โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever: ASF) เป็นโรคที่สามารถแพร่ไปในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่าทุกเพศทุกวัยได้อย่างรวดเร็วและร้ายแรงถึงชีวิต แต่โรค ASF จะไม่ติดต่อสู่มนุษย์ สัตว์อื่นที่ไม่ใช่สุกร และปศุสัตว์ต่างๆ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม มนุษย์อาจพาไวรัสติดไปเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้โรคแพร่กระจายได้โดยไม่รู้ตัว
ในอดีต ASF เป็นโรคประจำถิ่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา แต่ในช่วงปี 2561 และ 2562 เกิดการระบาดขึ้นอย่างรวดเร็วในทวีปเอเชียและบางส่วนของทวีปยุโรป แล้วโรค ASF มีอาการอย่างไร เราสามารถป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร และมีทางเลือกในการรักษาอย่างไรบ้าง
สัญญาณและอาการของโรค ASF
- มีไข้สูง (40.5–42°C)
- เบื่ออาหารกะทันหัน
- เลือดออกทางผิวหนังและอวัยวะภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ต่อมน้ำเหลือง
- ท้องเสีย อาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน)
- แท้งลูก
- มีอาการซึม
- ไอ
- หายใจลำบาก
- เสียชีวิตกะทันหัน
- อัตราการตายสูง
อาการเหล่านี้อาจคล้ายกับโรคอหิวาต์สุกรธรรมดา (Classical swine fever: CSF) แต่โรค ASF เกิดจากไวรัสเฉพาะซึ่งแตกต่างจาก CSF อัตราการตายที่สูงผิดปกติในหมู่สุกรทุกช่วงวัยถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรค ASF ได้อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม วิธีเดียวที่จะทำให้ทราบได้อย่างแน่ชัดว่าสุกรน่าจะติดไวรัสชนิดใด ก็คือการทดสอบในห้องปฏิบัติการ หากคุณสังเกตเห็นอาการใดๆ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นในฝูงสุกรที่เลี้ยงไว้ โปรดติดต่อสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อทำการกักโรคและรักษาอย่างถูกต้องจนเสร็จสิ้นกระบวนการ ซึ่งจะช่วยจำกัดขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้นในฟาร์มของคุณได้
เคล็ดลับในการป้องกันฟาร์มให้ห่างไกลจากโรค ASF
การป้องกันโรค ASF ไม่ให้เข้าใกล้ฟาร์มเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ แม้จะอยู่ในประเทศที่ ASF เป็นโรคประจำถิ่นก็ตาม มาตรการป้องกัน 9 วิธีในการหลีกเลี่ยงโรค ASF มีดังนี้
- การใช้มาตรการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสัตว์อย่างเข้มงวด: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่นำทั้งสุกรติดเชื้อที่ยังมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเข้ามาในพื้นที่ปลอดโรค ASF ประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF อาจสั่งให้มีการจำกัดหรือห้ามส่งออกสัตว์ได้หากตรวจพบเนื้อสัตว์ที่มีการติดเชื้อ ตรวจสอบรายชื่อภูมิภาคที่มีการติดเชื้อก่อนนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการปนเปื้อน
- ทำการกำจัดเศษอาหารทุกชนิดจากเครื่องบินหรือเรือที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการติดเชื้ออย่างเหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้นคือไม่ควรนำเศษอาหารของมนุษย์ไปเลี้ยงสุกรโดดเด็ดขาด
- ฆ่าเชื้อและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ หลีกเลี่ยงการเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร (เช่น นำเศษขยะไปให้สุกรกิน) การเลี้ยงด้วยเศษอาหารเหลือจากบริการจัดเลี้ยงถือเป็นแนวปฏิบัติที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากหากเศษอาหารดังกล่าวปนเปื้อนเชื้อ ASF อาจทำให้ฝูงสุกรที่แข็งแรงติดโรคได้ อย่าทิ้งเศษอาหารไว้ให้สุกรป่าสามารถเข้าถึงได้ ควรกำจัดซากสุกรส่วนที่เหลือทิ้งจากสุกรในโรงเชือดและเศษอาหารอย่างเหมาะสม
