Logo-CPF-small-65png

cpffeed

โรคสัตว์ในช่วงฤดูฝนและวิธีการป้องกัน

ฤดูฝน นอกจากจะนำความชุ่มชื้นมาสู่ธรรมชาติแล้ว ยังเป็นฤดูที่มาพร้อมความเสี่ยงสูงต่อสุขภาพของสัตว์เลี้ยงในฟาร์ม ไม่ว่าจะเป็นความชื้นสูง น้ำขัง อุณหภูมิที่แปรปรวน หรือสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้น ล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส และปรสิตเจริญเติบโตได้ดี หากไม่ป้องกันล่วงหน้า อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตและต้นทุนของฟาร์มได้อย่างมหาศาล โรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูฝน โรคปากและเท้าเปื่อย (FMD)พบในโค กระบือ และสุกร ทำให้สัตว์มีไข้ มีแผลในปากและเท้า ส่งผลให้สัตว์กินอาหารน้อยลง น้ำหนักลด โรคปอดบวม (Pneumonia)พบได้ในสัตว์ทุกชนิด โดยเฉพาะลูกสัตว์ เช่น ลูกสุกร ลูกไก่ ลูกวัว อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงและความชื้นสูงเป็นปัจจัยเสี่ยง โรคอุจจาระร่วงในลูกสัตว์ (Diarrhea)โดยเฉพาะจากเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสในน้ำดื่มหรืออาหารที่ปนเปื้อน โรคจากพยาธิภายในและภายนอกเช่น พยาธิในลำไส้ หรือไรในไก่ ที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมชื้น วิธีการป้องกันโรคช่วงหน้าฝน จัดการโรงเรือนให้แห้งและสะอาด ระบายน้ำได้ดี ไม่เกิดน้ำขัง พื้นไม่ลื่น ไม่เป็นโคลน ลดการสะสมของเชื้อโรค เปิดให้มีอากาศถ่ายเท ลดความชื้นสะสม ควบคุมสุขอนามัยของฟาร์ม (Biosecurity) ล้างและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกวัน ใช้รองเท้าเฉพาะในฟาร์ม หลีกเลี่ยงบุคคลภายนอกเข้าออกโดยไม่จำเป็น เสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์ ฉีดวัคซีนตามกำหนด เสริมวิตามินหรือสารอาหารที่ช่วยให้สัตว์แข็งแรง ตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ จัดการน้ำและอาหารอย่างระมัดระวัง เปลี่ยนน้ำดื่มบ่อย ๆ และตรวจคุณภาพน้ำ เก็บอาหารสัตว์ในที่แห้ง ป้องกันเชื้อราและความชื้น  

โรคสัตว์ในช่วงฤดูฝนและวิธีการป้องกัน Read More »

กรมปศุสัตว์บุกตรวจห้องเย็น พบซากหมูไร้ที่มา กว่า 500 กก.

   อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสารวัตรและกักกัน จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม พบสินค้าบางส่วนไม่สามารถแสดงเอกสารแหล่งที่มาหรือใบเคลื่อนย้ายได้ เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายัดสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 15 วัน หากภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของสินค้าไม่สามารถนำเอกสารแสดงแหล่งที่มา หรือใบเคลื่อนย้ายมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ จะดำเนินการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558    นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว​ว่า ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษพญาไท ร่วมกับเจ้าหน้าที่กองสารวัตรและกักกัน จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครปฐม ลงพื้นที่ตรวจสอบห้องเย็นของบริษัทแห่งหนึ่ง ในตำบลสนามจันทร์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ซึ่งห้องเย็นดังกล่าวมีความจุห้องละ 300 ตันรวมทั้งหมด 4 ห้อง โดยปัจจุบันใช้งานอยู่เพียง 2 ห้อง ภายในมีสินค้าปศุสัตว์และอาหารแปรรูปเก็บรักษาไว้ ประกอบด้วย ซากสุกร (ชิ้นส่วน เครื่องใน คากิ) จำนวน 108,267 กิโลกรัม สินค้าประมง (ปลาทู ปูม้า) จำนวน 50,000 กิโลกรัม และสินค้าแปรรูป (ไก่ปรุงสุก) จำนวน 5,000 กิโลกรัม      จากการตรวจสอบพบว่า ส่วนใหญ่มีเอกสารใบอนุญาตค้าซากสัตว์และใบอนุญาตเคลื่อนย้ายถูกต้อง แต่พบสินค้าบางส่วน ได้แก่ ตับสุกรแช่แข็ง จำนวน 250 กิโลกรัม และสามชั้นสุกรแช่แข็ง จำนวน 262 กิโลกรัม ไม่สามารถแสดงเอกสารแหล่งที่มาหรือใบเคลื่อนย้ายได้ เพื่อควบคุมความปลอดภัยด้านสาธารณสุขและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค เจ้าหน้าที่จึงได้ทำการอายัดสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลา 15 วัน โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเย็นเดิม หากภายในกำหนดเวลาดังกล่าว เจ้าของสินค้าไม่สามารถนำเอกสารแสดงแหล่งที่มา หรือใบเคลื่อนย้ายมาแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ จะดำเนินการตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 เนื่องจากจังหวัดนครปฐมอยู่ในพื้นที่ประกาศเฝ้าระวังโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกร การกระทำดังกล่าวอาจเข้าข่ายฝ่าฝืนกฎหมาย มีโทษตามมาตรา 65 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งระบุโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ     อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่าเพิ่มเติมว่า การปฏิบัติการครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายของ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ รวมทั้งนายอิทธิ ศิริลัทยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้ความสำคัญต่อการควบคุมคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ หากพบการกระทำผิด กรมปศุสัตว์จะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด หากประชาชนพบเห็นการกระทำผิดโปรดแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยสามารถแจ้งได้ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าตรวจสอบการกระทำความผิดและดำเนินการตามกฎหมายได้อย่างทันท่วงที./  

