Logo-CPF-small-65png

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน การเลี้ยงสุกรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย ทั้งในด้านสุขภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) หรือแนวทางปฏิบัติที่ดีในการเกษตร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้เลี้ยงสุกรสามารถปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตได้อย่างยั่งยืน 1. การจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของมาตรฐาน GAP คือการดูแลสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม การบริหารจัดการของเสียและการรักษาความสะอาดของพื้นที่เลี้ยงสุกรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคและกลิ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ผู้เลี้ยงควรมีระบบการจัดเก็บและกำจัดของเสียที่เหมาะสม เช่น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแปรรูปของเสียให้เป็นปุ๋ยหรือพลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดและลดมลพิษ 2. การดูแลสุขภาพสัตว์ การดูแลสุขภาพของสุกรเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของมาตรฐาน GAP ผู้เลี้ยงควรมีการติดตามสภาพสุขภาพของสุกรอย่างใกล้ชิด ทั้งการตรวจสุขภาพประจำวันและการฉีดวัคซีนตามระยะเวลา การจัดทำประวัติการรักษาของแต่ละตัวจะช่วยให้สามารถระบุและควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที การใช้ยาและสารเคมีควรเป็นไปตามแนวทางที่ปลอดภัยและมีการบันทึกอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดดุลยภาพตัวยาที่อาจส่งผลต่อคุณภาพเนื้อและสุขภาพของผู้บริโภค 3. การจัดการอาหารและน้ำ มาตรฐาน GAP ยังเน้นให้ผู้เลี้ยงสุกรให้ความสำคัญกับการจัดการอาหารและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยง การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพของสัตว์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น ผู้เลี้ยงควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารและน้ำอย่างสม่ำเสมอ และปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงอายุและความต้องการทางโภชนาการของสุกร เพื่อให้สุกรเติบโตอย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการผลิต 4. การฝึกอบรมและการบริหารจัดการฟาร์ม มาตรฐาน GAP ส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟาร์มที่ทันสมัย โดยการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญในวงการเกษตร นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบติดตามสุขภาพสัตว์และการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต จะช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น 5. ความโปร่งใสและการตรวจสอบคุณภาพ สุดท้ายแล้ว การรักษามาตรฐาน GAP ยังเกี่ยวข้องกับความโปร่งใสในการดำเนินงานของฟาร์ม โดยการบันทึกและจัดทำรายงานผลการผลิตอย่างละเอียด ทำให้สามารถตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การเข้าร่วมการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกและการรับรองมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับฟาร์มและเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยการนำแนวทาง GAP มาประยุกต์ใช้ ผู้เลี้ยงสุกรจะสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มที่ยั่งยืนในระยะยาว สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟาร์มและชุมชนรอบข้างอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน Read More »

ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ เยี่ยมชมบูธธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ในงาน VIV Asia 2025 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย

เมื่อเร็วๆ นี้ ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย คุณอดิเรก ศรีประทักษ์ รองประธานอาวุโสเครือซีพี และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำทีมผู้บริหารระดับสูงเข้าเยี่ยมชมบูธของ กลุ่มธุรกิจเกษตรภัณฑ์ (KSP – KPI) พร้อมทั้ง CP BIO, Famsun, Phibro Animal Health (Thailand) และ ธุรกิจอาหารโค CPF ภายในงาน VIV Asia 2025 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ไฮไลต์สำคัญของการเยี่ยมชมครั้งนี้ คือ การเปิดตัว “ข้าวโพดหมักซีพี” ราชาแห่งอาหารหยาบ นวัตกรรมทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค แพะ และแกะ (สัตว์เคี้ยวเอื้อง) ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ร่วมงานเครือซีพีมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันเพื่อสนับสนุนเกษตรกรและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน พร้อมผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของภาคปศุสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในอนาคต  

ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ เยี่ยมชมบูธธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ในงาน VIV Asia 2025 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย Read More »

