ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย ชี้ไทยไม่เคยพบเชื้อไวรัส G4 ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่จีน ย้ำไม่ต้องกังวล ผู้บริโภคต้องสังเกตสัญลักษณ์ ปศุสัตว์ OK ก่อนซื้อ วันที่ 14 มกราคม 2564 ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ ชื่นชม นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย เปิดเผยว่า จากกรณีข่าวการเฝ้าระวังเชื้อไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ (G4 Eurasian Avian-like H1N1 Viruses) ที่เกิดการแพร่ระบาดครั้งแรกในหมูของประเทศจีนตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งมีการศึกษาพบว่าเชื้อนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันกับไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2552 โดยตลอด 5 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่พบเชื้อไวรัส G4 จนถึงปัจจุบันยังไม่พบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส G4 ในประเทศไทย และยังไม่มีรายงานการระบาดจากคนสู่คน จึงยังไม่น่าเป็นกังวลต่อการระบาดของโรคดังกล่าว นอกจากนี้ ยังชี้แจงเกี่ยวกับกรณีที่เมื่อพบโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 มักถูกเรียกว่าโรคไข้หวัดหมูนั้น ความจริงแล้วไม่มีความเกี่ยวข้องกับหมู แต่เป็นการเรียกติดปากจากการระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ H1N1 ที่เคยระบาดเมื่อปี 2009 ซึ่งมีชื่อเรียกในช่วงนั้นว่า โรคไข้หวัดหมู หรือ ไข้หวัด 2009 ต่อมาองค์การอนามัยโลกได้เปลี่ยนชื่อเรียกที่ถูกต้เองเป็น โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิด A (H1N1) เกิดจากการผสมผสานของไวรัสสายพันธุ์ของคน หมู และนก แต่ไม่เป็นที่ปรากฏชัดว่า เชื้อนี้เริ่มติดในคนเป็นครั้งแรกตั้งแต่เมื่อไร แต่เมื่อมีการระบาดแล้วกลับเป็นการแพร่กระจายและติดต่อจากคนสู่คน ไม่ได้พบในหมูทั่วไป จึงไม่ติดต่อโดยการสัมผัสหรือกินเนื้อหมูแต่อย่างใด ขอทำความเข้าใจว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ไม่ใช่ไข้หวัดหมู เพราะการสื่อสารเช่นนั้นอาจทำให้คนเข้าใจผิด และเกิดความกังวลในการบริโภคได้ ที่สำคัญเชื้อไวรัส G4 ที่พบในจีนเมื่อ 5 ปีก่อน ก็ไม่เคยพบในไทย และไม่มีการแพร่เชื้อหรือติดต่อแต่อย่างใด ส่วนการบริโภคอาหารอย่างปลอดภัย ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งที่มีมาตรฐานและเชื่อถือได้ สังเกตสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ทีกรมปศุสัตว์รับรองให้กับร้านจำหน่ายที่มีมาตรฐาน ที่สำคัญต้องรับประทานอาหารปรุงสุกเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการป้องกันสุขภาพร่างกายได้เป็นอย่างดี ส่วนการป้องกันตนเองจากไข้หวัด ประชาชนสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รวมไปถึงรักษาสุขอนามัยด้วยการล้างหรือทำความสะอาดมือให้สะอาด สวมหน้ากากอนามัย หากจำเป็นจะต้องใกล้ชิดกับสัตว์ควรป้องกันตนเองจากการสัมผัสเชื้อโรคต่างๆ” ผศ.น.สพ.ดร.สุเจตน์ กล่าว Cr. ประชาชาติธุรกิจ
ย้ำสุกรในไทยไม่เคยพบไวรัส G4 หรือไวรัสไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ Read More »
รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี
รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี จากบทความแรกจนมาถึงบทความตอนที่ 3 ผู้เขียนหวังว่าผู้ประกอบการฟาร์มหมู ทั้งรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ คงพอได้แนวทางในการป้องกันและควบคุมโรค ASF พอสมควร และหวังว่าท่านยังคงรอดพ้นจากภัย ASF อยู่ได้ สำหรับบทความตอนนี้เป็นการคาดการณ์ความเป็นไปของโรค ASF ในภายภาคหน้าซึ่งแม้ไม่ต้องการจะให้เกิดขึ้นจริง แต่ก็อยากให้ทุกท่านเตรียมใจและเตรียมการณ์ไว้ก่อนเพราะความไม่แน่นอนย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ กรณีที่ว่านั้นก็คือถ้าประเทศไทยไม่สามารถหยุดยั้งโรค