องจากมีมวลอากาศเย็น (ความกดอากาศสูง) แผ่ลงมาปกคลุม ทางภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน จึงทำลมเริ่มเปลี่ยนทิศ เป็นลมตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือมากขึ้น เป็นสัญญาณการเริ่มเปลี่ยนแปลงฤดูกาล (จากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว) ช่วงแรกอากาศจะมีความแปรปรวน ฝนตอนบนเริ่มเบาลงบ้าง ฝนจะยังตกบริเวณภาคอีสานตอนล่าง ภาคกลาง ภาคตะวันออก (ข้อมูลนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามข้อมูลนำเข้าใหม่) ข้อมูลจาก กรมอุตุนิยมวิทยา ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

พื้นที่ไหนฝนตกหนัก? พยากรณ์ฝนรายวันทุกๆ 24 ชั่วโมง 4-13 ต.ค.65 Read More »

กางแผนที่ 34 จังหวัด สภาพอากาศ ‘ฝนตกหนัก’ ระดับสีเหลืองถึงเช้าพรุ่งนี้

วันนี้ ( 30 ก.ย. 65 )กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ สภาพอากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงปกคลุมบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มในระยะนี้ สำหรับ สภาพอากาศคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนทะเลมีคลื่นสูง 2–3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 1 ต.ค. 65 นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้แสดงแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนักระดับสีเหลือง ตั้งแต่ 06.00 น. วันนี้ถึงเวลา 06.00 น. ของวันพรุ่งนี้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ กทม.และปริมณฑล พยากรณ์อากาศวันนี้และ 7 วันข้างหน้า ทั่วไทยยังมีฝนตกหนัก เตือนน้ำท่วม-น้ำป่าไหลหลาก สภาพอากาศ ไทยเตรียมรับมือ “พายุ 4 ลูก” ล่าสุดอุตุฯชี้แจงแล้ว? สถานการณ์น้ำท่วมปทุมธานี อัปเดตล่าสุดเช็กเลยมีจุดไหนบ้าง 1.กรุงเทพมหานคร 2.นนทบุรี 3.ปทุมธานี 4.สมุทรปราการ ภาคเหนือ 5.แม่ฮ่องสอน 6.เชียงใหม่ 7.ลำปาง 8.ลำพูน 9.น่าน 10.แพร่ 11.ตาก ภาคกลาง 12.สุโขทัย 13.อุตรดิตถ์ 14.พิษณุโลก 15.กำแพงเพชร 16.พิจิตร 17.นครสวรรค์ 18.เพชรบูรณ์ 19.นครสวรรค์ 20.อุทัยธานี 21.ชัยนาท 22.กาญจนบุรี 23.ราชบุรี ภาคอีสาน 24.เลย 25.ชัยภูมิ 26.นครราชสีมา 27.บุรีรัมย์ 28.สุรินทร์ ภาคตะวันออก  29.ระยอง 30.จันทบุรี 31.ตราด ภาคใต้ 32.ระนอง 33.พังงา 34.กระบี่ ข้อมูลจาก  : กรมอุตุนิยมวิทยา ภาพจาก  :  TNN ONLINE

กางแผนที่ 34 จังหวัด สภาพอากาศ ‘ฝนตกหนัก’ ระดับสีเหลืองถึงเช้าพรุ่งนี้ Read More »

CPF คว้า 27 รางวัล CSR-DIW Continuous Award 2022 จาก ก.อุตสาหกรรม ต่อเนื่องปีที่ 14

CPF คว้า 27 รางวัล CSR-DIW Continuous Award 2022 จาก ก.อุตสาหกรรม ต่อเนื่องปีที่ 14 นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม มอบโล่รางวัลและเกียรติบัตร CSR-DIW Continuous Award 2022 ในโครงการส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมให้มีความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนเพื่อเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (CSR-DIW to achieve SDGs) ประจำปี 2565 จัดโดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม ให้แก่ 27 สถานประกอบการของ CPF ต่อเนื่องเป็นปีที่ 14คุณเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก CPF เปิดเผยว่า บริษัทฯ เข้าร่วมโครงการ CSR-DIW ตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา ปีนี้มีสถานประกอบการ 27 แห่ง ได้รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นในการรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ร่วมดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้พนักงานดูแลชุมชนและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขในฐานะสมาชิกของชุมชน ตลอดจนการปฏิบัติตามมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่มีต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง “CPF ยึดแนวทางการดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ 3 เสาหลัก คือ อาหารมั่นคง สังคมพึ่งตน และดินน้ำป่าคงอยู่ ส่งผลบวกทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องตามหลักปรัชญา 3 ประโยชน์สู่ความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ คือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชน และบริษัท ทำให้บริษัทฯ ได้รับรางวัลและเกียรติบัตรในโครงการ CSR-DIW อย่างต่อเนื่อง” คุณเรวัติ กล่าวนอกจากนี้ บริษัทฯ ยังประกาศกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ทางตรงทั้ง 17 เป้าหมาย ซึ่งภายใต้กลยุทธ์ดังกล่าว CPF ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรเกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อาทิ การใช้พลังงานและน้ำอย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการผลิต วางเป้าหมายเป็นองค์กรที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero Emissions) ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) กำหนดนโยบายยกเลิกการใช้ถ่านหิน 100% สำหรับกิจการในไทยภายในปี 2565 และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ทั้งชีวมวล ก๊าซชีวภาพ แสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนอยู่ที่ 27% ของการใช้พลังงานทั้งหมด การผลิตบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกเพื่อผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน ยังร่วมปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าชายเลน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญและเป็นต้นทางของการสร้างความมั่นคงทางอาหารสำหรับสถานประกอบการ 27 แห่ง ที่ได้รับรางวัล CSR-DIW Continuous Award 2022 ได้แก่ โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำบ้านพรุ, โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำมหาชัย, โรงงานอาหารแปรรูปสัตว์น้ำแกลง, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ขอนแก่น, โรงงานแปรรูปเนื้อไก่โชคชัย นครราชสีมา, โรงงานแปรรูปเนื้อไก่-เป็ด บางนา, โรงงานแปรรูปเนื้อไก่มีนบุรี, โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ สระบุรี, โรงงานผลิตอาหารสัตว์โคกกรวด, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ธารเกษม, โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ลำพูน, โรงงานอาหารแปรรูปมีนบุรี 1, โรงงานอาหารแปรรูป มีนบุรี 2, โรงงานอาหารสัตว์บกพิษณุโลก, โรงงานอาหารสำเร็จรูปแปดริ้ว, ธุรกิจซอส พรีมิกซ์ เครื่องปรุง, ธุรกิจผลิตอาหารสำเร็จรูป สระบุรี, โรงงานอาหารสำเร็จรูปมหาชัย, อสร.หนองจอก, โรงงานผลิตอาหารสัตว์บางนา กม. 21, โรงงานผลิตอาหารสัตว์หาดใหญ่, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ราชบุรี, โรงงานผลิตอาหารสัตว์ศรีราชา และโรงคัดไข่และแปรรูปไข่บ้านนา./ 

