Logo-CPF-small-65png

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา รับมอบเงินบริจาค 1.1 ล้านบาท จาก CPF เพื่อสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19 (และโรคระบาดต่างๆ)” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากสถานการณ์โควิด โดยเงินดังกล่าว เป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมวิ่งการกุศลในวิถีใหม่ “CP Run For Good Deeds VIRTUAL RUN 2021 วิ่งร้อยเรียงความดี” มีชมรม CPF Running Club และนักวิ่ง เข้าร่วมกิจกรรม 2,623 คน โดยมี คุณเรวัติ หทัยสัตย์พงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร พร้อมด้วย คุณบุญเสริม เจริญวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF ในฐานะรองประธานชมรมฯ ร่วมมอบ ณ มูลนิธิชัยพัฒนากิจกรรม “CP Run For Good Deeds VIRTUAL RUN 2021 วิ่งร้อยเรียงความดี” ภายใต้แคมเปญ “ซีพีร้อยเรียงความดี” จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมฉลองเครือซีพีครบรอบ 100 ปี ในรูปแบบ Virtual Run หรือวิ่งเสมือนจริง ซึ่งนักวิ่งสามารถเลือกได้ว่าจะวิ่งที่ไหน เวลาใด ที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและต้านภัยโควิด ตั้งแต่วันที่ 25 ก.ค.-29 ส.ค.64 ทั้งนี้ ผู้สมัครยังได้ร่วมทำความดี โดยรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดมอบให้กับกองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19./

วิ่งร้อยเรียงความดี… ‘CPF Running Club’ มอบเงินสนับสนุน “กองทุนชัยพัฒนา สู้ภัยโควิด-19” 🏃🏻‍♂️🏃🏻‍♀️💪🏻 Read More »

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ‼️ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด คุณโกวิน ฤทธิกานนท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส และชาว CPF จิตอาสา โรงงานผลิตอาหารสัตว์ราชบุรี เป็นตัวแทนบริษัทฯ มอบอาหารสำเร็จรูปพร้อมทานเมนูบะหมี่เกี๊ยวกุ้ง จากโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตามนโยบายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เพื่อเติมเต็มเสบียงและแทนคำขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี สู้โควิด โดยมี คุณสุภเวช ชัยทัศน์ ผู้แทน ผอ.รพ.ดำเนินสะดวก รับมอบCPF ริเริ่มและดำเนินโครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” ตั้งแต่ปี 2563 ตามนโยบายของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ภายใต้โครงการ “ซีพีร้อยเรียงใจ สู้ภัยโควิด-19” นับจากวันแรก…ถึงวันนี้ CPF สนับสนุนอาหารพร้อมทานหลายล้านแพ็ค น้ำดื่มและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายล้านขวด วัตถุดิบอาหารสดและเครื่องปรุงรส ให้แก่โรงพยาบาลหลัก โรงพยาบาลสนาม กลุ่มเปราะบาง ศูนย์ฉีดวัคซีน จุดตรวจโควิดเชิงรุก ศูนย์พักคอย และหน่วยงานต่างๆ มากกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้ทุกคนได้บริโภคอาหารคุณภาพอย่างเพียงพอ สะท้อนความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ร่วมเคียงข้างคนไทย ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน./ 

ส่งความห่วงใย…ให้หมอ‼️ CPF เสริมเสบียง รพ.ดำเนินสะดวก และ รพ.สนาม ต.ดอนกรวย ฝ่าโควิด Read More »

หมู-ไก่ แข็งแรงด้วย “โพรไบโอติก” กุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี

   บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องและเหมาะสม และมีความมุ่งมั่นที่จะลดการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ จึงนำนวัตกรรม “โพรไบโอติก” มาใช้ในอาหารสัตว์ เพราะเราเชื่อว่าเมื่อสัตว์แข็งแรง ผู้บริโภคก็จะได้รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ ปลอดภัย เทรนด์รักสุขภาพและความปลอดภัยอาหารเป็นเรื่องที่ประชากรทั่วโลกให้ความใส่ใจมากยิ่งขึ้น จากผลสำรวจมุมมองผู้บริโภคทั่วโลก (Global Consumer Insights Survey) ประจำปี 2564 จำนวนทั้งสิ้น 8,700 ราย ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก PwC พบว่า เทรนด์สุขภาพและความปลอดภัยคือหนึ่งในประเด็นที่กำลังมาแรง ขณะเดียวกัน การมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันที่ดีก็เป็นเรื่องสำคัญ ทำให้ไม่ต้องใช้ยารักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ซึ่งการสร้างสมดุลของเชื้อแบคทีเรียที่ลำไส้จะส่งผลดีต่อร่างกายจึงเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจ และเป็นที่มาของการศึกษาเรื่องโพรไบโอติกอย่างกว้างขวางทั้งในคนและในสัตว์ องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ให้คำนิยาม โพรไบโอติก คือจุลินทรีย์มีชีวิต เมื่อใช้ในปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมจะส่งผลดีต่อร่างกาย หากคนได้รับก็จะมีสุขภาพดี หรือสัตว์ได้รับก็จะมีสุขภาพดีเช่นเดียวกัน จึงมีการการนำโพรไบโอติกมาใช้ในปศุสัตว์เพื่อให้สัตว์มีสุขภาพแข็งแรง ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ    ดร.ไพรัตน์ ศรีชนะ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สำนักวิชาการอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯ เริ่มการศึกษาเรื่องจุลินทรีย์โพรไบโอติกในไก่เนื้อ โดยเก็บเชื้อจากฟาร์มทั่วประเทศ เพื่อศึกษาหน้าที่และประโยชน์ของจุลินทรย์แต่ละชนิด หลังจากนั้นได้ขยายการศึกษาต่อในสุกร จนกระทั่งได้ข้อมูลที่สามารถสร้างฐานข้อมูลของจุลินทรีย์พื้นฐานได้ จึงพัฒนาร่วมกับสถาบันวิจัยระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญและได้ศึกษาเรื่องโพรไบโอติกมาเป็นระยะเวลานาน โดยการคัดโพรไบโอติกจาก 125,000 สายพันธุ์ นำมาสู้กับเชื้อโรคกว่า 1,200 ชนิด ที่เก็บเชื้อมาจากฟาร์มทั่วประเทศ จนได้โพรไบโอติกที่แข็งแรงที่สุดเพียง 9 สายพันธุ์ จึงทำให้ไก่-หมู มีสุขภาพดี แข็งแรงตามธรรมชาติ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งโต ตลอดการเลี้ยงดู ปลอดสาร ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง สำหรับการนำโพรไบโอติกมาใช้ในปศุสัตว์มีประโยชน์หลายด้าน คือ 1) สามารถยับยั้งเชื้อก่อโรคที่พบในฟาร์ม 2) ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ทำงานได้เร็วขึ้น 3) ประสิทธิภาพของสัตว์ในฝูงดีขึ้น เช่น ลูกไก่แรกเกิดจะมีจุลินทรีย์จากสิ่งแวดล้อม เช่น อีโคไล ซาโมเนลลา ซึ่งถึงว่าเป็นชนิดที่ไม่มีประโยชน์ และใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าเชื้อเหล่านี้จะหมดไป ดังนั้น การนำโพรไบโอติกที่ถูกชนิดมาใช้อย่างเหมาะสมก็จะช่วยกำจัดเชื้อและลดระยะเวลาลงได้ 4) ช่วยย่อยกากใยที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมได้ 5) ลดปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อมจากการใช้ยาได้อย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ ได้นำนวัตกรรมและทำการวิจัยพัฒนาตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่อาหารสัตว์ ฟาร์ม ตลอดจนอาหาร รวมถึงแนวคิด “กินอาหารให้เป็นยา (Food as a Medicine)” เพื่อสอดรับกับนโยบายหลักสวัสดิภาพสัตว์ พร้อมทั้งมุ่งมั่นผลิตอาหารปลอดภัย มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน คลิกอ่านต่อ : พรีไบโอติก และ โปรไบโอติก คืออะไร https://cpffeedsolution.com/pic/

