Logo-CPF-small-65png

ข่าวน่าสนใจ

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ

CPF เดินหน้าผลักดันเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนเทรคฟาร์ม สู่การเป็นฟาร์มอัจฉริยะ หรือ Smart Farm สนับสนุนการนำเทคโนโลยีทันสมัย และระบบออนไลน์ มาใช้ในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมการผลิตเนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรคคุณสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร CPF เปิดเผยว่า CPF มุ่งมั่นยกระดับระบบการบริหารฟาร์มเลี้ยงสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และยังได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มให้นำเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ ก้าวสู่การเป็นเกษตรอัจฉริยะ ช่วยให้ทำงานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ด้วยระบบ Smart Farm สามารถบริหารจัดการฟาร์มได้ทุกที่ทุกเวลา โดยผนึกกำลังกับ TRUE ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) 3 จุดในฟาร์มของเกษตรกร ได้แก่ ประตูทางเข้าออกฟาร์ม หน้าห้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์มและในโรงเรือน เพื่อช่วยป้องกันโรคและตรวจสอบสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มเบื้องต้นได้    ปัจจุบัน ได้ติดตั้ง CCTV ในฟาร์มเกษตรกรแล้ว 90% คาดว่าจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2564 นี้ ส่วนระบบออโต้ฟีด (Auto Feeding Systems) ติดตั้งในฟาร์มสุกรขุนของเกษตรกร 100% ทั่วประเทศแล้ว ช่วยลดแรงงานและไม่จำเป็นต้องใช้คนเข้าไปให้อาหารในโรงเรือน เพื่อให้คนเข้าสัมผัสตัวสัตว์น้อยที่สุด ลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆ สู่สุกรตามมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) และยังเริ่มใช้ระบบ Sound talk ซึ่งเป็นอุปกรณ์ IOT ที่ติดตั้งในโรงเรือนเลี้ยงสุกรขุน เพื่อตรวจวัดเสียงไอ ถือเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยติดตามสุขภาพสุกร เพื่อให้ได้เนื้อสัตว์คุณภาพ ปลอดภัย ปลอดโรค” คุณสมพร กล่าวนอกจากนี้ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มทั้ง 100% ใช้แชทบอท (Chatbots) ผ่านแอปพลิเคชัน LINE Official เพื่อพูดคุยและปรึกษากับทีมงานของบริษัทได้ตลอดเวลา รวมถึงใช้บันทึกข้อมูลด้านบัญชีและการผลิต อาทิ จำนวนสุกร การใช้อาหาร สต๊อกวัคซีน เข้าระบบเป็นประจำทุกวัน เพื่อเชื่อมข้อมูลกับระบบ Pig Pro ที่ใช้บริหารจัดการกระบวนการผลิต ทำให้สามารถติดตามการผลิตได้ตลอดเวลา และได้ร่วมกับ CPF IT Center ในการพัฒนาแพลตฟอร์มของ CPF เรียกว่า “สมาร์ท พิก” (Smart Pig) จะเริ่มใช้ประมาณไตรมาส 4/2564 เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ และสนับสนุนเกษตรกรในด้านการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิต วางแผนการผลิตและการจัดการให้เหมาะสมสำหรับเกษตรกรแต่ละราย    สำหรับฟาร์มเลี้ยงสุกรทั้ง 98 แห่งของ CPF ใช้ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ระบบการให้อาหารออโต้ฟีด การควบคุมสภาพแวดล้อมการเลี้ยงสัตว์ในโรงเรือนอีแวปด้วยระบบอัตโนมัติ ในการสั่งเปิดปิดน้ำหล่อเลี้ยงแผงความเย็น พัดลม และไฟฟ้า การให้อาหาร โดยขณะนี้ได้พัฒนาเพิ่มเติมด้วยการนำระบบออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันในมือถือ มาใช้สั่งการระบบควบคุมดังกล่าว ซึ่งจะทำงานร่วมกับกล้อง CCTV ที่ติดตั้งไว้ในโรงเรือน และใช้ระบบ Sound talk เพื่อลดความเสี่ยงจากคนที่อาจนำโรคเข้าสู่สุกร ในด้านของสัตวแพทย์ ผู้จัดการฟาร์มและสัตวบาล สามารถติดตามความเป็นอยู่ของสัตว์ ผ่านการมอนิเตอร์ภาพรวมภายในโรงเรือนและการทำงานของอุปกรณ์ได้ตลอดเวลา (Real Time) หากสภาพแวดล้อมไม่เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ก็สามารถปรับแก้ไขได้ทันท่วงที ด้วยการสั่งงานผ่านกล้องและแอปพลิเคชันมือถือ ช่วยให้สื่อสารกับบุคลากรที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว./ CR: cpf