กรมปศุสัตว์บุกตรวจห้องเย็น พบซากหมูไร้ที่มา กว่า 500 กก. Read More »

เตือน! ระวังโรคแอนแทรกซ์ หลังพบผู้ป่วยรายแรกที่มุกดาหาร

  กรมปศุสัตว์ พบผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ที่มุกดาหาร 1 ราย มีประวัติกินเนื้อโคดิบ เร่งเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อที่ศูนย์วิจัยและและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในโค กระบือ แพะ แกะ ย้ำในขณะนี้ยังไม่พบสัตว์ป่วยตายผิดปกติในพื้นที่   นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในขณะนี้พบรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคแอนแทรกซ์ที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร โดยผู้ป่วยรายดังกล่าวได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลดอนตาล และย้ายมารักษาที่โรงพยาบาลมุกดาหาร ด้วยอาการมีแผลที่มือขวา ต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ขวา ผู้ป่วยมีประวัติชำแหละและรับประทานเนื้อโคดิบ โดยแพทย์วินิจฉัยเบื้องต้น คือ septic shock  และต่อมา ได้รับผลทางห้องปฏิบัติการรายงานผลการตรวจวิเคราะห์จากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันตรวจพบเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus anthracis) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคแอนแทรกซ์ โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โดยโรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย (Bacillus anthracis)  สัตว์ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนอยู่ในดินหรือหญ้าเข้าสู่ร่างกาย หรือจากการกินน้ำและอาหารที่มีเชื้อปะปนเข้าไป เมื่อเชื้อเข้าตัวสัตว์จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น พร้อมสร้างสารพิษทำให้สัตว์ป่วยและตายในที่สุด ในระหว่างสัตว์ป่วยเชื้อถูกขับออกมากับอุจจาระปัสสาวะหรือน้ำนม เมื่อทำการเปิดผ่าซากเชื้อสัมผัสกับอากาศจะสร้างสปอร์ทำให้คงทนในสภาพแวดล้อมได้นาน โค กระบือ แพะ แกะ ที่ป่วยมีอาการแบบเฉียบพลัน คือ สัตว์ป่วยจะตายอย่างรวดเร็ว มีเลือดสีดำคล้ำไหลออกตามทวารต่างๆ ซากไม่แข็งตัว สำหรับคนที่ทำการผ่าซากหรือบริโภคเนื้อสัตว์ป่วยด้วยโรคนี้ แบบสุกๆ ดิบๆ จะพบแผลหลุมตามนิ้วมือ แขน หรือช่องปาก และมีอาการเจ็บปวดในช่องท้องโรคนี้ทำให้คนตายได้หากตรวจพบโรคช้า สถานการณ์ ณ ปัจจุบันจากการเฝ้าระวังและค้นหาโรค ยังไม่พบสัตว์ป่วยตายผิดปกติในพื้นที่ โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง ได้แก่ เนื้อแห้ง หนังแห้งของสุกรและโค เนื้อสัตว์และเลือดที่อยู่บนเขียงที่ใช้ในการชําแหละ อุจจาระโคเพื่อส่งตรวจหาเชื้อที่ศูนย์วิจัยและและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จังหวัดขอนแก่น ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินมาตรการควบคุมโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์ที่จังหวัดมุกดาหาร โดยมีแนวทางดังนี้ 1. กักและสังเกตอาการสัตว์ภายในฝูง ร่วมกับฉีดยาปฏิชีวนะกลุ่ม penicillin อย่างน้อย 3-5 วัน 2. ขอความร่วมมือห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกในพื้นที่ 3. งดนำโคไปเลี้ยงในพื้นที่แปลงหญ้า / แหล่งน้ำ หรือบริเวณที่สงสัย 4. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแอนแทรกซ์ในสัตว์ภายในตำบล 5. การทำลายเชื้อด้วยโซดาไฟในพื้นที่ชำแหละสัตว์ 3 จุด ได้แก่ บ้านเหล่าหมี 2 จุด และบ้านโคกสว่าง 1 จุด ทั้งนี้ ให้ทำลายเชื้อบริเวณจุดเสี่ยงที่สำคัญ เช่น ที่เชือด ท่อน้ำทิ้ง โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานแต่งกายให้รัดกุม โดยการใส่ชุดป้องกันโรค มาส์กและถุงมือ 6. เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างในสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เช่น ดินบริเวณคอกสัตว์ เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนเชื้อ 7. ดำเนินการเฝ้าระวังสัตว์ป่วยในพื้นที่อำเภอดอนตาล 8. ประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้เกษตรกรให้สังเกตอาการสัตว์เลี้ยง โดยมีนิยาม คือ โค กระบือ แพะ แกะตายเฉียบพลัน เลือดไหลออกจากปาก จมูก ทวารหนัก เลือดมีลักษณะไม่แข็งตัว หากพบมีอาการดังกล่าว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที และมีการเฝ้าระวังโรคร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ 9. เน้นประชาสัมพันธ์ให้ประชาชน งดบริโภคเนื้อดิบ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะแกะ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุแบบเฉียบพลัน ห้ามเปิดผ่าซาก ห้ามเคลื่อนย้ายซากหรือชำแหละเพื่อการบริโภค ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือ ผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 063-225-6888 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างทันท่วงที

