การพลิกโฉม การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า
ด้วยเทคโนโลยี IoT เพื่อจัดการฟาร์ม ให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 4 อย่างนี้
Precision Farming : คือการบริหารจัดการงาน ในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ด้วยและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) IoT หุ่นยนต์ เพื่อดูแลสัตว์อย่างแม่นยำ
หลักการสำคัญของ Precision Farming คือ :
การเก็บข้อมูลของสัตว์: เกษตรกรใช้เซ็นเซอร์ กล้องวงจรปิด และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ เช่น สภาพอากาศ ความชื้นในดิน สุขภาพสัตว์ อัตราการเติบโต ทั้งนี้การเก็บข้อมูล ก็จะมีทั้งในส่วนของ สัตว์ และโรงเรือน เพื่อการปรับสภาวะ ให้เหมาะสมกับการเลี้ยง เช่น
การปรับปรุงโรงเรือน สำหรับเลี้ยงไก่ เพื่อให้มีสภาพอากาศ ที่เหมาะสม ไม่ร้อน ไม่เย็นเกินไป ความชื้น การให้อาหาร การให้น้ำ ให้พอเพียง การทำงานของพัดลมระบายอากาศ การควบคุมแสงสว่างภายในโรงเรือน
สิ่งต่างๆ เหล่านี้เราสามารถใช้ Iot หรือระบบที่ช่วยการเลี้ยงได้แบบอัตโนมัติ แต่ต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ส่วนของ ตัววัดต่างๆ เพื่อส่งข้อมูลเข้าไป ทำให้ ระบบ AI ประมวลผล เพื่อ ปิด เปิด หรือปรับ สภาวะต่างๆ ให้เหมาะสมต่อไป เพื่อให้เจ้าของฟาร์ม ทำหน้าที่ ที่สำคัญอื่นๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล: เกษตรกรใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ทั้งนี้ เมื่อเรามีข้อมูลที่ จะนำมาวิเคราะห์ แล้ว ระบบ จะ ทำการคำนวณ และแนะนำ หรือ แสดง ข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ ต่อไป
การตัดสินใจอย่างแม่นยำ: ข้อมูลที่วิเคราะห์ ช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจได้อย่างแม่นยำ เช่น การให้น้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ ในปริมาณที่เหมาะสม และตรงตามความต้องการของสัตว์แต่ละตัว
ทั้งนี้การดูแลฟาร์มเมื่อก่อน ถ้าไม่มี ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจ อาจจะต้องใช้เวลานานในการ ตัดสินใจปรับเปลี่ยน หรืออาจจะสายเกินไปในการแก้ไข ดังนั้นการใช้งานระบบ จะเป็นตัวช่วยอย่างดีใน การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ตรวจสอบ จัดการ และควบคุมการดำเนินงานฟาร์มของคุณโดยไม่ต้องอยู่ในฟาร์มจริง ช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนจากมนุษย์
เพื่อนๆ เกษตรกร เจ้าของฟาร์มหลายๆ ท่าน หลังจากที่ผ่าน ช่วงของการมีโรคระบาดมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ระบบที่ ทำให้มีการปนเปื้อนจากภายนอก น้อย ที่สุด หรือไม่มีเลย เป็นทางเลือกที่ดี และปลอดภัย มาก หากให้มีการปนเปื้อนจากคนน้อยที่สุด
นอกจากนี้แล้ว ในส่วนของการควบคุมดูแล หรือว่าการมอนิเตอร์ การทำงาน และการแจ้งเตื่อนต่างๆ ถ้าผู้บริหารฟาร์ม หรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ได้รับการแจ้งเตือนทันท่วงที่ ก็จะ เข้ามา แก้ไข ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้ ลดความศูนย์เสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้
นอกจากนี้แล้ว ถ้าใช้งาน ระบบ Iot หรือมีระบบ ในการจัดการที่สามารถ ดูแล หรือตรวจสอบได้ทางอินเตอร์เน็ต จะช่วยเป็นอย่างมากให้ สามารถ ควบคุม หรือ ทำงานระยะไกลได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และป้องกันปัญหาได้อย่างดี
การรวบรวมข้อมูลแบบเรียลไทม์จากสัตว์ วิเคราะห์ คาดการณ์ และแนะนำการดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์