ยกระดับ‼️ เกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม CPF ชูเทคโนโลยีและระบบออนไลน์ สู่ฟาร์มอัจฉริยะ Read More »

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ‼️ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด คุณโกวิน ฤทธิกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และชาว CPF จิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ราชบุรี เป็นตัวแทนบริษัทฯ มอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานเมนูบะหมี่เกี๊ยวกุ้ง จากโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเติมเต็มเสบียงและแทนคำขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี สู้โควิด โดยมี คุณสุภเวช ชัยทัศน์ ผู้แทน ผอ.รพ.ดำเนินสะดวก รับมอบCPF ริเริ่มและดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตั้งแต่ปี 2563 ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้โครงการ “ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” นับจากวันแรก…ถึงวันนี้ CPF สนับสนุนอาหารพร้อมทานหลายล้านแพ็ค น้ำดื่มและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายล้านขวด วัตถุดิบอาหารสดและเครื่องปรุงรส ให้แก่โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนาม กลุ่มเปราะบาง ศูนย์ฉีดวัคซีน จุดตรวจโควิดเชิงรุก ศูนย์พักคอย และหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกคนได้บริโภคอาหารคุณภาพอย่างเพียงพอ สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ร่วมเคียงข้างคนไทย ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน./ 

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ‼️ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด Read More »

หมู-ไก่ แข็งแรงด้วย “โพรไบโอติก” กุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี

   บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และมีความมุ่งมั่นที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ จึงนำนวัตกรรม “โพรไบโอติก” มาใช้ในอาหารสัตว์ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อสัตว์แข็งแรง ผู้บริโภคก็จะได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เทรนด์รักสุขภาพและความปลอดภัยอาหารเป็นเรื่องที่ประชากรทั่วโลกให้ความใส่ใจมากยิ่งขึ้น จากผลสำรวจมุมมองผู้บริโภคทั่วโลก (Global Consumer Insights Survey) ประจำปี 2564 จำนวนทั้งสิ้น 8,700 ราย ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก PwC พบว่า เทรนด์สุขภาพและความปลอดภัยคือหนึ่งในประเด็นที่กำลังมาแรง ขณะเดียวกัน การมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีก็เป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ไม่ต้องใช้ยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งการสร้างสมดุลของเชื้อแบคทีเรียที่ลำไส้จะส่งผลดีต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่มาของการศึกษาเรื่องโพรไบโอติกอย่างกว้างขวางทั้งในคนและในสัตว์ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้คำนิยาม โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์มีชีวิต เมื่อใช้ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมจะส่งผลดีต่อร่างกาย หากคนได้รับก็จะมีสุขภาพดี หรือสัตว์ได้รับก็จะมีสุขภาพดีเช่นเดียวกัน จึงมีการการนำโพรไบโอติกมาใช้ในปศุสัตว์เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ    ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เริ่มการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์โพรไบโอติกในไก่เนื้อ โดยเก็บเชื้อจากฟาร์มทั่วประเทศ เพื่อศึกษาหน้าที่และประโยชน์ของจุลินทรย์แต่ละชนิด หลังจากนั้นได้ขยายการศึกษาต่อในสุกร จนกระทั่งได้ข้อมูลที่สามารถสร้างฐานข้อมูลของจุลินทรีย์พื้นฐานได้ จึงพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญและได้ศึกษาเรื่องโพรไบโอติกมาเป็นระยะเวลานาน โดยการคัดโพรไบโอติกจาก 125,000 สายพันธุ์ นำมาสู้กับเชื้อโรคกว่า 1,200 ชนิด ที่เก็บเชื้อมาจากฟาร์มทั่วประเทศ จนได้โพรไบโอติกที่แข็งแรงที่สุดเพียง 9 สายพันธุ์ จึงทำให้ไก่-หมู มีสุขภาพดี แข็งแรงตามธรรมชาติ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งโต ตลอดการเลี้ยงดู ปลอดสาร ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง สำหรับการนำโพรไบโอติกมาใช้ในปศุสัตว์มีประโยชน์หลายด้าน คือ 1) สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคที่พบในฟาร์ม 2) ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ทำงานได้เร็วขึ้น 3) ประสิทธิภาพของสัตว์ในฝูงดีขึ้น เช่น ลูกไก่แรกเกิดจะมีจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม เช่น อีโคไล ซาโมเนลลา ซึ่งถึงว่าเป็นชนิดที่ไม่มีประโยชน์ และใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าเชื้อเหล่านี้จะหมดไป ดังนั้น การนำโพรไบโอติกที่ถูกชนิดมาใช้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยกำจัดเชื้อและลดระยะเวลาลงได้ 4) ช่วยย่อยกากใยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ 5) ลดปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้ยาได้อย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ได้นำนวัตกรรมและทำการวิจัยพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์ม ตลอดจนอาหาร รวมถึงแนวคิด “กินอาหารให้เป็นยา (Food as a Medicine)” เพื่อสอดรับกับนโยบายหลักสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งมุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน คลิกอ่านต่อ : พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก คืออะไร https://cpffeedsolution.com/pic/