เตือน! ระวังโรคแอนแทรกซ์ หลังพบผู้ป่วยรายแรกที่มุกดาหาร Read More »

ระบบบริหารจัดการฟาร์มสุกรแบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยี AI และ IoT

  ระบบบริหารจัดการฟาร์มสุกรแบบครบวงจรคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยทีม GATI ซึ่งมีการผสมผสาน 3 เทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย AI, IoT, และ Automation โดยเรามอบคุณค่าทาง ESG ให้ ทั้งในด้านการประหยัดพลังงาน ลดการใช้ยาปฏิชีวนะและสร้างความโปร่งใสให้กับคู่ค้า โดยจะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้ประจำทุกคอก และรับข้อมูลเสียงเข้ามาประมวลผลและส่งออกไปในลักษณะของรายงานการแจ้งเตือนระดับการไอ ผ่าน Line Notify เพื่อให้เกษตรกรรับรู้และแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งยังมีระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือน ที่สามารถดูรายงานค่าต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการจัดการสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนได้ จุดเด่น: ลดอัตราการตาย สุกรโตเร็ว ใส่ใจสุกร ประหยัดไฟ ประหยัดน้ำ ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต– ระบบติดตามสุขภาพสุกรแบบเรียลไทม์ ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามสุขภาพสัตว์ของตนได้อย่างใกล้ชิด– การแจ้งเตือนสัญญาณอันตรายเมื่อสัตว์แสดงอาการป่วย– แยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงได้รวดเร็ว ช่วยป้องกันการระบาดของโรค– ลดอัตราการตาย ส่งผลดีต่อผลผลิตโดยรวม– ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติ: ปรับอุณหภูมิ ความชื้น และความเร็วลมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ส่งผลดีต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของสัตว์ ส่งผลดีต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ลดต้นทุนการผลิต– ลดอัตราการตาย ประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูและรักษาพยาบาลสัตว์– ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมอัตโนมัติช่วยประหยัดพลังงาน– ลดค่าแรงงาน ระบบอัตโนมัติช่วยลดงานที่ต้องใช้แรงงานคน เพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์– เนื้อสัตว์ปลอดภัย การติดตามสุขภาพและป้องกันโรค ช่วยให้ได้เนื้อสัตว์ที่ปลอดภัย– เนื้อสัตว์มีคุณภาพดี: สัตว์ที่มีสุขภาพดีจะให้เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพดีเพิ่มความยั่งยืน– ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ การติดตามสุขภาพและป้องกันโรค ช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาปฏิชีวนะ– ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ และการจัดการฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อมเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ– วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ข้อมูลสุขภาพของสัตว์สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางปรับปรุงการเลี้ยง– เข้าถึงตลาดใหม่ เนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพและปลอดภัย สามารถจำหน่ายในตลาดที่มีราคาสูง ระบบบริหารจัดการฟาร์มสุกรแบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยี AI & IoT ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์ เพิ่มความยั่งยืน และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

ระบบบริหารจัดการฟาร์มสุกรแบบครบวงจรด้วยเทคโนโลยี AI และ IoT Read More »

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน การเลี้ยงสุกรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายที่หลากหลาย ทั้งในด้านสุขภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) หรือแนวทางปฏิบัติที่ดีในการเกษตร ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้เลี้ยงสุกรสามารถปรับปรุงคุณภาพและความปลอดภัยในการผลิตได้อย่างยั่งยืน 1. การจัดการสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของมาตรฐาน GAP คือการดูแลสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม การบริหารจัดการของเสียและการรักษาความสะอาดของพื้นที่เลี้ยงสุกรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดการแพร่กระจายของโรคและกลิ่นที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ผู้เลี้ยงควรมีระบบการจัดเก็บและกำจัดของเสียที่เหมาะสม เช่น การใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการแปรรูปของเสียให้เป็นปุ๋ยหรือพลังงานทดแทน เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดและลดมลพิษ 2. การดูแลสุขภาพสัตว์ การดูแลสุขภาพของสุกรเป็นอีกหนึ่งหัวใจหลักของมาตรฐาน GAP ผู้เลี้ยงควรมีการติดตามสภาพสุขภาพของสุกรอย่างใกล้ชิด ทั้งการตรวจสุขภาพประจำวันและการฉีดวัคซีนตามระยะเวลา การจัดทำประวัติการรักษาของแต่ละตัวจะช่วยให้สามารถระบุและควบคุมโรคได้อย่างทันท่วงที การใช้ยาและสารเคมีควรเป็นไปตามแนวทางที่ปลอดภัยและมีการบันทึกอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดดุลยภาพตัวยาที่อาจส่งผลต่อคุณภาพเนื้อและสุขภาพของผู้บริโภค 3. การจัดการอาหารและน้ำ มาตรฐาน GAP ยังเน้นให้ผู้เลี้ยงสุกรให้ความสำคัญกับการจัดการอาหารและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยง การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อสุขภาพของสัตว์นั้นเป็นสิ่งจำเป็น ผู้เลี้ยงควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารและน้ำอย่างสม่ำเสมอ และปรับสูตรอาหารให้เหมาะสมกับช่วงอายุและความต้องการทางโภชนาการของสุกร เพื่อให้สุกรเติบโตอย่างแข็งแรงและมีประสิทธิภาพในการผลิต 4. การฝึกอบรมและการบริหารจัดการฟาร์ม มาตรฐาน GAP ส่งเสริมให้ผู้เลี้ยงมีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการฟาร์มที่ทันสมัย โดยการฝึกอบรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญในวงการเกษตร นอกจากนั้น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการฟาร์ม เช่น ระบบติดตามสุขภาพสัตว์และการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิต จะช่วยให้ผู้เลี้ยงสามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น 5. ความโปร่งใสและการตรวจสอบคุณภาพ สุดท้ายแล้ว การรักษามาตรฐาน GAP ยังเกี่ยวข้องกับความโปร่งใสในการดำเนินงานของฟาร์ม โดยการบันทึกและจัดทำรายงานผลการผลิตอย่างละเอียด ทำให้สามารถตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของสินค้าได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การเข้าร่วมการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกและการรับรองมาตรฐานจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับฟาร์มและเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ด้วยการนำแนวทาง GAP มาประยุกต์ใช้ ผู้เลี้ยงสุกรจะสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังส่งเสริมการพัฒนาฟาร์มที่ยั่งยืนในระยะยาว สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับฟาร์มและชุมชนรอบข้างอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพในทุกขั้นตอนของการผลิต

