คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ
การเลี้ยงเป็ดไข่ จาก 0 ถึงมืออาชีพ ครบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น โรงเรือน อาหาร การดูแล ปัจจุบัน การเลี้ยงเป็ดไข่ ได้มีการพัฒนาไปมาก ทั้งในเรื่องของสายพันธุ์ อาหาร วิธีการเลี้ยง ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็ดไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเฉพาะสายพันธุ์ CP Super ซึ่งเป็นเป็ดไข่ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีรูปร่างที่ปราดเปรียว หากินเก่ง กินอาหารน้อย ไข่ดก โดยให้ไข่สะสมที่ 52 สัปดาห์สูงถึง 280-300 ฟองต่อตัว และสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วด้านคุณภาพไข่ ให้ไข่น้ำหนักเฉลี่ย 72 กรัม มีเปลือกไข่ที่หนา และฟองไข่แดงที่ใหญ่ คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ได้รวบรวมเนื้อหาสาระสำคัญของการเลี้ยงเป็ดไข่ในปัจจุบัน จากในส่วนของมาตรฐานสายพันธุ์เป็ดไข่ พร้อมได้รวบรวมความรู้และเทคนิคการเลี้ยงจากผู้ชำนาญการด้านการเลี้ยงเป็ดไข่ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ไว้ด้วย อย่างไรก็ตามคู่มือฉบับนี้เป็นเพียงแนวทางในการจัดการฟาร์ม ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถดูแลเป็ดไข่ สายพันธุ์ CP Super ให้เป็นไปตามมาตรฐานสายพันธุ์ มีผลผลิตไข่ตรงตามความต้องการของตลาด และมีผลกำไรต่อผู้เลี้ยง หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมนอกเหนือจากคู่มือฉบับนี้สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายขายพันธุ์สัตว์ บริษัท ซีพีเอฟ(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 128 ถ. เย็นจิต แขวงทุ่งวัดดอน เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120 โทร. 0-2680-4532, 0-2680-4557 สำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ เป็ดไข่ 2000 ตัว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นี่ครับ >>> โครงการเป็ดไข่ครบวงจร <<< ความสำเร็จเริ่มต้นที่สายพันธุ์ : ลักษณะของเป็ดไข่สายพันธุ์ ซีพี ซุปเปอร์ ลักษณะลูกเป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ อายุ 1 วัน มีลักษณะสีขนสีเหลือง กากี ปากและเท้าสีส้มอมน้ำตาล น้ำหนักเป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ ลูกเป็ดอายุ 1 วัน มีน้ำหนักประมาณ 40 กรัม เมื่อน้ำหนักประมาณ 1,450 กรัม ที่อายุ 18 สัปดาห์ ก็ เริ่มให้ไข่ฟองแรก และเมื่อเป็ดให้ผลผลิตครบ 1 ปี น้ำหนักจะเท่ากับ 1,650 กรัม ลักษณะไข่เป็ด ซีพี ซุปเปอร์ ลักษณะของไข่ มีน้ำหนักเฉลี่ย 72 กรัม สีเปลือกไข่สีขาว และสีเขียวอ่อน มีฟองไข่แดงใหญ่ เปลือกหนาและเหนียว เหมาะแก่การนำไปแปรรูป การเตรียมโรงเรือน และ อุปกรณ์สำหรับเลี้ยงเป็ดไข่ พื้นที่การเลี้ยงระยะลูกเป็ดและเป็ดรุ่น 6 – 8 ตัวต่อ ตรม. พื้นที่การเลี้ยงระยะเป็ดไข่ 3 – 4 ตัวต่อ ตรม. พื้นที่ในโรงเรือน แบ่งส่วนพื้นที่การเลี้ยงดังนี้ พื้นที่การกินอาหารและบริเวณพักผ่อน ประมาณ 50% ของโรงเรือน พื้นที่ไข่ ประมาณ 20% ของโรงเรือน