Logo-CPF-small-65png

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน

   แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่ก็มีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง AFS และ PRRS ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการติดเชื้อในสุกรเท่านั้น พาไปทำความรู้จักกับ 2 โรคของสุกรกันว่าแตกต่างกันอย่างไร? แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่กลับมีข่าวเท็จเกี่ยวกับโรคระบาดในสุกรเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์หลายครั้ง อาทิ ข่าวสุกรป่วยเป็นเอดส์ ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือโรคเอดส์ไม่ใช่โรคของสุกร และไม่มีโรคนี้ในตำราทั้งไทยและเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าข่าวเท็จที่เกิดขึ้นนี้มุ่งหวังเพื่อทำให้สูญเสียเสถียรภาพราคาสุกร เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งตระหนก เป็นผลให้พ่อค้าคนกลางอ้างภาวะตลาด และกดราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกร แต่นำไปขายต่อในราคาเนื้อสุกรที่ปรับสูงขึ้น โดยอ้างว่าสุกรตายมากเนื่องจากโรคระบาด ทำให้พ่อค้าได้กำไรแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุน  หรือแม้แต่กรณีโรคพีอาร์อาร์เอส ซึ่งพบล่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาใน 2 อำเภอ จ.สระแก้ว นำมาสู่การทำลายสุกรโดยการฝังกลบแล้ว 600 ตัว หลังจากพบการระบาดของโรค และโรคเอเอสเอฟที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนก และเกรงว่าจะติดต่อสู่คนได้จากการบริโภคเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ จึงขอยืนยันซ้ำอีกครั้งว่าโรคทั้งสองของสุกรนี้ไม่ติดต่อสู่คน และขออธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ โรค PRRS (พีอาร์อาร์เอส หรือเพิร์ส) เป็นโรคติดต่อในสุกรเท่านั้น เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจของสุกร โรคนี้พบราวปี 2523 จนกระทั่งปี 2534 ได้มีการบัญญัติชื่อโรคนี้ว่า Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS โรคนี้พบได้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สำหรับการป้องกันนั้นปัจจุบันมีวัคซีนจำหน่าย ทั้งนี้โรคนี้ไม่เคยมีรายงานการติดต่อสู่คน จึงไม่ต้องกังวลต่อการบริโภค ข่าวเท็จที่ส่งต่อกันมานั้นจะเชื่อมโยงโรค PRRS กับโรคเอดส์ โดยอ้างว่าสุกรเป็นเอดส์ห้ามบริโภค ทั้งสองโรคนี้เหมือนกันที่ไวรัสก่อโรคเป็นชนิด RNA สำหรับความแตกต่างระหว่างโรค PRRS กับโรคเอดส์มีหลายประการ  สิ่งแรกคือ ไวรัสก่อโรคเป็นคนละชนิดกัน อาการของโรคก็แตกต่างกัน แม้ว่าไวรัสทั้งสองนี้จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน แต่โรค PRRS จะมีอาการหลัก 2 ระบบคือระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ กล่าวคือแม่สุกรจะพบปัญหาระบบสืบพันธุ์เป็นหลัก ขณะที่สุกรขุนจะมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ต่างจากโรคเอดส์ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบต่างๆ ไม่เน้นระบบใดระบบหนึ่ง ดังนั้น โรค PRRS จึงไม่ใช่โรคเอดส์ในสุกร และไม่ติดต่อก่อโรคในคน ส่วนโรค ASF (เอเอสเอฟ) เป็นโรคจากเชื้อไวรัสเก่าแก่โรคหนึ่งของสุกร พบครั้งแรกปี 2452 ที่ประเทศเคนยา มีชื่อเต็มว่า African Swine Fever เนื่องจากชื่อโรคภาษาอังกฤษตรงกับโรคสุกรโรคหนึ่งคือ “Swine Fever” หรือ “Classical Swine Fever” (CSF) โดยโรคนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า hog cholera ซึ่งคำว่า cholera แปลว่า “อหิวาตกโรค” ดังนั้น จึงบัญญัติชื่อโรค ASF ภาษาไทยว่า “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”  โรคนี้ยังไม่มียาและวัคซีน เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่การเลี้ยงสุกรอย่างมาก หลายประเทศที่มีโรคนี้ระบาด ทำให้สุกรตายอย่างใบไม้ร่วง และยากที่จะกำจัด ด้วยชื่อโรคทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าโรคนี้จะติดต่อสู่คนได้ และก่อให้เกิดโรคอหิวาตกโรค เนื่องจากชื่อโรคมีคำว่า “อหิวาต์” ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงในคน เป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้ จึงทำให้ผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวเท็จ  ทั้งนี้ โรคอหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ขณะที่โรค ASF เกิดจากเชื้อไวรัสและมีมานานกว่าร้อยปี แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโรคนี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่โรคอหิวาตกโรค และไม่ติดต่อก่อโรคในคน โรค ASF มีการระบาดในประเทศจีนเมื่อปี 2561 ทำให้โรคนี้มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว มีมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โรคนี้ระบาดเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเมียนมา ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังคงป้องกันโรคนี้ได้ และยังไม่มีการระบาด ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ (นำโดยกรมปศุสัตว์) หน่วยงานเอกชน (ฟาร์มสุกร) มหาวิทยาลัย และสัตวแพทย์สุกร ความที่โรคนี้ยังไม่สามารถพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโรคได้ ไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัส ดังนั้น แนวทางเดียวคือการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ประเทศไทยสามารถดำรงสถานภาพการเป็นประเทศปลอดโรค ASF ได้ จึงส่งผลดีต่อธุรกิจการเลี้ยงสุกรและเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการส่งออกสุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ลดภาระของรัฐบาลในภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เป็นอย่างดี