CPF คว้า 27 รางวัล CSR-DIW Continuous Award 2022 จาก ก.อุตสาหกรรม ต่อเนื่องปีที่ 14 Read More »

ค่านิยมองค์กร 6 ประการ (SIX CORE VALUES) นับเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับความไว้วางใจจากสังคมไทยและสังคมโลกและเครือฯ

ค่านิยมองค์กร 6 ประการ (SIX CORE VALUES)นับเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับความไว้วางใจจากสังคมไทยและสังคมโลกและเครือฯ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อนำความผาสุก คุณภาพชีวิตที่ดีสู่ประชาชน สร้างสรรค์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ต้นไม้ตั้งตระหง่านอยู่ได้ต้องมีรากแก้วที่มั่นคงเช่นเดียวกับธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ก้าวหน้าและเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะตั้งมั่นอยู่บนค่านิยมองค์กรที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นจิตวิญญาณที่มุ่งมั่นพัฒนา ต่อยอดความสามารถในการบริหารธุรกิจบนฐานของคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้ค่านิยมองค์กร 6 ประการ ประกอบด้วย 3 ประโยชน์ไม่มีองค์กรธุรกิจใดในโลกที่เติบโตอย่างมั่นคงแข็งแรงได้โดยลำพัง หากแต่ต้องมีความเข็มแข็งของประชาชน สังคม และประเทศชาติเคียงข้างด้วยเสมอ เช่นเดียวกันกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่สามารถนำพาองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะดำเนินธุรกิจโดยยึดหลัก ‘3ประโยชน์’ ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ได้แก่ ประโยชน์ต่อประเทศที่เข้าไปลงทุน ประโยชน์ต่อประชาชนในทุกประเทศที่เข้าไปลงทุน และประโยชน์ต่อบริษัท ซึ่งเครือฯ ได้ปลูกฝังแนวคิดค่านิยมนี้มาตั้งแต่ยุคบุกเบิกธุรกิจสู่การกระทำที่มุ่งหวังให้ประเทศที่ได้ลงทุนเกิดประโยชน์และธุรกิจเติบโตก้าวหน้า ทำเร็วและมีคุณภาพการดำเนินธุรกิจในยุคโลกไร้พรมแดนเช่นปัจจุบัน สิ่งสำคัญที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอดและเติบโตก้าวหน้าได้อย่างยั่งยืน คือ ‘ทำเร็ว’ และ ‘มีคุณภาพ’ เพื่อให้ธุรกิจก้าวทันการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงในด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร พฤติกรรมผู้บริโภค และกฏระเบียบการค้าต่างๆ เครือฯ จึงต้องคิดเร็ว ทำเร็ว และทำอย่างมีคุณภาพ ถือเป็นนโยบายสำคัญในการดำเนินธุรกิจที่ทุกคนในองค์กรได้ยึดถือและปฏิบัติ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายเครือเจริญโภคภัณฑ์มีการลงทุนใน 21 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ มีบริษัทในเครือมากกว่า 200 บริษัท และมีพนักงานทั้งหมดกว่า 300,000 คน โดยเครือฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาปรับปรุงขั้นตอนและกระบวนการทำงานให้รวดเร็ว ลดขั้นตอนต่างๆ ที่ไม่จำเป็น โดยมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทำให้การทำงานง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ‘การทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่าย’ จึงเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญของทุกคนในองค์กรที่จะนำมาซึ่งความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของเครือฯ นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ยอมรับการเปลี่ยนแปลงโลกเต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลง ทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เทคโนโลยี และพฤติกรรมผู้บริโภค รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิอากาศและภัยพิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ดังนั้น กลยุทธ์สำคัญที่ทำให้เครรือเจริญโภคภัณฑ์เกิดความยั่งยืนได้คือ ‘การยอมรับการเปลี่ยนแปลง’ เพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ช่วยให้เครือฯ เกิดการปรับตัวพยายามค้นคว้า ศึกษา วิจัยมองหาโอกาสใหม่ไม่หยุดนิ่ง ทั้งยังมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อสิ่งที่ดีกว่า เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคและประเทศชาติ สร้างสรรค์สิ่งใหม่บนวิถีแห่งการดำเนินธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์คือพลังขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในทุกระดับของการดำเนินธุรกิจ ทั้งแนวคิด วิธีการ กระบวนการ ผลิตภัณฑ์ และบริการ เพราะโลกไม่หยุดนิ่ง ธุรกิจจึงต้องสร้างสรรค์นวัตกรรมตลอดเวลา พนักงานเครือเจริญโภคภัณฑ์จึงทำงานด้วยความพร้อมที่จะ ‘สร้างสรรค์สิ่งใหม่’ ที่ดีกว่า ‘องค์กรแห่งนวัตกรรม’ คือเป้าหมายที่ทุกองค์กรในเครือฯ กำลังมุ่งมั่นขับเคลื่อนและแน่นอนว่า ผลสุดท้ายย่อมนำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีที่สุดสำหรับผู้บริโภค คุณธรรมและความซื่อสัตย์เครือเจริญโภคภัณฑ์ดำเนินกิจการมายาวนานกว่าศตวรรษด้วยยึดมั่นในหลักการของความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบันที่ธุรกิจเครือฯ แตกแขนงไปมากมาย ความซื่อสัตย์และมีคุณธรรมยังคงเป็นเสาหลักขององค์กร เราคำนึงอยู่เสมอว่า ธุรกิจการค้าที่มุ่งหวังผลประโยชน์แต่เพียงฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจดำรงยืนนาน และไม่อาจได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจ ทั้งจากคู้ค้า ผู้บริโภค และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในภาคสังคม ดังนั้น ไม่ว่าจะจำหน่ายสินค้าเพียง 1 ชิ้น หรือจำหน่ายสินค้าเป็นร้อยๆ ตัน เราก็ต้องยึดมั่นบนหลักการของ ‘คุณธรรมและความซื่อสัตย์’

ค่านิยมองค์กร 6 ประการ (SIX CORE VALUES) นับเป็นเวลาหนึ่งศตวรรษที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ได้รับความไว้วางใจจากสังคมไทยและสังคมโลกและเครือฯ Read More »

5 ทศวรรษ ซีพีเอฟนำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้เกษตรกรไทย

