Logo-CPF-small-65png

cpffeed

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่            สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จีน ย้ำไม่ต้องกังวล ผู้บริโภคต้องสังเกตสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ก่อนซื้อ วันที่ 14 มกราคม 2564 ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (G4 Eurasian Avian-like H1N1 Viruses) ที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในหมูของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเชื้อนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2552 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่พบเชื้อไวรัส G4 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส G4 ในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานการระบาดจากคนสู่คน จึงยังไม่น่าเป็นกังวลต่อการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่เมื่อพบโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 มักถูกเรียกว่าโรคไข้หวัดหมูนั้น ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหมู แต่เป็นการเรียกติดปากจากการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2009 ซึ่งมีชื่อเรียกในช่วงนั้นว่า โรคไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัด 2009 ต่อมาองค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนชื่อเรียกที่ถูกต้เองเป็น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก แต่ไม่เป็นที่ปรากฏชัดว่า เชื้อนี้เริ่มติดในคนเป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไร แต่เมื่อมีการระบาดแล้วกลับเป็นการแพร่กระจายและติดต่อจากคนสู่คน ไม่ได้พบในหมูทั่วไป จึงไม่ติดต่อโดยการสัมผัสหรือกินเนื้อหมูแต่อย่างใด ขอทำความเข้าใจว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่ไข้หวัดหมู เพราะการสื่อสารเช่นนั้นอาจทำให้คนเข้าใจผิด และเกิดความกังวลในการบริโภคได้ ที่สำคัญเชื้อไวรัส G4 ที่พบในจีนเมื่อ 5 ปีก่อน ก็ไม่เคยพบในไทย และไม่มีการแพร่เชื้อหรือติดต่อแต่อย่างใด ส่วนการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ สังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ทีกรมปศุสัตว์รับรองให้กับร้านจำหน่ายที่มีมาตรฐาน ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันสุขภาพร่างกายได้เป็นอย่างดี ส่วนการป้องกันตนเองจากไข้หวัด ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงรักษาสุขอนามัยด้วยการล้างหรือทำความสะอาดมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย หากจำเป็นจะต้องใกล้ชิดกับสัตว์ควรป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ” ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ กล่าว   Cr. ประชาชาติธุรกิจ

ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Read More »

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม EP.17 ทิศทางธุรกิจอาหารสัตว์บกซีพีเอฟสู่ลูกค้าปี 2564 Read More »