หมู-ไก่ แข็งแรงด้วย “โพรไบโอติก” กุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี Read More »

ไข่ไก่กลับมาแล้ว! สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออก ยืนยันไม่ขาดแน่

ห้างค้าปลีกมีการเติมไข่ไก่กลับมาสู่ภาวะปกติ ฟองละ 3.83 บาท ด้านนายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ยอมรับล็อกดาวน์ดันยอดใช้ไข่เพิ่ม 10% ยืนยันไม่ขาดแคลนผลิตได้ 41 ล้านฟองต่อวัน พร้อมร่วมมือรัฐเพิ่มปริมาณตามความต้องการอีก เตือนฟาร์มระวังพ่อค้าป่วนตลาด วันที่ 8 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานระบุว่า จากการสำรวจการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภควันนี้ โดยเฉพาะสถานการณ์จำหน่ายไข่ไก่ในห้างโมเดิร์นเทรดต่าง กลับมาเป็นปกติแล้ว มีสินค้ามาเติมจนเต็มชั้น แล้ว โดยเฉพาะไข่ไก่ กลับมามีปริมาณปกติ จำหน่ายแผงละ 115 บาท หรือเฉลี่ย ฟองละ 3.83 บาท จากก่อนหน้านี้ที่ไข่หายไปจากชั้นวาง และปรับราคาขึ้นไปบางขนาดสูงถึง ฟองละ 4.50 บาท ด้านนายมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยถึงสถานการณ์ไข่ไก่ในขณะนี้ว่า จากกรณีที่มีผู้บริโภคบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงไข่ไก่ ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพดี มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และยังมีอายุจัดเก็บที่นานกว่า จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อไปบริโภค โดยเฉพาะในช่วงล็อกดาวน์ ที่ประชาชนบางส่วนมีการซื้อตุนเพิ่มจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากต้องทำงานที่บ้าน รวมถึงการแยกกักตัว ประกอบกับมีหลายหน่วยงานซื้อไข่ไก่ไปบริจาค ทำให้ปริมาณไข่ไก่มีไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน โดยสูงขึ้นจากการบริโภคปกติประมาณร้อยละ 10 และพบว่าขณะนี้มีพ่อค้าคนกลางบางส่วนใช้วิธีไปรับซื้อที่หน้าฟาร์มเกษตรกร โดยการให้ราคาสูงกว่าราคาประกาศเพื่อจูงใจเกษตรกร  แล้วนำมาขายต่อในราคาที่แพงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตส่วนหนึ่งหายไปจากช่องทางขายปกติ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าของขาด “ปัจจุบัน ไข่ไก่ที่ออกสู่ท้องตลาดมีประมาณ 40-41 ล้านฟองต่อวัน เป็นปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ แต่ด้วยสถานการณ์ทั้งการ Work From Home การแยกกักตัวของกลุ่มเสี่ยง การซื้อไข่ไปบริจาค โดยเฉพาะการเข้าไปรับซื้อไข่ถึงหน้าฟาร์มของพ่อค้าคนกลางบางกลุ่ม ทำให้เกิดสถานการณ์ราคาปั่นป่วน สมาคมฯได้ขอให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขายไข่กับคู่ค้าเดิมที่เป็นช่องทางขายปกติก่อน โดยไม่ขายให้กับคู่ค้าใหม่ หรือผู้ค้าจร ที่จะรวบรวมไข่ไปทำกำไรโดยบวกราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการตัดวงจรดังกล่าว  สมาคมฯ ขอยืนยันว่าไข่ไก่ไม่ขาดแคลน และจะดูแลในส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีปริมาณไข่ที่เพียงพอ และประชาชนไม่ต้องเป็นกังวล” นายมงคล กล่าว CR: ประชาชาติธุรกิจ