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ยก “โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย” ที่ดำเนินต่อเนื่องตลอด 5 ทศวรรษ ได้ร่วมสนับสนุนความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยของไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็ง มีส่วนช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในระดับชุมชนและประเทศ ควบคู่กับการผลิตเนื้อสัตว์ที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างความมั่นคงด้านอาหารให้คนไทย สมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการซีพีเอฟ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 47 ปี นับตั้งแต่ ซีพีเอฟได้ริเริ่มโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์แก่เกษตรกรรายย่อย  ตั้งแต่ปี 2518  นอกจากช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรทั้งสุกร ไก่เนื้อ และไก่ไข่ ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยประยุกต์ใช้ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง มีส่วนช่วยสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้กับเกษตรกร สามารถพึ่งพาตนเองได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โครงการฯ ช่วยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ การขจัดความยากจน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความรู้ในการผลิตเนื้อสัตว์ที่มีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถส่งต่อให้ลูกหลานสืบทอดเป็นอาชีพเลี้ยงตนเองต่อได้ ตอบโจทย์เป้าหมายกลยุทธ์ความยั่งยืน CPF 2030 Sustainability in Action ภายใต้เสาหลัก อาหารมั่นคง และสังคมพึ่งตนสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (SDGs) ปัจจุบัน มีเกษตรกรกว่า 5,900 ครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการฯ ช่วยสนับสนุนงานที่มีคุณค่าให้กับเกษตรกรไทย โดยบริษัทเป็นผู้ถ่ายทอดให้เกษตรกรมีความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าได้ประสิทธิภาพ มีผลผลิตแน่นอน มีแหล่งรับซื้อผลผลิตในราคาที่ตกลงไว้ล่วงหน้า เกษตรกรสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในการขยายกิจการ ช่วยลดความเสี่ยงให้สามารถดำเนินการผลิตเนื้อสัตว์ได้ต่อเนื่อง ร่วมสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารให้กับคนทั้งประเทศ “ระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งช่วยแก้ปัญหาความยากจนและหนี้สินครัวเรือนของเกษตรกรไทย ลูกหลานของเกษตรกรมีโอกาสทางการศึกษาในระดับสูงมากขึ้น และหลายคนกลับมาสานต่ออาชีพของพ่อแม่ ร่วมพัฒนาให้การผลิตมีความทันสมัยขึ้นโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยการผลิต ก้าวสู่การเป็นเกษตรกรยุค 4.0” สมพรกล่าว โครงการฯ ส่งเสริมให้เกษตรกรยกระดับระบบผลิตอาหารที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานฟาร์มสีเขียว (CPF Green Farm) ไม่เพียงส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยระบบก๊าซชีวภาพ (biogas system)ช่วยจัดการของเสียและนำไปใช้เป็นพลังงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขณะเดียวกัน ฟาร์มเกษตรกรบางพื้นที่ยังแบ่งปันน้ำที่ผ่านการบำบัดได้มาตรฐานแล้วให้กับเพื่อนเกษตรกรที่ทำอาชีพเพาะปลูกในช่วงหน้าแล้ง รวมทั้งถ่ายทอดความรู้ด้านการดำเนินงานที่รับผิดชอบเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน อาทิ การจัดการแรงงานการจัดการสิ่งแวดล้อม การเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น ซีพีเอฟถ่ายทอดองค์ความรู้ และความเชี่ยวชาญต่างๆ ให้แก่เกษตรกรในโครงการฯ เป็นประจำทุกปี ช่วยสนับสนุนการทำปศุสัตว์อย่างยั่งยืน และเกษตรกรสามารถปรับตัวรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้  โดยเฉพาะความเสี่ยงเรื่องโรคระบาด เกษตรกรเตรียมความพร้อมยกระดับระบบการจัดการฟาร์ม และระบบป้องกันโรคที่ดี  ช่วยให้เกษตรกรในโครงการฯ ส่วนใหญ่สามารถป้องกันโรค ASF ได้อย่างมั่นใจ จากความสำเร็จมานานถึง 5 ทศวรรษ องค์กรอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญของบริษัทฯ แบ่งปันความรู้แก่เจ้าหน้าที่เกษตร FAO จากหลายประเทศทั่วโลก และนำสัญญาคอนแทรคฟาร์มมิ่งที่ปรับปรุงให้สอดคล้องกับแนวทางสากลของ UNIDROIT หน่วยงานอิสระทางกฎหมายสากลอันดับ 1 ของโลก มาเป็นต้นแบบให้หลายๆ ประเทศได้นำไปศึกษาและประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศต่อไป

5 ทศวรรษ ซีพีเอฟนำระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่ง สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้เกษตรกรไทย Read More »

ส่งออกไก่ไทยฉลุย 9 แสนตัน ยืนหนึ่งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สากล

นายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า ไทยในฐานะผู้ส่งออกเนื้อไก่รายใหญ่อันดับ 4 ของโลก ให้ความสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่มาโดยตลอด ทั้งการปฏิบัติตามข้อกำหนดทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) ตั้งแต่องค์ประกอบของฟาร์ม เช่น อาหาร น้ำ การจัดการฟาร์ม การจัดการสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) และสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมไก่ให้มีสุขภาพดี ปราศจากยาปฏิชีวนะ ตามมาตรฐานฟาร์มของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวดตลอดห่วงโซ่การผลิต ส่งผลดีต่อเนื้อไก่และเหมาะสมในการนำไปผลิตเป็นอาหารที่ปลอดภัยสำหรับการบริโภค นอกจากนี้ ผู้ส่งออกเนื้อไก่ไทยต้องผ่านการรับรองมาตรฐานฟาร์มที่ดีจากกรมปศุสัตว์ เนื้อไก่ที่นำไปผลิตอาหารต้องมาจากฟาร์มที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมีและชีวภาพ ที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยของไก่ ไม่เลี้ยงไก่หนาแน่นเพื่อให้ไก่อยู่สบาย และสัตว์ต้องได้รับการดูแลอย่างดีตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโรงงานแปรรูปไม่ให้มีการทรมานสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ เป็นต้น สมาคมฯ ตั้งเป้าส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและไก่แปรรูปในปี 2564 รวม 900,000 ตัน มูลค่า 101,000 ล้านบาท ขณะที่กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในปี 2563 ไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับที่ 4 ของโลก รองจากบราซิล สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป โดยไทยมีปริมาณส่งออกสินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 981,089 ตัน มูลค่า 107,828 ล้านบาท “ไทยคุมเข้มมาตรฐานการผลิตและการส่งออกเนื้อไก่ในระดับสูง โดยเฉพาะตลาดหลักของไทย คือ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นตลาดที่มีกฎเกณฑ์ด้านสุขอนามัยสูงมาก (Sanitary and Phytosanitary :SPS) ทั้งมาตรฐานฟาร์มและการปฏิบัติตามหลักสวัสดิภาพสัตว์อย่างเท่าเทียม ซึ่งผู้ส่งออกไทยผ่านการรับรองมาตรฐานตามข้อกำหนดทั้งหมด และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานสากลที่ได้รับมอบหมายจากลูกค้าเสมอ” นายคึกฤทธิ์ กล่าว ผู้ส่งออกไทยยังต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานอย่างต่อเนื่องจากกรมปศุสัตว์ ทั้งมาตรฐานฟาร์มและโรงงาน ให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากลอย่างเคร่งครัด สร้างหลักประกันอาหารปลอดภัยเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภค นายคึกฤทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจาก GAP และหลักสวัสดิภาพสัตว์สากลที่ผู้ส่งออกไทยผ่านมาตรฐานแล้ว ไทยยังคำนึงถึงการใช้ยาปฏิชีวนะด้วยความรับผิดชอบ (Prudent Use of Antibiotics) โดยสัตวแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมกำกับดูแลทั้งสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยภายในฟาร์ม ควบคู่กับการระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ (Bio-security) เพื่อป้องกันโรคระบาดสัตว์ สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคภายใต้หลักการสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ทำให้คนไทยและผู้บริโภคทั่วโลกได้รับประทานเนื้อไก่ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

