Logo-CPF-small-65png

cpffeed

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้

วันนี้พวกเราชาว CPF Feed จะมาขอแชร์เกล็ดความรู้ดีๆ จากรายการ Farm Talk ep.22 ในตอน “ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้” เพื่อให้แฟนเพจทุกคนได้เตรียมความพร้อมและรับมือกันหากเราต้องพบเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ไฟไหม้ คืออะไร ???ทุกคนคงสงสัยสินะ ว่าไฟไหม้คืออะไร? ไฟไหม้ หรือ เพลิงไหม้ คือ ภัยอันตรายที่เกิดจากไฟที่ขาดการควบคุมดูแลซึ่งสาเหตุหลักๆส่วนใหญ่เกิดจาก “ความประมาท” และ “ไฟฟ้าลัดวงจร” รวมทั้งการวางเพลิงและการลุกไหม้ด้วยตัวเอง เช่น ใบไม้, หญ้า, ฟางแห้งเกิดไฟฟ้าสถิตกัน ทำให้เกิดความร้อนขึ้นภายในตัว จนกระทั่งไฟลุกขึ้นในที่สุด นอกจากนี้พฤติกรรมของคนสามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ เช่น การสูบบุหรี่ในฟาร์มหรือโรงงาน แม้กระทั่งการทิ้งก้นบุหรี่ลงพื้นดิน หากพื้นดินนั่นมีเศษไม้แห้งก็สามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้เช่นกันสามารถรับชมคลิปเพิ่มเติมได้ที่ >>https://www.youtube.com/watch?v=YNHuPV2mJXk&t=640s

ดับเพลิง ดับไฟ รู้ทันไว ป้องกันได้ Read More »

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้ ภาครัฐร่วมเอกชนป้องกันโรคในหมูได้อยู่หมัดวอนหยุดปล่อยข่าวหวังทุบราคาแล้วฟันกำไรงามนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคระบาดที่สำคัญในสุกรว่า ปัจจุบันภาครัฐได้ร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชน รวมทั้งนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษา ในการป้องกันโรคระบาดที่สำคัญในสุกร อาทิเช่น โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) ล่าสุดได้กำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน ประกอบไปด้วย1.​เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว2.​ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติ และให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด3.​ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน4.​กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด5.​สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF6.​สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ7.​บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรงซึ่งเป็นการยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ทำให้ราคาสุกรเดิมที่เคยตกต่ำ ราคาหน้าฟาร์ม 60 กว่าบาทต่อกิโลกรัม ขยับกลับขึ้นมาที่ราคา 75-76 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาใกล้เคียงกับต้นทุนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในปัจจุบัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างไรก็ตาม ได้มีขบวนการของผู้ไม่หวังดี ปล่อยข่าวการเกิดโรคระบาดในสุกร หวังผลให้ราคาตกต่ำแล้วซื้อทำกำไร ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการทำร้ายเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเฉพาะรายย่อย ที่พึ่งเริ่มฟื้นตัวจากราคาสุกรที่เริ่มดีขึ้น จึงขอให้หยุดการกระทำดังกล่าวเสียในทัน ไม่เช่นนั้น กรมปศุสัตว์จะมีมาตรการดำเนินการโดยเด็ดขาดต่อไป  

กรมปศุสัตว์ ชู 7 มาตรการป้องกันโรคหมูได้อยู่หมัด…วอนหยุดปล่อยข่าวทุบราคา Read More »

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF)

      โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever: ASF) เป็นโรคที่สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต แต่โรค ASF จะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่สุกร และปศุสัตว์ต่างๆ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์อาจพาไวรัสติดไปเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้โรคแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว ในอดีต ASF เป็นโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา แต่ในช่วงปี 2561 และ 2562 เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป แล้วโรค ASF มีอาการอย่างไร เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง สัญญาณและอาการของโรค ASF มีไข้สูง (40.5–42°C) เบื่ออาหารกะทันหัน เลือดออกทางผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต่อมน้ำเหลือง ท้องเสีย อาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน) แท้งลูก มีอาการซึม ไอ หายใจลำบาก เสียชีวิตกะทันหัน อัตราการตายสูง อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคอหิวาต์สุกรธรรมดา (Classical swine fever: CSF) แต่โรค ASF เกิดจากไวรัสเฉพาะซึ่งแตกต่างจาก CSF อัตราการตายที่สูงผิดปกติในหมู่สุกรทุกช่วงวัยถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรค ASF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสุกรน่าจะติดไวรัสชนิดใด ก็คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นในฝูงสุกรที่เลี้ยงไว้ โปรดติดต่อสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการกักโรคและรักษาอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งจะช่วยจำกัดขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นในฟาร์มของคุณได้ เคล็ดลับในการป้องกันฟาร์มให้ห่างไกลจากโรค ASF การป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แม้จะอยู่ในประเทศที่ ASF เป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม มาตรการป้องกัน 9 วิธีในการหลีกเลี่ยงโรค ASF มีดังนี้ การใช้มาตรการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเข้มงวด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF ประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF อาจสั่งให้มีการจำกัดหรือห้ามส่งออกสัตว์ได้หากตรวจพบเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ตรวจสอบรายชื่อภูมิภาคที่มีการติดเชื้อก่อนนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน ทำการกำจัดเศษอาหารทุกชนิดจากเครื่องบินหรือเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด ฆ่าเชื้อและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร (เช่น นำเศษขยะไปให้สุกรกิน) การเลี้ยงด้วยเศษอาหารเหลือจากบริการจัดเลี้ยงถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเศษอาหารดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ ASF อาจทำให้ฝูงสุกรที่แข็งแรงติดโรคได้ อย่าทิ้งเศษอาหารไว้ให้สุกรป่าสามารถเข้าถึงได้ ควรกำจัดซากสุกรส่วนที่เหลือทิ้งจากสุกรในโรงเชือดและเศษอาหารอย่างเหมาะสม กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ (การขีดวงทำลาย): สัตว์ที่หายจากโรคหรือสัตว์ที่รอดตายจะเป็นพาหะของไวรัสโรคนี้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นๆ และเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดขึ้นใหม่ การกำจัดสุกรตัวที่ติดเชื้อและตัวที่อาจติดเชื้อจึงมีความปลอดภัยมากกว่า การกำจัดสุกรในวงรัศมีรอบๆ อาจเป็นวิธีที่กำจัดโรคที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและหยุดการระบาดได้เร็วที่สุด กวดขันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม: ดูแลให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรียด้วยการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่การฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูทอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่นำผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ยังไม่ผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเข้าสู่ฟาร์ม และทางฟาร์มควรจัดเตรียมรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ การเคลื่อนย้ายสัตว์และมนุษย์ภายใต้การควบคุม: สุกรที่จัดหามาควรมาจากแหล่งผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรอง เนื่องจากยานพาหนะ อุปกรณ์ และคนอาจเป็นวัตถุพาหะนำเชื้อโรค ASF ได้เช่นกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้มาเยือนฟาร์มที่เพิ่งไปประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF ต้องทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณ เนื่องจากสารคัดหลั่งและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เจ็บป่วยหรือตายถือเป็นแหล่งโรค ASF ดังนั้น รถบรรทุกขนซากสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงและไม่ควรให้เข้ามาในฟาร์มโดยเด็ดขาด การสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังโรค: การดำเนินการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการขนย้ายสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู นอกจากนั้นฟาร์มสุกรเองก็ควรมีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดด้วย โดยควรตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว สุกรที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการฝึกอบรมพนักงานถึงวิธีป้องกันโรค ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจดบันทึกส่วนผสมในอาหารสัตว์ทุกวัน การตรวจพบไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ: แจ้งสัตวแพทย์โดยทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ เกณฑ์การกักโรคอย่างเข้มงวด: ควรใช้มาตรการการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่เข้ามาและ/หรือเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรค ASF การรักษาโรค ASF ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้ จึงต้องใช้มาตรการป้องกันและระวังในการดูแลสุขภาพสัตว์ให้ปลอดภัย เนื่องจากการสัมผัสระหว่างสัตว์ที่เจ็บป่วยกับสัตว์ที่สุขภาพดีอาจทำให้เชื้อ ASF แพร่สู่กันได้ ดังนั้นจึงควรแยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกต่างหากและคัดออกโดยทันทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ASF รู้หรือไม่? ภูมิภาคทวีปอเมริกาเหนือและโอเชียเนียยังคงเป็นภูมิภาคที่ไม่เคยพบว่ามีรายงานการระบาดของโรค ASF เลย โรค ASF ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ติดเชื้อ ASF โรค ASF ระบาดในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่า รวมถึงเห็บอ่อนหลากหลายประเภท สุกรป่าและตัววอร์ธฮ็อกก็สามารถเป็นพาหะนำโรค ASF ได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัตว์เหล่านี้ไม่มาสัมผัสกับสุกรบ้าน เนื้อสัตว์แช่แข็งจากสุกรติดเชื้ออาจมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน ไวรัส ASF อาจมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานสูงสุดถึง 15 วัน และในปัสสาวะที่อุณหภูมิ 21°C ได้นาน 5 วันโดยประมาณ การลดการเกิดเชื้อ ASF ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ต้องปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกที่อุณหภูมิ 70°C นาน 30 นาที หากเป็นน้ำเหลืองและของเหลวจากร่างกาย ต้องใช้อุณหภูมิ 60°C นาน 30 นาที การถนอมอาหารหรือรมควันผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไม่ทำให้ไวรัสตาย โรค ASF สามารถแพร่ต่อกันได้ผ่านอาหารสัตว์ (Niederwerder, et al., 2019) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรซื้ออาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารจากผู้ให้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารสัตว์ที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่อันตรายบางชนิดได้ (Dee, et al., 2018) และเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันอีกชั้น ควรกำหนดมาตรการป้องกันและใช้เทคโนโลยีใส่ลงในอาหารสัตว์ เช่น ให้สารเพิ่มความเป็นกรด เพื่อให้อาหารสัตว์มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ เป็นที่ทราบกันว่าสารเพิ่มความเป็นกรดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วย “ควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสัตว์ […] จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ดี” (Jacela, et al., 2009) ผลิตภัณฑ์อย่าง Guardicate™* ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยในอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เสริมความแข็งแกร่งของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของคุณได้อีกด้วย จากการวิจัยยาวนานเกือบ 4 ปี Guardicate ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในฐานะสารเพิ่มความเป็นกรด ช่วยให้คุณคลายความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารสัตว์ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมของอาหารสัตว์ให้เหมาะสม ด้วยเทคโนโลยีด้านโภชนาการของ Alltech คุณจึงวางใจได้ในความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต พร้อมส่งเสริมสุขภาพสัตว์ของคุณให้แข็งแรง เมื่อใช้ร่วมกับโซลูชั่นอื่นๆ เช่น Sel-Plex®, Bioplex® และ Actigen® การเสริมแร่ธาตุที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและผลิตภาพในสัตว์ของคุณได้ ซึ่งมีการค้นพบว่าระดับแร่ธาตุที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเชิงบวก โปรแกรมการบริหารจัดการแร่ธาตุของ Alltech (Alltech Mineral Management program) เน้นการให้แร่ธาตุอินทรีย์ เช่น Sel-Plex และ Bioplex ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยม ทางเดินอาหารที่แข็งแรงและไมโครไบโอม (microbiome) ก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวมในสุกรด้วยเช่นกัน ซึ่งในการนี้ Actigen จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการทำงานและพัฒนาการของลำไส้ ทำให้สัตว์มีสุขภาพและสมรรถภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น CR:  Alltech