หมู-ไก่ แข็งแรงด้วย “โพรไบโอติก” กุญแจสำคัญสู่สุขภาพที่ดี Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.30 l พาทัวร์ฟาร์มโคนมอัจฉริยะจากประเทศอิสราเอล

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.30 l พาทัวร์ฟาร์มโคนมอัจฉริยะจากประเทศอิสราเอล Read More »

ไข่ไก่กลับมาแล้ว! สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออก ยืนยันไม่ขาดแน่

ห้างค้าปลีกมีการเติมไข่ไก่กลับมาสู่ภาวะปกติ ฟองละ 3.83 บาท ด้านนายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ยอมรับล็อกดาวน์ดันยอดใช้ไข่เพิ่ม 10% ยืนยันไม่ขาดแคลนผลิตได้ 41 ล้านฟองต่อวัน พร้อมร่วมมือรัฐเพิ่มปริมาณตามความต้องการอีก เตือนฟาร์มระวังพ่อค้าป่วนตลาด วันที่ 8 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานระบุว่า จากการสำรวจการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภควันนี้ โดยเฉพาะสถานการณ์จำหน่ายไข่ไก่ในห้างโมเดิร์นเทรดต่าง กลับมาเป็นปกติแล้ว มีสินค้ามาเติมจนเต็มชั้น แล้ว โดยเฉพาะไข่ไก่ กลับมามีปริมาณปกติ จำหน่ายแผงละ 115 บาท หรือเฉลี่ย ฟองละ 3.83 บาท จากก่อนหน้านี้ที่ไข่หายไปจากชั้นวาง และปรับราคาขึ้นไปบางขนาดสูงถึง ฟองละ 4.50 บาท ด้านนายมงคล พิพัฒสัตยานุวงศ์ นายกสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ เปิดเผยถึงสถานการณ์ไข่ไก่ในขณะนี้ว่า จากกรณีที่มีผู้บริโภคบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงไข่ไก่ ซึ่งเป็นโปรตีนคุณภาพดี มีราคาต่ำเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ชนิดอื่น และยังมีอายุจัดเก็บที่นานกว่า จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ของผู้บริโภคที่จะเลือกซื้อไปบริโภค โดยเฉพาะในช่วงล็อกดาวน์ ที่ประชาชนบางส่วนมีการซื้อตุนเพิ่มจากช่วงก่อนหน้า เนื่องจากต้องทำงานที่บ้าน รวมถึงการแยกกักตัว ประกอบกับมีหลายหน่วยงานซื้อไข่ไก่ไปบริจาค ทำให้ปริมาณไข่ไก่มีไม่เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน โดยสูงขึ้นจากการบริโภคปกติประมาณร้อยละ 10 และพบว่าขณะนี้มีพ่อค้าคนกลางบางส่วนใช้วิธีไปรับซื้อที่หน้าฟาร์มเกษตรกร โดยการให้ราคาสูงกว่าราคาประกาศเพื่อจูงใจเกษตรกร  แล้วนำมาขายต่อในราคาที่แพงขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตส่วนหนึ่งหายไปจากช่องทางขายปกติ ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าของขาด “ปัจจุบัน ไข่ไก่ที่ออกสู่ท้องตลาดมีประมาณ 40-41 ล้านฟองต่อวัน เป็นปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการบริโภคในประเทศ แต่ด้วยสถานการณ์ทั้งการ Work From Home การแยกกักตัวของกลุ่มเสี่ยง การซื้อไข่ไปบริจาค โดยเฉพาะการเข้าไปรับซื้อไข่ถึงหน้าฟาร์มของพ่อค้าคนกลางบางกลุ่ม ทำให้เกิดสถานการณ์ราคาปั่นป่วน สมาคมฯได้ขอให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ขายไข่กับคู่ค้าเดิมที่เป็นช่องทางขายปกติก่อน โดยไม่ขายให้กับคู่ค้าใหม่ หรือผู้ค้าจร ที่จะรวบรวมไข่ไปทำกำไรโดยบวกราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการตัดวงจรดังกล่าว  สมาคมฯ ขอยืนยันว่าไข่ไก่ไม่ขาดแคลน และจะดูแลในส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มีปริมาณไข่ที่เพียงพอ และประชาชนไม่ต้องเป็นกังวล” นายมงคล กล่าว CR: ประชาชาติธุรกิจ