พื้นที่ลานนอกโรงเรือนมีบ่อน้ำ หรือ รางน้ำ สำหรับให้เป็ดกินน้ำ และเล่นน้ำ ประมาณ 30% ของพื้นที่ ขั้นตอนการเตรียมโรงเรือน สำหรับเป็ดไข่ สำหรับโรงเรือนใหม่ต้องเก็บกวาด และ ตรวจเช็คอย่าให้มีสิ่งที่ก่ออันตรายกับตัวเป็ด เช่น วัสดุมีคม แต่โรงเรือนที่เคยเลี้ยงเป็ดมาก่อน ต้องเก็บกวาดสิ่งปฏิกูล วัสดุรองพื้น ออกจากโรงเรือนให้มากที่สุด ล้างทำความสะอาดโรงเรือน และ อุปกรณ์การเลี้ยง ด้วยน้ำสะอาด แล้วพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ฆ่าแมลง ทั้งภายใน และ ภายนอกโรงเรือนให้ทั่ว สำหรับลูกเป็ด ให้ใส่วัสดุรองพื้น ที่แห้ง และ สะอาด เช่น แกลบ รองพื้นโรงเรือนหนาประมาณ 1 – 2 นิ้ว พร้อมติดตั้งอุปกรณ์สำหรับกก ลูกเป็ด แผงกั้นล้อมบริเวณที่จะเลี้ยงลูกเป็ด อุปกรณ์ให้น้ำ ให้อาหาร และ กั้นผ้าม่านโดยรอบ เพื่อป้องกันลมโกรก และ ฝนสาด สำหรับเป็ดระยะให้ผลผลิต ควรใส่วัสดุรองพื้น ที่แห้ง และ สะอาด โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ไข่ พ่นยาฆ่าเชื้อ และ ยาฆ่าแมลง อีกครั้ง หากมีการปลดเป็ดฝูงเก่าออกควรมีการพักโรงเรือนอย่างน้อย 21 วัน ตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ การจัดการลูกเป็ดไข่ระยะกกอายุ 1 – 7 วัน การกกลูกเป็ดต้องคำนึงถึงการจัดการด้านอุณหภูมิ การขยายพื้นที่การเลี้ยง และ การจัดวางอุปกรณ์ให้อาหาร ให้น้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดมีความเป็นอยู่สบาย สุขภาพแข็งแรง การนำลูกเป็ดเข้าเลี้ยง ประมาณการลูกเป็ดเข้าเลี้ยง โดยคำนึงถึงพื้นที่การเลี้ยง 6 – 8 ตัวต่อ ตรม. การขออนุญาตลงลูกเป็ด โดยแจ้งการขอเข้ากับปศุสัตว์อำเภอ ก่อนจะนำลูกเป็ดเข้าเลี้ยงใหม่ การเตรียมความพร้อมในการรับลูกเป็ด จัดเตรียม น้ำสะอาดใส่กระติกน้ำ ถาดอาหารก่อนลูกเป็ดเข้า เปิดเครื่องกก และ ปรับอุณหภูมิภายในกกอยู่ที่ 32๐ C ก่อนลูกเป็ดเข้า 2 ชั่วโมง การรับลูกเป็ด ตรวจเช็คสุขภาพ โดยดูจากลักษณะภายนอก หากพบ ลูกเป็ดอ่อนแอ พิการ ตาบอด คอบิด ขาเสีย ปากเบี้ยว ให้คัดทิ้ง และ ตรวจนับจำนวนลูกเป็ด พร้อมทั้งสุ่มชั่งน้ำหนักลูกเป็ดประมาณ 5-10 % การกกลูกเป็ด ควรมีการตรวจสอบอุณหภูมิ ความสุขสบายของลูกเป็ด และควรขยายพื้นที่การกกให้เต็มพื้นที่การเลี้ยงที่อายุลูกเป็ด 7 – 10 วัน การจัดการอาหาร ใช้ถาดเหลือง 7 วันแรก โดยแบ่งอาหารให้วันละ 3 ครั้ง เบอร์อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกเป็ดได้คือ 541 D-1 ปข 1 YC 6548 YC และ 521 น้ำหนักลูกเป็ดช่วงสัปดาห์แรก 150 กรัม การจัดการน้ำ ในวันแรกที่ลงลูกเป็ดให้ฝึกการกินน้ำ โดยการจับปากลูกเป็ดจุ่มลงในน้ำ เพื่อให้ลูกเป็ดกินน้ำเป็น หลังจากเป็ดอายุ 4 วัน เริ่มลดจำนวนกระปุกน้ำออก และฝึกให้เป็ดกินน้ำจากนิปเปิ้ล หรืออุปกรณ์ให้น้ำชนิดต่างๆ การจัดการแสงสว่างของลูกเป็ด การจัดการเป็ดรุ่นไข่อายุ 2 – 17 สัปดาห์ การจัดการอาหาร ควรให้อาหารวันละ1 ครั้ง การเทอาหารต้องรวดเร็ว อุปกรณ์ให้อาหารต้อง เพียงพอ และการกระจายอาหารต้องทั่วถึง โดยปริมาณอาหารพิจารณาตามตาราง ที่อายุ 2 สัปดาห์ ใช้อาหารลูกเป็ด คือ 541 D-1 ปข 1 YC 6548 YC และ 521 