ข้อเท็จจริงที่สำคัญเกี่ยวกับโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.26 l เพิ่มกำไรฟาร์มไก่ไข่…โค้งสุดท้าย ก่อนปลด!

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.26 l เพิ่มกำไรฟาร์มไก่ไข่…โค้งสุดท้าย ก่อนปลด! Read More »

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ส่งอาหารช้างล็อตใหญ่ สู่ปางช้างทั่วประเทศ ในโครงการ “คนไทยรักช้าง” ร่วมสู้โควิด

คุณสมจินต์ ชมเชย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ CPF พร้อมด้วยผู้บริหารของโรงงานผลิตอาหารสัตว์บก หนองแค จ.สระบุรี ร่วมส่งมอบอาหารช้างเอราวัณ ซึ่งผลิตโดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ผ่านคุณธีรภัทร ตรังปราการ นายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพื่อนำไปกระจายต่อให้ปางช้างทั่วประเทศ ร่วมบรรเทาปัญหาของปางช้าง ควาญช้าง ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการขาดรายได้ ทำให้ช้างเลี้ยงขาดแคลนอาหารในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งการส่งมอบอาหารช้างในครั้งนี้ เป็นครั้งที่สอง 20 ตัน หรือ 660 กระสอบ จากจำนวนที่ส่งมอบทั้งหมด 3 ครั้ง รวม 60 ตัน หรือ 60,000 กิโลกรัม (1,980 กระสอบ) สำหรับอาหารช้าง 20 ตัน ที่ส่งมอบไปแล้วในรอบแรกเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา กระจายสู่ปางช้างต่างๆ ในพื้นที่ จ.สุรินทร์ บุรีรัมย์ ชัยภูมิ นครราชสีมา ชลบุรี และระยอง รวมทั้งส่งมอบให้ รพ.ช้าง ของกรมปศุสัตว์ และ รพ.ช้าง ของโครงการคชอาณาจักร จ.สุรินทร์ ช่วยบรรเทาปัญหาช้างขาดแคลนอาหารได้มาก ส่วนอาหารช้างที่ส่งมอบในครั้งนี้ คณะทำงานของสมาคมฯ จะนำไปกระจายให้ปางช้างในพื้นที่ จ.ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ภูเก็ต ตรัง รวมถึงเกาะสมุย และเกาะลันตาใน จ.กระบี่ เพื่อช่วยเหลือช้างที่ติดบนเกาะ กำหนดส่งมอบอาหารช้างครั้งที่สาม ในวันที่ 29 พ.ค. 2564 เพื่อช่วยเหลือช้างในเขตพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือต่อไปนายกสมาคมสหพันธ์ช้างไทย กล่าวขอบคุณความช่วยเหลือจากเครือ CP-CPF และบริษัทในเครือ ที่ช่วยเหลือปางช้าง ควาญช้าง หลังประสบปัญหาขาดรายได้จากสถานการณ์โควิด จนส่งผลกระทบให้ปางช้างหลายแห่งทั่วประเทศขาดแคลนอาหารที่ใช้เลี้ยงช้าง การที่ CPF สนับสนุนอาหารเสริมสำหรับช้าง ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างมาก ที่สำคัญเป็นช่วงเวลาที่ช้างจำเป็นต้องได้รับอาหารเสริมเพื่อดูแลสุขภาพและชีวิตให้อยู่รอด เพราะที่ผ่านมา ปางช้างและควาญช้างขาดรายได้ แต่ยังมีภาระต้องเลี้ยงช้าง การเลี้ยงจึงเป็นแบบประคองให้รอดเป็นวันๆ อาหารช้างส่วนใหญ่เป็นหญ้าหรือขั้วสับปะรดที่ต้นทุนไม่สูงมาก โดยที่ช้างไม่ได้รับอาหารที่มีวิตามิน เช่น กล้วย อ้อย ฟักทอง เพราะต้นทุนสูงกว่า ส่งผลต่อสุขภาพช้าง ทั้งช้างแก่ ช้างแม่ลูกอ่อนที่เกิดภาวะน้ำนมไม่สมบูรณ์ และช้างแรกคลอด บางเชือกป่วยและล้ม การได้รับอาหารเสริมที่มีคุณค่าโภชนาการอาหารสัตว์ ทั้งโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ จึงเป็นเรื่องน่าดีใจ ที่ทางเครือ CP-CPF เข้ามาช่วยเหลือในช่วงเวลาที่ยากลำบากของช้างและคนเลี้ยงโครงการ “คนไทยรักช้าง” เป็นการผนึกกำลังของเครือ CP-CPF ซีพี ออลล์ และทรู ร่วมกับสมาคมสหพันธ์ช้างไทย เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาหารและสุขภาพของช้างเลี้ยงและควาญช้างทั่วประเทศ โดยสมาคมฯ และพันธมิตร นอกจาก CPF จะมอบอาหารช้าง กลุ่มทรู ยังสนับสนุนเทคโนโลยีอัจฉริยะทรู 5G ในระบบสื่อสารของรถพยาบาลช้าง พร้อมเปิดช่องทางรับบริจาคจากประชาชนร่วมแบ่งปันน้ำใจให้ช้าง ผ่านระบบทรูมูฟ เอช แอปทรูยู ทรูไอดี และทรูมันนี่ วอลเล็ท รวมทั้งช่องทางของซีพี ออลล์ ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขาทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 นี้CPF และบริษัทในเครือซีพี มุ่งมั่นเป็นส่วนหนึ่งของการส่งความช่วยเหลือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของควาญช้าง ปางช้าง และช้างทั่วประเทศ ข้ามผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน./