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย

ตอบคำถาม โรคปากและเท้าเปื่อย 1 ทำวัคซีนแล้ว แต่ทำไมวัวยังเป็นโรคปากเท้าเปื่อยอีก ความล้มเหลวในการทำวัคซีนเกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ตัวสัตว์ วัคซีน และผู้ฉีดวัคซีน ตัวสัตว์ : อาจเกิดจากขณะทำการฉีดสัตว์ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น สัตว์เครียดจากความร้อน หรือสัตว์ป่วย หรืออาจเกิดจากสัตว์ได้รับเชื้อขณะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับป้องกันโรค หรือภูมิจากวัคซีนที่ฉีดกำลังหมดลง วัคซีน : อาจเกิดจากการเก็บรักษา หรือการขนส่งที่ไม่ดี หรือวัคซีนที่ฉีดนั้นมีเชื้อไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด ผู้ฉีดวัคซีน : ผู้ฉีดวัคซีนอาจฉีดไม่ถูกต้อง หรือฉีดไม่ครบโดส 2 มีวัวฟาร์มข้างๆ เป็นโรคปากเท้าเปื่อยแล้วจะทำวัคซีนดีไหม เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่ ให้ทำวัคซีนไทป์เดียวที่กำลังระบาด หากเพิ่งทำการฉีดวัคซีนไทป์รวมไป ให้ฉีดวัคซีนไทป์เดียวตามภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า วัคซีนอาจป้องกันให้สัตว์ไม่แสดงอาการของโรคหรือแสดงอาการไม่รุนแรง แต่สัตว์ตัวนั้นๆอาจมีการติดเชื้อภายในร่างกาย 3 วัวเป็นปากเท้าเปื่อยแล้ว แยกรีดแล้วนมตัวอื่นยังส่งนมได้ไหม ไม่ได้ เนื่องจากในฟาร์มที่มีวัวเป็นปากเท้าเปื่อย จะมีวัวส่วนหนึ่งที่มีเชื้อปากเท้าเปื่อย แต่ยังไม่แสดงอาการป่วย วัวเหล่านั้นสามารถ แพร่เชื้อออกจากร่างกาย และกระจายไปสู่ฟาร์มอื่น ทำให้เกิดการระบาดเป็นบริเวณกว้าง 4 ควรเลือกฉีดวัคซีนไทป์รวม หรือไทป์เดียว ขึ้นกับจุดประสงค์ของการทำวัคซีนคือ “วัคซีนไทป์เดียว” ใช้สำหรับการควบคุมการระบาดของโรค ในขณะที่ วัคซีนไทป์รวมใช้สำหรับการป้องกันโรค กรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรค ควรทำวัคซีนตามคำแนะนำของสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ คือทำวัคซีนไทป์เดียว และตามด้วยวัคซีนไทป์รวม ใน 2 สัปดาห์ถัดมา เพื่อให้วัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคปากเท้าเปื่อย กรณีที่ทำวัคซีนตามโปรแกรมของฟาร์ม ก็ควรใช้ วัคซีนไทป์รวม เพื่อให้โคมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อทุกสายพันธุ์ โดยไม่ต้องใช้วัคซีนไทป์เดียว 5 ทำไม่เวลาเป็นปากเท้าเปื่อยถึงไม่เป็นทุกตัว ทั้งนี้ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของตัวโคแต่ละตัวในขณะที่ได้รับเชื้อ โคในฝูงเดียวกันอาจมีการเพิ่มขึ้น คงระดับ หรือลดลงของภูมิคุ้มกันได้มากน้อย และช้าเร็วแตกต่างกัน 6 การโรยปูนขาวช่วยอะไร ในพื้นที่ที่เป็นปากและเท้าเปื่อย ปูนขาว(CaO) มีจุดเด่นคือเป็นสารฆ่าเชื้อราคาถูกและ เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นด่างซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้ 7 หากที่ฟาร์มเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยขึ้นแล้วและหายจากโรคแล้ว ยังต้องทำวัคซีนอีกไหม ควรทำ เนื่องจากภูมิคุ้มกันไม่ป้องกันข้าม serotype แม้สัตว์จะมีภูมิภายหลังการเกิดโรค แต่สัตว์อาจได้รับเชื้อ serotype อื่นได้อีก 8 ฉีดใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้ากล้ามแตกต่างกันอย่างไร การฉีดเข้าใต้ผิวหนังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด 9 วัคซีนปากและเท้าเปื่อยทำแล้วแท้งลูกไหม ผลข้างเคียงของโรค ปากและเท้าเปื่อยไม่ได้ทำให้เกิดการแท้ง   การแท้งมักเกิดจากความเครียดเมื่อสัตว์ถูกจับบังคับ แต่วัคซีนอาจทำให้เกิดการแพ้ได้ ฉะนั้นภายหลังการฉีดวัคซีนควรเฝ้าดูอาการของโค ใน 6 ชั่วโมงภายหลังการฉีด  

ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย Read More »

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19       คุณสะแวง เทียมเงิน ผู้บริหารงานด้าน CSR นำทีมจิตอาสา CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงวัย ในโครงการกองทุน ซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยซีพี ร่วมป้องกันโควิด-19 พร้อมปฏิทินปีใหม่ 2564 และเงินช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งนี้ ผู้สูงวัยได้กล่าวขอบคุณ CPF ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้กิจการรุ่งเรือง ผู้บริหารและพนักงานสุขภาพแข็งแรง     สำหรับโครงการกองทุนซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่รอบโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ ที่ไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง โดยผู้สูงอายุจะได้รับมอบเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 บาท นับตั้งแต่ปี 2554- ปัจจุบัน มีจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ รวม 833 ราย./

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19 Read More »

