Logo-CPF-small-65png

สหประชาติ” ยก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD

“สหประชาติ” คัดเลือก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD ชูจุดเด่นขับเคลื่อนนโยบายความยั่งยืนสู่การปฏิบัติ และความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความภูมิใจบริษัทไทยในเวทีความยั่งยืนโลก หลังสหประชาชาติประกาศรายชื่อองค์กรผู้นำความยั่งยืนระดับโลกจากทุกทวีป รวม 37 องค์กร โดยในเอเชียมีเพียง 3 ประเทศที่ติดระดับผู้นำคือ ไทย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นองค์กรไทย 1 ใน 37 องค์กรผู้นำด้านความยั่งยืนโลกด้วย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า ในฐานะบริษัทไทยเครือเจริญโภคภัณฑ์มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Global Compact Lead จากสหประชาชาติ ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการประกอบธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทิศทางและเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์สู่ปี 2573 ยังมีความท้าทายที่เด่นชัดและเป็นปัญหาใหญ่ของโลกคือเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน ปัญหาเรื่องมลภาวะทั้งในอากาศ ในน้ำ และบนดิน ถือเป็นวาระใหญ่ของโลกที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ และในวาระที่เครือเจริญโภคภัณฑ์จะก้าวสู่ศตวรรษใหม่ของการดำเนินธุรกิจ จึงได้ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญและยิ่งใหญ่ คือการมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ โดยจะรวมพลังทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯและใช้นวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด “เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับ UN Global Compact เพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ UN Sustainable Development Goals เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของเรา มีความโปร่งใสสูงสุด” ซีอีโอเครือซีพีกล่าว ทั้งนี้ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ผ่านเส้นทางสู่เป้าหมายความยั่งยืนระยะที่ 1 มาแล้ว และกำลังมุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืนระยะต่อไปในปี 2573 การที่องค์กรได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิก Global Compact LEADกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มีต่อข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และหลักการทั้ง 10 ประการ รวมถึงการทำงานเชิงรุกด้านความยั่งยืนและผลักดันวาระสำคัญต่างๆอาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการสร้างงาน สำหรับเครือซีพี ถือเป็นองค์กรที่มีการนำหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact มาบูรณาการในกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์ความยั่งยืน เป้าหมาย นโยบายและแนวปฏิบัติ ที่ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ภายใต้ค่านิยม 3 ประโยชน์ และกรอบการดำเนินงาน 3 ด้านของเครือฯ อันได้แก่ Heart – Living Right, Health – Living Well และ Home – Living Together และมีกระบวนการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลผ่านรายงานความยั่งยืนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตามมาตรฐาน GRI และเกณฑ์การจัดทำรายงานเพื่อสื่อสารความคืบหน้าของ UN Global Compact ในระดับสูงสุด (Advanced Communication on Progress: CoP) เป็นประจำทุกปี โดยนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติทั้ง 17 ประการ มาประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์และเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ สู่ปี 2030 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญได้แก่ การเป็นองค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) (SDG 13) การลดขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์ และบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ (SDG 12) การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นจำนวน 50 ล้านคน (SDG 4) เป็นต้น โดยจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่เครือซีพีได้รับหารจัดอันดับให้เป็น LEAD คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับทุกภาคส่วน ยกตัวอย่างเช่น (1) การเข้าร่วมโครงการ Caring for Climate, Race to Zero และ Business Ambition for 1.5oC เพื่อร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) การร่วมเป็นภาคีสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) การเป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง Global Compact Network Thailand (4) การเข้าร่วมโครงการ Decent Work in Global Supply Chains (5) การร่วมปฏิรูปการศึกษาของประเทศผ่านโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED CR: สยามรัฐ

สหประชาติ” ยก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD Read More »

