CPF ชูหลัก “โภชนาการแม่นยำ” พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก หนุนสุขภาพที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

   PF ชูหลัก “โภชนาการแม่นยำ” พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก หนุนสุขภาพที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม 
 
   CPF เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมอาหารสัตว์รักษ์โลก ยึดหลักการโภชนาการแม่นยำ สรรหาสารอาหารที่ตรงกับช่วงวัยการเติบโตของสัตว์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ และวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ต้องไม่มาจากแหล่งที่มีการตัดไม้ทำลายป่า จับมือพันธมิตรที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เพื่อพัฒนาวิธีการประเมินด้านการผลิตปศุสัตว์และผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม หนุนสุขภาพที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) ตอบโจทย์สร้างความมั่นคงทางอาหาร และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ CPF เปิดเผยว่า CPF มุ่งมั่นวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหารสัตว์ โดยให้ความสำคัญกับหลักโภชนาการแม่นยำ คือ การสรรหาและคิดค้นวัตถุดิบทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ เพื่อนำไปผลิตและพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ที่ตรงกับความต้องการอาหารของสัตว์ในแต่ละช่วงวัย ช่วยให้การย่อยของสัตว์สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารต่างๆ ได้ดี ลดการปลดปล่อยสารอาหารส่วนเกินสู่สิ่งแวดล้อม อาทิ ไนโตรเจน นอกจากนี้ ยังใช้นวัตกรรมการเลี้ยงไก่และสุกรด้วยจุลินทรีย์ดี “โปรไบโอติก” โดยให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรงและเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) คือ สุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์สุขภาพของผู้บริโภค ภายใต้แนวคิดการผลิตอาหารปลอดภัย
 
    CPF มีระบบและเครื่องมือที่มีความพร้อมด้านต่างๆ ในการผลิตอาหารสัตว์ รวมถึงการนำนวัตกรรมทางด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) มาช่วยพัฒนาสูตรอาหารสัตว์ เพื่อให้การขับของเสียจากฟาร์มปศุสัตว์น้อยที่สุด รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด ปาล์มน้ำมัน กากถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ต้องไม่มาจากแหล่งตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
“เราคิดว่าสัตว์ที่มีสุขภาพดี ก็จะได้เนื้อสัตว์หรือแหล่งโปรตีนที่ดี เพื่อส่งต่อไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ผู้บริโภคสุขภาพดี นอกจากตัวสัตว์ ผู้บริโภค เรายังใส่ใจสิ่งแวดล้อม อยากให้สิ่งแวดล้อมดีด้วย” ดร.ไพรัตน์ กล่าว
 
   นอกจากนี้ จากการที่บริษัทฯ ได้ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลกจากเนเธอร์แลนด์ ได้แก่ บริษัท รอยัล ดีเอสเอ็ม (Royal DSM NV) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมอาหารและปศุสัตว์ และ บริษัท Blonk Consultants องค์กรที่ให้คำปรึกษาด้านการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม จะช่วยเสริมศักยภาพของ CPF ในการพัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลก ด้วยการนำนวัตกรรมโซลูชัน “SustellTM” มาใช้วัดผลงานด้านความยั่งยืนของผลิตภัณฑ์ ด้วยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และหาแนวทางลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตอาหารในธุรกิจสัตว์บก อาทิ ไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และวัวนม ทำให้สามารถวัดข้อมูลตั้งแต่วัตถุดิบ สูตรอาหาร และฟาร์ม เป็นโอกาสที่ดีที่ CPF ได้แลกเปลี่ยนและแชร์ประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เนื่องจาก Blonk Consultants เป็นผู้ให้คำปรึกษากับหลายๆ องค์กร เช่น องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations : FAO) ในการพัฒนาวิธีการประเมินด้านการผลิตปศุสัตว์และการประเมินผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อม (Livestock Environmental Assessment and Performance, LEAP) เกี่ยวกับการผลิตอาหารสัตว์
 
   
   ดร.ไพรัตน์ กล่าวว่า CPF พัฒนาอาหารสัตว์รักษ์โลกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นต้นทางที่จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) อาทิ อาหารสุกรที่สามารถลดปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินที่สุกรขับทิ้งออกมาในรูปแบบของสิ่งขับถ่ายถึงร้อยละ 20-30 ซึ่งประยุกต์ใช้จากไทย ขยายไปทุกประเทศทั่วโลกที่ CPF มีฟาร์มสุกรอยู่ จากนั้นขยายผลไปยังสุกรพ่อแม่พันธุ์ สุกรรุ่นพันธุ์ การพัฒนาสูตรอาหารไก่ไข่รักษ์สิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น กากถั่วเหลือง เพื่อช่วยลดกลิ่นที่เกิดจากมูลสัตว์ ทำให้ปริมาณไนโตรเจนส่วนเกินลดลงร้อยละ 12-13 จากมูลไก่ไข่ และในปีนี้ มีแผนพัฒนาสูตรอาหารรักษ์โลกสำหรับธุรกิจเป็ดเนื้อครบวงจร คาดการณ์ว่า ปี 66 อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของไทยจะเติบโตใกล้เคียงกับปี 64 แม้จะมีปัจจัยความท้าทายจากต้นทุนวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น./
 
CR : CPF
แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)