Logo-CPF-small-65png

cpffeed

การตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม สวัสดีครับ สำหรับท่านที่เป็นเจ้าของฟาร์ม ไม่ว่าจะขนาดเล็ก ฟาร์มขนาดกลาง หรือ ฟาร์มขนาดใหญ่ เรียกว่าถ้าใครทำธุรกิจฟาร์มอยู่แล้ว เข้ามาอ่าน เรื่องนี้ได้เลยครับ ^^ บทความนี้จะเกี่ยวข้องกับ การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์มของเรากันครับ เพราะว่าเป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องสนใจ ก่อนหน้านี้ ได้แนะนำเรื่องของการ จัดการ ระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ให้กับฟาร์มไปแล้ว สมามารถอ่านย้อนหลังได้นะครับ  สำหรับบบความนี้ จะเป็นเรื่องที่คล้ายกัน แต่ ก็ต้องได้รับการดูแลครับ จากช่วงที่ผ่านมา เรื่องการระบาดของโรค โควิด ท่านได้ ที่เป็น เกษตรกร และอยู่ในการติดต่อ หรือการได้รับคำแนะนำ จาก ซีพีเอฟ อยู่แล้ว จะเห็นได้ว่ามีมาตรการ เดินหน้า ซีล ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ดูแลสุขภาพพนักงานลดความเสี่ยง ป้องกันโรคโควิด-19 และโรคสำคัญในสัตว์ มุ่งดูแลเกษตรกรคอนแทรคฟาร์ม และลูกค้าที่สนใจเข้าร่วมโครงการกับ CPF FARM Solution เพื่อพัฒนาส่วนง่านต่างๆ ของฟาร์ม เรื่องมาตรฐาน การกำจัดสัตว์พาหะ หรือด้านอื่นๆ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อเนื่อง เพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารแก่ผู้บริโภค และเจ้าของกิจการ ในช่วงที่ผ่านมา ฟาร์มต่างๆที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับคำแนะนำ ให้บุคลากรทำงานที่ฟาร์มพักอาศัยอยู่ภายในฟาร์ม งดการออกนอกพื้นที่ เพื่อการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์อย่างต่อเนื่อง และเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาตรการที่ดำเนินการอย่างเข้มข้นอยู่แล้ว ได้ถูกยกระดับการป้องกันสูงสุดทั้งโรคในสุกรและบุคลากร โดยเฉพาะระบบไบโอซีเคียวริตี้ (Biosecurity) ที่เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการป้องกันโรคต่างๆ ที่ซีพีเอฟปฏิบัติมาโดยตลอด ช่วยให้การป้องกันโรคมีประสิทธิภาพสูง ควบคู่กับการอบรมและให้ความรู้แก่พนักงาน และเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกร หรือคอนแทรคฟาร์ม อย่างต่อเนื่อง ซีพีเอฟ ถ่ายทอดเทคนิค วิธีการ และมาตรการป้องกันโรคในสุกร และโควิด-19 แก่เกษตรกรคอนแทรคฟาร์มกับบริษัทมาโดยตลอด ทั้งการแบ่งปันองค์ความรู้ในกลุ่มเกษตรกร การเข้าตรวจเยี่ยมฟาร์ม และการอบรมผ่านออนไลน์ ทำให้เกษตรกรมีพื้นฐานความรู้และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง สามารถนำไปปรับใช้ในฟาร์มของตนเอง ช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจ ทำให้เดินหน้าอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมสนับสนุนให้เกษตรกรให้คำแนะนำ ให้บุคลากรพักอาศัยอยู่ภายในบริเวณฟาร์ม โดยยังคงได้รับการดูแลความเป็นอยู่และอาหารการกินที่เหมาะสม ตลอดจนใช้กล้องวงจรปิดซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดความเสี่ยงการนำโรคต่างๆเข้าไปสู่ฝูงสัตว์ โดยคนไม่จำเป็นต้องเข้าไปในโรงเรือน เพราะสามารถมอนิเตอร์ผ่านกล้องได้ทุกที่ทุกเวลา ถือเป็นการสร้างความปลอดภัยในอาหาร และเป็นหลักประกันความมั่นคงทางอาหารให้กับผู้บริโภค และเจ้าของฟาร์มอีกด้วย สำหรับหลักการดังกล่าว ก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ ทั้งส่วนของ การป้องกันและการควบคุมโรคระบาด ที่เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้ว จะทำให้ ทั้งบุคลากร และสัตว์ ได้รับความเสียหายหรือในกรณีที่ร้ายแรงอาจจะต้องปิดกิจการ ถ้าไม่มีการป้องกันโรคระบาดที่ดีพอ ถือเป็น ความปลอดภัยในส่วนของ บุคลากร และสัตว์ นอกจากนี้ ยังมีอีกส่วนที่สำคัญคือ ส่วนของอาคาร โรงเรือน และระบบไฟฟ้าต่างๆ ฟาร์มควรมี การตรวจไฟฟ้า และอบรมการระงับอัคคีภัย การป้องกันอัคคีภัย ของฟาร์มควรมีการตรวจ ระบบไฟฟ้า โดยผู้เชียวชาญ เนื่องจากอุปกรณ์ และความเชียวชาญ ในการทำงาน จำทำให้แนะนำได้ว่า สิ่งใดที่ ฟาร์มควรได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติม ทาง CPF Farm Solutions มีบริการ เพิ่มเติม บริการด้านวิศวกรรม ระบบไฟฟ้า ระบบลำเลียง และการบำรุงรักษา เพื่อให้สัตว์เลี้ยงปลอดภัยจากอันตราย ไม่เกิดอัคคีภัย ไม่เกิดความสูญเสีย อบรมให้เจ้าหน้าที่ มีทักษะใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัย และ มีทักษะด้านระบบไฟฟ้าและการป้องกัน ทำไมต้องตรวจ ระบบไฟฟ้า จากผู้ชำนาญการ หรือใช้บริการกับ CPF Farm Solution เป็นผู้เชี่ยวชาญงานวิศวกรรม ด้านระบบไฟฟ้าในฟาร์ม และ ระบบความปลอดภัยฟาร์มจากบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้มาตราฐานสากล ซึ่งบริการครอบคลุม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยจากไฟฟ้าลัดวงจร ป้องกันสัตว์เลี้ยงตายจากระบบไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มทักษะและความรู้ให้กับช่างประจำฟาร์ม สนใจการบริการ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ เบอร์ 0855598988 สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ บริการตรวจความปลอดภัย และงานไฟฟ้าภายในฟาร์ม ป้องกันปัญหาสัตว์เลี้ยงตายจากไฟฟ้าดับ เพิ่มทักษะ ในการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ได้ด้วยตนเองสามารถใช้อุปกรณ์ระงับอัคคีภัยอย่างชำนาญประเมินความเสี่ยงด้านอัคคีภัยที่จะเกิดขึ้น ลดการเกิดอัคคีภัย ได้ 99% ใช้กล้องตรวจจับความร้อนภายในฟาร์ม ป้องกันการเกิดอัคคีภัยได้อย่างแม่นยำ ลดการเกิดความสูญเสียมหาศาล ปลอดภัย อุ่นใจ เชื่อถือได้กับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในฟาร์ม

การตรวจความปลอดภัยในฟาร์ม และการตรวจไฟฟ้าในฟาร์ม 2 อย่างที่สำคัญกับฟาร์ม Read More »

ขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม อย่างไร?