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล       การให้ไม่สิ้นสุด!!  ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างสังคมยั่งยืน ชวนร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล “CPF RUN FOR CHARITY” หนุนคนไทยสุขภาพดี พร้อมทำดีเพื่อสังคม นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่งมอบให้แก่หน่วยงานสาธารณประโยชน์ในจังหวัดต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ แล้วกว่า 70 แห่ง เป็นเงินร่วม 17 ล้านบาท จากการจัดงานอย่างต่อเนื่องมากกว่า 38 ครั้ง      นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่บุคลากรของบริษัทและครอบครัว รวมถึงประชาชน ผ่านกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล โดยจัดตั้งชมรมซีพีเอฟรันนิ่งคลับ (CPF Running Club) มาตั้งแต่ปี 2559 โดยพัฒนารูปแบบกิจกรรมพร้อมนำระบบและเทคโนโลยีในการจัดการแข่งขันวิ่งที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยสำหรับนักวิ่งทุกคน พร้อมจัดอบรมเทคนิคการวิ่ง ปัจจุบันได้มีการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดี สร้างความผูกพันในครอบครัว และยังเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆที่บริษัทไปจัดงาน ที่สำคัญยังได้ร่วมกันทำความดีช่วยเหลือสังคมไปพร้อมกัน   “การจัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ถือเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ในการมีสุขภาพที่ดี และบริษัทยังมุ่งจัดงานในรูปแบบคาร์บอน นิวทรัล (Carbon Neutral Event) ช่วยลดโลกร้อน ด้วยการคำนวนและจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ลักษณะการเดินทางของผู้มาร่วมงาน การใช้พลังงาน และอาหารภายในงาน รวมถึงของเสียที่มีการคัดแยกและจัดการอย่างจริงจัง ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานร่วมกันใส่ใจสิ่งแวดล้อม”       นักวิ่งทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดโลกร้อน โดยซีพีเอฟเลือกใช้เสื้อวิ่งที่ทำมาจากขวดน้ำพลาสติก ใช้ภาชนะที่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ใบตอง กระดาษ และมีการแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยบริษัทจะยังคงเดินหน้าสานต่อกิจกรรมดีๆ เพื่ออยู่ร่วมกับคนในชุมชนรอบสถานประกอบการซีพีเอฟและคนไทย ผ่านกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยกิจกรรมล่าสุดจะจัดกิจกรรม CPF ZOO RUN “RUN FOR CHARITY SEASON 4 ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันที่ 23 มีนาคม 2568       ที่ผ่านมา มีหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลวังน้อย โรงพยาบาลเสนา โรงพยาบาลท่าเรือ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลในจังหวัดที่จัดงาน ทั้งราชบุรี หาดใหญ่ พิษณุโลก ขอนแก่น สระบุรี ตลอดจน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รวมถึงมอบเงินสนับสนุนกิจกรรมของเหล่ากาชาด จ.ลำพูน และสถานศึกษาใน จ.ลำพูน เป็นต้น

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล Read More »

การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์: แนวทางป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

การเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ อย่างไรก็ตาม โรคในสัตว์ปศุสัตว์เป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ลดผลผลิต และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตปศุสัตว์ 1. การป้องกันโรคในสัตว์ปศุสัตว์ 1.1 การจัดการสุขอนามัยและสภาพแวดล้อม ควรมีการทำความสะอาดคอกสัตว์และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์เป็นประจำ ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชนิดสัตว์ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ มีมาตรการป้องกันสัตว์ป่าและสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู นก และแมลง 1.2 การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์ตามโปรแกรมที่กำหนดโดยสัตวแพทย์ ควรตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนและเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม 1.3 การคัดกรองและเฝ้าระวังโรค ตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำเพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคแต่เนิ่น ๆ แยกสัตว์ที่มีอาการป่วยออกจากฝูงทันทีเพื่อลดการแพร่ระบาด บันทึกประวัติสุขภาพของสัตว์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรค 2. การควบคุมและรักษาโรคในสัตว์ปศุสัตว์ 2.1 การใช้ยาปฏิชีวนะและยารักษาโรคอย่างถูกต้อง ใช้ยาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์และหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นเพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยา มีการติดตามผลการใช้ยาและปรับปรุงแนวทางการรักษาตามความจำเป็น 2.2 การจัดการสัตว์ป่วยและการกักกันโรค จัดพื้นที่แยกสำหรับสัตว์ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด กำจัดซากสัตว์ที่ติดเชื้ออย่างถูกต้องและปลอดภัย ให้การดูแลสัตว์ป่วยตามมาตรฐานสุขาภิบาลเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต 2.3 การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนเคลื่อนย้ายและมีเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ จำกัดการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มเพื่อลดการนำเชื้อโรคเข้าสู่พื้นที่ ใช้มาตรการสุขอนามัย เช่น การฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์ก่อนเข้าฟาร์ม 3. บทบาทของเทคโนโลยีในการจัดการโรค 3.1 การใช้ระบบติดตามสุขภาพสัตว์ ติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติของสัตว์ ใช้ระบบ AI และ Big Data วิเคราะห์แนวโน้มสุขภาพและคาดการณ์การเกิดโรค 3.2 เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาวัคซีนและยารักษา วิจัยและพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อลดอัตราการแพร่ระบาด พัฒนาโปรไบโอติกส์และสารเสริมอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของสัตว์  

การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์: แนวทางป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ Read More »

เจาะลึก ‘ทรูฟาร์มคาว’ เพิ่มผลตอบแทนฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

