ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม

ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อ ป้องกันโรคในฟาร์ม และ โรคระบาดในฟาร์ม

สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้เราจะมีดูเรื่อง ของ  โรค ASF หรือโรค ไวรัส ในหมู ที่ตอนนี้กำลังเกิดขึ้น ในที่ต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำวิธีการ ป้องกัน โรค ASF ในฟาร์ม เจ้าของฟาร์มต้องทำอย่างไร หรือ ต้องมี ระบบการจัดการฟาร์ม เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อย่างไร สำหรับโรคนี้เป็นโรคที่ไม่แพร่ทางอากาศ แต่สามารถแพร่ระบาดได้ทางไหนบ้าง นอกจากนี้แล้ว เราจะมี วิธีการป้องกันโรค สำหรับฟาร์มของเราได้อย่างไร และหากติดแล้ว ฟาร์มของเรา ต้องมีมาตรการในการป้องกันอย่างไรบ้าง

สำหรับการป้องกัน การแพร่ระบาด ฟาร์มต้องมีอะไรบ้าง?

อยากรอดต้องมี

  1. ห้องอาบน้ำ
  2. ตู้ยูวี
  3. เครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อบ่อดินล้อรถขนส่ง
  4. โกดังอาหาร 2 ส่วน มีการแยกอาหารเก่าใหม่ และมีการติดตั้งแสงยูวีเข้าไป
  5. มุ้งกันแมลงวัน เพราะเป็นสัตว์พาหะ สามารถติดมากับแมลงวันได้ เช่นแมลงวันไปบินตอม และนำเชื้อเข้ามาสู่ฟาร์ม ซึ่งรัศมีในการหากินของแมลงวันคือ 1-3 กิโลเมตร และเป็นทางแพร่ที่อันตรายมาก และติดต่อได้ง่าย จะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ เล้าเปิด แนะนำให้ปิดมุ้งไปเลย ให้ครอบคลุม และหากเป็นเล้าปิด ก็ใช้มุ้งคลุมบริเวณที่อาจจะมีแมลงวันเข้ามาได้ เช่นบริเวรพัดลม
  6. ทางเดินไล่สุกร
  7. บ่อทิ้งซาก
  8. นำบาดาล บ่อพักฆ่าเชื้อ
  9. รั้วกั้นสัตว์พาหะ

ข้อปฏิบัติด้านการป้องกันโรค เล้าเกษตรกร

  1. เจ้าหน้าที่ต้องอาบน้ำเปลี่ยนเสื้อผ้า รองเท้า ทุกครั้ง เพราะมีการทดสอบแล้วว่า หากมีเชื้อโรคติดมา ก็จะเป็นการช่วยป้องกันการแพร่กระจายได้ และต้องการการฆ่าเชื้อที่ห้องน้ำด้วย เพราะ เชื้อที่ติดตัวมาจะอยู่ที่น้ำและที่ห้องน้ำ เมื่อเราอาบน้ำเปลี่ยนชุด
  2. ฆ่าเชื้อของใช้ทุกชิ้น ด้วย UV
  3. ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อรถทุกคัน ทุกครั้ง
  4. กำจัดหนู และแมลง
  5. ห้ามน้ำเนื้อสุกรเข้าฟาร์ม คือ อาจจะเป็นการ นำโรคเข้ามาที่ฟาร์มของเราได้ เช่นอหิวา สุกร หรือโรคอื่นๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว ควรห้ามน้ำเนื้อสัตว์กีบคู่เข้ามาด้วย เช่นโค กระบือ แพะ แกะ ก็ห้ามด้วยเหมือนกัน แต่ตอนนี้ โรค ASF ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever ซึ่งอันตรายร้ายแรงมาก ทั้งนี้ จากงาน วิจัยเรื่องโรค ASF หากเก็บในตู้เย็น เชื้อจะอยู่ได้ 7-30 วันเลยทีเดียว และยากต่อการกำจัด รวมถึงอาหารที่มีการแปรรูปแล้วด้วยเพราะความร้อนในการประกอบอาหารอาจจะทำให้เชื้อยังคงอยู่ได้ ในการฆ่าเชื้อ ต้องใช้อุณหภูมิ 70 องศาเป็นเวลา 30 นาที ดังนั้นการนำเนื้อสุกรเข้ามาที่ฟาร์ม ก็เหมือนกับการเอาเชื้อโรคเข้ามาสู่ฟาร์มนั้นเอง ห้ามนำเศษอาหารให้กับสุกร
  6. ห้าม ขายซาก ขายมูลระหว่างการเลี้ยง

จากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เหมือนเป็นระบบพื้นฐานที่ทุกฟาร์มต้องปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของฟาร์ม หรือระบบ bio security ของฟาร์มนั้นเองครับนอกจากนี้ การเข้ามาของเชื้อ ASF ที่เคยมีการตรวจเจอ คือมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยไม่รู้ว่า มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ยกตัวอย่าง นักท่องเที่ยวเอาอาหารแปรรูปมาจากต่างประเทศเพื่อเป็นของฝาก แต่ เมื่อมีการตรวจพบ และห้ามนำเข้า และเอามาตรวจ จึงได้พบกว่า มีเชื่อ ASF อยู่ด้วย เพราะกระบวนการแปรรูป แทบจะไม่สามารถทำอันตรายเชื่อนี้ได้เลย สิ่งที่ตรวจเจอ เช่น หมูแผ่น หมูกรอบ กุญเชียง และอาหารแปรรูปอื่นๆ

โรค ASF มีวัคซีน สำหรับป้องกันหรือไม่

สำหรับโรค ASF ตอนนี้ยังไม่มีวัคซีน ในการป้องกันและรักษา ดังนั้นการป้องกันทางชีวภาพ หรือ Bio Security เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะหากเป็นแล้ว ฟาร์มก็จะสูญเสียอย่างมาก

จุดวิกฤต ด้านการป้องกัน เล้าเกษตรกร หรือฟาร์มที่มักจะเกิดเหตุ หรือพลาด ทำให้มีปัญหา

  1. ห้องอาบน้ำ มีแต่ ไม่ได้ใช้งาน หรืออาบน้ำให้ถูกต้อง
  2. มุ้งกันแมลงวัน มีแต่ไม่สามารถป้องกันแมลงวันได้ หรือ ปล่อยให้แมลงวันเข้าเล้าได้ ประมาณ แค่ 10 ตัว ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดได้แล้ว
  3. บ่อทิ้งซาก ที่มีการย้ายซากสุกรเข้าออก ทำให้รถที่มารับ สุกรกลายเป็นที่แพร่เชื้อ

10 มาตรการป้องกันโรคสำคัญ เมื่อโรคเข้ามาแล้ว ทำอย่างไรให้เหลือ

  1. อาบน้ำเปลี่ยนชุด ก่อนเข้าเขตฟาร์ม (ห้องอาบน้ำมี 2 ชั้น)
  2. รถในห้ามออก รถนอกห้ามเข้าให้มากที่สุด
  3. รถที่มาที่ฟาร์ม ล้าง และฆ่าเชื้อให้ทั่วถึง และจอดไว้ 30 นาที
  4. ของที่นำเข้าฟาร์มต้องผ่าน ยูวี หรือมีการพ่นฆ่าเชื้อ
  5. ป้องกันกำจัดสัตว์พาหา ติดมุ้งกันแมลง
  6. ใช้น้ำบาดาล หรือน้ำภายในฟาร์มเท่านั้น
  7. กำจัดซากสุกร และจัดการขยะที่ดี
  8. พ่นฆ่าเชื้อ หรือโรยปูนขาวรอบฟาร์ม
  9. การขายที่ถูกต้อง และมีการแบ่งโซนชัดเจน
  10. ให้ความรู้พนักงานและให้ความร่วมมือในการป้องกันโรค

โดนแล้ว ทำยังไงให้เหลือ (เมื่อตรวจเจอแล้ว)

  1. รู้เร็ว มีการเก็บตัวอย่างถูกต้อง ตรวจยืนยันรวดเร็ว
  2. จัดการเร็ว ควบคุมการเคลื่อนย้ายสุกร วางแผนคัดทิ้ง ทำลาย สุกรที่เป็นโรค หรือมีความเสี่ยงสูง
  3. จบเร็ว ควบคุมโรคได้ ไม่แพร่กระจายไปยังฟาร์มอื่น

