แนะนำ มาตรฐานฟาร์มสุกร

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้

บทความนี้เรามาดูกันครับ ว่า ถ้าเราต้องการทำให้ฟาร์มของเรามีมาตรฐาน แล้ว มาตรฐานฟาร์มสุกร คืออะไรและมีประโยชน์กับ ฟาร์มของเราอย่างไร บทความนี้ ผมจะแนะนำให้เพื่อนๆ ให้รู้กันครับ ว่า มีมาตรฐานอะไรบ้าง และทำไมเราต้องมี มาตรฐาน ด้วยภาษาง่ายๆ และครบทุก เรื่องที่ควรรู้ ก่อนที่จะทำฟาร์มใหญ่ๆ กันครับ (ระดับ หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป , หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป )

มาตรฐานฟาร์มสุกร ต้องมีอะไรบ้าง

อย่างแรกมาดูกันก่อนครับ ว่า ฟาร์มสุกร หมายถึงอะไร ในที่นี้ ฟาร์มสุกร หรือฟาร์มเลี้ยงหมู ของเราคือ ฟาร์มที่ผลิตสุกรขุนเพื่อการค้า ฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูกสุกร และฟาร์มเลี้ยงสุกร นั้นเองครับ ง่ายๆเลย และผมขอแบ่งข้อมูลที่เราควรรู้ออกเป็นย่อยๆ ให้เพื่อนๆให้อ่านกันครับ รับรองว่ามีประโยชน์แน่นอน ตามที่ผมสรุปมาให้ ในแต่ละส่วน จะมีไฟล์ หรือเอกสารให้โหลดด้วยนะครับ ทั้งนี้ เพื่อนๆ ก็สามารถเข้าไปที่เว็บนั้นๆ เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ครับ

มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร หรือมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงหมู มีไว้เพื่ออะไร ?

ทำไมเราต้องมี มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกร

สำหรับ มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสุกรนี้ กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐานเพื่อให้ ฟาร์มที่ต้องการขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มที่ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับ ได้ ยึดถือปฏิบัติ  ให้เป็นแนวทางเดียวกัน  และ เพื่อให้ได้การรับรองจากกรมปศุสัตว์ ที่เราในฐานะเจ้าของฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้ เป็นพื้นฐานสำหรับฟาร์มที่จะได้การรับรอง ดังนั้น เพื่อนๆท่านใดที่ต้องการได้ รับการรับรอง หรือ มีมาตรฐาน ก็ต้องดำเนินการตามนี้ครับ

การทำให้ฟาร์มของเรา มีมาตรฐาน ตามที่กรมกำหนดไว้ ก็เพื่อให้ฟาร์มของเรา มีการกำหนดวิธีปฏิบัติด้านการจัดการฟาร์ม การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้สุกรที่ถูกสุขลักษณะ และเหมาะสมกับผู้บริโภค แน่นอนครับ ทำให้สินค้าฟาร์มของเรา ขายง่ายขึ้นด้วย

ฟาร์มของเรา ก็ควรจะมีองค์ประกอบดังนี้

  • ทำเลที่ตั้ง อยู่ในบริเวณที่มีการคมนาคมสะดวก ง่ายต่อการเดินทาง สะดวกต่อการขนส่งอาหารและการขนย้ายสุกร
  • สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์ม มีการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
  • อยู่ห่างจากแหล่งชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์
  • อยู่ในทำเลที่มี แหล่งน้ำสะอาดตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพียงพอต่อการบริโภคตลอดปี
  • ควรได้รับการยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ละได้รับการยอมรับจากชุมชน
  • เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง
  • ไม่อยู่ใกล้กับฟาร์มสุกรรายอื่น
  • เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศสามารถถ่ายเทได้ดี และมีต้นไม้ให้ร่มเงาภายในฟาร์ม
  • มีพื้นที่รองรับการระบายน้ําใช้แล้วอย่างเพียงพอ

ลักษณะของฟาร์ม และเนื้อที่ภายในฟาร์ม

การวางผังฟาร์มที่ดี และถูกต้องตามหลักวิชาการนั้น มีความสำคัญมาก เพราะทำให้ง่ายตอการจัดการ ภายในฟาร์ม พนักงาน ทำงานได้อย่างสะดวก สามารถเลี้ยงหรือผลิตสุกรได้ดี ก็จะทำให้ต้นทุนต่ำลง

