Logo-CPF-small-65png

คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม EP.2 ตอน ซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ผ่านตัวแทนจำหน่ายได้แต้ม TRUE POINT

คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม EP.2 ตอน ซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ผ่านตัวแทนจำหน่ายได้แต้ม TRUE POINT Read More »

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อน

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert

ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่ของเกษตรกรในประเทศไทยส่วนใหญ่จะอยู่ภายในโรงเรือนปิด ที่เรียกว่า Evaporative Cooling System หรือที่นิยมเรียกกันว่า โรงเรือนอีแวป (Evap) ซึ่งทำให้แม่ไก่อยู่สบายมากขึ้นในช่วงที่อากาศภายนอกเล้า สูงกว่า 35 C ทำให้ผลกระทบเรื่องอากาศร้อนต่อการให้ผลผลิตของแม่ไก่น้อยกว่าแม่ไก่ที่เลี้ยงอยู่ในโรงเรือนเปิด ปกติแล้วอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อความเป็นอยู่ของแม่ไก่ อยู่แล้วสบาย จะอยู่ในช่วงประมาณ 18-25 C นอกจากไก่เป็นสัตว์ที่ไม่มีต่อมเหงื่อคอยช่วยทำหน้าที่ระบายความร้อนเหมือนกับมนุษย์หรือสัตว์ประเภทอื่นแล้ว ขนที่ปกคลุมอยู่บนตัวไก่ก็เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งในการระบายความร้อนของแม่ไก่ ดังนั้นเวลาที่อุณหภูมิภายในเล้าอยู่ที่ประมาณ 26-32 C แม่ไก่ก็จะกินอาหารได้ลดลง แต่จะกินน้ำเพิ่มขึ้น เพื่อลดความร้อนที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกิน 35 C แม่ไก่ก็จะแสดงอาหารหอบ กางปีก หมอบกับพื้นกรง เกิดภาวะเครียดจากความร้อน หรือที่เรียกว่า Heat Stress (ขบวนการทางฮอร์โมนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง) แต่ถ้าอุณหภูมิในเล้าสูงเกินกว่า 39 C ก็จะมีผลทำให้แม่ไก่เริ่มทยอยตาย (ปกติอุณหภูมิร่างกายของไก่อยู่ที่ 41.2C) ผลของการเลี้ยงไก่ไข่ในเล้าที่มีอุณภูมิสูงหรือในสภาพอากาศร้อน 1.การให้ผลผลิตไข่ลดลง ขนาดฟองไข่เล็กลง คุณภาพเปลือกด้อยลง เนื่องจากแม่ไก่กินอาหารได้ลดลง ทำให้แม่ไก่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อการสร้างไข่ 2.แม่ไก่จะแสดงอาการหอบ นอกจากแม่ไก่สูญเสียพลังงานไปกับการหอบเพื่อระบายความร้อนแล้ว การหอบยังมีผลทำให้แม่ไก่สูญเสีย CO2 ที่จะแม่ไก่จำเป็นต้องใช้ในขบวนการการสร้างไข่ ซึ่งส่งผลทำให้คุณภาพเปลือกไข่ด้อยลง เช่น เปลือกบางลง สีซีดลง เป็นต้น 3.มูลไก่จะมีลักษณะเหลวขึ้น เนื่องจากแม่ไก่ต้องกินน้ำเพิ่มขึ้น โดยปกติถ้าแม่ไก่อยู่ในเล้าที่อุณหภูมิอยู่ในช่วง 18-25C สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารของแม่ไก่จะอยู่ที่ 1.8-2.0 เท่าของอาหารที่กินได้ แต่ถ้าอากาศภายในเล้าร้อนขึ้น สัดส่วนการกินน้ำต่ออาหารอาจเพิ่มขึ้นเป็น >2.6 เท่าของอาหาร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่แม่ไก่รู้สึก ณ เวลานั้นๆ 4.