Logo-CPF-small-65png

cpffeed

ซีพีเอฟ รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสัตว์ GMP+ ตลอด Feed Value Chain

  มาตรฐานรับรองระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ในระดับสากล  GMP+ B1 B2 และ B3 เป็นรายแรกและรายเดียวของไทย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ รับมาตรฐานรับรองระบบความปลอดภัยอาหารสัตว์ในระดับสากล  GMP+ B1 B2 และ B3 เป็นรายแรกและรายเดียวของไทยที่ได้รับการรับรองระบบ GMP+ ตลอดทั้ง Feed Value Chain สะท้อนภาพลักษณ์ผู้นำการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ปลอดภัย เพื่อผลิตอาหารปลอดภัยสู่ผู้บริโภคทั่วโลก นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์  รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ มีบทบาทสำคัญในการเป็นต้นน้ำของอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร เพื่อการผลิตเนื้อสัตว์ นม ไข่ และอาหารอื่นๆ ที่มีคุณภาพ ซีพีเอฟจึงให้ความสำคัญสูงสุดกับการผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ที่ปลอดภัย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สอดคล้องตามมาตรฐานและข้อกำหนดของภาครัฐและประเทศคู่ค้า ซีพีเอฟเริ่มจัดทำระบบมาตรฐานคุณภาพ ISO9001 มาตั้งแต่ปี 2543 และยกระดับระบบมาตรฐานอาหารสัตว์มาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก ปักธงชัย ได้นำระบบมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารสำหรับสัตว์ GMP+ (GMP Plus) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติมาใช้ จากความโดดเด่นของระบบที่คำนึงถึงปัญหาสุขภาพสัตว์และสิ่งแวดล้อมเพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ และคำนึงถึงข้อกำหนดระหว่างประเทศ โดยซีพีเอฟได้รับความรู้จากโครงการความร่วมมือระหว่างสมาคมอาหารสัตว์ไทยและประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่ถ่ายทอดความรู้แก่บุคลากรของบริษัท จนสามารถพัฒนาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการใช้ระบบ GMP+ และเป็นต้นแบบให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์ของซีพีเอฟและบริษัทอื่นๆ เพื่อยกระดับมาตรฐานอาหารปลอดภัยของประเทศไทยสู่สากล “ความมุ่งมั่นในการนำระบบมาตรฐานนี้มาใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก ปักธงชัย ได้รับรองมาตรฐาน GMP+ B1 เป็นรายแรกของประเทศ ขณะที่โรงงานอาหารสัตว์ท่าเรือ ได้รับรองระบบ GMP+ B2 สำหรับการผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ และ GMP+ B3 สำหรับขอบข่ายการขนถ่ายวัตถุดิบ ซีพีเอฟ จึงเป็นรายแรกและรายเดียวของไทย ที่ได้รับรองระบบ GMP+ ตลอดทั้ง Feed Value Chain และระบบนี้ยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและความปลอดภัย และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกได้มากยิ่งขึ้น” นายเรวัติ กล่าว ด้าน นายสตีฟ เฮนดริก ริทเซม่า (Mr.Steef Hendrik Ritzema) Managing Director บริษัท คอนโทรล ยูเนี่ยน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของซีพีเอฟ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP+ B1 B2 และ B3 ทำให้ห่วงโซ่อุปทานทั้งหมดของซีพีเอฟ สอดคล้องตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของ GMP+ สำหรับการประกันความปลอดภัยของอาหารสัตว์อย่างสมบูรณ์ และชื่นชมความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลักดันการรับรองของซัพพลายเออร์ เพื่อร่วมรักษามาตรฐานความปลอดภัยของอาหารสัตว์ในระดับสูง ด้วยการประกันคุณภาพอาหารสัตว์และบริการที่ถูกกำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอและโปร่งใส “หลังจากการระบาดของ COVID-19 ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับอาหารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาหารสัตว์ถือเป็นต้นน้ำที่มีบทบาทอย่างยิ่งในเรื่องนี้ ดังนั้น การรับรองระบบมาตรฐาน GMP+ ของซีพีเอฟในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทในการผลิตอาหารสัตว์คุณภาพปลอดภัยในระดับสูงสุด เพื่อสร้างความมั่นใจตลอดห่วงโซ่อุปทาน แสดงถึงความรับผิดชอบและใส่ใจในสุขภาพที่ดีของผู้บริโภคทั่วโลก” มร.สตีฟ เฮนดริก ริทเซม่า กล่าว./