  รู้หรือไม่! คนไทยเพิ่งรู้จักและมีโอกาสในการบริโภคนมวัวอย่างแพร่หลายเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง
 “นม” และผลิตภัณฑ์จากนม ถือเป็นหนึ่งในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อยู่วัยเจริญเติบโต ทำให้เด็กไทยยุคใหม่มีร่างกายกำยำสูงใหญ่ต่างจากยุคเก่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญ วัฒนธรรมการบริโภคนมของคนไทยเริ่มขึ้นภายหลังปี 2500 ที่อุตสาหกรรมผลิตนมในประเทศก่อตัวขึ้น และพัฒนาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท จากการบริโภคภายในประเทศเฉลี่ยคนละ 22 ลิตรต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับไต้หวันที่ 77 ลิตรต่อปี ญี่ปุ่น 36 ลิตรต่อปี และสิงคโปร์ 33 ลิตรต่อปี ในทางกลับกัน สถานการณ์การเลี้ยงโคนมของไทยกลับอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากปัจจัยลบที่ต่างถาโถมเข้ามา True Blog ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่าง ธีรพัฒน์ มานะกุล ทายาทรุ่นที่ 3 ของมานะกุลฟาร์ม ที่ีได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง “ทรูฟาร์มคาว” เข้ามาปรับใช้ในกิจการ ลดภาระต้นทุน-ความเสี่ยง เพิ่มผลิตผลและคุณภาพของน้ำนมให้เทียบชั้นโลกตะวันตกได้   ทำความเข้าใจการทำฟาร์มโคนมเบื้องต้น  ธีรพัฒน์ เล่าว่า มานะกุลฟาร์มเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบผสมผสานขนาด 51 ไร่ บนพื้นที่ อ.วังม่วง จ.สระบุรี ทั้งฟาร์มโคนม บ่อเลี้ยงปลาดุก และสวนดอกไม้ โดยเริ่มต้นบุกเบิกมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ สังเวียน มานะกุล นักเรียนยุคเริ่มต้นขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อสค. หน่วยงานส่งเสริมการเลี้ยงโคนมที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมโคนมไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลต่อกิจการโคนมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ระหว่างการเสด็จนิวัตรประเทศเดนมาร์ก ในปี 2503 การเลี้ยงโคนมในสมัยนั้น ถือเป็นอาชีพด้านการเกษตรที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ขณะเดียวกัน ก็นับว่าเป็นเกษตรกรรมที่มีความมั่นคง เนื่องจากมีรายได้และตลาดรับซื้อที่แน่นอน เมื่อเทียบกับประเภทอื่น เนื่องจากมีผลผลิตทุกวัน ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด ภายใต้เงื่อนไขปริมาณและคุณภาพของน้ำนมที่ตลาดกำหนด ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องมีวินัย เอาใจใส่ และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ธีรพัฒน์อธิบายต่อว่า การทำฟาร์มโคนมให้ประสบความสำเร็จได้นั้น มีตัวชี้วัดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณน้ำนม คุณภาพของน้ำนม และผลผลิตโคนมจากการผสมพันธุ์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พันธุ์โคนม อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับต้นทุนอาหารและแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากโรคระบาด ด้วยเหตุนี้ ‘การบริหารจัดการที่ดี’ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำฟาร์มโคนมในไทย สำหรับปริมาณน้ำนม โคนมพันธุ์ดีจะให้น้ำนมในปริมาณมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ซึ่งมีภูมิอากาศที่หนาวเย็นอย่างโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน ที่ให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ย 40 ลิตรต่อวัน แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้โคมีความเครียดได้ง่ายและปริมาณน้ำนมที่ออกมาน้อย และอาจไม่คุ้มทุนที่ลงไป ทั้งนี้ ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยที่ฟาร์มโคนมไทยทำได้อยู่ที่ระดับ 12 ลิตรต่อวันเท่านั้น ในส่วนคุณภาพน้ำนมนั้น จะใช้เกณฑ์ปริมาณเซลล์โซมาติกและแบคทีเรียในน้ำนมดิบ รวมถึงปริมาณไขมันและของแข็งรวม ซึ่ง “อาหาร” ถือเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต และมีสัดส่วนถึง 60% ของต้นทุนรวม ด้วยโคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง การจัดหาอาหารจึงมีรายละเอียดมาก โดยประกอบด้วยอาหารหยาบ (พืชที่มีเส้นใยมาก เช่น หญ้า ต้นข้าวโพด เป็นต้น) และอาหารข้น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เมล็ดข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลัก ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาหารสัตว์มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตรากำไรที่ลดลง นอกจากนี้ “โรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ในสัตว์” เช่น โรคปากเท้าเปื่อย และโรคลัมปีสกิน ยังถือเป็นอีกอุปสรรคที่เกษตรกรฟาร์มโคนมเผชิญอยู่ทุกปี ซึ่งส่งผลต่อน้ำนมโดยตรงอีกเช่นกัน ต้นทุนพุ่ง ขาดแคลนแรงงาน อากาศเปลี่ยนแปลง นอกจากน้ำนมที่ถือเป็นผลผลิตจากโคนมโดยตรงแล้ว “ลูกวัว” ยังถือเป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่เกษตรกรต้องให้สำคัญ เพราะเมื่อโคนมให้นมอายุมากขึ้นหรือสุขภาพไม่แข็งแรง (กรณีของมานะกุลฟาร์มเมื่อโคมีอายุขัยราว 6 ปี) แม่วัวจะถูกคัดออกจากฝูง เพื่อให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยของคอกสูงขึ้น ส่งผลต่อผลกำไรที่มากขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องจัดหาโคนมรุ่นใหม่มาทดแทน “การตรวจพฤติกรรมจับสัด” จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการผสมติดของโคนม เพราะหากล่วงเลยระยะจับสัด เพื่อนำมาผสมเทียมแล้ว อัตราการผสมติดก็จะน้อยลง