ส่งออกไก่ไทยฉลุย 9 แสนตัน ยืนหนึ่งมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์สากล Read More »

วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งต่อเนื่อง แนะรัฐเร่งแก้ไขก่อนเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์

สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเผยตัวเลขราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่งสัญญาณเตือนรัฐ เพื่อเตรียมการแก้ไข แต่ไม่คืบ หวั่นกระทบหนักส่งผลขาดแคลนอาหารสัตว์ เหตุสมาชิกหลายรายแบกรับต้นทุนไม่ไหวทยอยลดกำลังการผลิตลง  นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย กล่าวถึง สถานการณ์ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ซึ่งกำลังพุ่งสูงขึ้นอีก ในขณะที่อาหารสัตว์และสินค้าหลายรายการถูกตรึงราคา ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ วันนี้อยู่ที่ 11 บาท/กิโลกรัม และมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง คาดว่าจะสูงไปจนถึงเดือนเมษายน 2565 ซึ่งจะมีผลผลิตข้าวโพดหลังนาออกสู่ตลาด หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ ราคาข้าวโพดจะสูงถึง 12 บาทในเร็วๆนี้ ในขณะที่ข้าวสาลีก็มีราคาทะยานพุ่งสูงถึง 12 บาท/กิโลกรัม จาก 8.91 บาท/กิโลกรัม เป็นผลจากการเกิดสงครามในรัสเซีย กากถั่วเหลืองนำเข้าราคาขยับตัวสูงแตะ 20 บาท/กิโลกรัม จาก 16.51 บาท/กิโลกรัม ส่วนกากถั่วเหลืองที่ซื้อจากโรงสกัดน้ำมันในประเทศอยู่ที่ 21 บาท/กิโลกรัม นอกจากนี้วัตถุดิบตัวอื่นไม่ว่าจะเป็น มันสำปะหลัง ข้าวสาลี แป้งสาลี ข้าวบาร์เลย์ DDGS หรือ น้ำมันปาลม์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ ก็พร้อมใจกันปรับราคาสูงขึ้นอย่างมาก แม้แต่ถ่านหินซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตอาหารสัตว์ก็ปรับราคาสูงขึ้นเป็น 2 เท่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ได้แก่ 1.สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้   2. นโยบายภาครัฐที่ต้องการดูแลราคาพืชอาหารสัตว์ในประเทศ โดยมีการใช้มาตรการที่บิดเบือนกลไกตลาด อาทิ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลีโดยจะต้องรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศ 3 ส่วนก่อนนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน การจำกัดช่วงเวลานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงมาตรการด้านภาษี อาทิ ภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% ซึ่งมาตรการเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นแล้ว เพราะมาตรการประกันรายได้เกษตรกรช่วยดูแลเกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว “สมาคมฯได้นำเสนอข้อมูลแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ให้กระทรวงพาณิชย์รับทราบแล้ว พร้อมทั้งเสนอแนวทางแก้ไขที่กระทรวงทำได้ เช่น การยกเลิกมาตรการในหลายด้าน อาทิ ขอให้พิจารณายกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2%, มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี 3 : 1 ส่วน และเปิดให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO, AFTA ยกเลิกโควต้าภาษีและค่าธรรมเนียมให้สามารถนำเข้ามาได้ในปริมาณขาดแคลน ในปี 2565 เป็นการชั่วคราว แต่ไม่มีความคืบหน้าใด” นายพรศิลป์กล่าว ทั้งนี้ เมื่อปี 2552  ราคากากถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รวมถึงวัตถุดิบตัวอื่นๆ ไม่สูงเท่าวันนี้ แต่รัฐบาลในขณะนั้นได้พิจารณาปรับลดอัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจาก 4% เหลือ 2% ซึ่งช่วยบรรเทาต้นทุนได้ส่วนหนึ่ง ดังนั้น ในวันที่ราคาวัตถุดิบสูงมากเช่นขณะนี้  สมาคมฯ จึงขอวอนรัฐพิจารณามาตรการดังกล่าวโดยเร่งด่วน เพื่อบรรเทาภาระต้นทุนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ เพราะมีสมาชิกหลายรายทนแบกรับต้นทุนต่อไม่ไหว และบางรายมีการปรับลดกำลังการผลิตลงแล้วเพื่อลดภาวะขายขาดทุน สถานการณ์นี้ตอกย้ำว่า ไม่มีใครอยู่รอดได้หากถูกตรึงราคาขายปลายทาง แต่ปล่อยให้ราคาวัตถุดิบต้นทางขึ้นโดยไม่มีการกำกับดูแล และหากไม่มีทางออกในเร็ววันนี้ ไทยอาจจะพบกับวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์ก็เป็นได้ ที่มา : มติชน

วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งต่อเนื่อง แนะรัฐเร่งแก้ไขก่อนเกิดวิกฤตขาดแคลนอาหารสัตว์ Read More »