ตัวตายต่อวันจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับมาตรฐานการเลี้ยง ซึ่งการตายของแม่ไก่ที่มีสาเหตุจากอากาศร้อน จะพบว่าแม่ไก่มักจะตายเยอะในช่วงเวลาบ่าย ช่วงที่อากาศร้อนจัด และพบว่าแม่ไก่ที่ตัวอ้วนๆ จะตายมากกว่าตัวที่มีน้ำหนักตัวได้ตามมาตรฐาน หรือตัวที่ผอม และเมื่อผ่าซากดูจะพบวิการตับแตก เนื้อหน้าอกขาวซีด อุณหภูมิในช่องท้องค่อนข้างสูง แนะนำ 2แนวทางการจัดการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรือนเปิด ในช่วงอากาศร้อน 1.ด้านโรงเรือน 1.1 ลดการแผ่ความร้อนจากหลังคาโรงเรือนมาสู่ตัวไก่ โดยการติดสปิงเกอร์บนหลังคาโรงเรือน การเปิดสปริงเกอร์ ควรเปิดก่อนที่อากาศภายนอกจะร้อนเพื่อลดการสะสมของความร้อนที่หลังคา เช่นเปิดสปริงเกอร์ตั้งแต่ เวลา 9:30 – 16:00 น. เป็นต้น หรือการทำหลังคาชั้นที่ 2 ด้วยหญ้าคา, ใบจาก ต่อจากหลังคาสังกะสีหรือกระเบื้อง 1.2 ติดตั้งพัดลมภายในเล้า เพื่อระบายอากาศร้อนออกจากตัวไก่และโรงเรือน 1.3 การติดตั้งระบบพ่นหมอกภายในโรงเรือนร่วมกับพัดลมระบายอากาศ 1.4 ติดตั้งผ้าม่านป้องกันแสงแดดส่องเข้าภายในเล้า หรือใช้การปลูกต้นไม้รอบๆโรงเรือน เช่น ต้นกล้วย แต่ทั้งนี้ผ้าม่านจะต้องไม่ไปปิดกันทิศทางลมธรรมชาติที่จะเข้าเล้า 2. ด้านน้ำและอาหาร 2.1 จัดเตรียมน้ำสะอาดที่มีอุณหภูมิ ประมาณ 20-25C ให้แม่ไก่ได้กินตลอดช่วงที่อากาศร้อน หรือเติมน้ำแข็งลงในถังพักน้ำเพื่อปรับลดอุณหภูมิของน้ำก่อนให้ไก่กิน 2.2 อย่าให้ถังพักน้ำหรือท่อน้ำที่ให้ไก่กินถูกแสงแดดส่อง เพราะจะทำให้อุณหภูมิของน้ำที่อยู่ภายในสูงขึ้น ทำให้ไก่กินน้ำลดลง 2.3 ผสมไวตามิน เช่น ไวติมิน C, A, E และ Bรวม หรือไวตามิน+กรดอะมิโน ในน้ำที่ให้ไก่กิน ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในการให้ไวตามิน C คือ ช่วงเวลาก่อนที่อากาศจะเริ่มร้อน อาจจะเป็นช่วง 9:00 – 10:00 โมง (ขึ้นอยู่ในแต่พื้นที่) นอกจากนั้นการเสริมสารอิเล็คโตไลน์ในน้ำก็สามารถช่วยลดภาวะ Heat Stress ในแม่ไก่ลงได้ 2.4 หลังจากให้น้ำที่ผสมไวตามินเลร็จเรียบร้อย ต้องคอยหมั่นทำความสะอาดรางน้ำหรือท่อนิปเปิล เพื่อป้องกันการสะสมของเมือกภายในรางน้ำหรือท่อน้ำกิน ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาไก่ท้องเสียตามมาได้ 2.5 ให้อาหารมื้อเช้าให้เร็วขึ้น อาจจะเป็นช่วงเวลา 5:00 – 6:00 โมง เป็นต้น ส่วนมื้อบ่ายก็ให้ในช่วงที่อากาศเริ่มเย็น เช่น เวลา 17:00 – 18:00 น. ร่วมกับการเปิดไฟช่วงเวลา 23:00 – 01:00 น.ให้ไก่ตื่นขึ้นมากินอาหารเพิ่มจากโปรแกรมแสงปกติ 2.6 ควรงดการกระตุ้นการกินอาหารหรือเดินเกลี่ยอาหารในรางในช่วงที่อากาศร้อน เช่น ช่วงเวลา 12:00 – 14:00 น. เพราะจะทำให้แม่ไก่เกิดการเคลื่อนไหว เกิดการสร้างความร้อนขึ้นมาได้ 2.7 เลือกใช้อาหารที่มีความสมดุลของโปรตีนและพลังงานให้เหมาะสมต่อความต้องการของแม่ไก่ เพื่อลดการสูญเสียพลังงานในการขับสารอาหารส่วนเกินออกจากร่างกาย CR :  ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ คุณสมเจต