CPF โรงงานผลิตอาหารสัตว์บกหนองแค ส่งอาหารช้างล็อตใหญ่ สู่ปางช้างทั่วประเทศ ในโครงการ “คนไทยรักช้าง” ร่วมสู้โควิด Read More »

พร้อมรับมือฤดูร้อน: วีธีจัดการภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร

    มีความท้าทายด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากมายที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปัจจุบัน ความร้อนในฤดูร้อนก็เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ส่งผลต่อสุขภาพของสุกรและกระทบต่อการทำกําไรของเกษตรกร ความเครียดจากความสามารถส่งผลร้ายแรงต่อประสิทธิภาพของสุกรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุกรขุนและแม่พันธุ์ ความร้อนและความแปรปรวนของอุณหภูมิในฤดูร้อนมักจะทำให้สัตว์เครียด ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพของสัตว์ลดลง ทำให้สัตว์มีปัญหาสุขภาพ และในที่สุดก็จะก่อให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจสําหรับเกษตรกร ทําไมสุกรจึงไวต่อความเครียดจากความร้อน? สุกรไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เนื่องจากพวกมันไม่มีต่อมเหงื่อ ดังนั้นจึงไม่สามารถระบายความร้อนในร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นสุกรยังมีปอดขนาดเล็กหากเทียบกับขนาดร่างกาย มันจึงระบายความร้อนส่วนเกินภายในร่างกายออกมาได้ยาก “แม้ในช่วงเวลาที่ร้อนที่สุดของวัน สุกรก็ยังผลิตความร้อนในร่างกายเพิ่มจากการรับประทานอาหารและเคลื่อนไหวร่างกาย” รัสเซล กิลเลียน หัวหน้าฝ่ายธุรกิจสำหรับสุกรของออลเทค สหรัฐอเมริกา กล่าว “เนื่องจากสุกรแทบไม่มีต่อมเหงื่อ จึงไม่สามารถระบายความร้อนด้วยเหงื่อได้ สุกรจึงต้องใช้การหายใจเพื่อระบายความร้อน อัตราการหายใจของสุกรจะเริ่มถี่ขึ้นที่อุณหภูมิประมาณ 21 องศาเซลเซียส และหากในอากาศมีความชื้นสูง สุกรจะยิ่งหาทางบรรเทาความร้อนในร่างกายได้ยากขึ้น” ความผันผวนอย่างต่อเนื่องของอุณหภูมิในช่วงเปลี่ยนจากฤดูร้อนเป็นฤดูฝน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนก็อาจเพิ่มความเครียดให้กับสุกรที่มีความเครียดจากอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอยู่แล้วและทำให้สถานการณ์แย่ลงไปอีก อาการของภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร หนึ่งในผลจากภาวะเครียดจากความร้อน คืออัตราบริโภคอาหารที่ลดลง เมื่อสุกรกินอาหารได้น้อย พวกมันก็จะแปลงอาหารเป็นกล้ามเนื้อได้น้อย จึงทำให้อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) ลดลง และนั่นหมายถึงระยะเวลาการเลี้ยงที่นานขึ้นกว่าจะจำหน่ายสุกรได้ นอกจากนี้ยังทำให้สุกรมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพสูงขึ้น