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่

ศูนย์รวมบริการ สำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบมาที่เดียวครบ สำหรับ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ จบตั้งแต่เริ่มสร้างถึงขาย มาดูกันเลยครับ สำหรับท่านที่มองหา ธุรกิจ เพิ่มเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ หรือว่าต้องการสร้างฟาร์มอยู่แล้วจากธุรกิจเดิมที่มีอยู่ ผมอยากแนะนำ ให้มาอ่าน และลองดูบทความนี้ครับ เราจะได้เห็นว่า ถ้าคุณต้องการทำ ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ตั้งแต่เริ่ม ในมุมของการทำธุรกิจ มันไม่ได้ยาก เพราะเดี๋ยวนี้ มี หน่วยงานที่ช่วย แนะนำ ผู้ที่ต้องการเริ่มเข้ามาในธุรกิจ นี้ หรือว่า ไม่เคยทำมาก่อน แต่มีความสนใจ หรือที่ต้องการจะลงทุน สร้างธุรกิจ ในแบบที่เราไม่เคยทำมาก่อนก็สามารถทำได้ โดยมี CPF Farm Solutions มาเป็นผู้ช่วย และให้คำปรึกษา ในการจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ เรียกว่าครบทุกเรื่องของการสร้าง และจัดการฟาร์ม มีทุกอย่างตั้งแต่ เริ่ม จนถึงหาตลาด และขาย เรียกว่าครบทุกอย่าง สำหรับธุรกิจฟาร์มกันเลยครับ อย่างแรกมารู้จักกันก่อนครับ สำหรับ CPF Farm Solutions จะช่วยอะไรเราได้บ้าง? ต้องบอกเลยครับ ว่า สำหรับ ผู้ที่ทำธุรกิจฟาร์ม หรือไม่ว่าจะธุรกิจใดก็ตาม เมื่อเราเริ่มทำแล้ว ก็ต้องอยากให้ธุรกิจที่เราดูแล เติบโต และต่อเนื่อง ส่วนใหญ่แล้ว จะมี 3 ความต้องการหลักๆ ดังนี้ครับ ต้องการยกระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐาน และมีมาตรฐานในการขาย เพื่อเป็นความเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับทางผู้บริโภค ต้องการหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์ม เพราะเทคโนโลยีจะทำให้ธุรกิจเติบโต และเมื่อเติบโตแล้ว ย่อมมีผลกำไรตามมาครับ ต้องการที่จะนำเทคโนโลยี มาช่วย ให้ธุรกิจที่ทำอยู่ดีขึ้นและถ้าหากเป็นฟาร์ม ก็จะเรียกว่าเป็น Smart Farm ได้ครับ จากความต้องการหลักๆ ข้างต้นเจ้าของธุรกิจ ต้องการให้ธุรกิจที่ดำเนินการอยู่เติบโต ในทุกๆด้าน ไม่ว่า จะเป็น ต้องการให้ฟาร์มมีมาตรฐาน เพื่อเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค แลเมื่อมีมาตรฐานแล้ว ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคแล้ว ฟาร์ม ก็จะสามารถขยายตลาดไปได้ในหลายที่กว่าเดิม ได้พบกับลูกค้าใหม่ๆ ได้พบกับโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ธุรกิจฟาร์มเติบโต มั่นคง และจากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่มีโรคระบาด ทั้งคน และสัตว์ ทาง CPF ได้มีการนำเทคโนโลยี ที่หลากหลาย และก้าวหน้าเข้ามาช่วยเกษตรกร ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการเลี้ยง การดูแล หรือเรื่องอาหารสัตว์ และการให้บริการเรื่องอื่นๆ ที่เป็นการช่วยเกษตรกร เจ้าของฟาร์ม หรือผู้ที่สนใจธุรกิจฟาร์ม นี่เป็นส่วนหนึ่ง ของการสร้าง CFP FARM SOLUTIONS ขึ้นมาเพื่อช่วย ให้คำปรึกษา แนะนำ กับผู้ที่มีธุรกิจ หรือต้องการลงทุนในการสร้าง ฟาร์มขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ โดยมีการแบ่งหมวดหมู่เพื่อให้บริการผู้ที่สนใจดังนี้ บริการด้านไฟฟ้าและวิศวกรรม บริการระบบมาตรฐานฟาร์มและผลิตภันฑ์ บริการจัดการฟาร์ม โรค และการลงทุน บริการให้คำปรึกษาและกำจัดสัตว์พาหะ บริการสรรหาบุคลากร และอบรม ทั้งหมดนี้ จะสามารถบริหารฟาร์ม ได้จากระบบ smart farm โดยระบบจะมีการรายงาน และแจ้งเตือนให้กับเจ้าของฟาร์มได้ ง่ายๆ แค่มีอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี จะมาช่วยใน การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ ได้อย่างไรบ้าง มาดูกันครับ บริการด้านพันธุ์สัตว์ เรามีบริการพันธุ์สัตว์ออนไลน์ สั่งซื้อ เคลม ออนไลน์ได้เลย บริการด้านวิชาการ แนะนำเทคโนโลยี การบริหาร การทำมาตรฐานฟาร์ม ทั้งนี้ ลูกค้า และคู่ค้า ก็จะสามารถเข้าถึงเข้ามูลได้ง่ายที่สุด ทั้งนี้การเข้าถึงข้อมูล และการใช้งานระบบ ลูกค้า สามารถ เข้าสู่ระบบการจัดการฟาร์มได้ง่ายๆ บริการด้านการตลาด นอกจากเรื่องของพันธุ์สัตว์แล้ว การทำมาตรฐานแล้ว ทาง CPF มีระบบบริการรับซื้อคืนด้วยครับ เรียกว่า แนะนำตั้งแต่เริ่มเลี้ยง สอนวิธีเลี้ยง ทำมาตรฐาน และหาที่ขายให้ด้วยเลย ครบและดี สำหรับธุรกิจจริงๆ สำหรับบริการที่เด่นๆ ของ CPF FARM SOLUTIONS ที่อยากแนะนำมีดังนี้ครับ บริการตรวจเช็คระบบไฟฟ้า และประเมินความเสี่ยงในฟาร์ม สำหรับบริการนี้ ลูกค้าจะได้รับ บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้า ภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตาย จากไฟฟ้าดับ และเพิ่มทักษะสอน ให้กับเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลฟาร์ม  ในการตรวจสอบ ระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเอง สามารถใช้ อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญ และมีการประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นด้วยครับ สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/engineer-service บริการแนะนำจัดทำ ระบบมาตรฐานฟาร์ม และการขอมาตรฐานฟาร์ม สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ การบริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม เพื่อใช้ใน การยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มาตรฐานฟาร์ม เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหาร มาตรฐานต่างๆที่ฟาร์มได้รับ จะส่งผลต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค ให้มีความเชื่อมั่น กับธุรกิจฟาร์ม และเป็นการขยายตลาด เพิ่มโอกาสในการส่งสินค้า ไปขายที่ห้างค้าส่ง และค้าปลีกต่อไป สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service บริการจัดการฟาร์ม และโรค หรือ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ สำหรับส่วนนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ กับการบริหารฟาร์มเลยครับ เพราะว่าจากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบัน การให้ความสนใจเรื่องการจัดการโรค ป้องกันและควบคุมโรค จะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ฟาร์มอยู่รอดเลยครับ ทั้งนี้ในส่วนนี้ จะให้การบริการ และ ให้คำปรึกษาแบบ ครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและ การจัดการฟาร์ม โดยการนำ เทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การ เลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ระบบการป้องกันโรค จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และใช้เทคโนโลยี เข้ามาดูแลตลอด 24 ชั่วโมง สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ : https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/manage-farm-service วีดีโอแนะนำ ai farm lab ได้เห็นแบบนี้ แล้ว น่าจะทำให้ใครก็ตามที่ต้องการ ทำธุรกิฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็คง สบายใจ และลองเข้าไปดู เว็บไซต์ หรือรับคำปรึกษาและ บริการได้เลยครับที่ http://www.cpffarmsolutions.com

