Logo-CPF-small-65png

cpffeed

มาตรฐาน HACCP ฟาร์ม คืออะไร

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3   สำหรับมาตรฐานที่ 3 ที่เราจะได้รู้จักกัน คือมาตรฐาน HACCP ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มครับ สำหรับมาตรฐานนี้จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับ  ความปลอดภัยอาหาร การผลิต การแปรรูป และการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในฟาร์มผลิตที่ปลอดภัย GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HACCP อ่านว่า แฮซเซป เป็นตัวย่อจากคำภาษาอังกฤษ ที่ว่า Hazard Analysis Critical Control Point ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์อันตราย และจุดควบคุมวิกฤต เป็นแนวคิดเกี่ยวกับ มาตรการป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น ในแต่ละขั้นตอนการผลิต หรือขั้นตอนการเลี้ยงครับ นอกจากนี้คำเรียกที่เรา อาจจะได้ยิน บ่อยๆ ว่า เอช เอ ซี ซี พี ตามที่เราได้เคยได้ยินครับ ก็เป็นอันเดียวกัน ครับ สามารถเข้าใจได้ ^^ มาตรฐานฟาร์ม HACCP สำหรับฟาร์ม เป็นระบบการจัดการสุขอนามัยที่ใช้ในฟาร์ม ซึ่งผสานรวม หลักการของ “ระบบ HACCP” แต่ว่าวิธีการจัดการสุขอนามัย ที่ปฏิบัติในฟาร์ปศุสัตว์จะแตกต่างกัน กับโรงงานแปรรูปอาหาร ที่ได้รับ มาตรฐานการรับรอง HACCP เพราะเป็นคนละรูปแบบกัน  สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จึงนำเสนอมาตรฐานสำหรับการสร้างระบบการจัดการ สุขอนามัยที่เหมาะสมและการดำเนินการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในการผลิต สัตว์และผลิตภัณฑ์ สัตว์ปลอดภัยด้วยการตระหนักถึงลักษณะเฉพาะ ของฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ มาตรฐานการรับรอง HACCP สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความร่วมมือ และการสื่อสารร่วมกัน เพื่อให้ฟาร์มที่ต้องการสร้างมาตรฐาน เข้าใจความสอดคล้องกับความสำคัญสูงสุดที่ว่า ความปลอดภัยของอาหารเป็นเรื่อง “ตั้งแต่ฟาร์มจนถึงโต๊ะ อาหาร” ธุรกิจทั้งหมดในห่วงโซ่อาหารจะทำงานร่วมกันเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบด้านความ ปลอดภัยของอาหาร HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์มุ่งเน้นว่าการสื่อสารร่วมกันจะต้องได้รับ การปฏิบัติอย่างจริงจังที่สุด 2. การวางแผน HACCP และการจัดการสุขอนามัยทั่วไป HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์จะดำเนินการวิเคราะห์อันตราย (HA) ในทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กับการผลิต รวมถึงวัตฤดิบ สภาพแวดล้อมการผลิต สิ่งอำนวยความสะดวก และวิธีการทำงาน จากนั้น จะกำหนดจุดควบคุมวิกฤต (CCP) สำหรับการจัดการแบบเข้มข้น นอกจากนี้ยังจัดการกับอันตรายที่ สามารถควบคุมได้ด้วยการจัดการสุขอนามัยทั่วไปผ่านสิ่งที่เรียกว่าโครงการจัดการสุขอนามัยทั่วไป 3. กลไกสำหรับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง HACCP สำหรับฟาร์มปศสัตว์มุ่งปรับปรุงความปลอดภัยของปศสัตว์และผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และผลิตภาพโดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบความ ถูกต้อง และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 4. การนำไปใช้กับฟาร์มทุกแห่ง HACCP สำหรับฟาร์มปศุสัตว์สามารถใช้ได้กับฟาร์ปศุสัตว์ทุกแห่งไม่ว่าจะมีขนาดเท่าใดก็ ตาม แม้แต่ฟาร์มขนาดเล็กที่ดำเนินกิจการโดยครอบครัวก็สามารถสร้างระบบ HACCP ได้ด้วยความ ช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญระบบ HACCP ภายนอก สัตวแพทย์ CPF Farm solitions และองค์กรที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ HACCP สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม HACCP ว่าสำหรับฟาร์มของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ

มาตรฐาน HACCP คืออะไร 1 ใน 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 3 Read More »

