Logo-CPF-small-65png

มาตรฐานฟาร์ม

Health Certificate ไข่ไก่ส่งออก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 ปัจจุบันประเด็นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มีบทบาท มากขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศได้กำหนดให้เป็นกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากอันตราย ที่มาจากอาหาร (Food Hazard) ผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกสินค้า มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า ซึ่งหลายประเทศต้องการเอกสารจากผู้ส่งออก เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้า ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออก ต้องติดต่อหน่วยงานที่ออก ใบรับรอง สุขอนามัย (Health Certifcate) ซึ่งเป็นเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยของสินค้าและใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการผลิตภายใต้มาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิต (Good Manufacturing Practice หรือ GMP ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้ามากขึ้น ทั้งนี้ส่วนของ มาตรฐาน Health Certificate มีการแบ่ง ประเภทออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้ ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ใบรับรองสุขอนามัยแบบทั้งระบบการผลิต (Whole Product System) ใบรับรองสุขอนามัยแบบแต่ละรุ่นการผลิต (Lot by Lot) ใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ทำไมเราต้อง ขอใบรับรอง สุขอนามัย การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ออกนอกราชอาณาจักร สามารถดำเนินการส่งออกได้โดยไม่มี ข้อกำหนด หรือเป็นมาตรการสมัครใจ ไม่เป็นข้อบังคับจากประเทศไทย ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศปลายทาง หรือความต้องการของคู่ค้าเป็นหลัก ที่ต้องการให้ผู้ส่งออกมีมาตรฐานใดบ้างสำหรับการส่งออก ถึงจะเป็นที่ยอมรับสำหรับประเทศ ปลายทาง หรือประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเรา ทั้งนี้ในส่วนของประเภทต่างๆ ที่เจ้าของฟาร์ม ที่ต้องการส่งออก สินค้า ต้องทำมาตรฐาน แตกต่างกันไปตาม แต่ละสินค้า หรือ ต่างกันตาม ความต้องการ และมาตรฐานที่ประเทศปลายทางยอมรับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก สำหรับฟาร์มที่ต้องการปรึกษาเรื่องการทำ ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก หรือเพิ่งเริ่มต้น ขยายตลาดวางแผนการส่งออก สินค้า และผลิตภัณฑ์ ของฟาร์ม สามารถ เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ที่ผมใส่ไว้ให้ครับ สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องคำแนะนำจากผู้เชียวชาญ แนะนำ กรอกฟอร์ม ให้ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ เพราะแต่ละกลุ่มประเทศ มีความต้องการ ที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อกำหนด และข้อมูลส่วนของ มาตรฐานฟาร์มแบบต่างๆ ก็จะต่างกัน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่ม หรือเริ่มแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทาง และเริ่มขยายตลาดของคุณได้ทันที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 Read More »

แนะนำ ปศุสัตว์ OK เจ้าของฟาร์มได้ประโยชน์อย่างไร

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 ปศุสัตว์ OK คือ การรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาขาย ต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน เชือดที่ โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย และขายในสถานที่จำหน่ายที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาขายได้ สำหรับมาตรฐานนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ สถานที่ในการจัดจำหน่าย และขั้นตอนของการ นำผลิตภัณฑ์ มาจำหน่ายครับ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของ เนื้อสัตว์ ที่นำมาจำหน่าย เลี้ยงที่ไหน เชือดที่ไหน และมีกระบวนการอย่างไร สามารถตรวจสอบได้ครับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ปศุสัตว์ OK ประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ เนื้อสัตว์ ที่ได้รับการผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน GAP ปลอดภัยจากสารตกค้าง เนื้อสัตว์ที่ได้ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ ที่ถูกต้องได้รับอนุญาตตามกฏหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สถานที่จัดจำหน่าย สะอาดถูกต้อง ผู้ขายได้ประโยชน์อะไร ถ้าเข้าร่วม โครงการ ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจะเลือกจากสินค้าที่ได้มาตรฐาน และหากมีการรับรองจากกรมปศุสัตว์ แล้ว ลูกค้าหรือผู้บริโภค ก็จะตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะเลือกซื้อสินค้า ที่ต้องการ เพราะสินค้าได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบ ได้ อีกทั้งเป็นการ ยกระดับมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือให้กับสถนที่จำหน่ายด้วย สินค้าอะไรบ้างที่ ให้การรับรอง สำหรับ สินค้าที่ได้รับการรับรอง มีดังนี้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อโค และไข่สด จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดเป็นสินค้า หรือเป็นส่วนของ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ทั้งหมดครับ เพราะจะเน้นในส่วนของ ผู้ประกอบการ หรือ ผู้จำหน่าย ที่ต้องการนำไปจำหน่าย ครับ ขั้นตอนการขอรับรอง สำหรับ ผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคำขอรับการตรวจ ประเมินได้ที่ สำนักงานบศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเข้าตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจ ประเมินก็จะได้รับใบรับรองสถานที่จำหน่าย พร้อมทั้ง ป้ายตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ เจ้าของกิจการที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับ สัญญาลักษณ์ จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็น เพื่อเป็นการ เพิ่มความมั่นใจ ให้ผู้บริโภค สำหรับปีต่อไป กรมปศุสัตว์จะมีการดำเนินการ ตรวจติดตามสถานที่จำหน่ายที่ได้รับการรับรอง โดยมีการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสถานที่จำหน่าย ที่ได้รับตราสัญญลักษณ์ ได้มีการรักษามาตรฐานการรับรองตลอดอายุการรับรอง นอกจากนี้ยังมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารตกค้าง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ และสารเร่งเนื้อแดง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 Read More »

