Logo-CPF-small-65png

cpffeed

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร

ความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม (Biosecurity) คืออะไร ถ้าเราเรียกกันง่ายๆ และสั้นๆ ก็คือแนวทางในการป้องกันโรคที่อาจจะเข้ามา ที่ฟาร์มของเราได้ ซึ่ง ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ เป็นส่วนสำคัญมากกับฟาร์มสัตว์ เพราะหากมีการเกิดโรคระบาด แล้ว หรืออาจจะส่งผลกระทบร้ายแรง กับฟาร์มของเรา ได้เป็นอย่างมากเลยครับ  นอกจากนี้แล้ว หากเรามีการป้องกันที่ดี ก็จะมีผลกับด้านอื่นอีก เช่นการลดต้นทุนค่ายา วัคซีน วิตามิน อาหารเสริมที่เราให้กับสัตว์ ของเรา และไม่ใช้เรื่องยากเกินไปสำหรับ ฟาร์มที่ต้องการป้องกัน ความเสียหายที่เกิดจากโรคระบาด ในแต่ละครั้ง  ดังนั้นแนะนำว่า ถ้าเป็นไปได้ (ควรจะเป็น) ในฐานเจ้าของฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ กับเรื่องนี้ และบอกผลกระทบ กับ เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับ ส่วนนั้นๆ เพื่อที่จะได้ เข้าใจตรงกัน และสามารถทำได้จริงๆ ก่อนหน้านี้ ได้มีการแนะนำ CPF FARM SOLUTION ซึ่งเป็นเว็บที่ให้บริการทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม และในเว็บก็จะมีส่วนของ การจัดสัตว์พาหะ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้โดยตรง และมีผู้เชี่ยวชาญ และระบบ คอยดูแลให้ครับ เจ้าของฟาร์มขนาดกลาง และขนาดย่อย ท่านใด สนใจก็ สามารถคลิกเข้าไปที่ ลิงก์ ด้านล่างได้เลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว (ลิงก์นี้ครับ) 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 การจัดการและการป้องกันโรค บริการจาก CPF Farm Solution ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สามารถดูได้ที่ cpffeedsolution.com   “ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity)” ทำอย่างไร และมีความ สำคัญแค่ไหน ? ระบบป้องกันทางชีวภาพ (Biosecurity) คือ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือ แนวทางปฏิบัติสำหรับฟาร์ม และทุกคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการ ป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่ว่าจะเข้า มาจากภายนอกฟาร์ม เข้าสู่ภายในฟาร์ม หรือจากภายในฟาร์ม ที่อาจจะมีการระบาด จากส่วนการผลิตหนึ่งไปอีกส่วนนึง เพราะว่าเวลาเกิดโรคใหม่ขึ้นในฟาร์ม มักจะเกิดจาก การนำเชื้อจากภายนอก ไม่ว่าจะมาจากรถที่รับซื้อ หรือ อาจจะติดมากับสัตว์พาหะ หรือคนภายในฟาร์มที่ออกไปข้างนอกเข้ามาสู่ฟาร์ม ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีระบบป้องกันทางชีวภาพ ที่ไม่ดี หรือละเลย การป้องกันที่ดี ก็จะทำให้เชื้อโรคระบาดจากภายนอก เข้ามาภายในฟาร์ม และพบว่าส่วนใหญ่เวลาเชื้อโรคเข้ามา ก็สามารถเข้ามาได้ทั้ง ส่วนของการขาย หรือส่วนของการผลิต เช่น โรคปากและเท้าเปื่อย ที่ยังพอรักษาได้ แต่หากเป็นโรคอื่น ที่รักษาไม่ได้ หรือไม่มีวัคซีน ถ้าฟาร์ม วางระบบป้องกันทางชีวภาพภายในฟาร์มไม่ดีพอ ก็มีการแพร่ระบาดไปทั่วทุกหน่วยการผลิตภายในฟาร์ม ทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ฟาร์ม ต้องสำรวจก่อนว่า ฟาร์มของเราเข้มงวดพอแล้วหรือเปล่า สำหรับจุดเสี่ยง ที่แนะนำให้ทำการตรวจสอบมีดังนี้ เล้าขาย สำหรับจุดนี้ เนื่องจากมีรถที่มารับซื้อ สัตว์จากทางฟาร์ม และรถที่มารับซื้อก็ไปหลายๆ ฟาร์ม ซึ่งอาจจะเป็นแหล่งที่แพร่เชื้อเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ตัวอย่างเมื่อรถรับซื้อมาที่ฟาร์ม ที่ไม่มีการป้องกัน อาจจะ มีการฉีดน้ำ เพื่อล้าง หรือเพื่อ ลดความร้อน ให้กับสัตว์ ทำให้น้ำชำระล้าง มาที่พื้นที่ส่วนของการซื้อขาย พนักงานฟาร์มก็เดินไป บริเวณนั้น และได้รับเชื้อติดมาที่รองเท้า และเดินเข้าฟาร์มมา ทำให้เชื้อแพร่กระจ่ายในฟาร์มของเรา สำหรับวิธีการที่ดี สำหรับการป้องกันโรค และง่ายในการจัดการคือ มีการแยกพื้นที่เป็นสัดส่วน อย่างชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ เช่นทำรั้ว และเป็นพื้นที่มิดชิด พื้นที่ขายต้องเป็นพื้นปูน มีช่องทางระบายน้ำล้าง มีแสงแดดส่องถึงทั่ว จะได้ง่ายต่อการทำความสะอาด และ ดูแลรักษาง่าย ทางเข้าออกต้องแยกกัน กับรถที่มารับซื้อ ป้องกันการปนเปื้อน กับรถของฟาร์ม และการขนส่งอื่นๆ กรณีที่เดินทางเส้นเดียวกันอาจจะทำให้เชื้อโรคที่ติดมากับรถ ติดต่อกันได้ มีการพ่นยาฆ่าเชื้อโรค ก่อนที่รถลูกค้า จะผ่านเข้ามาที่ฟาร์ม หรือส่วนการขาย สำหรับการพ่นยาฆ่าเชื้ออาจจะทำเป็นอุโมงค์ก็ได้ การพ่นยาฆ่าเชื้อ จะต้องพ่นให้ทั่วทั้งคัน ถ้าเป็นไปได้ มีในส่วนของทางเข้า และทางออกจะดีมาก กรณีไม่มีการแยกทางเข้าออก อาจจะมีช่องทางส่งจากภายในฟาร์มไปที่รถ เพื่อป้องกันการสัมผัส ห้ามบุคคลภายนอกเข้ามาที่ฟาร์ม เพราะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากๆ ตอนเลิกงานในแต่ละวัน จะต้องมีการล้างทำความสะอาด และพ่นยาฆ่าเชื้อ ให้ทั่วบริเวณทุกครั้ง และสำหรับพนักงานของฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ต้องล้างทำความสะอาด และรองเท้า ต้องมีการ จุ่มน้ำยา พนักงาน ในแต่ละส่วนพื้นที่ ต้องอยู่ในส่วนของตัวเอง หากมีการออกนอกพื้นที่ต้องมีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และเดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อรองเท้าทุกครั้ง ส่วนของการขาย หากมีการคัดผิด ห้ามนำกลับพื้นที่โดยเด็ดขาด ในส่วนของพื้นที่เล้าขาย ต้องมีการสุ่มตรวจ น้ำยาฆ่าเชื้อ และกำหนดให้เป็นตามเกณฑ์ที่กำหนด ทางเข้า-ออก หน้าฟาร์ม สำหรับทางเข้าออกฟาร์ม ควรจะมีระบบพ่นยาฆ่าเชื้อโรคทั้งคน และรถ ทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อ รอบคันจะดีมาก มีการทำบันทึกการเข้า-ออก ทั้งนี้ ถ้าเป็นบุคคลภายนอก หรือผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม เข้ามา ก็ต้องมีรองเท้าบู๊ทให้เปลี่ยน และเดินผ่าน หรือ จุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าฟาร์มเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกฟาร์ม และเมื่อมีการระบาด ทางฟาร์มต้องงดการเข้าออก หรือให้มีการเข้าออกน้อยที่สุด จะปลอดภัยกับทางฟาร์ม ยิ่งหากเป็นโรคระบาดที่ยังไม่มีการรักษาได้ ต้องเพิ่มความระมัดระวัง เรื่องสัตวพาหะ ด้วยครับ เช่น นก หนู เพราะ สามารถ นำเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มได้ ส่วนของการเลี้ยงสุกร โรงเลี้ยง หรือผ่ายผลิต ก่อนที่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง จะเข้าไป ต้องมีการเปลี่ยนชุดที่ใส่มาจากภานนอกก่อน และอาบน้ำ ก่อนเข้าไปยังส่วนงานของตัวเอง รักษาความสะอาด เดินผ่านน้ำยาฆ่าเชื้อ ล้างมือ ทั้งนี้ส่วนของน้ำยาฆ่าเชื้อที่ใช้ ต้องมีการเปลี่ยนทุกวัน หรือวันเว้นวันได้ ส่วนของรองเท้า ใช้งานในโรงเลี้ยง กับข้างนอก ต้องเป็นคนละคู่กัน หรือเปลี่ยนให้สีต่างกันเป็นต้น เพื่อง่ายต่อการสังเกตุ และเป็นการป้องกัน เชื้อโรคจากภายนอกเข้ามาใน ส่วนต่างได้ นอกจากนี้สัตว์เลี้ยงอื่นๆ ก็ห้ามเข้ามาในส่วนที่เราต้องรักษาความสะอาด เพราะอาจจะทำให้ติดโรคได้ หรือเป็นตัวแพ่มาสู่ สัตว์ของเราได้ ทางฟาร์มต้องมีการกำจัดสัตว์พาหะ อย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะนกที่อาจจะเป็นตัวการแพร่เชื้อโรคที่สำคัญ เพราะบินไปหลายที่ โรงเรือนต้องมีตาข่ายคลุม เพื่อป้องกัน อุปกรณ์ ที่ใช้งานต่างๆ ต้องมีการฆ่าเชื้ออย่างเคร่งครัด อันนี้เป็นแค่ส่วนนึง สำหรับการป้องกันโรคระบาด ที่ผู้จัดการฟาร์มต้องให้ความสำคัญ และบอกถึงผลกระทบ หากไม่ทำตาม ผลกระทบของฟาร์มจะมีอะไร และเจ้าหน้าที่จะได้รับผลกระทบอย่างไร หากเกิดเหตุขึ้นจริงๆ ปัญหาที่พบได้บ่อยครั้งเมื่อเกิดเหตุ คือ พฤติกรรมที่เคยชิน ไม่ทำตาม อาจจะส่งผลให้ฟาร์มเสียหายจากโรคระบาดได้ หากเป็นโรคที่รักษาได้ ก็ยังดี แต่หากเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ หรือไม่มีวัคซีนป้องกัน อาจจะทำให้ฟาร์มเสียหาย จนต้องปิดตัว และพนักงาน ตกงาน เพราะการติดโรคระบาดได้ครับ แต่ถ้าหากฟาร์มของเรา มีการป้องกันที่ดี แล้ว ก็จะช่วยประหยัด ในเรื่องของค่ายา ค่าวัคซีน ไปได้อีก มากกว่าฟาร์มที่เป็นโรค และไม่จบ เพราะการใช้ยา วัคซีน ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น และอาจจะไม่ได้มาตรฐานตามที่ ตลาดต้องการ ครับ มาตรการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) สำหรับฟาร์มสัตว์ปีก มีหลายปัจจัยเป็นองค์ประกอบ อันได้แก่ ฟาร์มสัตว์ปีก ต้องห่างจากโรงฆ่าสัตว์ปีก และตลาด อย่างน้อย 5 กิโล ห่างฟาร์มอื่น 3 กิโล ห่างเขตชุมชน มีรั้ว หรือแนวดิน ถนนสาธารณะ ควรห่างจากโรงเรือนอย่างน้อย 400 เมตร และมีรั่วกั้น รอบรั่วของโรงเลี้ยง ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันสัตว์พาหะ เพื่อป้องกันนก และสัตว์พาหะอื่นๆ เข้าโรงเลี้ยง เป้นการป้องกันโรคได้อย่างดี การเข้าออกฟาร์มต้องมีการ พ่นยาฆ่าเชื้อหรือ อาบน้ำยาฆ่าเชื้อ ทั้งคน และรถที่เข้าออก รักษาความสะอาดรอบโรงเรือน 3 เมตรเพื่อป้องกันหนู หรือแหล่งสะสมของเสียปฏิกูลต่างๆ โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ต้องสะอาด อากาศถ่ายเทได้ดี และควรเป็นแบบโรงเรือนระบบปิด แต่หากเป็นโรงเรือนระบบเปิด ต้องมีตาข่ายป้องกันนกหรือสัตว์พาหนะของโรคไม่ให้เข้าโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ สัตว์ปีกที่เลี้ยงต้องมีสุขภาพที่ดี สุขภาพแข็งแรง มีการควบคุมอุณหภูมิ , ความชื้น , แก๊ส , แสงสว่าง และการระบายอากาศที่ดี ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกที่กรมปศุสัตว์กำหนด สามารถดูฟาร์มระบบปิดได้ที่ 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 ไม่นำอุปกรณ์เครื่องใช้ใดๆ จากฟาร์มหรือจากแหล่งที่เลี้ยงสัตว์อื่นมาเข้าภายในฟาร์ม ถ้าต้องการนำมาใช้ ต้องมีการฆ่าเชื้อโรคก่อน และแน่ใจว่าปลอดภัยจากโรคแล้ว เมื่อสัตว์ปีกป่วยตายอย่างผิดปกติ หรือ สงสัยว่าป่วยตายด้วยโรคไข้หวัดนก ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์โดยด่วน และฆ่าเชื้อโรคโดยรอบโรงเรือน และภายในฟาร์มทันที พร้อมห้ามมิให้บุคคล , ยานพาหนะ เข้าในฟาร์มโดยเด็ดขาด สำหรับฟาร์มสัตวปีก การปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) อย่างเคร่งครัด ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก สำหรับฟาร์มทุกขนาด และแนะนำให้ เข้าสู่ระบบมาตรฐานฟาร์ม ตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด เพราะการได้มาตรฐานฟาร์ม นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ผู้เลี้ยงสัตว์ปีก ที่ไม่ควรละเลย เพราะถือเป็นการรับผิดชอบต่อผู้บริโภคสัตว์ปีก และไข่สัตว์ปีก สำหรับผู้บริโภคก็ควรเลือกซื้อวัตถุดิบไม่ว่าเนื้อ , เครื่องใน , หรือไข่ ที่จะนำมาประกอบอาหารบริโภคนั้น ต้องมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และรับรองความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก นอกจากนี้แล้ว หากฟาร์มที่มีการเลี้ยงสุนัข ที่เลี้ยงไว้เฝ้าบ้านหรือฟาร์ม ก็จะต้องกักขังหรือล่ามโซ่ไว้ หรือควบคุมบริเวณ ไม้ให้ออกไปหากินอาหารนอกฟาร์ม เพราะอาจจะไปกินซากสัตว์ปีกตายด้วยโรคระบาดสัตว์ แล้วเป็นพาหะแพร่เชื้อโรคได้ และห้ามมิให้สุนัขเข้าไปในบริเวณฟาร์มหรือโรงเรือนเลี้ยงสัตว์โดยเด็ดขาด ส่วนผู้เลี้ยงทุกครั้งที่จะเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีก ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า และจุ่มเท้าฆ่าเชื้อโรคก่อนเข้าโรงเรือน ตามข้อกำหนดมาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีกอย่างเคร่งครัด เท่านี้ก็ปลอดภัยจากโรคระบาดสัตว์ เช่น โรคไข้หวัดนก และยังเป็นการปฏิบัติตามระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ(Biosecurity) อีกด้วย การจัดการมาตรฐานฟาร์ม การป้องกันโรค และการกำจัดสัตวพาหะ สามารถดูรายละเอียด และสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ cpffarmsolutions.com

ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ในฟาร์ม หรือ Biosecurity สำคัญกับฟาร์มสัตว์อย่างไร Read More »

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน

เฉลิมชัย สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียนคุมเข้มการเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าในเขตเฝ้าระวังโรค     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบนโยบายสร้างวิกฤติในโอกาส โดยสั่งการให้กรมปศุสัตว์ทำงานเชิงรุกป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกร (African Swine Fever: ASF) ในพื้นที่ความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน จนทำให้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ส่งผลให้ประเทศไทยคงสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเพียงประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคจะกระจายไปกว่า 34 ประเทศทั่วโลกแล้วก็ตาม ทำให้การส่งออกสุกรในปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 300% คิดเป็นมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท และเชื่อมั่นว่าการส่งออกในปี 2564 นี้จะเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นคงสถานะปลอดโรค ASF อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง กรมปศุสัตว์จึงได้ร่างระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พ.ศ.2564 โดยล่าสุดได้ประกาศลงเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 28 ตุลาคม 2564ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการอนุญาตเคลื่อนย้ายสุกร หมูป่าหรือซากสุกร ซากหมูป่าเข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร พ.ศ.2564 มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. การเคลื่อนย้ายสุกรมีชีวิตเพื่อเข้าโรงฆ่าสัตว์และนำไปเลี้ยง มีเงื่อนไขเพิ่มเติม1.1 กรณีฟาร์มปลายทางเคยพบความเสี่ยงสูงมาก ต้องทำลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องเป็นฟาร์มมาตรฐาน GAP ขึ้นไป มีการใช้ตัวเฝ้าระวังในการทดสอบ (sentinel) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของกำลังการผลิต เลี้ยงเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ และก่อนลงเลี้ยงจริงต้องมีการเก็บตัวอย่างพื้นผิวโรงเรือนเลี้ยงสุกร (surface swab) 2 ครั้ง ห่างกัน ครั้งละ 1 สัปดาห์​1.2 กรณีฟาร์มต้นทางเคยพบความเสี่ยงสูงมาก ต้องทำลายมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน และต้องเก็บตัวอย่างสุกรที่ฟาร์มปลายทางหลังลงเลี้ยงวันที่ 1 และ 7 ครั้งละ 15 ตัวอย่าง​1.3 เฉพาะกรณีเคลื่อนย้ายข้ามเขต ต้องมีหลักฐานการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ อย่างน้อย 1 หน่วยงาน​1.4 กรณีเคลื่อนย้ายเพื่อนำไปเลี้ยง ฟาร์มปลายทางต้องได้รับการรับรอง GFM ขึ้นไปเท่านั้น2. การเคลื่อนย้ายซากสุกรหรือหมูป่า ในวันที่เคลื่อนย้ายจริงต้องแนบใบ รน. ของซากชุดที่จะเคลื่อนย้ายไปพร้อมหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายทุกครั้ง สำหรับพื้นที่พิเศษ (พื้นที่ที่มีการออกหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายสุกรจำนวนมาก เช่น นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ขอนแก่น นครราชสีมา เป็นต้น) ต้องแจ้งแผนล่วงหน้า 14 วัน มีใบรับรองโรงฆ่า มีผล surface swab และผลตรวจซาก โดยการเก็บตัวอย่างซากดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ทุกๆ 2 เดือน และการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมในโรงฆ่าดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทุกเดือน3. การเคลื่อนย้ายสุกรหรือหมูป่ามีชีวิตผ่านคอกขายกลาง ให้สัตวแพทย์พื้นที่ต้นทางทำหนังสือแจ้งสถานที่ปลายทางถัดจากคอกกลางแก่สัตวแพทย์พื้นที่ที่คอกกลางตั้งอยู่ โดยแนบไปพร้อมหนังสืออนุญาตเคลื่อนย้ายอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ระเบียบกรมปศุสัตว์ฯ ฉบับนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกรหมูป่า หรือซากสุกร ซากหมูป่า เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 เป็นไปในทิศทางเดียวกัน อันส่งผลให้การป้องกันและควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่เป็นการสร้างภาระด้านค่าใช้จ่ายในการตรวจโรคแก่เกษตรกรมากเกินความจำเป็น รวมทั้งเป็นการช่วยให้การปฏิบัติงานในการคงสถานะปลอดโรค ASF ของประเทศไทยและรักษาความมั่นคงด้านอาหารของประเทศโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างต่อเนื่อง