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์มอย่างไร? สำหรับท่านเจ้าของกิจการที่ต้องการ เริ่มทำธุรกิจฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ ได้มีมาตรฐาน และสามารถขยายตลาด เติบโตในธุรกิจได้ ต้องมีการ ขอรับรองมาตรฐานการเสี้ยงสัตว์ให้ถูกต้องครับ ขั้นตอนดังนี้ครับ ทั้งนี้สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติม ส่วนของมาตรฐานฟาร์มได้ที่นี่ครับ มาตรฐานฟาร์ม ขั้นตอน การขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม เลี้ยงสัตว์ ยื่นคำขอ (มฐฟ.1) ที่สนง.ปศุสัตว์อำเภอ เอกสาร โหลดได้ที่นี่ มฐฟ.1 สำนักงาน ปศุสัตว์อำเภอ สามารถตรวจสอบได้ที่นี่ครับ  แนะนำว่าให้เลือกในพื้นที่ หรือสอบถามก่อนเพื่อความสำดวกและง่ายในการไปติดต่อ เพื่อการขอรับรองมาตรฐานฟาร์มของเราครับ ปศุสัตว์อำเภอตรวจพื้นฐาน 5 ประการ ส่งให้สนง.ปศุสัตว์จังหวัด  สนง.ปศุสัตว์จังหวัดรวบรวมเอกสารจัดทำแผนนัดหมายตรวจรับรอง คณะผู้ตรวจ ประกอบด้วย จนท.จากสนง.ปศุสัตว์จังหวัดและเจ้าหน้าที่จากสนง.ปศุสัตว์อำเภอ ร่วมกันตรวจรับรอง กรณีไม่ผ่านการรับรอง ผู้ประกอบการต้องแก้ไขข้อบกพร่องตามคำแนะนำของคณะกรรมการผู้ตรวจฯ กรณีผ่านการรับรอง สนง.ปศุสัตว์จังหวัดจะออกใบรับรองให้ลงนามโดยปศุสัตว์จังหวัด ใบรับรองมาตรฐานฟาร์มมีอายุ 3 ปี เอกสารหลักฐานประกอบคำขอรับรองมาตรฐานฟาร์ม แบบคำรับรองมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (แบบ มฐฟ. 1) เอกสาร โหลดได้ที่นี่ มฐฟ.1 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ 1 ฉบับ (เจ้าของฟาร์ม) สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ แผนที่ตั้งฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รูปถ่ายแสดงสภาพภายในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง เช่น รั้ว โรงพ่นยาฆ่าเชื้อโรค บ่อน้ำ สถานที่เก็บอาหารสัตว์ คอกสัตว์ ที่พักอาศัยและระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ในกรณีขอต่ออายุมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ การรับรองต้องแนบใบรับรองมาตรฐานฉบับเดิมที่หมดอายุ คำแนะนำในการขอมาตรฐานฟาร์ม สำหรับเจ้าของฟาร์ม ที่ต้องขอมาตรฐานฟาร์ม จำเป็นต้องได้รับการรับรอง ก็เนื่องจาก เหตุผลหลาย เพื่อฟาร์มของเราเอง เช่น เมือฟาร์มเราได้มาตรฐานแล้ว การประกอบธุรกิจก็จะ สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะ การสร้างฟาร์ม ต้องสร้างปัญหา กับชุมชนรอบข้าง เรื่องมลภาวะ ต่างๆ ถ้าฟาร์มป้องกันปัญหานี้ได้แล้ว ก็จะไม่มีการร้องเรียน หรือ ต่อต้านจากชุมชนครับ การที่เจ้าหน้าที่ไปตรวจ เพื่อให้คำแนะนำ หลายๆ ด้าน และเจ้าของฟาร์ม ปฏิบัติตาม ก็จะทำให้ฟาร์ม ปลอดภัย เรื่องความปลอดภัยของฟาร์ม จำเป็นกับ ฟาร์มทุกส่วน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สัตว์ และชุมชน ไม่ควรละเลย สำหรับเรื่องความปลอดภัยของฟาร์ม ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าควบคุมเรื่องความปลอดภัยได้แล้ว การที่จะลดการใช้ยา และค่าใช้จ่ายเรื่องยา หรือวัคซีนก็จะลดไปด้วยทำให้ มีกำไรเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้การได้มาตรฐานฟาร์ม หรือสำคัญที่สุดคือ ทำตามมาตรฐานฟาร์ม จะทำให้ฟาร์มปลอดภัย และ ดำเนินกิจการไปได้อย่างไม่มีปัญหา จุดประสงค์ของมาตรฐานฟาร์ม ป้องกันความเสียหายจากการนำเชื้อโรคภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม ป้องกันเชื้อโรคจากภายในฟาร์มแพร่กระจายสู่ภายนอก สร้างเสริมภูมิคุ้มโรค และสุขภาพที่ดีให้แก่สัตว์ภายในฟาร์ม ให้ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ได้อย่างยั่งยืน ลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ยาเกินความจำเป็น ไม่ให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อผู้ที่อาศัยอยู่รอบข้าง จนถูกองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นบังคับให้เลิกกิจการ หรือถูกร้องเรียนและขับไล่ ฝึกนิสัยผู้ประกอบการให้รู้จักรับผิดชอบทั้งต่อการเลี้ยงสัตว์ สังคม สิ่งแวดล้อม และฝึกวินัยให้รู้จักดูแลสัตว์อย่างสม่ำเสมอ จดบันทึกเป็นประจำ ดูแลอุปกรณ์ทุกชิ้นให้สะอาด และอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน และมีจิตใจเมตตาต่อสัตว์ สิ่งที่จำเป็นใน การขอมาตรฐานฟาร์ม และการทำธุรกิจฟาร์ม ให้เติบโต สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ในการควบคุมฟาร์ม ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (อภ.2) ขอได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ ขอใบอนุญาตให้เลี้ยงสัตว์จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือภาษีโรงเรือนหรือที่ดิน เอกสารตรวจสุขภาพประจำปี(เฉพาะผู้ประกอบการ) บุคคลอื่นใช้ ใบรับรองแพทย์ ใบผลการตรวจน้ำที่ใช้สำหรับให้สัตว์ดื่ม หากไม่ผ่านเกณฑ์ ให้แนบวิธีแก้ไข การยื่นขอใบรับรอง ขอแบบ มฐฟ.1 จากปศุสัตว์อำเภอ  หรือดาวน์โหลดได้ที่ www.dld.go.th/pvlo_sgk กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ถูกต้อง แนบเอกสารที่กำหนดไว้ใน มฐฟ.1 นัดปศุสัตว์อำเภอตรวจฟาร์มเบื้องต้น เพื่อขอใบผ่านเกณฑ์พื้นฐาน 5 ประการ และให้ปศุสัตว์อำเภอนำเอกสารไปยื่นที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เกณฑ์การตรวจ ประตู  จะต้องปิดและคล้องกุญแจ  ติดข้อความ”ห้ามเข้าก่อนได้รับอนุญาต” จะต้องแข็งแรง สูง 1.5 เมตรอย่างน้อยมีตาข่ายขึงกั้นสูง 1.2 เมตร เพื่อป้องกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะเข้าไปภายนอกในฟาร์ม จะต้องไม่ใช้ทางเข้าร่วมกับฟาร์มอื่น หรือ ผ่านทางเข้าของฟาร์มอื่น เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และสัตว์พาหะ  รั้วสูง 1.5 เมตร มีตาข่ายสูง 1.2 เมตร เพื่อกันบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง และสัตว์พาหะมุดหรือกระโดดเข้าไปภายในฟาร์ม ตัดต้นไม้ริมรั้ว และที่พันรั้วออกให้หมด หากเป็นไปได้ รอบกำแพงฟาร์มต้องมีการทำความสะอาด และโล่ง ป้องกันงู หรือสัตว์อื่นเข้ามาในฟาร์ม ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสำหรับบุคคล  ห้องอาบน้ำจะต้องมีห้องสำหรับถอดเสื้อผ้าเก็บ(จัดให้มีไม้แขวนเสื้อหรือช่องเก็บเสื้อผ้า)  ห้องอาบน้ำยาฆ่าเชื้อโรค(มีเสปรย์พ่นทั้งด้านข้างและด้านบน) ห้องอาบน้ำ(จัดให้มีฝักบัว สบู่ แชมพู) ผู้ที่มาส่งอาหาร จับลูกไก่ จะต้องทำการฆ่าเชื้อโรคในห้องนี้ด้วย ไม่มีข้อยกเว้น เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อจากภายนอกได้ โรงพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคยานพาหนะ  จะต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ล้อรถทุกคันที่เข้าไปในฟาร์ม ไม่มีข้อยกเว้น หรือดีกว่าต้องมีการแยกทางเข้าออกสำหรับรถจากภายนอก ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า  จัดให้มีผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้าที่ใช้ในฟาร์ม นอกห้องจัดให้มีร้องเท้าใส่ในฟาร์ม อาจจะแยกสีกันให้ชัดเจน เสปรย์พ่นยานพาหนะที่เข้า-ออกฟาร์ม อาจจะทำเป็นอุโมงค์พ่นยาฆ่าเชื้อได้ ห้องเก็บอาหารจะต้องมีช่องให้อากาศถ่ายเท มีแสลตสูง 10 ซม. เพียงพอสำหรับวางอาหาร ไม่ควรมีมดในโรงเก็บอาหาร จะต้องมีตาข่ายกันนก หนู เข้ามาข้างใน ไม่ควรนำอุปกรณ์มาเก็บ  อุปกรณ์อื่นจะต้องนำไปเก็บไว้ที่ห้องเก็บอุปกรณ์ ประตูจะต้องปิดและคล้องกุญแจ จะต้องแยกที่อยู่อาศัยและฟาร์มออกจากกัน ไม่อนุญาตให้นำสัตว์เลี้ยงเข้าในฟาร์ม ทุกกรณี หากมีหลายโรงเรือน ควรห่างกัน 25 เมตร เพื่อป้องกันโรคระบาดในแต่ละโรงเรือน รั้วต้องไม่ใช้ร่วมกับฟาร์มอื่นที่เลี้ยงสัตว์ชนิดเดียวกัน โรงเรือน จะต้องเปิดไฟ ตามสวัสดิภาพสัตว์  ห้ามปิดเมื่อสัตว์ใกล้เวลาขาย และห้ามเปิดขณะไม่มีแดด ให้เปิดเฉพาะช่วงลูกไก่เข้าเลี้ยงใหม่เท่านั้น  จะต้องมีตาข่ายกันนกเข้าไปในโรงเรือน จัดให้มีรองเท้า บ่อจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อโรค บ่อจุ่มน้ำ ถังหิ้วซาก กรณีปลูกต้นไม้รอบโรงเรือน จะต้องตัดกิ่งไม้ที่ยื่นล้ำเข้าไปที่หลังคาโรงเรือน มีบ่อทิ้งซากหรือเตาเผาซากท้ายฟาร์ม ห่างจากโรงเรือนมากกว่า 5 เมตร ห้ามอยู่นอกรั้วฟาร์ม บริเวณฟาร์ม ต้องเก็บไม้ เหล็ก ตัดต้นไม้ หญ้า ให้ดูสะอาด ไม่รก จัดให้มีถังขยะฝาปิด 2 ใบ เพื่อทิ้งขยะอันตราย เช่น ยา เข็มฉีดยา  และถังสำหรับทิ้งขยะทั่วไป เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จะต้องใช้งานได้และทดสอบการใช้งานสัปดาห์ละ 1 ครั้ง มีสัญญาณเตือนเมื่อไฟดับ จัดให้มีแผนกำจัดสัตว์พาหะเช่น หนู และบันทึกผล กำจัดขยะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน  กำจัดแหล่งน้ำที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จะต้องไม่มีขยะสุมภายในฟาร์ม กรณีฟาร์มสุกร  ท่อน้ำเสียข้างฟาร์มจะต้องไม่มีน้ำท่วมขัง มูลสุกรจะต้องไหลได้สะดวกไม่สะสม การกำจัดมูลสุกรในฟาร์ม  ควรจะตักมูลออกก่อนแล้วจึงฉีดน้ำ เพื่อลดจำนวนน้ำเข้าในระบบบำบัด และลดค่าไฟฟ้าที่ใช้ในการฉีดน้ำเกินความจำเป็น ยาที่ใช้ในฟาร์ม  ต้องมีทะเบียนยา ไม่มีข้อยกเว้น ไม่ควรมีกิจกรรมอื่นภายในฟาร์ม เช่น กรีดยาง ประมง ไม่ควรมีทางเข้าออกฟาร์ม มากกว่า 1 ทาง ไม่ควรมีการประกอบอาหารภายในฟาร์ม ควรประกอบอาหารให้เสร็จจากภายนอกแล้วนำเข้าไปรับประทานในฟาร์ม การจัดทำข้อมูล จัดทำคู่มือการเลี้ยงสัตว์ให้ครบทุกหัวข้อ ตามความเป็นจริงที่ฟาร์มทำอยู่ บันทึกข้อมูลตามแบบฟอร์ม หาได้จาก website สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา ให้ตรงกับความเป็นจริง และเป็นปัจจุบัน บุคลากรที่เกี่ยวข้องลงนามให้ครบ ยาที่ไม่มีการนำมาใช้ ไม่ควรมีในบันทึกการใช้ยา  วิตามินละลายน้ำ ยาฆ่าเชื้อ ยาใส่แผล ไม่ต้องใช้ใบสั่งยา บันทึกบุคลากร จะต้องมีให้ครบทุกคน อ้างอิงจาก : สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดสงขลา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม และแนวทาง การขอมาตรฐานฟาร์ม ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