ถ้าเจอเหตุแบบนี้ แนะนำให้ตรวจ

สุกรที่มีน้ำหนัก น้อยกว่า 50 กิโลกรัม มีอัตราการตาย มากกว่า 1% ต่อวัน
สุกรที่มีน้ำหนัก มากกว่า 50 กิโลกรัม ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
ให้เก็บต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ ทันที วิธีการดูที่ภาพได้

เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็น ทำยังไง

  1. Xray 100% เก็บต้วอย่าง Swab หากเราสามารถตรวจได้ครบ ได้เร็ว ก็จะ ทำการแยกกันต่อไป

วีดีโอการแนะนำวิธีการตรวจ สามารถดูได้ที่นี่ https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38

ถ้าหากฟาร์ม สามารถทำและแยกได้ตามนี้ และรวดเร็ว ก็จะ ลดความเสียหายลง นอกจากนี้แล้วหลังจากที่ขายแล้ว ต้องมีการทำความสะอาด ฟาร์มอย่างดี และมีการตรวจก่อนจะเปิดฟาร์ม สำหรับขั้นตอนการล้างฟาร์มมีดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ทำการพ่นยาฆ่าเชื้อก่อน ทิ้งไว้ 1 วัน และฉีดล้างด้วยน้ำเปล่า หรือผงซักฟอก และใช้น้ำแรงดันสูง ล้าง ทิ้งทำลายอุปกรณ์ pad ผ้าม่าน ฉีดล้างด้วยน้ำเปล่ารอบที่ 2 ล้าง ด้วยน้ำรอบที่ 2 พ่นยาฆ่าเชื้ออีกรอบ ตรวจสอบความสะอาด ซ่อมแซมอุปกรณ์ในโรงเรือน

Biogas  จุดนี้อุณหภูมิสูง เชื้อจะตาย

บ่อน้ำเสีย สูบน้ำให้แห้ง ตากบ่อ โรยปูนขาว พักบ่อ 30 วัน

สำหรับขั้นตอนนี้จะทำหลังจากที่เราล้างไปแล้ว เมื่อหมูออกไปหมดแล้วดูด้วยสายตา ว่าสะอาดแล้ว  ให้เราทำการ Swap วันที่ 7 , 14 , 21 , 28 หากมีการล้างไม่มีจะมีการ ตรวจเจอเชื้อ หากเจอเชื้อ ให้ทำขั้นตอนการล้างอีกรอบ

ภาพขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำสุกรเข้า

เมื่อผ่าน ขั้นตอนที่ 2 แล้ว ในขั้นตอนที่ 3 จะเป็นการทดลองนำสุกร มาเลี้ยง ประมาณ 10 % ของเดิม ให้นำหมู เข้ามาเลี้ยง ภายใน 10วัน – 21 วัน จะมีการแสดงอาการ และหากมีอาการอีก ก็ต้องทำแบบเดิมซ้ำอีก ทั้งนี้หากเรา ต้องการเลี้ยงเราก็ต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดครับ

นอกจากนี้มีอีก เรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือเรื่องของอาหาร

เพราะนอกจากเรื่องของสัตว์พาหะแล้ว เราดูแลได้ดี และมีการจัดการได้ดีแล้ว เรื่องอาหารเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญ เพราะมีการเจอเชื้อในข้าวโพด และส่วนประกอบของอาหารสัตว์ ข้าวโพด รำ ปลายข้าว ทั้งนี้สาเหตุ อาจจะมาจากการปลูกใกล้ฟาร์ม หรือในกรณีที่ฟาร์มที่เกิดความเสียหาย ไม่มีหมูแล้ว แต่ยังมีอาหารอยู่ ทำให้ต้องขายอาหารที่เหลือ ซึ่งมีการปนเปื้อนออกมา ทำให้ติดกันหมด ทั้งนี้ ฟาร์มที่มีการจัดการเรื่องอาหารเอง อาจจะต้องตรวจเชื้อด้วย เพราะไม่ว่า จะมีเชื้อในปริมาณน้อยเพียงใด แต่หากมีหมูติด ก็จะเกิดความเสียหายไปด้วยครับ

ทั้งนี้อาหารสัตว์ของเรา จะมีการสุ่มตรวจ เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร

เอกสารประกอบ และวีดีโอแนะนำการ swap สามารถ โหลดได้ที่นี่ครับ
https://drive.google.com/drive/folders/1_A5f4ptS-q0oOg_VNjZV6kmMJo5Aku38

 

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)