ไข่ไก่กลับมาแล้ว! สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออก ยืนยันไม่ขาดแน่ Read More »

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัยCPF พัฒนานวัตกรรมและนำเทคโนโลยีทันสมัย เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) ติดตามสถานการณ์แบบ Real-Time สร้างหลักประกันเนื้อสัตว์คุณภาพดีและปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อการบริโภคอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า CPF ให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และกุ้ง รวมถึงนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล หรือ หลักอิสระ 5 ประการ (Five Freedoms) ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สนับสนุนให้สัตว์อยู่ด้วยความสะดวกสบาย ได้รับอาหารอย่างเพียงพอและแสดงออกทางพฤติกรรมของสัตว์ได้อย่างอิสระ สัตว์สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย ส่งผลให้ไม่มีการใช้สารฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษา ควบคู่กับระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการการป้องกันโรคในฟาร์ม ตามแนวทางการผลิตอาหารปลอดภัยในปี 2563 ซีพีเอฟ เป็นรายแรกของไทยที่นำระบบ Birdoo Smart Eyes มาใช้ในฟาร์มไก่เนื้อ เป็นระบบสังเกตการณ์ทางไกลแบบอัตโนมัติ ติดตามสวัสดิภาพสัตว์ แบบ Real-Time เพื่อช่วยสังเกตข้อมูลน้ำหนักไก่ การกินน้ำ และอาหาร แสดงผลผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ นำมาวิเคราะห์และพยากรณ์ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมถึงการนำนวัตกรรมระบบ Smart Farm โดยติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และระบบอัตโนมัติ ในการเก็บข้อมูล ช่วยการประมวลผลข้อมูลในฟาร์มมีแม่นยำ เพื่อการจัดการฟาร์มให้ไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตCPF ยังพัฒนานวัตกรรมด้านสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ของสัตว์ในทุกสภาวะ อาทิ ธุรกิจไก่ไข่ นำองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากการเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (Cage Free) ประยุกต์ใช้กับการเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยอิสระ (Free Range) เพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จ.ฉะเชิงเทรา ผลิตไข่ไก่ได้รับการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ (Organic Livestock) จากกรมปศุสัตว์ นอกจากนี้ ยังถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงให้กับกิจการในมาเลเซียและลาว เพื่อนำไปส่งเสริมให้กับเกษตรกรในประเทศ“CPF ตระหนักดีว่าการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งเสริมให้สัตว์มีสุขภาพดี นำไปสู่คุณภาพและปลอดภัยของอาหาร ซึ่งปัจจุบัน สัตว์ในฟาร์มของ CPF 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล เป็นหลักประกันคุณภาพอาหารปลอดภัยให้กับผู้บริโภค” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวด้าน น.สพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านบริการวิชาการสุกร CPF กล่าวว่า บริษัทฯ ใช้หลัก 3T (No Testicles , No Teeth Clipping and No Tail Docking) เพื่อ ลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรในรูปแบบของการตอนเพศผู้ การตัด/กรอฟัน และการตัดหาง และเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ 3Ts-Alliance ซึ่งตั้งโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) เพื่อร่วมยุติขั้นตอนที่สร้างความเจ็บปวดต่อลูกสุกร พร้อมกันนี้ CPF ยังเดินหน้าปรับเปลี่ยนสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบคอกขังรวมให้ครบ 100 % สำหรับกิจการในไทย ในปี 2568 และกิจการในต่างประเทศจะบรรลุเป้าหมายในปี 2571CPF ได้พัฒนานวัตกรรมการละลายพฤติกรรมในลูกสุกรหลังหย่านมให้มาอยู่รวมกันเป็นฝูง โดยใช้สารสกัดสมุนไพรรูปแบบผง และน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีกลิ่นเดียวกันพ่นบนตัวสุกรได้อย่างปลอดภัย ช่วยลดพฤติกรรมการต่อสู้กันตามธรรมชาติ ตลอดจนiพัฒนารูปแบบการเคลื่อนย้ายสุกรสำหรับการขนส่ง ด้วยระบบทางเดิน Walkway ภายในฟาร์ม และพัฒนาระบบสะพานเลื่อนอัตโนมัติที่ใช้ในการขนส่งสุกร ลดการบาดเจ็บของสุกร ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานจากความมุ่งมั่นในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาใช้ ควบคู่กับการเลี้ยงตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ ส่งผลให้ CPF ได้รับการปรับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ Tier 3 จาก Tier 4 จากรายงานเกณฑ์มาตรฐานทางธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ปี 2020 (The Business Benchmark on Farm Animal Welfare Report : BBFAW) โดยมีคะแนนที่โดดเด่นในด้าน Innovation and Leadership จากการลงทุนวิจัยและพัฒนาด้านอาหารสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ พัฒนาฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรง (เคจฟรี) และเป็นรายแรกของประเทศที่ได้รับรองมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่แบบไม่ใช้กรงของกรมปศุสัตว์ และหัวข้อ Performance Reporting ซึ่งมีการเปิดเผยข้อมูลและมีการวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์อย่างเป็นระบบ./    CR: CPF

