true digital cow ear tag

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย

CPF ผนึกกำลัง ทรู และ AllFlex เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ ตรวจสัดแม่นยำ เช็คระยะสัด ยกระดับการจัดการฟาร์มโคครั้งแรกในไทย   คุณพูนศักดิ์ ทองพิทักษ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ผู้บริหารกิจการอาหารโค ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ พร้อมด้วย คุณเอกราช ปัญจวีณิน กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจไอโอทีและดิจิทัลโซลูชัน ทรู ดิจิทัล กรุ๊ป และ มร.เยรุน แวน เดอ เวน กรรมการผู้อํานวยการฝ่ายปฏิบัติการ AllFlex (ออลเฟล็กซ์) ผู้นำนวัตกรรมด้านปศุสัตว์ระดับโลก ด้าน Cow Monitoring ร่วมแถลงข่าว เปิดตัวโซลูชันติดตามพฤติกรรมปศุสัตว์ครั้งแรกในไทย นำนวัตกรรมชั้นนำของโลก แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ มาช่วยแจ้งเตือน และ คำนวณช่วงเวลาการเป็นสัดของโค เพื่อความแม่นยำในการผสมพันธุ์ รวมถึงปัญหาด้านสุขภาพ ยกระดับมาตรฐานการปศุสัตว์และกระบวนการผลิตของไทย และเป็นการสร้างโอกาสในการขยายฟาร์ม ปัจจุบัน ซีพีเอฟ ทดลองใช้ระบบนี้ดังกล่าว ที่ฟาร์มวังม่วง ซึ่งเป็นฟาร์มในเครือซีพีและศูนย์เรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการแก่เกษตรกรลูกค้าอาหารโคของบริษัทฯ ชมคลิป https://www.facebook.com/cattlefeedcpfth/videos/2459066121074446/ เสียงตอบรับจากผู้ใช้จริง  คุณ วราภรณ์ เกนขุนทด  เจ้าของ วราภรณ์ฟาร์ม อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี   >>>ชมคลิป True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัด ทรูดิจิตอลคาวออกแบบมาเพื่อเกษตรกรโคนมและโคเนื้อในประเทศไทยโดยเฉพาะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงดูและยกระดับภาคอุตสาหกรรมโคของเรานั้นเองให้ก้าวไปสู่ยุค 4.0 โดยหลักๆจะเป็นการนำเซ็นเซอร์นำอุปกรณ์ไปติดที่หูวัวเพื่อที่จะจับพฤติกรรมของวัว หลักการทั่วไปคือติดเซ็นเซอร์เพื่อให้เซ็นเซอร์จับพฤติกรรม การเคลื่อนไหว การเดิน กากนอน การกิน จำนวนรอบการเคี้ยวเอื้องต่อวัน แล้วนำทั้งหมดนี้มาประมวลผลเพื่อแจ้งเตือนเกษตรกร ถามว่าทำไมจะต้องดูสิ่งเหล่านี้ เกษตรกรโคนมสิ่งที่จะได้เป็นรายได้ก็คือ น้ำนม และลูกวัวที่ถูก เราจึงต้องการให้ได้สิ่งที่ดีมากที่สุดซึ่งการจะทำสิ่งนี้ได้จะต้องแปลว่าเข้าต้องผสมพันธุ์วัวให้ได้ดีที่สุดและจะต้องดูแลวัวให้มีสุขภาพที่แข็งแรงแต่การจะทำสิ่งนี้ได้เป็นสิ่งที่ยากมากเพราะว่าโดยธรรมชาติของวัวรอบการผสมพันธุ์จะค่อนข้างสั้น