ปศุสัตว์แจ้งเตือนหวัดนกระบาดในญี่ปุ่น

   นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากรายงานของกระทรวงเกษตรญี่ปุ่นวันที่ 10 พ.ย. 64 แถลงยืนยันผ่านเว็บไซต์พบไข้หวัดนกชนิดก่อโรครุนแรง เป็นครั้งแรกในฤดูหนาวปีนี้ ในฟาร์มสัตว์ปีกในเมืองโยโกเตะ จังหวัดอากิตะ และได้ทำลายไก่ไข่ไปแล้วกว่า 143,000 ตัว พร้อมทั้งยืนยันการพบไข้หวัดนกรอบนี้ยังไม่ระบาดสู่คน    อีกทั้งองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) รายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกชนิดความรุนแรงสูง (HPAI) ในต่างประเทศทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงปัจจุบัน พบว่ามีการระบาดมากถึง 4,122 จุด รวมถึงพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศเวียดนาม กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบในสายพันธุ์ H5N1 H5N6 และ H5N8 กอปรกับประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนฤดูกาล จากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว ทำให้สัตว์ปีกเกิดความเครียด ระดับภูมิคุ้มกันต่ำมีโอกาสเกิดโรคระบาดได้    อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามแม้ว่าประเทศไทยจะไม่พบรายงานการเกิดโรคไข้หวัดนกมาแล้วเป็นระยะเวลา 12 ปี แต่กรมปศุสัตว์ก็ยังคงเตรียมความพร้อม และป้องกันโรคไข้หวัดนกเข้าสู่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้ สั่งการเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกอย่างใกล้ชิด เฝ้าระวังโรคสัตว์ตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด สุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยง เช่น พื้นที่ตามแนวชายแดน พื้นที่นกอพยพ พื้นที่นกวางไข่ พื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์ปีกหนาแน่น เป็นต้น เข้มงวดการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ปีกภายในประเทศ ชะลอการนำเข้าสัตว์และซากสัตว์ปีกจากประเทศที่เกิดโรคไข้หวัดนก ส่วนสัตว์ปีกเลี้ยงในระบบฟาร์มให้เข้มงวดความปลอดภัยทางชีวภาพขั้นสูงสุด เช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนและบริเวณโดยรอบ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง สัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มเข้มงวดเรื่องระบบความปลอดภัยภายในฟาร์ม ควบคุมการเข้า-ออกฟาร์ม ให้ฉีดพ่นยานพาหนะทุกคัน เป็นต้น รณรงค์ทำความสะอาดและพ่นยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงต่างๆ ได้แก่ พื้นที่นกอพยพอาศัยอยู่ พื้นที่ตามแนวชายแดน พื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกหนาแน่นเป็นต้น ตลอดจนผลักดันระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าระบบมาตรฐาน GAP หรือ GFM รวมถึงประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศ อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ตลอดจนหน่วยงานระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง   กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกสังเกตอาการสัตว์อย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ อย่านำสัตว์ปีกไปจำหน่ายจ่ายแจก หรือนำไปประกอบอาหารโดยเด็ดขาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เจ้าหน้าปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที เพื่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบและดำเนินมาตรการ ควบคุมโรคทันที หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้บ้าน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กรมปศุสัตว์ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ โทร. 096-301-1946 หรือแจ้งผ่าน Application : DLD 4.0 ได้ตลอดเวลาอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด ที่มา : กรมปศุสัตว์

ปศุสัตว์แจ้งเตือนหวัดนกระบาดในญี่ปุ่น Read More »