ซีพีเอฟ รับมาตรฐานความปลอดภัยอาหารสัตว์ GMP+ ตลอด Feed Value Chain Read More »

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม l ตอนพิเศษ CPF Feed Point ยิ่งซื้อ ยิ่งได้ ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม

Farm Talk คุยเฟื้องเรื่องฟาร์ม l ตอนพิเศษ CPF Feed Point ยิ่งซื้อ ยิ่งได้ ยิ่งใช้ ยิ่งคุ้ม Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.14 สุกรแม่ลูกดก จัดการอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพ

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.14 สุกรแม่ลูกดก จัดการอย่างไร ให้ได้ประสิทธิภาพ Read More »

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน

   แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่ก็มีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดเกิดขึ้นมากมาย ทั้ง AFS และ PRRS ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการติดเชื้อในสุกรเท่านั้น พาไปทำความรู้จักกับ 2 โรคของสุกรกันว่าแตกต่างกันอย่างไร? แม้สุกรไทยจะยืนหนึ่งเป็นสุกรที่มีมาตรฐานสูงของเอเชีย แต่กลับมีข่าวเท็จเกี่ยวกับโรคระบาดในสุกรเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์หลายครั้ง อาทิ ข่าวสุกรป่วยเป็นเอดส์ ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือโรคเอดส์ไม่ใช่โรคของสุกร และไม่มีโรคนี้ในตำราทั้งไทยและเทศ ซึ่งเป็นไปได้ว่าข่าวเท็จที่เกิดขึ้นนี้มุ่งหวังเพื่อทำให้สูญเสียเสถียรภาพราคาสุกร เนื่องจากจะทำให้ผู้บริโภคจำนวนหนึ่งตระหนก เป็นผลให้พ่อค้าคนกลางอ้างภาวะตลาด และกดราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มของเกษตรกร แต่นำไปขายต่อในราคาเนื้อสุกรที่ปรับสูงขึ้น โดยอ้างว่าสุกรตายมากเนื่องจากโรคระบาด ทำให้พ่อค้าได้กำไรแต่เกษตรกรผู้เลี้ยงขาดทุน  หรือแม้แต่กรณีโรคพีอาร์อาร์เอส ซึ่งพบล่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาใน 2 อำเภอ จ.สระแก้ว นำมาสู่การทำลายสุกรโดยการฝังกลบแล้ว 600 ตัว หลังจากพบการระบาดของโรค และโรคเอเอสเอฟที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ทำให้ผู้บริโภคเกิดความตระหนก และเกรงว่าจะติดต่อสู่คนได้จากการบริโภคเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ จึงขอยืนยันซ้ำอีกครั้งว่าโรคทั้งสองของสุกรนี้ไม่ติดต่อสู่คน และขออธิบายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังนี้ โรค PRRS (พีอาร์อาร์เอส หรือเพิร์ส) เป็นโรคติดต่อในสุกรเท่านั้น เกิดจากเชื้อไวรัส ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจของสุกร โรคนี้พบราวปี 2523 จนกระทั่งปี 2534 ได้มีการบัญญัติชื่อโรคนี้ว่า Porcine Reproductive and Respiratory Syndrome หรือ PRRS โรคนี้พบได้ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สำหรับการป้องกันนั้นปัจจุบันมีวัคซีนจำหน่าย ทั้งนี้โรคนี้ไม่เคยมีรายงานการติดต่อสู่คน จึงไม่ต้องกังวลต่อการบริโภค ข่าวเท็จที่ส่งต่อกันมานั้นจะเชื่อมโยงโรค PRRS กับโรคเอดส์ โดยอ้างว่าสุกรเป็นเอดส์ห้ามบริโภค ทั้งสองโรคนี้เหมือนกันที่ไวรัสก่อโรคเป็นชนิด RNA สำหรับความแตกต่างระหว่างโรค PRRS กับโรคเอดส์มีหลายประการ  