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน Read More »

cpf ai farmlab

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology

CPF Ai FarmLAB                                                หนึ่งในความปรารถนาดีจาก CPF เพื่อให้ผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรสามารถผ่านวิกฤตและความกังวลเรื่อง ASF (โรคแอฟริกันสไวน์ฟีเวอร์) ที่กำลังประชิดติดชายแดนไทยอยู่ในขณะนี้ จากข้อมูลการเกิดโรคระบาดของฟาร์มในประเทศไทยพบว่า 67% โรคเข้าฟาร์มเนื่องจากกระบวนการขาย จุดส่งสุกร (Load Out) ที่เล้าขายจึงเป็นพื้นที่เสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของ ASF สู่พื้นที่เล้าขายและเนื่องจาก ASF เป็นโรคที่ติดต่อได้ผ่านการสัมผัสเท่านั้น ช่องทางที่โรคผ่านเล้าขายได้จึงเป็นเรื่องของการสัมผัสโดยตรงไม่ว่าจะเป็นพนักงานเล้าขายกับพนักงานที่มากับรถขนส่ง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกันหรือแม้กระทั่งใบส่งของที่ส่งให้กัน ฯลฯ เมื่อเชื้อโรคมาถึงเล้าขายด่านต่อไปคือการเข้าสู่โรงเรือนเลี้ยง นั่นคือจุดรับสุกรสู่เล้าขาย (Load In) ซึ่งมีโอกาสเกิดการสัมผัสกันของพนักงานเล้าขายที่อาจปนเปื้อนเชื้อโรคกับพนักงานส่งสุกรจากโรงเรือนเลี้ยงสุกรและเมื่อเชื้อโรคเดินทางไปถึงโรงเรือนเลี้ยงได้เมื่อไหร่การระบาดในฟาร์มก็อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เราตั้งใจพัฒนาระบบป้องกันโรคเข้าฟาร์ม ด้วยหลักคิดจากทั้งสองเงื่อนไขที่กล่าวมาแล้วคือ ASF ติดต่อผ่านการสัมผัสเท่านั้นและเล้าขายเป็นจุดเสี่ยงที่สุดที่จะเป็นทางผ่านของโรคเข้าสู่ฟาร์ม หลักการทำงานของระบบป้องกันโรคนี้ จะมี AI (artificial intelligence) เฝ้าระวังผ่าน CCTV (ระบบการบันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวงจรปิด) เพื่อป้องกันการสัมผัสที่อาจเกิดขึ้น ณ.จุดรับสุกร (Load In) และ จุดส่งสุกร (Load Out) เมื่อมีเหตุการณ์ที่อาจเปิดโอกาศให้มีการสัมผัสเกิดขึ้น AI จะทำการเตือนทันที โดยผ่าน 2 ช่องทางคือ 1. เสียง จะมีเสียงเตือน ณ.จุดที่เกิดเหตุเพื่อให้ผู้ที่ฝ่าฝืนรู้ตัวและหยุดการกระทำที่มีความเสี่ยงโดยทันที 2. Line Alert (การแจ้งเตือนผ่านระบบไลน์ที่สมาร์ทโฟน) เป็นรูปภาพส่งให้บุคคลที่กำหนดให้เป็นผู้รับรู้ในทันทีที่มีการฝ่าฝืนจุดเฝ้าระวังไม่ว่าบุคคลที่กำหนดไว้จะอยู่ที่ไหนจะรับทราบ ณ.เวลาที่เกิดการฝ่าฝืนขึ้น ผู้บริหารสามารถสั่งการอย่างเร่งด่วนเมื่อเกิดเหตุฝ่าฝืนเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์มเช่นสั่งให้พนักงานที่ฝ่าฝืนออกไปจากพื้นที่ทำงานและไปผ่านกระบวนการจัดการกับบุคคลที่มีความเสี่ยงด้านการป้องกันโรคก่อนเข้าฟาร์มต่อไป นอกจากนั้นข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ที่ Dashboard ในคอมพิวเตอร์สามารถดูได้ง่ายๆ ใช้เวลาในการตีความสั้นๆใช้ในการติดตามการฝ่าฝืนของพนักงานเล้าขาย เพื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลตลอดเวลา และสามารถดูข้อมูลย้อนหลังเป็นวัน สัปดาห์ เดือนและปีได้อีกด้วย ด้วย ความตั้งใจที่ทีมงานซีพีเอฟได้กรั่นกรองจนตกผลึกและอาศัยความเชี่ยวชาญระดับโลกด้าน AI ของ บริษัท เซอร์ทิส จำกัด ร่วมกันสรรค์สร้างซอฟต์แวร์ขึ้นมา เราคาดหวังว่าธุรกิจสุกรของประเทศไทยจะสามารถฝ่าฟันวิกฤตนี้ไปด้วยกันและพวกเราจะเป็นหนึ่งในฟาร์มที่ ASF ไม่สามารถระบาดเข้าสู่ระบบการเลี้ยงได้ นำมาซึ่งความมั่นคงในการทำธุรกิจการเลี้ยงสุกรตราบนานเท่านาน เข้าชมรายละเอียดการเปิดตัว CPF AI FarmLAB ได้โดยเข้าสู่เวปด้านล่างครับ https://techsauce.co/news/cpf-ai-farmlab-powered-by-sertis# บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง https://cpffeedsolution.com/asf-protection/   CR: โค้ชวิทธ์