ซึ่งทำให้ผู้ผลิตสุกรมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเพื่อรักษาหรือแก้ปัญหาสุขภาพนั้น อาการอื่น ๆ ได้แก่: อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ) สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น 6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร: พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น) จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล อัตราการหายใจสูงขึ้น (หายใจหอบ) สุกรดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้สูญเสียอิเล็กโทรไลต์มากขึ้น สุกรเริ่มทำกิจกรรมน้อยลง นอนเหยียดตัวบนพื้น และมักจะแยกตัวออกจากสุกรตัวอื่น 6 กลยุทธ์การจัดการ เพื่อลดความเครียดจากความร้อนในสุกร แม้ว่าจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียดได้ เป้าหมายของการจัดการคือการลดความเครียดของสุกรให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือวิธีการลดความเครียดจากความร้อนในสุกร: พยายามควบคุมอุณหภูมิในโรงเลี้ยง ให้อุณหภูมิผันผวนเพียงไม่กี่องศาเท่านั้น ตรวจสอบให้แน่ใจว่าหมูแต่ละตัวมีพื้นและการระบายอากาศที่เพียงพอ ให้อาหารสุกรในช่วงเวลาที่มีอากาศเย็นของวัน (เช่น ช่วงเช้าหรือเย็น) จัดนำดื่มที่สะอาดและเย็นให้สุกรอย่างทั่วถึง ย้ายและการขนส่งสุกรในช่วงเช้าของวัน ให้สุกรอยู่เป็นกลุ่มและไม่พยายามเร่งให้สุกรเคลื่อนที่ ควรใช้เวลากับสุกรเพื่อให้สุกรคุ้นชิน ก่อนที่จะย้ายหรือขนส่งเพื่อบรรเทาความเครียด ปรับแต่งสูตรอาหารเพื่อช่วยลดความเครียด ปรับอุณหภูมิ การระบายอากาศและความชื้นให้สมดุล เมื่อสุกรอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนกว่าที่ร่างกายของพวกมันรู้สึกสบาย การบริโภคอาหารจะลดต่ำลงเช่นเดียวกับอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพัดลม หัวฉีดน้ำ และอุปกรณ์ระบายความร้อนอื่น ๆ ในโรงเลี้ยงทำงานได้ปกติและได้รับการบํารุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าตัวเลขอุณหภูมิจะไม่สูงมาก แต่สุกรอาจมีภาวะเครียดแฝงอยู่ ผู้ผลิตจึงควรจัดให้โรงเลี้ยงมีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อให้สุกรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด อุณหภูมิที่เหมาะสม อาจต้องดูทั้งปัจจัยแรงลมและดัชนีความร้อน ตัวอย่างเช่นอุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส อาจเป็นอุณหภูมิที่ดีที่สุดสําหรับสุกรหนัก 57 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส ประกอบกับความเร็วของลมสูง (เช่น 30 เมตรต่อนาที) อาจจะเย็นเกินไปสำหรับสุกร ในภาวะอากาศเย็นสุกรจะใช้พลังงานเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายแทนที่จะนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แผนภูมิที่ 