การเลี้ยงไก่ไข่หน้าร้อนให้ประสบความสำเร็จ อ่าน 2 แนวทางที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญซีพีเอฟ-Recommened by Expert Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป4

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4)

การจัดการฟาร์ม โรงเรือนอีแวป มาต่อกันเลยครับ    นอกจากอุณหภูมิแล้วยังมีอีก 3 ปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกร (pig Comfort) นั่นคือ ความชื้น ความเร็วลมและความต้องการอากาศ ในช่วงความชื้นต่ำเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ เยื่อบุโพรงจมูกแห้ง ลอกหลุด สุกรจะจามมากขึ้น โอกาสติดเชื้อมากขึ้น จากฝุ่น (endotoxin) กดภูมิคุ้มกัน     สำหรับประเทศไทยช่วงความชื้นต่ำมีโอกาสเกิดน้อยมากส่วนใหญ่เกิดในฤดูหนาวช่วงสั้นๆสามารถแก้ปัญหาได้ง่ายโดยการเปิดน้ำแพดให้ชุ่มด้านบนของแพดช่วงสั้นๆประมาณ 1 ฟุตเพื่อเพิ่มความชื้นในโรงเรือน ในช่วงความชื้นสูงเกินไปผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ การระเหยที่ผิวหนังเกิดได้น้อย ทำให้ไม่สามารถทำให้ร่างกายเย็นลงได้ (สุกรไม่มีต่อมเหงื่อเหมือนมนุษย์การทำให้ร่างกายเย็นลงต้องอาศัยการระเหยน้ำจากผิวหนัง) จึงมีปัญหามากถ้าเกิดร่วมกับอุณหภูมิที่สูง โอกาสติดเชื้อมากขึ้นถ้าอุณหภูมิสูง กดภูมิคุ้มกันเนื่องจากสุกรมีความเครียดสูง       ถ้าจะทำความเข้าใจถึงความเครียดของสุกรในขณะที่ความชื้นสูงและอุณหภูมิสูงให้เราลองอาบน้ำในห้องน้ำที่มีแค่ช่องระบายลมเล็กๆ ในวันที่มีฝนตกและอากาศร้อน เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วให้ยืนนิ่งๆ อยู่ในห้องน้ำซักครึ่งชั่วโมง ความรู้สึกอึดอัดนั้นคือความรู้สึกของสุกร ที่สำคัญสุกรไม่สามารถเดินหนีออกมาจากห้องน้ำได้ ต้องทนอยู่กับความรู้สึกแบบนั้นไปตลอดจนกว่าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงในโรงเรือน      เราสามารถดูว่าความชื้นและอุณหภูมิร่วมกัน จะสร้างความเครียดให้สุกรหรือไม่ โดยนำค่าอุณหภูมิเป็นองศาฟาเรนไฮต์รวมกับค่าความชื้นสัมพัทธ์ ถ้าเกิน 170 ถือว่าสุกรอยู่ไม่สบาย ดังนั้นเราต้องบริหารค่าความสบายของสุกรให้ไม่เกิน 170 นั่นเอง การตอบสนองของสุกรต่อความเร็วลม ในช่วงความเร็วลมต่ำกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ไอหรือจามถ้าโรงเรือนมีแก๊สมาก ลดภูมิคุ้มกัน     