เกษตรกรต้องรอรอบจับสัดใหม่อีก 21 วัน ทั้งนี้ “การจับสัด” มักใช้แรงงานมนุษย์ในการสังเกตพฤติกรรม เช่น การยืนนิ่ง ส่งเสียงร้องผิดปกติ ปัสสาวะถี่ ซึ่งจะต้องสังเกตทุกวันในช่วงเช้าและใกล้ค่ำ เพราะมีอากาศเย็น สัตว์ไม่เครียด จากนั้นจึงทำการจดบันทึก อย่างไรก็ตาม การจับสัดให้แม่นยำจะต้องอาศัยความชำนาญ แต่ด้วยลักษณะงานที่ต้องเกาะติดชีวิตโคนมเกือบ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหาร การดูแลโรงเลี้ยงให้สะอาด การพาโคนมเข้าคอกรีด การทำให้สัตว์อารมณ์ดี ทำให้แรงจูงใจต่อแรงงานในฟาร์มโคนมมีน้อยลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการขึ้นค่าแรงแล้วก็ตาม ด้วยนานาปัญหาที่ฟาร์มโคนมต่างเผชิญ มานะกุลฟาร์มจึงมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาผ่านการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่รุ่นที่ 2 แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก จนมารุ่นที่ 3 โดย ธีระพัฒน์ ในวัย 31 ปี ได้หันหลังให้กับเมืองกรุงอันแสนวุ่นวาย ที่พ่วงด้วยประสบการณ์ 10 ปีจากงานที่ปรึกษาธุรกิจก่อสร้าง มุ่งหน้ากลับความสู่ความสงบที่บ้านเกิดที่สระบุรี พร้อมนำความรู้มาแก้ไขปัญหาเชิงระบบภายในฟาร์มโคนม “ในช่วงที่กลับมารับหน้าที่ผู้จัดการมานะกุลฟาร์ม ผมรับทราบถึงแนวโน้มปัญหาที่ฟาร์มกำลังเผชิญ โชคดีว่า ตอนนั้นได้คุยกับสัตวบาล จนพามารู้จักกับ ‘ทรูฟาร์มคาว’ ที่นำเทคโนโลยีต้นตำรับจากประเทศอิสราเอล มาเป็นเครื่องมือใช้จัดการฟาร์มโคนมควบคู่กับการใช้คน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการสังเกตพฤติกรรม ไม่เปลืองแรงงาน คุ้มค่าการลงทุน” ธีรพัฒน์ กล่าว เทคโนโลยีดิจิทัล: ทางออกเกษตรโคนมท่ามกลางปัจจัยลบรุมเร้า คงพัฒน์ ประสารทอง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ True Farm ให้ข้อมูลว่า ทรูฟาร์มคาว คือระบบจัดการฟาร์มโคอย่างแม่นยำแบบครบวงจร โดยทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับ MSD Animal Health นำนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี มาให้บริการสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย ใช้ในการติดตามพฤติกรรมรายตัวเป็นของโคตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งพฤติกรรมการเคี้ยวเอื้อง การกิน และการเคลื่อนไหว ด้วยเซนเซอร์ที่ติดอยู่กับสัตว์ในรูปแบบ “สร้อยคอ” วัดแต่ละพฤติกรรมเป็นจำนวนนาที แล้วนำมาประมวลผลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อแจ้งเตือนผู้เลี้ยงเมื่อโคมีสุขภาพผิดปกติ และเมื่อโคมีอาการเป็นสัด ทำให้ลดการสูญเสียโคที่ล้มตายจากการรักษาไม่ทัน ลดค่าใช้จ่ายการกินเปล่าของโคจากการลดวันท้องว่าง รวมถึงทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถขยายฝูงได้โดยไม่ต้องกังวลข้อจำกัดด้านแรงงาน นอกจากนี้ ทรูฟาร์มคาว ยังรองรับการบันทึกข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโคแต่ละตัว อาทิเช่น การผสมเทียม การตรวจท้อง และการให้วัคซีน เป็นต้น อีกทั้งยังมีรายงานการจัดการโครายกลุ่มด้านภาวะเครียดจากความร้อน (Heat stress) รวมถึงรายงานสรุปประสิทธิภาพด้านการจัดการฟาร์ม เช่น อัตราการผสมติด จำนวนหลอดน้ำเชื้อที่ใช้ต่อการผสมติด และวันท้องว่าง เป็นต้น เปรียบเสมือนการมีเลขาประจำฟาร์ม ที่ทำหน้าที่ทั้งเก็บข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานให้เจ้าของฟาร์มโคนม สามารถใช้ตัดสินใจบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างแม่นยำและครบวงจร เพิ่มผลตอบแทนในการทำฟาร์มด้วยการใช้ข้อมูล คงพัฒน์ กล่าวเสริมว่า อุตสาหกรรมโคนมประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จากความท้าทายด้านการขาดแคลนแรงงานคุณภาพ ความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างรุนแรง ความเสี่ยงด้านโรคระบาด และต้นทุนในการจัดการที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนฟาร์มโคนมได้มีการปรับตัวลดลงกว่า 20% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในอัตราที่สูงกว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของต้นทุน ทำให้ประสบภาวะขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องจนต้องทำการปิดฟาร์ม นอกจากนี้ ในปี 2568 ไทยมีกำหนดเปิดการค้าเสรี (FTA) ทำให้สมรภูมิการแข่งขันในอุตสาหกรรมโคนมจะเข้าสู่ระดับนานาชาติ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร จึงต้องเร่งผนึกกำลังเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน “แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ไม่น้อย แต่โอกาสสำหรับผู้ที่พร้อมปรับตัวมีอยู่อีกมหาศาล จากแนวโน้มการบริโภคเพื่อสุขภาพที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำนมดิบคุณภาพสูงยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะใช้ทำนมสำหรับผู้สูงอายุ หรือกรีกโยเกิร์ตธรรมชาติ การใช้นวัตกรรมเกษตรแม่นยำระดับโลก จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยสามารถฝ่าฟันความท้าทายและเพิ่มผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืน ดังเช่นเกษตรกรในโลกตะวันตกได้พิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว” ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ True Farm ได้กล่าวทิ้งท้าย สำหรับผู้ที่สนใจ ทรูฟาร์มคาว รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.truedigital.com/true-digital-cow หรือเพิ่มเพื่อนได้ทาง Line Official Account “True digital cow”  