สร้างธุรกิจ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ มีขั้นตอน การขอมาตรฐานฟาร์ม อย่างไร? Read More »

แนะนำ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป สำหรับบทความนี้ เราจะมาดู เรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ กันครับ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไปที่ต้องการทำมาตรฐานฟาร์ม ก็สมารถ ดูบทความนี้ได้เลยครับ สำหรับ มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ หรือ มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ นี้กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ที่เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 10,000 ตัวขึ้นไป ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่ และไข่ไก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมในการนำไปบริโภคเป็นอาหาร องค์ประกอบของ มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้ องค์ประกอบฟาร์ม 1.1 สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตราย ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ หรือมีมาตรการป้องกันที่เหมาะสม 1.2 ผังและลักษณะฟาร์ม ฟาร์มมีขนาดพื้นที่เหมาะสมไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม มีการวางผังฟาร์มที่เอื้อต่อการปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะและสุขอนามัยสัตว์ และแยกพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นสัดส่วน มีบริเวณหรือสถานที่เก็บรวบรวมไข่ไก่ก่อนเคลื่อนย้ายออกนอกฟาร์ม 1.3 โรงเรือน มีการวางผังที่แสดงตำแหน่งอุปกรณ์ซึ่งเอื้อต่อการเลี้ยงไก่ไข่ มีพื้นที่เพียงพอในการเลี้ยงไก่ไโดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ มีความแข็งแรง ถูกสุขลักษณะ ระบายอากาศได้ดี ง่ายต่อการบำรุงรักษาทำความสะอาดและฆ่เชื้อ รวมทั้งมีลักษณะที่เหมาะสมต่อการวางไข่และ การเก็บไข่ การจัดการฟาร์ม 2.1 คู่มือการจัดการฟาร์ม มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงาน ที่สำคัญภายในฟาร์ม ได้แก่ ระบบการเลี้ยง การจัดการอาหารและน้ำ การจัดการ ด้านสุขภาพ และการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ปีก 2.2 การจัดการอาหาร และน้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ อาหารไก่ไข่สำเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ต้องมีคุณภาพและมาตรฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ในกรณีที่ผสมอาหารไก่ไข่เอง หรือนำอาหารจากข้อ 2.2.1 มาผสม ห้ามใช้สารต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ตรวจสอบคุณภาพอาหารไก่ไข่ทางกายภาพในเบื้องต้น และเก็บตัวอย่างไว้เพื่อใช้วิเคราะห์กรณีมีปัญหา มีสถานที่เก็บอาหารไก่ไข่โดยแยกต่างหาก และเก็บอาหารในสภาพ ที่ป้องกันการเสื่อมสภาพและปนเปื้อน มีการจัดการให้ไก่ไข่ทุกตัวได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ น้ำที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ต้องสะอาดและมีผลตรวจวิเคราะห์คุณภาพ 2.3 การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ โรงเรือน อุปกรณ์ และบริเวณโดยรอบโรงเรือนต้องสะอาด และบำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพดีและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อโรงเรือน และอุปกรณ์ หลังจากย้ายไก่ไข่ รุ่นเก่าออก และปิดพักโรงเรือนในระยะเวลาที่เพียงพอต่อการตัดวงจรเชื้อโรค ไม่ให้สะสมในโรงเรือน เว้นแต่กรมปศุสัตว์กำหนดเป็นอย่างอื่นในแต่ละพื้นที่ ภาชนะเก็บไข่ เช่น ถาดไข่ เหมาะสมและถูกสุขลักษณะ ให้ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภาชนะเก็บไข่ ก่อนนำเข้าในบริเวณพื้นที่ เลี้ยงไก่ไข่และก่อนการนำไปใช้งานทุกครั้ง บุคลากร 3.1 มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน 3.2 มีบุคลากรผู้เลี้ยงไก่ไข่ สัตวบาล หรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตร ด้านสัตวบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ และสัตวแพทย์ที่มีใบรับรอง เป็นสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกจำนวนพอเหมาะกับจำนวนไก่ไข่ที่เลี้ยง 3.3 บุคลากรที่ทำหน้าที่เลี้ยงไก่ไช่ข่ต้องมีความรู้ โดยได้รับการฝึกอบรมหรือ การฝึกอบรมในขณะปฏิบัติงานในการเลี้ยงไก่ไข่เพื่อให้จัดการฟาร์มได้ 3.4 มีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคลที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปนเปื้อน และแพร่เชื้อ ด้านสุขภาพสัตว์ 4.1 การป้องกันและควบคุมโรค มีหลักฐานหรือเอกสารระบุแหล่งที่มาของไก่ไข่ มีมาตรการป้องกัน ควบคุม และกำจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะ วัสดุและอุปกรณ์ รวมทั้งสัตว์พาหะนำเชื้อ มีแผนเฝ้าระวังและป้องกันโรคโดยสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ตรวจติดตามสุขภาพไก่ไข่ประจำวัน และมีการจัดการซากสัตว์ที่เหมาะสม กรณีเกิดโรคระบาดหรือสงสัยว่าเกิดโรคระบาดให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ 4.2 ด้านการบำบัดโรค การบำบัดรักษาโรคสัตว์ ต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของสัตวแพทย์ โดยปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการสัตวแพทย์ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สวัสดิภาพสัตว์ ดูแลไก่ไข่ให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่นไก่ระยะไข่และไข่ไก่ 6.1 ไก่รุ่นและไก่ระยะไข่ สุ่มตรวจสขภาพ ุ ขนาดและนาหนักไก่ คัดแยกไก่ไข่ที่มีลักษณะผิดปกติ ไม่สมบูรณ์ มีขนาดและน้ำหนัก ไม่ใกล้เคียงกับรุ่น หรือไม่เหมาะสมต่อการให้ผลผลิตออก 6.2 ไข่ไก่ เก็บไข่และคัดแยกไข่ที่ผิดปกติ มีรอยร้าวหรือแตกออก และคัดแยกไข่ ที่สกปรกมีมูลไก่ติด เพื่อแยกทำความสะอาด เก็บรักษาไข่ไก่ไว้ในที่ร่มมีอากาศถ่ายเทได้สะดวกหรือที่มีการควบคุม อุณหภูมิ การขนส่งไข่ ใช้พาหนะที่สะอาด ระบายอากาศได้ดีหรือควบคุมอุณหภูมิได้ สิ่งแวดล้อม 7.1 กำจัดขยะ น้ำเสีย ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของ กลิ่นและเชื้อโรค 7.2 ป้องกันการฟุ้งกระจายของวัสดุรองพื้นหลังการย้ายไก่ไข่ออกจากฟาร์ม การบันทึกข้อมูล 8.1 ให้บันทึกข้อมูลผลการปฏิบัติงานในขั้นตอนที่สำคัญที่มีผลต่อสุขภาพ การควบคุมโรคและผลิตผล 8.2 ให้เก็บรักษาบันทึกข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ ไฟล์ PDF เป็นคู่มือการเลี้ยงไก่ ครับ ที่สามารถให้เรา โหลดได้ฟรี ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

