Logo-CPF-small-65png

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทยบริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาผู้เลี้ยงโคนมไทย “โครงการสี่ประสาน สร้างความยั่งยืนโคนมไทย” มุ่งเป้าพัฒนาฟาร์มต้นน้ำโคนมไทย พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ให้กับทั้งสหกรณ์โคนม-ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และเกษตรกรโคนม ดันมาตรฐานการจัดการโคนม ได้น้ำนมคุณภาพสูง สร้างผลกำไรสูงสุด เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรโคนมสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน​นายสุชาติ จริยาเลิศศักดิ์ รองผู้อำนวยการ ทำการแทนผู้อำนวยการ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) เปิดเผยว่า อ.ส.ค. มีภารกิจที่ต้องการยกระดับความสามารถเกษตรกรโคนมไทยให้ดำรงอาชีพอย่างมั่นคงและยั่งยืน ดังนั้นการที่มีภาคเอกชนมาร่วมมือเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย จึงเป็นเรื่องน่ายินดี โดยเฉพาะความร่วมมือจาก ซีพีเอฟ ที่เป็นผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมและอาหาร ที่มุ่งพัฒนาอาหารสัตว์บกคุณภาพสูงเพื่อเกษตรกรมาโดยตลอด ขณะที่ อ.ส.ค. เป็นผู้นำด้านการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนม เป็นผู้รับซื้อและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมคุณภาพ การผนึกกำลังอย่างเข้มแข็งทำให้มีผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการที่น่าพอใจ“โครงการนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือที่จะส่งผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และอุตสาหกรรมนมไทย โดยที่ผ่านมามี 5 ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ที่ได้ร่วมมือกับซีพีเอฟในการพัฒนาตลอดกระบวนการผลิตน้ำนมให้มีมาตรฐาน ส่งผลให้ตัวชี้วัดด้านคุณภาพและประสิทธิภาพมีค่าเฉลี่ยที่ดีขึ้น ทั้งค่าองค์ประกอบน้ำนม ผลผลิต ประสิทธิภาพการเลี้ยงโคนม รวมถึงด้านความสะอาดของน้ำนม และตั้งเป้าว่าต้องมีค่าโซมาติกเซลล์ (ค่า […]

ซีพีเอฟ จับมือ อ.ส.ค. เดินหน้าโครงการสี่ประสานสร้างความยั่งยืนโคนมไทย Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน กลับมาเจอกันอีกครั้งกับรวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 ตอนนี้ถือว่าเป็นตอนพิเศษที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยบทความที่ผ่านมาจะกล่าวถึงการป้องกันและควบคุมโรคเป็นส่วนใหญ่ แต่บทความนี้จะเล่าประสบการณ์ของฟาร์มเกษตรกรรายย่อยในประเทศหนึ่ง ขนาด 164 แม่ และ 300 แม่ที่ยังยืนหยัดอยู่ได้เป็นปกติมาถึง 60 วันและมากกว่า 1 ปีตามลำดับ ในขณะที่ฟาร์มรอบข้างในรัศมีไม่เกิน 170 ถึง 650 เมตร หมูทั้งหมดถูกทำลายไปมากกว่า 3,000 ตัว ตามมาตรการลดความเสี่ยงจากโรคระบาด  ซึ่งฟาร์มทั้งสองแห่งนี้ใช้ระบบการเลี้ยงแบบโรงเรือนปิดหรือที่เรียกว่าโรงเรือนอีแว๊ป และนั้นดูเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นมากหากเปรียบเทียบกับสถานการณ์โรคโควิด 19 ในคนในปัจจุบันเพราะเปรียบเสมือนมีโควิด 19 เกิดขึ้นที่ปากซอยหน้าบ้านเลยที่เดียว เรามาติดตามกันดูนะว่าเกษตรกรรายย่อยเหล่านั้นรอดพ้นภัยร้ายครั้งนี้มาได้อย่างไร เริ่มต้นจากทีมสัตวแพทย์​และผู้ดูแลโครงการลงพื้นที่พูดคุยกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู​ แจ้งสถานการณ์​ความเสี่ยงให้เกษตรกรทราบ เพื่อขอความร่วมมือกับเกษตรกรให้ปฏิบัติ​ตามข้อแนะนำการป้องกันโรคอย่างเข้มงวด​ และมีทีมงานตรวจติดตามการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด​ โดยไม่เข้าไปในเขตฟาร์ม​ของเกษตรกร ความร่วมมือแรกที่ขอจากเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูคือ การให้คนงานในฟาร์มพักในที่พักของฟาร์มเท่านั้นยกเว้นกรณีจำเป็นต้องออกไปภายนอกก็จะต้องแจ้งให้ทราบ เพื่อจะได้หามาตรการป้องกันการนำเชื้อโรคกลับเข้ามาในฟาร์ม โดยพนักงานเลี้ยงหมูทุกคนก่อนเข้าปฏิบัติงานในเล้าหมู ต้องถอดรองเท้าและเสื้อผ้าที่ใช้ภายนอกฟาร์มออก แล้วอาบน้ำและเปลี่ยนชุดก่อนเสมอ และใช้รองเท้าบู้ทเฉพาะที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้นโดยก่อนเข้าฟาร์มต้องจุ่มรองเท้าบู้ทในน้ำย่าเชื้อ 2 ครั้ง ที่หน้าห้องอาบน้ำและครั้งที่ 2