เฉลิมชัย” สั่งกรมปศุสัตว์ดันไทยรักษาสถานะปลอดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) หนึ่งเดียวในอาเซียน Read More »

การจัดการฟาร์มสมัยใหม่

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว สวัสดีครับ บทความนี้ ผม จะแนะนำวิธีการ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ท่านใด ที่ต้องการเริ่มธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเคยมีประสบการ์ณในการทำธุรกิจนี้มาแล้ว หรือว่าต้องการที่จะมองหา ธุรกิจอื่น เสริมเติม จาก ธุรกิจที่ทำอยู่ เพื่อเป็นช่องทางเพิ่มรายได้ และกระจายความเสี่ยง จากธุรกิจเดิม ก็สามารถเข้ามาทำ และรับคำปรึกษาจากทีมงานได้ครับ ปัญหาหลักของการ จัดการฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นท่านผู้บริหารฟาร์ม เจ้าของกิจการ หรือใครที่เคยทำ ก็จะมีปัญหา ในการจัดการฟาร์มอยู่ หลักๆ 5 อย่างดังนี้ ไม่ต้องกังลวไปครับ ท่านที่ได้อ่านบทความนี้ รับรองได้คำตอบ และจะแนวทางปัญหา และการแก้ไข สำหรับฟาร์มของเรา ไม่ว่าสนใจ ลงทุน สร้างใหม่ ต่อเติมขยาย หรือว่ามีฟาร์มอยู่แล้ว แต่เจอปัญหาเหมือนกัน การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ การจัดการและการป้องกันโรค ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ การป้องกันสัตว์พาหะ บุคลากรไม่เพียงพอ จากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็น ผู้ที่เริ่มสนใจธุรกิจฟาร์ม หรือว่าท่านที่อยู่ในธุรกิจฟาร์ม มานานแล้ว ก็จะได้พบเจอกับปัญหา 1 ใน 6 อย่างตามที่กล่าวมาครับ แล้วเราในฐานะเจ้าของหรือว่าผู้บริหารฟาร์ม จะทำอย่างไร ให้ ฟาร์มของเรา เติบโต และสร้างฐานตลาด มีลูกค้า หรือ ที่ในการส่งสินค้าได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ฟาร์มเติบโต และเป็นที่ต้องการ หรือยอมรับของ ผู้บริโภค และจากปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะพบบ่อย หรือเป็นจุดที่จะเปลี่ยน รูปแบบการดำเนินงาน ของฟาร์มเรา ให้ดีขึ้น หรือแย่ลง เรื่องหลักๆ เหล่านี้ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว และได้รับการแก้ปัญหา โดยมืออาชีพจริงๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการแนะนำ ให้คำปรึกษา และเชียวชาญ ในแต่ละด้าน มาช่วยให้คำแนะนำ และทำให้ธุรกิจของเราเติบโต แนะนำ CPF FARM SOLUTION เว็บ ศูนย์รวม บริการเรื่องฟาร์ม ไว้ครบ เรียกว่ามาที่เดียว ครบ จบทุกปัญหา พร้อมแล้วมาดู บริการแต่ละอย่างที่เรา สามารถ รับบริการได้กันเลย   เว็บที่สร้างมาเพื่อ ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ เข้าถึงทุกบริการ สำหรับการเลี้ยงสัตว์ ได้จากเว็บเดียว  มีคำแนะนำ เรื่องเงินทุน การป้องกันการจัดการโรค ราคาพันธ์ุสัตว์ การทำมาตรฐาน เพื่อ ขยายตลาดทั่งในต่างประเทศ และในประเทศ สำหรับ ผู้เริ่มต้น หรือมีฟาร์มอยู่แล้ว สำหรับฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ก็เข้ามาใช้งาน และรับคำปรึกษาได้เลย สั่งซื้ออาหารสัตว์ออนไลน์ บริการเพื่อความสะดวกสำหรับลูกค้าอาหารสัตว์ เชื่อมโยงทุกคำสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์ รวดเร็ว ถูกต้อง ได้ตลอด 24 ชม   งานบริการลูกค้าอาหารสัตว์ที่เป็นเลิศ เพื่อ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์ม แบบครบวงจร จบทุกปัญหาที่ farm solutions เพื่อช่วยป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายในฟาร์ม และลดความสูญเสีย ยกระดับมาตรฐานฟาร์มลูกค้า สร้างการเติบโตไปด้วยกัน   การจัดการและการป้องกันโรค การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อเริ่มสร้างฟาร์ม หรือเพื่อขยายธุรกิจ ให้คำปรึกษาแบบครบวงจร ตั้งแต่เรื่องการลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม การเลี้ยงและการจัดการฟาร์ม โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาการจัดการฟาร์ม และเทคโนโลยีตามมาตรฐานของบริษัท การป้องกันโรค เข้าสู่ฟาร์ม ให้คำปรึกษาด้านการป้องโรค การประเมินความเสี่ยง และการนำเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตราฐานของบริษัทซีพีเอฟ การให้ปรึกษาคลอบคลุม ตั้งแต่การลงทุน หาพื้นที่ สร้างฟาร์ม ตลอดจนกระบวนการเลี้ยงจนถึงการขายสินค้า ส่วนการจัดการ และป้องกันโรค ในฟาร์ม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ การจัดการโรค  และการป้องกันโรคระบาด เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากที่ผู้ดูแลฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญ เพราะหากมีการติดโรคแล้ว กรณีที่ร้ายแรง จะส่งผลทำให้เสียหายทั้งฟาร์มได้ ดังนั้นเรื่องการป้องกันโรคระบาด จึงอาจจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลกับฟาร์ม ทางตรงรองจาก เรื่องเงินทุนเลยครับ ปัญหาด้านโครงสร้างไฟฟ้า วิศวกรรม cpf farm solution ให้คำปรึกษา และแนะนำเรื่องวิศกรรม จากผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งทำให้มีบริการที่ครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้ฟาร์ม ปลอดภัย ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม มีบริการอบรม แนะนำให้กับเจ้าหน้าที่ในฟาร์ม บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตายจากไฟฟ้าดับ เพิ่มทักษะ ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเองสามารถใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น บริการนี้จะทำให้ พนักงานในฟาร์มมีทักษะในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ในฟาร์มได้ด้วยตนเอง มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัย รวมถึงการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในฟาร์ม ลดการเกิดอัคคีภัย ได้ 99% ใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในฟาร์ม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดความสูญเสียมหาศาลปลอดภัย อุ่นใจ เชื่อถือได้กับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในฟาร์ม ระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ฟาร์มที่มีมาตรฐาน จะทำให้สามารถขยายตลาด ไปยังตลาดทั้งใน และต่างประเทศได้ ส่วนของของ cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL สำหรับฟาร์มที่ต้องการทำคุณภาพ หรือมาตรฐานฟาร์ม เพื่อต้องการส่งออก หรือ เพิ่มช่องทางการขาย ให้กับฟาร์ม ทางฟาร์มโซลูชั่นมี ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดทำระบบมาตรฐาน มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ทีมงานทุกคนผ่านการอบรมมาตรฐาน ความปลอดภัยอาหารระดับเชี่ยวชาญ จากประเทศอังกฤษ ได้รับรองระบบมาตรฐานระดับสากลเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าทั้งทั้งในและต่างประเทศเป็นตัวแทน ของผู้ประกอบการไทยในการตรวจให้ การรับรองในระดับประเทศ เรียกว่ามาที่เดียครบ ทำให้ธุรกิจเติบโต และก้าวหน้า โดยมีผู้มีประสบการณ์ ให้คำปรึกษาด้วยครับ การป้องกันสัตว์พาหะ การป้องกันสัตว์พาหะ จะส่วนประกอบที่สำคัญมาก ในการดูแลฟาร์ และการป้องกันโรค cpf farm solution มีผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม ทีมงานทุกคนผ่านการอบรม จากหน่วยงานราชการ ถูกกฎหมาย วิธีการ & อุปกรณ์ การทำงานทันสมัย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมการจัดการ สัตว์พาหะครบวงจร รู้ทันเร็ว ป้องกันไว กำจัดสัตว์พาหะอย่างถูกวิธี ทำให้การป้องกันโรค ได้ดีขึ้น ปลอดภัยกับฟาร์ม ฟาร์มที่ใช้บริการนี้ จะลดอัตราการตายของสัตว์ในฟาร์ม ลดปัญหาชุมชนร้องเรียนจากสัตว์พาหะ ยกมาตรฐานของฟาร์มเข้าสู่ระบบคุณภาพ สามารถทำเองได้ และ มีทักษะการใช้อุปกรณ์จัดการสัตว์พาหะ ถูกต้อง ปลอดภัย บุคลากรไม่เพียงพอ ขาดเจ้าหน้าที่ ต้องการบุคคลากรเพิ่ม บริการสรรหาบุคลากรและอบรม บริหารจัดการฟาร์ม ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถและทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฏิบัติงานในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ สรรหาบุคลากรได้รวดเร็ว และลูกค้าไม่ต้องเสีย งบประมาณในการประกาศรับสมัครงาน พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรฟาร์มเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น และสร้าง ผลสำเร็จต่อลูกค้าอย่างยั่งยืน เรามีฐานข้อมูลรายชื่อคนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ คัดเลือกบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะที่เหมาะสมเข้ามาปฎิบัติงาน ในตำแหน่งงานตามที่ลูกค้าต้องการ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว เป็นอย่างไรบ้างครับ เว็บที่แนะนำ CFP FARM SOLUTION จะเป็นผู้ช่วยที่มาที่เดียวครบเรื่องการบริหารจัดการฟาร์มเลยครับ ผมหวังว่า ท่านทีต้องการผู้เชียวชาญ หรือต้องการที่ปรึกษาในการบริหารจัดการฟาร์ม เว็บนี้จะตอบโจทย์ และเป็นผู้ช่วยคุณได้เป็นอย่างดีเลยครับ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ตอบโจทย์ 5 ข้อหลัก การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เริ่มสร้าง และ การจัดการฟาร์มในที่เดียว Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.39 l เทคโนโลยีระบบการเลี้ยงหมู ระบบevap ระบบ Auto Feed ลดการสัมผัส l