ที่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไปใช้อาหารเป็ดรุ่นไข่คือ 599 D ดี -5 ส 6 D 6656 D การชั่งน้ำหนัก การหาค่าความสม่ำเสมอ เป็นค่าบ่งชี้ ให้ทราบได้ว่าน้ำหนักตัวเป็ดรุ่นไข่ ในแต่ละสัปดาห์มีค่าใกล้เคียงกับมาตรฐานหรือไม่ นอกจากนี้แล้วความสม่ำเสมอของฝูงเป็ดก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน หากความสม่ำเสมอในฝูงสูงก็จะส่งผลถึง %ไข่ที่จะสูงตามไปด้วย ในทางตรงกันข้ามหากความสม่ำเสมอต่ำก็จะทำให้ %ไข่ลดลง ซึ่งอาจแก้ไขด้วยการพิจารณาถึงการเพิ่มปริมาณอาหาร ความเร็วในการกระจายอาหาร และอุปกรณ์ในการให้อาหาร ทำไมต้องมีการชั่งหรือตรวจเช็ค การให้อาหาร และชั่งน้ำหนักของเป็ดไข่ ทั้งนี้การเลี้ยงเป็ดไข่ หรือสัตว์ใดๆก็ตามถ้ามีระบบในการตรวจสอบ และการ เช็คการเติบโต จะทำให้ การเลี้ยงมีคุณภาพมากขึ้น และมีผลผลิตดีขึ้น อย่างมาก การจัดการน้ำ ที่ให้น้ำควรเป็นแบบรางน้ำ และมีลูกลอย เพื่อจะได้มีน้ำให้เป็ดกินได้ ไม่ขาดน้ำ ตลอดเวลาในช่วงเป็ดรุ่น น้ำเป็นปัจจัยสำคัญต้องมั่นใจว่ามีอย่างเพียงพอ เพราะช่วงนี้มีการให้อาหารอย่างจำกัดวันละ 1 ครั้ง ดังนั้นเป็ดจะกินอาหารอย่างรวดเร็วและกินอาหารเต็มกระเพาะจนถึงหลอดอาหาร หลังจากกินอาหารเสร็จเป็ดจะกินน้ำในเวลาเดียวกัน หากเป็ดขาดน้ำหรืออุปกรณ์การให้น้ำไม่เพียงพอจะทำให้เป็ดเกิดอาการอาหารติดคอ (จุกอาหาร) และเสียหาย การจัดการแสง การฝึกเข้ารังไข่ เมื่อเป็ดอายุได้ 16 สัปดาห์ ควรเริ่มนำรังไข่เข้าเล้า เพื่อฝึกให้เป็ดเข้ารังไข่ โดยในตอนกลางคืน (21:00 – 6:00น.) ควรเปิดไฟให้มีความเข้มแสงประมาณ 5 Lux ในบริเวณรังไข่ และบริเวณรังไข่ควรมีประตู โดยจะเปิดประตูเฉพาะเวลาที่ให้แสงในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวัน เพื่อให้เป็ดรู้เวลาเข้าไข่ และป้องกันไม่ให้ไข่สกปรก การคัดทิ้งเป็ดผิดเพศ โดยปรกติในการคัดเพศเป็ดไข่เพศเมีย จะมี%ความผิดพลาดประมาณ 0.5-1% (การขายลูกเป็ดไข่มีลูกเป็ดแถม 2%) เราสามารถเริ่มคัดเป็ดผิดเพศได้ที่อายุ 5-7 สัปดาห์ แต่จะเริ่มชัดเจนที่อายุประมาณ 10 สัปดาห์ โดยพิจารณาจาก ขนาดตัวที่ใหญ่ หัวใหญ่ บริเวณหัวเป็นสีน้ำตาลหรือเขียวเข้ม ขนบริเวณหน้าอกสีน้ำตาลเข้ม ปากสีเหลืองเข้ม ขนที่ก้นงอน และเสียงร้องแหบ ซึ่งผลเสียของการไม่คัดเป็ดผิดเพศทิ้งคือ ไข่เป็ดสดจะมีเชื้อ ทำให้เก็บไว้ได้ไม่นาน รวมทั้งไม่เหมาะที่นำไปแปรรูปอีกด้วย การจัดการเป็ดระยะไข่อายุ 18 สัปดาห์ ถึง ปลด การจัดการอาหาร และ น้ำ ควรให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง ซึ่งปริมาณการให้อาหารจะขึ้นกับ % การให้ ให้ผลผลิต โดยพิจารณาตามตาราง หมายเหตุ เบอร์อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดระยะไข่คือ 599 D ดี -5 ส 6 D 6656 D การที่ไม่ให้เป็ดกินอาหารเต็มที่ในช่วงแรกของการให้ไข่เนื่องจาก เป็นการป้องกันการเกิดไข่แฝด ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เป็ดก้นทะลัก แต่อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงเป็ดในโรงเรือนเปิด สภาพอากาศเป็นปัจจัยสำคัญในการกินอาหารได้ของเป็ด