CPF AI FarmLAB นวัตกรรมป้องกันโรค New Technology Read More »

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF)

มาตราการป้องกันและควบคุมโรค อหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) ทางทีมงานได้รวบรวมคู่มือและมาตรการป้องกัน ควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกัน ( ASF ) สำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เพื่อเผยแพร่และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ให้ง่ายขึ้น ภายในการเข้าถึงเพียงช่องทางเดียว สามารถกดเพื่ออ่านข้อมูลแนวทางการป้องกันโรค ได้ทุกที่ทุกเวลา สามารถที่จะดาวน์โหลดเอกสารเหล่านี้เก็บไว้ หรือส่งต่อให้กับคนในครอบครัวเพื่อรู้วิธีการป้องกันที่ถูกต้องจากผู้ชำนาญการของทางภาครัฐ และภาคเอกชน ข้อมูลเหล่านี้แผยแพร่ฟรี ห้ามใช้เพื่อการค้าใดใดทั้งสิ้น ดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูลที่นี่ * ที่มาทีมสัตวแพทย์บริการวิชาการ สายธุรกิจสุกรซีพีเอฟ

มาตรการป้องกันโรคควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกันในสุกร (ASF) Read More »

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความเข้าใจกับเรื่องการรับและการสูญเสียความร้อนในตัวสุกร หรืออีกนัยหนึ่งคือการถ่ายเทความร้อนในโรงเรือนปิด ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับว่าสุกรไม่มีต่อมเหงื่อดังนั้นจะใช้ความรู้สึกของผู้เลี้ยง (คน-มนุษย์ซึ่งมีต่อมเหงื่อ) เป็นตัวตัดสินว่าสภาพแวดล้อมเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมมิได้ ความร้อนสามารถถ่ายเทได้ด้วย 4 ปัจจัยคือ การนำความร้อน (Conduction) การระเหย (Evaporation) การแผ่รังสี (Radiation) การพาความร้อน (Convection) การนำความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 13%) การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่ร้อนกว่า ทำให้ความร้อนจากพื้นคอกถ่ายเทไปยังผิวหนังจึงทำให้รู้สึกร้อน  การที่ร่างกายไปสัมผัสกับพื้นหรือผนังคอกที่เย็นกว่า ทำให้ความร้อนจากผิวหนังถ่ายเทไปยังพื้นคอกจึงทำให้รู้สึกเย็น  ปัจจัยที่ทำให้การนำความร้อนเกิดขึ้นได้สูง/ต่ำคือ ระดับอุณหภูมิของพื้นผิว การระเหย (มีผลต่อร่างกายสุกร 17%) การระเหยของน้ำที่อยู่บริเวณผิวหนัง เมื่อน้ำระเหยก็จะดึงดูดเอาความร้อนบริเวณผิวหนังออกไปด้วย จึงทำให้รู้สึกเย็น การระเหยจะเกิดขึ้นสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลมและความชื้นในบรรยากาศ การแผ่รังสี (มีผลต่อร่างกายสุกร 30%) ถ้าภายนอกโรงเรือนอากาศร้อน/หนาวมาก สุกรจะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน/หนาวโดยที่สุกรไม่ได้สัมผัสกับอากาศโดยตรง