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย มอบให้มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network : LPN) ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อนำไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานต่างด้าวและประชาชนที่ต้องกักตัวในหอพักที่ตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ได้บริโภคอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ร่วมสนับสนุนจังหวัดสมุทรสาครคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว พิธีมอบผลิตภัณฑ์อาหารและไข่ไก่ในวันนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานมูลนิธิ LPN ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหาร 30,800 แพ็ค และไข่ไก่สด 10,000 ฟอง โดยมีนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN เป็นผู้รับมอบจากนายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนายศรกฤษณ์ วัตตศิริ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ นายสมพงค์กล่าวว่า อาหารที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งความช่วยเหลือที่สำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ต้องกักตัวและประชาชนที่อยู่ในบริเวณตลาดกลางกุ้ง มหาชัย รวมทั้งผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการประมาณ 4,000 คน ซึ่งได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการหยุดงานเป็นระยะยาว และไม่สามารถออกจากพื้นที่ควบคุมได้จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย ได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ในช่วงเวลาที่พื้นที่ดังกล่าวถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตามมาตรการของจังหวัดสมุทรสาคร “การร่วมสนับสนุนของซีพีเอฟครั้งนี้ แสดงถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางของสังคมได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม นอกจากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศแล้วยังตอกย้ำการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกครั้งที่เกิดวิกฤต” นายสมพงค์กล่าว นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟตระหนักในการทำหน้าที่พลเมืองดีของสังคม (Good Corporate Citizen) และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยของบริษัทฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดขยายวงกว้างขึ้น ซีพีเอฟถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมในการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวสามารถเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟได้ส่งมอบอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 55,000 แพก เพื่อสนับสนุนการทำงานและเป็นกำลังใจให้แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการทำหน้าที่รักษาและป้องกันการระบาด “ซีพีเอฟใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของการเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ส่งมอบอาหารคุณภาพดีให้แก่คนไทย และพี่น้องแรงงานทุกคนทั้งในยามปกติและทุกสถานการณ์วิกฤต ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราเชื่อว่าความรับผิดชอบต่อสังคมและการร่วมแรงร่วมใจกันของคนไทยจะช่วยให้ประเทศสามารถควบคุมการระบาดของโรคและผ่านวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว” นายประสิทธิ์กล่าว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ซีพีเอฟในฐานะภาคเอกชนรายแรกๆ ที่นำความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มาช่วยสนับสนุนการทำงานภาครัฐในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ผ่านการดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัย COVID-19” ส่งมอบอาหารพร้อมรับประทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ 200 แห่งทั่วประเทศ และขยายต่อส่งมอบอาหารให้แก่ครอบครัวของแพทย์และพยาบาลที่เป็นแนวหน้าเฝ้าระวังการระบาดโควิดอีก 20,000 ครอบครัว รวมทั้งสนับสนุนอาหารให้แก่ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและต้องกักตัวประมาณ 20,000 ราย นอกจากนี้ยังร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 ส่งมอบอาหารให้ประชาชนชุมชนคลองเตย กว่า 8,499 ครอบครัว และร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดรถ CPF Food Truck นำอาหารสำเร็จรูปอุ่นร้อนแจกจ่ายให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ใน 6 เขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และส่งมอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานช่วยเสริมทัพให้ทีมแพทย์-พยาบาลของ 5 โรงพยาบาลในจังหวัดตากที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้าน ซีพีเอฟได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัด ตลอดจนเข้มงวดกับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารในทุกขั้นตอน เพื่อให้พนักงานทุกเชื้อชาติได้ทำงานในสถานที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนในประเทศไทยได้บริโภคอาหารคุณภาพ มีโภชนาการอย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน ที่มา : www.cp-enews.com

CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19 Read More »