ในบ้านเรามีอุณหภูมิที่สูงกว่าความต้องการของสุกรเป็นส่วนใหญ่ แม้แต่ลูกสุกรอายุ 3-4 สัปดาห์ยังต้องการอุณหภูมิที่ 32-34 องศาเซลเซียส นั่นแปลว่าถ้าอุณหภูมิทั่วๆ ไปสูงกว่า 34 องศาเซลเซียส สุกรก็จะรู้สึกร้อน ความเร็วลมจึงเป็นปัจจัยหลักที่สามารถนำมาช่วยให้สุกรรู้สึกสบายได้      ที่อายุสุกร 19 สัปดาห์ขึ้นไป อุณหภูมิที่สุกรต้องการไม่เกิน 28 องศาเซลเซียส  ถ้าโรงเรือนอีแวปของเรามีคุณภาพสูงสามารถกดอุณหภูมิลงได้ 10 องศา แปลว่าอุณหภูมิภายนอกโรงเรือนสูงได้ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ซึ่งทุกวันนี้อุณหภูมิภายนอกอาจสูงกว่า 40 องศาด้วยซ้ำ นอกจากนั้นท่านแน่ใจหรือไม่ว่าคุณภาพโรงเรือนสามารถกดได้ถึง  10 องศาจริง จากประสบการณ์พบว่าฟาร์มที่ไม่มีการติดตามเรื่องสภาพแวดล้อมอย่างจริงจังมีโอกาสสูงมากที่โรงเรือนอยู่ในสภาพที่กดอุณภูมิได้แค่ 4-7 องศาเท่านั้น และหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้โรงเรือนไม่สามารถกดอุณหภูมิได้ถึง 10 องศาเซลเซียสก็คือความเร็วลมไม่พอนั่นเอง    อีกปัจจัยที่ต้องระวังถ้าความเร็วลมต่ำ คือเรื่องแก๊สที่เป็นอันตรายต่อคนและสุกร     เราต้องรู้ว่าโรงเรือนของเรามีค่า Air Exchange ไม่เกิน 1 นาทีที่ความเร็วลมเท่าไหร่ เราจะได้วางแผนเรื่องการโช้คแก๊สออกจากโรงเรือนได้ ในช่วงความเร็วลมสูงกว่าความต้องการของสุกร ผลที่เกิดขึ้นกับสุกรคือ ถ้าอุณหภูมิสูงสุกรจะนอนหอบ กินอาหารน้อย ลดกิจกรรม แช่น้ำ ตัวสกปรก ถ้าอุณหภูมิต่ำ สุกรจะนอนสุม ลดภูมิคุ้มกัน    ถ้าอุณหภูมิที่หมูรู้สึก (EET-Effective Environment Temperature) ต่ำกว่า 32 องศาเซลเซียสผู้เลี้ยงต้องระวังเป็นพิเศษสำหรับสุกรที่มีอายุต่ำกว่า 8 สัปดาห์ เนื่องจากมีโอกาสที่สุกรจะเกิดความเครียดเนื่องจากโดนลมโกรก (Wind Chill) ความหมายคือแม้อุณหภูมิห้องจะสูงกว่า   ความต้องการของสุกรแต่ความเร็วลมที่สูงเกินไปจะทำให้สุกรรู้สึกหนาวนั่นเอง จึงเป็นเหตุผลหลักที่การเลี้ยงสุกรช่วงอนุบาลต้องมีความพร้อมด้านพื้นรองนอน ไฟกกและพื้นที่นอนที่สามารถป้องกันลมโกรกได้ อีกปัจจัยที่มีผลต่อความสบายของสุกรคือ ความต้องการอากาศ ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจกันการจัดการฟาร์มในตอนต่อไปครับ CR: โค้ช วิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ (ตอนที่ 4) Read More »