มาตรฐาo GHP

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 ส่วนของ มารตรฐานที่ 2 ของ ฟาร์ม คือมาตรฐาน GHP สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องการแนวทาง และคำปรึกษา เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษา ดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ GHP  คืออะไร GHP (Good Hygiene Practice) คือหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกำหนด ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการผลิต และควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม ทั้งในส่วนของโรงาน ฟาร์ม และ ทุกส่วนที่เกี่ยวจ้อง ที่จะทำให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย ตั้งแต่การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ จนกระทั่งถึงโต๊ะอาหาร โดยเน้นการป้องกัน และขจัดความเสี่ยง ที่อาจทำให้อาหารเป็นอันตราย เป็นพิษ หรือเกิดความไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจ และเลือกซื้อสินค้าจาก ผู้ประกอบการที่มีมาตรฐานดังกล่าว หลักการของระบบ GHP Codex สำหรับ หลักการจัดการ และการดูแลของ มาตรฐาน GHP จะครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ประกอบการ โครงสร้างอาคาร กระบวนการผลิตอาหาร ที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานตามที่กำหนด และปลอดภัย ไม่เป็นพิษ ในทุกขั้นตอน นับตั้งแต่ขั้นตอน เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และการขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์ รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีความปลอดภัยได้คุณภาพเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะนำไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ที่สูงกว่าต่อไป เช่น ISO 9000 และ HACCP (Hazards Analysis and Critical Points) ประโยชน์ของระบบ มาตรฐานฟาร์ม GHP  เมื่อเราได้รับ มาตรฐาน ระบบ GHP จะทำให้เราส่งมอบสินค้า ที่ปลอดภัย ตามมาตรฐานกำหนด เพราะมีการควบคุม และดูแลเรื่องความสะอาด ของโรงงานที่ผลิต ไม่มีการปนเปื้อน และเป็นการลดความผิดผลาด ที่อาจจะเกิดขี้น จากขั้นตอนการผลิด ที่อาจจะมีการส่งผลกระทบต่อ สินค้า และผลิตภันฑ์ได้ เกณฑ์มาตรฐานของ  GHP มีความคล้ายคลึงกับหลักเกณฑ์ตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) โดยครอบคลุมตั้งแต่สุขอนามัยของสถานที่ผลิต วัตถุดิบ และบรรจุภัณฑ์ สุขอนามัยในทุกขั้นตอนการผลิต การบำรุงรักษาสถานที่ผลิต และการขนส่งจนกว่าสินค้าจะถึงมือผู้บริโภค เรียกว่า ตั้งแต่การผลิด จนถึงการส่งมอบเลยครับ มาตรฐาน GPH ต่างจาก GMP เนื่องจากมีความเข้มงวดน้อยกว่า ในเรื่องของการบริการ การจัดการเอกสาร และรายงานต่างๆ ดังนั้นแล้วโรงงานที่ ได้รับความน่าเชื่อถือกว่า ก็จะทำ มาตรฐาน GMP เพราหากได้มาตรฐาน GMP แล้วการได้มาตรฐาน GPH ก็จะทำได้ง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดใน GHP เหมาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ไม่สามารถ พัฒนากระบวนการผลิตให้ถึงระดับ GMP ได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดด้านเงินทุน เทคโนโลยี และบุคลากร นอกจานี้ การผลิตตามมาตรฐาน GHP เป็นไปโดยความสมัครใจและยังไม่มีการประกาศใช้เป็นกฎหมายแต่อย่างใด สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

มาตรฐาน GHP 6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 2 Read More »

ให้คำปรึกษามาตรฐานGAPฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม GAP  คืออะไร ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน) ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่ 1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ 2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ 3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์ การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้ 1.องค์ประกอบของฟาร์ม ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก  มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน 2. การจัดการฟาร์ม การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้ ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์ มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง 3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์ การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution

6 มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม Read More »