มาตรฐาน halal ข้อกำหนด และหลักการปฏิบัติ

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา และ แนะนำได้ ตอนที่ 4   ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับ ความนิยม และได้รับความสนใจ อย่างมากจากสังคมไทย และทั่วโลก เพราะไม่ใช่ แค่ชาวมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่รวมถึง ชาวมุสลิม ทั่วโลก ก็ต้องการอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานฮาลาล จำหน่ายแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม ทั้งใน และต่าง ประเทศ ทั้งนี้ผู้ผลิต ก็ต้อง ปฏิบัติและดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดย ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้ มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและ ได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและอนุญาตให้ใช้ (อ้างอิง :  http://halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/th/general/91-halal-content/89-halal-standard-content-th) GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HALAL (ฮาลาล) คืออะไร? “ฮาลาล” Halal เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น อาหารฮาลาล  คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ อาหารฮาลาล (Halal Food) จำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิม ก็สามารถ บริโภคได้เช่นกัน สำหรับ อาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม อย่างเคร่งครัด ปราศจากสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหาร ทั้งนี้ ในการแปลรูป ตั้งแต่การผลิต จะต้องถูกต้องตาม มาตรฐาน Halal  ทั้งนี้ บางส่วนของ มาตรฐานที่กำหนด ก็มีดังนี้ครับ หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้เชือด ต้องนับถือศาสนาอิสลาม สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม สัตว์ที่เชือด ต้องไม่ปะปนสัตว์ ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง และทุกขั้นตอนการเชือด ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์ ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้ ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Halal สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ มาตรฐาน ฮาลาล แห่งชาติ  ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม Halal สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก  

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4 Read More »

มาตรฐาน HACCP ฟาร์ม คืออะไร

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3   สำหรับมาตรฐานที่ 3 ที่เราจะได้รู้จักกัน คือมาตรฐาน HACCP ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มครับ สำหรับมาตรฐานนี้จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ  ความปลอดภัยอาหาร การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในฟาร์มผลิตที่ปลอดภัย GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HACCP อ่านว่า แฮซเซป เป็นตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ ที่ว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์อันตราย และจุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอนการผลิต หรือขั้นตอนการเลี้ยงครับ นอกจากนี้คำเรียกที่เรา อาจจะได้ยิน บ่อยๆ ว่า เอช เอ ซี ซี พี ตามที่เราได้เคยได้ยินครับ ก็เป็นอันเดียวกัน ครับ สามารถเข้าใจได้ ^^ มาตรฐานฟาร์ม HACCP สำหรับฟาร์ม เป็นระบบการจัดการสุขอนามัยที่ใช้ในฟาร์ม ซึ่งผสานรวม หลักการของ “ระบบ HACCP” แต่ว่าวิธีการจัดการสุขอนามัย ที่ปฏิบัติในฟาร์ปศุสัตว์จะแตกต่างกัน กับโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ได้รับ มาตรฐานการรับรอง HACCP เพราะเป็นคนละรูปแบบกัน  สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จึงนำเสนอมาตรฐานสำหรับการสร้างระบบการจัดการ สุขอนามัยที่เหมาะสมและการดำเนินการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการผลิต สัตว์และผลิตภัณฑ์ สัตว์ปลอดภัยด้วยการตระหนักถึงลักษณะเฉพาะ ของฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ มาตรฐานการรับรอง HACCP สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความร่วมมือ และการสื่อสารร่วมกัน เพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการสร้างมาตรฐาน เข้าใจความสอดคล้องกับความสำคัญสูงสุดที่ว่า ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่อง “ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะ อาหาร” ธุรกิจทั้งหมดในห่วงโซ่อาหารจะทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ ปลอดภัยของอาหาร HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์มุ่งเน้นว่าการสื่อสารร่วมกันจะต้องได้รับ การปฏิบัติอย่างจริงจังที่สุด 2. การวางแผน HACCP และการจัดการสุขอนามัยทั่วไป HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จะดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (HA) ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการผลิต รวมถึงวัตฤดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต สิ่งอำนวยความสะดวก และวิธีการทำงาน จากนั้น จะกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (CCP) สำหรับการจัดการแบบเข้มข้น นอกจากนี้ยังจัดการกับอันตรายที่ สามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการสุขอนามัยทั่วไปผ่านสิ่งที่เรียกว่าโครงการจัดการสุขอนามัยทั่วไป 3. กลไกสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง HACCP สำหรับฟาร์มปศสัตว์มุ่งปรับปรุงความปลอดภัยของปศสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภาพโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบความ ถูกต้อง และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4. การนำไปใช้กับฟาร์มทุกแห่ง HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์สามารถใช้ได้กับฟาร์ปศุสัตว์ทุกแห่งไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใดก็ ตาม แม้แต่ฟาร์มขนาดเล็กที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัวก็สามารถสร้างระบบ HACCP ได้ด้วยความ ช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระบบ HACCP ภายนอก สัตวแพทย์ CPF Farm solitions และองค์กรที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HACCP สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม HACCP ว่าสำหรับฟาร์มของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3 Read More »