มาตรฐานฟาร์ม ไก่ไข่ สำหรับฟาร์มที่มีขนาด 10,000 ตัวขึ้นไป Read More »

ไข้หวัดนก” จ่อระบาดซ้ำโควิด รู้วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ

“โควิด-19” ยังไม่หายไปแต่ “ไข้หวัดนก” ก็ส่อแววระบาดซ้ำอีก ยืนยันจากรายงานขององค์การอนามัยสัตว์โลก (OIE) ที่ระบุว่า โรคไข้หวัดนกเริ่มระบาดแล้วในหลายประเทศทั้งแถบยุโรป และแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น นอร์เวย์ เบลเยียม ฝรั่งเศส เป็นต้น อีกทั้ง กรมปศุสัตว์ ยังมีรายงานด้วยว่า พบการระบาดหวัดนกในประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว แต่ในประเทศไทยยังไม่พบรายงานการระบาดของไข้หวัด (ไม่พบระบาดมา 12 ปีแล้ว) ซึ่งปีนี้ทางกรมฯ ได้เตรียมความพร้อมป้องกันไม่ให้โรคนี้แพร่เข้าสู่ประเทศอย่างต่อเนื่อง จากกรณีดังกล่าว คงจะดีถ้าเรารู้เท่าทัน “ไข้หวัดนก” และรู้วิธีป้องกันตัวเองไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อ กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนมารู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น ข่าวที่เกี่ยวข้อง : เปิดลิสต์ประเทศ “ไข้หวัดนก” ระบาดหนัก “ยุโรป – เอเชีย” กรมปศุสัตว์เตือน ‘หวัดนก’ ระบาดในหลายประเทศ ไวรัสไข้หวัดนกกลายพันธุ์ในจีนเพิ่มความเสี่ยงซ้ำเติมโควิด-19 1. เชื้อไข้หวัดนก เป็นสายพันธุ์หนึ่งของไข้หวัดใหญ่ เชื้อก่อโรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เป็นเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (Influenza A virus) พบได้ในสัตว์ปีก ปัจจุบันค้นพบเชื้อไวรัสไข้หวัดนกมากกว่า 100 สายพันธุ์ ส่วนสายพันธุ์ที่พบการแพร่ระบาดในคน ได้แก่ H5N1, H7N2, H7N3, H9N2, H10N7 และ H7N9 เป็นต้น อนึ่งสายพันธุ์ย่อย A(H5N1) และ A(H7N9) เป็นสายพันธุ์ที่พบว่าสามารถก่อให้เกิดโรครุนแรงในคนได้ 2. “ไข้หวัดนก” เกิดจากอะไร? แพร่สู่คนได้อย่างไร? โรคไข้หวัดนก มีนกน้ำในธรรมชาติเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค (นกน้ำป่า นกเป็ดน้ำ ห่าน นกตามป่าชายเลน) และทำให้เกิดโรคในสัตว์ปีกที่เกษตรกรเลี้ยงตามฟาร์มต่างๆ เมื่อสัตว์ปีกในฟาร์มติดเชื้อ จะเกิดอาการค่อนข้างน้อยหรือไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่โรคให้ฝูงได้รวดเร็ว ส่วนการแพร่กระจายเชื้อจากสัตว์ปีกสู่คนนั้น มักเกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ป่วย แล้วเชื้อโรคติดมากับมือ และสามารถเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุจมูก และตาได้ หรือคนที่อยู่ใกล้ชิดกับสัตว์ เมื่อสัตว์มีการกระพือปีกก็มีโอกาสสูดหายใจเอาละอองเชื้อไวรัสเข้าปอดได้เช่นกัน เนื่องจากคนไม่เคยมีภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าว ส่วนใหญ่จึงเกิดอาการรุนแรง และมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง ทั้งนี้ การแพร่เชื้อไข้หวัดนกจากคนสู่คน มีโอกาสเกิดได้น้อย 3. หากป่วยโรคไข้หวัดนก มีอาการอย่างไร? ผู้ที่ติดเชื้อไข้หวัดนกมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการรุนแรง แต่ส่วนใหญ่จะเกิดอาการ “ปอดบวมรุนแรง” มากกว่า สำหรับอาการที่พบบ่อยในระยะเริ่มต้นของการป่วย ได้แก่ ไข้สูง (สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส) ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว หายใจลำบาก และมักพบปอดบวมที่ไม่แสดงอาการ แต่พบได้จากเอกซเรย์ปอด หากมีอาการเหล่านี้ และมีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกป่วยตาย ควรรีบพบแพทย์และต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล แพทย์จะรักษาด้วยยาต้านไวรัสเหมือนยาไข้หวัดใหญ่ทั่วไป และเฝ้าระวังการติดเชื้อแทรกซ้อน หากติดเชื้อแทรกซ้อนอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลว จนเสียชีวิตได้ในที่สุด (หลังมีอาการป่วยรุนแรงเพียง 9 – 10 วัน) 4. ไข้หวัดนกยัง “ไม่มีวัคซีน” ป้องกัน แม้ในปัจจุบันจะเริ่มมีการผลิตวัคซีนสำหรับใช้ป้องกันโรคไข้หวัดนก A(H5N1) (ในระดับห้องปฏิบัติการ) สำเร็จแล้ว แต่การนำวัคซีนมาศึกษาต่อในมนุษย์ยังมีค่อนข้างจำกัด แปลว่าตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกสำหรับฉีดให้บุคคลทั่วไปได้ อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ในบุคคลทั่วไป ที่จะช่วยไม่ให้เกิดการผสมสายพันธุ์กันของโรคไข้หวัดนก และไข้หวัดใหญ่ในคน ซึ่งอาจจะทำให้ป่วยรุนแรงได้ 5. วิธีป้องกันไม่ให้เสี่ยงติดเชื้อไข้หวัดนก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีก : ควรสวมชุดป้องกันร่างกายอย่างมิดชิด เช่น หน้ากากอนามัย ถุงมือ แว่นตา หมวก รองเท้าบูท รวมถึงล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้งหลังจากสัมผัสสัตว์ หากพบสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องทราบทันที สำหรับคนทั่วไป : อย่างที่บอกไปข้างต้นว่าในไทยเองยังไม่มีรายงานการระบาดไข้หวัดนก แต่ถ้าใครเดินทางไปต่างประเทศในประเทศที่พบการระบาดของโรคนี้ ก็ต้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น ล้างมือบ่อยๆ รับประทานอาหาร ที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด (ควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ปีก) หลังกลับจากการเดินทาง หากมีอาการที่ผิดปกติ เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก หอบเหนื่อย ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมกับแจ้งประวัติการเดินทางอย่างละเอีย CR : กรุงเทพธุรกิจ

ไข้หวัดนก” จ่อระบาดซ้ำโควิด รู้วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อ Read More »