ไข่ไก่กลับมาแล้ว! สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออก ยืนยันไม่ขาดแน่ Read More »

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้

วันนี้พวกเราชาว CPF Feed จะมาขอแชร์เกล็ดความรู้ดีๆ จากรายการ Farm Talk ep.22 ในตอน “ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้” เพื่อให้แฟนเพจทุกคนได้เตรียมความพร้อมและรับมือกันหากเราต้องพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ไฟไหม้ คืออะไร ???ทุกคนคงสงสัยสินะ ว่าไฟไหม้คืออะไร? ไฟไหม้ หรือ เพลิงไหม้ คือ ภัยอันตรายที่เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแลซึ่งสาเหตุหลักๆส่วนใหญ่เกิดจาก “ความประมาท” และ “ไฟฟ้าลัดวงจร” รวมทั้งการวางเพลิงและการลุกไหม้ด้วยตัวเอง เช่น ใบไม้, หญ้า, ฟางแห้งเกิดไฟฟ้าสถิตกัน ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในตัว จนกระทั่งไฟลุกขึ้นในที่สุด นอกจากนี้พฤติกรรมของคนสามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ในฟาร์มหรือโรงงาน แม้กระทั่งการทิ้งก้นบุหรี่ลงพื้นดิน หากพื้นดินนั่นมีเศษไม้แห้งก็สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกันสามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.youtube.com/watch?v=YNHuPV2mJXk&t=640s

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้ Read More »

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)

      โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever: ASF) เป็นโรคที่สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต แต่โรค ASF จะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่สุกร และปศุสัตว์ต่างๆ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์อาจพาไวรัสติดไปเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้โรคแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว ในอดีต ASF เป็นโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา แต่ในช่วงปี 2561 และ 2562 เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป แล้วโรค ASF มีอาการอย่างไร เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง สัญญาณและอาการของโรค ASF มีไข้สูง (40.5–42°C) เบื่ออาหารกะทันหัน เลือดออกทางผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต่อมน้ำเหลือง ท้องเสีย อาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน) แท้งลูก มีอาการซึม ไอ หายใจลำบาก เสียชีวิตกะทันหัน อัตราการตายสูง อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคอหิวาต์สุกรธรรมดา (Classical swine fever: CSF) แต่โรค ASF เกิดจากไวรัสเฉพาะซึ่งแตกต่างจาก CSF อัตราการตายที่สูงผิดปกติในหมู่สุกรทุกช่วงวัยถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรค ASF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสุกรน่าจะติดไวรัสชนิดใด ก็คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นในฝูงสุกรที่เลี้ยงไว้ โปรดติดต่อสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการกักโรคและรักษาอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งจะช่วยจำกัดขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นในฟาร์มของคุณได้ เคล็ดลับในการป้องกันฟาร์มให้ห่างไกลจากโรค ASF การป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แม้จะอยู่ในประเทศที่ ASF เป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม มาตรการป้องกัน 9 วิธีในการหลีกเลี่ยงโรค ASF มีดังนี้ การใช้มาตรการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเข้มงวด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF ประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF อาจสั่งให้มีการจำกัดหรือห้ามส่งออกสัตว์ได้หากตรวจพบเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ตรวจสอบรายชื่อภูมิภาคที่มีการติดเชื้อก่อนนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ทำการกำจัดเศษอาหารทุกชนิดจากเครื่องบินหรือเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด ฆ่าเชื้อและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร (เช่น นำเศษขยะไปให้สุกรกิน) การเลี้ยงด้วยเศษอาหารเหลือจากบริการจัดเลี้ยงถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเศษอาหารดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ ASF อาจทำให้ฝูงสุกรที่แข็งแรงติดโรคได้ อย่าทิ้งเศษอาหารไว้ให้สุกรป่าสามารถเข้าถึงได้ ควรกำจัดซากสุกรส่วนที่เหลือทิ้งจากสุกรในโรงเชือดและเศษอาหารอย่างเหมาะสม กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ (การขีดวงทำลาย): สัตว์ที่หายจากโรคหรือสัตว์ที่รอดตายจะเป็นพาหะของไวรัสโรคนี้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นๆ และเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดขึ้นใหม่ การกำจัดสุกรตัวที่ติดเชื้อและตัวที่อาจติดเชื้อจึงมีความปลอดภัยมากกว่า การกำจัดสุกรในวงรัศมีรอบๆ อาจเป็นวิธีที่กำจัดโรคที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและหยุดการระบาดได้เร็วที่สุด กวดขันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม: ดูแลให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรียด้วยการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่การฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูทอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่นำผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ยังไม่ผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเข้าสู่ฟาร์ม และทางฟาร์มควรจัดเตรียมรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ การเคลื่อนย้ายสัตว์และมนุษย์ภายใต้การควบคุม: สุกรที่จัดหามาควรมาจากแหล่งผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรอง เนื่องจากยานพาหนะ อุปกรณ์ และคนอาจเป็นวัตถุพาหะนำเชื้อโรค ASF ได้เช่นกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้มาเยือนฟาร์มที่เพิ่งไปประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF ต้องทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณ เนื่องจากสารคัดหลั่งและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เจ็บป่วยหรือตายถือเป็นแหล่งโรค ASF ดังนั้น รถบรรทุกขนซากสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงและไม่ควรให้เข้ามาในฟาร์มโดยเด็ดขาด การสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังโรค: การดำเนินการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการขนย้ายสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู นอกจากนั้นฟาร์มสุกรเองก็ควรมีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดด้วย โดยควรตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว สุกรที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการฝึกอบรมพนักงานถึงวิธีป้องกันโรค ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจดบันทึกส่วนผสมในอาหารสัตว์ทุกวัน การตรวจพบไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ: แจ้งสัตวแพทย์โดยทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เกณฑ์การกักโรคอย่างเข้มงวด: ควรใช้มาตรการการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่เข้ามาและ/หรือเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรค ASF การรักษาโรค ASF ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ จึงต้องใช้มาตรการป้องกันและระวังในการดูแลสุขภาพสัตว์ให้ปลอดภัย เนื่องจากการสัมผัสระหว่างสัตว์ที่เจ็บป่วยกับสัตว์ที่สุขภาพดีอาจทำให้เชื้อ ASF แพร่สู่กันได้ ดังนั้นจึงควรแยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกต่างหากและคัดออกโดยทันทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ASF รู้หรือไม่? ภูมิภาคทวีปอเมริกาเหนือและโอเชียเนียยังคงเป็นภูมิภาคที่ไม่เคยพบว่ามีรายงานการระบาดของโรค ASF เลย โรค ASF ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ติดเชื้อ ASF โรค ASF ระบาดในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่า รวมถึงเห็บอ่อนหลากหลายประเภท สุกรป่าและตัววอร์ธฮ็อกก็สามารถเป็นพาหะนำโรค ASF ได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัตว์เหล่านี้ไม่มาสัมผัสกับสุกรบ้าน เนื้อสัตว์แช่แข็งจากสุกรติดเชื้ออาจมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ไวรัส ASF อาจมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานสูงสุดถึง 15 วัน และในปัสสาวะที่อุณหภูมิ 21°C ได้นาน 5 วันโดยประมาณ การลดการเกิดเชื้อ ASF ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ต้องปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกที่อุณหภูมิ 70°C นาน 30 นาที หากเป็นน้ำเหลืองและของเหลวจากร่างกาย ต้องใช้อุณหภูมิ 60°C นาน 30 นาที การถนอมอาหารหรือรมควันผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไม่ทำให้ไวรัสตาย โรค ASF สามารถแพร่ต่อกันได้ผ่านอาหารสัตว์ (Niederwerder, et al., 2019) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรซื้ออาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารจากผู้ให้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารสัตว์ที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่อันตรายบางชนิดได้ (Dee, et al., 2018) และเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันอีกชั้น ควรกำหนดมาตรการป้องกันและใช้เทคโนโลยีใส่ลงในอาหารสัตว์ เช่น ให้สารเพิ่มความเป็นกรด เพื่อให้อาหารสัตว์มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นที่ทราบกันว่าสารเพิ่มความเป็นกรดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วย “ควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสัตว์ […] จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ดี” (Jacela, et al., 2009) ผลิตภัณฑ์อย่าง Guardicate™* ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยในอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เสริมความแข็งแกร่งของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของคุณได้อีกด้วย จากการวิจัยยาวนานเกือบ 4 ปี Guardicate ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในฐานะสารเพิ่มความเป็นกรด ช่วยให้คุณคลายความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารสัตว์ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมของอาหารสัตว์ให้เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีด้านโภชนาการของ Alltech คุณจึงวางใจได้ในความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต พร้อมส่งเสริมสุขภาพสัตว์ของคุณให้แข็งแรง เมื่อใช้ร่วมกับโซลูชั่นอื่นๆ เช่น Sel-Plex®, Bioplex® และ Actigen® การเสริมแร่ธาตุที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและผลิตภาพในสัตว์ของคุณได้ ซึ่งมีการค้นพบว่าระดับแร่ธาตุที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเชิงบวก โปรแกรมการบริหารจัดการแร่ธาตุของ Alltech (Alltech Mineral Management program) เน้นการให้แร่ธาตุอินทรีย์ เช่น Sel-Plex และ Bioplex ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยม ทางเดินอาหารที่แข็งแรงและไมโครไบโอม (microbiome) ก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวมในสุกรด้วยเช่นกัน ซึ่งในการนี้ Actigen จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการทำงานและพัฒนาการของลำไส้ ทำให้สัตว์มีสุขภาพและสมรรถภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น CR:  Alltech