มาตรฐาo GHP

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 ส่วนของ มารตรฐานที่ 2 ของ ฟาร์ม คือมาตรฐาน GHP สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องการแนวทาง และคำปรึกษา เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษา ดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ GHP  คืออะไร GHP (Good Hygiene Practice) คือหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนด ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิต และควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ทั้งในส่วนของโรงาน ฟาร์ม และ ทุกส่วนที่เกี่ยวจ้อง ที่จะทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร โดยเน้นการป้องกัน และขจัดความเสี่ยง ที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ และเลือกซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานดังกล่าว หลักการของระบบ GHP Codex สำหรับ หลักการจัดการ และการดูแลของ มาตรฐาน GHP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตอาหาร ที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด และปลอดภัย ไม่เป็นพิษ ในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points) ประโยชน์ของระบบ มาตรฐานฟาร์ม GHP  เมื่อเราได้รับ มาตรฐาน ระบบ GHP จะทำให้เราส่งมอบสินค้า ที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานกำหนด เพราะมีการควบคุม และดูแลเรื่องความสะอาด ของโรงงานที่ผลิต ไม่มีการปนเปื้อน และเป็นการลดความผิดผลาด ที่อาจจะเกิดขี้น จากขั้นตอนการผลิด ที่อาจจะมีการส่งผลกระทบต่อ สินค้า และผลิตภันฑ์ได้ เกณฑ์มาตรฐานของ  GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) โดยครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของสถานที่ผลิต วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ สุขอนามัยในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค เรียกว่า ตั้งแต่การผลิด จนถึงการส่งมอบเลยครับ มาตรฐาน GPH ต่างจาก GMP เนื่องจากมีความเข้มงวดน้อยกว่า ในเรื่องของการบริการ การจัดการเอกสาร และรายงานต่างๆ ดังนั้นแล้วโรงงานที่ ได้รับความน่าเชื่อถือกว่า ก็จะทำ มาตรฐาน GMP เพราหากได้มาตรฐาน GMP แล้วการได้มาตรฐาน GPH ก็จะทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร นอกจานี้ การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไปโดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมายแต่อย่างใด สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 Read More »

ให้คำปรึกษามาตรฐานGAPฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม GAP  คืออะไร ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ 3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก  มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน 2. การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์ มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง 3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม Read More »