แนะนำ CPF Farm Solutions ผู้ช่วยแนะนำ การจัดการฟาร์มรูปแบบใหม่ Read More »

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมีดูเรื่อง ของ  โรค ASF หรือโรค ไวรัส ในหมู ที่ตอนนี้กำลังเกิดขึ้น ในที่ต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการ ป้องกัน โรค ASF ในฟาร์ม เจ้าของฟาร์มต้องทำอย่างไร หรือ ต้องมี ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อย่างไร สำหรับโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แพร่ทางอากาศ แต่สามารถแพร่ระบาดได้ทางไหนบ้าง นอกจากนี้แล้ว เราจะมี วิธีการป้องกันโรค สำหรับฟาร์มของเราได้อย่างไร และหากติดแล้ว ฟาร์มของเรา ต้องมีมาตรการในการป้องกันอย่างไรบ้าง สำหรับการป้องกัน การแพร่ระบาด ฟาร์มต้องมีอะไรบ้าง? อยากรอดต้องมี ห้องอาบน้ำ ตู้ยูวี เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อบ่อดินล้อรถขนส่ง โกดังอาหาร 2 ส่วน มีการแยกอาหารเก่าใหม่ และมีการติดตั้งแสงยูวีเข้าไป มุ้งกันแมลงวัน เพราะเป็นสัตว์พาหะ สามารถติดมากับแมลงวันได้ เช่นแมลงวันไปบินตอม และนำเชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม ซึ่งรัศมีในการหากินของแมลงวันคือ 1-3 กิโลเมตร และเป็นทางแพร่ที่อันตรายมาก และติดต่อได้ง่าย จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เล้าเปิด แนะนำให้ปิดมุ้งไปเลย ให้ครอบคลุม และหากเป็นเล้าปิด ก็ใช้มุ้งคลุมบริเวณที่อาจจะมีแมลงวันเข้ามาได้ เช่นบริเวรพัดลม ทางเดินไล่สุกร บ่อทิ้งซาก นำบาดาล บ่อพักฆ่าเชื้อ รั้วกั้นสัตว์พาหะ ข้อปฏิบัติด้านการป้องกันโรค เล้าเกษตรกร เจ้าหน้าที่ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า ทุกครั้ง เพราะมีการทดสอบแล้วว่า หากมีเชื้อโรคติดมา ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ และต้องการการฆ่าเชื้อที่ห้องน้ำด้วย เพราะ เชื้อที่ติดตัวมาจะอยู่ที่น้ำและที่ห้องน้ำ เมื่อเราอาบน้ำเปลี่ยนชุด ฆ่าเชื้อของใช้ทุกชิ้น ด้วย UV ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคัน ทุกครั้ง กำจัดหนู และแมลง ห้ามน้ำเนื้อสุกรเข้าฟาร์ม คือ อาจจะเป็นการ นำโรคเข้ามาที่ฟาร์มของเราได้ เช่นอหิวา สุกร หรือโรคอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรห้ามน้ำเนื้อสัตว์กีบคู่เข้ามาด้วย เช่นโค กระบือ แพะ แกะ ก็ห้ามด้วยเหมือนกัน แต่ตอนนี้ โรค ASF ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever ซึ่งอันตรายร้ายแรงมาก ทั้งนี้ จากงาน วิจัยเรื่องโรค ASF หากเก็บในตู้เย็น เชื้อจะอยู่ได้ 7-30 วันเลยทีเดียว และยากต่อการกำจัด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูปแล้วด้วยเพราะความร้อนในการประกอบอาหารอาจจะทำให้เชื้อยังคงอยู่ได้ ในการฆ่าเชื้อ ต้องใช้อุณหภูมิ 70 องศาเป็นเวลา 30 นาที ดังนั้นการนำเนื้อสุกรเข้ามาที่ฟาร์ม ก็เหมือนกับการเอาเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มนั้นเอง ห้ามนำเศษอาหารให้กับสุกร ห้าม ขายซาก ขายมูลระหว่างการเลี้ยง จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เหมือนเป็นระบบพื้นฐานที่ทุกฟาร์มต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของฟาร์ม หรือระบบ bio security ของฟาร์มนั้นเองครับนอกจากนี้ การเข้ามาของเชื้อ ASF ที่เคยมีการตรวจเจอ คือมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยไม่รู้ว่า มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ยกตัวอย่าง นักท่องเที่ยวเอาอาหารแปรรูปมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นของฝาก แต่ เมื่อมีการตรวจพบ และห้ามนำเข้า และเอามาตรวจ จึงได้พบกว่า มีเชื่อ ASF อยู่ด้วย เพราะกระบวนการแปรรูป แทบจะไม่สามารถทำอันตรายเชื่อนี้ได้เลย สิ่งที่ตรวจเจอ เช่น หมูแผ่น หมูกรอบ กุญเชียง และอาหารแปรรูปอื่นๆ โรค ASF มีวัคซีน สำหรับป้องกันหรือไม่ สำหรับโรค ASF ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน ในการป้องกันและรักษา ดังนั้นการป้องกันทางชีวภาพ หรือ Bio Security เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะหากเป็นแล้ว ฟาร์มก็จะสูญเสียอย่างมาก จุดวิกฤต ด้านการป้องกัน เล้าเกษตรกร หรือฟาร์มที่มักจะเกิดเหตุ หรือพลาด ทำให้มีปัญหา ห้องอาบน้ำ มีแต่ ไม่ได้ใช้งาน หรืออาบน้ำให้ถูกต้อง มุ้งกันแมลงวัน มีแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงวันได้ หรือ ปล่อยให้แมลงวันเข้าเล้าได้ ประมาณ แค่ 10 ตัว ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดได้แล้ว บ่อทิ้งซาก ที่มีการย้ายซากสุกรเข้าออก ทำให้รถที่มารับ สุกรกลายเป็นที่แพร่เชื้อ 10 มาตรการป้องกันโรคสำคัญ เมื่อโรคเข้ามาแล้ว ทำอย่างไรให้เหลือ อาบน้ำเปลี่ยนชุด ก่อนเข้าเขตฟาร์ม (ห้องอาบน้ำมี 2 ชั้น) รถในห้ามออก รถนอกห้ามเข้าให้มากที่สุด รถที่มาที่ฟาร์ม ล้าง และฆ่าเชื้อให้ทั่วถึง และจอดไว้ 30 นาที ของที่นำเข้าฟาร์มต้องผ่าน ยูวี หรือมีการพ่นฆ่าเชื้อ ป้องกันกำจัดสัตว์พาหา ติดมุ้งกันแมลง ใช้น้ำบาดาล หรือน้ำภายในฟาร์มเท่านั้น กำจัดซากสุกร และจัดการขยะที่ดี พ่นฆ่าเชื้อ หรือโรยปูนขาวรอบฟาร์ม การขายที่ถูกต้อง และมีการแบ่งโซนชัดเจน ให้ความรู้พนักงานและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรค โดนแล้ว ทำยังไงให้เหลือ (เมื่อตรวจเจอแล้ว) รู้เร็ว มีการเก็บตัวอย่างถูกต้อง ตรวจยืนยันรวดเร็ว จัดการเร็ว ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร วางแผนคัดทิ้ง ทำลาย สุกรที่เป็นโรค หรือมีความเสี่ยงสูง จบเร็ว ควบคุมโรคได้ ไม่แพร่กระจายไปยังฟาร์มอื่น ถ้าเจอเหตุแบบนี้ แนะนำให้ตรวจ สุกรที่มีน้ำหนัก น้อยกว่า 50 กิโลกรัม มีอัตราการตาย มากกว่า 1% ต่อวัน สุกรที่มีน้ำหนัก มากกว่า 50 กิโลกรัม ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เก็บต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ ทันที วิธีการดูที่ภาพได้ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็น ทำยังไง Xray 100% เก็บต้วอย่าง Swab หากเราสามารถตรวจได้ครบ ได้เร็ว ก็จะ ทำการแยกกันต่อไป วีดีโอการแนะนำวิธีการตรวจ สามารถดูได้ที่นี่ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38 ถ้าหากฟาร์ม สามารถทำและแยกได้ตามนี้ และรวดเร็ว ก็จะ ลดความเสียหายลง นอกจากนี้แล้วหลังจากที่ขายแล้ว ต้องมีการทำความสะอาด ฟาร์มอย่างดี และมีการตรวจก่อนจะเปิดฟาร์ม สำหรับขั้นตอนการล้างฟาร์มมีดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อน ทิ้งไว้ 1 วัน และฉีดล้างด้วยน้ำเปล่า หรือผงซักฟอก และใช้น้ำแรงดันสูง ล้าง ทิ้งทำลายอุปกรณ์ pad ผ้าม่าน ฉีดล้างด้วยน้ำเปล่ารอบที่ 2 ล้าง ด้วยน้ำรอบที่ 2 พ่นยาฆ่าเชื้ออีกรอบ ตรวจสอบความสะอาด ซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงเรือน Biogas  จุดนี้อุณหภูมิสูง เชื้อจะตาย บ่อน้ำเสีย สูบน้ำให้แห้ง ตากบ่อ โรยปูนขาว พักบ่อ 30 วัน สำหรับขั้นตอนนี้จะทำหลังจากที่เราล้างไปแล้ว เมื่อหมูออกไปหมดแล้วดูด้วยสายตา ว่าสะอาดแล้ว  ให้เราทำการ Swap วันที่ 7 , 14 , 21 , 28 หากมีการล้างไม่มีจะมีการ ตรวจเจอเชื้อ หากเจอเชื้อ ให้ทำขั้นตอนการล้างอีกรอบ ภาพขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำสุกรเข้า เมื่อผ่าน ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ในขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการทดลองนำสุกร มาเลี้ยง ประมาณ 10 % ของเดิม ให้นำหมู เข้ามาเลี้ยง ภายใน 10วัน – 21 วัน จะมีการแสดงอาการ และหากมีอาการอีก ก็ต้องทำแบบเดิมซ้ำอีก ทั้งนี้หากเรา ต้องการเลี้ยงเราก็ต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดครับ นอกจากนี้มีอีก เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือเรื่องของอาหาร เพราะนอกจากเรื่องของสัตว์พาหะแล้ว เราดูแลได้ดี และมีการจัดการได้ดีแล้ว เรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการเจอเชื้อในข้าวโพด และส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ข้าวโพด รำ ปลายข้าว ทั้งนี้สาเหตุ อาจจะมาจากการปลูกใกล้ฟาร์ม หรือในกรณีที่ฟาร์มที่เกิดความเสียหาย ไม่มีหมูแล้ว แต่ยังมีอาหารอยู่ ทำให้ต้องขายอาหารที่เหลือ ซึ่งมีการปนเปื้อนออกมา ทำให้ติดกันหมด ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีการจัดการเรื่องอาหารเอง อาจจะต้องตรวจเชื้อด้วย เพราะไม่ว่า จะมีเชื้อในปริมาณน้อยเพียงใด แต่หากมีหมูติด ก็จะเกิดความเสียหายไปด้วยครับ ทั้งนี้อาหารสัตว์ของเรา จะมีการสุ่มตรวจ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร เอกสารประกอบ และวีดีโอแนะนำการ swap สามารถ โหลดได้ที่นี่ครับ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม Read More »