1 แสดงให้เห็นว่าความเร็วลมส่งผลต่ออุณหภูมิอย่างไร แผนภูมิที่ 1: ผลของความเร็วลมต่ออุณหภูมิ ผู้ผลิตยังต้องคำนึงว่าสุกรรุ่นจะผลิตความร้อนเพิ่มขึ้นจากปกติ ดั้งนั้นจึงควรมีการจัดการอุณหภูมิภายในโรงเลี้ยงให้เหมาะสม สําหรับน้ำหนักของสุกรที่เพิ่มขึ้นทุก 27-36 กิโลกรัม จะสร้างความร้อนเพิ่ม 200 บีทียู ทุกชั่วโมง ดังนั้นจะต้องมีการปรับอัตราการระบายความร้อน ลูกบาศก์ฟุตต่อนาที (CFM) สําหรับความร้อนที่เพิ่มขึ้น แผนภูมิที่ 2: อัตราการระบายอากาศที่แนะนํา, CFM ต่อสุกรหนึ่งตัว ผลกระทบจากความชื้นในอากาศ ความชื้นเป็นตัวบ่งชี้ที่สําคัญสำหรับการระบายอากาศที่เหมาะสม ในช่วงเดือนที่อากาศร้อนเมื่ออุณหภูมิภายนอกเกินจุดที่กําหนด แม้ว่าจะเพิ่มอัตราการระบายอากาศ ก็จะไม่ช่วยลดความชื้นในโรงเลี้ยง เพราะอากาศอุ่นสามารถอุ้มน้ำได้ดีกว่าอากาศเย็น สุกรจะเกิดความเครียดจากความร้อนได้ง่ายมากขึ้น เมื่ออากาศมีความชื้นสูงแม้ว่าอุณหภูมิจะต่ำ ดังนั้นจึงควรเฝ้าระวังทั้งความชื้นและอุณหภูมิในโรงเลี้ยง แนะนำให้โรงเลี้ยงมีความชื้นสัมพัทธ์ 65% หรือน้อยกว่า เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในระดับนี้จะลดการเกิดการควบแน่นและทำให้พื้นโรงเรือนชื้นแฉะ การสร้างสูตรอาหารเพื่อช่วยบรรเทาความเครียดของสุกร มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า การผสมกันของกรดอินทรีย์, อิเล็กโทรไลต์, เอนไซม์และโปรไบโอติก เช่นที่มีในผลิตภัณฑ์ Acid-Pak 4-Way® สามารถช่วยบรรเทาภาวะเครียดของสุกรในวัยเด็กได้ กรดอินทรีย์ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของโปรไบโอติกในลําไส้ และเอนไซม์ช่วยเพิ่มการบริโภคและการย่อยอาหาร อิเล็กโทรไลต์ช่วยให้สัตว์ไม่เกิดภาวะขาดน้ำโดยเฉพาะในช่วงอากาศร้อน การตระหนักถึงภาวะความเครียดจากอากาศร้อนและการเตรียมพร้อมรับมือจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้น มีผลสําคัญต่อผลผลิตและมูลค่าโดยรวมของสุกรเมื่อจำหน่ายออกสู่ตลาด การวางแผนรับมือกับภาวะความเครียดจากความร้อนของสุกรของท่านอย่างมีประสิทธิภาพยังสามารถช่วยป้องกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมสำหรับจำนวนวันเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นหากสุกรเจ็บป่วย เพราะเมื่อสุกรเกิดความเครียดพวกมันจะเจ็บป่วยหรือติดเชื้อโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่สําคัญที่จะผสมเทคโนโลยีที่ช่วยสร้างเสริมภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติลงในอาหารของสุกร CR : Alltech

พร้อมรับมือฤดูร้อน: วีธีจัดการภาวะเครียดจากความร้อนในสุกร Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)