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.39 l เทคโนโลยีระบบการเลี้ยงหมู ระบบevap ระบบ Auto Feed ลดการสัมผัส l Read More »

แนะนำ ระบบ iot smart farm เพื่อการป้องกันโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค จากบทความก่อนหน้านี้ ที่ได้แนะนำเรื่องระบบการป้องกันโรค ของฟาร์มไปแล้ว ท่านที่สนใจ สามารถดูเพิ่มเติมได้ตาม ลิงก์ด้านล่างนี้ครับ  และสำหรับบทความนี้ ผมจะแนะนำ เทคโนโลยีในการป้องกัน โรคระบาด ที่ผสมผสานกันของ ระบบ iot smart farm ที่นำมาใช้กับฟาร์ม ไม่ว่าจะอยู่ที่ได้ ก็สามารถ เข้าถึงการป้องกันโรคเชิงรุกได้ จากทุกที่ เพราะนอกจาก การเกิดโรคระบาดในสัตว์ แล้ว ก็ยังมี โรคระบาด ของคนด้วย คือ โควิด19 ที่ทำให้หลายๆฟาร์ม ไม่เปิดรับคนนอก หรือว่าไม่มีการตรวจเยี่ยมฟาร์ม เพราะกังวลเรื่องโรคติดต่อ ของคน เพิ่มเข้ามาครับ ไม่ต้องกังวล สำหรับเรื่องนี้ เพราะมีการเตรียมรับมือ ไว้เรียบร้อย ทำให้ทุกฟาร์ม ที่เข้าร่วมโครงการ สามารถเข้าถึง การป้องกัน ได้อย่างทั่วถึง และปลอดภัย ทั้งฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 แก้ปัญหาทั้งโรคระบาด และการเข้าถึงคำแนะนำจากทีม สัตวแพทย์ ได้ทุกที่ วิธีนี้ เป็นการปิดช่องว่าง ของการบริการ ที่เจ้าของฟาร์มจะได้รับจาก ระบบ ในช่วงที่มีโรคระบาด ทั้งในคน และในสัตว์ ได้อย่างดี ระบบนี้ ทำให้ผู้ชำนาญการ ทีมสัตวแพทย์ และทีมสนับสนุนอื่นๆ สามารถไปตรวจฟาร์มได้ จากบุคลากรของฟาร์มเอง ไม่เสี่ยงเรื่องการแพร่กระจายของโรคระบาด ทั้งนี้ สัตวแพทย์ จะสามารถตรวจฟาร์ม เพื่อลดความเสี่ยงด้านโรคระบาด ตามเช็คลิสต์มาตรการป้องกัน และแนะนำได้อย่างถูกต้องเหมือนเข้าไปตรวจฟาร์มเอง ด้วย กล้องที่อยู่กับเจ้าหน้าที่ฟาร์มที่เดินสำรวจ และสามารถสือสารกันได้ตลอดเวลา นอกจากภาพที่เห็นในการตรวจฟาร์ม แล้ว ฟาร์มขนาดกลาง และฟาร์มขนาดใหญ่ที่ใช้ระบบ ไอฟาร์ม ควบคู่กับ iot smart farm จะทำให้สัตวแพย์ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ของฟาร์ม ผ่านระบบ ได้อีกทาง ทำให้วิเคราะห์ และสามารถแนะนำวิธีการ แก้ปัญหา ได้อย่างแม่นยำขึ้นอีกด้วย วิธีการนี้ จะทำให้ เข้าถึงฟาร์มได้อย่างรวดเร็ว และไม่ต้องมีการกักโรค เพราะคนที่เข้าไปเดิน ก็จะเป็นเจ้าหน้าที่ ของฟาร์มที่อยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว สำหรับพื้นที่ ที่เข้าไปตรวจ พื้นที่ หลักๆ  3 พื้นที่ด้วยกันดังนี้ พื้นที่หน้าฟาร์ม ส่วนการติดต่อ ของผู้ที่มาติดต่อกับฟาร์ม ส่วนของสำนักงาน พื้นที่การเลี้ยงสัตว์ พื้นทีเล้าขาย ที่ต้องมีการติดต่อบุคคลภายนอก สำหรับระบบนี้ จะแน้นการตรวจเพื่อการป้องกันโรค ควบคู่กับระบ IA ที่มีการแจ้งเตือนต่างๆ เพื่อเน้นการป้องกันโรคเป็นหลัก และนอกจากนี้แล้ว เทคโนโลยี ในการจัดการฟาร์มที่ใช้งานอยู่ ของผู้ที่สนใจเข้าร่วม หรือเข้าร่วมอยู่แล้ว ก็จะสามารถเข้าถึงคลังความรู้ ที่เป็นประโยชน์ เพื่อการพัฒนาฟาร์มของเราได้อีกด้วย ป้องกัน แนะนำ และพัฒนา ให้ดีขึ้นด้วยระบบ ฟาร์มที่ ใช้งานระบบ ไอ ฟาร์ม จะได้เข้าถึงความรู้ ได้อย่างรวดเร็ว และได้รับ คำแนะนำเพื่อการพัฒนาฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความได้เปรียบในทางธุรกิจ และทำให้สามารถ แข่งขันในตลาดได้อย่างดีอีกด้วย จากระบบที่ ช่วยเหลือการป้องกันโรค มาสู่ระบบ ที่ทำให้เจ้าของฟาร์ม ผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจ และเทคนิคต่างๆ เพื่อการบริหารฟาร์ม พัฒนาประสิทธิภาพการเลี้ยง จากทุกที่ ได้ตลอดเวลา  ระบบนี้จะทำให้ฟาร์มของเรา มีแนวทางใหม่ๆ และข้อมูลในการป้องกัน และพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ทั้งนี้ หากข้อมูลเป็นข้อมูลเฉพาะของฟาร์มนั้นๆ ก็จะมีแต่เจ้าหน้าที่ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม นั้นๆ เข้ามารับคำปรึกษา และคำแนะนำจาก ผู้เชียวชาญ เพื่อป้องกันข้อมูลของฟาร์มไม่ออกไปสู่ภายนอกแน่นอนครับ ประโยชน์ ของ ไอ ฟาร์ม ที่มีดี มากกว่าการป้องกันโรค คือสั่งอาหารได้ อย่าเพิ่งขำครับ อ่านไม่ผิด แต่อาหารที่สั่งเป็นอาหารสัตว์ครับ นอกจากการป้องกันโรคแล้ว ยังมีส่วนเสริมที่สำคัญ ที่ช่วยให้เจ้าของฟาร์ม สะดวกสบายเรื่องการสั่งอาหาร หมดปัญหาการสั่งผิด และได้รับอาหารที่เหมาะสมกับสัตว์ ที่เลี้ยงในแต่ละช่วงวัยอีกด้วย  เพราะปกติ ฟาร์ม จะมีการจดบันทึก การให้อาหารและทำการสั่งเมื่อ ใกล้ครบกำหนด เพื่อให้เพียงพอ และเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ หรืออายุสัตว์ ในแต่ละช่วงวัย จากเดิมที่มีการโทร หรือการไลน์ สั่งอาหาร ระบบก็จะมีการอำนวยความสะดวก ด้วยการให้สามารถสั่งออนไลน์ได้ ระบบนี้จะช่วยให้การสั่งอาหาร มีความถูกต้องมากขึ้น และเมื่อมีการใช้งาน และพัฒนาที่มากขึ้น การสั่งอาหาร ออนไลน์ ก็จะแจ้งเตือน ว่า  ณ เวลานี้ ช่วงอายุนี้ อาหารใดที่เหมาะสม และทำให้การเลี้ยงมีประสิทธิภาพมากที่สุดกับเรา เพื่อทำการสั่งต่อไป เรียกว่า การใช้งานระบบ นอกจากง่าย แล้วยังช่วยให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ต้องการปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย แนะนำที่นี่ cpffarmsolutions.com ครบทุกเรื่องการจัดการฟาร์ม ขนาดกลาง- ฟาร์ม ขนาดใหญ่ สำหรับเจ้าของฟาร์มที่ต้องการ คำแนะนำ ต้องการคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งบริการครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม รับคำแนะนำจาก ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการนี้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ที่ทำให้การป้องกันโรค ประสบความสำเร็จ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ไม่เพียงพอ เรามี คนหางานฟาร์มจำนวนมาก สามารถคัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ และถ้าคุณ ต้องการสร้างธุรกิจฟาร์มมีที่ดิน และเงินทุนในการดำเนินการ แต่ไม่มีผู้แนะนำให้คำปรึกษา หรือต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยง ต้องการพัฒนามาตรฐานฟาร์ม เพื่อส่งออก หรือส่งขายต่อในห้าง โมเดิร์นเทรด ต้องการพันธุ์สัตว์ หรือเข้าถึงบุคลากรที่ต้องการ CPF Farm Solutions เป็นเว็บที่สร้างขึ้นเพื่อ ช่วยให้ธุรกิจของคุณ สำเร็จและเป็นจริงได้ ในตอนหน้าเราจะมาดูกันครับ ว่า CPF Farm Solutions สามารถให้คำปรึกษาเรื่องฟาร์ม แบบใดกับเราได้ แล้วพบกันครับ