มาตรฐาน GAP สำหรับผู้เลี้ยงสุกร: แนวทางสู่การผลิตที่ปลอดภัยและยั่งยืน Read More »

ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ เยี่ยมชมบูธธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ในงาน VIV Asia 2025 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย

เมื่อเร็วๆ นี้ ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย คุณอดิเรก ศรีประทักษ์ รองประธานอาวุโสเครือซีพี และประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ นำทีมผู้บริหารระดับสูงเข้าเยี่ยมชมบูธของ กลุ่มธุรกิจเกษตรภัณฑ์ (KSP – KPI) พร้อมทั้ง CP BIO, Famsun, Phibro Animal Health (Thailand) และ ธุรกิจอาหารโค CPF ภายในงาน VIV Asia 2025 ซึ่งเป็นงานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ไฮไลต์สำคัญของการเยี่ยมชมครั้งนี้ คือ การเปิดตัว “ข้าวโพดหมักซีพี” ราชาแห่งอาหารหยาบ นวัตกรรมทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค แพะ และแกะ (สัตว์เคี้ยวเอื้อง) ซึ่งได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากผู้ร่วมงานเครือซีพีมุ่งมั่นพัฒนาโซลูชันเพื่อสนับสนุนเกษตรกรและอุตสาหกรรมอาหารสัตว์อย่างยั่งยืน พร้อมผลักดันเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตอบโจทย์ความต้องการของภาคปศุสัตว์และอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในอนาคต  

ท่านประธานกรรมการสุภกิต เจียรวนนท์ เยี่ยมชมบูธธุรกิจเกษตรภัณฑ์ ในงาน VIV Asia 2025 งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ที่ใหญ่และครบวงจรที่สุดในเอเชีย Read More »

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล       การให้ไม่สิ้นสุด!!  ซีพีเอฟ เดินหน้าสร้างสังคมยั่งยืน ชวนร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล “CPF RUN FOR CHARITY” หนุนคนไทยสุขภาพดี พร้อมทำดีเพื่อสังคม นำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายส่งมอบให้แก่หน่วยงานสาธารณประโยชน์ในจังหวัดต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ชุมชน องค์กรภาครัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ แล้วกว่า 70 แห่ง เป็นเงินร่วม 17 ล้านบาท จากการจัดงานอย่างต่อเนื่องมากกว่า 38 ครั้ง      นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ ผู้อำนวยการใหญ่ ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ซีพีเอฟ มุ่งเสริมสร้างสุขภาพที่ดีให้แก่บุคลากรของบริษัทและครอบครัว รวมถึงประชาชน ผ่านกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล โดยจัดตั้งชมรมซีพีเอฟรันนิ่งคลับ (CPF Running Club) มาตั้งแต่ปี 2559 โดยพัฒนารูปแบบกิจกรรมพร้อมนำระบบและเทคโนโลยีในการจัดการแข่งขันวิ่งที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัยสำหรับนักวิ่งทุกคน พร้อมจัดอบรมเทคนิคการวิ่ง ปัจจุบันได้มีการกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 10 เพื่อส่งเสริมให้คนไทยได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดี สร้างความผูกพันในครอบครัว และยังเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของจังหวัดต่างๆที่บริษัทไปจัดงาน ที่สำคัญยังได้ร่วมกันทำความดีช่วยเหลือสังคมไปพร้อมกัน   “การจัดกิจกรรมเดิน-วิ่งการกุศล ถือเป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชน ในการมีสุขภาพที่ดี และบริษัทยังมุ่งจัดงานในรูปแบบคาร์บอน นิวทรัล (Carbon Neutral Event) ช่วยลดโลกร้อน ด้วยการคำนวนและจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ ลักษณะการเดินทางของผู้มาร่วมงาน การใช้พลังงาน และอาหารภายในงาน รวมถึงของเสียที่มีการคัดแยกและจัดการอย่างจริงจัง ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็น อย่างเช่นบรรจุภัณฑ์พลาสติก เพื่อเชิญชวนให้ผู้ร่วมงานร่วมกันใส่ใจสิ่งแวดล้อม”       นักวิ่งทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดโลกร้อน โดยซีพีเอฟเลือกใช้เสื้อวิ่งที่ทำมาจากขวดน้ำพลาสติก ใช้ภาชนะที่สามารถย่อยสลายได้ เช่น ใบตอง กระดาษ และมีการแยกขยะอย่างจริงจัง เพื่อสามารถนำมาใช้ประโยชน์ต่อได้ โดยบริษัทจะยังคงเดินหน้าสานต่อกิจกรรมดีๆ เพื่ออยู่ร่วมกับคนในชุมชนรอบสถานประกอบการซีพีเอฟและคนไทย ผ่านกิจกรรมเดิน-วิ่งเพื่อการกุศล ที่จัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง โดยกิจกรรมล่าสุดจะจัดกิจกรรม CPF ZOO RUN “RUN FOR CHARITY SEASON 4 ที่สวนสัตว์เปิดเขาเขียว อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ในวันที่ 23 มีนาคม 2568       ที่ผ่านมา มีหน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุน เช่น มูลนิธิชัยพัฒนา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา โรงพยาบาลวังน้อย โรงพยาบาลเสนา โรงพยาบาลท่าเรือ โรงพยาบาลเทพรัตน์นครราชสีมา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลในจังหวัดที่จัดงาน ทั้งราชบุรี หาดใหญ่ พิษณุโลก ขอนแก่น สระบุรี ตลอดจน สถาบันมะเร็งแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี รวมถึงมอบเงินสนับสนุนกิจกรรมของเหล่ากาชาด จ.ลำพูน และสถานศึกษาใน จ.ลำพูน เป็นต้น