แนะนำ ระบบ iot smart farm เพื่อการป้องกันโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค จากบทความก่อนหน้านี้ ที่ได้แนะนำเรื่องระบบการป้องกันโรค ของฟาร์มไปแล้ว ท่านที่สนใจ สามารถดูเพิ่มเติมได้ตาม ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ  และสำหรับบทความนี้ ผมจะแนะนำ เทคโนโลยีในการป้องกัน โรคระบาด ที่ผสมผสานกันของ ระบบ iot smart farm ที่นำมาใช้กับฟาร์ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ได้ ก็สามารถ เข้าถึงการป้องกันโรคเชิงรุกได้ จากทุกที่ เพราะนอกจาก การเกิดโรคระบาดในสัตว์ แล้ว ก็ยังมี โรคระบาด ของคนด้วย คือ โควิด19 ที่ทำให้หลายๆฟาร์ม ไม่เปิดรับคนนอก หรือว่าไม่มีการตรวจเยี่ยมฟาร์ม เพราะกังวลเรื่องโรคติดต่อ ของคน เพิ่มเข้ามาครับ ไม่ต้องกังวล สำหรับเรื่องนี้ เพราะมีการเตรียมรับมือ ไว้เรียบร้อย ทำให้ทุกฟาร์ม ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้าถึง การป้องกัน ได้อย่างทั่วถึง และปลอดภัย ทั้งฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 แก้ปัญหาทั้งโรคระบาด และการเข้าถึงคำแนะนำจากทีม สัตวแพทย์ ได้ทุกที่ วิธีนี้ เป็นการปิดช่องว่าง ของการบริการ ที่เจ้าของฟาร์มจะได้รับจาก ระบบ ในช่วงที่มีโรคระบาด ทั้งในคน และในสัตว์ ได้อย่างดี ระบบนี้ ทำให้ผู้ชำนาญการ ทีมสัตวแพทย์ และทีมสนับสนุนอื่นๆ สามารถไปตรวจฟาร์มได้ จากบุคลากรของฟาร์มเอง ไม่เสี่ยงเรื่องการแพร่กระจายของโรคระบาด ทั้งนี้ สัตวแพทย์ จะสามารถตรวจฟาร์ม เพื่อลดความเสี่ยงด้านโรคระบาด ตามเช็คลิสต์มาตรการป้องกัน และแนะนำได้อย่างถูกต้องเหมือนเข้าไปตรวจฟาร์มเอง ด้วย กล้องที่อยู่กับเจ้าหน้าที่ฟาร์มที่เดินสำรวจ และสามารถสือสารกันได้ตลอดเวลา นอกจากภาพที่เห็นในการตรวจฟาร์ม แล้ว ฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ ไอฟาร์ม ควบคู่กับ iot smart farm จะทำให้สัตวแพย์ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ของฟาร์ม ผ่านระบบ ได้อีกทาง ทำให้วิเคราะห์ และสามารถแนะนำวิธีการ แก้ปัญหา ได้อย่างแม่นยำขึ้นอีกด้วย วิธีการนี้ จะทำให้ เข้าถึงฟาร์มได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องมีการกักโรค เพราะคนที่เข้าไปเดิน ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ ของฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ ที่เข้าไปตรวจ พื้นที่ หลักๆ  3 พื้นที่ด้วยกันดังนี้ พื้นที่หน้าฟาร์ม ส่วนการติดต่อ ของผู้ที่มาติดต่อกับฟาร์ม ส่วนของสำนักงาน พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ พื้นทีเล้าขาย ที่ต้องมีการติดต่อบุคคลภายนอก สำหรับระบบนี้ จะแน้นการตรวจเพื่อการป้องกันโรค ควบคู่กับระบ IA ที่มีการแจ้งเตือนต่างๆ เพื่อเน้นการป้องกันโรคเป็นหลัก และนอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยี ในการจัดการฟาร์มที่ใช้งานอยู่ ของผู้ที่สนใจเข้าร่วม หรือเข้าร่วมอยู่แล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงคลังความรู้ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อการพัฒนาฟาร์มของเราได้อีกด้วย ป้องกัน แนะนำ และพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยระบบ ฟาร์มที่ ใช้งานระบบ ไอ ฟาร์ม จะได้เข้าถึงความรู้ ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับ คำแนะนำเพื่อการพัฒนาฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความได้เปรียบในทางธุรกิจ และทำให้สามารถ แข่งขันในตลาดได้อย่างดีอีกด้วย จากระบบที่ ช่วยเหลือการป้องกันโรค มาสู่ระบบ ที่ทำให้เจ้าของฟาร์ม ผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคต่างๆ เพื่อการบริหารฟาร์ม พัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยง จากทุกที่ ได้ตลอดเวลา  ระบบนี้จะทำให้ฟาร์มของเรา มีแนวทางใหม่ๆ และข้อมูลในการป้องกัน และพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ทั้งนี้ หากข้อมูลเป็นข้อมูลเฉพาะของฟาร์มนั้นๆ ก็จะมีแต่เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม นั้นๆ เข้ามารับคำปรึกษา และคำแนะนำจาก ผู้เชียวชาญ เพื่อป้องกันข้อมูลของฟาร์มไม่ออกไปสู่ภายนอกแน่นอนครับ ประโยชน์ ของ ไอ ฟาร์ม ที่มีดี มากกว่าการป้องกันโรค คือสั่งอาหารได้ อย่าเพิ่งขำครับ อ่านไม่ผิด แต่อาหารที่สั่งเป็นอาหารสัตว์ครับ นอกจากการป้องกันโรคแล้ว ยังมีส่วนเสริมที่สำคัญ ที่ช่วยให้เจ้าของฟาร์ม สะดวกสบายเรื่องการสั่งอาหาร หมดปัญหาการสั่งผิด และได้รับอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ ที่เลี้ยงในแต่ละช่วงวัยอีกด้วย  เพราะปกติ ฟาร์ม จะมีการจดบันทึก การให้อาหารและทำการสั่งเมื่อ ใกล้ครบกำหนด เพื่อให้เพียงพอ และเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ หรืออายุสัตว์ ในแต่ละช่วงวัย จากเดิมที่มีการโทร หรือการไลน์ สั่งอาหาร ระบบก็จะมีการอำนวยความสะดวก ด้วยการให้สามารถสั่งออนไลน์ได้ ระบบนี้จะช่วยให้การสั่งอาหาร มีความถูกต้องมากขึ้น และเมื่อมีการใช้งาน และพัฒนาที่มากขึ้น การสั่งอาหาร ออนไลน์ ก็จะแจ้งเตือน ว่า  ณ เวลานี้ ช่วงอายุนี้ อาหารใดที่เหมาะสม และทำให้การเลี้ยงมีประสิทธิภาพมากที่สุดกับเรา เพื่อทำการสั่งต่อไป เรียกว่า การใช้งานระบบ นอกจากง่าย แล้วยังช่วยให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ต้องการปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย แนะนำที่นี่ cpffarmsolutions.com ครบทุกเรื่องการจัดการฟาร์ม ขนาดกลาง- ฟาร์ม ขนาดใหญ่ สำหรับเจ้าของฟาร์มที่ต้องการ คำแนะนำ ต้องการคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งบริการครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้การป้องกันโรค ประสบความสำเร็จ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ไม่เพียงพอ เรามี คนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ และถ้าคุณ ต้องการสร้างธุรกิจฟาร์มมีที่ดิน และเงินทุนในการดำเนินการ แต่ไม่มีผู้แนะนำให้คำปรึกษา หรือต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ต้องการพัฒนามาตรฐานฟาร์ม เพื่อส่งออก หรือส่งขายต่อในห้าง โมเดิร์นเทรด ต้องการพันธุ์สัตว์ หรือเข้าถึงบุคลากรที่ต้องการ CPF Farm Solutions เป็นเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อ ช่วยให้ธุรกิจของคุณ สำเร็จและเป็นจริงได้ ในตอนหน้าเราจะมาดูกันครับ ว่า CPF Farm Solutions สามารถให้คำปรึกษาเรื่องฟาร์ม แบบใดกับเราได้ แล้วพบกันครับ