2 ระบบ iot smart farm และการป้องกันโรคเชิงรุก ให้ได้ผลก่อนจะเกิดโรค Read More »

แนะนำระบบ smart farm

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564

ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) และ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ อัพเดท  2564 ทำไม เกษตรกร หรือ เจ้าของผู้ดูแลฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ จำเป็นที่จะต้อง รู้เรื่องการจัดการฟาร์มแบบใหม่ และระบบ smart ฟาร์ม ระบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มของเรา ดีขึ้น ผลผลิตมากขึ้น เจ้าของฟาร์ม เจ้าหน้าที่ และพนักงาน มีความสุขในการทำงานขึ้น ได้อย่างไร ? เรามาดูกันครับ รับรองไม่ยุ่งยาก และเข้าถึงได้ ง่ายๆเลย ระบบ Smart Farm (สมาร์ทฟาร์ม) หรือฟาร์มอัฉริยะ ระบบนี้ เป็นระบบที่ คอยช่วยเหลือ และคอยดูแลฟาร์มของเรา ให้มีประสิทธิภาพในการผลิด และใช้ต้นทุนในการดูแลที่น้อยลง ทำให้ฟาร์มของเรา ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น และกำไรที่มากขึ้น นอกจากนี้แล้ว ยังมีการเฝ้าระวัง คอยดูแล เรื่องการจัดการความเสี่ยงเรื่องโรคได้อีกด้วย สามารถดูข้อมูลฟาร์มของเรา หรือรับการแจ้งเตือนทางมือถือ ในเรื่องต่างๆ ได้ ทำให้ผู้บริหารฟาร์ม ตัดสินใจ และวางแผนการดำเนินงาน ได้ดีขึ้น แล้ว ระบบ Smart Farm มีอะไรบ้าง? ส่วนพื้นฐานการดูแลฟาร์ม ระบบจะดูแล ในทุกส่วน เช่น การเกิด การกินอาหาร น้ำ การตาย และเน้น ประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเป็นหลัก โดยจากเดิมที่เราต้องกรอกข้อมูลไว้ในกระดาษบ้าง ใน โปรแกรม excel บ้าง และไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์สูงสุด ระบบนี้ จะเป็นตัวช่วยจัดการได้เป็นอย่างดี ว่า สัตว์ที่เราเลี้ยง ได้รับอาหาร เหมาะสมกับการเติบโตไหม และอาหารที่เลือกใช้ เหมาะสมกับการเลี้ยสัตว์ของเราหรือเปล่า สูตรไหน ที่เราควรจะใช้ ในวัยไหนของสัตว์ที่เราเลี้ยง เพื่อดูอัตราการแลกเนื้อกับอาหารที่เราลงทุนไป ทำให้มีข้อมูลในการตัดสินใจ ว่าจะทำการปรับอาหาร หรือต้องทำอย่างไรต่อไป นอกจากนี้แล้ว ในกรณีที่หากมีความผิดปกติ จากมาตรฐานที่เราได้ตั้งไว้ ที่อาจจะทำให้ สัตว์ของเรา อาจจะไม่ได้ตามมาตรฐานที่วางไว้ ก็จะ มีการแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์มทราบทันที เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข ต่อไป สำหรับความช่วยเหลือ ก็จะมาทั้งจาก ทีมงานที่ดูแล และส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการแก้ไขปัญหาของฟาร์มที่อาจจะเกิดขึ้นได้ อย่างทันท่วงที ตัวอย่างการแจ้งเตือน หนึ่งในการ แจ้งเตือน เมื่อมีความผิดปกติ ในการกินอาหาร ที่เจ้าของ และผู้ดูแลจะได้รับ เพื่อป้องกันความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ เราสามารถมาดูย้อนหลัง และวางแผน หรือขอคำแนะนำ เพื่อป้องกันการเกิดขึ้นในอนาคตได้ ระบบนี้จะช่วยในการคำนวน และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้องเข้าไปแก้ไขก่อนปัญหาจะเกิดขึ้น สมาร์ทฟาร์ม iot ระบบที่จะช่วยให้เจ้าของฟาร์ม รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม แบบทันที ระบบนี้ จะเข้ามาช่วยลดหน้าที่ ของพนักงาน และสัตวบาล ในการเข้ามากรอกข้อมูล เรื่องอุณหภูมิ ความชื้น ความเร็วลมในโรงเรือน ในส่วนนี้ จะมีตัวเซ็นเซอร์ เข้าไปติดตั้ง และให้เจ้าของฟาร์ม สามารถดูข้อมูลได้ตลอดเวลา และยังช่วยประมวลผล ว่า สิ่งแวดลอมแบบใด ที่เหมาะกับสัตว์ หรือ ไม่เหมาะสม และเอามาเพื่อวิเคราะห์ ประสิทธิภาพในการเลี้ยง ได้ต่อไป จึงเป็นความสำคัญที่ทำให้ คุณภาพการเลี้ยง ดีขึ้น ส่งผลไปถึงผลผลิตได้ดีขึ้นด้วย ระบบ Smart Farm Solution บอกอะไรเราบ้าง? ระบบจะทำการแจ้งเตือน สถานะการทำงาน และสภาพแวดล้อมในโรงเรือน แจ้งเตือนความผิดปกติในการทำงาน ในระบบต่างๆ เช่น พัดลมไม่ติด อุณหภูมิสูงขึ้น ความชื้นหรือระดับน้ำต่างๆ ที่เป็นตัวแปรสำคัญของโรงเรือน แสดงค่าการวิเคราะห์ ผลการทำงาน เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม สามารถบริหารงานผ่านระบบมือถือ ระบบ Smart Farm มีส่วนช่วยอย่างมากให้ สภาพแวดล้อมในฟาร์ม พอเหมาะพอดี กับการเป็นอยู่ของสัตว์ เมื่อสัตว์ มีความเป็นอยู่ที่ดีแล้ว การกินอาหาร และการเติบโตก็ดีไปด้วย ข้อดี ของ ระบบ Smart Farm อีกอย่าง คือ เมื่อระบบเรียนรู้แล้ว ว่า สภาพแวดล้อมใดที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต สัตว์ กินอาหารได้ เติบโตดี เป็นไปตามมาตรฐาน ที่ต้องการ ระบบก็จะ พัฒนา และปรับทุกอย่างแนะนำ ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สัตว์ต้องการ เพื่อให้เป็นระบบออโต้มากขึ้น ตัวอย่างหน้าจอของระบบ สมาร์ทฟาร์ม สามารถดูข้อมูลที่เกียวข้องกับ การจัดการระบบ อีแวป และการจัดการโรงเรือน ได้ที่นี่ แนะนำครับ มีเอกสารให้โหลด ครบ https://cpffeedsolution.com จัดการโรงเรือนอีแวป ระบบอินเวอร์เตอร์ให้ใช้ประโยชนให้เต็มประสิทธิภาพ  ทั้งนี้ เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ก็จะสามารถ ใช้ประโนชน์ จากข้อมูลที่เก็บมา ได้เติมประสิทธิภาพ ดังนี้ คาดการณ์ ประสิทธิภาพการเลี้ยง ผลผลิตโดยประมาณการณ์ เปรียบเทียบประเภทอาหาร ที่เหมาะสมกับการเลี้ยง ระบบสมาร์ทฟาร์ม iot กับการป้องกันโรค เป็นระบบที่ไว้ป้องกันโรค จากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม ใช้ในการป้องกันการสัมผัส ระหว่างลูกค้าที่มารับสัตว์ และฟาร์ม ซึ่งอาจจะมีการสัมผัสกับพนักงานในฟาร์ม อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายโรคได้ ระบบจะมีการตรวจจับ บุคคลในฟาร์ม และบุคคลภายนอกฟาร์ม เพื่อคำนวนความเสี่ยง และการสัมผัสโรค ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยระบบป้องกันโรค จะมีการจับภาพ และแจ้งเตือนเข้าไปในไลน์ให้กับผู้เกี่ยวข้อง และสามารถดูย้อนหลังได้ ดูสรุปได้ เพราะหากการป้องกันโรคไม่ดี จะทำให้ฟาร์มเสียหายได้ ทั้งนี้เมื่อมีการแจ้งเตือนหรือส่งภาพแล้ว อาจ เนื่องมาจากการเข้าพื้นที่เฝ้าระวัง ก็จะมีการเตือน เพื่อเป็นการป้องกัน ในขั้นแรก และแจ้งให้ผู้ที่เกียวข้อง ดำเนินการขั้นตอนความปลอดภัยต่อไป ในการแจ้งเตือนของระบบก็จะมีการแจ้งเตือน ตั้งแต่ ถ้ามีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อ หรือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการป้องกันเชิงรุก ก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้นกับฟาร์ม ทั้งนี้ พนักงานที่มีโอกาส จะสัมผัส หรือสัมผัสไปแล้วจะต้องถูกดำเนินการตาม มาตรการการป้องกันโรคต่อไป เช่นมีการกักตัว และเมื่อได้เวลาตามที่กำหนดแล้ว จึงจะสามารถกลับมาทำงานได้ตมามปกติ มาตรการในการป้องกันโรค แบบนี้ จะช่วยให้ฟาร์มปลอดภัย และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับฟาร์มได้ เป็นอย่างดี เพราะจุดที่มีการซื้อขาย รถที่มารับซื้อ อาจจะมาจากฟาร์มที่มีการติดเชื้อ ตลาด หรือแหล่งอื่นๆ และทำให้เชื้อเข้าสู่ฟาร์มได้ ดังนั้นการป้องกันด้วยระบบ ก็จะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับเจ้าของฟาร์ม หรือผู้จัดการฟาร์ม ทำไม ? การป้องกันโรค จึงเป็นส่วนสำคัญ ในการจัดการฟาร์ม สำหรับการป้องกันโรค ที่จะเข้าสู่ฟาร์มนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากยกตัวอย่างเช่น โรค AFS หรือ โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เป็นโรคที่ไม่มีวัคซีนในการดูแลรักษา และก่อความเสียหายให้อย่างมากใน ฟาร์ม ดังนั้น การป้องกัน ด้วยระบบ เป็นเรื่องที่จำเป็น ที่ฟาร์ม ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ดังที่ว่า ถ้าสัตว์ในฟาร์มไม่ถึงมาตรฐาน ยังสามารถขายได้ แต่หากเป็นโรคแล้ว ไม่สามารถทำอะไรได้เลย การป้องกันโรคจึงเป็นส่วนสำคัญมากในการจัดการฟาร์ม แนะนำ CPF FARM SOLUTION ศูนย์รวมบริการสำหรับธุรกิจฟาร์มครบวงจร สำหรับท่านเจ้าของฟาร์ม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบ การจัดการฟาร์ม สามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่ ซีพีเอฟ ฟาร์มโซลูชั่น บริการทั้งหมด นอกจากระบบ Smart Farm แล้ว ยังให้บริการอื่นๆดังนี้ ระบบด้านไฟฟ้า และวิศวกรรมโรงงาน ผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา ดูแลระบบจัดการฟาร์มครบวงจร และการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรคในฟาร์ม เพื่อให้การจัดการฟาร์มให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด โดยยึดหลักการนำเทคโนโลยรสมัยใหม่ ช่วยให้การเลี้ยงสัตว์เป็นเรื่องง่าย ให้คำปรึกษาและการนำเทคโนโลยีด้านการบริหารจัดการฟาร์ม ป้องกันโรค จำกัดศัตว์พาหะ อีกทั้งยังมีบุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี ในการบริหารจัดการฟาร์ม บริการสรรหาบุคคล และการอบรม คัดเลือกคนตรงตามคุณสมบัติที่ต้องการได้ สามารถคัดกรองประวัติได้เบื้องต้นทำให้ไม่เสียเวลามาก และดำเนินงานโดยทีมงานมืออาชีพ เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง กับการจัดการฟาร์ม 📌ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