การวางผังฟาร์มควรคำนึงถึง เรื่องต่างๆดังนี้

  • ใช้ประโยชน์ของพื้นที่ๆเรามีได้มากที่สุด
  • โรงเรือนและพื้นที่ใช้เลี้ยงสุกรของเราต้องเหมาะสมกับจำนวนที่เลี้ยง
  • การจัดวางโรงเรือน แยกเป็นกลุ่มตามระยะการผลิต (ผสม-คลอด-อนุบาล-ขุน) เพื่อความสะดวกในการจัดการ การควบคุม และการขนย้าย อันนี้ถ้าจัดให้ดีแล้ว การทำงานจะราบรื่น คล่องตัว

เนื้อที่ของฟาร์ม ต้องมีเนื้อที่ เหมาะสมกับขนาดของฟาร์ม  จำนวนสุกร  ขนาดโรงเรือน ในส่วนต่างๆ ที่เหมาะสม กับจำนวนและเนื้อที่ครับ

ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาว์นโหลด ได้ที่นี่ครับ คู่มือการเลี้ยงสัตว์โหลดฟรี
https://www.cpffeed.com/2019/12/22/download-howto/

 

ลักษณะของฟาร์ม และเนื้อที่ภายในฟาร์ม

การจัดแบ่งเนื้อที่ ภายในฟาร์ม

ฟาร์มสุกร ต้องมีเนื้อที่เพียงพอเพื่อ การจัดแบ่ง ออกเป็นส่วนต่างๆ เช่น โรงเรือน ต้องเป็นระเบียบสอดคล้องกับการปฏิบัติงาน ไม่ติดกันจนหนาแน่น จนไม่สามารถจัดการได้ ในการผลิต ที่ต้องให้มีที่ว่าง หรือมีการจัดพื้นที่ทีดี ก็จะมีผลดีกับการดูแลสัตว์ รวมถึงการป้องกันและ ควบคุมโรคสัตว์ และรวมถึง สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงานด้วยครับ ในการจัดการเรื่องมาตรฐานฟาร์ม จะต้องมีการจัดแบ่งพื้นที่ฟาร์มเป็นสัดส่วน และต้องมี ผังแสดงการจัดวาง ต่างๆในฟาร์ม เหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวแล้วจะมีแผนที่ในอาคารบอกว่า เราอยู่ตรงไหน และถ้าจะไปที่ไหน ต้องไปยังไง นั้นแหละครับ

การเดินทางภายในฟาร์ม เส้นทาง หรือ ถนนในฟาร์ม ควรจะเป็นถนนที่ดี ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ ราบเรียบ เดินทางสะดวก กว้างขวางเหมาะสม เพื่อสะดวกกับการลำเลียง อาหาร ขนส่งสัตว์ และเจ้าหน้าที่  ถ้ามีการวางแผนที่ดีแล้ว จะทำให้ประหยัดเวลาการเดินทาง และง่ายต่อการทำงานภายในฟาร์มครับ

ส่วนของอาคารสำหนักงาน และที่อยู่อาศัย ควรเป็นที่เฉพาะ เป็นสัดส่วน แข็งแรง สะอาด ไม่สกปรก และเพียงพอกับเจ้าหน้าที่ ควรแยกห่างจากที่เลี้ยงสัตว์ มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจน ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณฟาร์เลี้ยงสุกร

ลักษณะของ โรงเรือนที่ดี โรงเรือนที่ดี ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสัตว์ที่เลี้ยง ถูกสุขอนามัย สัตว์อยู่สุขสบาย แนะนำว่าต้องสะอาด แห้ง และต้องสะดวกต่อการปฏิบัติงาน ปลอดภัยกับการบปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่ ในการใช้งานโรงเรีอนต้องมี แนวทางดังนี้

  • มีการจัดการโรงเรือน และเตรียมความพร้อมก่อนนำสัตว์เข้าสู่โรงเรือน
  • มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ด้วยน้ำยาฆ่าเซื้อโรคตามความเหมาะสม ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

การจัดการด้านบุคลากร

  • จำนวนพนักงาน หรือแรงงานที่ต้องใช้ ต้องมีจำนวนพนักงานเพียงพอ เหมาะสมกับจำนวนสัตว์เลี้ยง ต้องมีการแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดแจน มีการตรวจสุขภาพประจำปี ทุกปี
  • มีสัตวแพทย์ ควบคุม ดูแลป้องกัน กำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ และต้องมีใบอนุญาต การประกอบบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มจากกรมปศุสัตว์

ฟาร์มต้องมี คู่มือการจัดการฟาร์ม ให้เรียบร้อย

  • ในถานะเจ้าของการฟาร์มต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยงการจัดการฟาร์ม มีระบบการบันทึก การป้องกันควบคุม โรค และการดูแลสุขภาพ และอนามัย สัตว์ในฟาร์ม

ระบบบันทึกข้อมูล ฟาร์มจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ดังนี้

  • บุคลากร แรงงาน
  • ข้อมูลการผลิต ได้แก่ ข้อมูลสัตว์ ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลการผลิต และข้อมูลผลผลิตการจัดการด้านอาหาร ครบถ้วน

คุณภาพอาหารสัตว์

เรื่องของคุณภาพ อาหารสัตว์ ต้องมี แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ ที่เราใช้ในฟาร์มแบ่งออกได้ เป็น 2 อย่าง

ก. ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ขายที่ได้รับอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์พ.ศ.2525
ข. ถ้าเราผสมอาหารสัตว์เองต้องมีคุณภาพ อาหารสัตว์เป็นไปตามกำหนด ตามกฎหมาย ตามพรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525

สามารถดูรายละเอียดได้ตามลิงก์ ด้านบนครับ

ภาชนะบรรจุอาหาร และการขนส่งอาหารภายในฟาร์ม

ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือ วัตถุอื่นใดที่อาจเป็น อันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ถ้าถูกเคลือบ ด้วยสารอื่น สารดังกล่าวต้องไม่เป็นอันตรายต่อสัตว์

การตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์

ควรมีการตรวจสอบอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งห้องปฏิบัติการ ที่เชื่อถือได้ เพื่อวิเคราะห์คุณภาพและ สารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจ วิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้

การเก็บรักษาอาหารสัตว์

ควรมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามิน ต้องเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บอาหารสัตว์ต้องสามารถรักษา สภาพของอาหารสัตว์ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆ ควรมีแผงไม้รองด้านล่าง ของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์

ฟาร์มจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจาก ฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์มไปสู่ภายนอก

การบำบัดโรค

การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505

การใช้ยาสำหรับสัตว์ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)

การจัดการสิ่งแวดล้อม

ประเภทของเสีย ของเสียที่เกิดจากฟาร์มปศุสัตว์ จะประกอบด้วย

  • ขยะมูลฝอย ทำการเก็บรวบรวมขยะมูลฝอยในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้ง ในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือ องค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • ซากสุกร ฟาร์มจะต้องมีการจัดการกับซากสุกรให้ถูกสุขลักษณะอนามัย
  • มูลสุกร นำไปทำปุ๋ย หรือหมักเป็นปุ๋ยโดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บในลักษณะที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือก่อความรำคาญ ต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
  • น้ำเสีย ฟาร์มจะต้องมีระบบเก็บกัก หรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม ทั้งนี้น้ำทิ้งจะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด
  • การกำจัดหรือบำบัดของเสีย ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และข้อกำหนดของการจัดการฟาร์ม

คู่มือ การจัดการสิ่งแวดล้อมและ มาตรฐานฟาร์มสุกร : http://certify.dld.go.th

 

แนะนำผู้ช่วย ให้คำปรึกษา และจัดการทุกเรื่องในฟาร์ม

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ดูเหมือนว่า แล้วจะเริ่มที่ไหนดี ถ้าเราต้องการทำ มาตรฐานฟาร์มสุกร แนะนำ ที่นี่ครับ ถ้าคุณ ต้องการที่จะ ต้องการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ ต้องการขยายตลาด หรือหาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ ยกระดับ มาตรฐานการขายเข้าสู่ Modern trade และส่งออกไปต่างประเทศ ปรึกษาได้ที่นี่ครับ  https://www.cpffarmsolutions.com

แนะนำ บริการ จัดการเรื่อง มาตรฐานฟาร์ม สุกร

ตอบได้ทุกความต้องการ เป็นคนทันสมัย อยากทำ Smart Farm ต้องการ หาเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการฟาร์มอยู่ มีผลการเลี้ยงไม่ดี มีปัญหาความเสียหาย และ ยังแก้ไม่ตก ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ มืออาชีพ ที่มี หมูขุน 8,000 ตัว ขึ้นไป หรือ หมูพันธุ์ 800 แม่ขึ้นไป มีเล้า 10 หลังขึ้นไป (650-700 ตัว) แน่นอนว่า ไม่ได้มีแค่การจัดการฟาร์อย่างเดียว แต่รวมไปถึง ให้คำแนะนำ ปรึกษา เรื่องเจ้าหน้าที่ และกำลังคน การกำจัดสัตว์พาหะ การดูแลด้านไฟฟ้าและ วิศวกรรม

เรื่องอื่นๆ ที่เกียวข้อง

📌 มาตรฐานฟาร์ม คืออะไร และทำไม เจ้าของฟาร์มขนาดใหญ่ จำเป็นต้องรู้
📌 มาตรฐานฟาร์มสุกร ที่เจ้าของฟาร์ม ควรรู้ ในปี 2564

 

แชร์

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ. (เรียนรู้เพิ่มเติม)