จัดการฟาร์ม-อีแวป3

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ในรายละเอียดการจัดการฟาร์ม-โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ กันนะครับ ก่อนที่เราจะสังเกตถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต เบื้องต้นเราควรเข้าใจถึงวิธีการประเมินความสบายของสุกร (Pig Comfort) โดยมีสิ่งที่เราต้องสังเกตดังนี้ การนอน การหายใจ การกินอาหาร ความกระตือรือร้น การนอน ท่านอนที่ที่บอกถึงความสบายของสุกรคือการนอนเต็ม พื้นที่ของลำตัวด้านข้าง เหยียดขาออกไปตรงๆเท่าที่พื้นที่ จะเอื้ออำนวย  ทุกส่วนแนบกับพื้นแบบสบายสบาย ถ้าเป็นคอกขังรวมจะนอนแบบลำตัวแนบชิด อาจมีการก่ายขากันบ้างถ้าอยู่ในพื้นที่แคบ การหายใจ สุกรที่อยู่สบายสบายจะมีอัตราการหายใจไม่เกิน 40 ครั้ง/นาที วิธีนับคือหายใจเข้าจนสุดแล้วหายใจออกจนสุด นับ 1 ถ้าสุกรหายใจเกิน 40 ครั้ง/นาที ถือว่ามีการหอบ ถ้าอากาศร้อนมากๆอัตราการหายใจ/นาที่ จะยิ่งมากขึ้นตามลำดับความร้อนของอากาศ การกินอาหาร สุกรที่อยู่สบายสบาย จะกินอาหารได้มาก จึงเป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นถึงสุขภาพสุกร กล่าวคือในเวลาที่สุกรกินอาหารเราควรเดินดูว่าสุกรกินอาหารได้หรือไม่ ตัวที่ไม่กินอาหารมีโอกาสเป็นสุกรป่วย อย่างไรก็ตามถ้าสุกรอยู่ไม่สบายหรือเครียดจากสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะกินอาหารลดลงทำให้ได้สารอาหารไม่ครบตามที่ควรจะได้     ความกระตือรือร้น สุกรเป็นสัตว์ที่อยากรู้อยากเห็นมีความสนใจต่อทุกๆสิ่งรอบๆตัวโดยเฉพาะสิ่งใหม่ๆ ดังนั้นเมื่อเราเดินเข้าไปในโรงเรือนถือเป็นสิ่งใหม่ สุกรจะเข้ามาดูและทักทายเรา นอกจากนั้นหลังสุกรนอนจนเต็มอิ่ม พฤติกรรมวิ่งเล่นอยอกล้อถือเป็นเรื่องปกติ ดังนั้นถ้าเราเข้าไปในโรงเรือนแล้วสุกรไม่สนใจเราหรือเอาแต่นอน นั่นเป็นข้อสังเกตว่าสภาพแวดล้อมอาจไม่เหมาะสมต่อความต้องการของสุกร เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสุกรที่มีความสุขอยู่สบายไม่เครียดมีพฤติกรรมอย่างไร ต่อไปเป็นการเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของสุกรต่ออุณหภูมิวิกฤต ดังที่กล่าวไว้ในตอนที่ 2 ว่าสุกรจะมีการตอบสนองต่ออุณหภูมิวิกฤตเพื่อความอยู่รอดและมีการใช้อาหารที่กินเข้าไปพื่อต่อสู้กับสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เป็นผลให้ผลผลิตและประสิทธิภาพต่ำกว่าที่ควรจะเป็น จึงเป็นสิ่งที่ผู้เลี้ยงทุกๆท่านต้องทำความเข้าใจ อีกเรื่องสำคัญของการจัดการในโรงเรือน ในช่วง Lower Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ รวมกลุ่มชิดกัน/ชิดผนัง สัมผัสกับพื้นน้อยลง อุณหภูมิร่างกาย 39องศา กินอาหารเพิ่มมากขึ้น หนาวสั่น ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Upper Critical Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ กระจายตัวออก สัมผัสพื้นมากยิ่งขึ้น หอบ อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น การกินอาหารลดลง คอกเลอะเทอะ เล่น และแช่น้ำ หายใจ >40ครั้งต่อนาที ลดภูมิคุ้มกัน ในช่วง Optimal Temperature สิ่งที่สุกรแสดงพฤติกรรมตอบสนองคือ การสัมผัสกับตัวอื่นปกติ นอกเป็นกลุ่ม นอนกระจายตัว มีการสัมผัสพื้นเต็มที่ นอนในท่าที่ขาเหยียดยาวออก อุณหภูมิร่างการ 38.8-39.2องศา การกินอาหารปกติ พฤติกรรมปกติสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว หายใจ 20-30 ครั้งต่อนาที สุกรตัวที่นอนแยกกลุ่มจะมีลำดับความสำคัญสูง สุกรที่นอนอยู่ริมกลุ่มจะมีลำดับ(order)ที่ต่ำ สภาพแวดล้อมมิได้มีเฉพาะอุณหภูมิ ตอนที่ 4 เราจะพูดถึงเครื่องมือที่ช่วยให้สุกรอยู่แบบสบายสบายไม่เครียดอีก 3 ตัวครับ CR: โค้ชวิทธ์ สารบัญ การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่1 การจัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์… ตอนที่2

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์จัดการฟาร์มให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่3 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)