ข่าวน่าสนใจ
ไข้หวัดนก” จ่อระบาดซ้ำโควิด รู้วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ
“โควิด-19” ยังไม่หายไปแต่ “ไข้หวัดนก” ก็ส่อแววระบาดซ้ำอีก ยืนยันจากรายงานขององค์การอนามัยสัตว์โลก (OIE) ที่ระบุว่า โรคไข้หวัดนกเริ่มระบาดแล้วในหลายประเทศทั้งแถบยุโรป และแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ เบลเยียม ฝรั่งเศส เป็นต้น อีกทั้ง กรมปศุสัตว์ ยังมีรายงานด้วยว่า พบการระบาดหวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว แต่ในประเทศไทยยังไม่พบรายงานการระบาดของไข้หวัด (ไม่พบระบาดมา 12 ปีแล้ว) ซึ่งปีนี้ทางกรมฯ ได้เตรียมความพร้อมป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่เข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง จากกรณีดังกล่าว คงจะดีถ้าเรารู้เท่าทัน “ไข้หวัดนก” และรู้วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เปิดลิสต์ประเทศ “ไข้หวัดนก” ระบาดหนัก “ยุโรป – เอเชีย” กรมปศุสัตว์เตือน ‘หวัดนก’ ระบาดในหลายประเทศ ไวรัสไข้หวัดนกกลายพันธุ์ในจีนเพิ่มความเสี่ยงซ้ำเติมโควิด-19 1. เชื้อไข้หวัดนก เป็นสายพันธุ์หนึ่งของไข้หวัดใหญ่ เชื้อก่อโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (Influenza A virus) พบได้ในสัตว์ปีก ปัจจุบันค้นพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมากกว่า 100 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่พบการแพร่ระบาดในคน ได้แก่ H5N1, H7N2, H7N3, H9N2, H10N7 และ H7N9 เป็นต้น อนึ่งสายพันธุ์ย่อย A(H5N1) และ A(H7N9) เป็นสายพันธุ์ที่พบว่าสามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงในคนได้ 2. “ไข้หวัดนก” เกิดจากอะไร? แพร่สู่คนได้อย่างไร? โรคไข้หวัดนก มีนกน้ำในธรรมชาติเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค (นกน้ำป่า นกเป็ดน้ำ ห่าน นกตามป่าชายเลน) และทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีกที่เกษตรกรเลี้ยงตามฟาร์มต่างๆ เมื่อสัตว์ปีกในฟาร์มติดเชื้อ จะเกิดอาการค่อนข้างน้อยหรือไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่โรคให้ฝูงได้รวดเร็ว ส่วนการแพร่กระจายเชื้อจากสัตว์ปีกสู่คนนั้น มักเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ป่วย แล้วเชื้อโรคติดมากับมือ และสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูก และตาได้ หรือคนที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ เมื่อสัตว์มีการกระพือปีกก็มีโอกาสสูดหายใจเอาละอองเชื้อไวรัสเข้าปอดได้เช่นกัน เนื่องจากคนไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงเกิดอาการรุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ทั้งนี้ การแพร่เชื้อไข้หวัดนกจากคนสู่คน มีโอกาสเกิดได้น้อย 3. หากป่วยโรคไข้หวัดนก มีอาการอย่างไร? ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการรุนแรง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดอาการ “ปอดบวมรุนแรง” มากกว่า สำหรับอาการที่พบบ่อยในระยะเริ่มต้นของการป่วย ได้แก่ ไข้สูง (สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หายใจลำบาก และมักพบปอดบวมที่ไม่แสดงอาการ แต่พบได้จากเอกซเรย์ปอด หากมีอาการเหล่านี้ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยตาย ควรรีบพบแพทย์และต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล แพทย์จะรักษาด้วยยาต้านไวรัสเหมือนยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไป และเฝ้าระวังการติดเชื้อแทรกซ้อน หากติดเชื้อแทรกซ้อนอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเสียชีวิตได้ในที่สุด (หลังมีอาการป่วยรุนแรงเพียง 9 – 10 วัน) 4. ไข้หวัดนกยัง “ไม่มีวัคซีน” ป้องกัน แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันโรคไข้หวัดนก A(H5N1) (ในระดับห้องปฏิบัติการ) สำเร็จแล้ว แต่การนำวัคซีนมาศึกษาต่อในมนุษย์ยังมีค่อนข้างจำกัด แปลว่าตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกสำหรับฉีดให้บุคคลทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคคลทั่วไป ที่จะช่วยไม่ให้เกิดการผสมสายพันธุ์กันของโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ในคน ซึ่งอาจจะทำให้ป่วยรุนแรงได้ 5. วิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อไข้หวัดนก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก : ควรสวมชุดป้องกันร่างกายอย่างมิดชิด เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ แว่นตา หมวก รองเท้าบูท รวมถึงล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสสัตว์ หากพบสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องทราบทันที สำหรับคนทั่วไป : อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าในไทยเองยังไม่มีรายงานการระบาดไข้หวัดนก แต่ถ้าใครเดินทางไปต่างประเทศในประเทศที่พบการระบาดของโรคนี้ ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหาร ที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด (ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปีก) หลังกลับจากการเดินทาง หากมีอาการที่ผิดปกติ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมกับแจ้งประวัติการเดินทางอย่างละเอีย CR : กรุงเทพธุรกิจ
