Logo-CPF-small-65png

cpffeed

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อน

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงไก่ไข่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่จะแม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป4

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4)

การจัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป มาต่อกันเลยครับ    นอกจากอุณหภูมิแล้วยังมีอีก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกร (pig Comfort) นั่นคือ ความชื้น ความเร็วลมและความต้องการอากาศ ในช่วงความชื้นต่ำเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ลอกหลุด สุกรจะจามมากขึ้น โอกาสติดเชื้อมากขึ้น จากฝุ่น (endotoxin) กดภูมิคุ้มกัน     สำหรับประเทศไทยช่วงความชื้นต่ำมีโอกาสเกิดน้อยมากส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวช่วงสั้นๆสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายโดยการเปิดน้ำแพดให้ชุ่มด้านบนของแพดช่วงสั้นๆประมาณ 1 ฟุตเพื่อเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ในช่วงความชื้นสูงเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ การระเหยที่ผิวหนังเกิดได้น้อย ทำให้ไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลงได้ (สุกรไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์การทำให้ร่างกายเย็นลงต้องอาศัยการระเหยน้ำจากผิวหนัง) จึงมีปัญหามากถ้าเกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูง โอกาสติดเชื้อมากขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง กดภูมิคุ้มกันเนื่องจากสุกรมีความเครียดสูง       ถ้าจะทำความเข้าใจถึงความเครียดของสุกรในขณะที่ความชื้นสูงและอุณหภูมิสูงให้เราลองอาบน้ำในห้องน้ำที่มีแค่ช่องระบายลมเล็กๆ ในวันที่มีฝนตกและอากาศร้อน เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้ยืนนิ่งๆ อยู่ในห้องน้ำซักครึ่งชั่วโมง ความรู้สึกอึดอัดนั้นคือความรู้สึกของสุกร ที่สำคัญสุกรไม่สามารถเดินหนีออกมาจากห้องน้ำได้ ต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรือน      เราสามารถดูว่าความชื้นและอุณหภูมิร่วมกัน จะสร้างความเครียดให้สุกรหรือไม่ โดยนำค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์รวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าเกิน 170 ถือว่าสุกรอยู่ไม่สบาย ดังนั้นเราต้องบริหารค่าความสบายของสุกรให้ไม่เกิน 170 นั่นเอง การตอบสนองของสุกรต่อความเร็วลม ในช่วงความเร็วลมต่ำกว่าความต้องการของสุกร

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ ก่อนที่เราจะสังเกตถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต เบื้องต้นเราควรเข้าใจถึงวิธีการประเมินความสบายของสุกร (Pig Comfort) โดยมีสิ่งที่เราต้องสังเกตดังนี้ การนอน การหายใจ การกินอาหาร ความกระตือรือร้น การนอน ท่านอนที่ที่บอกถึงความสบายของสุกรคือการนอนเต็ม พื้นที่ของลำตัวด้านข้าง เหยียดขาออกไปตรงๆเท่าที่พื้นที่ จะเอื้ออำนวย  ทุกส่วนแนบกับพื้นแบบสบายสบาย ถ้าเป็นคอกขังรวมจะนอนแบบลำตัวแนบชิด อาจมีการก่ายขากันบ้างถ้าอยู่ในพื้นที่แคบ การหายใจ สุกรที่อยู่สบายสบายจะมีอัตราการหายใจไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที วิธีนับคือหายใจเข้าจนสุดแล้วหายใจออกจนสุด นับ 1 ถ้าสุกรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที ถือว่ามีการหอบ ถ้าอากาศร้อนมากๆอัตราการหายใจ/นาที่ จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับความร้อนของอากาศ การกินอาหาร สุกรที่อยู่สบายสบาย จะกินอาหารได้มาก จึงเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นถึงสุขภาพสุกร กล่าวคือในเวลาที่สุกรกินอาหารเราควรเดินดูว่าสุกรกินอาหารได้หรือไม่ ตัวที่ไม่กินอาหารมีโอกาสเป็นสุกรป่วย อย่างไรก็ตามถ้าสุกรอยู่ไม่สบายหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะกินอาหารลดลงทำให้ได้สารอาหารไม่ครบตามที่ควรจะได้     ความกระตือรือร้น สุกรเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมีความสนใจต่อทุกๆสิ่งรอบๆตัวโดยเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปในโรงเรือนถือเป็นสิ่งใหม่ สุกรจะเข้ามาดูและทักทายเรา นอกจากนั้นหลังสุกรนอนจนเต็มอิ่ม พฤติกรรมวิ่งเล่นอยอกล้อถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปในโรงเรือนแล้วสุกรไม่สนใจเราหรือเอาแต่นอน นั่นเป็นข้อสังเกตว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสุกร เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสุกรที่มีความสุขอยู่สบายไม่เครียดมีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปเป็นการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3 Read More »

ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000 ตัว ต้องใช้งบเท่าไหร่

  การเลี้ยงไก่ไข่และลงทุนการเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000ตัว ต้องใช้งบลงทุนเท่าไหร่ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกท่านแล้ว มาติดตามกันได้เลย การเลี้ยงแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นเรียนรู้ หรือการใช้ชีวิตแบบพอเพียง เพื่อต้องการศึกษา เรียนรู้ เก็บเกี่ยวประสบการณ์และทำความเข้าใจในการเลี้ยงไก่ไข่ เมื่อเกิดความชำนาญและเข้าใจถี่ถ้วนแล้วจะขยับขยายเพิ่มเติมจนเป็นฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็สามารถทำได้ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับงบประมาณการลงทุนของแต่ละคน CR: คุณ สมศักดิ์ แก้วสะอาด ผู้ชำนาญการไก่ไข่

ลงทุนเลี้ยงไก่ไข่ไม่เกิน 2,000 ตัว ต้องใช้งบเท่าไหร่ Read More »

true digital cow ear tag

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย

CPF ผนึกกำลัง ทรู และ AllFlex เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ ตรวจสัดแม่นยำ เช็คระยะสัด ยกระดับการจัดการฟาร์มโคครั้งแรกในไทย   คุณพูนศักดิ์ ทองพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารกิจการอาหารโค ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ พร้อมด้วย คุณเอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชัน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป และ มร.เยรุน แวน เดอ เวน กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ AllFlex (ออลเฟล็กซ์) ผู้นำนวัตกรรมด้านปศุสัตว์ระดับโลก ด้าน Cow Monitoring ร่วมแถลงข่าว เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ครั้งแรกในไทย นำนวัตกรรมชั้นนำของโลก แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ มาช่วยแจ้งเตือน และ คำนวณช่วงเวลาการเป็นสัดของโค เพื่อความแม่นยำในการผสมพันธุ์ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพ ยกระดับมาตรฐานการปศุสัตว์และกระบวนการผลิตของไทย และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายฟาร์ม ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ทดลองใช้ระบบนี้ดังกล่าว ที่ฟาร์มวังม่วง ซึ่งเป็นฟาร์มในเครือซีพีและศูนย์เรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้าอาหารโคของบริษัทฯ ชมคลิป https://www.facebook.com/cattlefeedcpfth/videos/2459066121074446/

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย Read More »

คู่มือ การเลี้ยงเป็ดไข่

คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ

การเลี้ยงเป็ดไข่ จาก 0 ถึงมืออาชีพ ครบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โรงเรือน อาหาร การดูแล   ปัจจุบัน การเลี้ยงเป็ดไข่  ได้มีการพัฒนาไปมาก  ทั้งในเรื่องของสายพันธุ์   อาหาร   วิธีการเลี้ยง  ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ  เพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็ดไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตต่ำ   โดยเฉพาะสายพันธุ์  CP Super ซึ่งเป็นเป็ดไข่ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่างที่ปราดเปรียว หากินเก่ง กินอาหารน้อย ไข่ดก โดยให้ไข่สะสมที่ 52 สัปดาห์สูงถึง   280-300   ฟองต่อตัว   และสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วด้านคุณภาพไข่ ให้ไข่น้ำหนักเฉลี่ย   72 กรัม มีเปลือกไข่ที่หนา และฟองไข่แดงที่ใหญ่ คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ได้รวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญของการเลี้ยงเป็ดไข่ในปัจจุบัน     จากในส่วนของมาตรฐานสายพันธุ์เป็ดไข่    พร้อมได้รวบรวมความรู้และเทคนิคการเลี้ยงจากผู้ชำนาญการด้านการเลี้ยงเป็ดไข่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไว้ด้วย     อย่างไรก็ตามคู่มือฉบับนี้เป็นเพียงแนวทางในการจัดการฟาร์ม    ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถดูแลเป็ดไข่   สายพันธุ์  CP Super ให้เป็นไปตามมาตรฐานสายพันธุ์ มีผลผลิตไข่ตรงตามความต้องการของตลาด   และมีผลกำไรต่อผู้เลี้ยง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากคู่มือฉบับนี้สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายขายพันธุ์สัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด

คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)