ระบบ smart farm และการจัดการฟาร์มสมัยใหม่ 2564 Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.38 l สร้างธุรกิจออนไลน์ด้วย Line Official Account สำหรับธุรกิจปศุสัตว์ l

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.38 l สร้างธุรกิจออนไลน์ด้วย Line Official Account สำหรับธุรกิจปศุสัตว์ l Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.37 l ไขความลับ น้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ l

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.37 l ไขความลับ น้ำยาฆ่าเชื้อ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ l Read More »

แนะนำ มาตรฐานฟาร์มสุกร

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ บทความนี้เรามาดูกันครับ ว่า ถ้าเราต้องการทำให้ฟาร์มของเรามีมาตรฐาน แล้ว มาตรฐานฟาร์มสุกร คืออะไรและมีประโยชน์กับ ฟาร์มของเราอย่างไร บทความนี้ ผมจะแนะนำให้เพื่อนๆ ให้รู้กันครับ ว่า มีมาตรฐานอะไรบ้าง และทำไมเราต้องมี มาตรฐาน ด้วยภาษาง่ายๆ และครบทุก เรื่องที่ควรรู้ ก่อนที่จะทำฟาร์มใหญ่ๆ กันครับ (ระดับ หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป , หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป ) อย่างแรกมาดูกันก่อนครับ ว่า ฟาร์มสุกร หมายถึงอะไร ในที่นี้ ฟาร์มสุกร หรือฟาร์มเลี้ยงหมู ของเราคือ ฟาร์มที่ผลิตสุกรขุนเพื่อการค้า ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกร และฟาร์มเลี้ยงสุกร นั้นเองครับ ง่ายๆเลย และผมขอแบ่งข้อมูลที่เราควรรู้ออกเป็นย่อยๆ ให้เพื่อนๆให้อ่านกันครับ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน ตามที่ผมสรุปมาให้ ในแต่ละส่วน จะมีไฟล์ หรือเอกสารให้โหลดด้วยนะครับ ทั้งนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปที่เว็บนั้นๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร หรือมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงหมู มีไว้เพื่ออะไร ? สำหรับ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ ได้ ยึดถือปฏิบัติ  ให้เป็นแนวทางเดียวกัน  และ เพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ที่เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้ เป็นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้การรับรอง ดังนั้น เพื่อนๆท่านใดที่ต้องการได้ รับการรับรอง หรือ มีมาตรฐาน ก็ต้องดำเนินการตามนี้ครับ การทำให้ฟาร์มของเรา มีมาตรฐาน ตามที่กรมกำหนดไว้ ก็เพื่อให้ฟาร์มของเรา มีการกำหนดวิธีปฏิบัติด้านการจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้สุกรที่ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมกับผู้บริโภค แน่นอนครับ ทำให้สินค้าฟาร์มของเรา ขายง่ายขึ้นด้วย ฟาร์มของเรา ก็ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้ ทำเลที่ตั้ง อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก ง่ายต่อการเดินทาง สะดวกต่อการขนส่งอาหารและการขนย้ายสุกร สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และได้รับการยอมรับจากชุมชน เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ไม่อยู่ใกล้กับฟาร์มสุกรรายอื่น เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม มีพื้นที่รองรับการระบายน้ําใช้แล้วอย่างเพียงพอ ลักษณะของฟาร์ม และเนื้อที่ภายในฟาร์ม การวางผังฟาร์มที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น มีความสำคัญมาก เพราะทำให้ง่ายตอการจัดการ ภายในฟาร์ม พนักงาน ทำงานได้อย่างสะดวก สามารถเลี้ยงหรือผลิตสุกรได้ดี ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำลง การวางผังฟาร์มควรคำนึงถึง เรื่องต่างๆดังนี้ ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ๆเรามีได้มากที่สุด โรงเรือนและพื้นที่ใช้เลี้ยงสุกรของเราต้องเหมาะสมกับจำนวนที่เลี้ยง การจัดวางโรงเรือน แยกเป็นกลุ่มตามระยะการผลิต (ผสม-คลอด-อนุบาล-ขุน) เพื่อความสะดวกในการจัดการ การควบคุม และการขนย้าย อันนี้ถ้าจัดให้ดีแล้ว การทำงานจะราบรื่น คล่องตัว เนื้อที่ของฟาร์ม ต้องมีเนื้อที่ เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม  จำนวนสุกร  ขนาดโรงเรือน ในส่วนต่างๆ ที่เหมาะสม กับจำนวนและเนื้อที่ครับ ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาว์นโหลด ได้ที่นี่ครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์โหลดฟรี https://www.cpffeed.com/2019/12/22/download-howto/   การจัดแบ่งเนื้อที่ ภายในฟาร์ม ฟาร์มสุกร ต้องมีเนื้อที่เพียงพอเพื่อ การจัดแบ่ง ออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น โรงเรือน ต้องเป็นระเบียบสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ไม่ติดกันจนหนาแน่น จนไม่สามารถจัดการได้ ในการผลิต ที่ต้องให้มีที่ว่าง หรือมีการจัดพื้นที่ทีดี ก็จะมีผลดีกับการดูแลสัตว์ รวมถึงการป้องกันและ ควบคุมโรคสัตว์ และรวมถึง สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานด้วยครับ ในการจัดการเรื่องมาตรฐานฟาร์ม จะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน และต้องมี ผังแสดงการจัดวาง ต่างๆในฟาร์ม เหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวแล้วจะมีแผนที่ในอาคารบอกว่า เราอยู่ตรงไหน และถ้าจะไปที่ไหน ต้องไปยังไง นั้นแหละครับ การเดินทางภายในฟาร์ม เส้นทาง หรือ ถนนในฟาร์ม ควรจะเป็นถนนที่ดี ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ ราบเรียบ เดินทางสะดวก กว้างขวางเหมาะสม เพื่อสะดวกกับการลำเลียง อาหาร ขนส่งสัตว์ และเจ้าหน้าที่  ถ้ามีการวางแผนที่ดีแล้ว จะทำให้ประหยัดเวลาการเดินทาง และง่ายต่อการทำงานภายในฟาร์มครับ ส่วนของอาคารสำหนักงาน และที่อยู่อาศัย ควรเป็นที่เฉพาะ เป็นสัดส่วน แข็งแรง สะอาด ไม่สกปรก และเพียงพอกับเจ้าหน้าที่ ควรแยกห่างจากที่เลี้ยงสัตว์ มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณฟาร์เลี้ยงสุกร ลักษณะของ โรงเรือนที่ดี โรงเรือนที่ดี ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ถูกสุขอนามัย สัตว์อยู่สุขสบาย แนะนำว่าต้องสะอาด แห้ง และต้องสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ปลอดภัยกับการบปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ ในการใช้งานโรงเรีอนต้องมี แนวทางดังนี้ มีการจัดการโรงเรือน และเตรียมความพร้อมก่อนนำสัตว์เข้าสู่โรงเรือน มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเซื้อโรคตามความเหมาะสม ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ การจัดการด้านบุคลากร จำนวนพนักงาน หรือแรงงานที่ต้องใช้ ต้องมีจำนวนพนักงานเพียงพอ เหมาะสมกับจำนวนสัตว์เลี้ยง ต้องมีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดแจน มีการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกปี มีสัตวแพทย์ ควบคุม ดูแลป้องกัน กำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และต้องมีใบอนุญาต การประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์ ฟาร์มต้องมี คู่มือการจัดการฟาร์ม ให้เรียบร้อย ในถานะเจ้าของการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม มีระบบการบันทึก การป้องกันควบคุม โรค และการดูแลสุขภาพ และอนามัย สัตว์ในฟาร์ม ระบบบันทึกข้อมูล ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ดังนี้ บุคลากร แรงงาน ข้อมูลการผลิต ได้แก่ ข้อมูลสัตว์ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการผลิต และข้อมูลผลผลิตการจัดการด้านอาหาร ครบถ้วน คุณภาพอาหารสัตว์ เรื่องของคุณภาพ อาหารสัตว์ ต้องมี แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ ที่เราใช้ในฟาร์มแบ่งออกได้ เป็น 2 อย่าง ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ.2525 ข. ถ้าเราผสมอาหารสัตว์เองต้องมีคุณภาพ อาหารสัตว์เป็นไปตามกำหนด ตามกฎหมาย ตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 สามารถดูรายละเอียดได้ตามลิงก์ ด้านบนครับ ภาชนะบรรจุอาหาร และการขนส่งอาหารภายในฟาร์ม ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือ วัตถุอื่นใดที่อาจเป็น อันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบ ด้วยสารอื่น สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์ ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการ ที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและ สารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจ วิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้ การเก็บรักษาอาหารสัตว์ ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษา สภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่าง ของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจาก ฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์มไปสู่ภายนอก การบำบัดโรค การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505 การใช้ยาสำหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540) การจัดการสิ่งแวดล้อม ประเภทของเสีย ของเสียที่เกิดจากฟาร์มปศุสัตว์ จะประกอบด้วย ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้ง ในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซากสุกร ฟาร์มจะต้องมีการจัดการกับซากสุกรให้ถูกสุขลักษณะอนามัย มูลสุกร นำไปทำปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญ ต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด การกำจัดหรือบำบัดของเสีย ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของการจัดการฟาร์ม คู่มือ การจัดการสิ่งแวดล้อมและ มาตรฐานฟาร์มสุกร : http://certify.dld.go.th   แนะนำผู้ช่วย ให้คำปรึกษา และจัดการทุกเรื่องในฟาร์ม เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ดูเหมือนว่า แล้วจะเริ่มที่ไหนดี ถ้าเราต้องการทำ มาตรฐานฟาร์มสุกร แนะนำ ที่นี่ครับ ถ้าคุณ ต้องการที่จะ ต้องการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องการขยายตลาด หรือหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ ยกระดับ มาตรฐานการขายเข้าสู่ Modern trade และส่งออกไปต่างประเทศ ปรึกษาได้ที่นี่ครับ  https://www.cpffarmsolutions.com ตอบได้ทุกความต้องการ เป็นคนทันสมัย อยากทำ Smart Farm ต้องการ หาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ มีผลการเลี้ยงไม่ดี มีปัญหาความเสียหาย และ ยังแก้ไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ มืออาชีพ ที่มี หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป หรือ หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป มีเล้า 10 หลังขึ้นไป (650-700 ตัว) แน่นอนว่า ไม่ได้มีแค่การจัดการฟาร์อย่างเดียว แต่รวมไปถึง ให้คำแนะนำ ปรึกษา เรื่องเจ้าหน้าที่ และกำลังคน การกำจัดสัตว์พาหะ การดูแลด้านไฟฟ้าและ วิศวกรรม เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564  

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564 Read More »

