6 มาตรฐานฟาร์ม ที่ เราช่วยให้คำปรึกษา ตอนที่ 1 GAP ฟาร์ม
สำหรับฟาร์มขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เราเป็นผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาสร้างระบบมาตรฐานฟาร์มเพื่อพัฒนาลูกค้าอาหารสัตว์ให้สามารถขยายช่องทางจัดจำหน่ายสู่ตลาดโมเดิร์นเทรด และ ตลาดโลก โดยมีบริการให้คำปรึกษาดังต่อไปนี้
แต่ละ มาตรฐานฟาร์ม สำคัญกับฟาร์มอย่างไร และช่วยให้ฟาร์มของเรา เติบโตได้อย่างไร ดูทางบทความนี้ได้เลย หรือ สอบถามข้อมูลได้ที่ CPF Farm Solution เนื้อหาเรื่องการจัดการฟาร์ม สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
มาตรฐานฟาร์ม GAP คืออะไร
ประเทศไทยเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญของโลกในลำดับต้นๆ เลยครับ แต่ที่ผ่านมาผลผลิตสินค้าเกษตรและ
อาหารที่เราผลิตขึ้นมมา นั้นยังไม่ได้รับความยินยอม หรือเป็นที่น่าเชื่อถือของต่างประเทศ ดังนั้น การที่จะทำให้สินค้า ที่ผลิตออกมา เป็นที่ยอมรับ และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็ต้องมีการกำหนด ค่าความปลอดภัยที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้บริโภค มั่นใจ เนื่องจากการผลิตทั่วๆไป อาจมีสารเคมีตกค้าง มีศัตรูพืชและจุลินทรีย์ปนเปื้อน ทำให้ คุณภาพและความปลอดภัยของผลผลิต ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล และมาตรฐานของประเทศผู้นำเข้า (กรณีที่ มีประเทศอื่น ส่งสินค้ามาที่เรา ก็มีการตรวจสอบ และต้องมีมาตรฐานเหมือนกัน)
ดังนั้น ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ตามระบบการจัดการคุณภาพ หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ซึ่งเป็นระบบที่ป้องกันหรือลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดขึ้นในสินค้าเกษตรและอาหาร ที่ยอมรับกันทั่วไป
ดังนั้น มาตรฐาน การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า GAP ก็มีขึ้นเพื่อ กำหนด แนวทางในการทำ
การเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดี และปลอดภัย ตามมาตรฐานที่ กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้อง ปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมีมทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้ ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้ผลผลิตสูงคุ้มค่าการลงทุนการผลิตตามมาตรฐาน
มาตรฐาน GAP เป็นมาตรฐานที่ครอบคลุมการผลิตสินค้าเกษตรอย่างครบวงจร ตั้งแต่ ปัจจัยการผลิต การผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุหีบห่อ และการขนส่งการผลิต เรียกได้ว่า ครอบคุม ทุกขั้นตอน ของฟาร์ม
สำหรับการผลิต สินค้าเกษตร 3 ประเภท ได้แก่
1. พืชผล เช่น ผัก ผลไม้ ชา กาแฟ ฝ้าย ฯลฯ
2. ปศุสัตว์ เช่น วัวควาย แกะ หมู ไก่ ฯลฯ
3. สัตว์น้ำ เช่น ปลาน้ำจืดประเภทลำตัวยาวมีเกล็ด ดังเช่น ปลาแซลมอน และปลาเทร้าท์ กุ้ง ปลา
สังกะวาด ปลานิล ฯลฯ
ในที่นี่เรา ขอพูดถึงข้อ 2 เป็นหลักครับ ^^ สำหรับปศุสัตว์
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ จะเริ่มตั้งแต่ ส่วนของ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ อาหาร โรงงานสำหรับผลิตอาหารสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ จนถึงโรงงานแปรรูป ครบทุกขั้นตอนของฟาร์ม และเป็นข้อกำหนดที่ทำให้ฟาร์ม สมารถ เลี้ยงสัตว์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อประโยชน์ในทางการค้า เพราะเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค โดยจะมีการแบ่งออกเป็น ส่วนๆ ดังนี้
1.องค์ประกอบของฟาร์ม
ฟาร์มต้องอยู่ห่างจาก ชุมชนเมือง และผู้เลี้ยงสัตว์รายอื่น หรือแหล่งน้ำสาธารณะ โรงฆ่าสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นการป้องกันการติดเชื้อโรค และนอกจากที่กล่าวมาแล้ว ก็ยังต้องห่างจาก แหล่งปนเปื้อนของสิ่งอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ มีการเดินทางสะดวก และไม่มีน้ำท่วมขัง
- ลักษณะของฟาร์ม สำหรับลักษณะของฟาร์ ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม มีการวางแผน สำหรับผังฟาร์ม มีการแยกส่วนของ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์โรงเก็บอาหาร พื้นที่ทำลาย ซากสัตว์ พื้นที่บำบัดน้ำเสียและสิ่งปฏิกูล พื้นที่สำหรับอาคารสำนักงานและบ้านพัก แยกเป็นสัดส่วน มีรั้วล้อมรอบฟาร์ม ขนาดต้องพอเหมาะ กับจำนวนของสัตว์ และมีแหล่งน้ำที่พอเพียง