เจาะลึก ‘ทรูฟาร์มคาว’ เพิ่มผลตอบแทนฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล Read More »

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ชูทางออกเจรจานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดันดุลการค้าสหรัฐฯ ทดแทนแนวคิดนำเข้าหมู

  ท่ามกลางแรงกดดันด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้แนวคิด “America First” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ แทนการเปิดตลาดนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อเกษตรกรและความปลอดภัยทางอาหารในประเทศไทย นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะกดดันให้ไทยนำเข้าสินค้าเกษตร เช่นเนื้อหมู เพื่อลดการขาดดุลกับไทย แต่การยอมรับข้อเสนอนี้จะสร้างผลกระทบมหาศาล เนื่องจากเนื้อหมูจากสหรัฐฯ มีสารเร่งเนื้อแดงเกินมาตรฐานที่กฎหมายไทยกำหนด ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค “รัฐบาลไทยต้องยืนหยัดปกป้องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกว่า 2 แสนคนและรักษาความมั่นคงทางอาหารของประเทศให้เข้มแข็ง” นายสิทธิพันธ์กล่าว พร้อมแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย นั่นคือการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง ประเทศไทยต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถึง 8.9 ล้านตันต่อปี แต่ยังขาดแคลนถึง 4 ล้านตัน แม้จะรับซื้อผลผลิตของชาวไร่ไทยจนหมดแล้ว  ขณะที่ความต้องการถั่วเหลืองและกากถั่วอยู่ที่ 5-6 ล้านตันต่อปี แต่ไทยสามารถผลิตได้เพียง 23,000 ตัน หรือไม่ถึง 1% ของความต้องการ การนำเข้าวัตถุดิบนี้จากสหรัฐฯ ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน เช่น GAP (Good Agricultural Practices) และ RTRS (Responsible Soy) ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของตลาดไทย แต่ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะยุโรปที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดด้วย นอกจากนี้ การเลือกนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แทนการนำเข้าเนื้อหมู ยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศ เช่น ปัญหา PM2.5 ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการลักลอบเผาแปลงเกษตร พร้อมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น การสนับสนุนอุตสาหกรรมไก่ส่งออกของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดยุโรปที่ต้องการมาตรฐาน CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) “นี่คือทางออกที่ยั่งยืนที่สุด ปกป้องสุขภาพคนไทย คุ้มครองอาชีพเกษตรกร และสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศในเวทีโลก” นายสิทธิพันธ์ย้ำ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเจรจาในแนวทางนี้ เพื่อช่วยเพิ่มดุลการค้าให้สหรัฐฯโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เป็นคำตอบที่สามารถรักษาสมดุลทางการค้าและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของไทยได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว CR : news.ch7.com

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ชูทางออกเจรจานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดันดุลการค้าสหรัฐฯ ทดแทนแนวคิดนำเข้าหมู Read More »