การรับ/สูญเสียความร้อนจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผนังคอก การพาความร้อน (มีผลต่อร่างกายสุกร 40%)    การเคลื่อนของกระแสลมที่พัดมากระทบกับผิวหนัง และดึงดูดความร้อนบริเวณผิวหนังออกไป ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเย็นคือ อุณหภูมิของอากาศและความเร็วของกระแสลม โรงเรือนสุกรรูปแบบปิดที่มีการระบายอากาศแบบอุโมงค์ลม (Tunnel Ventilation) โดยนำหลักการระเหยของน้ำ (Evaporation) มาใช้ในการลดอุณหภูมิของอากาศก่อนเข้าโรงเรือน เพื่อให้เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงสัตว์ โดยวัตถุประสงค์ที่ใช้ระบบนี้เพื่อให้สุกรอยู่สบาย (Pig Comfort)  ลดความเครียดให้น้อยที่สุด ผู้ใช้โรงเรือนต้องเข้าใจว่าปัจจัยที่มีผลการแลกเปลี่ยนความร้อนในตัวสุกรสูงสุดคือการพาความร้อน (40%) แต่การพาความร้อนจะให้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีการระเหยน้ำ (17%) เข้ามาช่วยเพราะสุกรไม่มีต่อมเหงื่อ การบริหารโรงเรือนอีแวปจึงต้องพิจารณาถึง ความชื้นและความเร็วลมเพื่อให้สามารถทำให้อุณภูมิที่สุกรรู้สึกเป็นไปตามที่สุกรต้องการและต้องไม่ลืมเรื่องค่าความสบายของสุกร (Optimal Humidity – ดูเพิ่มเติมในบทที่ 4) การแผ่รังสี (30%)   ต้องพิจารณาเป็นพิเศษในขั้นตอนการสร้างโรงเรือนหรือการดัดแปลงโรงเรือนให้สุกรสามารถให้ผลผลิตสูงสุด โดยการคัดเลือกอุปกรณ์ในการก่อสร้างที่เหมาะสมเช่น ผนัง วัศดุมุงหลังคา ฝ้าเพดาน หน้าต่างและทิศทางโรงเรือนฯลฯ                    ให้มีผลต่อการแผ่รังสีความร้อนให้น้อยที่สุดเช่น แผ่นฉนวนไอโซวอลล์ (ISO-Wall Sandwich panel), Metal sheet          การลดการแผ่รังสีอีกทางหนึ่งก็คือทำอย่างไรให้พื้นที่ทุกส่วนของโรงเรือนโดนแดดให้น้อยที่สุดหรือไม่โดนเลยยิ่งดี การนำความร้อน (13%) พิจารณาในแง่หาพื้นรองนอนเพื่อความอบอุ่นสำหรับสุกรที่อายุน้อยซึ่งต้องการอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิห้อง (>32 องศาเซลซัยส) บทต่อไปเราจะมาทำความเข้าใจกับการใช้ปัจจัยทั้ง 4 ตัวในการทำให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน     การคำนวนหาค่า % Wind Speed และการเฝ้าระวังเพื่อให้เกิด Pig Comfort ในโรงเรือน วันละ 24 ชั่วโมง ปีละ 365 วัน CR:  โค้ชวิทธ์

โรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ มีแล้วใช้ประโยชน์ให้เต็มประสิทธิภาพ ตอนที่ 6 Read More »

การประเมินโรคระบบทางเดินอาหารในฟาร์มสุกรโดย ผศ.น.สพ.ดร อลงกต บุญสูงเนิน ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์” CR: Elanco

การประเมินโรคระบบทางเดินอาหารในฟาร์มสุกรโดย ผศ.น.สพ.ดร อลงกต บุญสูงเนิน ทีมวิชาการ “หมอหมู” เกษตรศาสตร์” CR: Elanco Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)