ASF เอาไว้ได้ และโรคมีการแพร่กระจายไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ณ เวลานั้น เราจะมีแนวทางการบริหารจัดการอย่างไรได้บ้างตามหลักวิชาการ เพื่อลดความเสียหายจากโรคให้น้อยที่สุด ทั้งในด้านงบประมาณในการป้องกันและควบคุมโรค การลดการสูญเสียจากการตายของหมูที่ป่วยเป็นโรค การป้องกันและควบคุมไม่ให้เชื้อโรคแพร่ออกไปอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นฟูให้ฟาร์มหมูสามารถกลับมาเลี้ยงหมูอีกครั้งได้อย่างปลอดภัย ในทางทฤษฏีการควบคุมโรค ทำได้ค่อนข้างง่าย โดยอาศัยหลักการ รู้เร็ว จัดการเร็ว โรคจะจบเร็ว โดยการรู้เร็วหมายถึงการตรวจพบโรคให้ได้เร็วที่สุดตั้งแต่มีโรคระบาดในพื้นที่ จัดการเร็วหมายถึงการทำลายหมูป่วยเป็นโรค และการสืบสวนโรคหาหมูที่มีความเสี่ยงว่าจะสัมผัสโรคแล้วทำลายด้วยการฝังหรือเผา เพื่อไม่ปล่อยให้หมูหรือผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมูที่มีความเสี่ยงหลุดรอดการตรวจสอบออกไปแพร่เชื้อโรคต่อได้ ซึ่งหากทำครบ 2 ประเด็นหลักที่กล่าวมา โรคก็จะจบได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้ผู้เขียนขอใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโรค และข้อมูลทางวิชาการ รวมถึงการระบาดของโรค ASF ในประเทศต่างๆ เพื่อสรุปเป็นทางเลือกสำหรับการควบคุมโรค ASF ของประเทศไทย ในกรณีที่โรคแพร่ระบาดมากขึ้นทั้งในส่วนผู้เลี้ยงหมูรายย่อย รายกลางและรายใหญ่ ซึ่งทางเลือกที่ผู้เขียนจะนำเสนอต่อไปนี้ สามารถใช้ควบคุมโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรค อหิวาต์สุกร และ พี อาร์ อาร์ เอส สำเร็จมาแล้ว เพียงครั้งนี้ต้องเอามาปรับใช้ให้สอดคล้องตามลักษณะของโรค โมเดลที่ 1 การทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มที่เกิดโรคและฟาร์มรอบๆ ที่มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือ Stamping Out โมเดลนี้ในทางทฤษฏีถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมการแพร่กระจายของโรคระบาดรุนแรงรวมทั้งโรค ASF การควบคุมการระบาดของโรคในช่วงแรกของทุกประเทศที่การระบาดของโรคยังไม่มากมักใช้โมเดลนี้ในการควบคุมโรค วิธีการคือเมื่อตรวจพบหมูเป็นโรคในฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งจะขีดวงเป็นรัศมีเพื่อทำลายหมูในพื้นที่รอบจุดเกิดโรค โดยจะทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มที่พบโรคด้วยวิธีการฝังหรือเผาแบบ Total depopulation เพื่อตัดวงจรการแพร่โรค รวมถึงการทำลายหมูในรัศมี 1 , 3 และ 5 กิโลเมตรรอบฟาร์ม ทั้งนี้ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศนั้นๆ รวมถึงการห้ามจำหน่ายหมูมีชีวิตในเขตพื้นที่ระบาดเข้าโรงชำแหละด้วย โดยความสำเร็จของโมเดลนี้มักจะไปเกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินชดเชย การทำลายหมูที่ป่วยเป็นโรค และหมูที่มีความเสี่ยงจะติดโรคให้กับผู้เลี้ยงหมูด้วยเสมอ หากจ่ายเงินชดเชยต่ำกว่ามูลค่าหมูจริงของหมูมากๆ ผู้เลี้ยงหมูก็มักแอบลักลอบขายหมูป่วยหรือหมูที่ต้องสงสัยว่าป่วยออกไปก่อนที่ผู้มีอำนาจจะเข้าไปตรวจสอบและยืนยันการติดโรค เลยทำให้ในหลายประเทศไม่ประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคด้วยวิธีนี้ อีกทั้งการสืนสวนโรคในฟาร์มหมูเพื่อหาความเชื่อมโยงและความเสี่ยง ก็มักไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจนเพียงพอ และมักไม่ทันต่อเหตุการณ์ ทำให้โรคลุกลามไปในวงกว้าง โมเดลที่ 2 ตัดไฟแต่ต้นลม โมเดลนี้อาศัยหลักคิดที่เรียกว่า “ป้องกันไว้ก่อน” โดยอาศัยประสบการณ์เดิมว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นแล้ววางแผนป้องกันไว้ก่อน เช่นเดียวกับกรณีพอทราบว่าไฟเริ่มไหม้พื้นที่ป่า เราก็ทำแนวกันไฟ เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามต่อไปใด้ ไฟป่าก็จะดับไปเองในที่สุดเพราะไม่มีตัวต่อเชื้อไฟ กรณีโรค ASF