- ลักษณะของโรงเรือน ส่วนของ โรงเรือนต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง กันแดด กันฝน กันลมได้ หรือมีตาข่ายเพื่อป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่นนก มีอากาศถ่ายเท มี อุณหภูมิที่เหมาะสม ไฟแสงสว่างเพียงพอ สำหรับพื้นโรงเรือน ต้องสะอาด ง่ายต่อการทำความสะอาด แห้ง มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าออกโรงเรือน
2. การจัดการฟาร์ม
- การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ สำหรับการจัดการในหัวข้อนี้ ฟาร์มของเราต้องมี โรงเรือนในปริมาณที่พอดีกับสัตว์ และตรงตามการใช้งาน มีการแยกเก็บอาหาร เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันสัตว์พาหะ และความเสียหายจาก ความชื้น มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ในการใช้งาน ให้พอเพียง และเป็นระเบียบ มีการจัดการโรงเรือน และบริเวณโดยร อบให้สะอาด ไม่ให้เป็นแหล่งสะสม หรือเพาะเชื้อโรค แมลง และสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค นอกจากนี้ หากมีอุปกรณ์ใดเสียหาย ต้องมีการซ่อมบำรุงให้ใช้ได้ และ มีความปลอดภัยต่อสัตว์และผู้ปฏิบัติงาน
- การจัดการฝูง มีการคัดเลือกและจัดฝูงสัตว์ตามขนาด อายุ และเพศ มีการคัดเลือกจัดหาพันธุ์สัตว์เพื่อทดแทน คัดสัตว์ที่มีลักษณะไม่ดี พิการ หรือไม่สมบูรณ์ออกจากฝูง การทำแบบนี้ เพื่อป้องกันสัตว์ที่ไม่แข็งแรง เข้าปะปนในฝูง และอาจจะทำให้เกิดโรคระบาดได้
- ส่วนของ การจัดการอาหารสัตว์ สำหรับส่วนนี้ ถือเป็นส่วนที่สำคัญ เพราะสัตว์ ต้องได้รับอาหารที่ดี มีคุณภาพ และถูกต้องตามกฏหมาย หากเราผสมอาหารเอง ก็ต้องคำนึงถืงคุณภาพ มีการตรวจสอบคุณภาพอาหาร และใส่ใจในการจัดเก็บอาหาร ไม่มีสัตว์พาหะ ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องต้องสะอาด
- มีการจดบันทึกข้อมูล ทะเบียนประวัติ หมายเลขประจำตัวสัตว์ สำหรับ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ให้บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโต บันทึกการใช้อาหาร เช่น การรับจ่ายอาหาร การให้อาหาร การซื้ออาหารสัตว์ ข้อมูลการรักษาโรค และดูแลสุขภาพ เช่น การรับจ่ายการใช้เวชภัณฑ์และสารเคมี
การใช้วัคซีน การถ่ายพยาธิ การรักษาโรค การดูแลสุขภาพ ข้อมูลบัญชีฟาร์ม เป็นการทำบัญชีตัวสัตว์ภายในฟาร์ม - มีการทำ คู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงรายละเอียด การจัดการฟาร์ม แนวทางปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การดูแล
สุขภาพ การป้องกันและรักษาโรค - มีการจัดการด้าน บุคลากร เจ้าหน้าที่ ต้องมีการฝึกอบรมเรื่องการจัดการฟาร์ม การปฏิบัติ การเลี้ยง การจัดการอาหาร การสุขาภิบาลฟาร์ม มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม ทำหน้าที่ในการดูแลด้านการป้องกันโรค รักษาโรค และการใช้ยา พนักงาน เจ้าหน้าที่ต้องมีจำนวนเพียงพอ มีการตรวจสุขภาพ ปีละ 1 ครั้งเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันการติดต่อโรค จากคนสู่สัตว์
- มีการควบคุม และกำจัดสัตว์พาหะ ต่อเนื่อง
3. การจัดการด้านสุขภาพสัตว์
- มีการป้องกันและควบคุมโรค ป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม อาจจะมาจากทาง พาหนะ บุคคล ที่เข้ามาในฟาร์ม หรือ บุคคลที่ออกจากฟาร์มไปสู่ภายนอก มีการพ่นยาฆ่าเชื้อ และป้องกันกำจัดแมลง มีการกำจัดพยาธิ และฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม กรณีที่มีสัตว์ป่วย ให้แยกเพื่อรักษา มีการตรวจโรคสม่ำเสมอ
- การป้องกันและรักษาโรค จะต้อง อยู่ในความดูแลของสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย การใช้ยา ปฏิบัติตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 7001-2540 และระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- มีการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ มีการตรวจสอบ อย่างน้อย วันละ 1 ครั้ง มีการดูแลโรงเรือนต้องสะอาด เหมาะสมกับสัตว์ มีการดูแลรักษา อย่างเร่งด่วน
- การจัดการระบบน้ำ ภายในฟาร์มต้องมีน้ำสะอาด ถูกสุขลักษณะ และน้ำที่ใช้ไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์
- การจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ฟาร์ต้องมีการจัดการกับของเสีย และขยะต่างๆ เพื่อไม่ก่อให้เกิดกลิ่นที่ไม่พึงประส่งค์ มลภาวะ และเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับเพื่อนเกษตรกรที่สนใจเรื่องของ มาตรฐานฟาร์ม GAP สามารถสอบถามเพิ่อเข้ารับคำแนะนำได้ที่ CPF Farm Solution