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.26 l เพิ่มกำไรฟาร์มไก่ไข่…โค้งสุดท้าย ก่อนปลด!

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.26 l เพิ่มกำไรฟาร์มไก่ไข่…โค้งสุดท้าย ก่อนปลด! Read More »

ไขรหัส CPF บุกตลาดหมูจีน ฝ่าวงล้อม “อหิวาต์แอฟริกัน”

    ปี 2563 จะเรียกว่าเป็นปีทองสุกร (หมู) ของไทยก็ว่าได้ ด้วยยอดการส่งออกที่เติบโตหลัก 100% ไม่ใช่ตัวเลขที่จะพบเห็นได้ง่าย ๆ เพราะเป็นจังหวะที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกต้องเผชิญปัญหาโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ส่วนไทยก็ต้องเผชิญกับโรค PRRS แต่นั่นกลับทำให้ “เครือเจริญโภคภัณฑ์อาหาร” รุกหนักในธุรกิจหมู ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนเข้าซื้อธุรกิจหมูในจีนระหว่าง Chia Tai Investment (CTI) และ Chia Tai Animal Husbandry Investment (Beijing) ทำให้ฐานผลิตสุกรซีพีเอฟจะขยับใหญ่ขึ้น เป็นอันดับ 4 ในตลาดจีน “ประชาชาติธุรกิจ” สัมภาษณ์ “ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ” ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF Q : เล่าถึงการลงทุนหมูที่จีน จีนเป็นตลาดใหญ่มาก ผู้เล่นรายใหญ่ไม่มีเลย รายที่ใหญ่สุดในจีนมีมาร์เก็ตแชร์แค่ 4% ผลิตได้ 20 ล้านตัวต่อปี ผมว่าเอา 5 รายใหญ่รวมกัน มาร์เก็ตแชร์ยังไม่ถึง 10% รายย่อยเยอะมาก 80% ขณะที่การบริโภคปีละ 500 ล้านตัว พอเราเข้าไปลงทุนวันนี้เราอยู่อันดับ 4 หรือ 5 เราเร่งสปีดเต็มที่ต้องไปสร้างฟาร์ม เพราะส่งไปไม่ได้ต้องเริ่มจากว่าไปหาที่ดิน เจรจา สร้างแต่ละวง ๆ มันไม่เร็ว แต่เชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีที่มีน่าจะทำได้ Q : ที่ไปลงทุนทำหมูครบวงจรที่จีนศูนย์กลางการระบาดต้องไปวางระบบอะไรบ้าง ทำทั้งหมดเหมือนกันเลย ที่นั่นเลี้ยงไม่เยอะมาก จีนที่เชื้อแพร่ระบาดแรงมากเพราะเป็นหมูหลังบ้าน ประเทศไทยสมัยก่อน แต่จีนแอดวานซ์เรื่องเทคโนโลยี Q : เดิมซีพีเอฟทำอาหารสัตว์ในจีน ครับ เป็นต้นทางเลย เป็นบริษัทเก่าของเรา ถ้าเผื่อเทียบเราอาจไม่ได้เปรียบคนจีนเท่าไร แต่ว่าเวลาที่เราไปดีลกับราชการเรามีชื่อเสียงที่ดีมากในเชิงคุณภาพ เช่น จะไปขยายพื้นที่ ทางจีนให้การยอมรับ แต่บอกว่าทำให้ดี และจะทำให้เร็วได้อย่างไร “การรวบรวมธุรกิจหมูในจีน ให้อยู่ภายใต้ชื่อชื่อหนึ่งเป็นเรื่องกฎหมาย เรื่องสตรักเจอร์ เพราะผมเข้าใจว่าในอดีตกฎหมายอาจจะให้แต่ละคนจดกันเอง เมื่อระบบกฎหมายเขาเปลี่ยนไป เราก็รวบรวมมาอยู่ภายใต้ชื่อหนึ่ง ก็ซื้อแอคเซสมาทั้งหมด มีพื้นฐานอยู่แล้ว เราไม่ได้เนรมิต แต่วันนี้เราต้องไปเนรมิตเพิ่ม” Q : เป้าหมายสู่เบอร์ 1 ในจีน ปีนี้ต้องไปให้ได้ 6-7 ล้านแม่หมูขุน ตั้งเป้าว่าภายใน 3-4 ปีจะได้ 20 ล้านตัว ตลาดจีนเป็นตลาดที่เราจะมุ่งไป เพราะว่าในจีนมีแต่รายย่อย ถึงอย่างไรรายย่อยก็ต้องลดลง แต่ปัญหาคือรายใหญ่ 5 บริษัทในจีน ใครจะขยายได้เร็วกว่ากัน ถ้าตลาดจีนทั้งตลาดมีความต้องการ 500 ล้านตัว วันนี้เราแค่ 7 ล้านตัว เบอร์ 1 ก็ 20 ล้านตัว ตลาดมหาศาลแต่ด้วยเทคโนโลยีเราเร็วก็จริง แต่สปีดการเรียนรู้ของจีนก็เร็วมาก และสไตล์ทุนจีนก็เป็นสไตล์เถ้าแก่ พอเป็นปุ๊บลงทุนเลยแต่ก็ต้องไปเจรจาไปหาที่ดิน และทุกคนเร่งสปีดหมด มันขึ้นอยู่กับว่าใครจะสปีดได้ไวกว่ากัน ซึ่งการขยายฟาร์มในจีนก็จะคล้าย ๆ เหมือนไทย Q : การผลิตในจีนจะครบวงจร เมื่อมีอาหารสัตว์ ฟาร์ม และผลิตขายจะมีทั้งขายสด และแปรรูปด้วย เรามีโรงงานแปรรูปด้วย ขึ้นอยู่กับลูกค้า ซึ่งทั้งหมดที่ผลิตได้จะขายในเมืองจีน ไม่ส่งออก เพราะขายในเมืองจีนแทบไม่พออยู่แล้ว หมูในเมืองจีนขาดเยอะ เพราะโรค ASF นั้นทำให้ราคาหมูในเมืองจีนแพงกว่าไทยมหาศาล เมืองไทย กก. 150 บาท หมูจีนราคาเกือบ 300 บาท 100% “จะเรียกว่าบุกหนักเรื่องหมูไหม คือเผอิญว่าโชคดี เอาจริง ๆ หลักคิดเริ่มต้นมันถูก และตอนนี้โรงงานหมูเข้ายากมาก เพราะว่าไทยยิ่งมีโรคเพิร์สยิ่งเป็นห่วง ห้ามยาก อหิวาต์หมูก็อีกเรื่องหนึ่ง เป็น 2 เรื่อง การป้องกันการแพร่ระบาดต้องมีการพัฒนาระบบการเลี้ยง สร้างความปลอดภัยและมาตรฐานสูง” Q : ซีพีเอฟป้องกัน ASF อย่างไร หมูที่อยู่ในรถ 1 คัน อยู่ในฟาร์มห้ามออกไปข้างนอก จะมีจุดรับถ่ายของ รถที่ขนหมูมาข้างนอก ก็ห้ามเข้าไปข้างใน ต้องเพิ่มรถ เพราะรถจะให้ใช้เฉพาะพื้นที่นี้เท่านั้น ขับออกจากพื้นที่นี้ ไปตรงนี้ใช้รถแค่ตรงนี้เท่านั้น ไปแต่ละจุดวางแผนกระจาย ค่าล้างรถขึ้นค่าน้ำยา 100% ล้างรถเช็กคนทุกคันที่เข้าออกทุกที่ ค่าน้ำยาขยับเกิน 100% ไม่รวมถึงมุ้ง ที่เราปิดมุ้งทั้งหมดในอาคารจากเดิมไม่มีมุ้ง ที่มากางมุ้งเพราะเรามารู้จากฐานผลิตที่รัสเซียว่า ยุงคือตัวที่ทำให้เกิด ASF จากยุงไปกัดหมูป่า แล้วก็มากัดหมูในเมืองที่รัสเซีย เราก็เลยทำมุ้งมา 2 ปีกว่าแล้ว และตอนนี้มุ้งไม่พอ จะต้องติดกล้องที่ซูมได้ให้ครอบคลุม 5,000 จุด ไม่ให้คนเข้าไป ให้ดูจากมือถือเอาว่าหมูป่วยหรือไม่ ถ้าไม่ป่วยก็อย่าเอาคนเข้าไปนี่เป็นระบบเทคโนโลยี ซึ่งถ้ารวมระบบ biosecurity จะยิ่งกว่านี้ เพราะเป็นระบบพื้นฐาน นอกจากนี้ แยกโซนพื้นที่ วิธีการทำคือคุณใส่เสื้อคนละสี ถ้าใครอยู่โซนนี้ ทำหน้าที่ตรงจุดนี้ ให้ใส่เสื้อสีนี้ ห้ามข้ามโซน คุมการระบาดได้ง่าย ถ้าสมมุติว่ามีเชื้อ จะทำให้เราก็รู้ได้เร็วว่ามาจากโซนไหน ระบบเหมือนโควิดเลยถ้าไปโรงเชือดรวม ทุกฟาร์มรวมกันติดต่อกันได้ เราต้องทำความสะอาดทั้งหมด ส่วนเพิร์สโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นทุกคนรู้วิธีป้องกัน เผอิญธุรกิจหมูในไทยต่างจากจีน เพราะเป็นธุรกิจที่มีรายใหญ่และรายกลางเยอะ รายย่อยไม่เยอะ รายกลางก็หลายร้อยล้านเป็นมูลค่าหลายร้อยล้าน นอกจากนี้ เรามีผู้เลี้ยงที่เป็นลูกค้าของเรา ซื้ออาหารของเราแล้วไปเลี้ยงเอง พวกรายกลาง เราก็บอกเขาป้องกันให้ความรู้หมดทุกคน แต่นี้ประมาณ 15% ของตลาดที่อาจจะซื้อลูกหมูของเราไป แล้วไปเลี้ยงเอง แล้วไปขายข้างนอก ก็โดนไม่เยอะ เพราะก็แบ่งความรู้ให้ มีสัตวแพทย์ที่ดูแลฟาร์มเราไปช่วยเขา Q : ต้นทุนการเลี้ยงเพิ่ม เพิ่มแต่มันคุ้มกับการลงทุน เพราะสามารถลดเวลาของสัตวแพทย์ ซึ่งจะไปเข้าฟาร์มเฉพาะที่มีปัญหา Q : อนาคตสู่คอมพาร์ตเมนต์ ตอนนี้ทุกคนไม่ใช่เฉพาะเราก็ขยายหมด ปรับปรุงการเลี้ยง ทุกคนพยายามวิ่งไปสู่คอมพาร์ตเมนต์ แต่วิธีการจัดฟาร์มของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันเท่าไร ฉะนั้น เวลาเราทำฟาร์มหมู เราก็เช่าด้วย เช่าส่วนหนึ่ง ทำเองส่วนหนึ่ง เช่า คือ จ้างเลี้ยงส่วนหนึ่ง เช่าที่เช่าทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ระบบการดูแลเหมือนโควิดเลย เพียงแต่เชื้ออาจจะแรงกว่าโควิด Q : อนาคตโครงสร้างธุรกิจหมู-หมูแผงลอย หมูห้องแถว ฟาร์มย่อย ๆ หรือโรงชำแหละที่ไม่ได้มาตรฐาน สมมุติกินไก่และหมู 1 กก.เท่ากัน ขายหมูได้เกือบสองร้อยบาท ขายไก่ได้แค่ห้าสิบบาท ถ้ากำไรเท่ากัน หมูก็เยอะกว่า ฉะนั้น คนจึงหันมาทำหมู ซีพีเอฟทำดีที่สุด ในเชิงคุณภาพ “เราไม่ห่วงเรื่องการแข่งขันรายย่อย-รายใหญ่ เราก็เน้นของคุณภาพไปเรื่อย ๆ ผมเชื่อว่าอย่างไรก็ตาม ในอนาคตธุรกิจหมูรายย่อยไม่หายไป เกษตรกรในฟาร์มไม่ได้กระจอก เขาเป็นเจ้าของพื้นที่”

ไขรหัส CPF บุกตลาดหมูจีน ฝ่าวงล้อม “อหิวาต์แอฟริกัน” Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)