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่

   ซีพีเอฟใช้ Chatbot พัฒนาโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เร่งสปีดการสื่อสารกับชุมชนทั่วประเทศ และลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ทั้งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็กวัยเรียนควรกินไข่ทุกวัน แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า กลุ่มวัยเรียนบริโภคไข่ทุกวันเพียงร้อยละ 23.7 เท่านั้น ในฐานะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จึงใช้จุดแข็งมาสร้างประโยชน์ให้สังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ด้วยการทำ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ผ่านมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ทำให้หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญของโครงการ และเข้าร่วมสนับสนุน อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น- กรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok) หรือ JCC โดยโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนเป็นโครงการที่ซีพีเอฟดำเนินการมากว่า 30 ปี และได้รับการสันบสนุนจาก JCC เป็นปีที่ 21 “สมคิด วรรณลุกขี” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้เข้าสนับสนุนด้านการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนด้วยการมอบพันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ และสร้างเล้าไก่ ที่สำคัญมีก่ารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คุณครูและนักเรียน ทั้งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง วิธีการจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรค เพื่อให้ฏรงเรียนสามารถสานต่อด้วยตนเองได้ “แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยนช์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน” ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เราจึงนำเทคโนโลยีมาต่อยอดโครงการนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมาช่วยรักษาระยะห่างทางสัมคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย โดยการทำระบบ Chatbot เพื่อการรายงานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) เช่น จำนวนไก่ อาหารสัตว์ ผลผลิตไข่ไก่ ไก่ปลด รายงานการเลี้ยง ต้นทุนและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่ เป็นต้น ที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ไปทำโครงการไว้ในโรงเรียนทั้งหมด 855 โรงเรียน เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพมากกว่า 150,000 คน โดยมีแผนขยายประมาณ 20-25 โรงเรียนในทุก ๆ ปี ส่วนของ JCC ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนไปแล้ว 132 โรงเรียน ล่าสุดพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ

‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่ Read More »

ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19

ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19    นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ประกอบด้วยแรงงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม จัดหางาน ขนส่ง อุตสาหกรรม และสาธารณสุข จ.ลำพูน เยี่ยมชม CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน ตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ลำพูน ในสถานการณ์โควิด-19 โดยมี คุณฤทธิชัย ภูมิอมร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF และพนักงาน ให้การต้อนรับผู้ว่าฯ ลำพูน กล่าวชื่นชมมาตรการป้องกันโควิด-19 ของ CPF ที่ได้มาตรฐานและปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือน มี.ค. จนถึงปัจจุบัน ทั้งการตรวจคัดกรองก่อนเข้าโรงงาน โดยใช้ระบบ ivisit ในการกรอกข้อมูล การจัดเตรียมสินค้าอาหารสัตว์ให้เพียงพอต่อการจำหน่าย เพื่อลดจำนวนคนที่อยู่ในโรงงาน การลดการสัมผัสจ่ายเงินร้านค้าในโรงอาหารด้วยแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และพร้อมเพย์ รวมทั้งไม่ใช้อุปกรณ์ส่วนกลางร่วมกัน ในโรงอาหาร เป็นต้น โดยสามารถติดตามตรวจสอบและควบคุมกระบวนการได้ทั้งหมด มาตรการที่ใช้จึงมีประสิทธิภาพ./

ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19 Read More »

รอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัย: ไข่ไก่ปลอดภัย “ล้าง คัด บรรจุ” ด้วยระบบมาตรฐาน