ส่งมอบเงินแก่โรงพยาบาล-โรงเรียน-หน่วยงานต่างๆ แล้วกว่า 70 แห่ง ‘CPF RUN FOR CHARITY’ ชวนสายวิ่งทั่วไทย เดิน-วิ่งเพื่อการกุศล Read More »

การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์: แนวทางป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ

การเลี้ยงสัตว์ปศุสัตว์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหารของประเทศ อย่างไรก็ตาม โรคในสัตว์ปศุสัตว์เป็นปัญหาสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์ ลดผลผลิต และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ดังนั้น การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์อย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของการผลิตปศุสัตว์ 1. การป้องกันโรคในสัตว์ปศุสัตว์ 1.1 การจัดการสุขอนามัยและสภาพแวดล้อม ควรมีการทำความสะอาดคอกสัตว์และอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์เป็นประจำ ควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชนิดสัตว์ เช่น อุณหภูมิ ความชื้น และการระบายอากาศ มีมาตรการป้องกันสัตว์ป่าและสัตว์พาหะนำโรค เช่น หนู นก และแมลง 1.2 การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ฉีดวัคซีนให้กับสัตว์ตามโปรแกรมที่กำหนดโดยสัตวแพทย์ ควรตรวจสอบประสิทธิภาพของวัคซีนและเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม 1.3 การคัดกรองและเฝ้าระวังโรค ตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำเพื่อตรวจหาสัญญาณของโรคแต่เนิ่น ๆ แยกสัตว์ที่มีอาการป่วยออกจากฝูงทันทีเพื่อลดการแพร่ระบาด บันทึกประวัติสุขภาพของสัตว์เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มการเกิดโรค 2. การควบคุมและรักษาโรคในสัตว์ปศุสัตว์ 2.1 การใช้ยาปฏิชีวนะและยารักษาโรคอย่างถูกต้อง ใช้ยาตามคำแนะนำของสัตวแพทย์และหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นเพื่อลดการเกิดเชื้อดื้อยา มีการติดตามผลการใช้ยาและปรับปรุงแนวทางการรักษาตามความจำเป็น 2.2 การจัดการสัตว์ป่วยและการกักกันโรค จัดพื้นที่แยกสำหรับสัตว์ป่วยเพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด กำจัดซากสัตว์ที่ติดเชื้ออย่างถูกต้องและปลอดภัย ให้การดูแลสัตว์ป่วยตามมาตรฐานสุขาภิบาลเพื่อลดอัตราการเสียชีวิต 2.3 การควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ ตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนเคลื่อนย้ายและมีเอกสารรับรองสุขภาพสัตว์ จำกัดการเข้าออกของบุคคลและยานพาหนะในฟาร์มเพื่อลดการนำเชื้อโรคเข้าสู่พื้นที่ ใช้มาตรการสุขอนามัย เช่น การฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์ก่อนเข้าฟาร์ม 3. บทบาทของเทคโนโลยีในการจัดการโรค 3.1 การใช้ระบบติดตามสุขภาพสัตว์ ติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์เพื่อตรวจจับพฤติกรรมผิดปกติของสัตว์ ใช้ระบบ AI และ Big Data วิเคราะห์แนวโน้มสุขภาพและคาดการณ์การเกิดโรค 3.2 เทคโนโลยีชีวภาพในการพัฒนาวัคซีนและยารักษา วิจัยและพัฒนาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเพื่อลดอัตราการแพร่ระบาด พัฒนาโปรไบโอติกส์และสารเสริมอาหารที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของสัตว์  

การจัดการโรคในสัตว์ปศุสัตว์: แนวทางป้องกันและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ Read More »

เจาะลึก ‘ทรูฟาร์มคาว’ เพิ่มผลตอบแทนฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