Health Certificate ไข่ไก่ส่งออก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 ปัจจุบันประเด็นเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) มีบทบาท มากขึ้น ซึ่งมีหลายประเทศได้กำหนดให้เป็นกฎหมาย เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากอันตราย ที่มาจากอาหาร (Food Hazard) ผู้ส่งออกประสงค์จะส่งออกสินค้า มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ของประเทศคู่ค้า ซึ่งหลายประเทศต้องการเอกสารจากผู้ส่งออก เพื่อแสดงถึงความปลอดภัยของอาหารที่นำเข้า ทำให้ผู้ผลิตที่ต้องการส่งออก ต้องติดต่อหน่วยงานที่ออก ใบรับรอง สุขอนามัย (Health Certifcate) ซึ่งเป็นเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยของสินค้าและใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ที่รับรองว่าผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการผลิตภายใต้มาตรฐานหลักปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิต (Good Manufacturing Practice หรือ GMP ซึ่งจะสร้างความมั่นใจแก่ประเทศคู่ค้ามากขึ้น ทั้งนี้ส่วนของ มาตรฐาน Health Certificate มีการแบ่ง ประเภทออกเป็นหลาย ประเภท ดังนี้ ใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ใบรับรองสุขอนามัยแบบทั้งระบบการผลิต (Whole Product System) ใบรับรองสุขอนามัยแบบแต่ละรุ่นการผลิต (Lot by Lot) ใบรับรองการขาย (Certificate of Free sale) ทำไมเราต้อง ขอใบรับรอง สุขอนามัย การส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูป ออกนอกราชอาณาจักร สามารถดำเนินการส่งออกได้โดยไม่มี ข้อกำหนด หรือเป็นมาตรการสมัครใจ ไม่เป็นข้อบังคับจากประเทศไทย ขึ้นกับข้อกำหนดของประเทศปลายทาง หรือความต้องการของคู่ค้าเป็นหลัก ที่ต้องการให้ผู้ส่งออกมีมาตรฐานใดบ้างสำหรับการส่งออก ถึงจะเป็นที่ยอมรับสำหรับประเทศ ปลายทาง หรือประเทศคู่ค้าต่างๆ ของเรา ทั้งนี้ในส่วนของประเภทต่างๆ ที่เจ้าของฟาร์ม ที่ต้องการส่งออก สินค้า ต้องทำมาตรฐาน แตกต่างกันไปตาม แต่ละสินค้า หรือ ต่างกันตาม ความต้องการ และมาตรฐานที่ประเทศปลายทางยอมรับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก สำหรับฟาร์มที่ต้องการปรึกษาเรื่องการทำ ใบรับรอง สุขอนามัย เพื่อไข่ส่งออก หรือเพิ่งเริ่มต้น ขยายตลาดวางแผนการส่งออก สินค้า และผลิตภัณฑ์ ของฟาร์ม สามารถ เข้ามาดูรายละเอียดได้ที่ลิงก์ที่ผมใส่ไว้ให้ครับ สำหรับฟาร์มไก่ไข่ ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ที่ต้องคำแนะนำจากผู้เชียวชาญ แนะนำ กรอกฟอร์ม ให้ทางเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อรับคำแนะนำ เพราะแต่ละกลุ่มประเทศ มีความต้องการ ที่ต่างกัน ดังนั้น ข้อกำหนด และข้อมูลส่วนของ มาตรฐานฟาร์มแบบต่างๆ ก็จะต่างกัน ไม่ว่าจะเพิ่งเริ่ม หรือเริ่มแล้ว แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรแนะนำปรึกษา เพื่อหาแนวทาง และเริ่มขยายตลาดของคุณได้ทันที สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 6 Read More »

แนะนำ ปศุสัตว์ OK เจ้าของฟาร์มได้ประโยชน์อย่างไร

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 ปศุสัตว์ OK คือ การรับรองสถานที่จำหน่ายเนื้อสัตว์โดยเนื้อสัตว์ที่นำมาขาย ต้องมาจากฟาร์มมาตรฐาน เชือดที่ โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย และขายในสถานที่จำหน่ายที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับ ถึงแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาขายได้ สำหรับมาตรฐานนี้ ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ สถานที่ในการจัดจำหน่าย และขั้นตอนของการ นำผลิตภัณฑ์ มาจำหน่ายครับ มุ่งเน้นให้ผู้บริโภค ได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของ เนื้อสัตว์ ที่นำมาจำหน่าย เลี้ยงที่ไหน เชือดที่ไหน และมีกระบวนการอย่างไร สามารถตรวจสอบได้ครับ GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL ปศุสัตว์ OK ประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ เนื้อสัตว์ ที่ได้รับการผลิตจากฟาร์มมาตรฐาน GAP ปลอดภัยจากสารตกค้าง เนื้อสัตว์ที่ได้ต้องมาจากโรงฆ่าสัตว์ ที่ถูกต้องได้รับอนุญาตตามกฏหมาย สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สถานที่จัดจำหน่าย สะอาดถูกต้อง ผู้ขายได้ประโยชน์อะไร ถ้าเข้าร่วม โครงการ ผู้ซื้อ หรือผู้บริโภคจะเลือกจากสินค้าที่ได้มาตรฐาน และหากมีการรับรองจากกรมปศุสัตว์ แล้ว ลูกค้าหรือผู้บริโภค ก็จะตัดสินใจง่ายขึ้นที่จะเลือกซื้อสินค้า ที่ต้องการ เพราะสินค้าได้มาตรฐานและสามารถตรวจสอบ ได้ อีกทั้งเป็นการ ยกระดับมาตรฐาน ความน่าเชื่อถือให้กับสถนที่จำหน่ายด้วย สินค้าอะไรบ้างที่ ให้การรับรอง สำหรับ สินค้าที่ได้รับการรับรอง มีดังนี้ เนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อโค และไข่สด จะเห็นได้ว่า ทั้งหมดเป็นสินค้า หรือเป็นส่วนของ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ทั้งหมดครับ เพราะจะเน้นในส่วนของ ผู้ประกอบการ หรือ ผู้จำหน่าย ที่ต้องการนำไปจำหน่าย ครับ ขั้นตอนการขอรับรอง สำหรับ ผู้ประกอบการที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ สามารถยื่นคำขอรับการตรวจ ประเมินได้ที่ สำนักงานบศุสัตว์จังหวัด หรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอ ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการเข้าตรวจประเมิน เมื่อผ่านการตรวจ ประเมินก็จะได้รับใบรับรองสถานที่จำหน่าย พร้อมทั้ง ป้ายตราสัญลักษณ์ ทั้งนี้ เจ้าของกิจการที่เข้าร่วมโครงการ และได้รับ สัญญาลักษณ์ จะต้องแสดงให้ผู้บริโภคเห็น เพื่อเป็นการ เพิ่มความมั่นใจ ให้ผู้บริโภค สำหรับปีต่อไป กรมปศุสัตว์จะมีการดำเนินการ ตรวจติดตามสถานที่จำหน่ายที่ได้รับการรับรอง โดยมีการตรวจสอบ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสถานที่จำหน่าย ที่ได้รับตราสัญญลักษณ์ ได้มีการรักษามาตรฐานการรับรองตลอดอายุการรับรอง นอกจากนี้ยังมีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจหาสารตกค้าง ได้แก่ ยาปฏิชีวนะ และสารเร่งเนื้อแดง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจ และต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ ทำมาตรฐาน หรือ เข้าร่วมโครงการก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก

ปศุสัตว์ OK มาตรฐานฟาร์ม ที่เราให้คำปรึกษาได้ ตอนที่ 5 Read More »

มาตรฐาน halal ข้อกำหนด และหลักการปฏิบัติ

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา และ แนะนำได้ ตอนที่ 4   ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็นเรื่องที่ได้รับ ความนิยม และได้รับความสนใจ อย่างมากจากสังคมไทย และทั่วโลก เพราะไม่ใช่ แค่ชาวมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหารฮาลาลเท่านั้น แต่รวมถึง ชาวมุสลิม ทั่วโลก ก็ต้องการอาหาร ที่ได้รับมาตรฐานฮาลาล จำหน่ายแก่ผู้บริโภคชาวมุสลิม ทั้งใน และต่าง ประเทศ ทั้งนี้ผู้ผลิต ก็ต้อง ปฏิบัติและดำเนินกระบวนการผลิตอาหารฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและ ระเบียบคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดย ผ่านการตรวจสอบและรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะ กรรมการอิสลามประจำจังหวัดแล้วแต่กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาลประสงค์จะใช้ “เครื่องหมายรับรองฮาลาล” จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่ง ประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน ดังนั้น อาหารฮาลาลจึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้ มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารฮาลาลเพื่อการส่งออกและ ได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริมผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรับรองและอนุญาตให้ใช้ (อ้างอิง :  http://halalinfo.ifrpd.ku.ac.th/index.php/th/general/91-halal-content/89-halal-standard-content-th) GAP ฟาร์ม GHP, HACCP End product ปศุสัตว์ OK Health Certificate เพื่อไข่ส่งออก HALAL มาตรฐาน HALAL (ฮาลาล) คืออะไร? “ฮาลาล” Halal เป็นคำมาจากภาษาอารบิก หมายความว่า การผลิต การให้บริการ หรือการจำหน่ายใด ๆ ที่ไม่ขัดต่อบัญญัติของศาสนา ดังนั้น อาหารฮาลาล  คือ อาหารที่ได้ผ่านกรรมวิธีในการทำ ผสม ปรุง ประกอบ หรือแปรสภาพ ตามศาสนบัญญัตินั่นเอง เป็นการรับประกันว่า ชาวมุสลิมโดยทั่วไปสามารถบริโภคอาหาร หรืออุปโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ได้ เราสามารถสังเกตผลิตภัณฑ์ว่าเป็น “ฮาลาล” หรือไม่นั้น ได้จากการประทับตรา “ฮาลาล” ที่ข้างบรรจุภัณฑ์นั้นเป็นสำคัญ อาหารฮาลาล (Halal Food) จำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิม ก็สามารถ บริโภคได้เช่นกัน สำหรับ อาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม อย่างเคร่งครัด ปราศจากสิ่งต้องห้าม และมีคุณค่าทางอาหาร ทั้งนี้ ในการแปลรูป ตั้งแต่การผลิต จะต้องถูกต้องตาม มาตรฐาน Halal  ทั้งนี้ บางส่วนของ มาตรฐานที่กำหนด ก็มีดังนี้ครับ หน้าที่ของผู้เชือดสัตว์ตามศาสนบัญญัติเพื่อให้ได้เนื้อสัตว์ที่ฮาลาล มีดังนี้ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ หรือผู้เชือด ต้องนับถือศาสนาอิสลาม สัตว์ที่จะเชือดนั้น ต้องเป็นสัตว์ที่รับประทานได้ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม สัตว์ที่เชือด ต้องไม่ปะปนสัตว์ ต้องห้ามในระหว่างขนส่ง และทุกขั้นตอนการเชือด ต้องไม่ทารุณสัตว์ก่อนการเชือด ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชือดต้องมีความคม ให้ผู้เชือดกล่าวพระนามของพระผู้เป็นเจ้า ขณะเริ่มทำการเชือด โดยต้องเชือดในคราวเดียวกันให้แล้วเสร็จ โดยไม่ทรมานสัตว์ ต้องเชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดข้างลำคอของสัตว์ที่ถูกเชือด ขาดออกจากกันอย่างสิ้นเชิง โดยสัตว์จะต้องตายเพราะการเชือดเท่านั้น สัตว์นั้นต้องตายสนิทเองก่อน จึงจะนำไปดำเนินการอย่างอื่นต่อได้ ผู้ประกอบการ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล มีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ รักษาอุปกรณ์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาลให้สะอาดถูกต้องตามศาสนบัญญัติ ตลอดจนไม่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวร่วมกับของต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ วัตถุดิบหลักในการผลิต ตลอดจนเครื่องปรุงอื่น ๆ ต้องระบุแหล่งที่มาอันน่าเชื่อถือได้ว่า “ฮาลาล” โดยไม่แปดเปื้อนกับสิ่งต้องห้าม วัตถุดิบที่ได้จากสัตว์ต่าง ๆ นั้น ต้องเป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติ และหรือได้เชือดตามศาสนบัญญัติ เจ้าหน้าที่ที่ควบคุมการผลิต หรือปรุงผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ต้องเป็นมุสลิม ในระหว่างการขนย้าย ขนส่ง หรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลนั้น ต้องไม่ปะปนผลิตภัณฑ์ฮาลาลกับสิ่งต้องห้ามตามศาสนบัญญัติ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Halal สามารถดูได้จาก ลิงก์นี้ ครับ มีทั้งแบบ ไฟล์ PDF  และ วีดีโอ มาตรฐาน ฮาลาล แห่งชาติ  ทั้งนี้ สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม Halal สำหรับฟาร์ม และผลิตภัณฑ์ ของเรา ที่ต้องการทำ มาตรฐาน ก็ สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution ที่มีผู้เชียวชาญ คอยให้คำแนะนำอยู่ครับ CPF Farm Solutions เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก สอบถามเพิ่มเติม CPF Farm Solution คลิก  

มาตรฐาน Halal มาตรฐานฟาร์ม ที่เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 4 Read More »