“ไข่ไก่” อาหารยอดฮิตของผู้บริโภค โปรตีนคุณภาพที่หาซื้อ ได้ง่าย ราคาไม่แพง คุณค่าทางโภชนาการสูง นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู และยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อทุกเพศและทุกวัย ปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิตไข่ไก่สด ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ไข่ที่สะอาดและปลอดภัย และยังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มุ่งเน้นมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ ผู้บริโภคมั่นใจในความสะอาดและถูกสุขอนามัย ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ซีพี ผ่านกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานในทุกขั้นตอน แม่ไก่ไข่ได้รับการ คัดเลือกพันธุ์ที่ดี เลี้ยงในฟาร์มระบบปิด เลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ นอกจากนี้ กระบวนการผลิตไข่ไก่ เป็นระบบอัตโนมัติ และนำเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นมาใช้ เช่น การล้างไข่ไก่ การคัดไข่ไก่ การบรรจุ กระบวนการล้างไข่ไก่ในห้องล้างไข่ เน้นเรื่องความสะอาด ปลอดภัย ตั้งแต่การรับไข่เข้ามาในห้องล้างไข่ นำไข่ไปผ่านเครื่องล้างที่มีแปรงขัดผิวเปลือกไข่ เพื่อทำความสะอาดไข่ที่เปื้อนมูลและฝุ่น ผ่านขั้นตอนการฉีดล้างด้วยสเปรย์น้ำอีกครั้งเพื่อทำความสะอาด ก่อนนำเข้าเครื่องเป่าแห้ง จากนั้นนำไข่มาคัดแยกไข่ที่ยังล้างไม่สะอาดออก เช่น ยังเหลือมูลติดอยู่ รวมทั้งไข่ที่ผิดรูป ไม่ได้มาตรฐาน หรือสีเปลือกไข่ซีดกว่าปกติ ไข่ที่ผ่านการคัดแยกแล้วนำไปผ่านเครื่องทดสอบรอยร้าวว่ามีรอยร้าวหรือไม่ ถ้าพบว่ามีรอยร้าวก็จะคัดออก กระบวนการต่อไป คือ นำไข่ที่ผ่านเครื่องทดสอบรอยร้าวแล้ว ผ่านหลอดยูวี ที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อซาโมเนลลา นำมาชั่งน้ำหนักตามเบอร์ไข่ เพื่อที่จะคัดแยกตามเบอร์ต่างๆ ตามประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตรไข่ไก่ ของกรมปศุสัตว์ เมื่อนำผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ไปชั่งน้ำหนักแล้ว จะผ่านเครื่องตรวจสอบความผิดปกติ หรือ Abnormal Eggs Detector จะช่วยคัดฟองไข่ มีจุดเลือด หรือจุดเนื้อ เพื่อคัดออก และตรวจสอบไปถึงว่าในไข่แต่ละฟอง มีทั้งไข่ขาวและไข่แดง เพื่อคัดไข่ที่เน่าเสียออก ผ่านเครื่องพิมพ์ตัวอักษร บนฟองไข่ พิมพ์เลขล็อตผลิต เพื่อตรวจสอบย้อนกลับ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการบรรจุบนแพ็กแต่ละขนาดเตรียมจำหน่ายสู่ผู้บริโภค ซึ่งบนสลากสินค้ามีข้อมูลอย่างครบถ้วน ที่สำคัญมีวันผลิตและวันควรบริโภคก่อนอย่างชัดเจน นอกจากความเข้มงวดในกระบวนการล้างไข่ไก่แล้ว พนักงานที่จะเข้าในไลน์การผลิต ต้องปฏิบัติตามสุขลักษณะเรื่องความสะอาดและความปลอดภัย โดยสวมรองเท้าบู๊ท ล้างมือที่อ่างล้างมือ เช็ดมือให้แห้ง สวมหมวก และผ้าปิดปาก สวมเสื้อคลุม ถุงมือ จุ่มรองเท้าบู๊ทในอ่างน้ำยาฆ่าเชื้อ รวมทั้งฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์บริเวณมือทุกครั้ง ในห้องผลิตและจัดเก็บสินค้า มีการควบคุมอุณหภูมิที่ 20-25 องศาเซลเซียสตลอดเวลา เพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ซีพีที่ผ่านกระบวนการผลิต จะถูกส่งมาที่ห้องจัดเก็บสินค้า ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิที่ 20 -25 องศาเซลเซียส เพื่อเก็บผลิตภัณฑ์ไข่ที่เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ และควบคุมอุณหภูมิที่ 2 -10 องศาเซลเซียส สำหรับผลิตภัณฑ์ไข่ไก่ที่เป็นสินค้าส่งออกต่างประเทศ ผลิตภัณฑ์ไข่ไก่สดแบรนด์ซีพี ยังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐานระดับโลก อาทิ GMP HACCP ISO ไม่มียาปฏิชีวนะปนเปื้อน ผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ในความสะอาดและปลอดภัย ที่มา : www.cp-enews.com

รอบรู้เรื่องอาหารปลอดภัย: ไข่ไก่ปลอดภัย “ล้าง คัด บรรจุ” ด้วยระบบมาตรฐาน Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)