การใช้เทคโนโลยีในฟาร์มเลี้ยงสุกร: ก้าวสู่อนาคตการเกษตรที่ยั่งยืน

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมการเกษตรก่าลังเผชิญกับความท้าทายจากการเติบโตของประชากรโลกและความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น หนึ่งในวิธีการที่ช่วยตอบสนองความต้องการนี้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มผลผลิต แต่ยังช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มคุณภาพชีวิตของสัตว์ด้วย ระบบเซ็นเซอร์และ IoT (Internet of Things) เทคโนโลยี IoT มีบทบาทสำคัญในฟาร์มเลี้ยงสุกร โดยการติดตั้งเซ็นเซอร์ในโรงเรือนเพื่อเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น ระดับก๊าซแอมโมเนีย และเสียงของสุกร ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกส่งไปยังอุปกรณ์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ในแบบเรียลไทม์ ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถตรวจสอบและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของสุกร ระบบให้อาหารอัตโนมัติ ระบบให้อาหารอัตโนมัติช่วยลดแรงงานคนและเพิ่มความแม่นยำในการให้อาหารสุกร โดยเครื่องให้อาหารจะคำนวณปริมาณอาหารที่เหมาะสมตามน้ำหนักและอายุของสุกรในแต่ละกลุ่ม ทำให้สุกรได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอและลดการสูญเสียอาหารที่ไม่จำเป็น เทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูล (Big Data Analytics) การเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลในฟาร์มเลี้ยงสุกรสามารถช่วยผู้เลี้ยงตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การคาดการณ์โรคระบาด การวางแผนการผลิต และการปรับปรุงพันธุ์สุกร ข้อมูลเหล่านี้ช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มผลกำไรให้กับฟาร์ม การใช้หุ่นยนต์ในการทำความสะอาด หุ่นยนต์ทำความสะอาดในโรงเรือนสุกรสามารถช่วยลดภาระงานของผู้เลี้ยงและรักษาความสะอาดในฟาร์มได้อย่างสม่ำเสมอ สุขภาพของสุกรจึงดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของโรค ระบบตรวจสุขภาพสุกรด้วย AI ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ฟาร์มเลี้ยงสุกรสามารถใช้กล้องและซอฟต์แวร์ในการวิเคราะห์พฤติกรรมและสุขภาพของสุกร เช่น การตรวจจับอาการเจ็บป่วย การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ หรือการลดน้ำหนัก เพื่อให้การรักษาและดูแลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ข้อดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในฟาร์มสุกร ลดต้นทุนและแรงงานคน เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การป้องกันโรคภายในฟาร์มสุกร: กุญแจสู่การเลี้ยงสัตว์ที่ปลอดภัยและยั่งยืน ฟาร์มเลี้ยงสุกรเป็นแหล่งผลิตเนื้อสัตว์ที่สำคัญและจำเป็นต้องมีการจัดการโรคอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากโรคต่างๆ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของสุกรและผลผลิต รวมถึงต้นทุนการดำเนินงาน ดังนั้น การป้องกันโรคจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ฟาร์มสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การจัดการด้านสุขอนามัย การรักษาความสะอาดในฟาร์มเป็นสิ่งสำคัญที่สุด การทำความสะอาดโรงเรือน สุกร และอุปกรณ์ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรค นอกจากนี้ การกำจัดมูลสัตว์อย่างเหมาะสมและการจัดการน้ำเสียก็ช่วยลดแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ การควบคุมการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะ การจำกัดการเข้า-ออกของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มช่วยลดโอกาสในการนำเชื้อโรคเข้ามา การใช้เสื้อผ้าและรองเท้าป้องกัน รวมถึงการติดตั้งจุดล้างมือและรองเท้าก่อนเข้าสู่โรงเรือน เป็นมาตรการที่ช่วยป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การฉีดวัคซีนและการจัดการทางการแพทย์ การฉีดวัคซีนเป็นมาตรการสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับสุกร การวางแผนการฉีดวัคซีนตามช่วงอายุของสุกรและการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอช่วยให้สามารถตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นและลดการแพร่กระจาย การควบคุมศัตรูพาหะ แมลงวัน หนู และศัตรูพาหะอื่นๆ เป็นตัวกลางในการนำเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม การติดตั้งมุ้งลวด การใช้กับดัก และการทำความสะอาดพื้นที่รอบฟาร์มอย่างต่อเนื่องสามารถช่วยลดจำนวนศัตรูพาหะได้ การใช้อาหารและน้ำที่ปลอดภัย อาหารและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อสุขภาพของสุกร การเลือกใช้อาหารที่มีคุณภาพและการจัดการน้ำดื่มให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำ การใช้เทคโนโลยีในการเฝ้าระวัง การใช้เทคโนโลยี เช่น กล้องวงจรปิด ระบบเซ็นเซอร์ตรวจสุขภาพ และการเก็บข้อมูลสุขภาพสุกรในระบบดิจิทัล ช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถติดตามและตรวจสอบสุขภาพของสุกรได้แบบเรียลไทม์ และจัดการปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ข้อดีของการป้องกันโรคในฟาร์มสุกร ลดความเสี่ยงต่อการระบาดของโรค เพิ่มผลผลิตและลดการสูญเสีย ลดต้นทุนในการรักษาโรค สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค  

การใช้เทคโนโลยีในฟาร์มเลี้ยงสุกร: ก้าวสู่อนาคตการเกษตรที่ยั่งยืน Read More »

ซีพีเอฟ รับรางวัล ASEAN-OSHNET Awards องค์กรต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยของอาเซียน

   บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ธุรกิจอาหารสัตว์บก โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม จังหวัด สระบุรี ได้รับคัดเลือกเป็นสถานประกอบการดีเด่นในฐานะตัวแทนประเทศไทยเข้ารับรางวัล ASEAN-OSHNET Best Practice Award ในพิธีมอบรางวัลสถานประกอบการดีเด่นด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน โดยมี นาย ตัน ซี เลง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสิงคโปร์ Ministry of Manpower, MOM สิงคโปร์ เป็นประธานมอบรางวัล ณ Marina Bay Sands and Expo & Convention Centre สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมี นางวัชรี มากหวาน รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทยเข้าร่วมพิธีฯ พร้อมด้วย นางสาวสุวดี ทวีสุข ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน นายอัครพงษ์ นวลอ่อน รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านความปลอดภัยแรงงาน เข้าร่วมในครั้งนี้   นางสาวสุวดี ทวีสุข ผู้อำนวยการกองความปลอดภัยแรงงาน กล่าวว่า รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียนหรือ ASEAN-OSHNET Awards เป็นรางวัลที่ มอบให้กับสถานประกอบกิจการในประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีการดำเนินการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่น แบ่งเป็น 2 ประเภทรางวัล ได้แก่ รางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่นอาเซียน (Exellence Awards) และรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Best Practice Awards)    โดยในปีนี้ประเทศไทยมีสถานประกอบกิจการที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลดังกล่าว จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท สยามกลาส อินดัสทรี จำกัดได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยดีเด่นอาเซียน (ASEAN-OSHNET Excellence Award) และ บริษัท ซีพีเอฟ จำกัด (มหาชน) โรงงานผลิตอาหารสัตว์ธารเกษม ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการที่มีการปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน (ASEAN-OSHNET Best practice Award) รางวัลดังกล่าว เป็นรางวัลที่ประเทศสมาชิกอาเซียนมุ่งส่งเสริมองค์ความรู้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมีสุขภาพดีให้กับแรงงาน ผ่านการบูรณาการเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งบริษัททั้งสองแห่งนี้ถือเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยรวมถึงเป็นแรงบันดาลใจให้กับสถานประกอบกิจการอื่นๆ ในการปรับปรุงสภาพการทำงานให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้แรงงานมีความปลอดภัยในการทำงาน มีคุณภาพชีวิตที่ดี ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทอย่างยั่งยืนต่อไป    นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รู้สึกภาคภูมิใจที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม จังหวัด สระบุรี ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนสถานประกอบการจากประเทศไทยเข้าร่วมรับรางวัล ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสามารถคว้ารางวัลระดับ Best Practice Award มาได้ ซึ่งทางโรงงานฯ ได้นำนโยบายของ ซีพีเอฟที่ให้ความสำคัญกับการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และพลังงาน (CPF SHE&En Standards) มาปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยจะคำนึงถึงการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมด้วย อาทิ  การดูแลเอาใจใส่พนักงานให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน รวมถึงการควบคุมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อมุ่งเน้นการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้น      รางวัลนี้เป็นการรับรองถึงความมุ่งมั่นขององค์กรเราในด้านมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจของบริษัทในการดูแลความเป็นอยู่และความปลอดภัยของพนักงาน เราทำงานอย่างหนักเพื่อให้ความสำคัญกับการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและสนับสนุน ซึ่งส่งเสริมความทุ่มเทของพนักงานและส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บริษัทของเรายังมุ่งมั่นในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องเพื่อความเป็นเลิศ โดยการกระตุ้นและสนับสนุนให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและสร้างนวัตกรรมด้านความปลอดภัย แนวทางนี้ได้นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งเน้นการทำงานอย่างปลอดภัยและมีความสุข เพื่อให้เพื่อนพนักงานรู้สึกว่าที่ทำงานเสมือนบ้าน โดยมีเป้าหมายพัฒนาให้เป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยที่เน้นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมทั้งในส่วนของบุคลากรในองค์กร และการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนภายนอก เริ่มจากการให้พนักงานเลือกตัวแทนเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการความปลอดภัย ประกอบด้วยผู้บริหารและพนักงาน ซึ่งจะมีการประชุมติดตามการดำเนินงานประจำทุกเดือน โดยผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับการพูดคุยกับพนักงาน เพื่อเป็นเวทีสอนงาน รวมถึงสังเกตความต้องการหรือปัญหาของพนักงาน อันนำสู่การแก้ไขอย่างทันท่วงที เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยขององค์กรเราอย่างยั่งยืน    สำหรับกิจกรรมที่โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกธารเกษม ดำเนินการขับเคลื่อนงานด้าน CPF SHE&En Standards ไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่ โครงการ Zero Accident case โครงการ Safety Modular KYT โครงการ Major Hazard & SHE ชมรมสุขภาพ เน้นการสร้างบรรยากาศสถานที่ทำงานให้น่าอยู่ ส่งเสริมให้พนักงานได้ออกกำลังให้มีความสุข สุขภาพดี แข็งแรง ช่วยลดความเสี่ยงจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในการทำงาน นอกจากนี้ยังมีโครงการส่งเสริมการคิดค้นนวัตกรรม CPF FEED 3i ที่เน้นการมีส่วนร่วมเรียนรู้และคิดค้นนวัตกรรมที่นำไปสู่การลดขั้นตอนการทำงาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัย โดยมีผลงานได้รับรางวัลมากมาย จนเป็นองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมทุกระดับ อาทิ อุปกรณ์ระอาหารอัตโนมัติป้องกันปัญหาด้านการยศาสตร์ และป้องกันการสัมผัสฝุ่นของพนักงาน และ แพล๊คฟอร์มการควบคุมสภาพแวดล้อมในการทำงานและสิ่งแวดล้อมรอบโรงงานเพื่อความยั่งยืน เป็นต้น โรงงานอาหารสัตว์ธารเกษมจะเป็นโรงงานต้นแบบเพื่อไปพัฒนาให้กับโรงงานอื่นๆ หวังว่าโรงงานอาหารสัตว์บก CPF จะวางเป้าหมายพัฒนาให้ได้ระดับ Excellent ต่อไป   ซีพีเอฟได้นำองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยจากภายในโรงงงานไปถ่ายทอด เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ตลอดจนช่วยปรับปรุงชุมชนภายนอกทั้งโรงเรียน วัด และคู่ค้า ที่ในจุดที่มีความเสี่ยง ภายใต้โครงการ Safety School เพื่อสร้างให้ โรงเรียนเกิดความปลอดภัย ร่วมถึงชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและส่งเสริมห่วงโซ่อุปทานให้เติบโตสู่ลูกค้าอาหารสัตว์บกให้ปลอดภัยอย่างยั่งยืน 

ซีพีเอฟ รับรางวัล ASEAN-OSHNET Awards องค์กรต้นแบบดีเด่นด้านความปลอดภัยของอาเซียน Read More »

รักษ์โลก รักสุขภาพ‼️ ’48 ผลิตภัณฑ์ CPF’ คว้าฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นลดโลกร้อน

   บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ  นำผลิตภัณฑ์ 48 รายการ รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์และฉลากลดโลกร้อน จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก . อาทิ หมูชีวา ตรายูฟาร์ม หมูคุโรบูตะ ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์บก ฯลฯ  โดยมี  นายอัมพร อัมพรพุทธิสกุล ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจสุกร และ นายบุญเสริม เจริญวัฒน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจอาหารสัตว์บก เป็นตัวแทนรับมอบประกาศนียบัตร จากนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ประธานกรรมการ อบก.   ณ ห้องอบรม อบก. ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ                 ซีพีเอฟ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตลอดห่วงโซ่อุปทาน  ตั้งแต่อาหารสัตว์ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูป ในการพัฒนาสินค้าคาร์บอนต่ำ  (CPF Low-carbon products)มาตั้งแต่ปี  2551 จนถึงปัจจุบันมีรายการของผลิตภัณฑ์ซีพีเอฟที่ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวม 890 รายการ และฉลากลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือฉลากลดโลกร้อน  จำนวน 88 รายการ โดยในครั้งนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์สุกรและอาหารสัตว์บก ได้รับรองฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์รวมจำนวน  48 รายการ เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ 27 รายการ  และผลิตภัณฑ์สุกร 21 รายการ             สำหรับธุรกิจสุกร ได้รับฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเป็นปีที่   9  และในรอบนี้มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากคาร์บอนตั้งแต่ลูกสุกรหย่านม  สุกรขุน หมูซีกชำแหละ และผลิตภัณฑ์เนื้อหมูสด  อาทิ ผลิตภัณฑ์สุกรชีวา  ตรายูฟาร์ม  และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากลดโลกร้อน อีกจำนวน 5 รายการ ส่วนธุรกิจอาหารสัตว์บก มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองฉลากลดโลกร้อนรวมกว่า 27 รายการ  ครอบคลุม  7 กลุ่มอาหารสัตว์บก ได้แก่  อาหารสุกรพันธุ์ อาหารสุกรขุน อาหารไก่พันธฺุ์  อาหารไก่เนื้อ  อาหารไก่ไข่ อาหารเป็ดพันธุ์  และอาหารเป็ดเนื้อ             การได้รับรองฉลากคาร์บอน ฯ ตอกย้ำความมุ่งมั่นของซีพีเอฟ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สีเขียว  (CPF Green Products)เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero) และสะท้อนถึงระบบการเก็บข้อมูลที่ครอบคลุม โปร่งใส แม่นยำ สามารถนำมาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้อย่างครบถ้วน   ซีพีเอฟ ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net-Zero)ภายในปี 2050  โดยดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่คุณค่าในทุกกลุ่มธุรกิจ  อาทิ การใช้ระบบ Smart Feed mill AI automation วางแผนการผลิตอาหารสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพ การใช้อาหารสัตว์คาร์บอนต่ำ  การพัฒนาระบบติดตามสุขภาพสัตว์  Smart Soft Farm เพื่อลดการสูญเสีย  และเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) สนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยใชัไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากระบบก๊าซชีวภาพ (Biogas system) เพิ่มพื้นที่สีเขียวในสถานประกอบการ  พัฒนาบรรจุภัณฑ์ยั่งยืน  การจัดการของเสียให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เป็นต้น ./

รักษ์โลก รักสุขภาพ‼️ ’48 ผลิตภัณฑ์ CPF’ คว้าฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ตอกย้ำความมุ่งมั่นลดโลกร้อน Read More »

CPF-TRUE ร่วมแบ่งปันแนวทางการใช้เทคโนโลยีคว้าโอกาสในยุคดิจิทัล ให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

   เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2567 ณ อาคารวชิราณุสรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือเจริญโภคภัณฑ์โดยธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟและทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้ร่วมนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะปัญญาประดิษฐ์และการตลาดออนไลน์ มาสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อคว้าโอกาสที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดในเศรษฐกิจดิจิทัล ในวิชาเกษตรศาสตร์ทั่วไป ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 1   คุณฐปกรณ์ จำนงรัตน์ ผู้บริหารด้านกลยุทธ์และการตลาด ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ ได้เชิญชวนให้คนรุ่นใหม่เริ่มต้นศึกษาและนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อเตรียมพร้อมคว้าโอกาสในโลกยุคดิจิทัล ซีพีเอฟเองได้มีการพัฒนาระบบ CPF Feed Online เพื่อเข้าถึงและตอบสนองเกษตรกรได้ตรงใจยิ่งขึ้น โดยการขายผ่านช่องทางออนไลน์ มีการเติบโตกว่า 10 เท่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา   นอกจากนี้ว่าที่ร้อยตรีปฐมพงศ์ ฟูเกียรติวัฒนา ผู้จัดการด้านการตลาดดิจิทัล ได้นำเสนอกรณีศึกษา การบริหารการตลาดออนไลน์อย่างครบวงจร ซึ่งสามารถสร้างการเข้าถึงผู้ใช้ได้กว่า 18 ล้านครั้งต่อปี และคุณคงพัฒน์ ประสารทอง จากทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้นำเสนอกรณีศึกษาการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการฟาร์มโคนม ซึ่งมีเกษตรกรที่ใช้งานทุกวัน ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

CPF-TRUE ร่วมแบ่งปันแนวทางการใช้เทคโนโลยีคว้าโอกาสในยุคดิจิทัล ให้กับนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)