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค Read More »

แนะนำ มาตรฐานฟาร์มสุกร

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ บทความนี้เรามาดูกันครับ ว่า ถ้าเราต้องการทำให้ฟาร์มของเรามีมาตรฐาน แล้ว มาตรฐานฟาร์มสุกร คืออะไรและมีประโยชน์กับ ฟาร์มของเราอย่างไร บทความนี้ ผมจะแนะนำให้เพื่อนๆ ให้รู้กันครับ ว่า มีมาตรฐานอะไรบ้าง และทำไมเราต้องมี มาตรฐาน ด้วยภาษาง่ายๆ และครบทุก เรื่องที่ควรรู้ ก่อนที่จะทำฟาร์มใหญ่ๆ กันครับ (ระดับ หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป , หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป ) อย่างแรกมาดูกันก่อนครับ ว่า ฟาร์มสุกร หมายถึงอะไร ในที่นี้ ฟาร์มสุกร หรือฟาร์มเลี้ยงหมู ของเราคือ ฟาร์มที่ผลิตสุกรขุนเพื่อการค้า ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกร และฟาร์มเลี้ยงสุกร นั้นเองครับ ง่ายๆเลย และผมขอแบ่งข้อมูลที่เราควรรู้ออกเป็นย่อยๆ ให้เพื่อนๆให้อ่านกันครับ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน ตามที่ผมสรุปมาให้ ในแต่ละส่วน จะมีไฟล์ หรือเอกสารให้โหลดด้วยนะครับ ทั้งนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปที่เว็บนั้นๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร หรือมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงหมู มีไว้เพื่ออะไร ? สำหรับ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ ได้ ยึดถือปฏิบัติ  ให้เป็นแนวทางเดียวกัน  และ เพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ที่เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้ เป็นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้การรับรอง ดังนั้น เพื่อนๆท่านใดที่ต้องการได้ รับการรับรอง หรือ มีมาตรฐาน ก็ต้องดำเนินการตามนี้ครับ การทำให้ฟาร์มของเรา มีมาตรฐาน ตามที่กรมกำหนดไว้ ก็เพื่อให้ฟาร์มของเรา มีการกำหนดวิธีปฏิบัติด้านการจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้สุกรที่ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมกับผู้บริโภค แน่นอนครับ ทำให้สินค้าฟาร์มของเรา ขายง่ายขึ้นด้วย ฟาร์มของเรา ก็ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้ ทำเลที่ตั้ง อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก ง่ายต่อการเดินทาง สะดวกต่อการขนส่งอาหารและการขนย้ายสุกร สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และได้รับการยอมรับจากชุมชน เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ไม่อยู่ใกล้กับฟาร์มสุกรรายอื่น เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม มีพื้นที่รองรับการระบายน้ําใช้แล้วอย่างเพียงพอ ลักษณะของฟาร์ม และเนื้อที่ภายในฟาร์ม การวางผังฟาร์มที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น มีความสำคัญมาก เพราะทำให้ง่ายตอการจัดการ ภายในฟาร์ม พนักงาน ทำงานได้อย่างสะดวก สามารถเลี้ยงหรือผลิตสุกรได้ดี ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำลง การวางผังฟาร์มควรคำนึงถึง เรื่องต่างๆดังนี้ ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ๆเรามีได้มากที่สุด โรงเรือนและพื้นที่ใช้เลี้ยงสุกรของเราต้องเหมาะสมกับจำนวนที่เลี้ยง การจัดวางโรงเรือน แยกเป็นกลุ่มตามระยะการผลิต (ผสม-คลอด-อนุบาล-ขุน) เพื่อความสะดวกในการจัดการ การควบคุม และการขนย้าย อันนี้ถ้าจัดให้ดีแล้ว การทำงานจะราบรื่น คล่องตัว เนื้อที่ของฟาร์ม ต้องมีเนื้อที่ เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม  จำนวนสุกร  ขนาดโรงเรือน ในส่วนต่างๆ ที่เหมาะสม กับจำนวนและเนื้อที่ครับ ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาว์นโหลด ได้ที่นี่ครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์โหลดฟรี https://www.cpffeed.com/2019/12/22/download-howto/   การจัดแบ่งเนื้อที่ ภายในฟาร์ม ฟาร์มสุกร ต้องมีเนื้อที่เพียงพอเพื่อ การจัดแบ่ง ออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น โรงเรือน ต้องเป็นระเบียบสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ไม่ติดกันจนหนาแน่น จนไม่สามารถจัดการได้ ในการผลิต ที่ต้องให้มีที่ว่าง หรือมีการจัดพื้นที่ทีดี ก็จะมีผลดีกับการดูแลสัตว์ รวมถึงการป้องกันและ ควบคุมโรคสัตว์ และรวมถึง สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานด้วยครับ ในการจัดการเรื่องมาตรฐานฟาร์ม จะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน และต้องมี ผังแสดงการจัดวาง ต่างๆในฟาร์ม เหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวแล้วจะมีแผนที่ในอาคารบอกว่า เราอยู่ตรงไหน และถ้าจะไปที่ไหน ต้องไปยังไง นั้นแหละครับ การเดินทางภายในฟาร์ม เส้นทาง หรือ ถนนในฟาร์ม ควรจะเป็นถนนที่ดี ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ ราบเรียบ เดินทางสะดวก กว้างขวางเหมาะสม เพื่อสะดวกกับการลำเลียง อาหาร ขนส่งสัตว์ และเจ้าหน้าที่  ถ้ามีการวางแผนที่ดีแล้ว จะทำให้ประหยัดเวลาการเดินทาง และง่ายต่อการทำงานภายในฟาร์มครับ ส่วนของอาคารสำหนักงาน และที่อยู่อาศัย