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 4 : จะทำอย่างไรเมื่อโรคมาเคาะประตูบ้าน Read More »

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน           ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงแม่ไก่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย

การดูแลแม่ไก่ไข่ที่เลี้ยงในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน Read More »

CPF คำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่ไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF

CPF คำนึงถึงความปลอดภัยของแหล่งที่มาวัตถุดิบ ที่ไม่มาจากแหล่งที่มีความเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อ ASF Read More »

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่            สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จีน ย้ำไม่ต้องกังวล ผู้บริโภคต้องสังเกตสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ก่อนซื้อ วันที่ 14 มกราคม 2564 ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (G4 Eurasian Avian-like H1N1 Viruses) ที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในหมูของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเชื้อนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2552 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่พบเชื้อไวรัส G4 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส G4 ในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานการระบาดจากคนสู่คน จึงยังไม่น่าเป็นกังวลต่อการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่เมื่อพบโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 มักถูกเรียกว่าโรคไข้หวัดหมูนั้น ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหมู แต่เป็นการเรียกติดปากจากการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Read More »

รวมพลังต้านภัย ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี จากบทความแรกจนมาถึงบทความตอนที่ 3 ผู้เขียนหวังว่าผู้ประกอบการฟาร์มหมู ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ คงพอได้แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ASF พอสมควร และหวังว่าท่านยังคงรอดพ้นจากภัย ASF อยู่ได้  สำหรับบทความตอนนี้เป็นการคาดการณ์ความเป็นไปของโรค ASF ในภายภาคหน้าซึ่งแม้ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็อยากให้ทุกท่านเตรียมใจและเตรียมการณ์ไว้ก่อนเพราะความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีที่ว่านั้นก็คือถ้าประเทศไทยไม่สามารถหยุดยั้งโรค ASF เอาไว้ได้ และโรคมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ณ เวลานั้น เราจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างตามหลักวิชาการ  เพื่อลดความเสียหายจากโรคให้น้อยที่สุด ทั้งในด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค การลดการสูญเสียจากการตายของหมูที่ป่วยเป็นโรค  การป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูให้ฟาร์มหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูอีกครั้งได้อย่างปลอดภัย ในทางทฤษฏีการควบคุมโรค  ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยอาศัยหลักการ รู้เร็ว จัดการเร็ว โรคจะจบเร็ว โดยการรู้เร็วหมายถึงการตรวจพบโรคให้ได้เร็วที่สุดตั้งแต่มีโรคระบาดในพื้นที่  จัดการเร็วหมายถึงการทำลายหมูป่วยเป็นโรค และการสืบสวนโรคหาหมูที่มีความเสี่ยงว่าจะสัมผัสโรคแล้วทำลายด้วยการฝังหรือเผา  เพื่อไม่ปล่อยให้หมูหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่มีความเสี่ยงหลุดรอดการตรวจสอบออกไปแพร่เชื้อโรคต่อได้ ซึ่งหากทำครบ 2 ประเด็นหลักที่กล่าวมา โรคก็จะจบได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค และข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการระบาดของโรค ASF ในประเทศต่างๆ เพื่อสรุปเป็นทางเลือกสำหรับการควบคุมโรค ASF

รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี Read More »

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564 Read More »

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย

ตอบคำถาม โรคปากและเท้าเปื่อย 1 ทำวัคซีนแล้ว แต่ทำไมวัวยังเป็นโรคปากเท้าเปื่อยอีก ความล้มเหลวในการทำวัคซีนเกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ตัวสัตว์ วัคซีน และผู้ฉีดวัคซีน ตัวสัตว์ : อาจเกิดจากขณะทำการฉีดสัตว์ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น สัตว์เครียดจากความร้อน หรือสัตว์ป่วย หรืออาจเกิดจากสัตว์ได้รับเชื้อขณะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับป้องกันโรค หรือภูมิจากวัคซีนที่ฉีดกำลังหมดลง วัคซีน : อาจเกิดจากการเก็บรักษา หรือการขนส่งที่ไม่ดี หรือวัคซีนที่ฉีดนั้นมีเชื้อไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด ผู้ฉีดวัคซีน : ผู้ฉีดวัคซีนอาจฉีดไม่ถูกต้อง หรือฉีดไม่ครบโดส 2 มีวัวฟาร์มข้างๆ เป็นโรคปากเท้าเปื่อยแล้วจะทำวัคซีนดีไหม เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่ ให้ทำวัคซีนไทป์เดียวที่กำลังระบาด หากเพิ่งทำการฉีดวัคซีนไทป์รวมไป ให้ฉีดวัคซีนไทป์เดียวตามภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า วัคซีนอาจป้องกันให้สัตว์ไม่แสดงอาการของโรคหรือแสดงอาการไม่รุนแรง แต่สัตว์ตัวนั้นๆอาจมีการติดเชื้อภายในร่างกาย 3 วัวเป็นปากเท้าเปื่อยแล้ว แยกรีดแล้วนมตัวอื่นยังส่งนมได้ไหม ไม่ได้ เนื่องจากในฟาร์มที่มีวัวเป็นปากเท้าเปื่อย จะมีวัวส่วนหนึ่งที่มีเชื้อปากเท้าเปื่อย แต่ยังไม่แสดงอาการป่วย วัวเหล่านั้นสามารถ แพร่เชื้อออกจากร่างกาย และกระจายไปสู่ฟาร์มอื่น ทำให้เกิดการระบาดเป็นบริเวณกว้าง 4 ควรเลือกฉีดวัคซีนไทป์รวม หรือไทป์เดียว

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย Read More »

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19       คุณสะแวง เทียมเงิน ผู้บริหารงานด้าน CSR นำทีมจิตอาสา CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงวัย ในโครงการกองทุน ซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยซีพี ร่วมป้องกันโควิด-19 พร้อมปฏิทินปีใหม่ 2564 และเงินช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งนี้ ผู้สูงวัยได้กล่าวขอบคุณ CPF ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้กิจการรุ่งเรือง ผู้บริหารและพนักงานสุขภาพแข็งแรง     สำหรับโครงการกองทุนซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่รอบโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ ที่ไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง โดยผู้สูงอายุจะได้รับมอบเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 บาท นับตั้งแต่ปี 2554- ปัจจุบัน มีจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ รวม 833 ราย./

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)