- กำจัดสุกรทั้งหมดอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะติดเชื้อหรือไม่ (การขีดวงทำลาย): สัตว์ที่หายจากโรคหรือสัตว์ที่รอดตายจะเป็นพาหะของไวรัสโรคนี้ไปตลอดชีวิต ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคไปยังสุกรตัวอื่นๆ และเพื่อป้องกันมิให้โรคระบาดขึ้นใหม่ การกำจัดสุกรตัวที่ติดเชื้อและตัวที่อาจติดเชื้อจึงมีความปลอดภัยมากกว่า การกำจัดสุกรในวงรัศมีรอบๆ อาจเป็นวิธีที่กำจัดโรคที่ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุดและหยุดการระบาดได้เร็วที่สุด
- กวดขันด้านความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์ม: ดูแลให้ปราศจากไวรัสและแบคทีเรียด้วยการปฏิบัติตามกฎด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งได้แก่การฆ่าเชื้อเสื้อผ้าและรองเท้าบูทอย่างถูกต้อง รวมถึงไม่นำผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่ยังไม่ผ่านความร้อนอย่างเหมาะสมเข้าสู่ฟาร์ม และทางฟาร์มควรจัดเตรียมรองเท้าและเสื้อผ้าสำหรับใส่ในฟาร์มไว้เป็นการเฉพาะ
- การเคลื่อนย้ายสัตว์และมนุษย์ภายใต้การควบคุม: สุกรที่จัดหามาควรมาจากแหล่งผู้จัดหาที่น่าเชื่อถือและผ่านการรับรอง เนื่องจากยานพาหนะ อุปกรณ์ และคนอาจเป็นวัตถุพาหะนำเชื้อโรค ASF ได้เช่นกัน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกคนที่เข้ามาในฟาร์มไม่มีการสัมผัสกับสุกรอื่นใดในช่วงเวลา 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา ผู้มาเยือนฟาร์มที่เพิ่งไปประเทศที่เคยเกิดการระบาดของโรค ASF ต้องทิ้งระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันก่อนเข้าฟาร์ม ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อยานพาหนะและอุปกรณ์อย่างถูกต้องก่อนเข้ามาในบริเวณ เนื่องจากสารคัดหลั่งและสิ่งขับถ่ายจากสัตว์ที่เจ็บป่วยหรือตายถือเป็นแหล่งโรค ASF ดังนั้น รถบรรทุกขนซากสัตว์จึงมีความเสี่ยงสูงและไม่ควรให้เข้ามาในฟาร์มโดยเด็ดขาด
- การสอดส่องดูแลและเฝ้าระวังโรค: การดำเนินการนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อต้องทำการขนย้ายสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เนื้อหมู นอกจากนั้นฟาร์มสุกรเองก็ควรมีการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอย่างเข้มงวดด้วย โดยควรตรวจสอบและทดสอบหาเชื้อ ASF ในสุกรที่ป่วยหรือตายทุกตัว สุกรที่ถูกเชือดเพื่อการบริโภคในบ้านก็ควรถูกตรวจหาเชื้อ ASF โดยสัตวแพทย์ที่มีใบรับรองด้วย นอกจากนั้นควรมีการฝึกอบรมพนักงานถึงวิธีป้องกันโรค ใช้วิธีการประเมินคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ รวมไปถึงจดบันทึกส่วนผสมในอาหารสัตว์ทุกวัน
- การตรวจพบไวรัสอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ: แจ้งสัตวแพทย์โดยทันทีเมื่อสังเกตเห็นสัญญาณของโรค ASF และนำสุกรเข้ารับการตรวจหาเชื้อ
- เกณฑ์การกักโรคอย่างเข้มงวด: ควรใช้มาตรการการกักโรคอย่างเข้มงวดทั้งในเขตที่ปราศจากโรค ASF และเขตติดเชื้อ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่เข้ามาและ/หรือเพื่อจำกัดการแพร่กระจายของโรค ASF
การรักษาโรค ASF
- ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาหรือวัคซีนป้องกันโรคชนิดนี้
- จึงต้องใช้มาตรการป้องกันและระวังในการดูแลสุขภาพสัตว์ให้ปลอดภัย
- เนื่องจากการสัมผัสระหว่างสัตว์ที่เจ็บป่วยกับสัตว์ที่สุขภาพดีอาจทำให้เชื้อ ASF แพร่สู่กันได้ ดังนั้นจึงควรแยกสัตว์ที่ติดเชื้อออกต่างหากและคัดออกโดยทันทีเมื่อได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อ ASF
รู้หรือไม่?