ควรเป็นที่เฉพาะ เป็นสัดส่วน แข็งแรง สะอาด ไม่สกปรก และเพียงพอกับเจ้าหน้าที่ ควรแยกห่างจากที่เลี้ยงสัตว์ มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณฟาร์เลี้ยงสุกร ลักษณะของ โรงเรือนที่ดี โรงเรือนที่ดี ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ถูกสุขอนามัย สัตว์อยู่สุขสบาย แนะนำว่าต้องสะอาด แห้ง และต้องสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ปลอดภัยกับการบปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ ในการใช้งานโรงเรีอนต้องมี แนวทางดังนี้ มีการจัดการโรงเรือน และเตรียมความพร้อมก่อนนำสัตว์เข้าสู่โรงเรือน มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเซื้อโรคตามความเหมาะสม ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ การจัดการด้านบุคลากร จำนวนพนักงาน หรือแรงงานที่ต้องใช้ ต้องมีจำนวนพนักงานเพียงพอ เหมาะสมกับจำนวนสัตว์เลี้ยง ต้องมีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดแจน มีการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกปี มีสัตวแพทย์ ควบคุม ดูแลป้องกัน กำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และต้องมีใบอนุญาต การประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์ ฟาร์มต้องมี คู่มือการจัดการฟาร์ม ให้เรียบร้อย ในถานะเจ้าของการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม มีระบบการบันทึก การป้องกันควบคุม โรค และการดูแลสุขภาพ และอนามัย สัตว์ในฟาร์ม ระบบบันทึกข้อมูล ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ดังนี้ บุคลากร แรงงาน ข้อมูลการผลิต ได้แก่ ข้อมูลสัตว์ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการผลิต และข้อมูลผลผลิตการจัดการด้านอาหาร ครบถ้วน คุณภาพอาหารสัตว์ เรื่องของคุณภาพ อาหารสัตว์ ต้องมี แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ ที่เราใช้ในฟาร์มแบ่งออกได้ เป็น 2 อย่าง ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ.2525 ข. ถ้าเราผสมอาหารสัตว์เองต้องมีคุณภาพ อาหารสัตว์เป็นไปตามกำหนด ตามกฎหมาย ตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 สามารถดูรายละเอียดได้ตามลิงก์ ด้านบนครับ ภาชนะบรรจุอาหาร และการขนส่งอาหารภายในฟาร์ม ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือ วัตถุอื่นใดที่อาจเป็น อันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบ ด้วยสารอื่น สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการ ที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและ สารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจ วิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้ การเก็บรักษาอาหารสัตว์ ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษา สภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่าง ของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจาก ฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์มไปสู่ภายนอก การบำบัดโรค การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505 การใช้ยาสำหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540) การจัดการสิ่งแวดล้อม ประเภทของเสีย ของเสียที่เกิดจากฟาร์มปศุสัตว์ จะประกอบด้วย ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้ง ในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซากสุกร ฟาร์มจะต้องมีการจัดการกับซากสุกรให้ถูกสุขลักษณะอนามัย มูลสุกร นำไปทำปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญ ต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด การกำจัดหรือบำบัดของเสีย ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของการจัดการฟาร์ม คู่มือ การจัดการสิ่งแวดล้อมและ มาตรฐานฟาร์มสุกร : http://certify.dld.go.th   แนะนำผู้ช่วย ให้คำปรึกษา และจัดการทุกเรื่องในฟาร์ม เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ดูเหมือนว่า แล้วจะเริ่มที่ไหนดี ถ้าเราต้องการทำ มาตรฐานฟาร์มสุกร แนะนำ ที่นี่ครับ ถ้าคุณ ต้องการที่จะ ต้องการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องการขยายตลาด หรือหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ ยกระดับ มาตรฐานการขายเข้าสู่ Modern trade และส่งออกไปต่างประเทศ ปรึกษาได้ที่นี่ครับ  https://www.cpffarmsolutions.com ตอบได้ทุกความต้องการ เป็นคนทันสมัย อยากทำ Smart Farm ต้องการ หาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ มีผลการเลี้ยงไม่ดี มีปัญหาความเสียหาย และ ยังแก้ไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ มืออาชีพ ที่มี หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป หรือ หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป มีเล้า 10 หลังขึ้นไป (650-700 ตัว) แน่นอนว่า ไม่ได้มีแค่การจัดการฟาร์อย่างเดียว แต่รวมไปถึง ให้คำแนะนำ ปรึกษา เรื่องเจ้าหน้าที่ และกำลังคน การกำจัดสัตว์พาหะ การดูแลด้านไฟฟ้าและ วิศวกรรม เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564  