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา 10 พฤศจิกายน 2564 รัฐสภา – ท่านรองนายกจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เชิญสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กรมปศุสัตว์ ผู้เลี้ยงภาคบริษัท ผู้บริหารซีพีเอฟ และเบทาโกร เข้าร่วมให้ข้อมูลสถานการณ์ การผลิต และตลาด เพื่อประเมินสถานการณ์หามาตรการช่วยเหลือผู้บริโภค สืบเนื่องจากข่าวหมูแพงในช่วง 3-4 วันที่ผ่านมา ทำให้ท่านรองนายกและรัฐมนตรีว่าการพาณิชย์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ได้เชิญผู้ที่เกี่ยงข้องมาให้ข้อมูล       โดยกรมปศุสัตว์และสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้ให้ข้อมูล จำนวนผลผลิต ความเสียหายจากโรคสุกร ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเมื่อเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตสุกรขุนปี 2563 กับปี 2564 ต่างกันสิ้นเชิง  โดยปี 2563 ผู้เลี้ยงสุกรให้ความร่วมมือขายสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มที่ราคาไม่เกิน 80 บาทต่อกิโลกรัมนั้น  เป็นราคาที่สะท้อนต้นทุนตามกลไกลตลาด โดยผู้เลี้ยงสุกรมีต้นทุนเฉลี่ยอยู่ที่ 65.67 บาท ส่วนปี 2564 ราคาสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเป็นราคาเฉลี่ยที่ผู้เลี้ยงสุกรขายได้เฉลี่ย 67-68 บาทต่อกิโลกรัมที่ต้นทุนประมาณ 78-80 บาท ตามการประเมินของคณะอนุกรรมการต้นทุนของ Pig Board ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี 2564 โดยมีราคาตกต่ำสุดช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายน ที่มีราคาต่ำกว่า 60 บาทต่อกิโลกรัม ตามข้อมูลจากตัวแทนผู้เลี้ยง  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรจึงจำเป็นต้องขอขยับราคาขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน เพื่อลดความสูญเสียให้เกษตรกร วันพระล่าสุดที่ 4 พฤศจิกายน 2564 อยู่ที่ 80-82 บาท ผู้เลี้ยงต้องปรับราคาจำหน่ายขึ้น เพื่อลดภาระขาดทุน ที่ผู้เลี้ยงมีต้นทุนผลิตสุกรที่สูงขึ้นจากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลักประกอบด้วยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาสูงถึง 10-11 บาทต่อกิโลกรัม กากถั่วเหลืองสัปดาห์ล่าสุดอยู่ที่ราคา 19.80 บาทต่อกิโลกรัมและมีแนวโน้มสูงขึ้นจากสต็อกผู้ผลิตในต่างประเทศลดลง  โดยมีค่าบริหารความเสี่ยงด้านโรคระบาดในสุกรที่เพิ่มขึ้น 300-400 บาทต่อตัว รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ดังกล่าวคิดเป็น 70% ของต้นทุนการเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นประมาณ 20% ตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้ต้นทุนการผลิตทั้งปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 78.40 บาท  ซึ่งราคาสุกรหน้าฟาร์มที่สะท้อนต้นทุนไม่ควรต่ำกว่า 90 บาทต่อกิโลกรัม ตามการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อสาธารณะของนายสุรชัย สุทธิธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ส่วนแนวทางการแก้ปัญหา กรณีข้อกังวลของกระทรวงพาณิชย์ ด้านราคาจำหน่ายปลีกสุกรเนื้อแดง ที่จะกระทบค่าครองชีพผู้บริโภคนั้น ได้ข้อสรุป คือ ให้กรมการค้าภายใน ประสานขอความร่วมมือกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ประกอบด้วย Makro Lotus Big C ตรึงราคาเนื้อแดง (ที่ราคาเท่าไรให้ไปหารือ) เป็นเวลา 1 เดือน โดยตรวจสอบราคาปลีกห้างฯ วันนี้ประมาณ 120 บาทต่อกิโลกรัมทั้ง 3 ห้าง และเตรียมสินค้าเนื้อสุกรร่วมโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา ลดต้นทุนการเลี้ยง และระบาย Stock ข้าวเปลือก ให้กรมการค้าภายใน เป็นตัวกลาง เชิญสมาคมโรงสีข้าว สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และองค์การคลังสินค้า กระทรวงพาณิชย์(อคส.) เพื่อเจรจาต่อรองราคาที่เหมาะสม ใช้วัตถุดิบข้าวกะเทาะเปลือก เป็นวัตถุดิบทดแทน (คาดว่าภายในวันศุกร์นี้ 12 พฤศจิกายน 2564) ให้กรมปศุสัตว์ประสานฝ่ายเลขาท่านจุรินทร์ เพื่อเชิญประชุม คณะกรรมการอำนวยการ AFS แห่งชาติ เป็นกรณีเร่งด่วน เพื่อติดตามประเมินผลกระทบ และแผนฟื้นฟู ปี 2565 ที่มา : สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

รองจุรินทร์เข้าใจหมูแบกต้นทุนอาหารสัตว์และการป้องกันโรค เน้นดูแลผู้บริโภคผ่านห้างค้าปลีก และโครงการรถโมบายพาณิชย์ลดราคา Read More »