ดังนั้นในแต่ละวันปริมาณอาหารที่เป็ดกินได้อาจไม่เท่ากัน จึงควรให้อาหารแต่พอดี ในหนึ่งวันต้องมีช่วงที่อาหารหมดรางอาหาร ห้ามมีอาหารเหลือข้ามวันเพราะทำให้อาหารเน่าเสีย ส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นเป็ดไม่กินอาหาร หรือถ้าหากกินอาจมีผลเสียต่อสุขภาพเป็ดได้ การจัดการรังไข่ และเก็บไข่ ตอนกลางคืน (21:00 – 6:00น.) ควรเปิดไฟให้มีความเข้มแสงประมาณ 5 Lux ในบริเวณรังไข่ และบริเวณรังไข่ควรมีประตู โดยจะเปิดประตูเฉพาะเวลาที่ให้แสงในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวัน เพื่อให้เป็ดรู้เวลาเข้าไข่ นอกจากนี้ภายในรังไข่ต้องมีวัสดุรองพื้น ได้แก่ แกลบ หรือฟาง ที่แห้ง สะอาด ปราศจากความชื้น เพื่อป้องกันไข่สกปรก ควรเก็บไข่วันละ 2 ครั้ง (เช้า 6.00 น และ 10.00 น ) โดยเก็บไข่ที่อยู่นอกพื้นที่รังไข่ก่อน ถ้าพบว่ามีเป็ดอยู่ในพื้นที่รังไข่ ควรต้อนเป็ดออกมาก่อน และต้องมั่นใจได้ว่าไม่มีไข่ตกค้างอยู่ในรังไข่ รวมทั้งในเวลากลางวันไม่ควรให้เป็ดเข้าไปในพื้นที่รังไข่ มิฉะนั้นจะเป็นการกระตุ้นพฤติกรรมการกกไข่ ซี่งส่งผลให้ผลผลิตไข่ลดลง จากการทดลองเก็บไข่เป็ดสดในสภาวะต่างๆพบว่า ที่อุณหภูมิห้องสามารถรักษาความสดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้เพียง 10 วัน ที่อุณหภูมิห้องเย็นได้ 25 วัน และที่อุณหภูมิตู้เย็นได้มากกว่า 30 วันแต่อย่างไรก็ตามอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเก็บไข่เป็ดสดตามที่ USDA แนะนำ คือ 16 องศาเซลเซียส การจัดการไข่เป็ดสด การคัดไข่ แบ่งเบอร์ไข่ได้ดังตาราง ซึ่งไข่ต้องแห้งสะอาด หากไข่สกปรก หรือเปียกน้ำ ไม่ควรเก็บไว้เป็นเวลานาน หรือนำไปแปรรูปเป็นไข่เค็ม เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการเน่าเสียได้สูง การรับเป็ดสาวเข้าเลี้ยง ควรเลือกชื้อเป็ดสาวจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ควรรับเป็ดสาวก่อนที่จะให้ไข่ เพื่อป้องกันปัญหาไข่แตกในช่องท้องระหว่างขนย้าย และ เป็ดสาวควรมีอายุเดียวกันทั้งฝูง เป็ดสาวควรมีน้ำหนักเฉลี่ยตามมาตรฐานสายพันธุ์ เมื่อเป็ดสาวมาถึงฟาร์ม ควรให้เป็ดได้กินน้ำก่อนให้อาหารประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง ควรคัดเป็ดที่อ่อนแอ ไม่สมบูรณ์ เป็ดเพศผู้ ออกจากฝูง ควรถ่ายพยาธิ และ ทำวัคซีน ตามโปรแกรมที่เหมาะสมของแต่ละพื้นที่ การปลดเป็ด การปลดเป็ด คือ การนำฝูงเป็ดเก่าออกจากฟาร์ม เพื่อเตรียมโรงเรือนสำหรับรับเป็ดสาวฝูงใหม่เข้าเลี้ยง การปลดเป็ดควรคำนึงจาก อายุครบปลด ความคุ้มทุนของการเลี้ยง สภาวะตลาด เมื่อถึงวันจับเป็ดทางฟาร์มมีขั้นตอนปฏิบัติดังนี้ อดอาหารก่อนจับเป็ด 3 – 4 ชั่วโมง สุ่มน้ำหนักเป็ดเพื่อหาน้ำหนักเฉลี่ยของฝูง ประมาณ 1 – 2 % ต้อนเป็ดด้วยความระมัดระวัง ตรวจนับจำนวนเป็ดที่ขายให้ครบจำนวน ท่านสามารถ ดาวโหลด เอกสาร คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ฉบับเต็มได้ที่ นี่เลยครับ คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่
คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ สูตรสร้างความสำเร็จแบบมืออาชีพ Read More »