มาตรฐานฟาร์ม

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร ในฐานะเจ้าของฟาร์ม ขนาดใหญ่ ต้องรู้อะไรบ้าง หลังจากที่เรา ได้วางแผน เรื่องการสร้างฟาร์ม ขึ้นมาแล้ว มีอะไรบ้างในฐานะที่เราเป็นเจ้าของ และผู้ดูแลต้องรู้บ้าง เพื่อประโยชน์ของฟาร์ม และสัตว์ที่เราเลี้ยง มาทำความเข้าใจกันเลย ว่าทำไมต้องมี มาตรฐานฟาร์ม สำหรับการเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทย และเราก็จะ โกอินเตอร์ไปด้วยกันนะ องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีหน้าที่ดูแลและกำหนดมาตรการต่างๆ ในการส่งออกสินค้าสู่ตลาดประเทศ ซึ่งเริ่มมีการบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2543 ประเทศต่างๆ ที่เป็นสมาชิกองค์กรดังกล่าว จึงมีความตื่นตัวและจำเป็นที่จะต้องปรับตัวเพื่อการแข่งขันทางการค้ามากขึ้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตปศุสัตว์ในประเทศไทย คือ กรมปศุสัตว์ ได้ออกกฎ ระเบียบ กฎหมาย รวมถึงมาตรฐานต่างๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก และองค์กรโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ทำให้ใครก็ตาม (รวมถึงเราด้วย ต้องมี มาตรฐาน) เพื่อเป็นไปตามข้อกำหนด ทั้งในประกเทศแลต่างประเทศ กรณีที่เราต้องส่งออก ถ้ามองในมุมกลับกัน ถ้าเราเป็นผู่บริโภค หรือว่าคนที่ต้องการซื้อหาสินค้า และอาหารที่เกี่ยวกับเนื้อสัตว์ หรือสินค้าอื่นๆ เราก็จะมั่นใจได้ว่า อาหาร หรือสินค้า ที่เรากำลังจะเลือกซื้อ ปลอดภัยกับ เราและครอบครัว หรือคนที่เรารักครับ มาตรฐานการผลิตสินค้าทางการเกษตร (GAP) และด้านการผลิตปศุสัตว์ ซึ่งมีมาตรฐานที่สำคัญดังนี้ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การควบคุมการใช้ยาในมาตรฐานฟาร์มปศุสัตว์ ข้อกำหนดการควบคุมการใช้ยาสำหรับสัตว์ มาดูรายละเอียด มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต่อไปขอเรียกว่า กระทรวง นะครับ ได้มีการ ประกาศเรื่องมาตรฐาน ไว้ 3 เรื่อง คือ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่ หมู โคนม และการผลิดน้ำนมดิบ ในประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขอใบรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์จากกรมปศุสัตว์ ดำเนินการ ยื่นคำร้องพร้อมด้วยหลักฐานต่อปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ฟาร์มตั้งอยู่ หลังจากที่เรายื่นแล้ว ก็จะมี เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ เข้ามาที่ฟาร์มของเรา และไปทำการตรวจสอบฟาร์มเพื่อดำเนินการต่อไป ทำไม ? ต้องจัดทำมาตรฐานฟาร์ม อย่างแรกก็เพื่อให้ ฟาร์มของเราเป็นที่ยอมรับ และลูกค้าก็จะยอมรับ เพราะว่ามีคุณภาพ อีกทั้งมีมาตรฐานเดียวกันด้วย ง่ายๆคือคนซื้อก็จะได้สบายใจ เป็นการบอกกับผู้บริโภค หรือลูกค้าของเราว่า เขาจะปลอดภัย จากสินค้าและผลิตภันฑ์ จากฟาร์มเรา เราได้รับมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ เช่น มีสินค้าสองชิ้น อีกชิ้นมีรับรอง อีกชิ้น ไม่มีอะไรรับรองเลย ถ้าเราต้องเลือก เราก็จะเลือกอันที่ดูปลอดภัยใช่ไหมครับ ถ้าเราได้มาตรฐานฟาร์มตามที่กำหนด เราจะได้ความสะดวกในการส่งออก เป็นการควบคุมมลภาวะจากฟาร์ม ที่อาจจะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน ทำให้สามารถควบคุมโรค ป้องกัน และกำจัดโรคได้ ถ้าเราลองทำความเข้าใจ แล้ว หลักๆของการจัดทำ มาตรฐานฟาร์ม ทั้ง 5 ข้อข้างต้นนี้ ก็เพื่อให้ 3 ส่วนที่สำคัญกับ เรา คือ เราเอง ที่เป็นเจ้าของฟาร์ม  ลูกค้า หรือผู้บริโภค และชุมชนรอบเรา ทุกอย่างสนับสนุน และช่วยเหลือกัน ผู้บริโภคก็จะ มั่นใจ กับสินค้า และเจ้าของฟาร์มก็มั่นใจ ในสินค้า และผลิตภันฑ์ ของตัวเองด้วย ในส่วนของชุมชนรอบฟาร์ม ก็จะได้อยู่กันอย่างดี ไม่มีมลภาวะ เรื่องเสียง กลิ่นรบกวน และเรื่องที่สำคัญที่สุด คือการควบคุม และป้องกันโรคในฟาร์ม ไม่ให้มีการติดต่อจากภายนอก หรือจากเราไปสู่ฟาร์มอื่น ส่วนประกอบสำคัญของฟาร์มที่ขอใบรับรองมาตรฐาน มีที่อยู่ชัดเจน และมีการออกแบบฟาร์ม หรือสิ่งก่อสร้าง โรงเรือน ที่เหมาะสม การออกแบบที่ดี จะทำให้เราใช้พื้นที่ได้เหมาะสม และมีประโยชน์ที่สุด ก่อนเข้า ออกฟาร์ม ต้องมีการฆ่าเชื้อโรค หรือมีการป้องกันการแพร่เชื้อจากภายนอก มีการจัดการของเสียจากฟาร์ม ตามหลักสุขาภิบาล ขนาดของโรงเรือน ต้องเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ จัดการเรื่องอาหารสัตว์อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามหลัก สุขศาสตร์ มีการจดบันทึกข้อมูล และจัดทำคู่มือการจัดการฟาร์ม มีการดูแลเรื่องสุขภาพ โปรแกรม การให้วัคซีนป้องกันโรค และการให้ยำรักษาเมื่อสัตว์เป็นโรค มีการจัดการส่วนของบุคลากร สัตวแพทย์ สัตวบาล เพียงพอเหมาะสมกับจำนวนสัตว์ และมีสวัสดิการสังคม และการตรวจสุขภาพประจำปีให้บุคลากร ถ้าฟาร์มของเรามี มาตรฐาน แล้วจะมีประโยชน์อย่างไร สำหรับเจ้าของฟาร์มแล้ว ถ้าฟาร์มของเรามีมาตรฐาน ถูกต้องครบถ้วนแล้ว จะมีประโยชน์หลายอย่างกับฟาร์ม มากๆเลยครับ เพราะว่า เมื่อเราทำตามข้อกำหนดเรื่องความปลอดภัย การควบคุมโรค การดูแล เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์ม รวมไปถึงสัตว์ ที่เราเลียงอย่างดีแล้ว ฟาร์มของเราก็จะได้ประโยชน์ดังนี้ กรณีที่เป็นฟาร์ม โคนม และสุกร สามารถ ทำการเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้า หรือผ่านเขตปลอดโรคระบาดได้ โดยต้องปฏิบัติตาม ระเบียบกรมปศุสัตว์ว่าด้วยการนำเข้าหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร ฟาร์มของเราจะได้รับการจัดสรร วัคซีนป้องกันโรค ปากและเท้าเปื่อย และโรคอหิวาต์สุกรให้มีจำหน่ายอย่างเพียงพอ ตามปริมาณสุกรของฟาร์มเลี้ยงสุกรมาตรฐาน เพราะจากบันทึก และการแจ้งจำนวนสัตว์ของฟาร์มที่ได้ทำการแจ้งไว้ ฟาร์มของเราจะได้รับ บริการ การทดสอบโรคแท้งติดต่อในพ่อแม่พันธุ์สุกร รวมทั้งโรคแท้งติดต่อและวัณโรคในโคนม โดยไม่คิดมูลค่าสำหรับฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และนอกจากนี้แล้ว กรมปศุสัตว์จะให้บริการตรวจวินิจฉัย และชันสูตรโรคสัตว์ โดยไม่คิดมูลค่า สำหรับตัวอย่างที่ส่งตรวจ จากฟาร์มเลี้ยงสัตว์มาตรฐาน ประโยชน์เยอะใช่ไหมครับ ในฐานะเจ้าของฟาร์ม การที่จะทำให้ฟาร์มของเราได้มาตรฐาน เป็นเรื่องสำคัญ และดีกับฟาร์มของเรา ดีกับลูกค้า และสังคมรอบโรงงานเราด้วย แล้วเราจะเริ่มขั้นตอนการทำ หรือการจัดการมาตรฐานต่างๆ ได้อย่างไร เอกสารต่างๆ สามารถเข้าดูได้จากที่นี่ http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/2016-05-01-14-47-42/2016-05-03-02-04-15 จะมีเอกสาร และเช็คลิสต์ว่าต้องทำอะไรบ้าง ขั้นตอนและวิธีการ เดี๋ยวครับ อย่างเพิ่มถอดใจ หรือว่า ดูว่าขั้นตอนและเอกสาร มีเยอะและซับซ้อน  ผมจะบอกว่า จริงๆ แล้ว มีผู้ช่วย หรือมืออาชีพที่คอยดูแล และจัดการครบทุกอย่างของเรื่องฟาร์มไว้ในที่เดียว เหมือนว่าเป็นพี่เลี้ยงให้ ในตอนที่เราเริ่มสร้าง ดีกว่าที่มีคนที่เราปรึกษาได้ เป็นมืออาชีพ และช่วยเหลือ ที่เหลืออย่างเดียว คือความมุ่งมั่น ที่จะทำให้ฟาร์ม หรือธุรกิจที่คุณต้องการเริ่มสำเร็จ ที่นี่เป็นเพื่อน เป็นคู่คิด และเป็นมืออาชีพ เข้ามาหา ปรึกษา ขอคำแนะนำ ได้ที่นี่ครับ https://www.cpffarmsolutions.com และเข้ามาที่เมนู บริการลูกค้าอาหารสัตว์ > บริการระบบมาตรฐานฟาร์ม และผลิตภันฑ์ เข้าโดยตรงได้จากลิงก์นี้ https://www.cpffarmsolutions.com/service-excellent/gap-service ที่นี่มีมืออาชีพ ที่อยู่ในธุรกิจ มามากว่า 20 ปี เชียวชาญในทุกเรื่องฟาร์ม เช่น บริการให้คำปรึกษา แนะนำ อบรม และช่วยตรวจประเมินฟาร์ม หรือโรงงานของลูกค้าอาหารสัตว์บก ซีพีเอฟ เพื่อใช้ในการยื่นขอมาตรฐานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานฟาร์ม GAPระบบมาตรฐานและความปลอดภัยฟาร์ม (GAP/ SHE) และ ระบบมาตรฐานและความปลอดภัยโรงงาน (GHP/ HACCP/ HALAL/ SHE/ ISO 9001) เพื่อให้ได้มาซึ่งการรับรองคุณภาพของการผลิตอาหารส่งต่อความมั่นใจให้ตลาดชั้นนำและผู้บริโภค เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง 📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ 📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)