  รู้หรือไม่! คนไทยเพิ่งรู้จักและมีโอกาสในการบริโภคนมวัวอย่างแพร่หลายเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง
 “นม” และผลิตภัณฑ์จากนม ถือเป็นหนึ่งในอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ โดยเฉพาะสำหรับเด็กที่อยู่วัยเจริญเติบโต ทำให้เด็กไทยยุคใหม่มีร่างกายกำยำสูงใหญ่ต่างจากยุคเก่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญ วัฒนธรรมการบริโภคนมของคนไทยเริ่มขึ้นภายหลังปี 2500 ที่อุตสาหกรรมผลิตนมในประเทศก่อตัวขึ้น และพัฒนาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท จากการบริโภคภายในประเทศเฉลี่ยคนละ 22 ลิตรต่อปี ซึ่งถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับไต้หวันที่ 77 ลิตรต่อปี ญี่ปุ่น 36 ลิตรต่อปี และสิงคโปร์ 33 ลิตรต่อปี ในทางกลับกัน สถานการณ์การเลี้ยงโคนมของไทยกลับอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยงจากปัจจัยลบที่ต่างถาโถมเข้ามา True Blog ได้มีโอกาสพบกับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่าง ธีรพัฒน์ มานะกุล ทายาทรุ่นที่ 3 ของมานะกุลฟาร์ม ที่ีได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง “ทรูฟาร์มคาว” เข้ามาปรับใช้ในกิจการ ลดภาระต้นทุน-ความเสี่ยง เพิ่มผลิตผลและคุณภาพของน้ำนมให้เทียบชั้นโลกตะวันตกได้   ทำความเข้าใจการทำฟาร์มโคนมเบื้องต้น  ธีรพัฒน์ เล่าว่า มานะกุลฟาร์มเป็นพื้นที่เกษตรกรรมแบบผสมผสานขนาด 51 ไร่ บนพื้นที่ อ.วังม่วง จ.สระบุรี ทั้งฟาร์มโคนม บ่อเลี้ยงปลาดุก และสวนดอกไม้ โดยเริ่มต้นบุกเบิกมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ สังเวียน มานะกุล นักเรียนยุคเริ่มต้นขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย หรือ อสค. หน่วยงานส่งเสริมการเลี้ยงโคนมที่ถือเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมโคนมไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นจากสายพระเนตรอันยาวไกลต่อกิจการโคนมในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ระหว่างการเสด็จนิวัตรประเทศเดนมาร์ก ในปี 2503 การเลี้ยงโคนมในสมัยนั้น ถือเป็นอาชีพด้านการเกษตรที่ค่อนข้างใหม่สำหรับประเทศไทย ขณะเดียวกัน ก็นับว่าเป็นเกษตรกรรมที่มีความมั่นคง เนื่องจากมีรายได้และตลาดรับซื้อที่แน่นอน เมื่อเทียบกับประเภทอื่น เนื่องจากมีผลผลิตทุกวัน ทั้งยังเป็นที่ต้องการของตลาด ภายใต้เงื่อนไขปริมาณและคุณภาพของน้ำนมที่ตลาดกำหนด ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องมีวินัย เอาใจใส่ และขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอ ธีรพัฒน์อธิบายต่อว่า การทำฟาร์มโคนมให้ประสบความสำเร็จได้นั้น มีตัวชี้วัดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ ปริมาณน้ำนม คุณภาพของน้ำนม และผลผลิตโคนมจากการผสมพันธุ์ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยปัจจัยทางชีวภาพและกายภาพต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น พันธุ์โคนม อาหาร และสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับต้นทุนอาหารและแรงงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งยังต้องคำนึงถึงปัจจัยเสี่ยงจากโรคระบาด ด้วยเหตุนี้ ‘การบริหารจัดการที่ดี’ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำฟาร์มโคนมในไทย สำหรับปริมาณน้ำนม โคนมพันธุ์ดีจะให้น้ำนมในปริมาณมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ที่มีถิ่นกำเนิดในยุโรป ซึ่งมีภูมิอากาศที่หนาวเย็นอย่างโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน ที่ให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ย 40 ลิตรต่อวัน แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในประเทศไทยที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น ทำให้โคมีความเครียดได้ง่ายและปริมาณน้ำนมที่ออกมาน้อย และอาจไม่คุ้มทุนที่ลงไป ทั้งนี้ ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยที่ฟาร์มโคนมไทยทำได้อยู่ที่ระดับ 12 ลิตรต่อวันเท่านั้น ในส่วนคุณภาพน้ำนมนั้น จะใช้เกณฑ์ปริมาณเซลล์โซมาติกและแบคทีเรียในน้ำนมดิบ รวมถึงปริมาณไขมันและของแข็งรวม ซึ่ง “อาหาร” ถือเป็นตัวแปรหลักที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลผลิต และมีสัดส่วนถึง 60% ของต้นทุนรวม ด้วยโคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง การจัดหาอาหารจึงมีรายละเอียดมาก โดยประกอบด้วยอาหารหยาบ (พืชที่มีเส้นใยมาก เช่น หญ้า ต้นข้าวโพด เป็นต้น) และอาหารข้น ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เมล็ดข้าวโพดเป็นส่วนผสมหลัก ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาหารสัตว์มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่ออัตรากำไรที่ลดลง นอกจากนี้ “โรคระบาดหรือโรคอุบัติใหม่ในสัตว์” เช่น โรคปากเท้าเปื่อย และโรคลัมปีสกิน ยังถือเป็นอีกอุปสรรคที่เกษตรกรฟาร์มโคนมเผชิญอยู่ทุกปี ซึ่งส่งผลต่อน้ำนมโดยตรงอีกเช่นกัน ต้นทุนพุ่ง ขาดแคลนแรงงาน อากาศเปลี่ยนแปลง นอกจากน้ำนมที่ถือเป็นผลผลิตจากโคนมโดยตรงแล้ว “ลูกวัว” ยังถือเป็นอีกหนึ่งผลผลิตที่เกษตรกรต้องให้สำคัญ เพราะเมื่อโคนมให้นมอายุมากขึ้นหรือสุขภาพไม่แข็งแรง (กรณีของมานะกุลฟาร์มเมื่อโคมีอายุขัยราว 6 ปี) แม่วัวจะถูกคัดออกจากฝูง เพื่อให้ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยของคอกสูงขึ้น ส่งผลต่อผลกำไรที่มากขึ้น ดังนั้น เกษตรกรจึงต้องจัดหาโคนมรุ่นใหม่มาทดแทน “การตรวจพฤติกรรมจับสัด” จึงถือเป็นหัวใจสำคัญของการผสมติดของโคนม เพราะหากล่วงเลยระยะจับสัด เพื่อนำมาผสมเทียมแล้ว อัตราการผสมติดก็จะน้อยลง เกษตรกรต้องรอรอบจับสัดใหม่อีก 21 วัน ทั้งนี้ “การจับสัด” มักใช้แรงงานมนุษย์ในการสังเกตพฤติกรรม เช่น การยืนนิ่ง ส่งเสียงร้องผิดปกติ ปัสสาวะถี่ ซึ่งจะต้องสังเกตทุกวันในช่วงเช้าและใกล้ค่ำ เพราะมีอากาศเย็น สัตว์ไม่เครียด จากนั้นจึงทำการจดบันทึก อย่างไรก็ตาม การจับสัดให้แม่นยำจะต้องอาศัยความชำนาญ แต่ด้วยลักษณะงานที่ต้องเกาะติดชีวิตโคนมเกือบ 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการให้อาหาร การดูแลโรงเลี้ยงให้สะอาด การพาโคนมเข้าคอกรีด การทำให้สัตว์อารมณ์ดี ทำให้แรงจูงใจต่อแรงงานในฟาร์มโคนมมีน้อยลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการขึ้นค่าแรงแล้วก็ตาม ด้วยนานาปัญหาที่ฟาร์มโคนมต่างเผชิญ มานะกุลฟาร์มจึงมีความพยายามในการแก้ไขปัญหาผ่านการใช้เทคโนโลยีตั้งแต่รุ่นที่ 2 แต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก จนมารุ่นที่ 3 โดย ธีระพัฒน์ ในวัย 31 ปี ได้หันหลังให้กับเมืองกรุงอันแสนวุ่นวาย ที่พ่วงด้วยประสบการณ์ 10 ปีจากงานที่ปรึกษาธุรกิจก่อสร้าง มุ่งหน้ากลับความสู่ความสงบที่บ้านเกิดที่สระบุรี พร้อมนำความรู้มาแก้ไขปัญหาเชิงระบบภายในฟาร์มโคนม “ในช่วงที่กลับมารับหน้าที่ผู้จัดการมานะกุลฟาร์ม ผมรับทราบถึงแนวโน้มปัญหาที่ฟาร์มกำลังเผชิญ โชคดีว่า ตอนนั้นได้คุยกับสัตวบาล จนพามารู้จักกับ ‘ทรูฟาร์มคาว’ ที่นำเทคโนโลยีต้นตำรับจากประเทศอิสราเอล มาเป็นเครื่องมือใช้จัดการฟาร์มโคนมควบคู่กับการใช้คน ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการสังเกตพฤติกรรม ไม่เปลืองแรงงาน คุ้มค่าการลงทุน” ธีรพัฒน์ กล่าว เทคโนโลยีดิจิทัล: ทางออกเกษตรโคนมท่ามกลางปัจจัยลบรุมเร้า คงพัฒน์ ประสารทอง ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ True Farm ให้ข้อมูลว่า ทรูฟาร์มคาว คือระบบจัดการฟาร์มโคอย่างแม่นยำแบบครบวงจร โดยทรู ดิจิทัล กรุ๊ป ได้ร่วมมือกับ MSD Animal Health นำนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 30 ปี มาให้บริการสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในประเทศไทย ใช้ในการติดตามพฤติกรรมรายตัวเป็นของโคตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งพฤติกรรมการเคี้ยวเอื้อง การกิน และการเคลื่อนไหว ด้วยเซนเซอร์ที่ติดอยู่กับสัตว์ในรูปแบบ “สร้อยคอ” วัดแต่ละพฤติกรรมเป็นจำนวนนาที แล้วนำมาประมวลผลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อแจ้งเตือนผู้เลี้ยงเมื่อโคมีสุขภาพผิดปกติ และเมื่อโคมีอาการเป็นสัด ทำให้ลดการสูญเสียโคที่ล้มตายจากการรักษาไม่ทัน ลดค่าใช้จ่ายการกินเปล่าของโคจากการลดวันท้องว่าง รวมถึงทำให้เจ้าของฟาร์มสามารถขยายฝูงได้โดยไม่ต้องกังวลข้อจำกัดด้านแรงงาน นอกจากนี้ ทรูฟาร์มคาว ยังรองรับการบันทึกข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้นในโคแต่ละตัว อาทิเช่น การผสมเทียม การตรวจท้อง และการให้วัคซีน เป็นต้น อีกทั้งยังมีรายงานการจัดการโครายกลุ่มด้านภาวะเครียดจากความร้อน (Heat stress) รวมถึงรายงานสรุปประสิทธิภาพด้านการจัดการฟาร์ม เช่น อัตราการผสมติด จำนวนหลอดน้ำเชื้อที่ใช้ต่อการผสมติด และวันท้องว่าง เป็นต้น เปรียบเสมือนการมีเลขาประจำฟาร์ม ที่ทำหน้าที่ทั้งเก็บข้อมูลและสรุปผลการดำเนินงานให้เจ้าของฟาร์มโคนม สามารถใช้ตัดสินใจบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างแม่นยำและครบวงจร เพิ่มผลตอบแทนในการทำฟาร์มด้วยการใช้ข้อมูล คงพัฒน์ กล่าวเสริมว่า อุตสาหกรรมโคนมประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ จากความท้าทายด้านการขาดแคลนแรงงานคุณภาพ ความแปรปรวนของสภาพอากาศอย่างรุนแรง ความเสี่ยงด้านโรคระบาด และต้นทุนในการจัดการที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนฟาร์มโคนมได้มีการปรับตัวลดลงกว่า 20% ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถเพิ่มผลผลิตได้ในอัตราที่สูงกว่าการปรับตัวเพิ่มขึ้นของต้นทุน ทำให้ประสบภาวะขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่องจนต้องทำการปิดฟาร์ม นอกจากนี้ ในปี 2568 ไทยมีกำหนดเปิดการค้าเสรี (FTA) ทำให้สมรภูมิการแข่งขันในอุตสาหกรรมโคนมจะเข้าสู่ระดับนานาชาติ ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร จึงต้องเร่งผนึกกำลังเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นไปด้วยกัน “แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงอยู่ไม่น้อย แต่โอกาสสำหรับผู้ที่พร้อมปรับตัวมีอยู่อีกมหาศาล จากแนวโน้มการบริโภคเพื่อสุขภาพที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง น้ำนมดิบคุณภาพสูงยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ไม่ว่าจะใช้ทำนมสำหรับผู้สูงอายุ หรือกรีกโยเกิร์ตธรรมชาติ การใช้นวัตกรรมเกษตรแม่นยำระดับโลก จะทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมไทยสามารถฝ่าฟันความท้าทายและเพิ่มผลตอบแทนที่ดีได้อย่างยั่งยืน ดังเช่นเกษตรกรในโลกตะวันตกได้พิสูจน์ให้เห็นมาแล้ว” ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ True Farm ได้กล่าวทิ้งท้าย สำหรับผู้ที่สนใจ ทรูฟาร์มคาว รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://www.truedigital.com/true-digital-cow หรือเพิ่มเพื่อนได้ทาง Line Official Account “True digital cow”  