ในปัจจุบัน ข้อมูล และการตัดสินใจ เป็นส่วนสำคัญมากๆ ในการวางแนวทาง หรือกำหนดแนวทางในการทำงาน หรือ แนวทางของฟาร์ม ดังนั้น หากเรามีข้อมูล ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย การกำหนดแนวทาง ในการบริหารฟาร์ม จะทำได้ง่าย และทำได้จากทุกที่
การเชื่อมต่อความเร็วสูง ครอบคลุมทั้งพื้นที่ เพื่อส่งต่อข้อมูล
ระบบเทคโนโลยี IoT มีความจำเป็นที่ต้องใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตเพื่อเชื่อมต่อ และส่งข้อมูลดังนั้น ระบบ การเชื่อมต่อเป็นระบบที่สำคัญ มากๆ หากต้องการให้ ทุกระบบ เชื่อมต่อเข้าหากัน
จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่า ถ้าเรา ต้องการจัดการฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เพื่อประสิทธิภาพที่เหนือกว่า เราจำเป็นที่จะต้อง มีระบบพื้นฐาน ตามข้างต้นเพื่อการทำงาน และการบริหารจัดการฟาร์มที่ครอบคลุม และสามารถ จัดการฟาร์มของเรา ได้จาก ทุกที่ที่มีอินเตอร์เน็ต
ข้อดี:
- เพิ่มผลผลิต: เกษตรกรสามารถดูแลสัตว์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัตว์มีสุขภาพดี เติบโตเร็ว ให้ผลผลิตมากขึ้น
- ลดต้นทุน: เกษตรกรสามารถประหยัดน้ำ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง อาหารสัตว์ และพลังงาน
- ลดความสูญเสีย: การป้องกันโรคที่ดี ช่วยลดความสูญเสียจากสัตว์ป่วย ตาย
- เพิ่มคุณภาพสินค้า: สัตว์ที่ได้รับการดูแลอย่างดี มีสุขภาพดี ให้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง
- ลดแรงงานคน: เทคโนโลยีช่วยลดงานที่ต้องใช้แรงงานคน เกษตรกรมีเวลาดูแลงานอื่น ๆ มากขึ้น
- เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ: ข้อมูลที่รวบรวมจาก Precision Farming ช่วยให้เกษตรกรสามารถวิเคราะห์ตลาด วางแผนการผลิต หาช่องทางจำหน่ายสินค้า เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
- เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม: การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ในการเริ่มต้น เพื่อสร้างระบบอาจจะพบปัญหาดังนี้
เรื่องของต้นทุน :
เทคโนโลยีที่ใช้ใน การจัดการฟาร์ม อาจจะมี ราคาค่อนข้างสูง หรือสามารถเข้าถึงได้ฟรี เกษตรกร เจ้าของ และผู้บริหารฟาร์ม อาจจะต้องใช้เวลาในการศึกษา เพื่อเลือก ประเภทให้เหมาะสมกับฟาร์ม และขนาดฟาร์ม
ความซับซ้อน: การใช้งานเทคโนโลยีบางอย่างอาจมีความซับซ้อน เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ และทักษะในการใช้งาน แนะนำว่า ถ้าต้องการใช้งาน ให้เลือกผู้ที่สามารถแนะนำ และแก้ปัญหาได้ หรือ ให้ทาง ผู้บริหารฟาร์ม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาระบบ เพราะถ้ามีปัญหา จะได้สามารถแก้ปัญหา เบื้องต้นได้
สรุป:
เทคโนโลยี ใหม่ๆ ระบบ IoT และระบบ AI มีประโยชน์มากมายสำหรับเกษตรกร ผู้บริหาร และเจ้าของฟาร์ม แต่เกษตรกรจำเป็นต้อง พิจารณาข้อดี และข้อเสียอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจนำไปใช้กับฟาร์ม อาจจะลองใช้งานระบบการบันทึกข้อมูลฟรี ที่มีให้ใช้งานก่อน
และเมื่อเห็นว่ามีประโยชน์ จึงทำการปรับเปลี่ยน หรือว่าเพิ่มอุปกรณ์ ต่างๆที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเข้าไป เพื่อพัฒนาระบบ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น หรือหากจำเป็นต้องเปลี่ยน ก็ควรเลือกระบบที่ น่าเชื่อถือ และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อประหยัด ค่าใช้จ่ายการทำระบบฟาร์ม
เรื่องเกี่ยวกับการจัดการฟาร์ม : สามารถดูได้ที่ หมวดหมู่ การจัดการฟาร์มสมัยใหม่ เพิ่มเติมได้เลยครับ