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม

นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทมีการนำผลผลิตจากข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าว เช่น ปลายข้าวและรำข้าว มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตอาหารสัตว์อย่างต่อเนื่องและล่าสุด จากสถานการณ์ราคาข้าวตกต่ำ ซีพีเอฟจึงร่วมมือกับคู่ค้าโรงสี ทำการรับซื้อข้าวเปลือก เพื่อช่วยระบายผลผลิตข้าวเปลือกในตลาด และนำข้าวเปลือกที่รับซื้อดังกล่าว มาใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติมจากส่วนผสมเดิม เป็นการสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ทั้งในด้านการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวนาไทยและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบในประเทศ ขณะเดียวกันยังช่วยเสริมสภาพคล่องให้แก่คู่ค้าในสถานการณ์ปัจจุบัน “ซีพีเอฟ ยินดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนาไทย และช่วยให้โรงสีมีสภาพคล่องในสถาการณ์อันยากลำบากนี้ โดยดำเนินการรับซื้อข้าวเปลือกมาตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนอกจากจะสอดคล้องนโยบายรัฐแล้วยังตอกย้ำแนวทางการดำเนินธุรกิจภายใต้ปรัชญา 3 ประโยชน์ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่มุ่งก่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประชาชนและองค์กร”นายเรวัติกล่าว ทั้งนี้ ซีพีเอฟเดินหน้าพัฒนาห่วงโซ่ผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด มุ่งมั่นจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ “สีเขียว” ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว และอื่นๆ ที่ต้องมาจากแหล่งผลิตที่มีการปลูกอย่างยั่งยืน ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูกที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า 100% (Zero Deforestation) ควบคู่กับการงดการเผาแปลงเกษตรหลังเก็บเกี่ยวให้เป็นศูนย์ (Zero Burn) “ข้าว” จึงเป็นวัตถุดิบหลักอีกชนิดหนึ่งของการผลิตอาหารสัตว์ และการจัดซื้อข้าวเปลือกในครั้งนี้ถือเป็นการจัดซื้อ “วัตถุดิบสีเขียว” ซึ่งมีแหล่งปลูกอย่างถูกต้อง ควบคู่ความภูมิใจที่ได้ช่วยพยุงราคาข้าวเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร

ซีพีเอฟรับซื้อข้าวเปลือกช่วยเหลือชาวนาหลังราคาข้าวตกต่ำ – ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์เพิ่มเติม Read More »

CPF ขับเคลื่อน “สุขภาพหนึ่งเดียว” ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย ใส่ใจคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

CPF นำหลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” (One Health) ยึดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล ส่งเสริมการผลิตอาหารมั่นคงและปลอดภัย เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนน.สพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากลและความยั่งยืน ในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์ CPF เปิดเผยว่า ภายใต้หลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว” ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ซีพีเอฟ เสริมประสิทธิภาพการเลี้ยงสัตว์ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์สากล (Animal Welfare) หรือ หลักอิสระ 5 ประการ มุ่งเน้นให้สัตว์มีสุขภาพดีเป็นหลัก ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ครอบคลุมกิจการทั้งในไทยและกิจการในต่างประเทศ ให้สัตว์ได้รับน้ำและอาหารอย่างเพียงพอ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สามารถแสดงพฤติกรรมของสัตว์ได้ตามธรรมชาติ และเมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแลอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักวิชาการนอกจากนี้ CPF ยังมีนโยบายบริษัทฯ ด้านการใช้ยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial) ครอบคลุมยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) ด้วยความรับผิดชอบและสมเหตุผล ซึ่งการใช้ยาต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดของสัตวแพทย์และใช้เพื่อการรักษาเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยเฉพาะหลีกเลี่ยงการใช้ยาต้านจุลชีพประเภทที่ใช้ทั้งในคนและสัตว์ (share-class antimicrobials) และใช้เมื่อจำเป็นอย่างระมัดระวัง โดยจะเลือกใช้ยาสำหรับสัตว์เป็นลำดับแรกและร่วมทำงานกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเพื่อพัฒนาวิธีการใหม่ๆ ที่ดีกว่าในการดูแลสัตว์ตามหลักการสวัสดิภาพสัตว์ ซึ่งปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของ CPF 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล     “ทั้งองค์การอนามัยโลก องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ต่างให้ความสำคัญกับการดำเนินงานด้านสุขภาพระดับโลก One Health อย่างเข้มแข็ง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้เชี่ยวชาญ เกษตรกร ตลอดจนผู้บริโภค เป็นความร่วมมือหนึ่งเดียวในการลดโอกาสเกิดเชื้อดื้อยา โดยคำนึงถึงสุขภาพของคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน เพื่อป้องกันโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” น.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวCPF กำหนดเป้าหมายสำคัญภายใต้กลยุทธ์ความยั่งใหม่ “CPF 2030 Sustainability in Action” เพื่อส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจเติบโต ในอีก 9 ปีข้างหน้า ซึ่งสวัสดิภาพสัตว์ เป็น 1 ใน 9 ความมุ่งมั่นด้านอาหารมั่นคง ในการส่งเสริมแม่สุกรอุ้มท้องอยู่ในคอกขังรวม 100% เพิ่มกำลังการผลิตไก่ไข่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระในโรงเรือนปิด 30% เทียบกับปี 2563 และการเลี้ยงไก่เนื้อได้รับการเสริมสภาพแวดล้อมทางกายภาพ มี แกลบ กระสอบทราย ลูกบอล และคอน ให้ไก่ได้แสดงพฤติกรรมจิกและเกาะตามธรรมชาติ ภายในปี 2573 ปัจจุบันสัตว์ในฟาร์มของบริษัทฯ 100% ได้รับการเลี้ยงดูตามหลักอิสระ 5 ประการ ภายใต้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผลน.สพ.พยุงศักดิ์ กล่าวอีกว่า CPF บริหารจัดการธุรกิจตามหลักสวัสดิภาพสัตว์และการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างรับผิดชอบและสมเหตุผล บนพื้นฐานทางวิทยาศาตร์ ด้วยตระหนักดีว่าแนวทางปฏิบัติดังกล่าว ส่งผลดีต่อคุณภาพของเนื้อสัตว์และการผลิตอาหารปลอดภัย สร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค ช่วยลดต้นทุน ลดการสูญเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในตลาดโลก ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทานดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน สร้างห่วงโซ่การผลิตที่เข้มแข็ง ตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่ต้นทางการผลิต จนถึงปลายทางสู่มือผู้บริโภค      CPF ยังพัฒนานวัตกรรมสวัสดิภาพสัตว์และติดตั้งเทคโนโลยีระบบ “Smart Farm” เช่น ระบบ Smart Eyes มาใช้ในฟาร์มไก่เนื้อ ให้สามารถติดตามสวัสดิภาพสัตว์ การกินอาหารและน้ำของสัตว์ แบบ Real-Time ให้ไก่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีและเหมาะสมตลอดช่วงการเลี้ยง ลดการเข้าออกของพนักงาน ลดความเสี่ยงของโรคและการสัมผัสจากมนุษย์ เป็นต้นCPF ยังวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพสัตว์ (Welfare Outcome Measures : WOMs) เพื่อประเมินว่าสัตว์ได้รับการปฏิบัติสวัสดิภาพชั้นสูง ส่งเสริมสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร และกุ้ง ตลอดจนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสวัสดิภาพสัตว์ ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ตามหลักมนุษยธรรม ลดผลกระทบต่อสัตว์อย่างรอบคอบ ตามเป้าหมาย “สุขภาพหนึ่งเดียว” ที่เชื่อมโยงความเป็นอยู่และสุขภาพที่ดีของ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม เข้าด้วยกัน./ CR : CPF

CPF ขับเคลื่อน “สุขภาพหนึ่งเดียว” ผลิตอาหารมั่นคง ปลอดภัย ใส่ใจคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)