- ภูมิภาคทวีปอเมริกาเหนือและโอเชียเนียยังคงเป็นภูมิภาคที่ไม่เคยพบว่ามีรายงานการระบาดของโรค ASF เลย
- โรค ASF ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ มนุษย์จะไม่ติดเชื้อ ASF
- โรค ASF ระบาดในหมู่สุกรบ้านและสุกรป่า รวมถึงเห็บอ่อนหลากหลายประเภท
- สุกรป่าและตัววอร์ธฮ็อกก็สามารถเป็นพาหะนำโรค ASF ได้เช่นกัน จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสัตว์เหล่านี้ไม่มาสัมผัสกับสุกรบ้าน
- เนื้อสัตว์แช่แข็งจากสุกรติดเชื้ออาจมีเชื้อไวรัสแฝงอยู่ได้นานถึง 6 เดือน
- ไวรัส ASF อาจมีชีวิตอยู่ในอุจจาระได้นานสูงสุดถึง 15 วัน และในปัสสาวะที่อุณหภูมิ 21°C ได้นาน 5 วันโดยประมาณ
- การลดการเกิดเชื้อ ASF ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ ต้องปรุงเนื้อสัตว์ให้สุกที่อุณหภูมิ 70°C นาน 30 นาที หากเป็นน้ำเหลืองและของเหลวจากร่างกาย ต้องใช้อุณหภูมิ 60°C นาน 30 นาที
- การถนอมอาหารหรือรมควันผลิตภัณฑ์เนื้อหมูไม่ทำให้ไวรัสตาย
- โรค ASF สามารถแพร่ต่อกันได้ผ่านอาหารสัตว์ (Niederwerder, et al., 2019) จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรซื้ออาหารสัตว์และวัตถุดิบอาหารจากผู้ให้ผลิตที่น่าเชื่อถือ และสามารถตรวจสอบได้ว่ามีมาตรฐานการผลิตที่ดีและมีมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพ
ความสำคัญของความปลอดภัยของอาหารสัตว์ที่สัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพที่พึงปรารถนา
การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าอาหารสัตว์อาจเป็นพาหะนำเชื้อโรคที่อันตรายบางชนิดได้ (Dee, et al., 2018) และเพื่อเป็นการเพิ่มการป้องกันอีกชั้น ควรกำหนดมาตรการป้องกันและใช้เทคโนโลยีใส่ลงในอาหารสัตว์ เช่น ให้สารเพิ่มความเป็นกรด เพื่อให้อาหารสัตว์มีความสมบูรณ์และมีคุณภาพ
เป็นที่ทราบกันว่าสารเพิ่มความเป็นกรดมีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ซึ่งช่วย “ควบคุมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในอาหารสัตว์ […] จึงยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้ดี” (Jacela, et al., 2009)
ผลิตภัณฑ์อย่าง Guardicate™* ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในการเพิ่มความปลอดภัยในอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เสริมความแข็งแกร่งของมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มของคุณได้อีกด้วย จากการวิจัยยาวนานเกือบ 4 ปี Guardicate ได้แสดงถึงประสิทธิภาพในฐานะสารเพิ่มความเป็นกรด ช่วยให้คุณคลายความกังวลเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารสัตว์ด้วยการรักษาสภาพแวดล้อมของอาหารสัตว์ให้เหมาะสม
ด้วยเทคโนโลยีด้านโภชนาการของ Alltech คุณจึงวางใจได้ในความปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิต พร้อมส่งเสริมสุขภาพสัตว์ของคุณให้แข็งแรง เมื่อใช้ร่วมกับโซลูชั่นอื่นๆ เช่น Sel-Plex®, Bioplex® และ Actigen®
การเสริมแร่ธาตุที่ไม่เหมาะสมอาจส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อสุขภาพและผลิตภาพในสัตว์ของคุณได้ ซึ่งมีการค้นพบว่าระดับแร่ธาตุที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในเชิงบวก โปรแกรมการบริหารจัดการแร่ธาตุของ Alltech (Alltech Mineral Management program) เน้นการให้แร่ธาตุอินทรีย์ เช่น Sel-Plex และ Bioplex ซึ่งสัตว์สามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นจึงให้สารอาหารได้ครบถ้วนตามความต้องการของสัตว์เพื่อสุขภาพที่ดีเยี่ยม
ทางเดินอาหารที่แข็งแรงและไมโครไบโอม (microbiome) ก็มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวมในสุกรด้วยเช่นกัน ซึ่งในการนี้ Actigen จะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน สุขภาพของจุลินทรีย์ในลำไส้ และการทำงานและพัฒนาการของลำไส้ ทำให้สัตว์มีสุขภาพและสมรรถภาพโดยรวมดียิ่งขึ้น
CR: Alltech