ก็เช่นเดียวกัน ทุกท่านคงทราบดีแล้วกว่าโรคนี้มักจะระบาดในฟาร์มผู้เลี้ยงหมูรายย่อยหรือกลุ่มฟาร์มที่ไม่มีระบบป้องกันโรคที่ดีพอก่อนเสมอ ดังนั้นหากเรามีข้อมูลด้านการระบาดอย่างเพียงพอจนสามารถประมาณการได้ว่าพื้นที่ใดโรค กำลังระบาดมาถึง เราจะไม่ปล่อยให้ผู้เลี้ยงหมูเหล่านั้นต้องเผชิญกับโรคเพียงลำพังและหมูในฟาร์มเป็นโรคตายทั้งหมด แล้วรอรับเงินชดเชยจากภาครัฐหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนอื่นๆ เพื่อขอเข้าทำลายหมู ด้วยโมเดลตัดไฟแต่ต้นลม สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมูรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์และผู้ประกอบการในธุรกิจหมูทั้งหมด สามารถร่วมมือกันทำได้ โดยการใช้เงินกองทุนชดเชยโรคระบาดหรือเงินจากการระดมทุนเฉพาะกาล รับซื้อหมูของผู้เลี้ยงหมูรายย่อยในพื้นที่รัศมี 10-20 กิโลเมตรจากจุดที่พบว่ามีการระบาดของโรค และต้องเป็นฟาร์มที่ไม่มีความเชื่อมโยงกับจุดเกิดโรค โดยมีเงื่อนไขรับซื้อหมูในราคาตลาดเฉพาะหมูที่ผ่านการตรวจยืนยันว่าปลอดจากโรค ASF แล้วเท่านั้น และส่งเข้าโรงชำแหละที่กำหนดให้เพื่อตรวจติดตามสถานะปลอดโรค ส่วนกรณีหมูแม่พันธุ์และหมูที่ยังขายขุนไม่ได้ จะพิจารณาชดเชยเป็นรายได้ที่เหมาะสมให้กับผู้เลี้ยง โดยเกษตรกรที่ยินดีเข้าร่วมโครงการตัดไฟแต่ต้นลมจะได้รับเงินจากการขายหมูตามราคาตลาดและเงินชดเชยจากหมูที่ไม่สามารถขายเข้าโรงชำแหละได้ และหลังจากในพื้นที่นั้นภาวะโรคระบาดสงบลงแล้วหรือไม่มีโรคเกิดขึ้นภายใน 60 วัน ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก็สามารถนำหมูชุดใหม่เข้าเลี้ยงได้ ตามการประเมินของเจ้าหน้าที่ปศุตว์ในแต่ละพื้นที่ เพราะฟาร์มของเขาเหล่านั้นยังไม่เคยมีโรคระบาด ASF มาก่อน ซึ่งโมเดลนี้จะต่างจากโมเดลแรกที่จะต้องให้ผู้เลี้ยงหมูหยุดการเลี้ยงหมูเป็นเวลานานกว่า เพราะในฟาร์มเคยมีโรคเกิดขึ้นแล้ว โดยโมเดลนี้ ภาครัฐหรือกองทุนที่สนับสนุนการป้องกันโรคจะได้ประโยชน์จาการที่ไม่ต้องใช้เงินจำนวนมาก เพื่อชดเชยการทำลายหมูที่ป่วยและตายโดยไม่มีรายได้กลับคืนมา ผู้ประกอบการเลี้ยงหมูรายอื่นๆ ก็จะไม่มีความเสี่ยงจากโรคในพื้นที่ตนเอง และที่สำคัญผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก็ยังพอมีรายได้จากการขายหมูเพื่อทำทุนเลี้ยงหมูต่อเมื่อภาวะโรคในพื้นที่นั้นสงบลง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การระบาดของโรคก็มีแนวโน้มจะช้าลง เนื่องจากไม่มีหมูกลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคมารับเชื้อและแพร่เชื้อต่อไป ผู้เขียนเชื่อมันว่าหากมีการสรุปแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจน โมเดลตัดไฟแต่ต้นลม จะเป็นโมเดลที่น่าสนใจ ที่จะช่วยลดความสูญเสียในการดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงหมูลงได้มาก แต่จะต้องได้รับความร่วมจากทุกภาคส่วน และต้องอาศัยพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับโรค ASF อย่างลึกซึ้ง อย่างไรก็ตามโมเดลนี้อาจมีความสุ่มเสี่ยงต่อการเข้าใจผิดว่า เป็นความพยายามของผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายใหญ่ที่จะมุ่งการทำลายผู้เลี้ยงหมูรายย่อย ดั้งนั้นก่อนดำเนินการควรชี้แจงและทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์คือการช่วยเหลือผู้เลี้ยงหมูรายย่อยก่อนที่โรคระบาดจะแพร่มาถึง โมเดลที่ 3 การทำลายหมูบางส่วนเพื่อป้องกันไม่ให้หมูที่เหลือในฟาร์มติดเชื้อหรือ Partial Depopulation โมเดลนี้ น่าจะเป็นทางเลือกเฉพาะฟาร์มหมูรายย่อย รายกลาง และรายใหญ่ที่มีความพร้อมสูงมากด้านระบบการป้องกันและควบคุมโรค และเข้าใจการระบาดของโรคเป็นอย่างดี และต้องมีความพร้อมด้านการตรวจโรคทางห้องปฏิบัติการ และที่สำคัญควรได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่นั้นๆ โดยในระหว่างประเมินความสำเร็จของโครงการ ผู้เลี้ยงหมูจะสามารถส่งหมูขุนเข้าโรงชำแหละของตนเองเท่านั้น และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ และจะต้องแสดงผลการตรวจว่าหมูในเล้านั้นปลอดจากการติดเชื้อภายใน 15 วันก่อนการเคลื่อนย้ายหมูเข้าโรงชำแหละ และต้องตรวจสอบการติดโรคอีกครั้งที่โรงชำแหละ หรือกรณีที่ต้องการย้ายหมูออกจากฟาร์มจะทำได้เฉพาะเล้าที่ผ่านการตรวจสอบว่าภายในรอบ 15 วันก่อนการเคลื่อนย้ายไม่พบการติดเชื้อ และต้องย้ายไปเลี้ยงต่อในพื้นที่ที่ไม่มีเล้าหมูอื่นๆ ในรัศมี 5 กิโลเมตร หลังจากลงเลี้ยงต้องตรวจสอบการติดเชื้อต่ออีกอย่างน้อย 30-45 วัน ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโมเดลนี้ คือการทราบให้เร็วที่สุดว่าหมูในฟาร์มติดโรค และในฟาร์มมีการบริหารจัดการฟาร์มที่เอื้อต่อความสำเร็จในการควบคุมการแพร่กระจายโรค เช่น มีเล้ากักโรคสำหรับรับสุกรทดแทน พนักงานพร้อมปฏิบัติตามคำแนะนำการป้องกันโรค มีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ ในแต่ละเล้าต้องแยกพนักงานเลี้ยงกันอย่างชัดเจน ไม่ใช้อุปกรณ์การฉีดวัคซีนร่วมกันในแต่ละเล้า ระบบการให้น้ำและอาหารเป็นแบบรายตัว คอกเลี้ยงหมูขนาดไม่ใหญ่เกินไป มีการป้องกันสัตว์พาหะอย่างจริงจัง และมีมุ้งป้องกันแมลงวัน เป็นต้น โดยหลักการทำ Partial Depopulation ก็คือทำลายสุกรบางส่วนในฟาร์ม ทั้งนี้อาจเป็นรายตัว รายคอก รายเล้า หรือหลายๆ เล้า ทั้งนี้ขึ้นกับระยะเวลาที่ตรวจพบหมูป่วย และความเชื่อมโยงของหมูที่ป่วยกับหมูกลุ่มอื่น ๆ ในฟาร์ม หากพบโรคได้เร็วและโรคยังไม่แพร่กระจายไปมากในฟาร์ม ความสำเร็จก็ยังพอมี แต่หากโรคแพร่กระจายไปมาก แนะนำให้ใช้โมเดลแรกคือการทำลายหมูทั้งหมดในฟาร์มจะได้ผลดีกว่า การตัดสินในว่าจะดำเนินการใช้โมเดล Partial Depopulation หรือไม่นั้น ต้องอาศัยข้อมูลด้านระบาดของโรค การตรวจสอบยืนยันการติดเชื้อโรคในฟาร์มด้วยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการสืบสวนหาความเชื่อมโยงของการบริหารจัดการภายในฟาร์ม ซึ่งต้องประเมินโดยผู้ที่เชี่ยวชาญและที่สำคัญอย่างยิ่งคือการตรวจติดตามสถานะฝูงหรือ Monitoring program ต้องพร้อมสามารถตรวจติดตามการแพร่กระจายโรคได้อย่างทันท่วงที และหลังจากสรุปว่าจะใช้โมเดล Partial Depopulation ควรประชุมผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดในฟาร์ม มีการเขียนข้อกำหนดในการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องในฟาร์มทุกอย่างชัดเจน รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานแบบรายวัน รายสัปดาห์ และการประเมินความสำเร็จของการใช้โมเดลนี้ จากที่กล่าวมานั้นเป็นแนวทางในการควบคุมโรค ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดใน 3 โมเดล หากดำเนินการตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ด้วยหลักการ PDCA ตั้งแต่ Plan หรือมีการวางแผนที่ดี Do คือการปฏิบัติตามแผนอย่างเคร่งครัด Check คือการตรวจสอบอยู่เสมอว่าจะมีอะไรที่อาจผิดพลาดไม่เป็นตามแผนที่วางไว้ และสุดท้าย Act คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในกรณีที่พบความผิดพลาดเกิดขึ้นในการดำเนินงาน ผู้เขียนหวังว่าแนวทางที่นำเสนอมาคงพอใช้เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการเลี้ยงหมู และผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจฟาร์มหมูที่จะใช้เพื่อการควบคุมโรค ASF เพื่อช่วยลดความสูญเสียจากโรคระบาด และทำให้ธุรกิจเลี้ยงหมูยังคงดำเนินการต่อไปได้อย่างยั่งยืน และท้ายสุดผู้บริโภคในประเทศจะได้มีเนื้อหมูบริโภคอย่างเพียงพอในราคาที่เหมาะสม น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร บริษัท ซีพีเอฟ ( ประเทศไทย) จำกัด ( มหาชน) อ่านบทความย้อนหลัง เรื่องรวมพลังต้านภัย ASF ได้ที่นี่เลยครับ Home คู่มือการเลี้ยงสัตว์ ดาวน์โหลดฟรี
รวมพลังต้านภัย ASF ตอนที่ 3 : ถ้าโรคไปไกลจะใช้แนวทางใหนดี Read More »
ตอบคำถามโรคปากและเท้าเปื่อย