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 Read More »

มาตรฐานฟาร์ม

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร ในฐานะเจ้าของฟาร์ม ขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง หลังจากที่เรา ได้วางแผน เรื่องการสร้างฟาร์ม ขึ้นมาแล้ว มีอะไรบ้างในฐานะที่เราเป็นเจ้าของ และผู้ดูแลต้องรู้บ้าง เพื่อประโยชน์ของฟาร์ม และสัตว์ที่เราเลี้ยง มาทำความเข้าใจกันเลย ว่าทำไมต้องมี มาตรฐานฟาร์ม สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย และเราก็จะ โกอินเตอร์ไปด้วยกันนะ องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลและกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดประเทศ ซึ่งเริ่มมีการบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว จึงมีความตื่นตัวและจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย คือ กรมปศุสัตว์ ได้ออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก และองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ทำให้ใครก็ตาม (รวมถึงเราด้วย ต้องมี มาตรฐาน) เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนด ทั้งในประกเทศแลต่างประเทศ กรณีที่เราต้องส่งออก ถ้ามองในมุมกลับกัน ถ้าเราเป็นผู่บริโภค หรือว่าคนที่ต้องการซื้อหาสินค้า และอาหารที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ หรือสินค้าอื่นๆ เราก็จะมั่นใจได้ว่า อาหาร หรือสินค้า ที่เรากำลังจะเลือกซื้อ ปลอดภัยกับ เราและครอบครัว หรือคนที่เรารักครับ มาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร (GAP) และด้านการผลิตปศุสัตว์ ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญดังนี้ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์ มาดูรายละเอียด มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไปขอเรียกว่า กระทรวง นะครับ ได้มีการ ประกาศเรื่องมาตรฐาน ไว้ 3 เรื่อง คือ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่ หมู โคนม และการผลิดน้ำนมดิบ ในประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขอใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ดำเนินการ ยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐานต่อปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ฟาร์มตั้งอยู่ หลังจากที่เรายื่นแล้ว ก็จะมี เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เข้ามาที่ฟาร์มของเรา และไปทำการตรวจสอบฟาร์มเพื่อดำเนินการต่อไป ทำไม ? ต้องจัดทำมาตรฐานฟาร์ม อย่างแรกก็เพื่อให้ ฟาร์มของเราเป็นที่ยอมรับ และลูกค้าก็จะยอมรับ เพราะว่ามีคุณภาพ อีกทั้งมีมาตรฐานเดียวกันด้วย ง่ายๆคือคนซื้อก็จะได้สบายใจ เป็นการบอกกับผู้บริโภค หรือลูกค้าของเราว่า เขาจะปลอดภัย จากสินค้าและผลิตภันฑ์ จากฟาร์มเรา เราได้รับมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ เช่น มีสินค้าสองชิ้น อีกชิ้นมีรับรอง อีกชิ้น ไม่มีอะไรรับรองเลย ถ้าเราต้องเลือก เราก็จะเลือกอันที่ดูปลอดภัยใช่ไหมครับ ถ้าเราได้มาตรฐานฟาร์มตามที่กำหนด เราจะได้ความสะดวกในการส่งออก เป็นการควบคุมมลภาวะจากฟาร์ม ที่อาจจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ทำให้สามารถควบคุมโรค ป้องกัน และกำจัดโรคได้ ถ้าเราลองทำความเข้าใจ แล้ว หลักๆของการจัดทำ มาตรฐานฟาร์ม ทั้ง 5 ข้อข้างต้นนี้ ก็เพื่อให้ 3 ส่วนที่สำคัญกับ เรา คือ เราเอง ที่เป็นเจ้าของฟาร์ม  ลูกค้า หรือผู้บริโภค และชุมชนรอบเรา ทุกอย่างสนับสนุน และช่วยเหลือกัน ผู้บริโภคก็จะ มั่นใจ กับสินค้า และเจ้าของฟาร์มก็มั่นใจ ในสินค้า และผลิตภันฑ์ ของตัวเองด้วย ในส่วนของชุมชนรอบฟาร์ม ก็จะได้อยู่กันอย่างดี ไม่มีมลภาวะ เรื่องเสียง กลิ่นรบกวน และเรื่องที่สำคัญที่สุด คือการควบคุม และป้องกันโรคในฟาร์ม ไม่ให้มีการติดต่อจากภายนอก หรือจากเราไปสู่ฟาร์มอื่น ส่วนประกอบสำคัญของฟาร์มที่ขอใบรับรองมาตรฐาน มีที่อยู่ชัดเจน และมีการออกแบบฟาร์ม หรือสิ่งก่อสร้าง โรงเรือน ที่เหมาะสม การออกแบบที่ดี จะทำให้เราใช้พื้นที่ได้เหมาะสม