มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป
มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป สำหรับบทความนี้ เราจะมาดู เรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ กันครับ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไปที่ต้องการทำมาตรฐานฟาร์ม ก็สมารถ ดูบทความนี้ได้เลยครับ สำหรับ มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ หรือ มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ นี้กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ที่เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 10,000 ตัวขึ้นไป ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่ และไข่ไก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมในการนำไปบริโภคเป็นอาหาร องค์ประกอบของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ องค์ประกอบฟาร์ม 1.1 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตราย ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ หรือมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 1.2 ผังและลักษณะฟาร์ม ฟาร์มมีขนาดพื้นที่เหมาะสมไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการวางผังฟาร์มที่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะและสุขอนามัยสัตว์ และแยกพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน มีบริเวณหรือสถานที่เก็บรวบรวมไข่ไก่ก่อนเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์ม 1.3 โรงเรือน มีการวางผังที่แสดงตำแหน่งอุปกรณ์ซึ่งเอื้อต่อการเลี้ยงไก่ไข่ มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงไก่ไโดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ มีความแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ ระบายอากาศได้ดี ง่ายต่อการบำรุงรักษาทำความสะอาดและฆ่เชื้อ รวมทั้งมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการวางไข่และ การเก็บไข่ การจัดการฟาร์ม 2.1 คู่มือการจัดการฟาร์ม มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงาน ที่สำคัญภายในฟาร์ม ได้แก่ ระบบการเลี้ยง การจัดการอาหารและน้ำ การจัดการ ด้านสุขภาพ และการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก 2.2 การจัดการอาหาร และน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในกรณีที่ผสมอาหารไก่ไข่เอง หรือนำอาหารจากข้อ 2.2.1 มาผสม ห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ไข่ทางกายภาพในเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างไว้เพื่อใช้วิเคราะห์กรณีมีปัญหา มีสถานที่เก็บอาหารไก่ไข่โดยแยกต่างหาก และเก็บอาหารในสภาพ ที่ป้องกันการเสื่อมสภาพและปนเปื้อน มีการจัดการให้ไก่ไข่ทุกตัวได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องสะอาดและมีผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพ 2.3 การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบโรงเรือนต้องสะอาด และบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพดีและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรงเรือน และอุปกรณ์ หลังจากย้ายไก่ไข่ รุ่นเก่าออก และปิดพักโรงเรือนในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการตัดวงจรเชื้อโรค ไม่ให้สะสมในโรงเรือน เว้นแต่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นอย่างอื่นในแต่ละพื้นที่ ภาชนะเก็บไข่ เช่น ถาดไข่ เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะเก็บไข่ ก่อนนำเข้าในบริเวณพื้นที่ เลี้ยงไก่ไข่และก่อนการนำไปใช้งานทุกครั้ง บุคลากร 3.1 มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน 3.2 มีบุคลากรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สัตวบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตร ด้านสัตวบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ และสัตวแพทย์ที่มีใบรับรอง เป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกจำนวนพอเหมาะกับจำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง 3.3 บุคลากรที่ทำหน้าที่เลี้ยงไก่ไช่ข่ต้องมีความรู้ โดยได้รับการฝึกอบรมหรือ การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้จัดการฟาร์มได้ 3.4 มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อ ด้านสุขภาพสัตว์ 4.1 การป้องกันและควบคุมโรค มีหลักฐานหรือเอกสารระบุแหล่งที่มาของไก่ไข่ มีมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะ วัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งสัตว์พาหะนำเชื้อ มีแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรคโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ตรวจติดตามสุขภาพไก่ไข่ประจำวัน และมีการจัดการซากสัตว์ที่เหมาะสม กรณีเกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ 4.2 ด้านการบำบัดโรค การบำบัดรักษาโรคสัตว์ ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สวัสดิภาพสัตว์ ดูแลไก่ไข่ให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่นไก่ระยะไข่และไข่ไก่ 6.1 ไก่รุ่นและไก่ระยะไข่ สุ่มตรวจสขภาพ ุ ขนาดและนาหนักไก่ คัดแยกไก่ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ มีขนาดและน้ำหนัก ไม่ใกล้เคียงกับรุ่น หรือไม่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตออก 6.2 ไข่ไก่ เก็บไข่และคัดแยกไข่ที่ผิดปกติ มีรอยร้าวหรือแตกออก และคัดแยกไข่ ที่สกปรกมีมูลไก่ติด เพื่อแยกทำความสะอาด เก็บรักษาไข่ไก่ไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือที่มีการควบคุม อุณหภูมิ การขนส่งไข่ ใช้พาหนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ดีหรือควบคุมอุณหภูมิได้ สิ่งแวดล้อม 7.1 กำจัดขยะ น้ำเสีย ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของ กลิ่นและเชื้อโรค 7.2 ป้องกันการฟุ้งกระจายของวัสดุรองพื้นหลังการย้ายไก่ไข่ออกจากฟาร์ม การบันทึกข้อมูล 8.1 ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ การควบคุมโรคและผลิตผล 8.2 ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ ไฟล์ PDF เป็นคู่มือการเลี้ยงไก่ ครับ ที่สามารถให้เรา โหลดได้ฟรี ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก
มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป Read More »