ตอบคำถาม โรคปากและเท้าเปื่อย 1 ทำวัคซีนแล้ว แต่ทำไมวัวยังเป็นโรคปากเท้าเปื่อยอีก ความล้มเหลวในการทำวัคซีนเกิดได้จาก 3 ปัจจัย คือ ตัวสัตว์ วัคซีน และผู้ฉีดวัคซีน ตัวสัตว์ : อาจเกิดจากขณะทำการฉีดสัตว์ไม่พร้อมต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน เช่น สัตว์เครียดจากความร้อน หรือสัตว์ป่วย หรืออาจเกิดจากสัตว์ได้รับเชื้อขณะที่ภูมิคุ้มกันยังไม่เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับป้องกันโรค หรือภูมิจากวัคซีนที่ฉีดกำลังหมดลง วัคซีน : อาจเกิดจากการเก็บรักษา หรือการขนส่งที่ไม่ดี หรือวัคซีนที่ฉีดนั้นมีเชื้อไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาด ผู้ฉีดวัคซีน : ผู้ฉีดวัคซีนอาจฉีดไม่ถูกต้อง หรือฉีดไม่ครบโดส 2 มีวัวฟาร์มข้างๆ เป็นโรคปากเท้าเปื่อยแล้วจะทำวัคซีนดีไหม เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่ ให้ทำวัคซีนไทป์เดียวที่กำลังระบาด หากเพิ่งทำการฉีดวัคซีนไทป์รวมไป ให้ฉีดวัคซีนไทป์เดียวตามภายใน 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า วัคซีนอาจป้องกันให้สัตว์ไม่แสดงอาการของโรคหรือแสดงอาการไม่รุนแรง แต่สัตว์ตัวนั้นๆอาจมีการติดเชื้อภายในร่างกาย 3 วัวเป็นปากเท้าเปื่อยแล้ว แยกรีดแล้วนมตัวอื่นยังส่งนมได้ไหม ไม่ได้ เนื่องจากในฟาร์มที่มีวัวเป็นปากเท้าเปื่อย จะมีวัวส่วนหนึ่งที่มีเชื้อปากเท้าเปื่อย แต่ยังไม่แสดงอาการป่วย วัวเหล่านั้นสามารถ แพร่เชื้อออกจากร่างกาย และกระจายไปสู่ฟาร์มอื่น ทำให้เกิดการระบาดเป็นบริเวณกว้าง 4 ควรเลือกฉีดวัคซีนไทป์รวม หรือไทป์เดียว ขึ้นกับจุดประสงค์ของการทำวัคซีนคือ “วัคซีนไทป์เดียว” ใช้สำหรับการควบคุมการระบาดของโรค ในขณะที่ วัคซีนไทป์รวมใช้สำหรับการป้องกันโรค กรณีที่มีการแพร่ระบาดของโรค ควรทำวัคซีนตามคำแนะนำของสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ คือทำวัคซีนไทป์เดียว และตามด้วยวัคซีนไทป์รวม ใน 2 สัปดาห์ถัดมา เพื่อให้วัวมีภูมิคุ้มกันต่อโรคปากเท้าเปื่อย กรณีที่ทำวัคซีนตามโปรแกรมของฟาร์ม ก็ควรใช้ วัคซีนไทป์รวม เพื่อให้โคมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อทุกสายพันธุ์ โดยไม่ต้องใช้วัคซีนไทป์เดียว 5 ทำไม่เวลาเป็นปากเท้าเปื่อยถึงไม่เป็นทุกตัว ทั้งนี้ขึ้นกับภูมิคุ้มกันของตัวโคแต่ละตัวในขณะที่ได้รับเชื้อ โคในฝูงเดียวกันอาจมีการเพิ่มขึ้น คงระดับ หรือลดลงของภูมิคุ้มกันได้มากน้อย และช้าเร็วแตกต่างกัน 6 การโรยปูนขาวช่วยอะไร ในพื้นที่ที่เป็นปากและเท้าเปื่อย ปูนขาว(CaO) มีจุดเด่นคือเป็นสารฆ่าเชื้อราคาถูกและ เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนสภาพเป็นด่างซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้ 7 หากที่ฟาร์มเกิดโรคปากและเท้าเปื่อยขึ้นแล้วและหายจากโรคแล้ว ยังต้องทำวัคซีนอีกไหม ควรทำ เนื่องจากภูมิคุ้มกันไม่ป้องกันข้าม serotype แม้สัตว์จะมีภูมิภายหลังการเกิดโรค แต่สัตว์อาจได้รับเชื้อ serotype อื่นได้อีก 8 ฉีดใต้ผิวหนัง หรือฉีดเข้ากล้ามแตกต่างกันอย่างไร การฉีดเข้าใต้ผิวหนังสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด 9 วัคซีนปากและเท้าเปื่อยทำแล้วแท้งลูกไหม ผลข้างเคียงของโรค ปากและเท้าเปื่อยไม่ได้ทำให้เกิดการแท้ง การแท้งมักเกิดจากความเครียดเมื่อสัตว์ถูกจับบังคับ แต่วัคซีนอาจทำให้เกิดการแพ้ได้ ฉะนั้นภายหลังการฉีดวัคซีนควรเฝ้าดูอาการของโค ใน 6 ชั่วโมงภายหลังการฉีด
CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19
CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19 คุณสะแวง เทียมเงิน ผู้บริหารงานด้าน CSR นำทีมจิตอาสา CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงวัย ในโครงการกองทุน ซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย มอบเครื่องอุปโภคบริโภค เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัยซีพี ร่วมป้องกันโควิด-19 พร้อมปฏิทินปีใหม่ 2564 และเงินช่วยเหลือในเบื้องต้น ทั้งนี้ ผู้สูงวัยได้กล่าวขอบคุณ CPF ที่ให้ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง ขอให้กิจการรุ่งเรือง ผู้บริหารและพนักงานสุขภาพแข็งแรง สำหรับโครงการกองทุนซีพีเอฟ คืนสุข ผู้สูงวัย เป็นการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่รอบโรงงานและฟาร์มของซีพีเอฟ ที่ไม่มีลูกหลานดูแล ไม่มีรายได้เลี้ยงตัวเอง โดยผู้สูงอายุจะได้รับมอบเงินช่วยเหลือเดือนละ 2,000 บาท นับตั้งแต่ปี 2554- ปัจจุบัน มีจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับความช่วยเหลือจากโครงการฯ รวม 833 ราย./
CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์ท่าเรือ แจกหน้ากากอนามัยให้ผู้สูงวัยชาวอยุธยา ป้องกันโควิด-19 Read More »
CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย มอบให้มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (Labour Protection Network : LPN) ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อนำไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องแรงงานต่างด้าวและประชาชนที่ต้องกักตัวในหอพักที่ตลาดกลางกุ้ง ต.มหาชัย อ.เมืองฯ จ.สมุทรสาคร ได้บริโภคอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ร่วมสนับสนุนจังหวัดสมุทรสาครคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว พิธีมอบผลิตภัณฑ์อาหารและไข่ไก่ในวันนี้ จัดขึ้นที่สำนักงานมูลนิธิ LPN ต.คูบางหลวง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์อาหาร 30,800 แพ็ค และไข่ไก่สด 10,000 ฟอง โดยมีนายสมพงค์ สระแก้ว ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งมูลนิธิ LPN เป็นผู้รับมอบจากนายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนายศรกฤษณ์ วัตตศิริ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริหารงานทรัพยากรบุคคล ซีพีเอฟ นายสมพงค์กล่าวว่า อาหารที่ได้รับการสนับสนุนจากซีพีเอฟ เป็นอีกหนึ่งความช่วยเหลือที่สำคัญในการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ต้องกักตัวและประชาชนที่อยู่ในบริเวณตลาดกลางกุ้ง มหาชัย รวมทั้งผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการประมาณ 4,000 คน ซึ่งได้รับความเดือดร้อนในการดำเนินชีวิตประจำวันจากการหยุดงานเป็นระยะยาว และไม่สามารถออกจากพื้นที่ควบคุมได้จนกว่าสถานการณ์คลี่คลาย ได้เข้าถึงอาหารปลอดภัยอย่างเพียงพอ ในช่วงเวลาที่พื้นที่ดังกล่าวถูกจัดให้เป็นพื้นที่สีแดงที่ต้องควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด ตามมาตรการของจังหวัดสมุทรสาคร “การร่วมสนับสนุนของซีพีเอฟครั้งนี้ แสดงถึงความเอื้ออาทรของคนไทยที่มีต่อแรงงานต่างด้าวซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางของสังคมได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติตามหลักมนุษยธรรม นอกจากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศแล้วยังตอกย้ำการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังทุกครั้งที่เกิดวิกฤต” นายสมพงค์กล่าว นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ กล่าวว่า ซีพีเอฟตระหนักในการทำหน้าที่พลเมืองดีของสังคม (Good Corporate Citizen) และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีการจ้างแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนการผลิตอาหารปลอดภัยของบริษัทฯ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดในจังหวัดขยายวงกว้างขึ้น ซีพีเอฟถือเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบต่อสังคมในการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องแรงงานต่างด้าวที่ถูกกักตัวสามารถเข้าถึงอาหารปลอดภัยได้อย่างเพียงพอ ก่อนหน้านี้ ซีพีเอฟได้ส่งมอบอาหารปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ จำนวน 55,000 แพก เพื่อสนับสนุนการทำงานและเป็นกำลังใจให้แพทย์ พยาบาล และผู้ป่วย ที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการทำหน้าที่รักษาและป้องกันการระบาด “ซีพีเอฟใช้ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของการเป็นผู้ผลิตอาหารชั้นนำ ส่งมอบอาหารคุณภาพดีให้แก่คนไทย และพี่น้องแรงงานทุกคนทั้งในยามปกติและทุกสถานการณ์วิกฤต ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เราเชื่อว่าความรับผิดชอบต่อสังคมและการร่วมแรงร่วมใจกันของคนไทยจะช่วยให้ประเทศสามารถควบคุมการระบาดของโรคและผ่านวิกฤตได้อย่างรวดเร็ว” นายประสิทธิ์กล่าว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 เป็นต้นมา ซีพีเอฟในฐานะภาคเอกชนรายแรกๆ ที่นำความเชี่ยวชาญในการผลิตอาหารคุณภาพ ปลอดภัย มาช่วยสนับสนุนการทำงานภาครัฐในการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดไวรัสโคโรน่า 2019 ผ่านการดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัย COVID-19” ส่งมอบอาหารพร้อมรับประทานให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของรัฐ 200 แห่งทั่วประเทศ และขยายต่อส่งมอบอาหารให้แก่ครอบครัวของแพทย์และพยาบาลที่เป็นแนวหน้าเฝ้าระวังการระบาดโควิดอีก 20,000 ครอบครัว รวมทั้งสนับสนุนอาหารให้แก่ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและต้องกักตัวประมาณ 20,000 ราย นอกจากนี้ยังร่วมกับกองทัพภาคที่ 1 ส่งมอบอาหารให้ประชาชนชุมชนคลองเตย กว่า 8,499 ครอบครัว และร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดรถ CPF Food Truck นำอาหารสำเร็จรูปอุ่นร้อนแจกจ่ายให้ประชาชนในชุมชนต่างๆ ใน 6 เขตพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร และส่งมอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานช่วยเสริมทัพให้ทีมแพทย์-พยาบาลของ 5 โรงพยาบาลในจังหวัดตากที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จากประเทศเพื่อนบ้าน ซีพีเอฟได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโควิด-19 ด้วยความเคร่งครัด ตลอดจนเข้มงวดกับมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตอาหารในทุกขั้นตอน เพื่อให้พนักงานทุกเชื้อชาติได้ทำงานในสถานที่ปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนในประเทศไทยได้บริโภคอาหารคุณภาพ มีโภชนาการอย่างเพียงพอ ไม่ขาดแคลน ที่มา : www.cp-enews.com
CPF ร่วมกับมูลนิธิ LPN ส่งอาหารจากใจ ช่วยแรงงานต่างด้าวในสมุทรสาคร ต้านวิกฤต COVID-19 Read More »
‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่
ซีพีเอฟใช้ Chatbot พัฒนาโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน เร่งสปีดการสื่อสารกับชุมชนทั่วประเทศ และลดการแพร่ระบาดโควิด-19 ไข่ไก่เป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณภาพสูงและมีประสิทธิภาพในการดูดซึมสูงกว่าอาหารชนิดอื่น ทั้งช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและกระตุ้นการทำงานของสมอง ซึ่งตามข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข เด็กวัยเรียนควรกินไข่ทุกวัน แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทยปี 2560 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า กลุ่มวัยเรียนบริโภคไข่ทุกวันเพียงร้อยละ 23.7 เท่านั้น ในฐานะที่บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มีความเชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงไก่ไข่ จึงใช้จุดแข็งมาสร้างประโยชน์ให้สังคมไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทห่างไกล ด้วยการทำ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน” ผ่านมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ทำให้หน่วยงานและองค์กรอื่น ๆ เห็นความสำคัญของโครงการ และเข้าร่วมสนับสนุน อาทิ หอการค้าญี่ปุ่น- กรุงเทพฯ (Japanese Chamber of Commerce, Bangkok) หรือ JCC โดยโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียนเป็นโครงการที่ซีพีเอฟดำเนินการมากว่า 30 ปี และได้รับการสันบสนุนจาก JCC เป็นปีที่ 21 “สมคิด วรรณลุกขี” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจไก่ไข่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบทได้เข้าสนับสนุนด้านการเลี้ยงไก่ไข่ในโรงเรียนด้วยการมอบพันธุ์ไก่ อาหารสัตว์ และสร้างเล้าไก่ ที่สำคัญมีก่ารถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คุณครูและนักเรียน ทั้งให้การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการเลี้ยง วิธีการจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรค เพื่อให้ฏรงเรียนสามารถสานต่อด้วยตนเองได้ “แม้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนให้มีการเลี้ยงไก่ไข่ ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยนช์เพื่อช่วยเหลือนักเรียนและชุมชน” ปัจจุบันเป็นยุคที่เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในทุกด้าน เราจึงนำเทคโนโลยีมาต่อยอดโครงการนี้ให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งยังใช้เทคโนโลยีมาช่วยรักษาระยะห่างทางสัมคมเพื่อลดการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีกด้วย โดยการทำระบบ Chatbot เพื่อการรายงานข้อมูลของโรงเรียนทั่วประเทศ ผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ (Line) เช่น จำนวนไก่ อาหารสัตว์ ผลผลิตไข่ไก่ ไก่ปลด รายงานการเลี้ยง ต้นทุนและรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตไข่ไก่ เป็นต้น ที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ไปทำโครงการไว้ในโรงเรียนทั้งหมด 855 โรงเรียน เด็กและเยาวชนเข้าถึงอาหารโปรตีนคุณภาพมากกว่า 150,000 คน โดยมีแผนขยายประมาณ 20-25 โรงเรียนในทุก ๆ ปี ส่วนของ JCC ได้เข้ามาร่วมสนับสนุนโรงเรียนไปแล้ว 132 โรงเรียน ล่าสุดพิธีส่งมอบโครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน ให้แก่ โรงเรียนบ้านทุ่งมน อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และอีก 4 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านต่างแดน โรงเรียนโนนปอแดงวิทยา โรงเรียนโนนอุดมศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู และโรงเรียนส้งเปือย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
‘ซีพีเอฟ’ ส่งเสริมโรงเรียนใช้ Chatbot พัฒนาเลี้ยงไก่ไข่ Read More »
ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19
ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19 นายวรยุทธ เนาวรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ประกอบด้วยแรงงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ประกันสังคม จัดหางาน ขนส่ง อุตสาหกรรม และสาธารณสุข จ.ลำพูน เยี่ยมชม CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน ตามประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อ จ.ลำพูน ในสถานการณ์โควิด-19 โดยมี คุณฤทธิชัย ภูมิอมร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF และพนักงาน ให้การต้อนรับผู้ว่าฯ ลำพูน กล่าวชื่นชมมาตรการป้องกันโควิด-19 ของ CPF ที่ได้มาตรฐานและปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือน มี.ค. จนถึงปัจจุบัน ทั้งการตรวจคัดกรองก่อนเข้าโรงงาน โดยใช้ระบบ ivisit ในการกรอกข้อมูล การจัดเตรียมสินค้าอาหารสัตว์ให้เพียงพอต่อการจำหน่าย เพื่อลดจำนวนคนที่อยู่ในโรงงาน การลดการสัมผัสจ่ายเงินร้านค้าในโรงอาหารด้วยแอปพลิเคชัน TrueMoney Wallet และพร้อมเพย์ รวมทั้งไม่ใช้อุปกรณ์ส่วนกลางร่วมกัน ในโรงอาหาร เป็นต้น โดยสามารถติดตามตรวจสอบและควบคุมกระบวนการได้ทั้งหมด มาตรการที่ใช้จึงมีประสิทธิภาพ./
ผู้ว่าฯ ลำพูน ตรวจเยี่ยม โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกลำพูน มั่นใจมาตรการป้องกันโควิด-19 Read More »