เจาะลึก ‘ทรูฟาร์มคาว’ เพิ่มผลตอบแทนฟาร์มโคนมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล Read More »

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ชูทางออกเจรจานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดันดุลการค้าสหรัฐฯ ทดแทนแนวคิดนำเข้าหมู

  ท่ามกลางแรงกดดันด้านนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ภายใต้แนวคิด “America First” ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์  สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติเสนอแนวทางที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยมุ่งเน้นการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ แทนการเปิดตลาดนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลเสียร้ายแรงต่อเกษตรกรและความปลอดภัยทางอาหารในประเทศไทย นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะกดดันให้ไทยนำเข้าสินค้าเกษตร เช่นเนื้อหมู เพื่อลดการขาดดุลกับไทย แต่การยอมรับข้อเสนอนี้จะสร้างผลกระทบมหาศาล เนื่องจากเนื้อหมูจากสหรัฐฯ มีสารเร่งเนื้อแดงเกินมาตรฐานที่กฎหมายไทยกำหนด ซึ่งเป็นภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค “รัฐบาลไทยต้องยืนหยัดปกป้องอาชีพเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูกว่า 2 แสนคนและรักษาความมั่นคงทางอาหารของประเทศให้เข้มแข็ง” นายสิทธิพันธ์กล่าว พร้อมแนะนำแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย นั่นคือการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และถั่วเหลือง ประเทศไทยต้องการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ถึง 8.9 ล้านตันต่อปี แต่ยังขาดแคลนถึง 4 ล้านตัน แม้จะรับซื้อผลผลิตของชาวไร่ไทยจนหมดแล้ว  ขณะที่ความต้องการถั่วเหลืองและกากถั่วอยู่ที่ 5-6 ล้านตันต่อปี แต่ไทยสามารถผลิตได้เพียง 23,000 ตัน หรือไม่ถึง 1% ของความต้องการ การนำเข้าวัตถุดิบนี้จากสหรัฐฯ ซึ่งมีมาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน เช่น GAP (Good Agricultural Practices) และ RTRS (Responsible Soy) ไม่เพียงตอบสนองความต้องการของตลาดไทย แต่ยังช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก โดยเฉพาะยุโรปที่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมเข้มงวดด้วย นอกจากนี้ การเลือกนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์แทนการนำเข้าเนื้อหมู ยังช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศ เช่น ปัญหา PM2.5 ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการลักลอบเผาแปลงเกษตร พร้อมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจใหม่ เช่น การสนับสนุนอุตสาหกรรมไก่ส่งออกของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดยุโรปที่ต้องการมาตรฐาน CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) “นี่คือทางออกที่ยั่งยืนที่สุด ปกป้องสุขภาพคนไทย คุ้มครองอาชีพเกษตรกร และสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศในเวทีโลก” นายสิทธิพันธ์ย้ำ พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเจรจาในแนวทางนี้ เพื่อช่วยเพิ่มดุลการค้าให้สหรัฐฯโดยไม่กระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร เป็นคำตอบที่สามารถรักษาสมดุลทางการค้าและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันยังสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของไทยได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว CR : news.ch7.com

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรฯ ชูทางออกเจรจานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ดันดุลการค้าสหรัฐฯ ทดแทนแนวคิดนำเข้าหมู Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)