CPF ชูนวัตกรรมเสริมประสิทธิภาพ ‘หลักสวัสดิภาพสัตว์’ ต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัย Read More »

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้

วันนี้พวกเราชาว CPF Feed จะมาขอแชร์เกล็ดความรู้ดีๆ จากรายการ Farm Talk ep.22 ในตอน “ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้” เพื่อให้แฟนเพจทุกคนได้เตรียมความพร้อมและรับมือกันหากเราต้องพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ไฟไหม้ คืออะไร ???ทุกคนคงสงสัยสินะ ว่าไฟไหม้คืออะไร? ไฟไหม้ หรือ เพลิงไหม้ คือ ภัยอันตรายที่เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแลซึ่งสาเหตุหลักๆส่วนใหญ่เกิดจาก “ความประมาท” และ “ไฟฟ้าลัดวงจร” รวมทั้งการวางเพลิงและการลุกไหม้ด้วยตัวเอง เช่น ใบไม้, หญ้า, ฟางแห้งเกิดไฟฟ้าสถิตกัน ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในตัว จนกระทั่งไฟลุกขึ้นในที่สุด นอกจากนี้พฤติกรรมของคนสามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ในฟาร์มหรือโรงงาน แม้กระทั่งการทิ้งก้นบุหรี่ลงพื้นดิน หากพื้นดินนั่นมีเศษไม้แห้งก็สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกันสามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.youtube.com/watch?v=YNHuPV2mJXk&t=640s

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้ Read More »

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้ ภาครัฐร่วมเอกชนป้องกันโรคในหมูได้อยู่หมัดวอนหยุดปล่อยข่าวหวังทุบราคาแล้วฟันกำไรงามนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ล่าสุดได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1.​เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว2.​ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด3.​ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน4.​กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด5.​สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF6.​สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ7.​บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรงซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ทำให้ราคาสุกรเดิมที่เคยตกต่ำ ราคาหน้าฟาร์ม 60 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ขยับกลับขึ้นมาที่ราคา 75-76 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป  

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)