ถ้าพลาดไปหมายความว่าก็จะสูญเสียรายได้และค่าใช้จ่ายนอกจากนั้นถ้าเรามีวัวที่เยอะขึ้นมันก็จะดูยากขึ้น บางครั้งวัวมีอาการป่วยก็จะไม่ค่อยแสดงอาการและจะดูยากขึ้น ทำให้เกษตรกรในฟาร์มต้องใช้เวลาอยู่ในฟาร์มเยอะจนไม่มีเวลาออกไปไหน เทคโนโลยีนี้จึงเข้ามาช่วยได้ เจ้าตัวทรูดิจิตอลคาว จะเป้นตัวนำเซ็นเซอร์เข้ามาจับพฤติกรรมของวัวแล้วเอาทั้งหมดมาประมวลผลแล้วแจ้งเกษตรกรได้ว่าเมื่อไหร่ที่วัวของเค้าเป็นสัดอยู่ เมื่อไหร่ที่วัวป่วย สามารถเข้าไปดูได้โดยผ่านแอพพิเคชั่น ซึ่งสามารถดูผ่านเว็ปไซต์ก็ได้หรือระบบมือถือก็ได้เรียกว่าง่ายสำหรับทุกๆคน ทุกคนสามารถเข้าถึงได้หมด ซึ่งถ้านำตัว ทรูดิจิตอลคาว มาใช้แล้ว เกษตรกรจะเห็นผลผลิตที่ดีขึ้นโดยทั่วไปน้ำนมดีขึ้นแน่นอน วัวป่วยน้อยลงและลดการสูญเสีย ขายน้ำนมได้มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรสามารถมีเวลาออกไปผักผ่อนหรือไปไหนต่อไหนได้มากขึ้นเพราะสามารถดูแลฟาร์มจากที่ไหนก็ได้ ทั้งหมดทั้งมวลนี้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เราภูมิใจนำเสนอเพื่อนำมาช่วยยกระดับเกษตรกรในภาคการเลี้ยงโคนมและโคเนื้อของประเทศไทย รูปแบบในการทำงาน ต้องมีกล่องรับสัญญาณ ตัวรับข้อมูลจาก ทรูดิจิตอลคาวส่งไปยังคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รัศมีที่รับข้อมูลประมาณ 500 เมตร และจะต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ต ประโยชน์ที่ได้รับ ลดวันท้องว่าง เพิ่มรายได้จากการรีดนมที่ผสมติดเร็วขึ้น ตรวจสัดแม่นยำ ได้น้ำนมส่วนเพิ่มจากการไม่ต้องรอรีดจนแห้ง สามารถนำลูกวัวไปจำหน่าย ลดผลกระทบจากการป่วย ลดความเสียหายจากผลผลิตที่ลดลง ลดการเสียหายจากการที่วัวล้ม ลดภาระในการเฝ้าระวัง ไม่ต้องคอยเฝ้าดูที่หน้าฟาร์มตลอดเวลาสามารถบริหารจัดการได้ผ่านระบบ ทรู ดิจทัล คาว (True Digital Cow Ear Tag) สามารถเข้ามาช่วยแก้ปํญหาต่างๆได้ เพราะสามารถ วัดพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การกิน และการเคี้ยวเอื้องของวัว (ทั้งวัวนมและวัวเนื้อ) เพื่อนำมาวิเคราะห์และช่วยในการบริหารจัดการ แจ้งเตือนเมื่อวัวมีอาการเป็นสัดและถึงรอบของการผสมพันธุ์ แจ้งเตือนระยะเวลาที่เหมาะสมของการผสมพันธุ์ แจ้งเตือนเมื่อวัวมีอาการป่วย มีระบบการบันทึกติดตามประสิทธิภาพการผสมพันธุ์วัว ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงดูวัวทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นได้ โปรโมชั่นพร้อมแพ็คเกจ สนใจสามารถติต่อสอบถามได้ที่  : https://cpffeedsolution.com/true-digital-cow/

True digital cow ear tag แท็กติดหูวัวอัจฉริยะ เช็คระยะสัดแม่นยำในการผสมเทียมวัว เช็คสุขภาพวัวป่วย Read More »