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30%

สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ระบุว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนผ่อนปรนมาตรการที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อความเป็นธรรมของทุกฝ่ายในห่วงโซ่การผลิต ประกอบด้วย การยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง 2% และ ภาษีนำเข้า DDGS 9% (Dry distillers Grains with Solubles) ผลผลิตที่เหลือจากการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพดเพื่อนำไปผลิตอาหารสัตว์ ปรับลดสัดส่วนการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศต่อการนำเข้าข้าวสาลี จากปัจจุบัน 3:1 เหลือ 1.5 : 1 และนำกลไกตลาดเสรีมาบริหารจัดการอุปสงค์-อุปทานวัตถุดิบอาหารสัตว์ ให้สอดคล้องกับปัจจัยและต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน เพื่อลดภาระการขาดทุนสะสมของเกษตรกรและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ของไทย ส่งเสริมห่วงโซ่การผลิตอาหารอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน ไทยต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีละ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้เพียง 5 ล้านตัน และนำเข้าส่วนต่าง 3 ล้านตันภายใต้มาตรการของรัฐ คือ กำหนดสัดส่วนนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ : ข้าวสาลี (วัตถุดิบทดแทนข้าวโพด) ในอัตรา 3:1 ขณะที่ผลผลิตข้าวโพดในประเทศมีเพียง 60% ของความต้องการต่อปี สัดส่วน 1.5 : 1 จึงเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมให้ภาคปศุสัตว์บริหารต้นทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดส่งออกได้ทั้งไก่สดแช่แข็งและอาหารสัตว์ นอกจากนี้ สัดส่วนดังกล่าวจะช่วยป้องกันการทุจริตจากการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านมาสวมสิทธิ์ ทั้งนี้ รัฐบาลมีโครงการประกันรายได้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาท/กิโลกรัม ความชื้น 14.5% ขณะที่ภาคเอกชนรับซื้อในราคาให้ความร่วมมือกับภาครัฐที่ 8 บาท/กิโลกรัม (เกษตรกรได้รับการชดเชยส่วนต่างราคาจากรัฐบาล) และยังต้องซื้อข้าวโพดตามราคาตลาดที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากรัฐบาลไม่มีเพดานราคากำหนด  ขณะที่กากถั่วเหลืองมีการนำเข้าปีละ 2.5 ล้านตัน เนื่องจากผลผลิตในประเทศมีเพียง 50,000 ตัน ขณะที่ความต้องการใช้ทั้งเมล็ดและกากถั่วเหลืองอยู่ที่ 5 ล้านตัน ต่อปี เปรียบเทียบกับพืชเศรษฐกิจอื่นภายใต้โครงการประกันรายได้ของรัฐ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา และปาล์มน้ำมัน มีมาตรการโปรงใสไม่ซับซ้อนเหมือนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และเมื่อราคาปรับสูงจนเกษตรกรมีรายได้เพียงพอ กลไกการตลาดจะทำงานโดยอัตโนมัติ การนำเข้าเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนสามารถทำได้โดยเสรี นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีมาตรการและเครื่องมือทางการตลาดในการปกป้องผู้บริโภคจากการปรับราคาสินค้าตามต้นทุนการผลิตได้ เช่น โครงการธงฟ้า ที่สามารถตรึงราคาสินค้าเพื่อบรรเทาค่าครองชีพของประชาชนได้ สมาชิกสมาพันธ์ฯ ใช้อาหารสัตว์รวมกันประมาณ 90% ของการผลิตของประเทศ ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากภาระต้นทุนการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 20-30% ตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 จนถึงปัจจุบันราคาวัตถุดิบสูงสุดในรอบ 13 ปี ราคากากถั่วเหลืองปรับขึ้นจากกิโลกรัมละ 13 บาท เป็นกิโลกรัมละ 18-19 บาท ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขยับสูงสุดในเดือนกันยายน 2564 ที่ 11.50 บาท/กก. จากราคาเฉลี่ย 8-9.50 บาท/กก. รวมถึงอาหารเสริม วิตามิน เกลือแร่ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า 20-30% กระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ปรับตัวขึ้นในระดับเดียวกัน นอกจากนี้ อาหารสัตว์เป็นต้นทุนการผลิต 60-70% ของการเลี้ยงสัตว์ และเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะกากถั่วเหลืองและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นวัตถุดิบหลักในสูตรอาหารสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นดังกล่าวทั้งหมด รวมถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารจัดการฟาร์มเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคระบาดสัตว์  ขณะที่สถานการณ์วิกฤตโควิด 19 ทำให้ผู้เลี้ยงสัตว์ไม่สามารถขายและส่งออกผลผลิตได้ตามปกติ การรักษาสถานะของไทยในฐานะผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก รัฐบาลจำเป็นต้องดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิตให้เกิดความเป็นธรรมโดยใช้กลไกการตลาดเสรีเป็นเครื่องในการสร้างสมดุลการค้าและการผลิต และนำมาตรการปกป้องผลประโยชน์ประเทศมาใช้อย่างสมเหตุสมผลโดยพิจารณาปัจจัยแวดล้อมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างรอบด้านทุกมิติ  เพื่อการพัฒนาและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างยั่งยืน สมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เป็นการรวมตัวกันของ 13 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมปศุสัตว์ไทย สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ สมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการส่งออก สมาคมผู้เลี้ยงเป็ดเพื่อการค้าและการส่งออก สมาคมสัตวบาลแห่งประเทศไทย สมาคมส่งเสริมผู้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ สมาคมกุ้งไทย สมาคมผู้เพาะเลี้ยงปลาไทย และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย  เพื่อร่วมมือกันส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และแก้ปัญหาและอุปสรรคของอุตสาหกรรมปศุสัตว์ไทยและอุตสาหกรรมสัตว์น้ำไทย ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ

เอกชน จี้แก้ปัญหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ หลังราคาพุ่งสูงกว่า 20-30% Read More »

ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด

   สมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ร้องรัฐช่วยเหลือเกษตรกรหลังแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นมากกว่า 20% หวั่นกระทบห่วงโซ่การผลิตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกเนื้อไก่ 1 แสนล้าน นายพรชัย เอี่ยมสงวนจิตต์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ เผยว่า  ช่วงที่ผ่านมาเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ประสบปัญหาขาดทุนจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 มากอยู่แล้ว ยังต้องมาประสบกับปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองสูงขึ้นอีก 20-30%  ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์สูงขึ้นตาม เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนหลักในการเลี้ยงสัตว์คิดเป็น 60-70% ของต้นทุนทั้งหมด ขณะที่ไก่พันธุ์เป็นต้นน้ำของห่วงโซ่การผลิตไก่เนื้อเพื่อการบริโภคทั้งภายในประเทศและส่งออกขายต่างประเทศ ที่มีมูลค่าส่งออกปี 2564  คาดว่าสูงกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของชาติและสร้างรายได้เข้าประเทศเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งนี้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการซ้ำเติมเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ ที่แบกรับภาระการขาดทุนจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 หากยังปล่อยให้ปัจจัยการผลิตสูงต่อเนื่องแบบนี้ จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตและอุตสาหกรรมไก่เนื้อแน่นอน ขอให้รัฐบาลพิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรภาคการเลี้ยงสัตว์เป็นการด่วน เพื่อให้ห่วงโซ่การผลิตเดินหน้าต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง สำหรับข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลักในอาหารสำหรับไก่ทุกประเภท ราคาในปัจจุบันปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี ราคาปัจจุบันอยู่ที่ 11.50 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) จากเดิมที่ราคาประมาณ 9 บาทต่อ กก. ขณะที่กากถั่วเหลืองปรับจาก 13 บาทต่อ กก.  เป็น 20 บาทต่อ กก.อย่างไรก็ตาม นโยบายประกันรายได้ของรัฐบาลให้กับพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว ข้าวโพด กากถั่วเหลือง มันสำปะหลัง โดยเฉพาะข้าวโพดมีการประกันรายได้ให้เกษตรกรที่ราคา 8.50 บาทต่อกิโลกรัมและชดเชยส่วนต่างกับราคาตลาดให้กับเกษตรกร แต่ไม่มีการกำหนดเพดานราคา ส่งผลให้ต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นมาก และสุดท้ายก็ทำให้ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์ต้องเป็นผู้แบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้นทั้งห่วงโซ่การผลิต ดังนี้สมาคมฯ ขอให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะความชัดเจนเรื่องการกำหนดเพดานราคาวัตถุดิบเพื่อความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย หรือใช้กลไลการตลาดเสรีเพื่อสร้างสมดุลด้านราคา เพื่อให้อุตสาหกรรมการผลิตอาหารมีเพียงพอต่อความต้องการและเดินหน้าต่อเนื่องได้ ไม่ถูกตัดตอนจนหยุดชะงักจากปัญหาราคาวัตถุดิบ ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

ผู้เลี้ยงไก่พันธุ์วอนรัฐช่วย แบกต้นทุนอ่วม วัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งปรี๊ด Read More »

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.40 l สลิคยีน” ยีนขนสั้นทนร้อน เทรนด์ใหม่ พันธุกรรมเพื่อแม่โคอยู่สบาย ให้ผลผลิตดี l

Farm Talk คุยเฟื่องเรื่องฟาร์ม l EP.40 l สลิคยีน” ยีนขนสั้นทนร้อน เทรนด์ใหม่ พันธุกรรมเพื่อแม่โคอยู่สบาย ให้ผลผลิตดี l Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)