ไข้หวัดนก” จ่อระบาดซ้ำโควิด รู้วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ Read More »
ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด
สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ร้องรัฐช่วยเหลือเกษตรกรหลังแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นมากกว่า 20% หวั่นกระทบห่วงโซ่การผลิตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่ 1 แสนล้าน นายพรชัย เอี่ยมสงวนจิตต์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ เผยว่า ช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ประสบปัญหาขาดทุนจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 มากอยู่แล้ว ยังต้องมาประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองสูงขึ้นอีก 20-30% ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์สูงขึ้นตาม เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60-70% ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่ไก่พันธุ์เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อเพื่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศ ที่มีมูลค่าส่งออกปี 2564 คาดว่าสูงกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ที่แบกรับภาระการขาดทุนจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากยังปล่อยให้ปัจจัยการผลิตสูงต่อเนื่องแบบนี้ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและอุตสาหกรรมไก่เนื้อแน่นอน ขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรภาคการเลี้ยงสัตว์เป็นการด่วน เพื่อให้ห่วงโซ่การผลิตเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลักในอาหารสำหรับไก่ทุกประเภท ราคาในปัจจุบันปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) จากเดิมที่ราคาประมาณ 9 บาทต่อ กก. ขณะที่กากถั่วเหลืองปรับจาก 13 บาทต่อ กก. เป็น 20 บาทต่อ กก.อย่างไรก็ตาม นโยบายประกันรายได้ของรัฐบาลให้กับพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด กากถั่วเหลือง มันสำปะหลัง โดยเฉพาะข้าวโพดมีการประกันรายได้ให้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัมและชดเชยส่วนต่างกับราคาตลาดให้กับเกษตรกร แต่ไม่มีการกำหนดเพดานราคา ส่งผลให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นมาก และสุดท้ายก็ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ต้องเป็นผู้แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งห่วงโซ่การผลิต ดังนี้สมาคมฯ ขอให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะความชัดเจนเรื่องการกำหนดเพดานราคาวัตถุดิบเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือใช้กลไลการตลาดเสรีเพื่อสร้างสมดุลด้านราคา เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีเพียงพอต่อความต้องการและเดินหน้าต่อเนื่องได้ ไม่ถูกตัดตอนจนหยุดชะงักจากปัญหาราคาวัตถุดิบ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ
ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด Read More »
สหประชาติ” ยก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD
“สหประชาติ” คัดเลือก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD ชูจุดเด่นขับเคลื่อนนโยบายความยั่งยืนสู่การปฏิบัติ และความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ถือเป็นความภูมิใจบริษัทไทยในเวทีความยั่งยืนโลก หลังสหประชาชาติประกาศรายชื่อองค์กรผู้นำความยั่งยืนระดับโลกจากทุกทวีป รวม 37 องค์กร โดยในเอเชียมีเพียง 3 ประเทศที่ติดระดับผู้นำคือ ไทย ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เป็นองค์กรไทย 1 ใน 37 องค์กรผู้นำด้านความยั่งยืนโลกด้วย นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า ในฐานะบริษัทไทยเครือเจริญโภคภัณฑ์มีความภูมิใจที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น Global Compact Lead จากสหประชาชาติ ตอกย้ำให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการประกอบธุรกิจภายใต้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทิศทางและเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์สู่ปี 2573 ยังมีความท้าทายที่เด่นชัดและเป็นปัญหาใหญ่ของโลกคือเรื่องของสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะปัญหาโลกร้อน ปัญหาเรื่องมลภาวะทั้งในอากาศ ในน้ำ และบนดิน ถือเป็นวาระใหญ่ของโลกที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ไม่อาจนิ่งนอนใจได้ และในวาระที่เครือเจริญโภคภัณฑ์จะก้าวสู่ศตวรรษใหม่ของการดำเนินธุรกิจ จึงได้ตั้งเป้าหมายความยั่งยืนที่สำคัญและยิ่งใหญ่ คือการมุ่งสู่การเป็นองค์กรที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ โดยจะรวมพลังทุกกลุ่มธุรกิจในเครือฯและใช้นวัตกรรมในการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนเพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด “เครือเจริญโภคภัณฑ์ มีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับ UN Global Compact เพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ UN Sustainable Development Goals เรามุ่งมั่นที่จะทำให้ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่าของเรา มีความโปร่งใสสูงสุด” ซีอีโอเครือซีพีกล่าว ทั้งนี้ปัจจุบันเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้ผ่านเส้นทางสู่เป้าหมายความยั่งยืนระยะที่ 1 มาแล้ว และกำลังมุ่งสู่เป้าหมายความยั่งยืนระยะต่อไปในปี 2573 การที่องค์กรได้รับการยกย่องให้เป็นสมาชิก Global Compact LEADกล่าวได้ว่าเป็นผลมาจากความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มีต่อข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact) และหลักการทั้ง 10 ประการ รวมถึงการทำงานเชิงรุกด้านความยั่งยืนและผลักดันวาระสำคัญต่างๆอาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ ดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี รวมถึงการสร้างงาน สำหรับเครือซีพี ถือเป็นองค์กรที่มีการนำหลักสากล 10 ประการของ UN Global Compact มาบูรณาการในกลยุทธ์และการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยมีการจัดทำยุทธศาสตร์ความยั่งยืน เป้าหมาย นโยบายและแนวปฏิบัติ ที่ครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน มาตรฐานแรงงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต ภายใต้ค่านิยม 3 ประโยชน์ และกรอบการดำเนินงาน 3 ด้านของเครือฯ อันได้แก่ Heart – Living Right, Health – Living Well และ Home – Living Together และมีกระบวนการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานเทียบกับเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และรายงานผลผ่านรายงานความยั่งยืนเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตามมาตรฐาน GRI และเกณฑ์การจัดทำรายงานเพื่อสื่อสารความคืบหน้าของ UN Global Compact ในระดับสูงสุด (Advanced Communication on Progress: CoP) เป็นประจำทุกปี โดยนำเอาเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติทั้ง 17 ประการ มาประกอบการจัดทำยุทธศาสตร์และเป้าหมายความยั่งยืนของเครือเจริญโภคภัณฑ์ สู่ปี 2030 โดยมีเป้าหมายที่สำคัญได้แก่ การเป็นองค์กรที่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) (SDG 13) การลดขยะอาหารและของเสียที่ถูกนำไปฝังกลบเป็นศูนย์ และบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้ซ้ำ หรือย่อยสลายได้ (SDG 12) การส่งเสริมให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยได้รับการสนับสนุนโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นจำนวน 50 ล้านคน (SDG 4) เป็นต้น โดยจุดเด่นอีกประการหนึ่งที่เครือซีพีได้รับหารจัดอันดับให้เป็น LEAD คือ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับทุกภาคส่วน ยกตัวอย่างเช่น (1) การเข้าร่วมโครงการ Caring for Climate, Race to Zero และ Business Ambition for 1.5oC เพื่อร่วมแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) การร่วมเป็นภาคีสมาชิกของ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) การเป็นหนึ่งในองค์กรร่วมก่อตั้ง Global Compact Network Thailand (4) การเข้าร่วมโครงการ Decent Work in Global Supply Chains (5) การร่วมปฏิรูปการศึกษาของประเทศผ่านโครงการสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED CR: สยามรัฐ
สหประชาติ” ยก “ซีพี” ติดอันดับผู้นำองค์กรยั่งยืนระดับโลก UNGC ระดับ LEAD Read More »
ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เดินหน้ามาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1. ขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) พร้อมสร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องโรค ร่วมเป็นเครือข่ายเฝ้าระวัง ป้องกันโรคระบาด และสร้างมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่การผลิต 2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ 3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด 5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF 6. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ 7. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง พร้อมทั้งได้นำระบบ Zoning และ Compartment มาใช้ในการป้องกันโรคระบาดในสัตว์ และเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้า ซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและประเทศคู่ค้า อีกทั้งปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 เริ่มคลี่คลาย รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ เปิดให้ร้านอาหาร ศูนย์อาหาร สามารถนั่งรับประทานอาหารได้ ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อสุกรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ราคาสุกรเดิมที่เคยปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากมาตรการห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้านและศูนย์อาหาร มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป CR : กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตร และ สหกรณ์
ปศุสัตว์ร่วมมือเอกชนป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคาหมู Read More »