และมีประโยชน์ที่สุด ก่อนเข้า ออกฟาร์ม ต้องมีการฆ่าเชื้อโรค หรือมีการป้องกันการแพร่เชื้อจากภายนอก มีการจัดการของเสียจากฟาร์ม ตามหลักสุขาภิบาล ขนาดของโรงเรือน ต้องเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ จัดการเรื่องอาหารสัตว์อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลัก สุขศาสตร์ มีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำคู่มือการจัดการฟาร์ม มีการดูแลเรื่องสุขภาพ โปรแกรม การให้วัคซีนป้องกันโรค และการให้ยำรักษาเมื่อสัตว์เป็นโรค มีการจัดการส่วนของบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ และมีสวัสดิการสังคม และการตรวจสุขภาพประจำปีให้บุคลากร ถ้าฟาร์มของเรามี มาตรฐาน แล้วจะมีประโยชน์อย่างไร สำหรับเจ้าของฟาร์มแล้ว ถ้าฟาร์มของเรามีมาตรฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีประโยชน์หลายอย่างกับฟาร์ม มากๆเลยครับ เพราะว่า เมื่อเราทำตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย การควบคุมโรค การดูแล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม รวมไปถึงสัตว์ ที่เราเลียงอย่างดีแล้ว ฟาร์มของเราก็จะได้ประโยชน์ดังนี้ กรณีที่เป็นฟาร์ม โคนม และสุกร สามารถ ทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้า หรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดได้ โดยต้องปฏิบัติตาม ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร ฟาร์มของเราจะได้รับการจัดสรร วัคซีนป้องกันโรค ปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกรให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอ ตามปริมาณสุกรของฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน เพราะจากบันทึก และการแจ้งจำนวนสัตว์ของฟาร์มที่ได้ทำการแจ้งไว้ ฟาร์มของเราจะได้รับ บริการ การทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคในโคนม โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และนอกจากนี้แล้ว กรมปศุสัตว์จะให้บริการตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน ประโยชน์เยอะใช่ไหมครับ ในฐานะเจ้าของฟาร์ม การที่จะทำให้ฟาร์มของเราได้มาตรฐาน เป็นเรื่องสำคัญ และดีกับฟาร์มของเรา ดีกับลูกค้า และสังคมรอบโรงงานเราด้วย แล้วเราจะเริ่มขั้นตอนการทำ หรือการจัดการมาตรฐานต่างๆ ได้อย่างไร เอกสารต่างๆ สามารถเข้าดูได้จากที่นี่ http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-05-01-14-47-42/2016-05-03-02-04-15 จะมีเอกสาร และเช็คลิสต์ว่าต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนและวิธีการ เดี๋ยวครับ อย่างเพิ่มถอดใจ หรือว่า ดูว่าขั้นตอนและเอกสาร มีเยอะและซับซ้อน  ผมจะบอกว่า จริงๆ แล้ว มีผู้ช่วย หรือมืออาชีพที่คอยดูแล และจัดการครบทุกอย่างของเรื่องฟาร์มไว้ในที่เดียว เหมือนว่าเป็นพี่เลี้ยงให้ ในตอนที่เราเริ่มสร้าง ดีกว่าที่มีคนที่เราปรึกษาได้ เป็นมืออาชีพ และช่วยเหลือ ที่เหลืออย่างเดียว คือความมุ่งมั่น ที่จะทำให้ฟาร์ม หรือธุรกิจที่คุณต้องการเริ่มสำเร็จ ที่นี่เป็นเพื่อน เป็นคู่คิด และเป็นมืออาชีพ เข้ามาหา ปรึกษา ขอคำแนะนำ ได้ที่นี่ครับ https://www.cpffarmsolutions.com และเข้ามาที่เมนู บริการลูกค้าอาหารสัตว์ > บริการระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภันฑ์ เข้าโดยตรงได้จากลิงก์นี้ https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service ที่นี่มีมืออาชีพ ที่อยู่ในธุรกิจ มามากว่า 20 ปี เชียวชาญในทุกเรื่องฟาร์ม เช่น บริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม หรือโรงงานของลูกค้าอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เพื่อใช้ในการยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานฟาร์ม GAPระบบมาตรฐานและความปลอดภัยฟาร์ม (GAP/ SHE) และ ระบบมาตรฐานและความปลอดภัยโรงงาน (GHP/ HACCP/ HALAL/ SHE/ ISO 9001) เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหารส่งต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)