สิ่งแรกคือ ไวรัสก่อโรคเป็นคนละชนิดกัน อาการของโรคก็แตกต่างกัน แม้ว่าไวรัสทั้งสองนี้จะโจมตีระบบภูมิคุ้มกัน แต่โรค PRRS จะมีอาการหลัก 2 ระบบคือระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจ กล่าวคือแม่สุกรจะพบปัญหาระบบสืบพันธุ์เป็นหลัก ขณะที่สุกรขุนจะมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ต่างจากโรคเอดส์ที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อระบบต่างๆ ไม่เน้นระบบใดระบบหนึ่ง ดังนั้น โรค PRRS จึงไม่ใช่โรคเอดส์ในสุกร และไม่ติดต่อก่อโรคในคน ส่วนโรค ASF (เอเอสเอฟ) เป็นโรคจากเชื้อไวรัสเก่าแก่โรคหนึ่งของสุกร พบครั้งแรกปี 2452 ที่ประเทศเคนยา มีชื่อเต็มว่า African Swine Fever เนื่องจากชื่อโรคภาษาอังกฤษตรงกับโรคสุกรโรคหนึ่งคือ “Swine Fever” หรือ “Classical Swine Fever” (CSF) โดยโรคนี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า hog cholera ซึ่งคำว่า cholera แปลว่า “อหิวาตกโรค” ดังนั้น จึงบัญญัติชื่อโรค ASF ภาษาไทยว่า “โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร”  โรคนี้ยังไม่มียาและวัคซีน เป็นโรคที่สร้างความเสียหายแก่การเลี้ยงสุกรอย่างมาก หลายประเทศที่มีโรคนี้ระบาด ทำให้สุกรตายอย่างใบไม้ร่วง และยากที่จะกำจัด ด้วยชื่อโรคทำให้เกิดความสับสนและเข้าใจผิดว่าโรคนี้จะติดต่อสู่คนได้ และก่อให้เกิดโรคอหิวาตกโรค เนื่องจากชื่อโรคมีคำว่า “อหิวาต์” ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงในคน เป็นแล้วมีโอกาสเสียชีวิตได้ จึงทำให้ผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวเท็จ  ทั้งนี้ โรคอหิวาตกโรคเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ขณะที่โรค ASF เกิดจากเชื้อไวรัสและมีมานานกว่าร้อยปี แต่ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโรคนี้ ดังนั้น จึงไม่ใช่โรคอหิวาตกโรค และไม่ติดต่อก่อโรคในคน โรค ASF มีการระบาดในประเทศจีนเมื่อปี 2561 ทำให้โรคนี้มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว มีมาตรการการเฝ้าระวังและป้องกันโรค โรคนี้ระบาดเข้าสู่ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเมียนมา ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวที่ยังคงป้องกันโรคนี้ได้ และยังไม่มีการระบาด ด้วยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานรัฐ (นำโดยกรมปศุสัตว์) หน่วยงานเอกชน (ฟาร์มสุกร) มหาวิทยาลัย และสัตวแพทย์สุกร ความที่โรคนี้ยังไม่สามารถพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้ป้องกันโรคได้ ไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัส ดังนั้น แนวทางเดียวคือการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) ประเทศไทยสามารถดำรงสถานภาพการเป็นประเทศปลอดโรค ASF ได้ จึงส่งผลดีต่อธุรกิจการเลี้ยงสุกรและเศรษฐกิจของประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศด้วยการส่งออกสุกรมีชีวิต เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ลดภาระของรัฐบาลในภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้เป็นอย่างดี

สุกรไทย’ ยืนหนึ่งเอเชีย ‘PRRS-ASF’ ไม่ติดคน Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)