เปิดความจริง!! วงในคนเลี้ยงหมู

กระแสของราคาหมูแพงจากโรคระบาดสัตว์ที่หลายฝ่ายมองว่า เกิดจากการปิดข่าวของภาครัฐซึ่งเพิกเฉยและไม่ยอมรับว่ามันคือ ASF หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร จนทำให้บานปลายกระทบปริมาณซัพพลายหมูในประเทศ ส่งผลให้เกิดภาวะหมูไม่พอต่อความต้องการและมีราคาสูงขึ้นตามหลักอุปสงค์อุปทาน ความเสียหายดังกล่าว ทำให้ไทยต้องสูญเสียเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไปแล้วกว่า 50% แม้แต่ฟาร์มรายใหญ่ก็ได้รับความเสียหายเช่นกัน เพียงแต่ด้วยระบบป้องกันโรคที่เคร่งครัดเข้มงวด จึงทำให้ยังสามารถรักษาปริมาณหมูของฟาร์มไว้ได้ ต้องเรียกว่าคนในแวดวงหมูเจ็บตัวกันทุกคน อันที่จริงทุกคนในแวดวงผู้เลี้ยง ต่างก็ตระหนักและกังวลถึงโรคดังกล่าวตั้งแต่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน มีการศึกษาหาความรู้และแนวทางป้องกัน ผมได้เห็นคนในวงการนี้ช่วยกันคนละไม้ละมือ ทั้งภาครัฐ นักวิชาการ ผู้ประกอบการ สมาคม เจ้าของธุรกิจ ฯลฯ ต่างร่วมแบ่งปันแนวทางและมาตรการต่างๆ กันอย่างเต็มที่ รายใหญ่หน่อยก็ลงแรงเยอะหน่อย รายกลาง รายเล็กก็ลดหลั่นกันลงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่ใหญ่ของวงการที่เดินสายยี่สิบจังหวัดทั่วภาคอีสาน ให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่เกษตรกรโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นเกษตรกรลูกเล้าของบริษัทอื่นหรือไม่ ที่สำคัญ ผมยังได้เห็นการเสียสละลงขันกันนับร้อยล้าน จากพี่ใหญ่ พี่รอง และฟาร์มแทบทุกฟาร์มในวงการ เพื่อช่วยเหลือเพื่อนร่วมอาชีพที่เจอโรคระบาดก่อนใคร โดยไม่รอเงินเยียวยาจากภาครัฐ มีแม้กระทั่งเฮียเจ้าของฟาร์มหมูในต่างจังหวัดที่ข้ามแดนไปเยียวยาเกษตรกรในประเทศ สปป.ลาว และกัมพูชา เพื่อตัดตอนไม่ให้โรคระบาดข้ามแดนมาบ้านเรา ผมจึงไม่สบายใจนักที่คนนอกวงการมองว่ารัฐปิดข่าวเพราะห่วงการส่งออกหมูซึ่งเป็นแนวคิดที่ผิดมหันต์ และจะทำให้เกิดการเสียกำลังใจกัน ทั้งๆที่การประกาศข่าวหรือปิดข่าวไม่ใช่เรื่องของภาคเอกชนแต่เป็นเรื่องของภาครัฐ 100% ในช่วงเวลาปกติ สินค้าเนื้อหมูเป็นสินค้าที่บริโภคกันในประเทศถึง 99% เนื่องจากไทยยังมีโรคปากเท้าเปื่อยในสุกรทำให้ส่งออกหมูดิบไม่ได้ จะส่งออกได้บ้างก็ต้องทำเป็นอาหารปรุงสุกซึ่งก็แค่ 1% ส่วนในช่วงเวลาที่หมูในประเทศมีราคาตกต่ำและหมูเพื่อนบ้านแพงมาก ก็จะมีโบรคเกอร์มาซื้อหมูมีชีวิตของไทยข้ามไปชายแดน ซึ่งก็เกิดขึ้นแค่ช่วงที่เพื่อนบ้านเจอ ASF และไม่ได้กระทบปริมาณหมูที่กินกันในบ้านเรา ดังนั้น การเข้าใจผิดว่ารัฐปิดข่าวเพื่อเอื้อส่งออกจึงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมาก ส่วนที่สื่อบางสื่อระบุว่าในปีที่แล้วมีการส่งออกหมูไปเมียนมาเพิ่มขึ้นกว่า 300% คิดเป็นมูลค่า 60 ล้านบาทนั้น เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าหมูที่ซื้อขายกันในประเทศ ไม่มีนัยยะที่จะต้องให้ความสำคัญเลย มาตรการรัฐที่ออกมาอ้างว่าห้ามส่งออกจึงเป็นมาตรการที่แทบไม่มีผลอะไร แต่สิ่งที่ควรทำคือการส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงรายย่อยและรายกลาง กลับมาผลิตหมูป้อนคนไทยให้เร็วที่สุด มาตรการสินเชื่อของ ธกส. ที่ออกมา รัฐได้พิจารณาอัตราดอกเบี้ยแล้วหรือไม่ สามารถสนับสนุนให้เขาสร้างฟาร์มไร้ดอกได้หรือเปล่า ทั้งยังการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอีก มีแนวทางและงบประมาณอย่างไร ทุ่มทุนวิจัยและส่งเสริมอย่างจริงจังขนาดไหน การจำกัดเฉพาะศูนย์วิจัยของรัฐคงไม่พอแต่ต้องเปิดกว้างที่สุด เพราะยังไม่มีประเทศใดในโลกนี้ที่คิดค้นวัคซีนตัวนี้สำเร็จ โปรดอย่าให้เป็นเพียงวาทกรรมเพื่อบรรจุลงในมาตรการเท่านั้น อาชีพใครๆก็รัก ธุรกิจใครๆก็ต้องการรักษา ประเทศใครๆก็ต้องการเห็นความเจริญก้าวหน้า เมื่อบ้านเกิดไฟไหม้ สิ่งแรกที่ต้องทำคือดับไฟ ไม่ใช่การหาแพะหรือคนผิด ซึ่งสามารถรอให้ไฟดับแล้วค่อยไปสอบสวนสืบสวนกันต่อได้ ดังนั้น ในฐานะคนแวดวงนี้ จึงอยากขอให้ทุกคนหันมาร่วมกันฟื้นฟู ดีกว่าด่าทอกันซึ่งไม่เกิดประโยชน์ และที่สำคัญ ภาครัฐต้องหาวิธีดับไฟอย่างจริงใจและลงรายละเอียดอย่างระมัดระวัง ที่สำคัญ หวังว่ารัฐจะไม่แก้ปัญหาลวกๆ ด้วยการนำเข้าหมูต่างชาติ ย้อนแย้งกับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรกลับสู่อาชีพ เพราะจะทำให้ไม่มีเกษตรกรกล้าลงหมูเข้าเลี้ยงอีกเนื่องจากรู้ดีว่าหมูไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับหมูต่างชาติได้ อีกประการหนึ่งที่สัตวแพทย์ประสานเสียงเตือนคือความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารตกค้างและเชื้อโรคอื่นๆ ที่จะเข้ามาทำให้การแก้ปัญหาเรื่องโรคไม่รู้จบ การนำเข้าหมูจะกลายเป็นไฟลูกใหม่ที่พร้อมไหม้บ้านเราเองอีกครั้งในอนาคต ไทยมีจุดเด่นเป็นประเทศผู้ผลิตอาหารของโลก มีผู้คนและภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิตที่ยาวมาก วิกฤตโรคระบาดหมูครั้งนี้ทำให้เกษตรกรหายไปจำนวนมากแล้ว รัฐต้องเร่งฟื้นฟูพวกเขาให้กลับมา ไม่ใช่ฆ่าตัดตอนคนเลี้ยงหมูที่ยังเหลืออยู่ ให้มันจะกลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต จนเกษตรกรพืชไร่และทุกภาคส่วนในห่วงโซ่การผลิต รวมถึงผู้บริโภคต้องได้รับผลกระทบกันไปทั้งหมด CR: สยามรัฐ

เปิดความจริง!! วงในคนเลี้ยงหมู Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)