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย

CPF ผู้นำด้านเกษตรอุตสาหกรรมของไทย ชูมาตรฐานฟาร์มสุกรระบบไบโอซีเคียวริตี้ในการเลี้ยงสุกรซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคสัตว์ต่างๆ ขณะเดียวกัน ยังยกระดับการป้องกันโควิด-19 ให้พนักงานภายในฟาร์ม โดยวางระบบบับเบิลแอนด์ซีลและฉีดวัคซีนให้ทุกคน ป้องเชื้อโควิดเข้าพื้นที่ฟาร์ม 100% มั่นใจความปลอดภัยทั้งสุกรและคนเลี้ยง ผู้บริโภคสามารถบริโภคได้หมูซีพีได้อย่างสบายใจ    น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านวิชาการ สายธุรกิจสุกร CPF เปิดเผยว่า ปัจจุบันฟาร์มสุกรทั้งหมดของ CPF ดำเนินมาตรฐานฟาร์มตามแนวทางของกรมปศุสัตว์ และยกระดับสู่ “ระบบไบโอซีเคียวริตี้” เข้มข้นเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงสุกรปลอดโรค อันจะส่งผลให้ได้เนื้อหมูอนามัยที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค“CPF ให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยในขั้นตอนของการเลี้ยงสุกร เป็นอีกข้อต่อที่สำคัญของความปลอดภัยทางอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดย CPF ได้ยกระดับมาตรฐานฟาร์มสุกรเข้าสู่ระบบไบโอซีเคียวริตี้แล้วทั้งหมด แม้จะมีความยุ่งยากในการดำเนินการ แต่สุดท้ายได้ประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อสุกรทุกตัวในฟาร์มมีสุขภาพดีและปลอดโรค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว     มาตรฐานฟาร์มสุกร CPF ในระบบไบโอซีเคียวริตี้ เป็นระบบการป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งประกอบด้วย การเลี้ยงสุกรในโรงเรือนระบบปิด ป้องกันสัตว์พาหะทั้งหนู นก แมลงต่างๆ โดยวัตถุดิบต่างๆ ที่นำมาใช้ภายในฟาร์มไม่ว่าจะเป็นอาหาร น้ำ หรืออื่นๆจะมีการตรวจสอบย้อนกลับไปถึงแหล่งที่มา ซึ่งทุกฟาร์มจะรับจากแหล่งที่ปลอดภัยเท่านั้น ทั้งยังต้องควบคุมรถขนส่งเข้า-ออกฟาร์มอย่างเข้มงวด รถทุกคัน-พนักงานทุกคนต้องผ่านระบบฆ่าเชื้อ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคนหรือพาหนะนั้นๆ จะไม่เป็นพาหะนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม รวมถึงการกำหนดจุดส่งมอบสุกรที่แยกจากฟาร์ม ทั้งนี้ไม่เพียงฟาร์มของบริษัทแต่ยังถ่ายทอดมาตรการการป้องกันโรคนี้ให้กับเกษตรกรในคอนแทรคฟาร์มมิ่งของบริษัทฯ ทั่วประเทศครบทุกรายแล้ว ยืนยันได้ในความปลอดภัยของกระบวนการผลิตสุกรเพื่อส่งมอบอาหารที่ปลอดภัยสู่ผู้บริโภคขณะเดียวกัน ในสถานการณ์โควิด CPF ยังยกระดับการป้องกันโรคขั้นสูงสุดให้แก่พนักงานในฟาร์มทุกคน ตั้งแต่การสำรวจและคัดกรองคนก่อนเข้าฟาร์ม การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย มาตรการรักษาสุขอนามัย โดยพนักงานทุกคนที่เข้าฟาร์มต้องผ่านการตรวจอุณหภูมิของร่างกาย จุ่มเท้าฆ่าเชื้อ สเปรย์มือด้วยแอลกอฮอล์ สวมหน้ากากอนามัย รณรงค์สร้างความตระหนักด้านสุขอนามัยส่วนบุคคลให้แก่พนักงาน หมั่นล้างมือด้วยน้ำ สบู่ แอลกอฮอล์ มาตรการรักษาความสะอาดโดยทำความสะอาดพื้นที่ที่มีการสัมผัสหรือใช้ร่วมกันด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมต่างๆ ของพื้นที่และสิ่งของภายในฟาร์มทั้งก่อนและหลังการใช้งาน ตลอดจนการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้พนักงานทุกคน    “ลักษณะของฟาร์ม เป็นสถานที่อากาศถ่ายเท และไม่มีพนักงานจำนวนมาก ดังนั้น การจัดการเรื่องการเว้นระยะห่างจึงทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อผนวกกับระบบไบโอซีเคียวริตี้ในฟาร์มมาตรฐาน จึงมั่นใจได้ว่าสุกรทุกตัวของ CPF มีความแข็งแรง ปลอดโรคและปลอดภัยต่อการบริโภค” น.สพ.ดำเนิน กล่าว./

ระบบไบโอซีเคียวริตี้” ป้องหมูซีพีปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย Read More »

ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เดินหน้ามาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1. ขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) พร้อมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระบาด และสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิต 2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ 3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด 5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF 6. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ 7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง   พร้อมทั้งได้นำระบบ Zoning และ Compartment มาใช้ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและประเทศคู่ค้า อีกทั้งปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ เปิดให้ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรเดิมที่เคยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านและศูนย์อาหาร มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป CR : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์

ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู Read More »

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ

CPF เดินหน้าผลักดันเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนเทรคฟาร์ม สู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm สนับสนุนการนำเทคโนโลยีทันสมัย และระบบออนไลน์ มาใช้ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรคคุณสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร CPF เปิดเผยว่า CPF มุ่งมั่นยกระดับระบบการบริหารฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มให้นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ด้วยระบบ Smart Farm สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผนึกกำลังกับ TRUE ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) 3 จุดในฟาร์มของเกษตรกร ได้แก่ ประตูทางเข้าออกฟาร์ม หน้าห้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์มและในโรงเรือน เพื่อช่วยป้องกันโรคและตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเบื้องต้นได้    ปัจจุบัน ได้ติดตั้ง CCTV ในฟาร์มเกษตรกรแล้ว 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2564 นี้ ส่วนระบบออโต้ฟีด (Auto Feeding Systems) ติดตั้งในฟาร์มสุกรขุนของเกษตรกร 100% ทั่วประเทศแล้ว ช่วยลดแรงงานและไม่จำเป็นต้องใช้คนเข้าไปให้อาหารในโรงเรือน เพื่อให้คนเข้าสัมผัสตัวสัตว์น้อยที่สุด ลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆ สู่สุกรตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และยังเริ่มใช้ระบบ Sound talk ซึ่งเป็นอุปกรณ์ IOT ที่ติดตั้งในโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน เพื่อตรวจวัดเสียงไอ ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามสุขภาพสุกร เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรค” คุณสมพร กล่าวนอกจากนี้ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มทั้ง 100% ใช้แชทบอท (Chatbots) ผ่านแอปพลิเคชัน LINE Official เพื่อพูดคุยและปรึกษากับทีมงานของบริษัทได้ตลอดเวลา รวมถึงใช้บันทึกข้อมูลด้านบัญชีและการผลิต อาทิ จำนวนสุกร การใช้อาหาร สต๊อกวัคซีน เข้าระบบเป็นประจำทุกวัน เพื่อเชื่อมข้อมูลกับระบบ Pig Pro ที่ใช้บริหารจัดการกระบวนการผลิต ทำให้สามารถติดตามการผลิตได้ตลอดเวลา และได้ร่วมกับ CPF IT Center ในการพัฒนาแพลตฟอร์มของ CPF เรียกว่า “สมาร์ท พิก” (Smart Pig) จะเริ่มใช้ประมาณไตรมาส 4/2564 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ และสนับสนุนเกษตรกรในด้านการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต วางแผนการผลิตและการจัดการให้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรแต่ละราย    สำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกรทั้ง 98 แห่งของ CPF ใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ระบบการให้อาหารออโต้ฟีด การควบคุมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนอีแวปด้วยระบบอัตโนมัติ ในการสั่งเปิดปิดน้ำหล่อเลี้ยงแผงความเย็น พัดลม และไฟฟ้า การให้อาหาร โดยขณะนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมด้วยการนำระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ มาใช้สั่งการระบบควบคุมดังกล่าว ซึ่งจะทำงานร่วมกับกล้อง CCTV ที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือน และใช้ระบบ Sound talk เพื่อลดความเสี่ยงจากคนที่อาจนำโรคเข้าสู่สุกร ในด้านของสัตวแพทย์ ผู้จัดการฟาร์มและสัตวบาล สามารถติดตามความเป็นอยู่ของสัตว์ ผ่านการมอนิเตอร์ภาพรวมภายในโรงเรือนและการทำงานของอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา (Real Time) หากสภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถปรับแก้ไขได้ทันท่วงที ด้วยการสั่งงานผ่านกล้องและแอปพลิเคชันมือถือ ช่วยให้สื่อสารกับบุคลากรที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว./ CR: cpf

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ Read More »

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยาคุณสกุลยศ สามเสน รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และคุณจิระ คงเขียว ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ นำชาว CPF จิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบน้ำดื่มซีพี 360 ขวด และพัดลมตั้งโต๊ะ 10 เครื่อง จาก CPF ในโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือซีพี ให้กับศูนย์พักคอยผู้ติดเชื้อโควิดระดับตำบล โดยมี คุณบำรุง ม่วงวิจิตร นายกเทศมนตรีตำบลท่าหลวง และสมาชิกเทศบาลตำบลท่าหลวงฯ รับมอบ./

ส่งกำลังใจต่อเนื่อง‼️ CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ มอบอาหาร-ครุภัณฑ์ หนุน ศูนย์พักคอยอยุธยา Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)